BLA HAPPY CI
ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่

เบี้ยประกัน "คงที่" 20 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี เป็นสัญญาแยกจากสัญญาประกันชีวิต แก้ไขข้อจำกัดของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง ทำให้เงินเวนคืนในสัญญาสามารถเกินเบี้ยที่ชำระไปได้โดยเร็ว เสมือนได้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงมา "ฟรี"

อายุรับทำประกัน (ปี)

แรกเกิด ถึง 75 ปี

ทุนโรคร้ายที่ทำได้ (บาท)

100,000 - 5,000,000

ประกันโรคร้ายแรง..จะคุ้มค่าที่สุดเมื่อ

เป็นการเก็บออมและคุ้มครองเงินออมจากโรคร้ายไปพร้อมกัน

  • คุ้มครองระยะยาวถึงอายุ 99 ปี เบี้ยประกันภัย "คงที่" ตลอดสัญญา โดยชําระเบี้ยเพียง 20 ปี
  • คุ้มครองโรคร้ายแรงที่เสี่ยงเป็นสูง จำนวน 6 กลุ่มโรค ได้แก่ มะเร็ง หัวใจ สมองและระบบประสาท ไต การติดเชื้ออย่างรุนแรง และโรคผู้สูงอายุ โดยไม่มีการอัพเซลโรคร้ายแรงที่เสี่ยงเป็นน้อยจำนวนมาก จึงทำให้ได้ความคุ้มครองที่สูงกว่าประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงในเบี้ยที่เท่า ๆ กัน
  • ตรวจพบโรคร้ายแรงจ่ายเงินก้อน ทั้งยังมีมูลค่าเงินเวนคืนสะสมในสัญญา หรือหากมีชีวิตจนครบกําหนดสัญญาจะได้รับเงินก้อนเท่ากับ 100% ของทุนประกัน
  • เลือกจับคู่กับประกันชีวิตตลอดชีพที่ต้องการได้เอง จึงทำให้สามารถเลือกจับคู่กับประกันมรดกที่อัตราเบี้ยน้อยกว่าประกันชีวิตตลอดชีพทั่วไปได้ หรือกำหนดสัดส่วนของทุนประกันชึวิตได้เอง
  • มีอัตราดอกเบี้ยการกู้มูลค่าเงินเวนคืนในสัญญาที่ต่ำ สามารถกู้มูลค่าเงินเวนคืนที่สะสมในสัญญาออกมาใช้ในยามฉุกเฉินชั่วคราวได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยเพียง 4.5% ต่อปี และยังคงได้รับความคุ้มครองโรคร้ายเหมือนเดิม (เว้นแต่เงินที่กู้ไปและดอกเบี้ยเติบโตเกินมูลค่าเวนคืนในสัญญา)
  • ลดหย่อนภาษี สามารถนําเบี้ยประกันไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนประกันสุขภาพได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกําหนด

เลือกหัวข้อที่สนใจ


ความจริงบางอย่างเกี่ยวกับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่

เรียน ท่านที่..

  • เริ่มตระหนักถึง..ความจำเป็นในการวางแผนการเงิน รับมือกับ ความน่ากลัวของโรคร้ายแรง หรือ โรคล้มละลาย ทั้งผ่านคนรู้จัก คนใกล้ตัว เครือญาติ โดยเฉพาะหากมีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง
  • ต้องการ..สวัสดิการประกันค่าทดแทนรายได้ที่สูญหายไป หากโชคร้ายป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถทำงานมีรายได้ที่เคยได้เหมือนเดิมอีก
  • ต้องการ..ให้เบี้ยประกันที่จ่ายไปเพื่อแลกสวัสดิการนี้ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ทุกปีไม่เพิ่มตามอายุ เพื่อสามารถวางแผนการเงินได้ง่ายมากขึ้น
  • ต้องการ..ให้มูลค่าเงินที่สะสมในสัญญาสามารถเติบโตเกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดได้โดยเร็ว โดยสามารถเลือกประกันชีวิตตลอดชีพที่มูลค่าเงินสะสมเติบโตเร็ว ในการประกบคู่กับสัญญาโรคร้ายแรงได้เอง
  • ที่สำคัญต้องการ..ให้เงินทดแทนรายได้ ที่จะได้รับเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงนั้น จะต้องมากกว่า เบี้ยประกัน "รวมทั้งสัญญา" ที่จ่ายไปให้มากที่สุด

รวมถึงท่านที่ต้องการให้สามารถคุ้มครองโรคร้ายแรงโดยเฉพาะที่มีวามเสี่ยงเป็นสูง และมีอัตราการเป็นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปีได้ ดังตัวอย่างสถิติผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่อไปนี้

สถิติโรคร้ายแรง

กราฟสถิติโรคร้าย  : แสดงให้เห็นแนวโน้มของการเป็นโรคร้ายที่เพิ่มมากขึ้นในทุกปีทั้งด้วยสภาพแวดล้อมและอาการการกินที่เอื้อต่อการเป็นโรคร้ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่เป็นที่มาให้กับโรคร้ายแรงทั้งหัวใจ สมอง ตับ ไต และโรคมะเร็งที่มีอัตราส่วนการเป็นสูงที่สุดในบรรดาโรคร้ายแรง 

ในปัจจุบันเครื่องมือประกันที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเบี้ยคงที่นี้ได้ จะมีด้วยกัน 2 แบบหลัก คือ

  1. ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง ที่เน้นคุ้มครองควบทั้งชีวิตและโรคร้ายแรงจำนวนมากเข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากสัญญาพื้นฐานเป็นประกันชีวิตเบี้ยจึงคงที่ โดยทุกบริษัทประกันชีวิตหากเป็นประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ จะเป็นในรูปแบบนี้
  2. ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ที่เน้นคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงเสี่ยงเป็นสูงเท่านั้น มีเพียง BLA ที่เป็นประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ในรูปแบบที่สามารถเลือกประกันชีวิตตลอดชีพที่จะจับคู่กันได้เอง

*คปภ. จะมีข้อกำหนดให้บริษัทประกันชีวิต ต้องมีสัญญาหลักในกรมธรรม์เป็นประกันชีวิตเพื่อไว้กำหนดอายุของกรมธรรม์ แต่สามารถมีสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองอื่น ๆ อย่างโรคร้ายแรงไว้แนบกับสัญญาหลักประกันชีวิตอีกทีได้

โดยแบบที่ 1 หรือ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงนั้น เป็นแบบประกันที่ทำให้บริษัทประกันแบกรับความเสี่ยงน้อยที่สุดในระยะยาว หรือก็คือ เสมือนผู้ทำประกันแบกรับความเสี่ยงส่วนใหญ่ไว้เองในระยะยาวไม่ใช่บริษัทประกัน

แต่กลับเป็นแบบประกันที่สามารถทำการตลาดและโฆษณาได้ง่ายมากที่สุด เพียงเน้นเรื่องเบี้ยคงที่ไม่จ่ายทิ้ง คุ้มครองทั้งชีวิตและโรคร้ายแรงจำนวนมาก (หลายระยะโรค) ก็ยิ่งทำให้ผู้จะทำประกันรู้สึกถึงความคุ้มค่าได้ไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม..นอกจากข้อดีของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงที่ได้ยินจากการตลาดแล้ว จะยังมีข้อจำกัด หรือ ปัญหาบางอย่าง ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนทำประกันแบบนี้ เพราะประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง อาจจะไม่ได้คุ้มค่าที่สุดอย่างที่การตลาดของบริษัทประกันพยายามชักจูงให้เข้าใจตามนั้น

หมายเหตุ :

ปัญหาของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง

ประกันชีวิตตลอดชีพ 99 20 ทุน 1 ล้าน 2

ประกันชีวิตตลอดชีพ : เบี้ยประกันสะสมจะน้อยกว่าทุนประกัน 1 ล้านบาทพอสมควร *มูลค่าเวนคืนสะสมของประกันชีวิตตลอดชีพมักจะเท่ากับทุนประกันเมื่อครบอายุสัญญา

ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง 99 20 ทุน 1 ล้าน 1

ประกันชีวิตตลอดชีพควบโรคร้าย : เบี้ยประกันสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากที่ทุน 1 ล้านเท่าเดิม *ช่วงเกษียณเงินคุ้มครองส่วนใหญ่มาจากมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตที่ควบอยู่

ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง คือ ลูกรักของบริษัทประกัน ด้วยเบี้ยทั้งสัญญาที่สูงอย่างมากจนใกล้เคียงกับทุนประกันที่จะได้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประกันที่เน้นความคุ้มครองแบบอื่น ๆ อย่างประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือ ประกันโรคร้ายแรงโดยตรง

ทำให้ในระยะยาวเมื่อผู้ทำประกันชำระเบี้ยครบแล้วบริษัทจะแบกรับความเสี่ยงน้อยลงไปอย่างมาก เพราะเหมือนเป็นการใช้เงินและการเติบโตของเงินของผู้ทำประกันมาคุ้มครองตัวผู้ทำประกันเอง

โดยบริษัทจะแบกรับความเสี่ยงอย่างมากที่สุดเพียงปีแรก ๆ ที่ผู้ทำประกันเริ่มทำประกันเท่านั้น จากนั้นความเสี่ยงที่บริษัทแบกรับจะทยอยลดลงเรื่อย ๆ ตามเบี้ยที่ได้รับเพิ่มเข้ามา

และที่สำคัญช่วงอายุเริ่มทำประกันที่ 'เบี้ยทั้งหมด' จะยังไม่สูงมากกว่า 'ทุนประกัน' ที่ได้ จะเป็นช่วงอายุ 0-45 ปี จึงทำให้ผู้จะทำประกันรีบทำประกันในช่วงอายุนี้

อย่างไรก็ตามช่วงอายุนี้ ความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคร้ายแรงและการเสียชีวิตจะค่อนข้างน้อยอย่าง บริษัทประกันจึงแบกรับความเสี่ยงน้อยลงไปอีก เรียกได้ว่าระยะสั้นก็แบกรับความเสี่ยงน้อย ระยะยาวก็ใช้เงินของผู้ทำประกันมารับความเสี่ยงแทน จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงเป็นลูกรักของบริษัทประกันนั่นเอง

แต่ด้วยการตลาดทำให้เชื่อว่าคุ้มค่า และด้วยความที่ผู้จะทำประกันไม่เข้าใจหลักการเฉลี่ยความเสี่ยงของประกัน จึงทำให้อยากทำประกันที่มีความคุ้มครองหลาย ๆ อย่างให้มากที่สุด

ทั้ง ๆ ที่หากต้องเพิ่มความคุ้มครองหลาย ๆ อย่างโดยไม่แบ่งว่าอะไรเสี่ยงสูงอะไรเสี่ยงต่ำ ย่อมส่งผลให้การเฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้อื่นทำได้ยากมากขึ้น จนสุดท้ายต้องเพิ่มเบี้ยประกันให้สูงขึ้นแทน เพื่อจะได้รับความเสี่ยงไว้เองเพียงคนเดียวได้

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเหมือนกัน คือ ประกันค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD ทั่วไป ที่ให้ความคุ้มครองกว้างอย่างมาก และไม่ได้มีเงื่อนไขคุ้มครองเฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเป็นพิเศษ ทำให้ยากที่จะเฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้อื่นได้ เบี้ยประกันจึงสูงมากไม่ต่างกับการรับความเสี่ยงและออกเงินค่ารักษาเอง

ซึ่งประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงก็มีปัญหาแบบเดียวกัน โดยจะแบ่งแยกเป็นปัญหาดังต่อไปนี้

1. คุ้มครองโรคร้ายแรง
จำนวนมาก "ทุกความเสี่ยง"

สถิติเคลมโรคร้าย e1723170217956

สถิติการเคลมประกันโรคร้ายแรง  : สถิติการเคลมจะสอดคล้องกับข้อมูลการป่วยเป็นโรคร้ายแรง โดยมีการเคลมโรคร้ายแรง 'เสี่ยงสูง' รวมกันในแต่ละปีถึง 94%-96% ของโรคร้ายแรงทั้งหมด และเป็นของโรคมะเร็งไปมากถึง 73%-75% (ซึ่งมะเร็งมีแนวโน้มจะเป็นสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยปัญหา PM2.5 ปัญหาไมโครพลาสติก พันธุกรรม และปัญหาผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด)

ด้วยข้อมูลสถิตินี้ จะพบว่าโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงได้กินส่วนแบ่งการเคลมไปกว่า 94%-96% ของการเคลมโรคร้ายแรงทั้งหมด และล้วนเป็นโรคร้ายแรงที่หากเป็นแล้ว จำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลานานและไม่สามารถทำงานมีรายได้ได้เหมือนเดิม

แต่ปัญหาของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง คือมีการ "อัพเซล" ความคุ้มครองโรคร้ายแรงเสี่ยงต่ำจำนวนมาก (อย่างโรคร้ายแรง 4%-6% ของการเคลมโรคร้ายแรงทั้งหมด) ทั้งยังอัพเซลเพิ่มความคุ้มครองทุพพลภาพและชีวิตเข้ามาด้วย

จึงทำให้เบี้ยทั้งสัญญาต้องสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับทุนประกันที่ได้ เช่น บางแบบประกันที่คุ้มครองโรคร้ายแรงจำนวนมากและหลายระยะ เบี้ยทั้งสัญญาอาจสูงถึง 870,000 บ. แต่ได้ทุนคุ้มครองที่ 1,000,000 บ. เท่านั้น นั่นหมายความว่า หากป่วยหลังจากชำระเบี้ยทั้งหมดแล้ว ก็แทบจะเป็นการใช้เงินตนเองเพื่อมาคุ้มครองตนเองเกือบทั้งหมด

หรือ บางแบบประกันยังเพิ่มการอัพเซลเคลมซ้ำในโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงบางโรคได้  อัพเซลเคลมแยกตามกลุ่มโรคร้ายได้ไม่ใช่เคลมโรคเดียวจบ (ทั้ง 2 อัพเซลต้องอยู่ในเงื่อนไขและกรอบเวลาที่กำหนดเพื่อลดโอกาสการเคลม) อัพเซลตรวจเจอโรคร้ายแรงแล้วหยุดจ่ายเบี้ยแต่ยังได้รับความคุ้มครอง (หรือ ก็คืออัพเซลหากตรวจเจอโรคร้ายแรงแล้ว จะมีทั้งให้เงินก้อนกับผู้ทำประกัน และให้เงินก้อนกับบริษัทประกัน เพื่อผู้ทำประกันจะได้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีกได้)

ด้วยอัพเซลจำนวนมากทำให้เบี้ยทั้งสัญญาจะสูงถึง 2,000,000 บ. ต่อทุนคุ้มครองเพียง 1,000,000 บ. ทำให้กว่าที่บริษัทจะเป็นผู้ให้ความคุ้มครองจริง ๆ ก็ต่อเมื่อ ผู้ทำประกันต้องเป็นโรคร้ายแรงมากกว่า 2 โรคขึ้นไป ที่สามารถเคลมได้มากกว่า 2 กลุ่มโรคร้ายแรง หรือ เป็นโรคร้ายที่สามารถเคลมซ้ำได้ 2 ครั้ง จากนั้นเป็นโรคร้ายแรงอีก 1 โรค (ซึ่งโอกาสน้อยอย่างมาก จนทางเราไม่แนะนำรวมถึงไม่ได้นำแบบประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงแบบนี้มาเปรียบเทียบกับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่)

เพราะจะเห็นได้ชัดเจนว่า ยิ่งถูกอัพเซลมากเท่าไร เบี้ยยิ่งแพงสูงมากขึ้นจากปกติหลายเท่า และทำให้ผู้ทำประกันกลายเป็นผู้ออมเองแล้วรับความเสี่ยงเองมากขึ้นเท่านั้น จนบางทีการกระจายทำประกันโรคร้ายแรงมากกว่า 1 บริษัทประกัน สามารถได้ผลประโยชน์มากกว่าการถูกอัพเซลหนักขนาดนี้ในบริษัทเดียว

และนี้คือ ปัญหาที่เกิดจากการถูกอัพเซลขายความคุ้มครองต่าง ๆ รวมทั้งชีวิตโรคร้ายแรงจำนวนมาก โดยไม่แบ่งว่าเป็นโรคร้ายความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ ทั้ง ๆ ที่ถ้าหากเน้นคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงที่เป็น 94%-96% ของการเคลม ย่อมจะได้ทุนคุ้มครองที่สูงมากกว่าเบี้ยทั้งหมดได้หลายเท่า

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่ากังวลอีกอย่างของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง คือ เบี้ยทั้งสัญญาสามารถเกินทุนประกันได้ ถ้าหากเริ่มทำประกันหลังอายุ 45 ปีเป็นต้นไป แต่เงินที่จะได้หากตรวจพบโรคร้ายหรือเสียชีวิตนั้น จะได้เพียงทุนประกันเท่านั้น จะไม่ได้เบี้ยที่มากกว่าคืน (แบบประกันชีวิตควบโรคร้ายส่วนใหญ่จะยึดทุนประกันเป็นหลัก)

และทั้งหมดนี้ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดว่า แบบประกันชีวิตควบโรคร้ายที่เป็นลูกรักของบริษัทประกันนั่น รักบริษัทประกันมากกว่าผู้ทำประกันพอสมควร

หากยังกังวลโรคร้ายแรงความเสี่ยงต่ำ 4%-6% ของการเคลม ควรทำอย่างไร

  • หากต้องการกระจายความเสี่ยงของโรคร้ายแรงเสี่ยงต่ำจำนวนมากด้วย จะควรใช้แบบประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุที่เบี้ยน้อยแต่ได้ทุนสูงกว่าเบี้ยหลายสิบเท่า มาเป็นทุนประกันเสริมให้กับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ที่เน้นคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงตลอดชีพ โดยจะเน้นทำประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มอายุนี้ในช่วงอายุก่อนเกษียณที่เป็นกำลังสำคัญในการหารายได้เท่านั้น 
  • ทำให้จะไม่ได้ต่ออายุประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุในตอนหลังเกษียณ เพราะสุดท้ายด้วยเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมากตามอายุ จะส่งผลให้เบี้ยทั้งหมดมากกว่าทุนโรคร้ายแรงที่ได้ และทำให้เหมือนใช้เงินตนเองดูแลตนเองอยู่ดี
  • ดังนั้นในตอนที่จ่ายเบี้ยประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุ ที่เบี้ยยังน้อยมากของอายุก่อนเกษียณ ก็ควรจะทยอยเก็บเงินก้อนไว้รับความเสี่ยงเองหลังเกษียณไว้ด้วย เพื่อให้ตอนเกษียณสามารถยกเลิกสัญญาโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุนี้ได้อย่างสบายใจ และมีเงินก้อนที่เก็บมามาคอยคุ้มครองแทน
  • หรือ หากไม่ได้เก็บเงินก้อนไว้รับความเสี่ยงโรคร้ายแรงเสี่ยงต่ำไว้เองหลังเกษียณ ก็ยังสามารถเวนคืน หรือ กู้มูลค่าเวนคืน จากประกันโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงเบี้ยคงที่ ออกมาใช้ยามเป็นโรคร้ายแรงเสี่ยงต่ำได้ เนื่องจากมูลค่าเวนคืนที่ได้จะเกินเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยเฉพาะเมื่อเริ่มทำประกันตอนอายุยังน้อย (จึงเสมือนเป็นการเก็บเงินก้อนไปในตัว)

2. "เบี้ยปีแรก" สูงเมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้

สิ่งหนึ่งที่มักใช้เปรียบเทียบความคุ้มค่าของความคุ้มครองที่ได้ คือ ส่วนต่างระหว่างเบี้ยที่จ่ายไปกับความคุ้มครองที่ได้ว่าแบบประกันใดจะให้ได้มากกว่ากัน โดยในที่นี้จะเป็นการกำหนดให้ทุนประกันเท่ากันที่ 1 ล้านบาท

และเปรียบเทียบเบี้ยทุกอายุของแบบประกัน

  • ประกันชีวิตควบโรคร้าย 
  • ประกันชีวิต 
  • ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ (BLA Happy CI) 
  • ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ถึงอายุ 90 (BLA อุ่นใจโรคร้าย+ทุนชีวิต 50,000 บ.) 
  • ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุถึงอายุ 80 
  • ประกันชีวิต+ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ (BLA Happy CI) 

โดยประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ทั้ง 2 แบบ จะเน้นคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงจำนวน 11 (BLA อุ่นใจโรคร้าย) และ 14 โรค (BLA Happy CI) เท่านั้น

เพศชาย
เปรียบเทียบเบี้ยโรคร้ายปีแรก ชาย ทุน 1000000

ตัวอย่างอายุ 20 ปี ทุนประกัน 1 ล้าน  : เบี้ยปีแรกที่มากกว่า 20,000 บ. จะมีเพียงประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง (ประกันชีวิต + BLA Happy CI ได้ทุนรวมกัน 2 ล้าน) 

จากกราฟ จะเห็นได้ชัดเจนในทุกอายุว่า เบี้ยปีแรกของ ประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุเบี้ยจะน้อยที่สุด และสูงขึ้นมาจะเป็น BLA อุ่นใจโรคร้าย , ประกันชีวิต , BLA Happy CI และ ประกันชีวิตควบโรคร้ายที่เบี้ยสูงที่สุด

ในขณะที่เบี้ยปีแรกของ ประกันชีวิต + BLA Happy CI แม้จะสูงกว่าประกันชีวิตควบโรคร้าย แต่ก็ได้ทุนประกันถึง 2 ก้อน ก้อนละ 1 ล้านบาท (ทุนชีวิต 1 ล้าน แยกกับ ทุนโรคร้าย 1 ล้าน) ด้วยเบี้ยที่ต่างกับ ประกันชีวิตควบโรคร้ายไม่มากแต่ได้ทุนความคุ้มครองเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า

ดังนั้น การอัพเซลที่ควบทั้งชีวิตและโรคร้ายเข้ามาด้วยกันของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงนั้น ทำให้ความคุ้มครองที่ควรได้ลดลงพอสมควร เมื่อแยกพิจารณาในมุมมองโรคร้ายและชีวิตออกจากกัน

เพศหญิง
เปรียบเทียบเบี้ยโรคร้ายปีแรก หญิง ทุน 1000000

ตัวอย่างอายุ 20 ปี  : เบี้ยปีแรกที่มากกว่า 20,000 บ. จะมีประกันชีวิตควบโรคร้าย และ ประกันชีวิต + BLA Happy CI 

จากกราฟ จะเห็นได้ชัดเจนในทุกอายุว่า เบี้ยปีแรกของ ประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุเบี้ยจะน้อยที่สุด และสูงขึ้นมาจะเป็น BLA อุ่นใจโรคร้าย , ประกันชีวิต , BLA Happy CI และ ประกันชีวิตควบโรคร้ายที่เบี้ยสูงที่สุด เช่นเดียวกับเพศชาย

เพียงแต่ว่าของเพศหญิง เบี้ยปีแรกของ ประกันชีวิต และ ประกันชีวิตควบโรคร้าย จะน้อยกว่าของเพศชายอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเพราะมีความเสี่ยงชีวิตที่น้อยกว่า ในขณะที่เบี้ยปีแรกของประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ เพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย

อย่างไรก็ตาม หากเพิ่มเบี้ยต่อปีอีกไม่มากแล้วเปลี่ยนจาก ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงที่ได้เงินก้อนเดียว 1 ล้าน มาเป็น ประกันชีวิต + BLA Happy CI แทน ก็จะได้เงินก้อนฝั่งชีวิต 1 ล้าน และฝั่งโรคร้ายแรงอีก 1 ล้าน แยกจากกันโดยไม่ต้องแชร์ หรือก็คือ เพิ่มเบี้ยต่อปีอีกไม่มากแต่ได้เงินก้อนเพิ่มอีก 1 ล้านแยกออกมา

โดยเบี้ย ประกันชีวิต + BLA Happy CI เมื่อเทียบเบี้ยหญิงกับเบี้ยชายแล้วจะใกล้เคียงกันอย่างมาก เพียงแต่เบี้ยหญิงจะน้อยกว่าเบี้ยชายเล็กน้อย

3. "เบี้ยทั้งสัญญา" สูงและเสียประโยชน์จากการไม่แยกประกันชีวิตออกมาต่างหาก

จากเบี้ยปีแรกจะเริ่มเห็นแล้วว่า การแยกประกันชีวิตออกมาจากโรคร้าย นั้นมีข้อได้เปรียบด้านความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไร ซึ่งจะยิ่งเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นอีก เมื่อนำ "เบี้ยทั้งสัญญา" มาเทียบกับ "ทุนประกัน 1 ล้านบาท" ของแต่ละแบบประกันดังนี้

เพศชาย
เปรียบเทียบ เบี้ยรวม ชาย ทุน 1000000

ตัวอย่างอายุ 50 ปี  : เบี้ยทั้งสัญญาไม่เกินทุนประกัน 1,000,000 บ. จะมี ประกันชีวิต 20/99 ทุน 1 ล้านบาท BLA Happy CI ทุน 1 ล้านบาท และ BLA อุ่นใจโรคร้าย 

จากกราฟ จะเห็นได้ชัดเจนว่าในทุกอายุ เบี้ยรวมทั้งสัญญาของ ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุนั้น จะมีเบี้ยรวมที่สูงเกินทุนประกัน (1 ล้านบาท) เพราะเบี้ยตอนเกษียณอายุนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

ในขณะที่แบบประกันอื่น ๆ ที่เป็นเบี้ยคงที่นั้น เบี้ยทั้งสัญญาจะน้อยกว่าทุน 1 ล้านอย่างชัดเจน โดยเบี้ยมากที่สุด คือ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง รองลงเป็น BLA อุ่นใจโรคร้าย, BLA Happy CI และ ประกันชีวิต 

โดยจะสังเกตุเห็นว่า ทั้ง BLA Happy CI และ ประกันชีวิต ต่างมีเบี้ยทั้งสัญญาที่น้อยกว่าทุนประกัน 1 ล้านบาทของตนเอง แม้จะเริ่มทำประกันตอนอายุ 50 ปีก็ตาม

ในขณะที่ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง เบี้ยทั้งสัญญาจะใกล้เคียงกับทุนประกัน 1 ล้านบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุเริ่มทำประกันที่มากขึ้น จนกระทั่งเกินทุน 1 ล้านบาทไปที่อายุเพียง 45 ปีเท่านั้น

ที่สำคัญเบี้ยทั้งสัญญาของ ประกันชีวิต+BLA Happy CI (รับเงิน 2 ก้อน ทุนชีวิต 1 ล้าน + ทุนโรคร้าย 1 ล้าน) จะแตกต่างกับเบี้ยทั้งสัญญาของ ประกันชีวิตควบโรคร้าย (รับเงิน 1ก้อน 1 ล้าน) ไม่มากนัก โดยเฉพาะอายุ 0-20 ปี

แต่กลับทำให้บริษัทประกันจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในส่วนต่างระหว่างทุน 1 ล้านบาท 2 ก้อน กับ เบี้ยทั้งสัญญาของทั้ง ประกันชีวิต และ BLA Happy CI 

ในขณะที่ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง บริษัทประกันจะรับความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นข้อดีอย่างมากต่อบริษัทประกัน ในการนำประกันชีวิตมาควบกับประกันโรคร้ายแรงนี้

เพศหญิง
เปรียบเทียบ เบี้ยรวม หญิง ทุน 1000000 1

ตัวอย่างอายุ 50 ปี  : เบี้ยทั้งสัญญาไม่เกินทุนประกัน 1,000,000 บ. จะมี ประกันชีวิต 20/99 ทุน 1 ล้านบาท BLA Happy CI ทุน 1 ล้านบาท และ BLA อุ่นใจโรคร้าย

จากกราฟ จะเห็นได้ว่าช่วงอายุ 20-40 ปี เบี้ยรวมทั้งสัญญาของเพศหญิง แบบ BLA อุ่นใจโรคร้าย กับ ประกันชีวิตควบโรคร้าย มีความใกล้เคียงกันอย่างมาก

เพียงแต่เบี้ยแต่ละปีของ BLA อุ่นใจโรคร้าย จะน้อยกว่าประมาณ 3 เท่า และต้องจ่ายคงที่จนถึงอายุ 90 ปี ในขณะที่ ประกันชีวิตควบโรคร้าย ด้วยเบี้ยปีแรกที่สูงกว่ามาก จึงทำให้สามารถหยุดชำระเบี้ยได้เร็วกว่าคือเพียง 20 ปี และมีมูลค่าเวนคืนที่มากกว่าหากยกเลิกสัญญา

อย่างไรก็ตามเบี้ยรวมทั้งสัญญาของ BLA Happy CI ก็ยังน้อยกว่าทุกแบบประกันโรคร้ายแรงในทุกช่วงอายุ (เพียงแต่ยังมากกว่าของประกันชีวิต) ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย และยังเป็นแบบประกันที่มีมูลค่าเวนคืนสะสมที่สามารถเติบโตเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้

ที่สำคัญทั้งในเพศหญิงและเพศชาย บริษัทประกันจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในส่วนต่างระหว่างทุน 1 ล้านบาท 2 ก้อน กับ เบี้ยทั้งสัญญาของทั้ง ประกันชีวิต และ BLA Happy CI  เมื่อเทียบกับที่บริษัทประกันจะต้องแบกรับในส่วนต่างระหว่างทุน 1 ล้าน 1 ก้อน กับ เบี้ยทั้งสัญญาของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงอย่างเดียว

แม้ในเพศหญิงเบี้ยประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงจะน้อยกว่าเบี้ยของเพศชายก็ตาม แต่บริษัทประกันก็ยังคงรับความเสี่ยงน้อยกว่า ประกันชีวิต + BLA Happy CI อยู่ดี

สรุปข้อจำกัดของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง

  • เบี้ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับทุนความคุ้มครองที่ได้
  • เนื่องจากต้องคุ้มครองทั้งชีวิตและโรคร้ายจำนวมมากทั้งเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ 
  • จำเป็นต้องทำตอนอายุยังน้อยที่เบี้ยทั้งสัญญาน้อยกว่าทุนที่ได้
  • หากทำตอนอายุมากเบี้ยทั้งสัญญาจะมากกว่าทุนที่ได้รับ แต่คุ้มครองเท่ากับทุนที่ได้รับเท่านั้น

นอกจากนี้ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง จะมีมูลค่าเวนคืนในสัญญาที่เติบโตค่อนข้างช้า เพราะต้องยึดตามประกันชีวิตที่เป็นแกนหลักไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแบบประกันชีวิตได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างด้านล่างต่อไปนี้ ที่เปลี่ยนจากประกันชีวิตตลอดชีพทั่วไป เป็นประกันมรดกได้

ประกันชีวิต + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่
แก้ปัญหาประกันชีวิตควบโรคร้ายได้อย่างไร

ความแตกต่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดระหว่าง ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ กับ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง คือ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงนั่นจะบังคับควบจับคู่กับประกันชีวิตที่บริษัทประกันเลือกมาให้แล้วเรียบร้อย 

ทำให้ไม่สามารถเลือกประกันชีวิตแบบอื่นที่จ่ายเบี้ยน้อยแต่ได้ทุนสูง และมีมูลค่าเวนคืนในสัญญาที่เติบโตอย่างรวดเร็วแบบประกันมรดกมาจับคู่ด้วยได้ รวมถึงไม่สามารถเลือกให้ทุนชีวิตน้อยกว่าหรือมากกว่าทุนโรคร้ายแรงได้ เพราะมองเป็นทุนเดียวกัน

ในขณะที่ ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ เนื่องจากเป็นสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองให้กับสัญญาหลักประกันชีวิต จึงต้องเลือกแบบประกันชีวิตที่จะมาจับคู่ด้วยเอง

ทำให้สามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่ดีที่สุด เช่น ประกันมรดก มาจับคู่ด้วยได้ ซึ่งเป็นข้อดีสำคัญที่แทบจะแก้ไขปัญหาของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงได้ทั้งหมด

แต่อย่างไรก็ตาม ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ที่แยกเป็นสัญญาโรคร้ายแรงออกมาเดียว ๆ และมีมูลค่าเวนคืนเป็นของตนเองด้วยนั้น แม้มูลค่าเวนคืนจะเติบโตเร็วกว่าประกันชีวิตในช่วงต้น

แต่จะมี ปัญหาชนกำแพงมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้น ดังรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีใน ประกันชีวิต และ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง ด้วยเพราะมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตความเสี่ยงภัยจะไม่ก้าวกระโดดสูงมากเหมือนกับของโรคร้ายแรง

มูลค่าเวนคืนHappyCI 1

กราฟ  แสดงการเติบโตของมูลค่าเวนคืนของ ประกันชีวิต กับ ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ BLA Happy CI ดญ. อายุ 1 ปี ภายหลังชำระเบี้ยครบ 20 ปี โดยมูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI จะติดกำแพง 50% ของทุนโรคร้ายจนถึงอายุ 99 ปี ในขณะที่ประกันชีวิตไม่มีกำแพงแบบนี้

โดยมูลค่าเวนคืนสูงสุดจะไม่สามารถเกิน 50%-53% ของทุนโรคร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเริ่มทำประกันตอนอายุเท่าใดก็ตาม  ซึ่งส่งผลมากหากเริ่มทำประกันตอนสูงอายุที่เบี้ยทั้งสัญญามากกว่า 50%-53% ของทุนโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะรอนานอย่างไรมูลค่าเวนคืนก็ไม่มีทางเติบโตเกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งสัญญาได้

ซึ่งทางแก้ไขปัญหานี้จะต้องอาศัย มูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตที่ไม่มีปัญหากำแพงมูลค่าเวนคืน เข้าช่วย โดยหากเลือกทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมกับแบบประกันชีวิตที่ดีพอ มูลค่าเวนคืนที่เติบโตของประกันชีวิตจะสามารถพยุงมูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI ทำให้มูลค่าเวนคืนรวมกันสามารถเกินเบี้บรวมทั้งหมดได้ แม้จะเริ่มทำประกันตอนอายุมากอย่างอายุ 55 - 65 ปีก็ตาม 

สถิติโรคมะเร็ง

กราฟ  แสดงค่าความเสี่ยงภัยโรคร้ายแรงมะเร็งที่สูงขึ้นอย่างมากตอนสูงอายุ จนทำให้ค่าประกันภัยมากินมูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI ให้ไม่สามารถเติบโตเกิน 50% ของทุนโรคร้ายแรงได้ และ เกิดเป็นกำแพงมูลค่าเวนคืนขึ้นมา

ดังนั้นการเลือกแบบประกันชีวิตที่จะมาจับคู่กับ ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ จะส่งผลต่อการวางแผนบังคับออมระยะยาวเพื่อแลกความคุ้มครองทั้งโรคร้ายแรงและชีวิตโดยตรง

จึงเป็นที่มาที่ทำให้ต้องมีการพิจารณาแบบประกันชีวิตที่จะนำมาจับคู่ให้ดี ซึ่งแน่นอนว่าประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงจะไม่เจอปัญหานี้เพราะบังคับเลือกประกันชีวิตให้เรียบร้อยแล้ว

ในขณะที่ ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า และทำให้ ★︎ ประกันชีวิตเลือกเอง + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ★ มีมูลค่าเวนคืนที่เติบโตได้เร็วกว่า ประกันชึวิตควบโรคร้ายแรง รวมถึงได้เงินถึง 2 ก้อน ไม่ใช่เพียงก้อนเดียว ด้วยเบี้ยที่แตกต่างกันน้อยมาก

และนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่จะจับคู่กับประกันโรคร้ายแรงได้เอง

1. มี "แบบประกันชีวิต" ให้ได้เลือกจับคู่หลายแบบ

ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20
ทุนชีวิตขั้นต่ำ 100,000 บ.

เพรสทีจ ไลฟ์ 99/5, 99/10, 99/15
ทุนชีวิตขั้นต่ำ 5,000,000 บ. มูลค่าเวนคืนเติบโตเร็ว

ห่วงรัก พรีเมียร์ (ปันผล) 99/5, 99/10, 99/15 ,99/20
ทุนชีวิตขั้นต่ำ 100,000 บ. มีโอกาสได้เงินปันผลมากที่สุด

แฮปปี้ โฮล์ไลฟ์ (ปันผล) 99/5, 99/10, 99/15
ทุนชีวิตขั้นต่ำ 500,000 บ. หากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุได้ 2 เท่าของทุนชีวิต

2. ได้ "มูลค่าเวนคืน" ที่เติบโตเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้เร็วกว่า

ด้วยปัญหากำแพงมูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI ทำให้หากเริ่มทำประกันตอนอายุมากกว่า 32-35 ปี มูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI จะไม่สามารถเกินเบี้ยทั้งสัญญาที่จ่ายไปได้จนกว่าจะอายุ 99 ปี ดังกราฟด้านล่าง

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ38 2

กราฟ  แสดงกำแพงมูลค่าเวนคืน BLA Happy CI ที่ติดอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท หรือ 50% ของทุนโรคร้าย 1 ล้านบาท ในขณะที่เบี้ยทั้งสัญญาของ BLA Happy CI อยู่ที่ 594,800 บ.

จึงทำให้ควรแนบ BLA HAPPY CI ให้คู่กับสัญญาหลักประกันชีวิตที่มีจำนวนทุนชีวิตใกล้เคียงหรือมากกว่าทุนโรคร้ายของ BLA HAPPY CI เพื่ออาศัยการเติบโตของมูลค่าเวนคืนที่สูงเพิ่มขึ้นทุกปีของประกันชีวิตเข้าช่วย

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ38

กราฟ  แสดงมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิต ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ที่ทยอยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเท่าทุนประกันชีวิต 1 ล้านตอนอายุ 99 ปี โดยจะไม่ได้ติดกำแพงมูลค่าเวนคืนแบบ BLA Happy CI ทุนประกัน 1 ล้าน (ทุนชีวิต 1 ล้าน + ทุนโรคร้าย 1 ล้าน แต่เบี้ยรวมเพียงประมาณ 1 ล้าน)

จากกราฟเส้นสีแดงด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อนำมูลค่าเวนคืนของทั้งประกันชีวิตและ BLA HAPPY CI ทั้งหมดมารวมกัน จะสามารถเกินเบี้ยประกันทั้งสัญญาได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุ 66 ปีเป็นต้นไป หรือใช้เวลาเพียง 29 ปีกรมธรรม์เท่านั้น

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ38 3

กราฟ  แสดงมูลค่าเวนคืนรวมทั้งประกันชีวิตและ BLA Happy CI ที่เมื่อนำมารวมกันด้วยสัดส่วนทุนประกันเท่ากัน 1 ต่อ 1 ตอนอายุ 38 ปี เพศหญิง แล้วมีมูลค่าแซงหน้าเบี้ยทั้ง 2 สัญญารวมกันได้ตอนอายุ 66 ปีเท่านั้น (กราฟสีแดง)

และด้วยมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตที่มีอิทธิพลสูงมากนี้เอง หากสามารถเลือกประกันชีวิตที่เบี้ยน้อยแต่ได้ทุนสูง และมูลค่าเวนคืนเติบโตเร็ว อย่างประกันมรดก Prestige Life 99/5 มาจับคู่กับ BLA Happy CI ได้ 

ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าเวนคืนสะสมของประกันมรดก และ BLA HAPPY CI ทั้งหมดรวมกัน สามารถเกินเบี้ยประกันทั้งสัญญาได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุ 58 ปีเป็นต้นไป หรือใช้เวลา 20 ปีกรมธรรม์เท่านั้น

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ38 4

กราฟ  แสดงมูลค่าเวนคืนทั้งหมด เมื่อเปลี่ยนจากประกันชีวิต มาเป็นประกันมรดก Prestige Life 99/5 ซึ่งทำให้มูลค่าเวนคืนทั้งหมดแซงหน้าเบี้ยทั้ง 2 สัญญาไปตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 20 เท่านั้น

3. ปรับ "สัดส่วน" ทุนชีวิต : ทุนโรคร้ายแรง เองได้

หากเริ่มทำ BLA Happy CI ตอนอายุมากอย่างเช่น อายุ 55 ปี แม้จะใช้ประกันมรดกช่วยก็ยากที่จะได้มูลค่าเวนคืนเติบโตเกินเบี้ยทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วดังรูปด้านล่าง ที่ต้องรอถึงอายุ 96 ปี

เนื่องจากเบี้ยทั้งหมดโรคร้ายแรงจะใกล้เคียงกับทุนโรคร้ายที่ได้อย่างมาก และเกินกำแพงมูลค่าเวนคืนไปมากกว่าที่ มูลค่าเวนคืนของประกันมรดกจะยกระดับขึ้นมาได้ไหว 

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ38 8

กราฟหญิงอายุ 55 ปี  แสดงมูลค่าเวนคืนทั้งหมดของทุนประกันมรดก และ ทุนโรคร้ายแรง ที่เท่ากันที่ 5,000,000 บ. แต่ทุนโรคร้ายแรง เบี้ยทั้งสัญญาจะสูงถึง 4,766,000 บ.

จากปัญหาดังกล่าวจะสามารถแก้ไขให้มูลค่าเวนคืนของประกันมรดกสามารถพยุงมูลค่าเวนคืนของโรคร้ายแรงได้ โดยลดทุนประกันของโรคร้ายแรงลง

ซึ่งพอลดทุนประกันโรคร้ายลงแล้ว ก็จะทำให้มูลค่าเวนคืนของประกันมรดกที่ทุนยังสูงเท่าเดิมอยู่ สามารถเติบโตเหนือเบี้ยทั้งหมดของประกันโรคร้ายแรงที่ลดทุนลงมาได้ดังรูปด้านล่าง ที่ปรับลดทุนโรคร้ายแรงจาก 5,000,000 บ. เป็น 2,000,000 บ.

และทำให้มูลค่าเวนคืนทั้งหมดเกินเบี้ยรวมทั้งหมดภายหลังจ่ายเบี้ยปีที่ 20 หรือเบี้ยปีสุดท้ายของ ประกันโรคร้ายแรง BLA Happy CI ทันที

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ55 2 1

กราฟหญิงอายุ 55 ปี  แสดงมูลค่าเวนคืนทั้งหมด เกินเบี้ยรวมทั้งสัญญาหลังปีกรมธรรม์ที่ 20 เป็นต้นไป หรือที่อายุ 76 ปีเท่านั้น เมื่อทุนโรคร้ายแรงที่ 2,000,000 บ. และทุนมรดกที่ 5,000,000 บ. 

จากจุดนี้เองจึงทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการเลือกสัดส่วนระหว่างทุนประกันชีวิต (ทุนประกันมรดก) กับ ทุนประกันโรคร้ายแรง ที่เหมาะสม

โดยหากอายุยังน้อยกว่า 32 ปี ที่มูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI สามารถเกินเบี้ยทั้งหมดได้ด้วยตนเอง สัดส่วนของทุนประกันชีวิตก็อาจไม่จำเป็นมากนัก (เว้นแต่ต้องการนำไปจูบคู่กับประกันมรดกเพื่อให้มูลค่าเวนคืนแซงเบี้ยทั้งหมดเมื่อชำระเบี้ยครบ 20 ปีพอดี)

ในขณะที่หากเริ่มทำ BLA Happy CI ตอนอายุมากกว่า 32 ปีขึ้นไป การพิจารณาทุนชีวิตที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมูลค่าเวนคืนให้เกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดโดยเร็ว จะเป็นสิ่งสำคัญ

ด้วยปัญหาการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมนี้เอง ทางเราจึงได้สร้างเครื่องมือดังรูปด้านล่าง เพื่อเป็นเครื่องมือให้ท่านที่สนใจทำประกัน BLA Happy CI

สามารถใช้งานหาสัดส่วนทุนที่เหมาะสมได้เอง ทั้งต่อกำลังและเป้าหมายในการออม รวมไปถึงการเติบโตของมูลค่าเวนคืนให้เกินเบี้ยทั้งหมดโดยเร็วที่สุดได้

มูลค่าเวนคืนHappyCIญ อายุ55 3

เครื่องมือคำนวณ  สามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่ต้องการ พร้อมระบุทุนประกันชีวิต และทุนโรคร้ายแรงที่ต้องการ และดูระยะเวลาที่มูลค่าเวนคืนจะเกินเบี้ยทั้งหมดได้ทันที

ข้อสรุป

  • จะเห็นได้ชัดเจนว่าการแยก ประกันชีวิต กับ ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ออกจากกันนั้น ช่วยให้ได้ ความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้น (หรือ บริษัทประกันแบกรับความเสี่ยงมากขึ้น) และทำให้ได้มูลค่าเวนคืนเกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยประกันมรดกที่ใช่
  • ซึ่งการได้มูลค่าเวนคืนเกินเบี้ยเร็ว ก็เหมือนกับได้เเงินที่ลงทุน (เพื่อแลกกับความคุ้มครอง) กลับมาเร็ว ทำให้หลังจากนี้หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองอีก ก็สามารถยกเลิกสัญญาแล้วได้เงินกลับคืนมาได้ทุกเมื่อ
  • หรือ หากยังต้องการได้รับความคุ้มครองต่อไป ก็ยังสามารถนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ได้ในยามฉุกเฉินชั่วคราว ผ่านการกู้กรมธรรม์ที่อัตราดอกเบี้ยน้อยมาก
  • และทำให้มูลค่าเวนคืนที่เติบโตเร็วนี้สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตามประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ ของ กรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA Happy CI นั้น จะไม่ได้เหมาะกับทุนคน โดยจะสามารถพิจารณาว่า BLA Happy CI จะเหมาะกับท่านหรือไม่ ที่รายละเอียดข้อมูลของ BLA Happy CI ด้านล่างนี้

รายละเอียด BLA Happy CI ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ที่ตอบโจทย์

โดยประกันโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงเบี้ยคงที่ BLA Happy CI จะมีรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. รายชื่อโรคร้ายแรง "เสี่ยงสูง" ที่คุ้มครอง

โดยเน้นที่โรคร้ายแรงเสี่ยงสูงที่กินส่วนแบ่งการเคลมกว่า 94%-96% ของโรคร้ายแรงทั้งหมด

กลุ่มโรคที่คุ้มครอง

รายชื่อโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง โดยต้องอยู่ในขั้นรุนแรงที่กำหนดแล้ว

1. โรคมะเร็งและเนื้องอก

  • โรคมะเร็งระยะ 0-1 ที่ยังไม่ลุกลามออกไปเนื้อเยื่อข้างเคียง (รับเงิน 20% ของทุนประกันต่อชนิดมะเร้ง)
  • โรคมะเร็งระยะลุกลามออกไปเนื้อเยื่อข้างเคียง
  • เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง

2. โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
  • กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด

3. โรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดสมองและระบบประสาท

  • โรคระบบประสาท มัลติเพิล สะเคลอโรสิส
  • โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด

4. โรคที่เกี่ยวกับไต

  • ไตวายเรื้อรัง

5. โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้ออย่างรุนแรง

  • สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส

6. โรคผู้สูงอายุ

  • โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์กินสัน

2. หลักเกณฑ์การจ่ายผลประโยชน์

จ่ายเงินก้อน เมื่อเจอโรคร้ายอในขั้นรุนแรงที่กำหนด..ทั้งตอนยังมีชีวิตอยู่หรือได้จากไปแล้ว หรือ เมื่ออยู่ครบกำหนดสัญญา

BLA HAPPY CI

คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี 
(เริ่มคุ้มครองหลังสัญญามีผลบังคับ 90 วัน)

กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง

กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่กำหนด

(ที่ไม่ใช่โรคมะเร็งระยะ 0 ที่ยังไม่ลุกลามไปเนื้อเยื่อข้างเคียง)

  • รับเงิน 100% ของทุนประกันภัย หรือ เบี้ยประกันสะสมตามจริง แล้วแต่จำนวนใดมากกว่ากัน โดยหักเงินที่มีการจ่ายผลประโยชน์ในกรณีมะเร็งระยะไม่ลุกลามไปแล้ว (เช่น หากทำประกันตอนอายุมาก และเบี้ยสะสมสูงกว่าทุนประกันภัย ก็จะได้รับเบี้ยสะสมคืนเมื่อตรวจพบโรคร้ายที่คุ้มครอง)

กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะ 0 (ที่ยังไม่ลุกลามไปเนื้อเยื่อข้างเคียง) รวมถึงมะเร็งชนิดที่ใกล้เคียงกันต่อไปนี้

  • ระยะที่ 0-1 มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ระยะที่ 0-2 มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic Lymphocytic Leukemia
  • ระยะที่ 0-1 มะเร็งผิวหนัง เฉพาะชนิด Malignant Melanoma
  • ระยะที่ 0 ของกลุ่มเนื้องอกรังไข่ชนิด Borderline Tumor
  • รับเงิน 20% ของทุนประกันภัย โดยโรคมะร็งระยะไม่ลุกลามที่ตรวจพบแต่ละครั้งจะต้องไม่เกี่ยวข้องหรือสืบเนื่องจากโรคมะร็งระยะไม่ลุกลามที่บริษัทได้จ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว และผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงส่วนที่เหลือจะลดลงตามจำนวนเงินผลประโยชน์กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะไม่ลุกลามที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด

กรณีเสียชีวิต หรือ มีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา

กรณีมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา

  • รับเงิน 100% ของทุนประกันภัย หรือ เบี้ยประกันสะสมตามจริง แล้วแต่จำนวนใดมากกว่ากัน โดยหักเงินที่มีการจ่ายผลประโยชน์ในกรณีมะเร็งระยะไม่ลุกลามไปแล้ว

กรณีเสียชีวิตจากโรคร้ายระหว่างการพิจารณา

  • ในกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเคลมประกันโรคร้าย แต่ผู้ทำประกันเสียชีวิตไปก่อน หากบริษัทอนุมัติเคลมบริษัทจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ จำนวนเท่ากับกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง

กรณีเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น ๆ ก่อนครบกำหนดสัญญา

  • ผู้รับผลประโยชน์รับเงินคืนเท่ากับมูลค่าเวนคืนที่สะสมไว้ในสัญญา (สูงสุดที่ประมาณ 50% ของทุนประกันที่เลือก ซึ่งจะน้อยกว่าเบี้ยทั้งสัญญาหากเริ่มทำประกันตอนอายุไม่มาก)

กรณียกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญา

  • ผู้ทำประกันรับเงินคืนเท่ากับมูลค่าเวนคืนที่สะสมไว้ในสัญญา (สูงสุดที่ประมาณ 50% ของทุนประกันที่เลือก ซึ่งจะน้อยกว่าเบี้ยทั้งสัญญาหากเริ่มทำประกันตอนอายุไม่มาก)

3. ข้อยกเว้นความคุ้มครองที่ต้องเข้าใจก่อนทำประกัน

BLA Happy CI ไม่คุ้มครองอันเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง ซึ่งแพทย์ยืนยันมีหลักฐานชัดเจน หรือ เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง โดยทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้นก่อนวันต่อไปนี้ (นับวันที่เกิดขึ้นหลังสุด)
    • 1. วันที่เริ่มมีผลคุ้มครอง + ระยะเวลารอคอย 90 วัน หรือ
    • 2. วันที่อนุมัติให้มีการต่ออายุสัญญาได้ + ระยะเวลารอคอย 90 วัน เมื่อสัญญาเพิ่มเติมสิ้นผลบังคับ ด้วยเหตุไม่ได้ชำระเบี้ยใน 60 วันหลังครบกำหนดแล้วทำการขอต่ออายุสัญญาใหม่ หรือ
    • 3. วันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย + ระยะเวลารอคอย 90 วัน เฉพาะในส่วนของจำนวนทุนประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
  • การฆ่าตัวตาย หรือ การทำร้ายร่างกายตนเอง หรือ พยายามกระทำเช่นว่านั้น
  • การสูดดม กิน ดื่ม ฉีด หรือ นำสารมีพิษเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ในขณะที่รู้สึกผิดชอบหรือวิกลจริต หรือไม่ก็ตาม
  • ผู้เอาประกันภัยปฏิเสธไม่ยอมรับการรักษา แนะนำ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • การตรวจรักษาพยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นแพทย์สั่งให้แก่ตัวเอง รวมทั้งการตรวจรักษาพยาบาลจากแพทย์ผู้ซึ่งเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ของผู้เอาประกันภัย
  • การติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV Positive) หรือภาวะของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามภายใต้วัตถุประสงค์ของสัญญาเพิ่มเติมนี้
  • โรคร้ายแรงที่ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงที่กำหนดตามคำจำกัดความด้านล่างนี้

**เมื่อพบแพทย์จะสามารถให้ลิงก์เอกสารนี้กับทางแพทย์ เพื่อแพทย์ได้เข้าใจขอบเขตของโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง และสามารถใช้คำศัพท์ที่สอดคล้องกับคำจำกัดความลงในประวัติการรักษา ทำให้สามารถลดระยะเวลาการขอคำอธิบายเพิ่มเติมภายหลังได้

สรุปจุดเด่นเมื่อเทียบกับประกันชีวิตควบโรคร้าย

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • ให้ทุนประกันความคุ้มครองโรคร้ายได้สูงกว่าเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดหลายเท่า เนื่องจากเน้นที่โรคร้ายแรงเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเคลมมากถึง 94%-96% ของโรคร้ายแรงทั้งหมดเป็นหลักเท่านั้น

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • ให้ทุนความคุ้มครองใกล้เคียงกับเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมด เนื่องจากต้องคุ้มครองโรคร้ายแรงจำนวนมาก รวมถึงต้องให้ความคุ้มครองชีวิตร่วมด้วย

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • คุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี หากทำตั้งแต่อายุยังน้อยมูลค่าเวนคืนจะเกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมด โดยใช้เวลาน้อยที่สุดเพียง 21-23 ปี หรือเพียง 1-3 ปี หลังจ่ายเบี้ยครบ 20 ปีเท่านั้น ซึ่งยังเร็วกว่าแบบที่ชำระเบี้ย 5 ปีของประกันชีวิตควบโรคร้ายแรงทั่วไป

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี หรือ 99 ปี และหากทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อยจะต้องใช้เวลานานกว่า 30 ปีขึ้นไป เพื่อให้มูลค่าเวนคืนสามารถเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้ โดยอาจต้องเลือกงวดการชำระเบี้ยลดลงเป็น 5 ปี 10 ปี 15 ปี แทน 20 ปี เพื่อให้เบี้ยรวมทั้งหมดลดลง (แต่เบี้ยต่อปีจะสูงขึ้น) และมูลค่าเวนคืนจะสามารถเกินเบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดได้เร็วขึ้น

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • ทำทุนสูงสุดได้ที่ 5 ล้านบาทเท่านั้น เพราะเน้นโรคร้ายแรงเสี่ยงสูงที่มีความเสี่ยงมากเป็นหลัก

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • ทำทุนสูงสุดได้มากกว่า 5 ล้าน เพราะข้างในจะเป็นส่วนของประกันชีวิตเป็นหลัก เพื่อนำมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตมาช่วยจ่ายค่าการประกันภัยของโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • โรคที่คุ้มครองล้วนเป็นโรคที่มีสถิติการเป็นที่สูง และเสี่ยงมาก ไม่ได้มีอัพเซลพ่วงจำนวนโรคที่เป็นได้ยากให้เบี้ยปรับสูงขึ้น ทำให้เบี้ยทั้งหมดน้อยกว่าทุนโรคร้ายแรงที่ได้พอสมควร โดยเฉพาะหากเริ่มทำตอนอายุยังน้อย

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • เน้นคุ้มครองหลายโรค หลายระยะ ทำให้เบี้ยประกันทั้งหมดสูงขึ้นมาก และเกือบจะเท่ากับทุนประกันที่ได้ จึงเสมือนแบกรับความเสี่ยงโรคร้ายด้วยเงินตนเอง ภายหลังจ่ายเบี้ยทั้งหมดครบแล้ว

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • เมื่อเริ่มทำประกันตอนสูงอายุ ทำให้เบี้ยทั้งหมดเกินทุนประกันที่ได้ แล้วหากเป็นโรคร้ายแรงจะได้เบี้ยทั้งหมดที่มากกว่าทุนประกันคืน

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • เมื่อเริ่มทำประกันตอนสูงอายุ ทำให้เบี้ยทั้งหมดเกินทุนประกันที่ได้ แล้วหากเป็นโรคร้ายแรงจะได้เงินเท่ากับทุนประกันเท่านั้น แม้จะน้อยกว่าเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปก็ตาม (เว้นแต่ประกันชีวิตควบโรคร้ายที่จ่ายหลายกลุ่มโรคร้ายจะได้เบี้ยที่สูงมากคืน)

จุดเด่น BLA HAPPY CI

  • สามารถแก้ปัญหามูลค่าเวนคืนไม่มีทางเติบโตเกินเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปหากเริ่มทำประกันตอนสูงอายุได้ โดยอาศัยการจับคู่กับประกันชีวิตแบบประกันมรดกเข้าช่วยที่สัดส่วนทุนชีวิตต่อทุนโรคร้าย ที่มูลค่าเวนคืนชีวิตจะเติบโตเกินเบี้ยทั้งประกันชีวิตและประกันโรคร้ายแรงได้

ประกันชีวิตควบโรคร้าย

  • ไม่สามารถแก้ปัญหามูลค่าเวนคืนไม่มีทางเกินเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปหากเริ่มทำประกันตอนสูงอายุได้ เนื่องจากไม่สามารถเลือกแบบประกันชีวิตที่จะมาใช้ควบกับประกันโรคร้ายแรงได้เอง

แต่.. BLA Happy CI ไม่ได้เหมาะกับทุกคน

จากข้อมูลทั้งหมด แน่นอนว่าหากมีกำลังพอที่จะเก็บออมเงินแล้วยังได้ผลประโยชน์เป็นความคุ้มครองโรคร้ายร่วมด้วย จะทำให้ ★︎ ประกันชีวิตเลือกเอง + BLA Happy CI ★ และ ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง จะเป็นแบบที่น่าสนใจที่สุด

โดย ★︎ ประกันชีวิตเลือกเอง + BLA Happy CI ★ จะได้เงิน 2 ก้อน (ทุนชีวิต 1 ก้อน + ทุนโรคร้าย 1 ก้อน) แต่เบี้ยทั้งสัญญาไม่ได้แตกต่างกับ ประกันชีวิตควบโรคร้ายที่ได้เงิน 1 ก้อน มากนัก โดยเฉพาะเมื่อทำประกันตอนอายุยังน้อย (ส่วนหนึ่งด้วยเพราะ BLA Happy CI จะไม่ได้อัพเซลโรคร้ายจำนวนมากแต่เน้นเพียงโรคร้ายเสี่ยงสูงเท่านั้น)

ซึ่งประกันทั้ง 2 แบบ มีการเก็บเบี้ยแต่ละปีที่สูงมากทั้งคู่ จึงทำให้มูลค่าในกรมธรรม์เติบโตเกินเบี้ยทั้งสัญญาได้ในเวลา 20-40 ปี (โดยเฉพาะกับ ★︎ ประกันชีวิตเลือกเอง + BLA Happy CI ★ ที่เติบโตเร็วมากและทำให้เหมือนไม่ได้จ่ายเบี้ยใด ๆ แต่เป็นการเก็บเงินในกรมธรรม์ระยะยาวแถมได้ความคุ้มครองโรคร้ายเสียมากกว่า

ทั้งนี้หากจำเป็นต้องใช้เงินเก็บก้อนนี้ จะสามารถเวนคืนยกเลิกกรมธรรม์ หรือ จะกู้กรมธรรม์ออกมาก็ได้เพื่อยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป (จนกว่ามูลค่าเวนคืนจะน้อยกว่าเงินที่กู้ไปรวมดอกเบี้ย กรมธรรม์จะปิดตัวลงอัตโนมัติ)

ในขณะที่แบบ BLA อุ่นใจโรคร้าย เบี้ยแต่ละปีน้อยกว่า มูลค่าในกรมธรรม์ที่เติบโตก็จะน้อยกว่า ทำให้หากไม่เป็นโรคร้ายแล้วจะยกเลิกหรือเวนคืนตอนอายุ 80-82 ปีที่มูลค่าเวนคืนสูงสุด จะได้คืนคือประมาณ 50% ของเบี้ยรวมที่จ่ายไปทั้งหมด หรือ เสมือนว่ามีการจ่ายเบี้ยสำหรับความคุ้มครองโรคร้ายในอายุที่ผ่านมาแบบลดราคา 50%่ นั่นเอง

แต่ก็ต้องยอมรับว่า BLA อุ่นใจโรคร้าย ได้ให้สภาพคล่องที่มากกว่า ★︎ ประกันชีวิตเลือกเอง + BLA Happy CI ★  และ ประกันชีวิตควบโรคร้าย รวมถึงเมื่อเทียบเบี้ยรวมทั้งหมดแล้ว BLA อุ่นใจโรคร้ายก็ยังมีเบี้ยที่น้อยกว่า แบบประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุด้วย

ดังนั้น :

  • หากมีกำลังในการเก็บออมเงิน ★ ประกันชีวิตเลือกเอง + BLA Happy CI จะเป็นคำตอบที่น่าสนใจที่สุด โดยเฉพาะเมื่อทำตอนอายุไม่มาก เพราะเสมือนเป็นการบังคับฝากประจำระยะยาวแลกกับความคุ้มครองโรคร้ายแรงทุนสูงทันที (การถอนเงินหรือยกเลิกก่อนกำหนดมูลค่าเวนคืนจะน้อยกว่าเบี้ยที่จ่ายไป)
  • หากยังมีกำลังออมมาก อายุยังน้อย และ ไม่สามารถทำทุนประกัน BLA Happy CI เพิ่มได้แล้ว (สูงสุด 5 ล้านบาท) การพิจารณาประกันชีวิตควบโรคร้ายจะน่าสนใจขึ้นมา
  • หากกำลังในการเก็บออมน้อยลงมา การพิจารณา ฺBLA อุ่นใจโรคร้าย จะเป็นคำตอบที่น่าสนใจ
  • หากยังไม่พร้อมในการเก็บออมเงิน แต่ต้องการเน้นโอนความเสี่ยงเฉพาะช่วงอายุก่อนเกษียณถึงอายุ 50-60 ปี เป็นหลัก ประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุ จะเป็นแบบที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเฉพาะหากต้องการเพิ่มความคุ้มครองให้สูงขึ้นต่อจาก BLA Happy CI ในช่วงชีวิตวัยทำงานเป็นผู้หารายได้หลัก

ตัวอย่างอัตราเบี้ย BLA Happy CI

1. เบี้ยแต่ละปี 
เบี้ยคงที่ตามอายุที่เริ่มทำประกัน

เบี้ยประกันโรคร้ายแฮปปี้ ซีไอ 1

ตัวอย่าง  ผู้ชายอายุ 25 ปี ทำทุนโรคร้าย 5,000,000 บ. จะมีเบี้ยคงที่ 20 ปี ๆ ละ 95,350 บ. (โดยทุนโรคร้าย 5,000,000 บ. ที่ได้ คิดเป็น 52.44 เท่าของเบี้ย 95,350 บ.)

2. เบี้ยทั้งสัญญา 20 ปี
และปีที่มูลค่าเวนคืนสูงเกินเบี้ย

*ไม่รวมเบี้ยประกันชีวิต (สัญญาหลัก) และเบี้ย คช. (คุ้มครองชำระเบี้ยผู้ปกครอง) ของผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 15

เบี้ยรวมประกันโรคร้ายแฮปปี้ ซีไอ

ตัวอย่าง  ผู้ชายอายุ 25 ปี ทุนโรคร้าย 5,000,000 บ. จะมีเบี้ยรวม 20 ปีเท่ากับ 1,907,000 บ. โดยมูลค่าสะสมในสัญญา Happy CI จะใช้เวลา 25 ปี ที่จะมีมูลค่ามากกว่า 1,907,000 บ. หรือ ในตอนอายุ 50 ปี มีมูลค่าของสัญญามากกว่าเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไป (เสมือนการฝากประจำ 25 ปีแลกความคุ้มครองโรคร้าย 5,000,000 บ. ทันทีที่เริ่มออม)

**มูลค่าเวนคืนแสดงเฉพาะของ BLA Happy CI โดยในช่วงอายุที่มูลค่าเวนคืนน้อยกว่าเบี้ยทั้งหมด จะจำเป็นต้องพิจารณาประกบคู่กับประกันชีวิตที่มีทุนประกันที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้มูลค่าเวนคืนสามารถเติบโตเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้

จากตารางจะเห็นได้ว่า หากเริ่มทำ BLA HAPPY CI ระหว่างอายุ 0 - 31 ปี จะเหมือนเป็นการเก็บออมเงินไว้ในสัญญา BLA HAPPY CI โดยเมื่อครบปีกรมธรรม์ที่ 21-31 ปี มูลค่าเงินที่สะสมอยู่ในกรมธรรม์ก็จะเกินเบี้ยรวมทั้งหมดที่จ่ายไป

ทำให้หากยกเลิกสัญญาก็จะได้เบี้ยประกันทั้งหมดคืนกลับมา โดยก่อนหน้านั้นเหมือนได้ความคุ้มครองโรคร้ายตลอด 21-31 ปี โดยไม่เสียเบี้ยอะไร (เสมือนได้ความคุ้มครองฟรี)

อย่างไรก็ตามทางเราจะไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกสัญญา แต่จะแนะนำว่าสามารถกู้เงินจากมูลค่าในสัญญาออกมาใช้ได้ในยามฉุกเฉินชั่วคราวจริง ๆ ด้วยดอกเบี้ยที่ 4.5% ต่อปี

ซึ่งข้อดีของการกู้ที่ดีกว่าการยกเลิกสัญญา คือ จะยังคงได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่อไปเหมือนเดิม และได้เงินไปใช้ยามฉุกเฉินชั่วคราวด้วย (โดยหากเงินที่กู้และดอกเบี้ยรวมกันเกินมูลค่าเวนคืน สัญญาจะปิดตัวลงอัตโนมัติ)

จึงทำให้เห็นชัดเจนว่าการออมเงินผ่านสัญญา BLA HAPPY CI สามารถเป็นได้ทั้งแหล่งเงินสำรองฉุกเฉินชั่วคราวพร้อมกับความคุ้มครองโรคร้ายที่มากกว่าเงินสำรองที่เก็บออมนี้ถึง 2 - 4 เท่า และเหมาะอย่างยิ่งกับการบังคับเก็บออมระยะยาว 20 กว่าปี ให้สำหรับอนาคตของลูก

ในขณะที่หากเริ่มทำ BLA Happy CI หลังอายุ 31 ปีเป็นต้นไป จะควรพิจารณาแบบประกันชีวิตและสัดส่วนทุนประกันชีวิตร่วมด้วย เพื่อที่มูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตเมื่อรวมกับมูลค่าเวนคืนของ BLA Happy CI แล้ว จะทำให้ได้มูลค่าเวนคืนที่สามารถเกินเบี้ยทั้งหมดของประกันชีวิตและ BLA Happy CI ได้และได้เร็วมากขึ้น

สิทธิพิเศษ
และโบนัสพิเศษ

โบนัสพิเศษเมื่อทำ
ประกันกับทาง Release Your Risk

เข้าถึงเครื่องมือคำนวณประกันบำนาญ เครื่องมือวางแผนเกษียณ และเครื่องมือติดตามแผนการลงทุน

เบี้ยประกัน (ต่อปี)

สิทธิพิเศษ

ชีวิต/โรคร้ายแรง/สุขภาพ/บำนาญ 

50,000 ขึ้นไป

สิทธิพิเศษเมื่อทำ
ประกันกับ กรุงเทพประกันชีวิต

สิทธิพิเศษระดับ BLUE

เบี้ยประกัน (ต่อปี)

รูปแบบสิทธิพิเศษ

1 - 19,999

Classic

20,000 - 249,999

Standard

250,000 - 499,999

Premier

สิทธิพิเศษระดับ INDIGO

เบี้ยประกัน (ต่อปี)

รูปแบบสิทธิพิเศษ

500,000 - 999,999

Aqua

1,000,000 - 2,999,999

Sky

3,000,000 ขึ้นไป

Sapphire

เงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจก่อนจะเริ่มทำประกัน

ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณารับทำประกัน อาจจำเป็นต้องมีการขอข้อมูลดังต่อไปนี้ (ตาม พรบ.ป้องกันการฟอกเงิน)

ขอประวัติสุขภาพ/ ขอให้ตรวจสุขภาพ

ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับแหล่งที่มารายได้

ขอหลักฐานทางการเงิน ถิ่นที่อยู่อาศัย

อายุและระเบียบการตรวจสุขภาพ

ระเบียบการตรวจสุขภาพ

ทุนประกันชีวิต

อายุรับประกัน (ปี)

ระเบียบการตรวจสุขภาพ

300,000 บาท หรือ น้อยกว่า 🢃

แรกเกิด - 65

แถลงสุขภาพ

66 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ

300,001 - 3 ล้านบาท 🢃

แรกเกิด - 55

แถลงสุขภาพ

56 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ

3,000,001 - 5 ล้านบาท 🢃

แรกเกิด - 40

แถลงสุขภาพ

41 - 55

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจ Anti HIV

56 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด

5,000,001 ถึง 15 ล้านบาท 🢃

แรกเกิด - 15

ตรวจสุขภาพ
ประวัติการรักษา

(APS)

16 - 40

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด
ตรวจ Anti HIV

41 - 55

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด
ตรวจ Anti HIV
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

56 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด
ตรวจ Anti HIV
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เอ็กซ-เรย์ปอด

15,000,001 ถึง 25 ล้านบาท 🢃

แรกเกิด - 15

ตรวจสุขภาพ
ประวัติการรักษา
(APS)

16 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด
ตรวจ Anti HIV
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เอ็กซ-เรย์ปอด

25,000,001 บาทขึ้นไป 🢃

แรกเกิด - 15

ตรวจสุขภาพ
ประวัติการรักษา
(APS)

16 ขึ้นไป

ตรวจสุขภาพ
ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
ตรวจเลือด
ตรวจ Anti HIV
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เอ็กซ-เรย์ปอด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)

หมายเหตุ :

1. ตรวจเลือด คือ CBC, Creatinine, FBS, HbA1C, Cholesterol, Triglyceride, HDL, SGOT, SGPT, GGT, HBsAg, HBeAg
2. อายุ แรกเกิด - 2 ปี แนบสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพ

ประกาศที่ 220/2566

เขตพื้นที่สีแดงที่มีความเสี่ยงสูง ด้าน พรบ.ป้องกันการฟอกเงิน

เขตพื้นที่สีแดง (Red Zone)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ

ภาคเหนือ

▸ ผู้ขอทำประกันมีโอกาสสูงที่จะถูกขอให้ตรวจสุขภาพ

▸ ขอให้แสดงแหล่งที่มาของรายได้ และสินทรัพย์ที่มี (มีที่มาที่ไปว่าทำไมต้องทำประกัน)

เขตจังหวัดสีแดง (Red Province)

อุดรธานี

อุบลราชธานี

ขอนแก่น

หนองบัวลำภู

มหาสารคาม

 นครราชสีมา

▸ ผู้ขอทำประกันมีโอกาสสูงที่จะถูกขอให้ตรวจสุขภาพ

▸ ขอให้แสดงแหล่งที่มาของรายได้ และสินทรัพย์ที่มี (มีที่มาที่ไปว่าทำไมต้องทำประกัน)

การแสดงแหล่งที่มาของรายได้ อ้างอิง พรบ.ป้องกันการฟอกเงิน

กรณีทุนประกันภัยสูง (นับทุนประกันชีวิตรวมทุกกรมธรรม์ที่มีผลบังคับ)

ทุนประกัน 1,000,000 บาทขึ้นไป

▸ เอกสารแสดงที่มาของรายได้ เช่น Statement สลิปเงินเดือน เอกสารยื่นภาษี เป็นต้น

ทุนประกัน 5,000,001 บาทขึ้นไป

▸ ตอบแบบสอบถามสำหรับการประกันภัยวงเงินสูง (12 ข้อ)

ทุนประกัน 10,000,001 บาทขึ้นไป

▸ ตอบแบบสอบถามสำหรับการประกันภัยวงเงินสูง (20 ข้อ)

▸ สำเนา Bank Statement ย้อนหลัง 6 เดือน

▸ สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท และสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท อายุไม่เกิน 3 เดือน (ถ้ามี)

▸ สำเนางบดุล และงบกำไร-ขาดทุน ย้อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี)

กรณีเบี้ยประกันภัยสูง (นับการชำระเบี้ยประกันภัยรวมทุกกรมธรม์)

เบี้ยประกัน 10 ล้านบาทขึ้นไป (ต่อปี)

▸ ตอบแบบสอบถามสำหรับเบี้ยประกันภัยมูลค่าสูง

▸ สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของจำนวนเงินที่จะใช้ในการชำระเบี้ยประกันภัยประกอบ เช่น
สมุดบัญชีเงินฝาก / สมุดบัญชีกองทุน / สัญญาซื้อขาย / หนังสือโอนกรรมสิทธิ์ / หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย / แบบยื่นเสียภาษีเงินได้ เป็นต้น พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

หมายเหตุ : เขตพื้นที่ความเสี่ยงสูงหรืออาชีพเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะขอเอกสารเพิ่มเติมดังนี้ >> ผลตรวจเลือดค่าตับ รูปถ่ายปัจจุบันของผู้ขอทำประกันพร้อมที่พักอาศัยตามที่อยู่ที่ระบุโดยเห็นบริเวณบ้าน , ชี้แจ้งรายได้และแหล่งที่มาของรายได้โดยละเอียด , สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร , รายการยื่นภาษีเงินได้ , โฉนดที่ดิน เป็นต้น

บทบาทหน้าที่ของทาง Release your Risk

❑  ให้ความรู้ความเข้าใจ ก่อนดำเนินการจัดทำใบคำขอทำประกัน
❑  ประสานฝ่ายพิจารณาเพื่อขอคำอธิบายสาเหตุการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม
❑  ให้คำแนะนำก่อนไปตรวจสุขภาพ
❑  การติดตามเอกสารที่ฝ่ายพิจารณาร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม
❑  ประสานฝ่ายพิจารณาเพื่อขอคำอธิบายสาเหตุของข้อเสนอความคุ้มครองบางอาการ หรือ การขอเพิ่มเบี้ยประกัน
❑  ประสานฝ่ายพิจารณาการทบทวนข้อเสนอทั้งปัจจุบันและในภายหลัง
❑  ประสานฝ่ายพิจารณาเพื่อขอคำอธิบายถึงสาเหตุการเลื่อนพิจารณารับประกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติในระหว่างระยะเวลาการเลื่อนรับประกัน
❑  ประสานฝ่ายพิจารณาเพื่อขอคำอธิบายถึงสาเหตุการปฏิเสธการรับประกัน และคำแนะนำในขั้นตอนถัดไป
❑  อธิบายขั้นตอนการชำระเบี้ยปีแรก ข้อควรระวังในการชำระเบี้ยปีต่อ และวิธีการอำนวยความสะดวก
❑  ดูแลการเคลมประกัน โดยช่วยประสานกับฝ่ายสินไหม และ รพ.
❑  การเร่งดำเนินการขอประวัติการรักษา
❑  ดูแลทำบันทึกเวลาต้องขอความอนุเคราะห์หรือโต้แย้งบริษัท
❑  ดูแลทำบันทึกการยื่นทบทวนข้อยกเว้นความคุ้มครอง หรือทบทวนการเพิ่มเบี้ยประกัน
❑  ให้คำแนะนำและดูแลการเปลี่ยนแปลง กรมธรรม์ หรือ สัญญาเพิ่มเติมในกรมธรรม์

การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..

วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • แอนนี่ค่ะ2

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก