ตัวอย่าง : โรคหรืออาการใดบ้างที่เข้าข่ายจะถูกยกเว้นความคุ้มครอง หากเป็นมาก่อนทำประกันสุขภาพ
มาเช็คดูกันค่ะว่า โรคหรืออาการใดที่ท่านกำลังเป็นอยู่ เคยเป็นหรือรักษาหายแล้วน้อยกว่า 5 ปี ที่อาจจะโดนประกันสุขภาพยกเว้นความคุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง อันเนื่องมาจาก
✦ เป็นโรคมาก่อนทำประกันและยังไม่มีการรักษาให้หายขาดเกิน 5 ปี (เป็นโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูง)
✦ เป็นโรคเรื้อรัง ที่มีโอกาสรักษาหายขาดได้ยาก
✦ เป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่รุนแรง
หรือหากท่านยังไม่เคยเป็นโรคใด ๆ มาก่อน สามารถอ่านบทความนี้เพื่อสังเกตตัวเอง และเตรียมตัวดูแลตัวเอง ไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวก่อนการทำประกันสุขภาพ โดยบทความนี้มีรายละเอียดโรคหรืออาการเด่น ๆ ที่คนนิยมเป็นกัน มาให้อ่านกันดังต่อไปนี้ค่ะ
(ซึ่งล้วนเป็นโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยรุ่น ไม่ใช่เพียงวัยทำงาน ดังนั้นยิ่งทำประกันสุขภาพช้าเท่าใด ยิ่งมีโอกาสที่เบี้ยประกันที่ท่านจ่ายไปจะไม่ครอบคลุมทุกโรคมากเท่านั้นค่ะ)
1. โรคกรดไหลย้อน (GERD)
หมายถึง การไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อย ขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนผิดปกติ โดยสาเหตุของโรคนี้ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เช่น ทำงานหนัก นอนดึก ชอบทานมื้อดึก ความเครียด ชนิดของอาหารที่รับประทาน ชอบดื่มชา กาแฟ ฯลฯ ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ พบมากในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นโรคกรดไหลย้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
โรคกรดไหลย้อนมี 2 ประเภทคือ แบบธรรมดา (CLASSIC GERD) และ แบบย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (LPR) สำหรับ โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง มักเกิดในขณะเดิน นั่ง หรือยืน ในเวลากลางวัน ส่วนโรคกรดไหลย้อนธรรมดา มักเกิดขณะนอน และเกิดในเวลากลางคืน
ทำไมโรคกรดไหลย้อนถึงอันตรายและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
เพราะสาเหตุการเกิดนอกจากพฤติกรรมของแต่ละคนแล้ว ยังอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเชื้อตัวนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทำให้มีอัตราเสี่ยงในการเกิด มะเร็งของกระเพาะอาหาร มากขึ้น
การรักษาโรคกรดไหลย้อนต้องใช้เวลานาน และถึงแม้ว่าแพทย์จะให้หยุดยาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้หายขาด ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมามีอาการใหม่ได้จนอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากมีการใช้ยารักษาอย่างเต็มที่แล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น
ดังนั้นหากมีประวัติการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่หยุดทานยาแล้วต่อเนื่องน้อยกว่า 5 ปี หรืออาจกำลังเป็นโรคกรดไหลย้อนที่ยังทานยาและพบแพทย์เป็นประจำ บริษัทประกันฯ จะไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวรวมถึงภาวะสืบเนื่อง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
และหากเป็นโรคกรดไหลย้อนมาที่กล่องเสียงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือโรคร่วมทางหู คอ จมูก ได้ เช่น กล่องเสียงอักเสบ โรคคออักเสบ/ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองโรคกรดไหลย้อนและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านไม่เคยมีอาการหรือเจ็บป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อน หรือมีอาการที่เป็นภาวะสืบเนื่องใด ๆ อีกเลยต่อเนื่องกัน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครอง
2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
โรคยอดฮิตสำหรับผู้หญิง ที่พบมากในช่วงอายุ 25-35 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจาก การไหลย้อนทางของประจำเดือนผ่านท่อนำไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง
อาการแสดงถึงโรคนี้ คือ ปวดท้องน้อยมากถึงเรื้อรัง อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน รวมถึงภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้บางรายก็ไม่มีอาการใด ๆ แม้จะมีรอยโรคชัดเจน
ทำไมโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ถึงอันตรายและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังไม่มีการผ่าตัดรักษาหายขาดเกิน 5 ปี
ถึงแม้ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่เป็นโรคเรื้อรัง จนอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดหากมีการใช้ยารักษาอย่างเต็มที่แล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้นหรือไม่มีการตอบสนอง รวมถึงมีอาการที่รุนแรง ซึ่งการผ่าตัดที่นิยมมากที่สุดคือ การผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้อง
ดังนั้นโดยทั่วไปเมื่อตรวจพบรอยโรคของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แพทย์จะรักษาโดยยการให้ทานยาต่อเนื่อง และเมื่อหายแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ รวมถึงการรักษาโดยการผ่าตัดบางประเภทก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ เช่น การเลาะพังผืดออก หรือการเลาะก้อนบริเวณรังไข่ออก และอาจต้องผ่าตัดซ้ำได้
ดังนั้นหากมีประวัติการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หายแล้ว (หยุดทานยาและพบแพทย์) ต่อเนื่องน้อยกว่า 5 ปี หรืออาจกำลังเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ยังทานยาและพบแพทย์เป็นประจำ รวมถึงที่ผ่าตัดด้วยการจี้ การเลาะพังผืดออก หรือการเลาะก้อนบริเวณรังไข่ออก จนหายแล้วน้อยกว่า 5 ปี
บริษัทประกันฯ จะไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวรวมถึงภาวะสืบเนื่อง เช่น มะเร็งรังไข่ โรคไขมันอุดตัน และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
ทั้งนี้ อาจรวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ลำไส้ทะลุ มีเลือดคั่งในช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ ก้อนในรังไข่แตกหรือติดเชื้อ เนื่องจากมดลูกขยายขนาดขึ้นบริเวณที่มีพังผืด
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่ มดลูกและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาด้วยการผ่าตัดรังไข่และมดลูกออกทั้งหมดนานประมาณ 3-5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องช่วงล่าง เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
✚คำแนะนำเพิ่มเติม
เมื่อมีการแถลงเกี่ยวกับโรคหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในแบบฟอร์มคำขอทำประกันฯ และถ้าท่านมี
✦ ประวัติการรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และ/หรือ
✦ ประวัติการตรวจสุขภาพ หรือผลการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องล่าง
ท่านสามารถแนบมาพร้อมกับการขอทำประกันได้ตั้งแต่แรก เพื่อความรวดเร็วในขั้นตอนการพิจารณารับประกันค่ะ
3. ปวดศรีษะไมเกรน (Migraine)
ปวดหัวไมเกรนจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับความทนทานของร่างกายแต่ละบุคคล พบมากในกลุ่มวัยทำงาน อาการปวดหัวไมเกรนที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แท้จริงแล้วเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อันตรายกว่าที่คิดไว้
โดยสิ่งกระตุ้นที่สำคัญ คือ ความเครียด ฮอร์โมนและอารมณ์ในร่างกาย การอดนอนเป็นเวลานาน ตาเฟอีน แอลกอฮอล์ ผงชูรส ชีส อากาศร้อน แสงแดดจ้า การใช้ยา กลิ่นน้ำหอม กลิ่นบุหรี่ ผู้ป่วยเป็นคนแพ้ช็อคโกแลต รวมไปถึงผู้หญิงที่มีภาวะการมีประจำเดือนเข้ามาเกี่ยวข้อง และคุณแม่หลังคลอดบุตร ทำให้เป็นไมเกรนได้
อย่างไรแล้วสิ่งกระตุ้นให้เป็นไมเกรนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ทำไมไมเกรนถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
เนื่องจากอาการปวดหัวไมเกรน บางครั้งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน หรือหากมีอาการหนักมากอาจจะมีอาการผิดปกติ อาทิ มองเห็นแสงจ้า ตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัด ไวต่อการรับเสียง วูบหรือหน้ามืด จนอาจเป็นลมได้ในที่สุด
ดังนั้นบริษัทฯ จึงมองว่าอาการปวดหัวไมเกรนเป็นความเสี่ยง และจะไม่คุ้มครองหากเป็นก่อนทำประกัน หรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี (หยุดทานยาและพบแพทย์)
ผู้หญิงเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชาย คิดเป็นอัตรา 8 ต่อ 1 โดยเฉลี่ยอาการปวด 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือน และระยะเวลาที่เป็นจะอยู่ประมาณหลายชั่วโมง (แต่ไม่เกิน 1 ถึง 2 วัน)
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการปวดศรีษะไมเกรนและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านไม่เคยมีอาการหรือเจ็บป่วยด้วยไมเกรน หรือมีอาการที่เป็นภาวะสืบเนื่องใด ๆ อีกเลยต่อเนื่องกัน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาไมเกรนล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
4. ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ผู้ป่วยทอนซิลอักเสบมักมีอาการ เช่น เจ็บคอ บางครั้งอาจเจ็บจนร้าวไปหู มีไข้หนาวสั่น กลืนเจ็บ กลืนลำบาก อาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมโต
โดยหากมีอาการอักเสบบ่อย ๆ ทำให้ต่อมมีขนาดที่โตขึ้นและอาจกลายเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง มีการอักเสบซ้ำ ๆ ปีละหลายครั้ง หรือระคายเคืองคอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก (ข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลกรุงเทพ)
ทำไมต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังถึงอันตรายและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
หากปล่อยให้ต่อมทอนซิลอักเสบจนเรื้อรัง ทำให้ในหนึ่งปีมีโอกาสเป็นหลายครั้ง ในบางครั้งหากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการรุนแรง ไข้สูง มีภาวะขาดน้ำขาดอาหาร อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือหรือยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด
และบางครั้งอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น การอักเสบติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง เกิดหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล เกิดภาวะการติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต อาจจำเป็นจะต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองหรือการติดเชื้อร่วมกับการให้ยา
ดังนั้นบริษัทฯ จึงมองว่าเป็นความเสี่ยงและไม่คุ้มครองหากเป็นมาก่อนและยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
5. โรคภูมิแพ้
เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน
โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นได้หลายระบบในร่างกาย เช่น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้อาหารและยา ภูมิแพ้ผิวหนัง และภูมิแพ้ตา ที่พบได้บ่อย คือ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ หรือโรคแพ้อากาศ ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น 3 – 4 เท่า หากเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก
- กรรมพันธุ์
- มลภาวะ
- สูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่นชั้นดี เป็นต้น
ทำไมภูมิแพ้ถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
เนื่องจากภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นโรคยอดฮิตที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ที่อาจกลายเป็นภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะช็อกและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ โรงพยาบาลกรุงเทพ)
นอกจากนี้ภูมิแพ้ยังเป็นตัวารสำคัญของโรคหอบหืด ซึ่งถือเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตรุนแรงที่สุด และอาจส่งผลประทบต่อปอด ดังนั้นบริษัทประกันฯ จึงพิจารณาโรคภูมิแพ้ที่กำลังรักษา หรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นเป็นความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคภูมิแพ้ รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการหรือโรคภูมิแพ้ และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านไม่เคยมีอาการหรือเจ็บป่วยด้วยภูมิแพ้ หรือมีอาการที่เป็นภาวะสืบเนื่องใด ๆ อีกเลยต่อเนื่องกัน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
6. ไซนัสอักเสบ
การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก อาจจะเป็นการอักเสบติดเชื้อหรือการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อก็ได้ โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง
โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ประมาณกันว่าประชากรทั่วไป 1 ใน 8 คน
ทำไมไซนัสอักเสบถึงเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
เนื่องจากโรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ อาจเกิดไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็น ๆ หาย ๆ หรือเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง จนอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น เยื่อบุหูชั้นกลางอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือสมอง เช่นฝีในลูกตาหรือสมอง รวมถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฯลฯ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th)
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ ไซนัสอักเสบที่ยังรักษาหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคไซนัสอักเสบและภาวะสืบเนื่อง (ที่อาจรวมถึง การติดเชื้อในหูชั้นกลาง)
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองไซนัสอักเสบและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาไซนัสอักเสบจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
7. หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง เป็นอาการที่เกิดจากการไอเรื้อรังมากกว่า 3 เดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี สาเหตุมาจาก โรคภูมิแพ้ หรือภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานและการสัมผัสกับมลภาวะเป็นระยะเวลานาน เช่น ฝุ่น ควัน
ทำไมหลอดลมอักเสบเรื้อรังถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนและยังกำลังรักษาต่อเนื่อง
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากเยื่อบุหลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักจะมีอาการ เป็นๆ (มีเหตุมากระตุ้น) หายๆ (ไม่มีเหตุมากระตุ้น) และทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจทำให้เสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเขียว
หากผู้ป่วยสัมผัสกับเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์เศร้า วิตก กังวล เสียใจ รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือหวัด ผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการอีกดังเดิม ดังนั้นผู้ป่วยจะลดการรักษาและการใช้ยาดังกล่าวได้หรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยค่ะ
บริษัทประกันฯ จึงมองว่าเป็นความเสี่ยงเกินที่จะให้ความคุ้มครอง จึงต้องยกเว้นการให้ความคุ้มครองโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและภาวะสืบเนื่อง ภายใต้สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพค่ะ
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการหรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
8. ติดเชื้อในหูชั้นกลาง
เป็นอาการหูชั้นกลางอักเสบ หรือหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรังนานเกินกว่า 3 เดือน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อหวัด ไซนัสอักเสบ ต่อมอะดีนอยด์อักเสบ บางรายอาจจะมีภาวะบางอย่างทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น บ่อยขึ้น เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ การสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง การขึ้นที่สูง ขึ้นเครื่องบิน
ทำไมการติดเชื้อในหูชั้นกลางถึงเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ถ้าไม่ได้รับการรักษา คือ ไข้สูงไม่ลดลง ประกอบกับ น้ำหนองไหลจากหูมากขึ้น ปวดบวมหลังหูอาจคิดถึงฝีลุกลามไปกระดูกหลังหูจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด รวมถึงการติดเชื้อลุกลามออกไปพวกหู เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูงตลอดเวลา ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน เป็นต้น
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ การติดเชื้อในหูชั้นกลางที่ยังรักษาหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือภาวะการติดเชื้อในหูชั้นกลาง รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองการติดเชื้อในหูชั้นกลางและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองได้เลยค่ะ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาภาวะติดเชื้อในหูชั้นกลางจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
9. โรคนิ่ว
โรคนิ่วจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง มักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ รวมถึงนิ่วในถุงน้ำดี
สาเหตุการเกิดมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม เมตาบอลิซึมของร่างกายแต่ละคน ปัจจัยทางพันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการบริโภคอาหาร
ทำไมโรคนิ่วถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนและยังกำลังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
เนื่องจากกลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าคงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต (ข้อมูลจากเว็บไซต์ รพ.กรุงเทพ)
หากปล่อยทิ้งไว้นานไม่รีบรักษา อาจเกิดการติดเชื้อบ่อยจนเนื้อไตเสีย ไตเสื่อม และไตวายเรื้อรังได้ในอนาคต และโรคนิ่วอาจเกิดซ้ำได้หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดำเนินชีวิต
ส่วนนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด เสี่ยงเกิดในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น การรักษาจึงต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้มีโอกาสเป็นซ้ำได้
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ โรคนิ่วที่ยังรักษาหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคนิ่ว รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการหรือโรคนิ่ว และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาโรคนิ่วจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
10. ถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบเกิดได้จากทั้ง ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว เป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบที่พบมากถึง 95% อาจเกิดจากก้อนนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone) หรือตะกอนของถุงน้ำดี (Biliary Sludge) ไปอุดตันทางออกถุงน้ำดี (Cystic Duct) จนทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบ
และ ถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น ซึ่งพบได้ประมาณ 5% เช่น ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุฉีกขาด ถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดีเกิดเนื้องอก ท่อน้ำดีตีบตันจากพังผืด การทำงานที่ผิดปกติของถุงน้ำดีในผู้ป่วย ICU ผู้ป่วยสูงอายุที่มีเส้นเลือดเสื่อม ติดเชื้อ หรือได้รับอาหารทางเส้นเลือดนาน ๆ เป็นต้น (ข้อมูลจากเว็บไซต์ รพ.กรุงเทพ)
ทำไมโรคถุงน้ำดีอักเสบถึงเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หาย
หากถุงน้ำดีอักเสบและติดเชื้อ ต่อมาอาจเกิดถุงน้ำดีเป็นหนอง ถุงน้ำดีขาดเลือดเกิดเนื้อตายเน่า ถุงน้ำดีแตกทะลุ ท่อน้ำดีติดเชื้อ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งร้ายแรงอาจถึงชีวิตได้
ถุงน้ำดีอักเสบเกิดไม่สามารถป้องกันได้ จึงต้องเน้นดูแลสุขภาพเรื่องอาหารการกินเพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเป็นต้นเหตุหลัก ๆ ของถุงน้ำดีอักเสบ หากเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบชนิดเรื้อรัง อาการจะไม่รุนแรง แต่จะเกิดการอักเสบซ้ำบ่อย ๆ และหากเกิดการติดเชื้อเฉียบพลันซ้ำซ้อนขึ้นมาก็จะทำให้กลายเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบรุนแรงเหมือนชนิดเฉียบพลันได้เช่นกัน จนต้องผ่าตัดรักษา
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ โรคถุงน้ำดีอักเสบที่ยังรักษาหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคถุงน้ำดีอักเสบ รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองถุงน้ำดีอักเสบและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
11. หมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาท
อาการปวดหรือชาขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ สาเหตุของโรคนี้ คือ
✦ การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อย ๆ
✦ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
✦ นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนาน ๆ
✦ อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
ทำไมโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาทถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนและยังกำลังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และและมีความรุนแรงหลายระดับ รวมถึงการแสดงอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลังที่เป็น
ในระยะเริ่มแรกส่งผลให้มีอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หากปล่อยให้จนถึงระยะรุนแรง อาการปวดชาและอ่อนแรงจะเริ่มเป็นมากขึ้น จนสุดท้ายอาจเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทก่อให้เกิดความพิการได้
การรักษามีหลายวิธี เช่น ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง กายภาพบำบัด ยาลดการอักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อ และการผ่าตัด ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่ยังรักษา ทำกายภาพบำบัดหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการหรือโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาท และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
✚คำแนะนำเพิ่มเติม
เมื่อมีการแถลงเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาทในแบบฟอร์มคำขอทำประกันฯ และถ้าท่านมี
✦ ประวัติการรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาท และ/หรือ
✦ ผลประวัติการตรวจสุขภาพประจำปี
ท่านสามารถแนบมาพร้อมกับการขอทำประกันได้ตั้งแต่แรก เพื่อความรวดเร็วในขั้นตอนการพิจารณารับประกันค่ะ
12. เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง
คือ ลักษณะอาการที่ร่างกายเกิดอาการเจ็บบวม ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา ร่างกายของคนเราล้วนแล้วแต่เกิดการอักเสบขึ้นได้ทั้งนั้น แต่บริเวณที่พบบ่อยมากที่สุดคือ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า (ข้อมูลจาก http://drsuttclinic.com/)
สาเหตุของการเกิดเอ็นอักเสบเรื้อรังส่วนหนึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดท่า เพราะเส้นเอ็นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหว สามารถเกิดแรงกระทบได้ทั้งภายนอกและภายใน เช่น การทำงานที่ใช้กำลัง การยกของหนัก การเอื้อมยกของ ต้องออกแรงแกว่งหรือแรงเหวี่ยง การออกกำลังกายที่หักโหม เป็นต้น
ทำไมเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังถึงเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนหรือยังรักษาไม่หาย
อาการของเอ็นอักเสบเรื้อรังจะกลายเป็นปวดมากจนไม่สมารถขยับส่วนที่ใกล้เคียงบริเวณที่มีการอักเสบได้ หากยังคงทำกิจกรรมปกติช้ำ ๆ และไม่รีบทำการรักษาเบื้องต้น เพียงการขยับเบา ๆ ก็สามารถทำให้เจ็บปวดทรมานได้
เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน หากไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น การทำกายภาพบำบัด ทานยาบรรเทาอาการปวด หรือการผ่าตัดเมื่ออาการไม่ดีขึ้น
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังที่ยังรักษาหรือยังไม่หายขาดเกิน 5 ปี นั้นมีความเสี่ยง จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังและภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
หากท่านตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากทำประกัน ท่านได้รักษาเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังจนหายขาดเกิน 5 ปี ท่านสามารถติดต่อ Release Your Risk เพื่อยื่นเรื่องให้บริษัทฯ ยกเลิกการไม่คุ้มครองโรคดังกล่าวได้ค่ะ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
13. โรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมพบได้ในคนมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งของร่างกายและมักพบตามข้อที่มีการเคลื่อนไหวหนัก ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อกระดูสันหลังและกระดูกคอ
อาการข้อเสื่อมจะเริ่มเป็นที่ละน้อย และรู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีการใช้งานข้อที่เสื่อม อาจจะมีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาพักการใช้ข้อนาน ๆ
ทำไมโรคข้อเสื่อมถึงมีความเสี่ยงและบริษัทประกันฯ ถึงไม่คุ้มครอง หากเป็นมาก่อนและยังกำลังรักษาไม่หายขาดเกิน 5 ปี
ด้วยกลไกของข้อเสื่อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เมื่อเป็นแล้วจึงเป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง การรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีจุดหมาย คือ มุ่งลดอาการปวดและอาการอักเสบ จะไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้
ดังนั้นในมุมมองของบริษัทประกันฯ โรคข้อเสื่อมที่ยังรักษาอยู่หรือเป็นมาก่อนทำประกันฯ นั้นมีความเสี่ยงที่ต้องอาศัยการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน จึงจะไม่คุ้มครองอาการหรือโรคข้อเสื่อม รวมถึงภาวะสืบเนื่อง
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองอาการหรือโรคข้อเสื่อม และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
อาการหรือโรคอื่น ๆ ที่บริษัทประกันมองว่าเป็นความเสี่ยง
✦ ออทิสติก
✦ สมาธิสั้น
✦ เส้นประสาทอักเสบหรือถูกเบียดทับ
✦ กระดูกสันหลังเคลื่อน
✦ ฝีคันฑสูตร
✦ ไส้เลื่อน
✦ ริดสีดวงทวาร
ทำอย่างไรหากบริษัทฯ ไม่คุ้มครองหรือยกเว้นความคุ้มครองโรคหรืออาการดังกล่าว และภาวะสืบเนื่อง
หากขอบเขตของความไม่คุ้มครอง มีความสมเหตุสมผลและชัดเจน อาจไม่ต้องทำขั้นตอนใดนอกจากยอมรับข้อเสนอใหม่ตามที่บริษัทฯ ยื่นมา ท่านสามารถตอบรับข้อเสนอใหม่ที่ระบุเงื่อนไขความไม่คุ้มครอง เพื่อให้ความคุ้มครองเริ่มมีผลบังคับ
เว้นแต่ว่า ท่านต้องการให้บริษัทฯ ทบทวนการพิจารณาใหม่พร้อมหลักฐานเพิ่มเติม เช่น
✦ ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาและอาการปัจจุบัน เพื่อขอให้ลดขอบเขตการไม่คุ้มครองให้แคบลง
✦ ยื่นหลักฐานใบรับรองแพทย์ หรือผลประวัติการรักษาล่าสุด เป็นต้น
หมายเหตุ: 1. การขอให้บริษัทฯ ทบทวนการรพิจารณาใหม่ และการที่ต้องใช้หลักฐานพิสูจน์โรคหรืออาการที่เคยเป็นว่า มีผลที่ปกติดี ท่านจะต้องฝ่ายดำเนินการและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเหล่านั้นเอง
2. โดยผลการพิจารณาครั้งใหม่จากหลักฐานที่ท่านยื่นไป เป็นการให้โอกาสได้ต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่าบริษัทฯ จะไม่ยกเว้นการไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"