5 อันดับโรคร้ายกินเงินคุณ (มีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ?)

www.releaseyourrisk.com

เลือกดูหัวข้อสำคัญที่สนใจอย่างรวดเร็ว

เมื่อโรคร้ายเริ่มคร่าชีวิตคนไทยใน "ทุกวัย" 

ปัจจุบันนี้ถ้าพูดถึงโรคร้ายแรง แน่นอนว่าคงไม่พ้น “โรคมะเร็ง” เพราะกลายเป็น โรคยอดฮิตอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ในแต่ละปี

ตัวเลขผู้เสียชีวิต มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง และนอกจากโรคมะเร็งแล้ว ยังมีโรคร้ายอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่อยู่แบบเงียบ ๆ เพื่อแอบคร่าชีวิตคนไทยไปทุกวัน โรคร้ายแรงพวกนี้ เกิดขึ้นชนิดที่ไม่ให้เราได้ทันตั้งตัว และมักไม่มีสัญญาณใดบอกให้รู้ล่วงหน้า

เหล่าภัยเงียบพวกนี้ มันสร้างความเสียหายด้านจิตใจของผู้ป่วยและคนรอบตัว แถมยังทำลายระบบการเงินไปอย่างรวดเร็ว... บางคนหมดตัว บางคนเป็นหนี้นอกระบบ บางคนไม่มีเงินรักษา จนต้องยอมแพ้และจากไปในเวลาอันสั้น

มีบทสัมภาษณ์หนึ่งของคุณรัตนาภรณ์ ข้าราชการอายุ 55 ปี ป่วยเป็น มะเร็งเต้านมระยะลุกลามไปที่ตับ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน 2561

บอกว่า...

"ตนเองเป็นคนสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วยหรือเป็นอะไรเลย มารู้ตัวอีกทีก็เป็นมะเร็งระยะลุกลามไปตับ ตนเองมีสิทธิรักษาพยาบาลของรัฐ แต่ไม่เพียงพอ ทุกวันนี้เหมือนรอวันตาย อยากใช้ยาดีๆ รักษา..แต่ไม่มีเงิน แม้ว่าหมออยากจะรักษาให้ก็ตาม"

อีกบทสัมภาษณ์ของคุณมนัสศิริ อายุ 80 ปี ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับมานานกว่า 4 ปี รับการรักษาโดยใช้สิทธิข้าราชการ และมีลูก ๆ รับงานข้าราชการ... จึงพอเบิกเพิ่มได้บ้าง แต่เมื่อรวมกับค่ายาบางตัวที่ต้องออกเงินซื้อเองรวมๆ แล้วเดือนละประมาณ 100,000++ บาท เพราะ "ยากลุ่มใหม่ราคาสูงมาก และเบิกสิทธิข้าราชการไม่ได้" แต่ตนเองยอมจ่าย เพราะอยากบรรเทาจากโรคร้ายที่เป็นอยู่

ก่อนหน้านี้หลายคนอาจเคยคิดว่า โรคร้ายแรงพวกนี้ เป็นโรคของคนอายุมาก แต่ตอนนี้อาจต้องหันมาทบทวนความคิดกันใหม่ เพราะมันไม่ใช่อย่างที่เราเคยคิดแล้ว 

เพราะ..เราทุกคนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง ไม่ว่าจะช่วงอายุไหนก็ตาม จากที่แต่ก่อน วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลางคนมักเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเป็นหลัก แต่สถิติปัจจุบันเปลี่ยนไปมากและแน่นอนว่ามีตัวเลขการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงอยู่ไม่น้อย

อาจมีใครได้ติดตามข่าวนี้..

เดือนสิงหาคม ปี 2562 มีนักเรียนหญิงชั้น ม.4 (อายุ 15 ปี) เสียชีวิตด้วย มะเร็งระยะที่ 3 ต่อมาในเดือนเดียวกัน มีข่าวนายแบบหนุ่ม ปาล์ม เปรมทัต ในวัย 30+ เสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และย้อนไปกลางปี 2561 นางแบบสาว มะนาว แม็กซิม ในวัย 30+ เสียชีวิตด้วย มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย

ทำไมโอกาสเสียชีวิตจึงมีมากกว่า?

เพราะผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา เช่น การทำเคมีบำบัด กรณีเป็นมะเร็ง  หรืออาจเพราะอาการโรคที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิต (สูงมาก)

แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการรักษาที่ดีที่สามารถช่วยผู้ป่วยบางรายให้รอดชีวิตได้ แต่การเข้าถึงการรักษาที่ดีและมีคุณภาพนั้น ต้องเข้าถึงพร้อมกับเม็ดเงินจำนวนมหาศาลของชีวิตคน ๆ หนึ่ง

เพราะโรคร้าย... ไม่แสดงอาการ ซ่อนตัวเก่ง กว่าหมอจะตรวจเจอก็เป็นระยะสุดท้ายเข้าไปแล้ว

แต่ก็ใช่ว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจะเป็นจุดจบของชีวิต เพราะด้วยแนวทางการรักษาปัจจุบันที่มีการคิดค้นและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเจ็บป่วยกลายเป็น การเริ่มต้นชีวิตใหม่  ของผู้ป่วย

ผู้ป่วยโรคร้ายแรงจึงมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแพทย์ ทำให้การต่อสู้กับโรคร้าย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยมะเร็ง..

ที่สามารถเลือกการรักษาที่ผลข้างเคียงไม่รุนแรง ด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงไปยังเป้าหมายที่เป็นเซลล์มะเร็ง หรือที่เรียกว่า Targeted Therapy การรักษาที่จะช่วยกระชับเวลาและมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้แต่การรักษาที่ทันสมัยนี้ ยังมียาบางตัวที่อยู่นอกระบบสิทธิรักษาฟรี ผู้ป่วยจึงต้องใช้เงินตัวเอง หากเลือกยาบางตัวนี้ในการรักษา (อาจจะเพราะด้วยอาการข้างเคียงน้อยกว่า หรือ ยาเก่าไม่ได้ผลแล้วก็ตาม)

ทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องการรักษา แต่ยังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตัวเองในฐานะผู้ป่วย ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ที่อาจต้องใช้เงินมากกว่าตอนที่ยังไม่ป่วยมาก

หากโรคร้ายมาถึงตัว..เราจะพร้อมรับมือได้อย่างไร?

ปัจจุบัน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงจะสูงกว่าโรคอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง

แล้วถ้าโชคร้ายเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา..

แน่นอนว่า เราต้องอยากรักษาให้เร็วที่สุดและด้วยวิธีการรักษาที่ดีที่สุด มันเหมือนเป็นการแข่งขันกันระหว่าง ตัวเรากับเจ้าโรคร้ายว่าใครจะพิชิตชัยชนะ ซึ่งอาจจะเป็นชัยชนะเพียงชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ โดยเมื่อความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในทันที อาจต้องมีโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในทางเลือก เพราะไม่ต้องรอคิวนาน รักษาได้ทันทีเมื่อพร้อม (ทางการเงิน)

5 โรคร้ายแรงคร่าชีวิตคนไทย มีค่ารักษาเท่าไหร่บ้าง?

1. โรคมะเร็ง : ค่ารักษาประมาณ 300,000 ถึง 8,000,000 บาท

คงไม่มีใครไม่รู้จัก “โรคมะเร็ง” อย่างน้อยก็เคยได้ยินชื่อนี้จากคนรอบตัว และจากข่าวสารทุกวันนี้ มีผู้ป่วยอีกจำนวนมากและเสียชีวิตจากมะเร็ง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 1

สถิติเสียชีวิตด้วยมะเร็งของคนไทย

ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งพบว่า ผู้ชาย เป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากที่สุด ตามมาด้วย มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

และพบว่า ผู้หญิง เป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด ตามมาด้วย มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ส่วนมะเร็งที่พบมากที่สุดทั้งในผู้ชายและผู้หญิง คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และ มะเร็งลำไส้ใหญ่

ดังนั้น ค่ารักษามะเร็งทุกกระบวนการรักษาอยู่ที่ ประมาณ 300,000 ถึง 8,000,000 บาท (ตั้งแต่โรงพยาบาลรัฐ ไปจนถึงโรงพยาบาลเอกชน) แต่หากพูดถึงการรักษาแบบ Targeted Therapy ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว

Targeted Therapy

ยาชนิดใหม่ที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่เซลล์มะเร็งโดยตรง หรือการรักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted therapy) ซึ่งบางชนิดมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด และอาจให้ร่วมกับยาเคมีบำบัดได้ ประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย

ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง เป้าหมายของการรักษา ยาที่ใช้ และการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย

ราคาต่อเข็มประมาณ 250,000 บาท หากต้องการรักษาให้ครบกระบวนการ ค่าใช้จ่ายต่อคนประมาณ 8,500,000 บาท (ที่มา: Thai PBS News)

ในปัจจุบัน targeted therapy สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น

  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งไต
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งศีรษะและลำคอ

ข้อมูลค่ารักษาจาก ROCHE.CO.TH

มะเร็งเต้านม (ระยะแรก)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

ผ่าตัด

200,000.-

เคมีบำบัด

445,788.-

รังสีรักษา

200,000.-

รักษาพุ่งเป้า

1,766,000.-

มะเร็งเต้านม (แพร่กระจาย)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

เคมีบำบัด

449,892.-

รังสีรักษา

200,000.-

รักษาพุ่งเป้า

1,766,000.-

รักษาพุ่งเป้า 2 ชนิด

5,844,760.-

มะเร็งปอด (ระยะแรก)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

วินิจฉัย

60,000.-

เคมีบำบัด

100,000.-

รังสีรักษา

150,000.-

ผ่าตัด

200,000.-

มะเร็งปอด (แพร่กระจาย)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

วินิจฉัย

60,000.-

เคมีบำบัด

100,000.-

รังสีรักษา

150,000.-

รักษาพุ่งเป้า

1,752,660.-

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (ระยะแรก)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

วินิจฉัย

27,000.-

เคมีบำบัด

1,200,000.-

รังสีรักษา

200,000.-

ผ่าตัด

200,000.-

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (แพร่กระจาย)

การรักษา

ค่าใช้จ่าย

วินิจฉัย

27,000.-

เคมีบำบัด

800,000.-

รังสีรักษา

200,000.-

ผ่าตัด

200,000.-

รักษาพุ่งเป้า

1,752,660.-

กรณีรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาล มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ประมาณ 30-40%

ยกตัวอย่าง กรณีรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลรัฐ

คุณแม่อำไพ (นามสมมติ) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ตรวจเจอมะเร็งเต้านมและรักษาที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตั้งแต่เริ่มเจาะชิ้นเนื้อไป ตรวจวินิจฉัย ค่าผ่าตัด ค่าคีโม 4 ครั้ง และค่าฉายแสง 25 ครั้ง รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 427,231 บาท

หลังจากนั้นมีค่า follow up ตามนัดอีก ประมาณ 2,000+ บาท/ครั้ง

*ค่าใช้จ่ายนี้ ยังไม่รวม ค่ายาบำรุง ยาจีนที่ซื้อทานเพื่อลดอาการเจ็บปวดแผลผ่าตัดร่วมด้วย ราคาประมาณ 27,000++ (ทั้งหมด 62 เม็ด) และ การปฏิบัติระหว่างทำคีโม คุณแม่อำไพมีซื้อสมุนไพรทานร่วมด้วยซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก) - ขอบคุณที่มาจากเว็บไซต์ //www.abbster.net/happening/breastcancer/

คุณมะนาว ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3

คุณมะนาวตรวจพบว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2561

ค่าใช้จ่ายตอนนั้น มีค่าวินิจฉัย และค่าทำ CT Scan ที่ รพ.เอกชนและ รพ.รัฐ จากนั้นผ่าตัดรักษาที่ รพ.รัฐ แต่เลือกเป็นคลินิคนอกเวลา เพราะต้องการความรวดเร็ว รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 330,000 บาท (ไม่รวมค่าห้อง ค่าพักฟื้น ค่าดูแลของแพทย์และพยาบาล)

หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนทำคีโม (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเยอะมาก ๆ) จึงทำเรื่องย้ายไปรักษาในโรงพยาบาลในสิทธิประกันสังคม ซึ่งต้องทำคีโม 25,000++ /ครั้ง โดยทำ 2 สัปดาห์ครั้ง โดยรวมแล้วประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน

คุณมะนาว เสียชีวิตวันที่ 29 มีนาคม 2562 - ขอบคุณที่มาจากเฟสบุค "ไดอารี่จากฉันเอง"

2. โรคหลอดเลือดสมอง : ค่ารักษาโดยประมาณ 110,000 ถึง 800,000 บาท

โรคหลอดเลือดสมอง ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและเร่งด่วนทางการแพทย์ มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงชีวิตสูง และมีปัญหาซับซ้อนในการรักษาพยาบาล ต้องใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนาน

รายงานจากกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง

อัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี และยังพบว่า โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการตายมากกว่าโรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือดเป็น 1.5 - 2 เท่าตัว



สถิติโรคหลอดเลือดสมอง 5
"จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 44,550 คน/ปี หรือเฉลี่ย 5 คน/ชั่วโมง และสถิติมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ"

ความน่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมองคือ เป็นได้ทุกคนและทุกวัย และเมื่อเป็นแล้ว โอกาสหายกลับมาเป็นปกติ 100% นั้นค่อนข้างยาก บางรายถึงกับพิการหรือเป็นอัมพาตก็มีอยู่มาก ซึ่งในปี 2561 มียอดผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมอง 250,000 คนต่อปี

ปัจจุบันนี้ คนเป็นโรคหลอดเลือดสมองกันเยอะขึ้น จากคนใกล้ตัวมีเป็นแล้ว 3-4 คน ด้วยวัยเพียง 30+ เท่านั้นเอง ทำไมถึงเป็นกันง่าย ฟังดูเหมือนจะเป็นโรคที่ไกลตัวสำหรับวัยขนาดนี้ แต่เอาเข้าจริงแล้วโอกาสตายได้เลย ถ้าไปถึงมือหมอช้าเกินไป

ตัวอย่าง คนที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลทอดสมอง 1 1
โรคหลอดเลทอดสมอง 2
โรคหลอดเลทอดสมอง 3
โรคหลอดเลทอดสมอง 4
โรคหลอดเลทอดสมอง 5
โรคหลอดเลทอดสมอง 7

รู้สึกไหมว่า โรคหลอดเลือดสมอง มันอยู่ใกล้เราขึ้นเรื่อย ๆ

จากตัวอย่าง ผู้แชร์ประสบการณ์ในเว็บพันทิปที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง บางคนอายุประมาณ 30+ ปี ซ้ำร้ายบางคนอายุ 25+ ปีก็มี

ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่า สมัยนี้ “อัมพาต” หรือ “โรคหลอดเลือดสมอง” ไม่ใช่โรคไกลตัว หรือไม่ใช่โรคที่มักจะเกิดเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุอีกต่อไป ในความจริงแล้ว โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้แม้ในผู้ที่มีอายุน้อย และมีแนวโน้มการเกิดโรคนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปีเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ดังนั้น ใครเป็นโรคนี้ไปแทบล้มทั้งยืน เพราะ ค่ารักษาขั้นต่ำ 350,000 บาท (โรงพยาบาลรัฐค่ารักษาต่ำกว่า 30-40%) มาจากค่าตรวจโรค ค่ารักษาทางยา หรืออาจมีค่าผ่าตัด รวมถึงทำกายภาพบำบัด และอย่างที่รู้กันว่าตัวเลขนี้คือ ค่ารักษาเริ่มต้นเท่านั้น มันยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย 

ตัวอย่าง กรณีข่าวเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2561 (ไทยรัฐออนไลน์) เกี่ยวกับ "เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน"

ผู้ป่วยโดนเรียกค่ารักษา ทั้งหมด 770,000 บาท จากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นค่ารักษาจริงๆ มีการผ่าตัดฉุกเฉิน แม้การผ่าตัดจะล้มเหลว สาเหตุที่เป็นข่าวเพราะทางญาติผู้ป่วยร้องเรียนว่า ทางแพทย์ประเมินผู้ป่วยให้เป็นเคสไม่ฉุกเฉิน ทำให้ทางญาติผู้ป่วยต้องออกเงินรักษาเองทั้งหมด ทั้งที่อาจจะใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ หรือ UCEP" ได้ ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งทำให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายโรคหลอดเลือดสมองมันควบคุมไม่ได้

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเฉลี่ย ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ขอนแก่น) คือ 117,359.81 บาท

และรู้ไหมว่า...

สถิติโรคหลอดเลือดสมอง 6

สรุปเลยว่า ค่ารักษาโรคหลอดเลือดสมอง เป็นค่าใช้จ่ายที่ ควบคุมยากที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะล้มป่วยรูปแบบไหน หากเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แน่นอนว่าค่ารักษาก็ฉุกเฉินตามไปด้วย หากพิการตั้งแต่อายุยังน้อย ภาระทั้งหมดจะต้องตกเป็นของคนรอบข้าง รายได้ไม่มี ในขณะที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 

ยังไงก็ควรดูแล รักษาสุขภาพของเราทุกคน เพื่อห่างไกลจากโรคร้ายแรงพวกนี้

3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง : ค่ารักษาประมาณ 200,000 ถึง 700,000 บาท  


ภัยเงียบใกล้ตัวอีกชนิดหนึ่งคือ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง” ซึ่งเป็นอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น

"จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคร้ายตัวนี้ 24,597 คน/ปี หรือเฉลี่ย 2.81 คน/ชั่วโมง"

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ถือว่าเป็นโรคร้ายที่ มีค่ารักษาเริ่มต้นแพงมาก ๆ ประมาณ 667,000 บาท เป็นค่าตรวจโรค ค่ารักษาทางยา หรืออาจจะจี้จุดด้วยคลื่นวิทถุความถี่สูง ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ การจี้หัวใจค่าใช้จ่ายประมาณ 200,000-300,000 บาท ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน (บางแห่ง)

Cardiac

แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ และ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

4. โรคปอดระยะสุดท้าย : ค่ารักษาเริ่มต้น ประมาณ 365,000 บาท 

ใครที่ชอบสูบบุหรี่อาจต้องระวัง “โรคปอดระยะสุดท้าย” นี้เป็นพิเศษ เพราะไหนจะ ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด และค่ารักษาทางยาของโรคร้ายแรงชนิดนี้ เริ่มต้นที่ประมาณ 365,000 บาท

จากรายงานสถิติ คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคปอด 21,676 คน/ปี หรือเฉลี่ย 2.47 คน/ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

5. ไตวายเรื้อรัง : ค่ารักษาประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน

“ไตวายเรื้อรัง” แค่คำว่าเรื้อรังก็บ่งบอกให้รู้เลยว่า ระยะยาวแน่นอน ใครที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน อาจต้องระวังโรคนี้เป็นพิเศษ อย่างน้อยควรเตรียม ค่ารักษาขั้นต่ำไว้ที่ 30,000 บาท/เดือน หรือ ปีละ 360,000 บาท

จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 15,162 คน/ปี หรือเฉลี่ย 1.73 คน/ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

จากข้อมูลค่ารักษาโรคร้ายในปี 2560 ราคาเหล่านี้ ยังไม่รวมค่าห้องพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายแอบแฝงอีกจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละปี ค่ารักษาจะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% 

จนทำให้ปัจจุบันนี้ รัฐบาลถึงกับต้องลงมาควบคุมและเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนที่สูงเกินจริง โดยตั้งเป้ากำหนดให้ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลเป็นสินค้าและบริการควบคุม แต่ก่อนที่จะพึ่งรัฐบาลให้เร่งหาทางออก เราควรพึ่งตัวเองก่อนดีที่สุด


Cheating doctor RYR

วิธีป้องกัน 5 โรคร้ายสำคัญ เพียงปรับพฤติกรรม

คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือแม้แต่ชื่อก็ไม่อยากที่จะได้ยิน เพราะหากเป็นแล้ว โอกาสรอดชีวิตน้อยมาก อีกเหตุผลหนึ่งคือ เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่แพงเอาเรื่อง (เงินที่เก็บมาทั้งชีวิต อาจไม่เหลือ)

ในเมื่อคุณยังไม่อยากจากไปก่อนวัยอันควร ไม่อยากเสียเงินค่ารักษา ไม่อยากทรมานจากความเจ็บป่วยและจากการรักษา คุณต้องหาวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคร้าย มาเริ่มกันที่โรคยอดฮิต โรค "มะเร็ง" นั่นเอง

1. วิธีป้องกัน "โรคมะเร็ง"

แค่ชื่อ "มะเร็ง" ก็ไม่อยากได้ยินจริงไหม? จากสถิติคนไทยตรวจพบเป็นมะเร็งกว่า 70,000 คนต่อปี และรอดชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 4,000 คน ได้ยินเช่นนี้แล้ว มารีบหาวิธีป้องกันโรคมะเร็งกันดีกว่า มาดูว่าทำยังไงบ้าง

สำหรับใครที่ชอบทานเนื้อสัตว์ ยังคงทานได้ปกติ

เพียงเพิ่มขั้นตอน "การหมัก" โดยใช้ โรสแมรี่และใบโหระพา ลงไปด้วย โดยมีเหตุผลที่ว่า ผักทั้ง 2 ชนิดนี้มี "สารต้านอนุมูลอิสระสูงมากถึง 87%" ในการหมักให้ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยนำเนื้อสัตว์ไปปรุงอาหาร

หมักโรสแมรี่ โหระพา 2

ถามว่ายุ่งยากไปไหม? หากทำแล้วเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งน้อยลง การปรับเปลี่ยนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยแม้แต่นิดเดียวเลยค่ะ

เน้นทาน ผักสีเขียว

เพราะในผักสีเขียวมี แม็กนีเซียมที่ได้จากคลอโรฟิลล์ ซึ่งช่วยชะลอการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่อย่าลืมวันปัจจุบันนี้ผักสีเขียวก็อาจไม่ปลอดภัยเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากมีสารปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงนั่นเอง

เมื่อพูดถึงยาฆ่าแมลงที่ตกค้างมากับผักตอนนี้รู้สึกว่าชีวิตเราจะเสี่ยงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะผักที่คนเรานิยมกินกัน เช่น ผักบุ้ง ผักกาด คะน้า ถั่วฝักยาว กระหล่ำ แตงกวา และ ผักชี ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องล้างผักให้สะอาดและถูกวิธีก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง โดยเราสามารถแช่ผักในน้ำผสมเกลืออัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูอัตราส่วนครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตร

การออกกำลัง เยียวยาทุกสิ่ง

การเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย คือ เรื่องที่ดี เพราะช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เพราะหากระดับฮอร์โมนผิดปกติ ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้

ปัจจุบันนี้การออกกำลังมีหลากหลายวิธี เลือกวิธีที่ถนัดและสามารถทำได้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

เลิกเค็ม มะเร็งลด

เกลือสามารถทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารของเราได้ และเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารหากทานเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม บางครั้งเราไม่รู้ตัวว่ากำลังเค็ม โดยเฉพาะคนที่ชอบทานขนมอบกรอบ เฟรนฟรายส์ ถั่วทอดโรยเกลือ อาหารหมักดอง เนื้อสำเร็จรูป แฮมเบอร์เกอร์ และอีกมากมาย

ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งกันดีกว่าค่ะ

ป้องกันมะเร็ง 2

2. วิธีป้องกัน "หลอดเลือดสมองตีบ"

หมั่นสังเกตอาการได้ง่าย ๆ เช่น แขนขาซีกใดซีกหนึ่งจะอ่อนแรงผิดปกติ, มีอาการชาครึ่งซีก, เวียนศีรษะ ร่วมกับอาการเดินเซ, ตามัว หรือมองเห็น ภาพซ้อน, ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด, ปวดศีรษะ, อาเจียน, ซึมเศร้าโดยไม่รู้สึกตัว หากตรวจพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

หลอดเลือดสมองตีบ 2

หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจ ดูแลสุขภาพ

  • ถ้าเลิกสูบบุหรี่ พบว่า สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง
  • ควรออกกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน พร้อมทั้งควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพจิตใจให้สดใสอยู่ตลอดเวลา
  • พบแพทย์โดยทันที ถ้ามีอาการเตือนของโรค แต่เกิดหายไปได้เองก็อย่านิ่งนอนใจ

  • 3. วิธีป้องกัน "ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ"

    เพียงใส่ใจก็ลดความเสี่ยงได้ โดยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ได้แก่

    ความเครียด ความวิตกกังวล ความมุ่งมั่นจนเกินไป การพักผ่อนไม่พอเพียง การออกกำลังกายหักโหม การสูบบุหรี่ ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ

    ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวาน และอาหารรสเค็ม เป็นต้น

    เลิดเค็ม ลดมะเร็ง

    4. วิธีป้องกัน "โรคปอด"

    อาการของโรคปอดจากทุกสาเหตุจะคล้ายคลึงกัน คือเป็น อาการที่เกิดจากปอดทำงานได้น้อยลง โดยอาการที่พบบ่อย คือ ไอ อาจไอมีเสมหะ หรือไม่มีเสมหะก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ บางรายอาจ ไอเป็นเลือด มีเสมหะปนเลือด เช่น ในโรคมะเร็งปอด หรือวัณโรค

    มาดูวิธีป้องกันโรคปอดกันค่ะ

    หยุดสูบบุหรี่

    สารก่อมะเร็งและควันบุหรี่ ทำให้ปอดเกิดความเครียด ทำให้ปอดอ่อนแอ หากสูบบุหรี่เป็นประจำ สารนิโคตินจะเข้าไปทำลายปอด และปอดจะถูกเคลือบไปด้วยน้ำมันดิน แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีในระยะยาว และมีปัญหาตามมาแน่นอน

    ปกป้องตนเองจากมลภาวะ

    เมื่อออกไปข้างนอก อาจจะใส่หน้ากากอนามันเมื่อออกไปข้างนอก หรืออาจจะมีเครื่องกรองอากาศไว้ที่บ้าน เพราะมันช่วยป้องกันมลพิษได้

    การยอมไอออกมา

    การยอมไอออกมา

    หนึ่งในวิธีธรรมชาติที่ดีที่สุดที่จะส่งเสริมปอดคือ "การยอมไอออกมา" เพราะอาการไอคือการที่ปอดกำจัดเมือก ซึ่งมีสารก่อภูมิแพ้หรือการติดเชื้อภายใน

    หลายคนเข้าใจผิด มักใช้ยาระงับการไอ แบบนี้จะทำให้เมือกที่มีเชื้อและสารก่อภูมิแพ้นั้นยังคงอยู่ในปอด ดังนั้น ต้องไอออกมาค่ะ แต่หากไอจนไม่สามารถหายใจได้สะดวก หรือไม่สบาย ก็อาจใช้ยาระงับไอช่วยบรรเทาได้


    5. วิธีป้องกัน "ไตวายเรื้อรัง"

    โดยทั่วไป ไตวายอาจป้องกันการเกิดความเสียหายได้ด้วย การดูแลตนเองและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อไตด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    ตรวจหารอยโรคไต

    หมั่นตรวจหาโรค ซึ่งมักเป็นสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่ว โรคเกาต์ โรคถุงน้ำในไต โรคไตพิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรมต่างๆ โรคไตอักเสบเรื้อรังชนิดต่างๆ โรคเอสแอลอี เป็นต้น

    ใครที่เป็น "เบาหวาน" ควรควบคุมระดับน้ำตาล

    ควบคุมระดับน้ำตาล

    เพราะโรคเบาหวานเป็นรอยโรคหนึ่งที่มักเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไต ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานควร ควบคุมระดับน้ำตาล ให้ใกล้เคียงคนปกติ

    ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า ๑๓๐/๘๐ มิลลิเมตรปรอท และลดอาหารเค็ม

    หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นพิษต่อไต

    ยาที่เป็นพิษต่อไต เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด ยาแก้ปวด ยาสมุนไพรบางอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุของไตวายเฉียบพลัน

    ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว

    ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงมาก ควรลดไขมัน โดยควบคุมอาหารและให้ยา เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามถึงไต และควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ รวมถึงควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงปริมาณการสูบบุหรี่


    ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ดีและควรปฏิบัติเป็นประจำ แต่การเรียนรู้วิธีการป้องกันไปเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะพอ เพราะคุณสมบัติโรคร้ายเหล่านี้ มักเป็นภัยเงียบ เราจะรับมือกับค่ารักษายังไง? ดูวิธีรับมือกันในส่วนถัดไปกันเลยค่ะ!

    3 ท่าไม้ตายรับมือกับค่ารักษาโรคร้ายแรง

    1. การทำให้เงินเติบโตให้เร็วทันโรคร้ายผ่านการลงทุน

    การลงทุน : releaseyourrisk.com

    ศึกษาวิธีการลงทุนเพื่อให้เงินเก็บที่มี เติบโตมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 

    การลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม มีเป้าหมายเพื่อ ผลตอบแทนที่ได้มากกว่าเงินฝากธนาคาร เพราะดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไปจน ไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลได้  ดังนั้นการเก็บออมพร้อมกับลงทุน ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการวางแผนความเสี่ยงเพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายโรคร้ายแรง

    โลกปัจจุบันนี้เปิดโอกาสให้ ทุกคนสามารถลงทุนได้ ผ่านหลากหลายสินทรัพย์ที่กำหนด เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

    เพราะโรคร้ายแรงส่งผลต่อระบบการเงินในครอบครัวอย่างมาก แม้จะใช้สิทธิรักษาฟรีก็ตาม ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมายตามมา การวางแผนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงนี้ ต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ควรเริ่มศึกษาข้อมูลและวางแผนรับมือตั้งแต่วันนี้ จะดีที่สุด!

    ผลตอบแทนจากการลงทุนมักมาพร้อมกับความเสี่ยง การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน ที่ย่อมมีปัจจัยด้านความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้อยู่ด้วย แต่หากการลงทุนในระยะยาว ผลตอบแทนย่อมมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

    2. การกู้เงินจากธนาคารส่วนสินเชื่อค่ารักษา

    การกู้เงินรักษาโรคร้าย

    การกู้เงิน เรื่องง่าย ๆ แต่ควรทำเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีสินเชื่อที่ให้วงเงินสำหรับค่ารักษาตั้งแต่ 20,000 - 2,000,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 60 เดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยพิจารณาจากค่ารักษาจริง และ ฐานรายได้ที่มี (ปัญหาคือ หลายครั้งในระหว่างการรักษาอาจไม่สามารถหารายได้ได้เหมือนเดิม) 

    โดยการวางแผนลงทุนต้องอาศัยระยะเวลา การกู้เงินจึงไม่ใช่เรื่องผิดแปลกใด ๆ เมื่อใครสักคนในครอบครัว หรือ ตัวเราเองตรจวพบว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องใช้รีบรักษาโดยด่วน

    ในขณะที่ เงินเก็บ เงินออม เงินลงทุน ยังมีไม่มากพอสำหรับค่ารักษา การกู้เงิน การขอยืมเงิน หรือ การจำนำ จึงเป็นทางเลือกที่อาจปฏิเสธไม่ได้ แม้จะต้องแลกกับดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมาก 

    เรื่องเล่าจากประสบการณ์

    มีน้าผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยในหมู่บ้านเดียวกันกับผู้เขียน

    น้าผู้นี้ มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นคนอารมณ์ดีมาก ๆ ใครอยู่ใกล้ก็จะมีแต่เสียงหัวเราะ

    ในวันหนึ่งเนื่องจากเป็นวันแม่แห่งชาติ ลูกสาวของคุณน้ากลับจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง (เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น) และพาคุณน้าไปตรวจสุขภาพ

    ช่างน่าเศร้าเหลือเกิน! ที่การตรวจสุขภาพครั้งแรกในชีวิตของคุณน้า พบว่าเป็น มะเร็งลำไส้ลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง (ระยะสุดท้าย)

    จากนั้นคุณน้าท่านนี้จึง เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลรัฐ แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง คุณน้าใช้สิทธิรักษาฟรี (บัตรทอง) ร่วมกับการรักษาที่ต้องออกค่าใช้จ่ายเอง เป็นค่ายาวันละ 2,000 บาท หรือเดือนละ 60,000 บาท

    ในส่วนค่ายาบางชนิดที่ต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ทำให้ลูกสาวคุณน้า ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นโดยการเปิดสอนพิเศษภาษาจีนเพื่อหารายได้เพิ่ม เพื่อหารายได้สำหรับค่าเดินทางและค่ายารักษามะเร็งในแต่ละเดือน

    แต่เรื่องเศร้าก็มาถึงจนได้ เมื่อคุณน้าทำคีโมได้ประมาณ 3 เดือน คุณน้าก็เสียชีวิต


    ดังนั้น เราทุกคนมีความเสี่ยงจากโรคร้ายแรงอยู่เสมอ ถ้าวันหนึ่งโรคร้ายที่แอบซ่อนดันปรากฏตัวเร็วกว่าที่เงินเก็บที่ค่อย ๆ เติบโต พวกเราจะทำเช่นไร?

    ในความมืดมนต์ ยังมีแสงสว่างปลายทางอยู่เสมอ

    3. การโอนความเสี่ยง หาคนช่วยร่วมแบกรับ

    การโอนความเสี่ยง : releaseyourrisk.com

    การโอนความเสี่ยง คือ ตัวช่วยที่เหมาะสมที่สุด สำหรับใครที่ยังไม่พร้อมรับความเสี่ยงเหล่านี้ไว้เองทั้งหมด และ ใครที่อยากมีคนช่วยแบ่งรับค่าใช้จ่ายในการรักษาบางส่วนในทันที 

    หากเตรียมตัวรับมือกับโรคร้ายแรงไว้ดีพร้อมและอย่างเหมาะสมแล้ว เราจะสามารถ เปลี่ยนเงินหลักพัน เป็นค่ารักษาหลักล้านได้ ด้วยการทำประกันสุขภาพ

    ทางออกเรื่อง ค่ารักษาพยาบาล

    ประกันสุขภาพ นอกจากเป็นตัวช่วยหลักในการแบ่งเบาเรื่อง ค่ารักษาพยาบาล ได้อย่างมากแล้ว ยังเป็นตัวช่วยซื้อเวลาการเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วเพียงแสดงบัตรประกันสุขภาพให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

    เพราะโดยปกติ การเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ต้องมีการสอบถามเรื่อง ช่องทางที่จะใช้ชำระค่ารักษา เช่น บัตรเครดิต หรือ เงินสด (ของตัวเอง) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องทำใจยอมรับ เนื่องจากเป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงของทางโรงพยาบาลเช่นกัน

    ประกันสุขภาพ ต้องศึกษาอย่างละเอียด

    การทำประกันสุขภาพเพื่อโอนความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องที่ดีและควรทำถ้ายังสุขภาพดี แต่บางครั้งปัญหาย่อมเกิดจากความเข้าใจผิดระหว่าง ผู้ทำประกันและตัวแทน หรือแม้แต่บริษัทเอง

    แก่นสำคัญที่สุดอยู่ที่ ตัวสัญญาหรือกรมธรรม์ แต่โดยส่วนมากความเข้าใจของผู้ทำประกันมักถูกครอบด้วย เปลือกคำพูดทางการตลาดต่าง ๆ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมสัญญาประกันสุขภาพจึงไม่คุ้มครองโรคบางโรค (โดยเฉพาะโรคร้ายแรง) ในทันทีที่รับทำประกัน?

    ยังมีความลับอีกหลายอย่างที่ตัวแทนไม่ยอมบอก หรือไม่มีในคำโฆษณาชวนเชื่อ เพียเพราะ ต้องการเร่งระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อให้เร็วที่สุด

    ดังนั้น การศึกษาของแก่นเนื้อหาสาระของตัวสัญญา เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ทำประกันเอง และขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า ตอนที่ยังมีสุขภาพดี การโอนความเสี่ยงสำคัญที่สุด!

    สิ่งที่ควรทำก่อนเลือกโอนความเสี่ยง

    การเลือกโอนความเสี่ยงยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการเลือกคัดกรองบริษัทที่เราสามารถไว้วางใจได้ระยะยาว โดยไม่เน้นเรื่องเปลือกนอก เช่น การโฆษณา การใช้พรีเซนเตอร์ และการประชาสัมพันธ์ใด ๆ ของการตลาด

    แต่จะดูลึกลงไปข้างในถึง เรื่องของความประพฤติของบริษัทประกัน

    เพราะถือว่าโลกปัจจุบันนี้เอื้อต่อผู้บริโภคอย่างมากในเรื่อง การเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยากรู้ ดังนั้นการจะเลือกบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือสักแห่ง จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราอีกต่อไป!

    สนใจทำประกัน แต่ไม่รู้จะเลือกบริษัทไหนดี?

    จากหลายสิบบริษัทประกันในไทยตอนนี้ ทำให้เราตัดสินใจยากมาก ๆ เพราะไม่แน่ใจว่า ควรเลือกทำกับที่ไหน บางที่เราถูกใจแผน แต่กลัวบริษัทจะให้บริการไม่ดี บวกกับไม่รู้จักตัวแทนดี ๆ จึงทำให้ไม่ได้เริ่มทำประกันสักที

    และยิ่งเสี่ยงกับตัวเอง เพราะไม่มีทางรู้เลยว่า สุขภาพที่ดีและแข็งแรงอยู่นั้น มีภัยเงียบซ่อนอยู่หรือไม่ ดังนั้นเพื่อที่เราจะได้ตัดสินใจทำประกันสุขภาพสักที

    วันนี้จะมาบอกวิธีที่ได้ผล ในการคัดกรองมะเร็ง เอ้ย! บริษัทประกัน แบบง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ค่ะ

    ตรวจสอบความประพฤติบริษัทประกัน ได้จากแหล่งดังต่อไปนี้

    1. ตรวจสอบโดยตรงจากเว็บไซต์ คปภ.

    คปภ

    สามารถติดตามอ่านข่าวสาร การประกาศ ตรวจสอบการฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามกฏหมายของบริษัทประกันชีวิตได้จากเว็บไซต์นี้

    ปัจจุบันนี้ การจะหวังพึ่งดวง โชคชะตาฟ้าลิขิตเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะกับการทำประกันสุขภาพเพราะหากเลือกบริษัทผิด ชีวิตเราเปลี่ยนได้เหมือนกัน

    ด่านแรก ในการคัดกรองบริษัทประกัน คือ เว็บไซต์ของ คปภ. และถือเป็นด่าน สำคัญที่สุด เพราะที่นี่เป็น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่มีความเด็ดขาดและให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย

    ข้อมูลในเว็บทั้งหมดเกี่ยวกับ การประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งในส่วนของผู้บริโภคและบริษัท

    มีข้อมูลกฏระเบียบทุกข้อกำหนดกฏหมายชัดเจน ซึ่งเราสามารถติดตามอ่านได้จากในนี้ รวมถึงข้อมูล กองทุนประกันชีวิต ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ค่ะ

    แต่ตอนนี้เราจะเน้นเฉพาะบันทึกข้อมูล การปรับลงโทษบริษัทที่ประพฤติผิดวินัย

    โดยให้จดรายชื่อบริษัทเอาไว้ (คล้ายเก็บสถิติ) แล้วมาตรวจทานดูภายหลังว่า บริษัทไหนประพฤติผิดวินัยลักษณะไหนบ้าง จากนั้นพิจารณาว่า เราโอเคกับพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่ ถ้าจะเลือกทำกับบริษัทนี้ 

    ภาพตัวอย่างคดีเปรียบเทียบปรับจาก คปภ

    จากตัวอย่าง เป็นข้อมูลเทียบปรับบริษัทประกันแห่งหนึ่ง ที่ประวิงการจ่ายเงินแก่ผู้เอาประกัน ข้อมูลแจ้งวันที่ 16 สิงหาคม 2561

    ข้อมูลในเว็บไซต์มีให้เราตรวจสอบดูย้อนหลัง 6 ปีล่าสุด (ปัจจุบันปี 2563, 2562, 2561, 2560, 2559 และ 2558) ซึ่งเป็นไฟล์ PDF  เราสามารถโหลดบันทึกเก็บไว้อ้างอิงได้

    และที่ส่วนตัวชอบมากๆ คือ ข้อมูลชัดเจนมาก ผิดว่าไปตามผิด ไม่มีปกปิด เพราะเป็นข้อกฏหมายบังคับ และเป็นเรื่องที่ถูกผู้เอาประกันได้ร้องเรียนบริษัท ถ้า คปภ. ตัดสินว่าบริษัททำผิด ก็ต้องชดใช้และเสียค่าปรับ มาดูว่าย้อนหลัง 6 ปีมีบริษัทไหนบ้าง และมักเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง เข้าไปตรวจดูกันเลย

    หน้าเว็บคปภ 1

    2. ตรวจสอบจากโฆษณาและเพจ Facebook ของบริษัทประกัน

    ในหน้าเพจของบริษัทประกันจะส่วนคอมเมนท์รีวิว รวมถึงคอมเม้นใต้โพสต่าง ๆ ของบริษัททั้งแบบยิงแอดโฆษณาและแบบปกติ

    วิธีคัดกรองบริษัทประกันด้วยการอ่านรีวิวเพจ facebook บริษัท หรือการอ่านคอมเม้นใต้โพสที่บริษัทนั้นๆ ทำการยิงแอดโฆษณา ก็พอจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้อีกทางหนึ่ง

    วิธีนี้อาจจะไม่ได้ชัดเจนเหมือน การลงโทษตามกฏหมายในหน้าเว็บไซต์ คปภ. แต่อย่างน้อย มันเป็นสิ่งที่แสดงถึงการบริการ การแก้ปัญหา และการรับมือกับลูกค้า เบื้องต้น แและยังเป็นกระบอกเสียงได้ดีแก่คนที่เข้ามาอ่าน

    รีวิวเฟสบุคเพจบริษัทประกันชีวิต2

    แต่แน่นอนว่า การมี feedback จากลูกค้าที่มีทั้งคำชมและคำติเตียน ให้เลือกอ่านทั้ง 2 แบบ แล้วมาพิจารณาว่า สามารถรับข้อตินั้นได้ไหม?

    ให้ตรวจดูการโต้ตอบของบริษัทกับลูกค้า ว่าเป็นรูปแบบไหน..บางที่เน้นเงียบไม่ตอบข้อโต้แย้ง เน้นข้อความอัตโนมัติ หรือให้ข้อมูลแบบ copy paste ก็ให้พิจารณาเบื้องต้นจากตรงนี้ก่อนตัดสินใจ

    อย่าลืม! เทียบกับข้อมูลกับเว็บ คปภ. ด้วยค่ะว่า เป็นไปทางเดียวกันหรือไม่ (บางครั้งบริษัทประกันไม่ค่อยโดน คปภ. เล่นงานสักเท่าไหร่ แต่คอมเม้นในเฟสบุคกลับเป็นด้านลบเยอะมาก ก็มี!) กรณีนี้ อาจพิจารณาดูว่าน่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดระหว่างตัวแทนและลูกค้าที่สามารถแก้ปัญหาให้จบได้ โดยไม่ส่งผลรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้อง

    บางครั้งก็อาจมีเรื่องของอารมณ์ชั่ววูบ หรือความไม่พอใจเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรแล้ว ให้เทียบดูทุกบริษัท อย่าพึ่งเชื่อในคำโฆษณาแผนประกันของบริษัท เพราะทุกแผนประกันมีลักษณะคล้ายกันทุกบริษัทที่ผ่านการอนุมัติจาก คปภ.

    ซึ่งในความจริงแล้ว หลักสำคัญสิ่งแรกของการเลือกทำประกัน คือ การเลือกตัวแทนที่ดีต่างหาก


    3. ตรวจสอบจากการอ่าน พันทิป.คอม

    การคัดกรองที่โหดกว่าการอ่านรีวิว การอ่านคอมเม้นในเฟสบุค ก็รีวิวในพันทิปนี่เลยค่ะ เพราะเราต้องคิดวิเคราะห์อย่างแยบยลว่า รีวิวที่เขียนมานั้น จริงเท็จหนักแน่นแค่ไหน แต่โดยรวมมักมีมูลความจริงอยู่แน่นอนค่ะ

    พันทิป แค่ชื่อก็รู้เลยว่า ต้องมีมูลความจริงบางอย่างที่คม ชัด ลึก มาก ๆ ส่วนตัวเองก็ได้อ่านรีวิวบริษัทประกันในพันทิป.ดอมนี่แหละค่ะ จึงได้ความจริงจากประสบการณ์ตรงของคนที่ทำประกันมาเล่าให้ฟัง

    กระทู้พันทิป บริษัทประกัน

    เลือกดูการตั้งหัวข้อกระทู้เชิงคำถาม หรือ การขอคำแนะนำเกี่ยวกับบริษัทประกัน จะเห็นว่ามีหลายคนมาช่วยตอบแทบมากมาย หรือบางทีอาจจะมีตัวแทนมาเสนอขายประกันก็ตาม เนื้อหารีวิวในพันทิปมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ให้พิจารณากันได้เลย เลือกดูว่า เรื่องไหนรับได้ หรือ รับไม่ได้

    เพราะส่วนตัวมองว่าทุกบริษัทมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ในความคิดของแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่ความพึงพอใจของการเลือก บางเรื่องคนอื่นมองว่า รุนแรง แต่สำหรับเราอาจจะเป็นเรื่อง ปกติที่รับได้ ก็ได้

    การใช้คำค้นหา พยายามเลี่ยงใช้คำถามเชิงบวก

    ให้ใช้คำถามที่หาจุดบกพร่องของบริษัท เพราะเป็นเรื่องที่เราควรต้องรู้เพื่อวิเคราะห์และพิจารณาปัญหาที่เกิดจากบริษัทประกัน

    ยกตัวอย่างประโยคค้นหา เช่น

    __(ชื่อบริษัท)__ เคลมไม่ได้
    __(ชื่อบริษัท)__ ยกเลิกสัญญา
    ประกันสุขภาพ เคลมไม่ได้
    ประกันสุขภาพ __(ชื่อบริษัท)__ดีไหม
    ประกันโรคร้าย เคลมไม่ได้
    ประกันสุขภาพ เคลมช้า
    __(ชื่อบริษัท)__บริการ
    เคลมค่ารักษาไม่ได้
    ประกันสุขภาพ สำรองจ่าย

    ข้อระวัง! บางครั้งกระทู้ก็ตั้งเพื่อระบายความอัดอั้น ความไม่พอใจตัวแทนหรือบริษัทในเรื่องที่อาจไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่ด้วยอารมณ์จึงอาจทำให้สถานการณ์ดูเลวร้ายยิ่งขึ้น และยังเป็นข้อมูลมาจากฝ่ายเดียว

    ถ้าเรื่องไหนอ่านดูแล้ว คิดว่า บริษัทน่าจะมีส่วนผิดจริง ๆ ให้ลองกลับไปค้นหาในเว็บ คปภ. อีกครั้งว่า มีกรณีคล้ายกันนี้ถูกฟ้องร้องและล้มเลิกคดีไปหรือยัง? ถ้าหากมี ให้ดูรายละเอียดว่าลงเอยแบบไหน

    หรืออาจเพราะ บางคนไม่รู้ว่าเรื่องนำมาระบายนั้น มันสามารถนำไปร้องเรียนกับ คปภ. ได้ จึงได้แต่เขียนระบายปัญหาและขอคำแนะนำผ่านกระทู้พันทิป

    อย่างไรแล้ว คุณสามารถนำ 3 วิธีนี้ไปใช้ในการคัดเลือกบริษัทประกันได้ เพื่อจะได้ไม่เลือกบริษัทผิด การทำวิธีเหล่านี้ค่อนข้างได้ผลดี เพราะระหว่างที่คุณอ่านกระทู้ อ่านรีวิว หรืออ่านข้อบังคับกฏหมาย คุณยิ่งได้ความรู้ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมาก แถมยังได้ความมั่นใจที่จะตั้งคำถามกับตัวแทนเมื่อกำลังจะสมัครทำประกันอีกด้วยค่ะ

    สามารถเลือกดูคู่มือการจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ที่นี่

    5 ความเสี่ยงที่ชีวิตสู้กลับได้ทุกเมื่อ และจะกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของครอบครัว ซึ่งไม่คุ้มที่จะแก้ไขด้วยเงินเก็บและสินทรัพย์ที่หามาอย่างยากลำบากเพียงอย่างเดียว

    แต่ควรศึกษาทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินให้มาทุ่นแรงช่วย ซึ่งจะประหยัดและทันการณ์ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามหากเลือกใช้เครื่องมือโดยขาดความรู้ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกหลอกหรือใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการได้ ดังนั้นคู่มือด้านล่างนี้ทางเราจึงจัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยตรง ดังต่อไปนี้

    2 แผนกระจายรายได้ตอนเริ่มต้นทำงาน 1
    6 รายได้ในตอนเกษียณ 1

    คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงด้านความมั่งคั่ง

    RELEASE WEALTH RISKS

    คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ

    RELEASE HEALTH RISKS

    คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงตอนเกษียณ

    COMING SOON..

    คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงของเงินเฟ้อ

    COMING SOON..

    คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงภาษีส่วนบุคคล

    COMING SOON..

    เกี่ยวกับผู้เขียน

    • Ruchira Taboonruang

      จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

    >
    Scroll to Top

    เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

    Privacy Preferences

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ตกลงทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • Always Active

    บันทึก