ก่อนทำประกันสุขภาพกับ BLA ต้องเข้าใจเบื้องต้นอะไรบ้าง

จุดยืนที่ Release your Risk ขอยึดถือเป็นอันดับหนึ่งคือ การอธิบายให้ข้อมูลครบถ้วน มากกว่าให้ผู้ขอเอาประกันรับรู้เองภายหลัง เพื่อประโยชน์ของผู้ขอเอาประกันสูงสุดในการเลือกเปรียบเทียบ/สอบถามข้อสงสัย

9 สิ่งควรต้องเข้าใจก่อนทำประกันสุขภาพ BLA

ก่อนทำประกันสุขภาพกับบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ต้องเข้าใจพื้นฐาน ดังนี้ค่ะ

1. เนื้อหาแผนค่อนข้างเยอะ

แผนที่ทางเราจัดให้จะเนื้อหาค่อนข้างมากพอสมควร เพราะสัญญาสุขภาพเป็นสัญญาระยะยาวถึงอายุ 99 ปีและมีราคาถึงเจ็ดหลัก ดังนั้น เราจึงต้องการอธิบายให้ข้อมูลครบถ้วน มากกว่าให้ผู้ขอเอาประกันรับรู้เองภายหลัง เราจึงเลือกที่จะสร้างเครื่องมือช่วยในการเปรียบเทียบ เพื่อประโยชน์ของผู้ขอเอาประกันสูงสุดในการเลือกเปรียบเทียบ/สอบถามข้อสงสัย

2. หน้าที่เราก่อนยื่นทำประกัน

หน้าที่ก่อนยื่นทำประกันของทางเรา คือ ให้ความรู้ เปรียบเทียบ คลายข้อสงสัย และติดตามการพิจารณา ดังนั้นทางเราต้องขอรบกวนในเรื่องการทำการศึกษาข้อมูลแบบประกันสุขภาพของทาง BLA ภายในลิงก์นี้ ก่อนเป็นสำคัญค่ะ

3. เบี้ยประกันแตกต่างกัน

บริษัทประกันฯ แต่ละแห่งจะมีเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่แตกต่างกัน แต่เบี้ยรวมทั้งหมดตลอดสัญญามักสูงถึง 7-8 หลัก เหมือนกัน ดังนั้นการเปรียบเทียบเลือกแผนที่เหมาะสมอาจช่วยให้สามารถประหยัดเบี้ยได้ "หลักหมื่นถึงหลักแสนบาท" แต่การวางแผนจัดการเบี้ยปีต่ออายุโดยเฉพาะเบี้ยหลังเกษียณที่ดี จะช่วยลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นและประหยัดเบี้ยได้สูงถึง "หลักล้านบาทขึ้นไป"

4. ค่ารักษาเป็นเงินกองกลาง

ค่ารักษาจากประกันสุขภาพไม่ใช่เงินของบริษัทประกัน แต่เป็นเงินกองกลาง ที่ผู้เอาประกันนำมาแชร์ความเสี่ยงภัยร่วมกันในแต่ละปี ดังนั้นการคัดกรองคนที่จะมาร่วมแชร์ความเสี่ยงร่วมกันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากของทุกบริษัทประกันฯ ตัวประกันสุขภาพจึงให้เวลาในการตรวจสอบประวัติสุขภาพตั้งแต่ 5 ปีก่อนทำประกันและ 3 ปีหลังทำประกัน เพื่อให้มั่นใจว่า คนที่มาร่วมแชร์ความเสี่ยงมีสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ ไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังมาก่อน หรือหากเป็นและยังไม่หายขาดก็จะมีการยกเว้นความคุ้มครอง เพื่อความยุติธรรมต่อเงินกองกลางของทุกคน

5. แถลงตามจริงดีที่สุด

การแถลงสุขภาพก่อนทำประกันและมีการขอตรวจสุขภาพหรือขอประวัติการรักษา/เจ็บป่วย เป็นโอกาสที่จะได้พิสูจน์และได้เงื่อนไขรับประกันที่ดีที่สุด เพราะหลังจากบริษัทฯ รับทำประกันแล้ว บริษัทฯ จะยึดตามเอกสารประวัติการรักษา จะไม่ได้มีโอกาสให้ได้ตรวจพิสูจน์ใด ๆ อีกค่ะ ข้อมูลเพิ่มเติม

6. ทุกประวัติตรวจสอบได้

ทุกการตรวจสุขภาพประจำปี การเข้ารักษาตัวทั้งผู้ป่วยในและนอกในสถานพยาบาล "ก่อนทำประกัน" คือประวัติที่ตรวจสอบได้ในภายหลัง และหลายประเด็นที่แพทย์ผู้รักษามองว่าปกติ แต่อาจไม่ปกติในมุมมองบริษัทประกัน ดังนั้นการขอประวัติสุขภาพ/รักษา ไว้ยื่นทำประกันจึงเป็นเรื่องจำเป็นค่ะ ทั้งยังสามารถส่งสำเนาประวัตินี้ ยื่นขอทำประกันหลายบริษัทประกันฯ พร้อมกัน และเลือกบริษัทฯ ที่มีข้อเสนอความคุ้มครองที่ดีที่สุดได้

7. ดัชนีมวลกายสำคัญมาก

หากมีค่าดัชนีมวลกายที่สูง ค่าความดันที่สูง น้ำหนักเปลี่ยนมากกว่า 5 กก. และ/หรือดื่มสุราประจำ ทั้งหมดนี้ล้วนนำไปสู่การถูกขอให้ตรวจสุขภาพทั้งสิ้น แต่ข้อมูลตรวจสุขภาพล่าสุดนี้จะช่วยให้ฝ่ายพิจารณาได้ประเมินความเสี่ยงปัจจุบันร่วมกับอดีต และพิจารณาที่จะรับประกันด้วยเงื่อนไขที่ดีที่สุดและยุติธรรมต่อผู้ร่วมแชร์ความเสี่ยงท่านอื่น ๆ ได้ค่ะ

8. ระวังอารมณ์ หัวใจ สมอง

หากมีบันทึกการรักษาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ หัวใจ หรือสมอง โอกาสการรับทำประกันสุขภาพจะ ค่อนข้างยาก เว้นแต่รักษาหายขาดต่อเนื่องมากกว่า 3-5 ปี เนื่องจากบริษัทประกันชีวิตจะให้ทำสัญญาประกันชีวิตคู่กับสัญญาสุขภาพ จึงต้องคัดกรองอาการที่ส่งผลต่อชีวิตโดยตรงด้วยค่ะ

9. ความจำเป็นทางการแพทย์

การรักษาผู้ป่วยใน (IPD) จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์ ดังนั้นจะไม่สามารถแอดมิต รพ. ได้ หากแพทย์ไม่ได้ระบุสาเหตุถึงความจำเป็นทางการแพทย์ใด ๆ

อ่านเนื้อหาถัดไป

ทำไมประกันสุขภาพต้องวงเงินสูงหลักล้าน+

เพื่อทำความเข้าใจก่อนทำประกันสุขภาพ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก