เครื่องมือออมเงิน..ให้ได้มากกว่าดอกเบี้ย

  • เคยหรือไม่ที่..วางแผนการออมให้ตนเองหรือลูกเมื่อใด..เพียงเริ่มก็ล้มเหลว
  • เคยหรือไม่ที่..เริ่มออมได้ไม่กี่ปี..ก็มีเหตุให้ต้องรีบนำเงินออมออกมาใช้
  • เคยหรือไม่ที่..ออมเงินได้นานกว่า 10 ปี แต่กลับต้องล้มเลิกเพราะสิ่งเร้ามากมาย
  • เคยหรือไม่ที่..ออมเงินได้สำเร็จครบ 20 ปีแล้ว แต่สุดท้าย..เงินที่เก็บมากลับต้องหมดไปในพริบตา
  • เคยหรือไม่ที่..เลือกที่จะ เป็นหนี้ มากกว่าที่จะ เก็บออมเงินต่อ

คำเตือน จากคนอายุ 50-60 ปี ถึงคนอายุ 20-40 ปี

"ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ต้องเจอ"

พ่อแม่วัย50 60ปี

เมื่อคุณเริ่มมีอายุเข้าสู่วัย 50-60 ปี คุณจะพบว่าเป็นวัยที่มีค่าใช้จ่ายสำคัญต้องจัดการมากมาย และมักสูงรวมกันถึงหลักล้านขึ้นไปได้ไม่ยาก เช่น 

ค่าทุนการศึกษาระดับสูงของลูก ค่าสินสอดงานแต่งงาน ค่าเริ่มต้นหรือจัดการหนี้ธุรกิจ ค่าจัดการหนี้บริโภคก่อนเกษียณ ค่าผ่าตัดรักษาพยาบาล เป็นต้น

ซึ่งล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่คุณตอนอายุ 30-40 ปี พยายามจะมองไม่เห็น (เพราะว่ายังมาไม่ถึง ไม่ขอรับรู้ที่จะวางแผนรองรับ) ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้หลีกเลี่ยงได้ยาก และแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อแผนเกษียณที่เตรียมไว้อย่างมาก

แม้คุณเองจะรู้ว่า หากคุณได้เตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อยสัก 10-20 ปี จะทำให้การเตรียมเงินล้านไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้นั้นไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เพราะจะตกเพียงปีละหลักหมื่นเท่านั้น (หากคุณใช้เครื่องมือการออมที่ถูกต้องกับค่าใช้จ่ายที่จะให้เครื่องมือดูแล)

ซึ่งหากรู้ตัวเร็ว ยอมรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้เร็ว ย่อมจะเปลี่ยนคำถามตอนอายุ 50-60 จากที่ว่า “จะเอาเงินจากไหนมาจ่าย จะเกษียณได้ตอนไหน” 

ให้กลายมาเป็นคำถามตอนอายุ 30-40 ว่า “จะทยอยเก็บเงินอย่างไร ให้เงินยังอยู่ถึงช่วงเวลาสำคัญในอีก 15-20 ปีข้างหน้าได้สำเร็จ”

แม้จะยังเป็นคำถามที่ไม่ง่ายนัก แต่ก็ดีกว่าคำถาม “จะเอาเงินจากไหนมาจ่าย” ได้อย่างมาก 

และนี้ คือ ความสำคัญของการวางแผนการออมเงินให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้เริ่มเผชิญกับความท้าทายในปัญหาต่อไป หรือก็คือ ปัญหาที่ทำให้การออมเงินสำเร็จได้ยาก ซึ่งมีที่มาจากสาเหตุต่อไปนี้

ทำไม รายได้เพิ่มแต่ไม่มีเงินเก็บ แถมยังมีหนี้บริโภคเพิ่มขึ้น

ปัญหาใหญ่ของการเก็บออมเงินระยะยาว ที่หากไม่เข้าใจถึงต้นตอของปัญหา..จะทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องยากอย่างมาก

more income more debt

เพราะคนโดยทั่วไปจะไม่ได้แบ่งความสำคัญของรายจ่ายให้ออกเป็นหมวด NEEDs (จำเป็น) กับหมวด WANTs (เพื่อความสะดวกสบาย/ความต้องการ) อย่างชัดเจน

รวมถึงไม่ได้ตระหนักว่าหมวด WANTs นั้นจะมีขนาดที่ไม่จำกัด แปรเปลี่ยนไปตามภาชนะหรือรายได้ที่มีอยู่ ทำให้ WANTs พร้อมที่จะขยายใหญ่ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา หรือ

หากเลวร้ายกว่านั้น หากภาชนะเป็นวงเงินบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือวงเงินที่สามารถกู้ได้ หมวด WANTs ก็พร้อมจะขยายตัวให้เป็นหนี้เต็มวงเงินได้เร็วมากเช่นกัน (โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ธนาคารเน้นผลประกอบการมากกว่าเรื่องธรรมาภิบาล)

ทางแก้สำคัญจึงต้องเลือกภาชนะที่เหมาะสมให้กับหมวด WANTs โดยแทนที่จะเป็นรายได้ทั้งหมด ให้เปลี่ยนภาชนะเป็นการกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายมาครอบ WANTs ไว้ 

หรือ แบ่งรายได้มาอยู่ในหมวด NEEDs และ ออมเงิน ให้เรียบร้อยก่อน ส่วนที่เหลือจึงสามารถนำไปใช้กับ WANTs ได้ ซึ่งทำให้สอดคล้องกับคำพูดที่ว่า “ให้เก็บก่อนใช้” เพราะ การใช้ก่อน..เหลือเท่าไรค่อยเก็บนั้นไม่มีอยู่จริง

ดังนั้นการกำหนดสัดส่วนงบประมาณของหมวด NEEDs กับ WANTs ให้ชัดเจน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ เพราะ ถ้าหากไม่ทำ ก็ย่อมไม่มีทางเริ่มต้นออมเงินระยะยาวใด ๆ ได้เลย

..เนื่องจากจะถูกก่อกวนด้วย WANTs อยู่ตลอดเวลา และการก่อกวนจะหนักข้อยิ่งขึ้นอีก เมื่อเริ่มออมเงินไปได้สักพักจนเงินเริ่มกลายเป็นเงินก้อนใหญ่

ระวัง!!..เงินเก็บก้อนใหญ่ (อาจ)นำไปสู่ หนี้ก้อนใหญ่กว่า

เมื่ออดทนจนสามารถเก็บเงินได้สัก 10 ปี หรือ 20 ปีได้สำเร็จ เงินเก็บก้อนใหญ่จะทำให้ WANTs แผ่ขยายอย่างน่ากลัว

more income more debt3

 .. ซึ่ง ความต้องการ (WANTs) จะตามมาหลอกหลอนหนักข้อขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยขนาดใหญ่ตามขนาดของเงินก้อนใหญ่ที่ได้ออมมา

ทำให้เงินเก็บก้อนใหญ่นี้ มักจะลงเอยกลายเป็นเงินดาวน์ ให้กับบ้านใหม่ หรือรถใหม่ และเปลี่ยนจากเงินเก็บกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่กว่าขึ้นมาแทน 

ด้วยเพราะความต้องการ (WANTs) ชนะความจำเป็น (NEEDs) และชนะเป้าหมายที่วางแผนไว้ในตอนแรก ไม่ว่าจะเป็นออมให้ลูก หรือ ออมเพื่อเกษียณก็ตาม

ดังนั้น การกำหนดหน้าที่หรือเป้าหมายของเงินออมให้ชัดเจน (ทั้งก่อนเก็บและหลังเก็บเงินได้) จึงสำคัญอย่างมาก..ว่าเงินเก็บนี้จะสามารถนำออกมาใช้ได้เฉพาะในเหตุการณ์ใดเท่านั้น

และอาจต้องย้ำเตือนกับคนใกล้ชิด หรือ แม้แต่ลูก ๆ ถึงบทบาทหน้าที่ของเงินเก็บก้อนนี้ให้ดี ๆ เพื่อป้องกัน WANTs โจมตี NEEDs ผ่านความต้องการและความสงสาร คนใกล้ชิด หรือ ลูก ๆ ได้

เมื่อตระหนักถึงความน่ากลัวของ WANTs และ ระบุหน้าที่ของเงินเก็บก้อนต่าง ๆ อย่างจริงจังได้แล้ว สิ่งที่ควรต้องรีบเรียนรู้ต่อมา คือ เครื่องมือการเงินที่จะช่วยในการเก็บเงินและปกป้องไม่ให้นำออกมาใช้ผิดบทบาทหน้าที่

เพราะการเก็บเงินในกระปุก หรือ ฝากธนาคารทั่วไป คุณจะไม่ได้รับการป้องกันใด ๆ จาก WANTs รวมถึงไม่ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นอื่นใด ในความความ ตั้งใจ อดทน และ มีวินัยของคุณเลย นอกเหนือจากเงินเก็บนั้น 

ทั้ง ๆ ที่ยังมีเครื่องมือการออมอีกหลายอย่าง และ แต่ละอย่างก็จะให้การป้องกันเงินเก็บ และ ผลตอบแทนความเด็ดเดี่ยว ความมีวินัยออมเงิน ที่แตกต่างกันไป ไม่ได้ให้เพียงเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น

ทำให้ขั้นตอนการออมเงินให้สำเร็จ จึงจะต้องเข้าใจ จับคู่ หน้าที่ของเงินเก็บ กับ เครื่องมือการออมเหล่านี้

จับคู่ หน้าที่ หรือ เป้าหมาย ของเงินเก็บ กับ เครื่องมือการออม

สิ่งที่จะทำให้การเก็บเงินสำเร็จ  คือ มีเครื่องมือป้องกันการโจมตีจาก WANTs 

วินัยการเก็บเงินให้ลูก3

แน่นอนว่า การนำเครื่องมือการออมมาป้องกันเงินเก็บนั้น จำเป็นต้องมีความเด็ดเดี่ยว ความมีวินัย และ เป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถออมเงินให้ได้ตามเป้าหมาย

โดยเกราะป้องกันเงินเก็บจะแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ถ้าเลือกใช้เครื่องมือการออมได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งรูปจากตารางด้านล่างนี้ จะทำให้เห็นถึง เครื่องมือการออมแบบต่าง ๆ ที่จะสามารถนำมาสร้างเกราะป้องกันให้กับเงินเก็บก้อนสำคัญ ทั้งเกราะที่เหมาะกับการใช้งานระยะสั้น ระยะยาว และระยะฉุกเฉิน ดังนี้

เปรียบเทียบวิธีการเก็บเงินให้ลูกน้อย ส่วนที่.1 e1713326526150
เปรียบเทียบวิธีการเก็บเงินให้ลูกน้อย ส่วนที่ 2

จากตารางจะเห็นได้ว่า เครื่องมือการออมแต่ละอย่างจะให้ผลประโยชน์สำหรับการออมเงินที่แตกต่างกัน รวมถึงบทลงโทษหากผิดเงื่อนไขหรือวินัยการออมแตกต่างกันไป

ซึ่งมีทั้งการออมแบบการสมัครใจเก็บเงินระยะสั้นอย่างการฝากเงิน จนถึงการบังคับเก็บเงินระยะยาวอย่างกองทุนลดหย่อนภาษี (ที่มีโอกาสทำให้เงินเก็บเติบโตได้เอง) และ 

การเปลี่ยนการเก็บเงินให้เป็นรายจ่ายประจำอย่างประกัน  (ที่ต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวอย่างมาก แต่ก็ให้ผลตอบแทนเป็นการปกป้องความเสี่ยงต่าง ๆ RISKs ที่มากกว่าเงินที่กำลังเก็บอยู่)

ซึ่งจะสามารถสรุปเครื่องมือการออมเงินต่าง ๆ ในแง่มุมของ วินัย ความเด็ดเดี่ยว และความเหมาะสมในการเก็บเงินอย่างเช่น เพื่อให้เป็นทุนการศึกษาลูก ได้ดังตารางต่อไปนี้

เปรียบเทียบโอกาสสำเร็จของการเก็บเงินให้ลูกน้อย ส่วนที่1 e1713326586466
เปรียบเทียบโอกาสสำเร็จของการเก็บเงินให้ลูกน้อย ส่วนที่2

จากมุมมองความเด็ดเดี่ยวนี้เอง จะเริ่มทำให้เห็นถึงความสำคัญของเครื่องมือการออมอย่าง ประกันชีวิตตลอดชีพ กับ ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ มากยิ่งขึ้น ในแง่มุมที่เป็น เกราะป้องกันเงินออม ที่ไม่ใช่แค่เพียงจาก WANTs แต่รวมไปถึง RISKs ด้วย

ขั้นตอนต่อไป หลังจากได้ 'เป้าหมาย' การออมที่แบ่งเป็น NEEDs  WANTs และ RISKs เรียบร้อยแล้ว 

การพิจารณาลำดับ 'เวลา' การเลือกใช้เครื่องมือการออม ก่อน-หลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ดังนี้

พิจารณารายละเอียดเจาะลึก

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก