การเลือกสัญญาหลักประกันชีวิต และสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองให้ประกันสุขภาพ
การเลือกสัญญาหลักประกันชีวิต
โดยเบื้องต้นสัญญาหลักประกันชีวิต เป็นตัวกำหนดอายุสัญญาประกันสุขภาพว่าสามารถต่อได้ถึงอายุกี่ปี
จึงมักที่จะเลือกสัญญาเป็นแบบ ประกันชีวิตตลอดชีพ ที่ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี มากกว่าเลือกแบบประกันที่อายุสัญญาสั้น ๆ
โดยทุนประกันขั้นต่ำและเงื่อนไขต่าง ๆ จะถูกกำหนดไว้แตกต่างกันแต่ละบริษัทประกันชีวิต เช่น
- ทุนขั้นต่ำ 50,000 บาท แต่เป็นแบบชำระเบี้ยคงที่ถึงอายุครบ 99 ปี และซื้อสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองได้เฉพาะ ผู้ป่วยนอก OPD
- ทุนขั้นต่ำ 100,000 บาท แบบชำระเบี้ยคงที่ 20 ปี คุ้มครองถึงอายุครบ 99 ปี และซื้อสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองได้ทุกสัญญา กับในระยะยาวเบี้ยต่อความคุ้มครองจะประหยัดกว่า
การจะเลือกแบบใด ก็จะขึ้นอยู่กับว่าต้องการซื้อสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองอีกหรือไม่
ส่วนอีก จุดประสงค์ของสัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพ สำหรับสัญญาประกันสุขภาพนี้ ก็คือจะใช้เป็น
❐ ค่าจัดการงานด้านฌาปนกิจทั้งหมด
❐ ค่าจัดการทางด้านกฏหมาย ทนายและศาลเกี่ยวกับการจัดตั้งผู้จัดการมรดกและหนี้สิน
❐ ค่าจัดการภาษีมรดก
โดยในปัจจุบันมักจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 200,000 - 500,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับว่ามีเรื่องของภาษีมรดกมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด
การเลือกสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองอื่น ๆ เสริมประกันสุขภาพ
สัญญาค่ารักษาอุบัติเหตุผู้ป่วยนอก (อบ.3 ฆจ.3)
- เนื่องจากประกันสุขภาพมักจะให้คุ้มครองส่วนนี้ไม่เพียงพอ โดยจะดูแลเฉพาะค่ารักษาและติตตามอาการใน 15-30 วันเท่านั้น ซึ่งจำนวนวันจะน้อยเกินไปหากเป็นอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับกระดูกหัก ไฟไหม้ บาดแผลที่ต้องมีการล้างแผล
- เบี้ยส่วนนี้จะมีราคาค่อนข้างถูกกล่าวคือเบี้ยหลักร้อยต่อวงเงินค่ารักษาอุบัติเหตุผู้ป่วยนอกหลักหมื่นต่อครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ และติดตามอาการได้สูงถึง 1 ปี หรือ จนกว่าวงเงินครั้งนั้นจะหมด
สัญญาค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD
- ส่วนนี้เป็นค่ารักษาผู้ป่วยนอกไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม หรือแม้แต่ความจำเป็นทางการแพทย์ไม่แน่ชัด ก็สามารถใช้วงเงินส่วนนี้ได้
- แต่เนื่องจากเป็นภัยที่เฉลี่ยภัยกับผู้อื่นได้ยาก เบี้ยจึงค่อนข้างสูงคือหลักพันหรือหมื่น แต่ได้รับความคุ้มครองวงเงินหลักพันต่อครั้งเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับวงเงินอุบัติเหตุผู้ป่วยนอกอย่างชัดเจน
สัญญาคุ้มครองโรคร้ายแรงแบบเจอจ่าย
- ส่วนนี้มักจะเน้นในเรื่องของโรคมะเร็ง สมอง หัวใจ ไต เป็นหลัก เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่ารักษา
- แต่ถ้าประกันสุขภาพที่เลือกไม่สามารถคุ้มครองค่ารักษาโรคร้ายได้ ก็อาจจำเป็นต้องซื้อความคุ้มครองส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก
สัญญาชดเชยรายวันเนื่องจากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
- สัญญานี้จะขึ้นอยู่กับทุนชีวิตโดยตรง โดยจะมีการจำกัดว่าทุนชีวิตเท่าใดจึงจะเลือกความคุ้มครองรายวันได้สูงสุดเท่าใด
- รวมไปถึงหากเลือกชดเชยสูง ๆ ก็จะมีการขอดู Statement ของบัญชีธนาคารด้วย เพื่อมั่นใจว่ามีรายได้ต่อวันตามนั้นจริง ๆ
- เป็นหนึ่งในสัญญาที่ควรเลือกเท่าที่จำเป็น เพราะเบี้ยประกันค่อนข้างสูง และเป็นจุดให้บริษัทประกันเพ่งเล็งว่าจะมีการทุจริตในการเคลมประกันหรือไม่
บทสรุป
4 สัญญาเพิ่มเติมนี้ จะเป็น 4 สัญญาหลักนี้ที่ไว้เพิ่มความคุ้มครองให้กับประกันสุขภาพโดยเฉพาะ โดยจะมีทั้งแบบให้ความคุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี ในสัญญาประกันโรคร้ายแรง กับสัญญา OPD สบายใจ และแบบนี้เน้นคุ้มครองถึงอายุ 65 ปีเท่านั้น อย่างประกันชดเชยรายได้ และประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ
ซึ่งแบบประกันที่มีความคุ้มครองค่อนข้างซับซ้อนจะเป็น แบบประกันโรคร้ายแรง ที่ควรให้เวลาในการทำความเข้าใจเหมือนกับที่ให้เวลาทำความเข้าใจในประกันสุขภาพ
เพราะทั้งประกันโรคร้ายแรง และประสุขภาพ หากทำโดยไม่เข้าใจ จะไม่ต่างอะไรกับการถือระเบิดเวลาการเคลมไม่ได้อยู่กับตัว รอเวลาระเบิดในยามจำเป็นที่ต้องการค่าชดเชยและค่ารักษาเท่านั้น
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"