คู่มือเลือกเปรียบเทียบประกันสุขภาพ BLA 2022/2565 แบบใดดีที่เหมาะกับคุณและครอบครัวที่สุด

ประกันสุขภาพ BLA Happy Health 1-10 ล้านบาทต่อครั้ง และ Prestige Health 10-100 ล้านบาทต่อปี แบบใดที่จะเหมาะกับคุณและครอบครัว รวมถึงประเด็นที่ต้องพิจารณาเปรียบเทียบทั้งหมด พร้อมแง่มุมเปรียบเทียบกับบริษัทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

หมายเหตุ : บทความนี้จะเหมาะกับท่านที่ต้องการให้อธิบายเปิดเผยทุกอย่างก่อนตัดสินใจเลือกประกันสุขภาพ BLA โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สามารถทำประกันทางออนไลน์ได้ ทาง Release your Risk จึงให้ความสำคัญกับการอธิบายแจ้งหมดทุกอย่างเป็นที่หนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับสัญญาสุขภาพที่มีเบี้ยรวมกันทั้งหมดกว่าหลักล้านบาทขึ้นไปและเป็นสัญญาระยะยาวที่นานจนถึงอายุครบ 99 ปี ทั้งนี้หากท่านยังไม่เคยทำประกันสุขภาพมาก่อน จะสามารถทำความเข้าใจประกันสุขภาพได้ที่ คู่มือการเลือกประกันสุขภาพฉบับเริ่มต้น เพื่อช่วยให้เข้าใจบทความนี้ได้ง่ายมากขึ้น (ทั้งนี้แบบประกัน Prestige Health ได้เปลี่ยนเป็น Prestige Health ปลดล็อค ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 เป็นต้นไป)

❐   สัญญาประกันสุขภาพหนึ่งในสัญญาที่มีรายละเอียดมากที่สุด โดยแต่ละบริษัทจะทำแบบประกันให้แตกต่างกันเพื่อให้ยากต่อการเปรียบเทียบเพื่อใช้ในการแข่งขัน หรือแม้บริษัทเดียวกันก็ไม่ง่ายนักที่จะเปรียบเทียบ

❐   หน้าที่ของผู้แนะนำหรือตัวแทน ในขั้นตอนแรก คือ การให้ความรู้ความเข้าใจมากที่สุดประกอบการตัดสินใจทำสัญญาใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ได้สัญญาที่ตรงตามความต้องการ และสามารถมีสัญญานี้ต่อไปได้จนตลอดชีวิต ทั้งนี้ "สัญญานี้เป็นสัญญา 2 ฝ่าย ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเลือกซี่งกันและกัน ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกเท่านั้น"

ประกันสุขภาพ BLA ทั้งหมดที่เปิดให้ทำสัญญาได้ในปัจจุบันนั้น

  • จะเป็นประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ที่ไม่มีเงื่อนไข Copayment
  • การจะเปลี่ยนแปลงเบี้ยที่นอกเหนือจากตารางเบี้ยได้นั้นจะต้องเป็นการปรับเบี้ยทั้งแบบประกัน (portfolio) จะไม่ได้ปรับเฉพาะรายบุคคล 
  • ไม่มีเงื่อนไขระยะรอคอยการ Fax-Claim นอกเหนือจากระยะรอคอย 30 วันในโรคทั่วไป และ 120 วันในโรคที่ซับซ้อนตามปกติ
  • ไม่มีเงื่อนไขการสำรองจ่ายทุกกรณี ในหมวดค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนอกโดยตรง เช่น ค่ายามะเร็ง ค่าล้างไต ค่าOPD ค่าอุบัติเหตุผู้ป่วยนอก
  • มีการโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศ  ไม่ได้รับความเสี่ยงไว้เองตามลำพัง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ทำประกัน

หมายเหตุ : จากคุณสมบัติเหล่านี้เองจึงทำให้ แบบประกันสุขภาพของ BLA โดยเฉพาะแบบ Prestige Health มีความเข้มงวดในการรับประกันที่สูงมาก และมักมีข้อเสนอยกเว้นความคุ้มครองบางอย่างหรือเลื่อนการรับประกันออกไป 6 เดือน-1 ปี จากทั้งประวัติการรักษาและประวัติการตรวจสุขภาพ โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มได้ที่บทความ วิธีการแถลงสุขภาพ และ ข้อเสนอยกเว้นความคุ้มครองต่างๆ

Salepage Health 22

BLA Happy Health
(แบบมีรับผิดส่วนแรก)

Salepage life insure 7

BLA Happy Health

Salepage life insure 6

Prestige Health
(แบบไม่มี OPD)

Salepage life insure 5 1

Prestige Health
(แบบมี OPD)

Salepage life insure 4

Prestige Health
(แบบคุ้มครองต่างประเทศ)

❐ สามารถกดแร์เพื่อเก็บไว้อ่านภายหลังในยามว่างได้ค่ะ

ขั้นที่ 1. ตรวจสอบสถิติอาการป่วยที่ควรโอนความเสี่ยง

สถิติอาการป่วยที่ส่งผลถึงชีวิต

อัตราการตายสูงสุด 5 อันดับแรก

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดของการการเลือกประกันสุขภาพ คือ การตัดสินใจ ว่าจะเข้าร่วมกับคนจำนวนมากเพื่อ เฉลี่ยความเสี่ยงในโรคหรืออาการที่ร้ายแรงใด ทำให้การพิจารณา สถิติของโรคที่ทำให้เสียชีวิต 5 อันดับแรก จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก จากภาพที่แสดง คือ สถิติที่สะท้อนถึงปัญหาการเสียชีวิตได้อย่างชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง นอกจากนี้ในแง่สถิติการเคลมประกันโรคร้ายแรง ตัวโรค มะเร็งก็มีอัตราการเคลมสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับโรคร้ายแรงอื่น ๆ โดยเฉพาะมะเร็งในผู้หญิง!!

สถิติเคลมโรคร้าย

และจากสถิติย้อนหลังในกราฟต่อไปนี้ หากนำปัจจัยการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุเข้ามาร่วมด้วย (คนทั่วไปต่างคิดว่าน่าจะเสียชีวิตมากกว่าการป่วยด้วยโรคร้าย แต่ตามสถิติแล้วกลับไม่ใช่) ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า สาเหตุการตายจากมะเร็งแซงหน้าสาเหตุการตายจากอุบัติเหตุไปไกลมากแล้ว หรือถ้าหากไม่นับโรคมะเร็ง การรวมยอดเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง กับโรคหัวใจเข้าด้วยกัน ก็จะมียอดเสียชีวิตที่สูงกว่าอุบัติเหตุเช่นกันค่ะ

จำนวนอัตราตายต่อประชากร 100000 พ.ศ. 2539 2554

อ้างอิง : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่า คือ เมื่อพิจารณาสถิติโรคมะเร็งล่าสุดจาก WHO ในส่วนของ Globalcan ปี 2020  พบว่าประเทศไทยมีการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งใหม่ในปีเดียวสูงถึง  190,636 ราย จากประชากร 69,799,978 คน (ขณะที่ปี 2014 ตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งเพียง 122,757 ราย)

ในปี 2020 ประมาณได้ว่า ในคนจำนวน 350 คน จะพบว่าป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ 1 ราย หรือทุก ๆ ชั่วโมงจะพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 22 คน

โดยจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในปี 2020 อยู่ที่ 124,866 ราย (ขณะที่ปี 2014  มียอดผู้เสียชีวิต 70,075 ราย)  หรือเมื่อรวมยอดเสียชีวิตตั้งแต่ปี 1996-2011 มียอดถึง 840,000 ราย (โดยประมาณ)

จากยอดการเสียชีวิตที่สูงขนาดนี้ ด้วยเพราะ "หากเป็นมะเร็งแล้ว ต้องเสียชีวิตเสมอไปหรือไม่"

อัตราการตรวจพบและการตายของมะเร็ง

จากรูปด้านบนเมื่อเทียบ ยอดผู้ป่วยรายใหม่ กับ ยอดผู้ป่วยเสียชีวิต จะเห็นได้ชัดเจนว่าการเสียชีวิตโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก มะเร็งตับและมะเร็งปอด ซึ่งเป็น 2 มะเร็งสำคัญที่มีอัตราการตรวจพบและการเสียชีวิตที่ใกล้เคียงกันมาก เนื่องด้วยตับและปอดเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องเสียหายอย่างหนักแล้วเท่านั้น จึงจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาสู่ภายนอก และแน่นอนว่าเมื่อไปตรวจก็มักจะพบว่าเป็น มะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว

ดังนั้น การตรวจยีนมะเร็งและการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมเตรียมแผนจัดการกับค่าใช้จ่าย ค่ารักษา (หากโชคร้ายต้องตรวจพบ) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากค่ะ

เพราะทั้งยอดผู้ป่วยใหม่และยอดผู้เสียชีวิต ต่างทยอยเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศไทยที่ทยอยลดลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงแทบจะบอกได้เลยว่า.. หนึ่งในคนที่เราเคยรู้จัก (ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม) จะต้องมีผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิตเพราะมะเร็งอยู่แล้วบ้าง

คลิก..ประเมินความเสี่ยงของทุกคนในครอบครัว

ปัจจัยที่ส่งเสริมความเสี่ยงของโรคร้าย
ด้านหัวใจ สมอง ปอด ตับ ไต และมะเร็ง

    ตระกูลมีประวัติการป่วยเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะตอนอายุยังน้อยเช่นไม่ถึง 40 ปี

    ใช้ชีวิตสไตล์ Work Hard, Play Harder, Eat Harder, No Exercise, Sleepless

    ทานอาหารที่มีปัจจัยเสี่ยงประจำปริมาณมาก เนื้อปิ้งย่าง เนื้อแปรรูป เหล้าเบียร์

    มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ท้องผูกเป็นประจำ ไม่ชอบทานผักและผลไม้

    ดื่มน้ำเปล่าน้อยมากต่อวัน หรือน้อยกว่าการดื่มน้ำหวาน ชา กาแฟ

    ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานจุกจิก ทานมื้อดึกเป็นประจำ

    ใช้ชีวิตที่หลีกเลี่ยงมลภาวะอย่าง PM 2.5 ไม่ได้ หรือต้องอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ ธูป ควัน

    ดูแลโปรเจ็ค ควบคุม ประสานงาน อยู่ในสภาวะกดดันความเครียดสะสม

    มีความรู้สึกว่าร่างกายเริ่มไม่เหมือนเดิมมากขึ้น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หอบ ไอ

    ผู้หญิงที่มีบุตรตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป หรืออายุเกือบ 40 ปี หรือไม่มีบุตร

    ผู้หญิงที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน HPV

    ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบทั้ง A และ B

ขั้นที่ 2. ตรวจสอบค่ารักษาก่อนเลือกแบบประกัน

สรุป : รูปแบบค่ารักษาที่ต้องพบเจอในปัจจุบัน

ตารางค่ารักษาพยาบาล

จากค่าใช้จ่าย (รูปด้านบน) นี่อาจเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่า เหตุใดมะเร็งจึงเป็นโรคอันดับ 1 ที่ทำให้เสียชีวิต แล้วจึงตามมาด้วยหลอดเลือดสมอง ปอด และหัวใจ เพราะด้วยเรื่องค่ารักษามะเร็งที่สูงอย่างมากและต้องรักษาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันจบ

หลายคนมักพูดว่า "โจรปล้นสิบครั้ง ยังไม่เท่ากับไฟไหม้บ้านครั้งเดียว" แต่ถ้า.. ไฟไหม้บ้านสามครั้ง อาจยังไม่เท่ากับค่ารักษามะเร็งของคน ๆ เดียว และที่สำคัญ.. มะเร็งยังกลับมาเป็นซ้ำได้อีกทั้งจากปัจจัยเดิมหรือแม้แต่ปัจจัยจากยาที่ใช้ในการรักษา (การรักษามะเร็งระยะสุดท้ายจะเน้นเพียงการประคับประคองอาการ ซึ่งจะหมดค่ารักษาไปเรื่อย ๆ จนเหนื่อยและท้อ)

และคุณกับครอบครัวอาจจะเริ่มรู้สึกว่าจริง ๆ แล้ว "คุณหมอ" กับ "โจรปล้น" มีความคล้ายกัน เพียงแต่โจรปล้นเอาเงินไปได้เท่าที่มีติดตัวคุณแค่นั้น แต่สำหรับคุณหมอสามารถปล้นได้มากกว่าที่คุณมีติดตัว โดยคุณกับครอบครัวต้องเอาเงินไปให้ แม้ไม่มีเงิน คุณก็ต้องไปกู้หรือขอยืมคนอื่นมาให้ บ้างก็ขายบ้าน ขายรถ ขายทรัพย์สินทั้งหมดที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงทั้งชีวิต จนสุดท้ายคนไข้ก็อยากที่จะหยุดรักษา เพียงเพราะว่า

หากยังรักษาต่อไป อาจต้องทำให้ครอบครัวล้มละลายและมีหนี้ก้อนใหญ่พร้อมกับภาระอีกมากมาย

นอกจากนี้ มะเร็งยังเป็นโรคที่มีค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD) สูงที่สุด ทั้งการตรวจวินิจฉัย การติดตามอาการ และค่ายาต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อมะเร็งได้ลุกลามไปยังระยะที่ 3-4 แล้ว อาจจะไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ได้แล้ว

การหวังพึ่งสวัสดิการรัฐอาจเสี่ยงเกินไป เพราะการจะลัดคิว (ที่ปกติต้องรอ 2-6 เดือน) เพื่อให้ได้ใช้เครื่องตรวจฉายภาพขั้นสูงต่าง ๆ นั้นคงทำได้ยาก ดังนั้นต้องรอตามคิวรักษา และเมื่อถึงคิว.. มะเร็งที่กำลังเป็นอยู่อาจจะลุกลามถึงขั้นอันตรายแล้ว ยังไม่นับรวมการต้องรอคิวจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (คิวเครื่องอาจจะได้ แต่คิวหมออ่านผลอาจจะไม่ได้)

ซึ่งถ้าไม่ต้องการรอคิวนานลักษณะนี้ก็จำเป็นต้องไป รพ. เอกชน และค่าใช้จ่ายการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้จะไต่ระดับขึ้นหลักแสน โดยที่ยังไม่ได้เริ่มรักษา

ที่สำคัญขั้นตอน การรักษาตามสวัสดิการรัฐจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดมาแล้ว แม้แพทย์คาดว่า การรักษาแบบนี้จะได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล ก็ไม่สามารถข้ามขั้นตอนไปยังการรักษาที่ได้ผลดีกว่าได้ ทุกอย่างต้องเป็นตามขั้นตอน หากผิดลำดับแม้แต่นิดเดียว ผู้ป่วยจะไม่สามารถเบิกสิทธิสวัสดิการรัฐได้

ดังนั้นการเลือกแบบประกันสุขภาพจึงต้องมั่นใจว่า จะครอบคลุมการรักษาโรคเหล่านี้ได้ ไม่งั้นประกันสุขภาพที่ได้มาอาจจะเพียงพอดูแลเฉพาะโรคทั่วไปที่สามารถรับมือค่าใช้จ่ายเองได้ไหว แต่กลับไม่เพียงพอสำหรับโรคร้ายรุนแรงที่คุณไม่สามารถรับมือค่าใช้จ่ายเองตามลำพังไหว

ทางเราจึงคิดเสมอว่านวัยเรียนควรมีวิชาที่สอนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโรคร้ายเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะวิชาทางด้านการเงิน

RYR Main การสอนการเงินในโรงเรียน

เพราะจะส่งผลให้ต้องรีบทำประกันสุขภาพโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ตามช่วงอายุต่าง ๆ ต่อไปนี้ (ซึ่งอาจจะสายไปแล้วที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่โดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ สำหรับบางช่วงอายุ)

  • อายุ 11-22 : ทำประกันสุขภาพได้ง่ายที่สุด ยังไม่(ค่อย)มีประวัติการรักษาใด ๆ เบี้ยถูก วางแผนการเงินง่าย 
  • อายุ 23-29 : ใช้ร่างกายค่อนข้างหนัก เริ่มมีประวัติจากการตรวจสุขภาพและใช้ประกันกลุ่มของบริษัท
  • อายุ 30-35 : เห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชัดเจน เริ่มเห็นความสำคัญของประกันสุขภาพแต่ก็มีประวัติสุขภาพแล้วบ้าง
  • อายุ 36-44 : เริ่มมีความมั่นคงทางการเงิน มีครอบครัว เริ่มศึกษาเครื่องมือทางการเงินจริงจัง และ(อาจ)มีโรคประจำตัว
  • อายุ 45-49 : ร่างกายถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ต้องดูแลร่างกายมากกว่าเดิม เบี้ยประกันเริ่มสูง จึงต้องวางแผนประกันอย่างจริงจัง
  • อายุ 50-55 : เริ่มเข้า-ออก รพ. มากขึ้น ส่วนใหญ่(มัก)ถูกขอให้ตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน เบี้ยสูงพร้อมข้อยกเว้นและเพิ่มเบี้ยประกัน
  • อายุ 56-60 : ลูก ๆ เริ่มสนใจทำประกันให้พ่อแม่แต่ขั้นตอนยุ่งยาก ได้เห็นว่าค่าใช้จ่ายของ รพ. สูงมาก เบี้ยประกันสูงมากเช่นกัน
  • อายุ 61-80 : มีโอกาสทำประกันได้เฉพาะร่างกายแข็งแรงจริง ๆ แต่มักติดปัญหาที่เบี้ยประกันสูงลิ่วที่ไม่ได้วางแผนใด ๆ ไว้ก่อน

ข้อควรคำนึง : เงินกับการรักษามะเร็ง

ข้อควรคำนึง : การมีเงินสดกันเอาไว้จำนวนมาก(หลายล้านบาท) หรือ การมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินเพียงพอสำหรับดูแลค่ารักษาโรคมะเร็ง ทั้งในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐแบบเน้นออกเงินเองได้นั้น ไม่ได้การันตีว่าจะรักษามะเร็งหายได้ เพราะการรักษาแต่ละแบบไม่ใช่ว่าจะได้ผลดีเหมือนกันในทุก ๆ คน บางคนใช้ยาหลักตามสวัสดิการภาครัฐก็ทำให้มะเร็งสงบได้ บางคนมีเงินได้เลือกยาและวิธีการรักษาที่ดีและเร็วที่สุดแต่ก็ไม่สามารถยับยั้งมะเร็งได้

ดังนั้นการมีเงินจำนวนมากหรือรวมกลุ่มเฉลี่ยภัยร่วมกันผ่านประกันสุขภาพ จึงช่วยได้เพียงให้มีทางเลือกในการรักษา กับทางเลือกในการรับบริการที่หลากหลายกว่า หรืออย่างน้อยไม่ต้องรู้สึกอึดอัดใจเมื่อโชคร้ายได้รับบริการที่ไม่ดีหรือไม่ถนอมน้ำใจ เพียงเพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น (ประสบการณ์ตรงของแอนนี่เองที่หลานชายเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดต้องรักษาติดตามอาการไปตลอดชีวิต ทั้งยังหมดโอกาสทำประกันแทบทุกรูปแบบ จึงต้องอาศัยสวัสดิการรัฐเท่านั้นเพราะค่ารักษาที่สูงมาก ซึ่งวันไหนดีก็ดีใจหาย วันไหนไม่ดีก็ได้แต่ปลอบตนเองว่าเรามาขอใช้สวัสดิการฟรี และบุคลากรวันนั้นคงจะยุ่งมากจริง ๆ)

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายด้านการรักษามะเร็ง

หมายเหตุ : แม้แต่ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่เองก็มีลำดับขั้นตอนในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการรักษา โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพื้นฐานในประเทศไทย อย่างยาภูมิคุ้มกันบำบัดแบบผู้ป่วยนอก

ที่พื้นฐานปัจจุบันจะต้องรักษาด้วยยาพุ่งเป้าก่อน(โดยเฉพาะมะเร็งระยะ3-4) และเมื่อเห็นว่า ไม่ได้ผล จึงทำบันทึกขอความอนุโลมใช้เป็นยาภูมิคุ้มกันบำบัดในลำดับถัดไป ถึงแม้ 3-5 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมแล้วว่า การให้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดตั้งแต่ระยะที่ 0-2 จะได้ผลดีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองเท่านั้น

ทำให้มาตรฐานประกันสุขภาพปัจจุบันจึงยังไม่ได้กำหนดให้ใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดแบบผู้ป่วยนอกไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ เหมือนยาพุ่งเป้าหรือการรักษาอื่น ๆ ที่ต้องเป็นผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายของทั้งยาพุ่งเป้า และค่าใช้จ่ายยาภูมิคุ้มกันบำบัด  มีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาในปัจจุบันสูงถึงปีละ 3-5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าตรวจและรักษาอื่น ๆ และไม่รวมยาในอนาคต) และมัก(ต้อง)ทานยาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทุกปี(โดยเฉพาะระยะ 3-4) จนกว่ายาจะไม่ได้ผลแล้ว จึงเปลี่ยนเป็นยาใหม่ที่(อาจ)แพงขึ้น

ล่าสุดมีเครื่องฉายรังสีตัวใหม่ที่มีความแม่นยำและลดผลกระทบกับอวัยวะใกล้เคียงได้อย่างมาก ซึ่งเหมาะกับฉายในส่วนสมองและส่วนตับ แต่ราคาต่อคอร์สการใช้งานจะสูงถึงหลักล้าน ยกเว้นว่าเป็นมะเร็งที่สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ ก็จะสามารถเสียค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ลดลงอย่างมากได้ (สวัสดิการรัฐจะมีวงเงินให้จำกัดจึงทำให้ได้เฉพาะ VMAT หรือต้องออกส่วนต่างเอง)

ขั้นที่ 3. ตรวจสอบวิธีการจัดการเบี้ยตอนเกษียณ

ก่อนที่จะพิจารณาแบบประกันสุขภาพที่จะมาคุ้มครองค่าใช้จ่ายโรคร้ายที่ไม่รู้งบประมาณเหล่านี้ ให้สามารถรู้งบประมาณผ่านเบี้ยประกันและสามารถวางแผนการเงินได้นั้น 

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน คือ เบี้ยประกันสุขภาพนั้นไม่คงที่ โดยเบี้ยก่อนเกษียณจะค่อย ๆ ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ เบี้ยหลังเกษียณจะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด!!

กราฟสำหรับ E Book

เมื่ออายุสูงมากขึ้นโดยเฉพาะหลังเกษียณ เบี้ยประกันจะสูงขึ้นอย่างมาก และเป็นช่วงอายุที่อาจไม่ได้มีรายได้เข้ามาแล้ว

การแก้ไขปัญหาเบี้ยสุขภาพช่วงสูงอายุจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากเพราะช่วงชีวิตหลังเกษียณจะมีโอกาสใช้ประกันสุขภาพมากที่สุด

ทั้งนี้ทาง Release your Risk เอง จะเน้นวิธีการแก้ไขปัญหาเบี้ยตอนเกษียณด้วยวิธีต่อไปนี้

การทำ Tax-Optimization และการลงทุนแบบ Time-based Segmentation

**พิเศษเฉพาะ RELEASE YOUR RISK สามารถคำนวณให้ได้ทุกปี (เมื่อลงทุนแต่ละปีไม่เท่ากัน)

BHI ใช้เงินลงทุนแบบ Tax Based2

❒   ที่มา : วิธีนี้จะเน้นคำนวณเงินที่แนะนำให้ลงทุนใน กองทุน RMF/SSF ในแต่ละปีที่แตกต่างกันได้ตามสภาพคล่องปีนั้น ๆ เพื่อวางแผนมาช่วยในการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบปกติในตอนเกษียณ และได้ลดหย่อนภาษีไปในตัว รวมถึงมีการวางแผนการลงทุนหลังเกษียณแบบ Time-based Segmentation ที่จะแบ่งเงินเป็น 3 กอง กองที่ต้องใช้ใน 15-16 ปีแรกก็จะความเสี่ยงต่ำ กองที่ต้องใช้ในอีก 15 ปีข้างหน้าก็ความเสี่ยงสูง และกองที่ต้องใช้ในอีก 30 ปีข้างหน้าก็จะความเสี่ยงสูงมาก เรียกว่าปรับความเสี่ยงการลงทุนตามโอกาสที่จะอายุยืนถึงได้นั้นเองป 

❒   ข้อดี : รู้เป้าหมายเงินที่จะใช้ชัดเจน มีความยืดหยุ่นในการลงทุนไม่ต้องเท่ากันทุกปีก็ได้ ได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มและเงินคืนจากการลดหย่อนภาษีสามารถมาชดเชยในส่วนที่คลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การจำลองแผนการลงทุนไม่ได้ใช้อัตราผลตอบแทนคงที่ตลอดชีพจึงมีความแม่นยำมากขึ้น แยกระหว่างเบี้ยประกันที่การันตีผลตอบแทน กับการลงทุนที่ไม่การันตีผลตอบแทนออกจากกันชัดเจน และสามารถดัดแปลงใช้วิธีนี้ในการวางแผนบำนาญได้

❒   ข้อสังเกตุ : จำเป็นต้องคำนวณให้ดีว่ายอดเงินที่ต้องเก็บเฉลี่ยปีละเท่าไร หากปีนี้เก็บน้อย ปีหน้าต้องเก็บเท่าไร ซึ่งต้องมีการสร้างเครื่องมือในการคำนวณและปรับความเสี่ยงแต่ละส่วนที่ตามที่ต้องการ พร้อมระบุอายุที่ต้องการเกษียณให้ชัดเจน ซึ่งสามารถให้ทาง Release your Risk คำนวณให้ใหม่ได้ในทุกปี

ตัวอย่าง การคำนวณที่ทาง Release your Risk มีการเปรียบเทียบให้พิจารณาก่อนตัดสินใจเรื่องแผนประกันของเพศชาย อายุ 29 ปี (ยิ่งลงมือทำเร็วจะมีโอกาสประหยัดได้มากขึ้น)

เปรียบเทียบกองทุนสุขภาพ
3 กอง e1650875200877
ตัวอย่างวางแผนลงทุนเงิน 3 กอง

หมายเหตุ : "จะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลตอบแทนการลงทุนทั้งจาก RMF และ SSF จะเป็นตามที่คาดการณ์ รวมไปถึงควรเลือกกองทุนแบบใด ทั้งก่อนและหลังเกษียณ" ส่วนนี้จะเป็นคำถามสำคัญที่ทางเราได้อธิบายลงรายละเอียดไว้ในบทความต่อไปนี้

ตย กองทุนสุขภาพ อายุ61 98

❐ สามารถกดแร์เพื่อเก็บไว้อ่านภายหลังในยามว่างได้ค่ะ

ขั้นที่ 4. พิจารณาเลือกความคุ้มครองที่ต้องการ

เปรียบเทียบแบบ Happy Health vs Prestige Health ตามวิธีการรักษา

เปรียบเทียบรักษาโรคทั่วไป

เปรียบเทียบคุ้มครองโรคทั่วไป Happy Health vs Prestige Health

เปรียบเทียบรักษาผ่าตัดทั่วไป

เปรียบเทียบคุ้มครองผ่าตัดทั่วไป Happy Health vs Prestige Health

เปรียบเทียบรักษาผ่าตัดซับซ้อน

เปรียบเทียบคุ้มครองผ่าตัดซับซ้อน Happy Health vs Prestige Health

เปรียบเทียบรักษาโรคมะเร็ง

เปรียบเทียบคุ้มครองมะเร็ง Happy Health vs Prestige Health

เปรียบเทียบรักษาโดยสรุป

เปรียบเทียบสรุปคุ้มครอง Happy Health vs Prestige Health

เปรียบเทียบแบบ Happy Health vs Prestige Health
ตามหมวดความคุ้มครอง

เปรียบเทียบวงเงินรักษาและระยะเวลาคุ้มครอง