เครื่องมือเปรียบเทียบประกันบำนาญ

ประกันบำนาญ หนึ่งในแบบประกันที่การเปรียบเทียบแบบประกันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ทั้งในบริษัทเดียวกันและต่างบริษัท ด้วยสาเหตุที่ว่า..

แต่ละบริษัทประกันรับความเสี่ยงการลงทุนในเรื่องอัตราดอกเบี้ย "ระยะสั้น/ระยะยาว" ได้แตกต่างกัน ทำให้แต่ละบริษัทประกัน "ไม่ต้องการ" ออกแบบประกันบำนาญให้สามารถเปรียบเทียบเฉพาะผลตอบแทนได้ง่าย

ซึ่งถ้าผู้ที่จะทำประกันบำนาญไม่ทราบถึงวิธีการเลือกประกันบำนาญที่ดี และไม่ได้หาทางที่จะคำนวณเปรียบเทียบเองจะอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อบำนาญที่ต้องการต่อเดือนสูงกว่า 10,000 บ. ขึ้นไป

ดังตัวอย่างแบบประกันบำนาญ 2 แบบด้านล่างนี้ของชายอายุ 45 ปี ที่จ่ายเบี้ยถึงอายุครบ 60 ปี และ รับบำนาญเดือนละ 20,000 บ. ตั้งแต่อายุ 60-99 ปีเหมือนกัน แต่เบี้ยประกันรวมทั้งสัญญาแตกต่างกันถึง 982,520 บ. หรือเกือบ 1 ล้านบาท

ประกันบำนาญแบบ1

ประกันบำนาญแบบที่ 1

ประกันบำนาญแบบ2

ประกันบำนาญแบบที่ 2

โดยถ้าหากนำเบี้ยส่วนต่าง 982,520 นี้ไปซื้อประกันบำนาญแบบที่ 1 เพิ่ม จะทำให้ได้รับบำนาญเพิ่มมาอีกที่ 5,698 บ.ต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นถึง 2,734,840 บ. เป็น 12,334,840 ตลอดอายุสัญญา (จาก เดิม 9,600,000 บ.)

ประกันบำนาญแบบ3

ประกันบำนาญแบบที่ 1

รวมถึงประกันบำนาญนั้น หน้าที่ของตัวแทนหรือผู้แนะนำ จะไม่ได้อยู่ที่บริการหลังการขาย เพราะประกันบำนาญคล้ายประกันสะสมทรัพย์ที่ทุกอย่างเป็นไปตามสัญญา ไม่ต้องมีการตีความหรือพิจารณาเพิ่มเติมใด ๆ เหมือนกับประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต (ที่ควรมีตัวแทนช่ววยประสานงานหลังการขาย)

ดังนั้นการเลือกซื้อประกันบำนาญเพียงเพราะชื่นชอบตัวแทน และตัวแทนแนะนำให้ซื้อของบริษัทตนเองอย่างเดียวโดยไม่ได้เปรียบเทียบก่อน อาจทำให้คุณต้องจ่ายเบี้ยแพงขึ้นกว่า 1 ล้านบาท หรือ เสียผลประโยชน์บำนาญไปสูงสุดถึง 2.7 ล้านบาทได้

เรื่องเงินห้ามไว้ใจแต่.ต้องเข้าใจ release your risk

อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันเองก็ไม่สามารถแข่งขันกันเฉพาะที่ผลตอบแทนตรง ๆ ได้อย่างที่กล่าวมา จึงต้องอาศัย Connection ของตัวแทน และ การออกแบบประกันบำนาญให้มีจุดเด่นอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากผลตอบแทนขึ้นมา

โดยบริษัทที่รับความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยได้น้อยกว่า หรือ ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า มักจะออกแบบประกันบำนาญที่เน้นการตลาดเพื่อตอบข้อโต้แย้งของประกันบำนาญ แทนเรื่องของผลตอบแทน เช่น..

  • บางแบบเน้นที่.. มั่นใจได้ว่าจะไม่มีทางขาดทุนเบี้ยที่จ่ายแน่นอน หากอายุสั้น
  • บางแบบเน้นที่.. หากจากไปก่อนครบสัญญา จะมีมรดกให้กว่า 8 เท่าของเงินบำนาญ หรือ
  • บางแบบเน้นที่.. หากอยู่ครบสัญญาได้เงินก้อนกว่า 4 เท่าของเงินบำนาญงวดสุดท้าย
  • บางแบบเน้นที่.. มีเงินคืนให้ระหว่างสัญญาก่อนเกษียณ ทั้งเงินคืนระหว่างปี หรือเงินบำเหน็จตอนเกษียณ
  • บางแบบเน้นที่.. มีเงินบำนาญเพิ่มพิเศษให้ตามผลตอบแทนการลงทุนที่เสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะหากเริ่มทำประกันบำนาญตั้งแต่อายุน้อย
  • บางแบบเน้นที่.. มีความยืดหยุ่นให้เลือกได้ว่าจะจ่ายเบี้ยสั้นหรือจ่ายจนถึงเกษียณ (ซึ่งระยเวลาการจ่ายที่แตกต่างกันย่อมได้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน บางแบบจ่ายแบบ 1 ปี ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าจ่ายแบบ 10 ปี เป็นต้น)

ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้รวมกับความซับซ้อนในการเปรียบเทียบ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ทำประกันหลุดออกจากจุดประสงค์เรื่องผลตอบแทนของประกันบำนาญ และอาจทำให้พลาดแบบประกันบำนาญบางตัวไปอย่างน่าเสียดาย

(ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบาทที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทำให้แบบประกันบำนาญส่วนใหญ่มีอายุเปิดรับสมัครที่ไม่ถึง 10 ปี ก็ต้องปิดรับสมัครลงและเปิดแบบใหม่ขึ้นมาแทน)

การจัดการเบี้ยสุขภาพหลังเกษียณ release your risk

โดยทางออกหนึ่งที่ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบประกันบำนาญที่ซับซ้อนเหล่านี้ได้ คือ การใช้โปรแกรมอย่าง Excel หรือ Google Sheet เข้าช่วย 

ร่วมกับการกำหนดโจทย์เปรียบเทียบดังต่อไปนี้

1. เปรียบเทียบประกันบำนาญแต่ละแบบ หากต้องการเงินบำนาญ เดือนละ XX,XXX บ. เท่ากัน แบบใดจะให้บำนาญนานที่สุด และใช้เบี้ยน้อยที่สุด

2. เปรียบเทียบประกันบำนาญแต่ละแบบ หากต้องจ่ายเบี้ย ปีละ XXX,XXX บ. เท่ากัน แบบใดจะให้บำนาญมากที่สุด

3. เปรียบเทียบประกันบำนาญแต่ละแบบ หากต้องการนำมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบเดียวกัน ในสัดส่วนที่กำหนด ประกันบำนาญแบบใดจะใช้เบี้ยน้อยที่สุด

4. เปรียบเทียบประกันบำนาญแต่ละแบบ หากต้องกำหนดโจทย์ข้อ 1 ร่วมกับข้อ 3 หรือ ข้อ 2 ร่วมกับกับ 3 ประกันบำนาญแบบใดจะใช้เบี้ยน้อยที่สุด

จากโจทย์ทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่มาให้ทาง Release your Risk ได้พัฒนาเครื่องมือเปรียบเทียบประกันบำนาญขึ้นมา พร้อมนำข้อมูลแบบประกันบำนาญเท่าที่สามารถค้นหาได้ หรือได้มีสิทธิในการเข้าถึง นำมาใส่ในเครื่องมือนี้ เพื่อช่วยเปรียบเทียบตามโจทย์ที่ต้องการ และช่วยให้สามารถเลือกแบบประกันบำนาญที่ตอบโจทย์ได้ง่ายมากขึ้น

องค์ประกอบของเครื่องมือเปรียบเทียบประกันบำนาญ

ครอบครัววางแผนการเงินและภาษี 2 release your risk

1. ส่วนตั้งค่า และเลือกโจทย์

1.1 ส่วนตั้งค่า เพศ อายุ และ แบบประกันบำนาญ

1 ตั้งค่า เพศ อายุ และ แบบประกันบำนาญ

ส่วนนี้ตะสำหรับตั้งค่าเริ่มต้นของผู้ทำประกันบำนาญ และแบบประกันบำนาญที่ต้องการนำมาเปรียบเทียบ ทั้งนี้แต่ละแบบประกันบำนาญจะมีอายุที่รับทำประกันได้แตกต่างกันไป จึงต้องเลือกแบบที่สอดคล้องกับอายุที่ทำได้

1.2 ส่วนตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 1 บำนาญต่อเดือนที่ต้องการ

1 ตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 1 บำนาญต่อเดือนที่ต้องการ

ส่วนนี้จะสามารถพิมพ์หรือเลือกเงินบำนาญต่อเดือนที่ต้องการลงในช่องที่ลูกกศรสีแดงชี้

1.3 ส่วนตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 2 จำนวนเงินที่ต้องการไว้จ่ายเบี้ยต่อปี

1 ตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 2 เบี้ยที่ต้องการจ่ายต่อปี

ส่วนนี้จะต้องกดปุ่ม คลิกคำนวณ เพื่อยังหน้าคำนวณหาเงินบำนาญต่อเดือนที่จะได้ ตามเงินที่ต้องการจะจ่ายเบี้ยประกันบำนาญต่อปี

1 ตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 2 เบี้ยที่ต้องการจ่ายต่อปี 2

ในหน้านี้จะทำการกรอกเงินที่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันกันบำนาญต่อปี โดยเมื่อกรอกเรียบร้อยจะปรากฏทุนประกันอ้างอิงขึ้นมา ซึ่งต้องดูว่าทุนประกันอ้างอิงที่ได้ต้องไม่น้อยกว่าทุนประกันขึ้นต่ำของแบบประกันบำนาญที่เลือก จากนั้นจะได้ตัวเลขเงินบำนาญต่อเดือนที่จะได้ แล้วจึงคลิกกลับไปหน้าคำนวณเบี้ย

1.4 ส่วนตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 3 ประกันสุขภาพที่จะใช้ประกันบำนาญจ่ายเบี้ย

1 ตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 3 ประกันสุขภาพ

ส่วนนี้จะต้องเลือกก่อนว่าจะเงินบำนาญจากประกันบำนาญมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพกี่ % (หากมีการวางแผนนำกองทุนรวมมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพด้วย สัดส่วน % ของประกันบำนาญอาจใช้ที่ 30%-50% จะเพียงพอ) เมื่อเลือก % ได้เรียบร้อยจึงกดปุ่ม คลิกคำนวณ เพื่อไปยังหน้าเลือกประกันสุขภาพ

1 ตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 3 ประกันสุขภาพ 2

ในหน้านี้จะสามารถเลือกประกันสุขภาพที่ต้องการ ผ่านการเลือกบริษัทประกันและแบบประกันสุขภาพที่ต้องการ จากนั้นสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ประกันบำนาญช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพตั้งแต่อายุเริ่มต้นเท่าใด

ไว้สำหรับเปรียบเทียบประกันบำนาญที่อายุเริ่มจ่ายบำนาญแตกต่างกัน เช่น ต้องเปรียบเทียบประกันบำนาญแบบที่เริ่มจ่ายบำนาญตอนอายุ 55 ปี กับตอนอายุ 60 ปี ในส่วนอายุเริ่มต้นของแบบที่เริ่มจ่ายตอนอายุ 55 ปี ให้เลือกที่อายุ 60 ปี ก็จะสามารถนำแบบ 55 ปี มาเทียบกับแบบ 60 ปีได้

รวมไปถึงอายุสุดท้ายที่จะนำเงินบำนาญมาจ่ายเบี้ยสุขภาพ ที่แบบประกันบำนาญที่จ่ายบำนาญถึงอายุ 99 ปี สามารถระบุอายุสุดท้ายเป็น 85 ปีได้ เพื่อไว้เปรียบเทียบกับประกันบำนาญที่จ่ายบำนาญถึงอายุ 85 ปี

หรือ หากไม่ต้องเปรียบเทียบ จะสามารถเลือกการตั้งค่าเริ่มต้นดังรูป เพื่อที่จะยึดทั้งประกันบำนาญ และประกันสุขภาพที่เลือก ในการคำนวณเป็นหลักได้

เมื่อได้เงินบำนาญต่อปีที่ควรมีไว้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเรียบร้อย ให้ทำการคลิกปุ่ม กลับไปหน้าคำนวณเบี้ย

1.5 ส่วนตั้งค่า โจทย์ข้อที่ 4 การเลือกโจทย์แต่ละข้อที่จะผสมกัน

1 ตั้งค่า เลือกโจทย์ข้อที่จะผสมกัน

ในส่วนนี้สามารถติ๊กเลือกได้ว่า จะนำเงินบำนาญต่อเดือนที่ได้จากโจทย์ข้อใด มาใช้ในการคำนวณหาเบี้ยประกันรวมที่ต้องจ่ายของแบบประกันนี้

1 ตั้งค่า เลือกโจทย์ข้อที่จะผสมกัน 2

ในตัวอย่างนี้จะเลือก บำนาญต่อเดือนที่ต้องการเดือนละ 20,000 บ. ร่วมกับบำนาญเดือนละ 14,276 บ. ที่จะนำมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่สัดส่วน 50% ของเบี้ยประกันสุขภาพแบบที่เลือก

2. ส่วนสรุปผลและเบี้ยประกัน

ในส่วนนี้จะสามารถทำการเปลี่ยนแบบประกันนำบาญที่เลือก เพื่อพิจารณาข้อมูลสรุปที่ได้จากประกันบำนาญ และเบี้ยที่ต้องจ่าย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันได้ทันที ดังตัวอย่าง 2 แบบประกันบำนาญที่ยกมาต่อไปนี้

2 งผลลัพธ์ และเงินที่ต้องใช้ 1

ตัวอย่างที่ 1 : จะแสดงผลลัพธ์ของแบบประกันบำนาญที่จ่ายเบี้ยถึงอายุครบ 60 ปี รับบำนาญอายุ 60 - 99 ปี ซึ่งจะได้ทุนประกันที่ 3,427,600 บ. โดยแบบประกันนี้ต้องมีการแถลงสุขภาพและอาจถูกขอตรวจสุขภาพได้หากทุนประกันสูงถึงเกณฑ์ตามระเบียบ เนื่องจากจะคุ้มครองชีวิตที่ทุนประกันที่ได้ทันทีตั้งแต่ชำระเบี้ยปีแรก

เงินบำนาญต่อปีที่จะได้คือ 411,312 บ. โดยหากอายุสั้น แบบประกันนี้จะการันตีจ่ายบำนาญที่ 10 ปี ยึดตามตารางมูลค่าเงินปัจจุบัน

เบี้ยประกันบำนาญต่อปีอยู่ที่ 156,881 บ. จ่าย 30 ปี รวมเบี้ยทั้งหมดจำนวน 4,706,438 บ. แต่จะได้เงินบำนาญรวมทั้งหมดหากอายุยืนถึงอายุ 99 ปี ที่ 16,452,480 บ. คิดเป็น IRR ที่ 3.75%

แบบประกันนี้ไม่ได้ควบประกันชีวิตหรือควบประกันสะสมทรัพย์ เบี้ยที่จ่ายจึงสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 300,000 บ. ซึ่งสามารถเลือกฐานภาษี เพื่อคำนวณ IRR แบบได้เงินคืนภาษีกลับมาด้วยได้ จากนั้นสามารถคลิกปุ่ม ดูตาราง เพื่อดูข้อมูลสรุปที่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้

2 งผลลัพธ์ และเงินที่ต้องใช้ 2

ตัวอย่างที่ 2 : จะแสดงผลลัพธ์ของแบบประกันบำนาญที่จ่ายเบี้ย 1 ครั้ง รับบำนาญอายุ 60 - 100 ปี ซึ่งจะได้ทุนประกันที่ 3,427,600 บ. โดยแบบประกันนี้ไม่ต้องแถลงสุขภาพและไม่ถูกขอตรวจสุขภาพ เนื่องจากแบบประกันบำนาญนี้จะคุ้มครองชีวิต 110% ของเบี้ยสะสมที่จ่ายมาแล้วเท่านั้น

เงินบำนาญต่อปีที่จะได้คือ 411,312 บ. โดยหากอายุสั้น แบบประกันนี้จะการันตีจ่ายบำนาญที่ 15 ปี ยึดตามตารางมูลค่าเงินปัจจุบัน หรือ คืนเบี้ยที่จ่ายมา หักด้วยเงินบำนาญที่ได้รับไปแล้ว

เบี้ยประกันบำนาญแบบจ่ายครั้งเดียวอยู่ที่ 2,944,148 บ. แต่จะได้เงินบำนาญรวมทั้งหมดหากอายุยืนถึงอายุ 100 ปี ที่ 16,863,792 บ. คิดเป็น IRR ที่ 3.74%

แบบประกันนี้ไม่ได้ควบประกันชีวิตหรือควบประกันสะสมทรัพย์ เบี้ยที่จ่ายจึงสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 300,000 บ. ซึ่งสามารถเลือกฐานภาษี เพื่อคำนวณ IRR แบบได้เงินคืนภาษีกลับมาด้วยได้ จากนั้นสามารถคลิกปุ่ม ดูตาราง เพื่อดูข้อมูลสรุปที่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้

3. ส่วนแสดงตารางและกราฟ

ในส่วนนี้จะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำภาพรวมนี้จากแบบประกันบำนาญหนึ่ง มาเปรียบเทียบกับอีกแบบประกันบำนาญหนึ่งได้ในทันที ดัง 2 ตัวอย่างต่อไปนี้

เครื่องมือเปรียบเทียบแบบประกันบำนาญ ตาราง1

ตัวอย่างที่ 1 : แสดงภาพรวมทั้งหมดของแบบประกันบำนาญที่จ่ายเบี้ยถึงอายุครบ 60 ปี รับบำนาญตั้งแต่อายุ 60-99 ปี โดยมีกราฟสีน้ำเงินตัดกับกราฟสีแดง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดคุ้มทุน หรือจุดที่เงินบำนาญเกินเบี้ยที่จ่ายไปรวมกับเงินคืนภาษีที่ได้ ณ อายุเท่าใด รวมไปถึงในกราฟสีเหลืองจะทำให้เห็นว่าหากนำเงินบำบาญไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเรื่อย ๆ แล้วตอนอายุ 99 ปีจะเหลือเงินบำนาญที่ได้รับมาอีกเท่าใด (ซึ่งจากกราฟจะเหลือใกล้เคียงกับเบี้ยที่จ่ายไป)

เครื่องมือเปรียบเทียบแบบประกันบำนาญ ตาราง2

ตัวอย่างที่ 2 : แสดงภาพรวมทั้งหมดของแบบประกันบำนาญที่จ่ายครั้งเดียว รับบำนาญตั้งแต่อายุ 60-100 ปี โดยมีกราฟสีน้ำเงินตัดกับกราฟสีแดง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดคุ้มทุน หรือจุดที่เงินบำนาญเกินเบี้ยที่จ่ายไปรวมเงินคืนภาษีที่ได้ ณ อายุเท่าใด รวมไปถึงในกราฟสีเหลืองจะทำให้เห็นว่าหากนำเงินบำบาญไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเรื่อย ๆ แล้วตอนอายุ 99 ปีจะเหลือเงินบำนาญที่ได้รับมาอีกเท่าใด (ซึ่งจากกราฟจะเหลือใกล้เคียงกับเบี้ยที่จ่ายไป)

จาก 2 ตัวอย่างนี้ ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้ตอนอายุ 99 ปี มีความใกล้เคียงกัน โดยแบบประกันบำนาญในตัวอย่างที่ 1 จะต้องจ่ายเบี้ยสูงกว่าแบบประกันบำนาญตัวอย่างที่ 2 ถึง 1,762,254 บ. แต่ก็จะได้รับเงินคืนภาษีกลับมาเช่นกัน โดยหากฐานภาษีสูง เงินคืนภาษีที่ได้อาจจะต่างกับส่วนต่างเบี้ยนี้ไม่มากนัก และแลกมาด้วยการไม่ต้องจ่ายเงินก้อนเป็นเบี้ยเกือบ 3 ล้านบาทในครั้งเดียวแบบตัวอย่างที่ 2

อย่างไรก็ตามข้อดีของแบบประกันบำนาญในตัวอย่างที่ 2 คือ หากโชคร้ายจากไปตอนใกล้เกษียณหรือ ตอนหลังเกษียณไม่กี่ปี จะมั่นใจได้ว่าผู้รับผลประโยชน์ หรือ ลูก ๆ จะได้รับเงินคืนโดยไม่ขาดทุนแน่นอน

ทั้ง 2 ตัวอย่างนี้ จึงทำให้เห็นว่าการเลือกประกันบำนาญ ยังจำเป็นต้องเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และที่ต้องการร่วมด้วย จะได้ไม่ได้พิจารณาเพียง IRR อย่างเดียวเท่านั้น

ศึกษาวิธีการใช้งานเครื่องมือเปรียบเทียบประกันบำนาญอย่างละเอียด

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก