เมื่อโรคร้ายเริ่มคร่าชีวิตคนไทยใน "ทุกวัย"
ปัจจุบันนี้ถ้าพูดถึงโรคร้ายแรง แน่นอนว่าคงไม่พ้น “โรคมะเร็ง” เพราะกลายเป็น โรคยอดฮิตอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ในแต่ละปี
ตัวเลขผู้เสียชีวิต มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง และนอกจากโรคมะเร็งแล้ว ยังมีโรคร้ายอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่อยู่แบบเงียบ ๆ เพื่อแอบคร่าชีวิตคนไทยไปทุกวัน โรคร้ายแรงพวกนี้ เกิดขึ้นชนิดที่ไม่ให้เราได้ทันตั้งตัว และมักไม่มีสัญญาณใดบอกให้รู้ล่วงหน้า
เหล่าภัยเงียบพวกนี้ มันสร้างความเสียหายด้านจิตใจของผู้ป่วยและคนรอบตัว แถมยังทำลายระบบการเงินไปอย่างรวดเร็ว... บางคนหมดตัว บางคนเป็นหนี้นอกระบบ บางคนไม่มีเงินรักษา จนต้องยอมแพ้และจากไปในเวลาอันสั้น
มีบทสัมภาษณ์หนึ่งของคุณรัตนาภรณ์ ข้าราชการอายุ 55 ปี ป่วยเป็น มะเร็งเต้านมระยะลุกลามไปที่ตับ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน 2561
บอกว่า...
"ตนเองเป็นคนสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วยหรือเป็นอะไรเลย มารู้ตัวอีกทีก็เป็นมะเร็งระยะลุกลามไปตับ ตนเองมีสิทธิรักษาพยาบาลของรัฐ แต่ไม่เพียงพอ ทุกวันนี้เหมือนรอวันตาย อยากใช้ยาดีๆ รักษา..แต่ไม่มีเงิน แม้ว่าหมออยากจะรักษาให้ก็ตาม"
อีกบทสัมภาษณ์ของคุณมนัสศิริ อายุ 80 ปี ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับมานานกว่า 4 ปี รับการรักษาโดยใช้สิทธิข้าราชการ และมีลูก ๆ รับงานข้าราชการ... จึงพอเบิกเพิ่มได้บ้าง แต่เมื่อรวมกับค่ายาบางตัวที่ต้องออกเงินซื้อเองรวมๆ แล้วเดือนละประมาณ 100,000++ บาท เพราะ "ยากลุ่มใหม่ราคาสูงมาก และเบิกสิทธิข้าราชการไม่ได้" แต่ตนเองยอมจ่าย เพราะอยากบรรเทาจากโรคร้ายที่เป็นอยู่
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจเคยคิดว่า โรคร้ายแรงพวกนี้ เป็นโรคของคนอายุมาก แต่ตอนนี้อาจต้องหันมาทบทวนความคิดกันใหม่ เพราะมันไม่ใช่อย่างที่เราเคยคิดแล้ว
เพราะ..เราทุกคนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรง ไม่ว่าจะช่วงอายุไหนก็ตาม จากที่แต่ก่อน วัยรุ่นไปจนถึงวัยกลางคนมักเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเป็นหลัก แต่สถิติปัจจุบันเปลี่ยนไปมากและแน่นอนว่ามีตัวเลขการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงอยู่ไม่น้อย
อาจมีใครได้ติดตามข่าวนี้..
เดือนสิงหาคม ปี 2562 มีนักเรียนหญิงชั้น ม.4 (อายุ 15 ปี) เสียชีวิตด้วย มะเร็งระยะที่ 3 ต่อมาในเดือนเดียวกัน มีข่าวนายแบบหนุ่ม ปาล์ม เปรมทัต ในวัย 30+ เสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และย้อนไปกลางปี 2561 นางแบบสาว มะนาว แม็กซิม ในวัย 30+ เสียชีวิตด้วย มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย
ทำไมโอกาสเสียชีวิตจึงมีมากกว่า?
เพราะผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา เช่น การทำเคมีบำบัด กรณีเป็นมะเร็ง หรืออาจเพราะอาการโรคที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิต (สูงมาก)
แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการรักษาที่ดีที่สามารถช่วยผู้ป่วยบางรายให้รอดชีวิตได้ แต่การเข้าถึงการรักษาที่ดีและมีคุณภาพนั้น ต้องเข้าถึงพร้อมกับเม็ดเงินจำนวนมหาศาลของชีวิตคน ๆ หนึ่ง
เพราะโรคร้าย... ไม่แสดงอาการ ซ่อนตัวเก่ง กว่าหมอจะตรวจเจอก็เป็นระยะสุดท้ายเข้าไปแล้ว
แต่ก็ใช่ว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจะเป็นจุดจบของชีวิต เพราะด้วยแนวทางการรักษาปัจจุบันที่มีการคิดค้นและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเจ็บป่วยกลายเป็น การเริ่มต้นชีวิตใหม่ ของผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรคร้ายแรงจึงมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแพทย์ ทำให้การต่อสู้กับโรคร้าย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยมะเร็ง..
ที่สามารถเลือกการรักษาที่ผลข้างเคียงไม่รุนแรง ด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงไปยังเป้าหมายที่เป็นเซลล์มะเร็ง หรือที่เรียกว่า Targeted Therapy การรักษาที่จะช่วยกระชับเวลาและมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้แต่การรักษาที่ทันสมัยนี้ ยังมียาบางตัวที่อยู่นอกระบบสิทธิรักษาฟรี ผู้ป่วยจึงต้องใช้เงินตัวเอง หากเลือกยาบางตัวนี้ในการรักษา (อาจจะเพราะด้วยอาการข้างเคียงน้อยกว่า หรือ ยาเก่าไม่ได้ผลแล้วก็ตาม)
ทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องการรักษา แต่ยังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตัวเองในฐานะผู้ป่วย ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ที่อาจต้องใช้เงินมากกว่าตอนที่ยังไม่ป่วยมาก
หากโรคร้ายมาถึงตัว..เราจะพร้อมรับมือได้อย่างไร?
ปัจจุบัน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงจะสูงกว่าโรคอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง
แล้วถ้าโชคร้ายเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา..
แน่นอนว่า เราต้องอยากรักษาให้เร็วที่สุดและด้วยวิธีการรักษาที่ดีที่สุด มันเหมือนเป็นการแข่งขันกันระหว่าง ตัวเรากับเจ้าโรคร้ายว่าใครจะพิชิตชัยชนะ ซึ่งอาจจะเป็นชัยชนะเพียงชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ โดยเมื่อความจำเป็นต้องได้รับการรักษาในทันที อาจต้องมีโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในทางเลือก เพราะไม่ต้องรอคิวนาน รักษาได้ทันทีเมื่อพร้อม (ทางการเงิน)
5 โรคร้ายแรงคร่าชีวิตคนไทย มีค่ารักษาเท่าไหร่บ้าง?
1. โรคมะเร็ง : ค่ารักษาประมาณ 300,000 ถึง 8,000,000 บาท
คงไม่มีใครไม่รู้จัก “โรคมะเร็ง” อย่างน้อยก็เคยได้ยินชื่อนี้จากคนรอบตัว และจากข่าวสารทุกวันนี้ มีผู้ป่วยอีกจำนวนมากและเสียชีวิตจากมะเร็ง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับ 1
ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งพบว่า ผู้ชาย เป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากที่สุด ตามมาด้วย มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
และพบว่า ผู้หญิง เป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด ตามมาด้วย มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ส่วนมะเร็งที่พบมากที่สุดทั้งในผู้ชายและผู้หญิง คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และ มะเร็งลำไส้ใหญ่
ดังนั้น ค่ารักษามะเร็งทุกกระบวนการรักษาอยู่ที่ ประมาณ 300,000 ถึง 8,000,000 บาท (ตั้งแต่โรงพยาบาลรัฐ ไปจนถึงโรงพยาบาลเอกชน) แต่หากพูดถึงการรักษาแบบ Targeted Therapy ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว
Targeted Therapy
ยาชนิดใหม่ที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่เซลล์มะเร็งโดยตรง หรือการรักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted therapy) ซึ่งบางชนิดมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด และอาจให้ร่วมกับยาเคมีบำบัดได้ ประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย
ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง เป้าหมายของการรักษา ยาที่ใช้ และการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
ราคาต่อเข็มประมาณ 250,000 บาท หากต้องการรักษาให้ครบกระบวนการ ค่าใช้จ่ายต่อคนประมาณ 8,500,000 บาท (ที่มา: Thai PBS News)
ในปัจจุบัน targeted therapy สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งไต
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งศีรษะและลำคอ
ข้อมูลค่ารักษาจาก ROCHE.CO.TH
มะเร็งเต้านม (ระยะแรก)
การรักษา | ค่าใช้จ่าย |
---|---|
ผ่าตัด | 200,000.- |
เคมีบำบัด | 445,788.- |
รังสีรักษา | 200,000.- |
รักษาพุ่งเป้า | 1,766,000.- |
มะเร็งเต้านม (แพร่กระจาย)
การรักษา | ค่าใช้จ่าย |
---|---|
เคมีบำบัด | 449,892.- |
รังสีรักษา | 200,000.- |
รักษาพุ่งเป้า | 1,766,000.- |
รักษาพุ่งเป้า 2 ชนิด | 5,844,760.- |
มะเร็งปอด (ระยะแรก)
การรักษา | ค่าใช้จ่าย |
---|---|
วินิจฉัย | 60,000.- |
เคมีบำบัด | 100,000.- |
รังสีรักษา | 150,000.- |
ผ่าตัด | 200,000.- |
การรักษา | ค่าใช้จ่าย |
---|---|
วินิจฉัย | 60,000.- |
เคมีบำบัด | 100,000.- |
รังสีรักษา | 150,000.- |
รักษาพุ่งเป้า | 1,752,660.- |
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (ระยะแรก)
วินิจฉัย | 27,000.- |
เคมีบำบัด | 1,200,000.- |
รังสีรักษา | 200,000.- |
ผ่าตัด | 200,000.- |
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (แพร่กระจาย)
การรักษา | ค่าใช้จ่าย |
---|---|
วินิจฉัย | 27,000.- |
เคมีบำบัด | 800,000.- |
รังสีรักษา | 200,000.- |
ผ่าตัด | 200,000.- |
รักษาพุ่งเป้า | 1,752,660.- |
กรณีรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาล มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ประมาณ 30-40%
ยกตัวอย่าง กรณีรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลรัฐ
คุณแม่อำไพ (นามสมมติ) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ตรวจเจอมะเร็งเต้านมและรักษาที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตั้งแต่เริ่มเจาะชิ้นเนื้อไป ตรวจวินิจฉัย ค่าผ่าตัด ค่าคีโม 4 ครั้ง และค่าฉายแสง 25 ครั้ง รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 427,231 บาท
หลังจากนั้นมีค่า follow up ตามนัดอีก ประมาณ 2,000+ บาท/ครั้ง
*ค่าใช้จ่ายนี้ ยังไม่รวม ค่ายาบำรุง ยาจีนที่ซื้อทานเพื่อลดอาการเจ็บปวดแผลผ่าตัดร่วมด้วย ราคาประมาณ 27,000++ (ทั้งหมด 62 เม็ด) และ การปฏิบัติระหว่างทำคีโม คุณแม่อำไพมีซื้อสมุนไพรทานร่วมด้วยซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก) - ขอบคุณที่มาจากเว็บไซต์ //www.abbster.net/happening/breastcancer/
คุณมะนาว ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3
คุณมะนาวตรวจพบว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2561
ค่าใช้จ่ายตอนนั้น มีค่าวินิจฉัย และค่าทำ CT Scan ที่ รพ.เอกชนและ รพ.รัฐ จากนั้นผ่าตัดรักษาที่ รพ.รัฐ แต่เลือกเป็นคลินิคนอกเวลา เพราะต้องการความรวดเร็ว รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 330,000 บาท (ไม่รวมค่าห้อง ค่าพักฟื้น ค่าดูแลของแพทย์และพยาบาล)
หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนทำคีโม (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเยอะมาก ๆ) จึงทำเรื่องย้ายไปรักษาในโรงพยาบาลในสิทธิประกันสังคม ซึ่งต้องทำคีโม 25,000++ /ครั้ง โดยทำ 2 สัปดาห์ครั้ง โดยรวมแล้วประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน
คุณมะนาว เสียชีวิตวันที่ 29 มีนาคม 2562 - ขอบคุณที่มาจากเฟสบุค "ไดอารี่จากฉันเอง"
2. โรคหลอดเลือดสมอง : ค่ารักษาโดยประมาณ 110,000 ถึง 800,000 บาท
โรคหลอดเลือดสมอง ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและเร่งด่วนทางการแพทย์ มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงชีวิตสูง และมีปัญหาซับซ้อนในการรักษาพยาบาล ต้องใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลนาน
รายงานจากกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง
อัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี และยังพบว่า โรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการตายมากกว่าโรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือดเป็น 1.5 - 2 เท่าตัว
"จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 44,550 คน/ปี หรือเฉลี่ย 5 คน/ชั่วโมง และสถิติมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ"
ความน่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมองคือ เป็นได้ทุกคนและทุกวัย และเมื่อเป็นแล้ว โอกาสหายกลับมาเป็นปกติ 100% นั้นค่อนข้างยาก บางรายถึงกับพิการหรือเป็นอัมพาตก็มีอยู่มาก ซึ่งในปี 2561 มียอดผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมอง 250,000 คนต่อปี
ปัจจุบันนี้ คนเป็นโรคหลอดเลือดสมองกันเยอะขึ้น จากคนใกล้ตัวมีเป็นแล้ว 3-4 คน ด้วยวัยเพียง 30+ เท่านั้นเอง ทำไมถึงเป็นกันง่าย ฟังดูเหมือนจะเป็นโรคที่ไกลตัวสำหรับวัยขนาดนี้ แต่เอาเข้าจริงแล้วโอกาสตายได้เลย ถ้าไปถึงมือหมอช้าเกินไป
ตัวอย่าง คนที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
จากตัวอย่าง ผู้แชร์ประสบการณ์ในเว็บพันทิปที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง บางคนอายุประมาณ 30+ ปี ซ้ำร้ายบางคนอายุ 25+ ปีก็มี
ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่า สมัยนี้ “อัมพาต” หรือ “โรคหลอดเลือดสมอง” ไม่ใช่โรคไกลตัว หรือไม่ใช่โรคที่มักจะเกิดเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุอีกต่อไป ในความจริงแล้ว โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้แม้ในผู้ที่มีอายุน้อย และมีแนวโน้มการเกิดโรคนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปีเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ดังนั้น ใครเป็นโรคนี้ไปแทบล้มทั้งยืน เพราะ ค่ารักษาขั้นต่ำ 350,000 บาท (โรงพยาบาลรัฐค่ารักษาต่ำกว่า 30-40%) มาจากค่าตรวจโรค ค่ารักษาทางยา หรืออาจมีค่าผ่าตัด รวมถึงทำกายภาพบำบัด และอย่างที่รู้กันว่าตัวเลขนี้คือ ค่ารักษาเริ่มต้นเท่านั้น มันยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย
ตัวอย่าง กรณีข่าวเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2561 (ไทยรัฐออนไลน์) เกี่ยวกับ "เส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน"
ผู้ป่วยโดนเรียกค่ารักษา ทั้งหมด 770,000 บาท จากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นค่ารักษาจริงๆ มีการผ่าตัดฉุกเฉิน แม้การผ่าตัดจะล้มเหลว สาเหตุที่เป็นข่าวเพราะทางญาติผู้ป่วยร้องเรียนว่า ทางแพทย์ประเมินผู้ป่วยให้เป็นเคสไม่ฉุกเฉิน ทำให้ทางญาติผู้ป่วยต้องออกเงินรักษาเองทั้งหมด ทั้งที่อาจจะใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ หรือ UCEP" ได้ ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งทำให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายโรคหลอดเลือดสมองมันควบคุมไม่ได้
และรู้ไหมว่า...
สรุปเลยว่า ค่ารักษาโรคหลอดเลือดสมอง เป็นค่าใช้จ่ายที่ ควบคุมยากที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะล้มป่วยรูปแบบไหน หากเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แน่นอนว่าค่ารักษาก็ฉุกเฉินตามไปด้วย หากพิการตั้งแต่อายุยังน้อย ภาระทั้งหมดจะต้องตกเป็นของคนรอบข้าง รายได้ไม่มี ในขณะที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
ยังไงก็ควรดูแล รักษาสุขภาพของเราทุกคน เพื่อห่างไกลจากโรคร้ายแรงพวกนี้
3. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง : ค่ารักษาประมาณ 200,000 ถึง 700,000 บาท
ภัยเงียบใกล้ตัวอีกชนิดหนึ่งคือ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง” ซึ่งเป็นอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น
"จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคร้ายตัวนี้ 24,597 คน/ปี หรือเฉลี่ย 2.81 คน/ชั่วโมง"
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ถือว่าเป็นโรคร้ายที่ มีค่ารักษาเริ่มต้นแพงมาก ๆ ประมาณ 667,000 บาท เป็นค่าตรวจโรค ค่ารักษาทางยา หรืออาจจะจี้จุดด้วยคลื่นวิทถุความถี่สูง ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ การจี้หัวใจค่าใช้จ่ายประมาณ 200,000-300,000 บาท ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน (บางแห่ง)
แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ และ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น
4. โรคปอดระยะสุดท้าย : ค่ารักษาเริ่มต้น ประมาณ 365,000 บาท
ใครที่ชอบสูบบุหรี่อาจต้องระวัง “โรคปอดระยะสุดท้าย” นี้เป็นพิเศษ เพราะไหนจะ ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด และค่ารักษาทางยาของโรคร้ายแรงชนิดนี้ เริ่มต้นที่ประมาณ 365,000 บาท
จากรายงานสถิติ คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคปอด 21,676 คน/ปี หรือเฉลี่ย 2.47 คน/ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
5. ไตวายเรื้อรัง : ค่ารักษาประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน
“ไตวายเรื้อรัง” แค่คำว่าเรื้อรังก็บ่งบอกให้รู้เลยว่า ระยะยาวแน่นอน ใครที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน อาจต้องระวังโรคนี้เป็นพิเศษ อย่างน้อยควรเตรียม ค่ารักษาขั้นต่ำไว้ที่ 30,000 บาท/เดือน หรือ ปีละ 360,000 บาท
จากสถิติปี 2560 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 15,162 คน/ปี หรือเฉลี่ย 1.73 คน/ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
จากข้อมูลค่ารักษาโรคร้ายในปี 2560 ราคาเหล่านี้ ยังไม่รวมค่าห้องพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายแอบแฝงอีกจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละปี ค่ารักษาจะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%
จนทำให้ปัจจุบันนี้ รัฐบาลถึงกับต้องลงมาควบคุมและเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนที่สูงเกินจริง โดยตั้งเป้ากำหนดให้ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลเป็นสินค้าและบริการควบคุม แต่ก่อนที่จะพึ่งรัฐบาลให้เร่งหาทางออก เราควรพึ่งตัวเองก่อนดีที่สุด
วิธีป้องกัน 5 โรคร้ายสำคัญ เพียงปรับพฤติกรรม
คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือแม้แต่ชื่อก็ไม่อยากที่จะได้ยิน เพราะหากเป็นแล้ว โอกาสรอดชีวิตน้อยมาก อีกเหตุผลหนึ่งคือ เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่แพงเอาเรื่อง (เงินที่เก็บมาทั้งชีวิต อาจไม่เหลือ)
ในเมื่อคุณยังไม่อยากจากไปก่อนวัยอันควร ไม่อยากเสียเงินค่ารักษา ไม่อยากทรมานจากความเจ็บป่วยและจากการรักษา คุณต้องหาวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคร้าย มาเริ่มกันที่โรคยอดฮิต โรค "มะเร็ง" นั่นเอง
1. วิธีป้องกัน "โรคมะเร็ง"
แค่ชื่อ "มะเร็ง" ก็ไม่อยากได้ยินจริงไหม? จากสถิติคนไทยตรวจพบเป็นมะเร็งกว่า 70,000 คนต่อปี และรอดชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 4,000 คน ได้ยินเช่นนี้แล้ว มารีบหาวิธีป้องกันโรคมะเร็งกันดีกว่า มาดูว่าทำยังไงบ้าง
สำหรับใครที่ชอบทานเนื้อสัตว์ ยังคงทานได้ปกติ
เพียงเพิ่มขั้นตอน "การหมัก" โดยใช้ โรสแมรี่และใบโหระพา ลงไปด้วย โดยมีเหตุผลที่ว่า ผักทั้ง 2 ชนิดนี้มี "สารต้านอนุมูลอิสระสูงมากถึง 87%" ในการหมักให้ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยนำเนื้อสัตว์ไปปรุงอาหาร
3. ตรวจสอบจากการอ่าน พันทิป.คอม
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"