วิธีเลือกประกันโรคร้ายแรงสำหรับออมลดหย่อนภาษี

หากดำเนินการ ออมเงิน และ กำหนดหน้าที่ของเงินออม ให้เป็นดังต่อไปนี้ 

  • เงินสำหรับชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปเพราะป่วยเป็นโรคร้ายแรง
  • เงินสำหรับดูแลค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากค่ารักษา (หากมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมเรียบร้อยแล้ว)
  • มีกลไกป้องกันไม่ให้นำเงินออมนี้ออกมาใช้ผิดวัตถุประสงค์
  • สามารถเลือกออมเงินคงที่เท่ากันทุกปี เสมือนเป็นค่าใช้จ่ายประจำ

จะทำให้เครื่องมือการออมที่เหมาะสมที่สุด คือ..

ประกันโรคร้ายแรง

..หนึ่งในแบบประกันที่หากรีบทำตอนอายุยังน้อยแล้ว จะยิ่งเพิ่มความสบายใจ และยิ่งเสมือนได้ความคุ้มครองมา "ฟรี" 

เหตุการณ์ Critical Illness release your risk

ด้วยความเสี่ยงของโรคร้ายแรงโดยเฉพาะโรคมะเร็งที่มีอัตราการป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปีติดต่อกันมากกว่า 20 ปี ทั้งในปัจจุบัน อายุที่เริ่มป่วยเป็นมะเร็งได้น้อยลงเรื่อย ๆ และประกันสุขภาพเด็กแทบไม่มีแบบเหมาจ่าย ทำให้การเก็บความเสี่ยงความล้มละลายด้วยโรคมะเร็งไว้ใกล้ตัวต่อไป จึงเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก

เพราะโรคร้ายแรง

เมื่อเป็นแล้ว..ทำให้มีโอกาสสูง(มาก) ที่จะไม่สามารถกลับไปทำงานหารายได้เหมือนเดิม

ทั้งในระหว่างการรักษา และภายหลังการรักษา ดังนั้นประกันโรคร้ายแรงจึงเข้ามาทำหน้าที่ชดเชยรายได้ที่ต้องขาดหายไปเพราะป่วยเป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้

เพราะโรคมะเร็ง

มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดหลักล้านถึงสิบล้านต่อปี และใช้เวลารักษาติดตามอาการตลอดชีวิต

โดยป่วยเป็นโรคมะเร็งมีอัตราการป่วยสูงที่สุดในทุกโรคร้ายแรง และพบในคนที่อายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ด้วยปัจจัยปัญหาจากฝุ่น PM2.5 อาหารการกินปัจจุบัน รวมไปถึงภาวะความเครียด ความกดดันรอบด้านที่มีมากขึ้นกว่าในอดีต

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ หากสามารถเตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่อายุยังน้อย จะประหยัดเงินในการป้องกันปัญหาการล้มละลายนี้ได้หลักล้านบาทขึ้นไป รวมไปถึงหากไม่ป่วยเป็นโรคร้าย นอกจากจะได้กำไรในส่วนความโชคดีแล้ว ยังได้เงินสำรองฉุกเฉินที่เท่ากับหรือมากกว่าเบี้ยประกันทั้งหมดที่จ่ายไปได้อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือความน่าสนใจของเครื่องมือการเงินที่ชื่อว่า ประกันโรคร้ายแรง ยังไม่รวมผลประโยชน์ที่ได้รับในแง่ของภาษี

ประกันโรคร้ายแรง..ให้สิทธ์ลดหย่อนภาษีรวมกับวงเงินลดหย่อนของประกันสุขภาพและค่ารักษาอุบัติเหตุที่ 25,000 บาท (โดยเมื่อรวมสิทธิลดหย่อนของประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บ.)

ดังนั้น คุณสมบัติของผู้ที่ควรทำประกันโรคร้ายแรงมีดังต่อไปนี้

ผู้ที่ต้องการเงินก้อนไว้ดูแลค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่ารักษา เช่น ค่าเดินทาง หรือที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสุขภาพ

ผู้ที่ต้องการค่าชดเชยหากจำเป็นต้องขาดรายได้ (ไม่สามารถทำงานเดิมได้) ระหว่างรักษาโรคร้าย (ทุนโรคร้ายแรงควรอย่างน้อย 3-5 เท่าของรายจ่าย เพื่อให้มีเวลาในการปรับเปลี่ยนงานประมาณ 3-5 ปี)

ผู้ที่ต้องการเก็บออมเงินสำรองฉุกเฉินแลกกับความคุ้มครองโรคร้าย (ที่หากทำตั้งแต่ตอนเด็ก หรือ ตอนวัยเริ่มทำงาน เบี้ยที่จ่ายไปทั้งหมดจะกลายเป็นแหล่งเงินฉุกเฉินที่ใช้ได้แบบมีเงื่อนไข และยังคงได้ความคุ้มครองโรคร้ายมากกว่าเบี้ยทั้งสัญญาหลายเท่า)

ผู้ที่ต้องการแหล่งเงินฉุกเฉินในอนาคตที่สามารถกู้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก และการชำระหนี้คืนจะตัดเข้าเงินต้นก่อนดอกเบี้ยเสมอ ที่สำคัญหากเป็นโรคร้ายแรงไม่ต้องใช้หนี้และยังได้เงินก้อนมาดูแล

โดยจะสามารถแบ่งรูปแบบของประกันโรคร้ายแรงออกเป็น 4 แบบ ดังต่อไปนี้

1. ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุ
(จ่ายเบี้ยทุกปีตามระยะเวลาสัญญา คล้ายประกันชีวิตชั่วเวลา)

เบี้ยเท่าทุน release your risk

แบบเน้นคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรง (ไม่มีมูลค่าเวนคืน หากยกเลิกสัญญา หรือ ครบอายุสัญญา์)

เบี้ยแต่ละปี ตอนก่อนอายุ 60 ปี จะน้อยกว่าทุนโรคร้ายแรงที่ได้ หลัก 100 เท่า

ทำหน้าที่ชดเชยรายได้ที่ต้องขาดหายไป

เพราะเมื่อเป็นแล้ว..ทำให้มีโอกาสสูง(มาก) ที่จะไม่สามารถกลับไปทำงานหารายได้เหมือนเดิม ทั้งในระหว่างการรักษาและภายหลังการรักษา ดังนั้นประกันโรคร้ายแรงจึงเข้ามาทำหน้าที่ชดเชยรายได้ที่ต้องขาดหายไปเพราะป่วยเป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้

ทำหน้าที่เป็นความคุ้มครองโรคร้ายแรงช่วงอายุก่อนเกษียณจนถึงอายุ 60 ปี

เนื่องจากให้ความคุ้มครองหลายโรคร้ายแรง และมีค่าการประกันภัยแต่ละโรคร้ายที่ไม่สูงมาก เพราะความเสี่ยงยังน้อยกว่าช่วงหลังเกษียณ (ที่โอกาสสูงมากเบี้ยรวมทั้งหมด จะเกินทุนความคุ้มครองในเวลาไม่กี่ปีหลังเกษียณอายุ)

ทำหน้าที่เป็นความคุ้มครองโรคร้ายแรงจำนวนมาก

เนื่องจากเบี้ยถูก ความคุ้มครองสูง ที่เหมาะสำหรับช่วงอายุก่อนเกษียณเท่านั้น (เพราะหลังจากนั้นเบี้ยจะสูงโดด ต้องปรับแผนประกันเป็นอื่น ๆ เช่น ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่)

เป็นแบบประกันที่เบี้ยต่อความคุ้มครองค่อนข้างถูก(มาก)

เนื่องจากอายุก่อนเกษียณความเสี่ยงของโรคร้ายแรงจะยังไม่สูงมากนัก ทำให้บริษัทประกันสามารถเพิ่มความคุ้มครองให้ได้หลายจำนวนโรคมากขึ้นในแต่ละระยะโรค (หรือแม้แต่เคลมซ้ำในบางโรคหรือซ้ำข้ามกลุ่มโรคได้) รวมไปถึงบางแบบยังมีการคุ้มครองการเสียชีวิตแบบจำกัดเวลา 1 ปีเข้าไปด้วย

BLA Super Care เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่สามารถแนบเพิ่มเข้ามาในสัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพได้ โดยจะคุ้มครองทั้งหมด 6 กลุ่มโรค เจอจ่ายจบทีละกลุ่มโรคโดยไม่มีระยะรอคอยในการเคลมต่อเนื่องระหว่างกลุ่มโรค

(ส่วนใหญ่แบบประกันโรคร้ายเจอจ่ายจบทีละกลุ่มโรค จะมีเงื่อนไขต้องหายจากอีกกลุ่มโรคหนึ่งก่อน หรือ ต้องรออย่างน้อย 1 ปี จึงจะเจอจ่ายอีกกลุ่มโรคที่เหลือได้)

แบบประกันนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการทยอยเก็บเงินก้อนเพื่อรับความเสี่ยงโรคร้ายไว้เองในตอนเกษียณ และปัจจุบันจะยังไม่มีกำลังมากพอที่จะเน้นเป็นประกันโรคร้ายแบบตลอดชีพได้

2. ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่
(คล้ายประกันชีวิตตลอดชีพ)

ครอบครัววางแผนการเงินและภาษี 1 release your risk

เน้นทั้งเก็บออมเงินและคุ้มครองโรคร้ายแรงตลอดชีพ (แบบจ่ายเบี้ยคงที่ 20 ปีคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี)

มีมูลค่าเวนคืนที่สะสมในสัญญา หากยกเลิกสัญญาหรืออยู่ครบสัญญา คล้ายกับประกันชีวิตตลอดชีพ

ทำหน้าที่เน้นเก็บออมเงิน และ เน้นคุ้มครองโรคร้ายแรงตลอดชีพ

ผ่านการจ่ายเบี้ยคงที่ เช่น จ่ายเบี้ย 20 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี เป็นต้น ซึ่งประกันโรคร้ายรูปแบบนี้จะมีมูลค่าเวนคืนตอนยกเลิกสัญญา คล้ายกับประกันชีวิตตลอดชีพ เพียงเปลี่ยนจากคุ้มครองชีวิตมาเป็นโรคร้ายแรงที่กำหนดเท่านั้น

เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ต้องแนบกับสัญญาหลักประกันชีวิต

ทำให้หากเจอโรคร้ายก็จะได้เงินก้อนจากสัญญาเพิ่มเติมนี้ และต่อมาหากเสียชีวิตก็จะได้เงินก้อนจากสัญญาหลักประกันชีวิต

เป็นแบบประกันที่เบี้ยรวมทั้งหมด(20 ปี) มักจะน้อยกว่าทุนคุ้มครองโรคร้ายจะที่ได้

โดยประมาณ 2-3 เท่า ขึ้นอยู่กับอายุที่เริ่มทำประกัน (ซึ่งจะต่างกับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุที่เบี้ยรวมตลอดสัญญาจะสูงกว่าทุนความคุ้มครองเสมอ)

เป็นแบบประกันที่มูลค่าเงินที่สะสมในสัญญาสามารถกู้ออกมาใช้ยามฉุกเฉินได้ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำ

เช่น ปีละ 4.5% โดยยังได้ความคุ้มครองโรคร้ายไปตลอดชีพเหมือนเดิมจนกว่าหนี้และดอกเบี้ยรวมกันเกินมูลค่าเวนคืนของปีกรมธรรม์ล่าสุด ทั้งนี้เงินก้อนที่ได้หากตรวจพบโรคร้ายตอนที่ยังกู้กรมธรรม์อยู่ เงินก้อนที่ได้จะถูกหักด้วยยอดหนี้และดอกเบี้ยที่เหลือก่อนเสมอ

เป็นแบบประกันที่เบี้ยคงที่ ที่เน้นเฉพาะโรคร้ายแรงที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น

จึงเป็นแบบที่ไม่ได้มีการ up-sell เพิ่มโรคร้ายที่มีความเสี่ยงต่ำเข้ามา เพื่อไม่ให้ค่าการประกันภัยสูงเกินไปในตอนสูงอายุ

BLA Happy CI เป็นรูปแบบของสัญญาเพิ่มเติมที่สามารถแนบเพิ่มเข้ามาในสัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพได้ หากทำตอนอายุยังน้อย มูลค่าที่สะสมในสัญญาจะเกินเบี้ยที่จ่ายไปเมื่อครบปีกรมธรรม์ที่ 21-23 เท่านั้น (เหมือนทำประกันสะสมทรัพย์ 21-23 ปี แล้วได้ผลตอบแทนมาเป็นความคุ้มครองโรคร้ายมากกว่าเงินที่ออมหลายเท่า)

หรือแม้แต่ หากทำตอนอายุที่มากแล้ว เช่น อายุ 50 ปี ที่มูลค่าสะสมในสัญญาจะไม่สามารถเกินเบี้ยทั้งสัญญาได้ (เนื่องจากค่าความเสี่ยงภัยสูง) 

แต่หากทำแนบกับสัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพที่มีมูลค่าสะสมในสัญญาที่เติบโตเร็ว และมีทุนคุ้มครองที่ใกล้เคียงกับ BLA HAPPY CI

ก็จะส่งผลให้มูลค่าสะสมในสัญญาทั้งประกันชีวิตและประกันโรคร้ายแรง สามารถเกินเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปได้ในปีกรมธรรม์ที่ 21-29 เท่านั้น (ดังตัวอย่างรูปโปรแกรมคำนวณด้านล่าง)

HappyCI PrestigeLife

จากรูป ชาย อายุ 50 ปี เบี้ยทั้งสัญญา BLA HAPPY CI จะอยู่ที่ 2,216,400 บ. ได้ทุนโรคร้ายที่ 3,000,000 บ. (ประหยัดไปเกือบ 8 แสนบาท) แต่มูลค่าในสัญญาจะเกินเบี้ยต้องรอถึง 49 ปี (หรือตอนอายุ 99 ปี) 

แต่หากสัญญาหลักเป็นประกันชีวิตแบบมรดก เพรสทีจไลฟ์ แบบเบี้ยคงที่ 5 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ทุนเริ่มต้น 5,000,000  บ. เบี้ยทั้งสัญญาจะอยู่ที่ 2,419,000 บ. (ใช้เงินน้อยกว่ามรดกที่จะให้ถึง 51%)  และใช้เวลาเพียง 12 ปี มูลค่าสะสมในสัญญาจะเกินเบี้ยที่จ่ายไป

ซึ่งเมื่อนำมูลค่าสะสมในสัญญาของทั้ง 2 แบบประกันรวมกัน จะทำให้มูลค่าสะสมในสัญญาทั้ง 2 เกินเบี้ยทั้งสัญญาที่จ่ายไปที่ 4,635,900 บ. ภายใน 23 ปี หรือตอนอายุ 73 ปีเท่านั้น

ทำให้ตอนอายุ 73 ปี มีความคุ้มครองทั้งชีวิตและโรคร้ายรวมกันที่ 8,000,000 บ. และมีมูลค่าในสัญญาที่สามารถกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำนำมาใช้ยามฉุกเฉินได้มากกว่า 4,635,900 บ. หรือมากกว่าเบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไป และ หากเกิดโชคร้ายใด ๆ ขึ้น ความคุ้มครอง 8,000,000 บ. นี้ ก็พร้อมช่วยในทันที

ประกันโรคร้ายรูปแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการเลือกจับคู่แบบประกันชีวิตทุนที่ต้องการ กับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ในทุนที่ต้องการได้เอง

3. ประกันชีวิตตลอดชีพควบโรคร้ายแรงแบบเจอจ่ายจบ

1.เหตุการณ์ Death release your risk 1

เน้นเก็บออม คุ้มครองทั้งชีวิต และ โรคร้ายแรง (จ่ายเบี้ยคงที่)

เบี้ยเริ่มต้นสูงเป็นลำดับที่ 3 ในรูปแบบประกันโรคร้ายทั้ง 4 แบบ ใช้ประโยชน์จากมูลค่าสะสมในสัญญาของประกันชีวิต เพื่อช่วยให้ได้เบี้ยคงที่และคุ้มครองโรคร้ายจำนวนมากได้

เป็นแบบประกันที่เน้นจ่ายกรณีเป็นโรคร้ายแรง หรือ กรณีเสียชีวิต (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

ดังนั้นหากตรวจเจอโรคร้ายก่อนแล้วต่อมาเสียชีวิต จะได้เพียงเงินก้อนเดียวตอนตรวจเจอโรคร้ายเท่านั้น

เป็นแบบประกันที่เบี้ยรวมทั้งหมดมักจะสูงเกินทุนประกันที่ได้ หากทำตอนอายุมาก

โดยเบี้ยทั้งสัญญาจะเริ่มเกินทุนความคุ้มครองหลังอายุ 45-47 ปี ทำให้ควรรีบทำประกันแบบนี้ก่อนถึงอายุดังกล่าว เพื่อยังคงได้ทุนมากกว่าเบี้ยรวมที่จ่ายไป (ไม่เช่นนั้นจะเหมือนเป็นการออมเงินเพื่อรับความเสี่ยงไว้เอง เพียงแต่ได้ความคุ้มครองโรคร้ายทันทีที่เริ่มออมเท่านั้น)

เป็นแบบประกันโรคร้ายที่คุ้มครองโรคร้ายจำนวนมาก ผ่านการใช้ประโยชน์จากประกันชีวิตที่ควบอยู่เป็นหลัก เพื่อทำให้ได้เบี้ยคงที่ (ไม่สามารถเลือกประกันชีวิตที่ต้องการเองได้)

ภายในของแบบประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง จะมีการใช้ประโยชน์ของมูลค่าสะสมในสัญญาของประกันชีวิตอยู่ (คล้ายรูปแบบประกันโรคร้ายแบบที่ 2 ตอนจับคู่กับประกันชีวิตที่เลือกมา)

โดยไส้ในจะมีประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุเน้นคุ้มครองโรคร้ายจำนวนมาก ที่ทุนโรคร้ายจะถูกปรับลดลงเรื่อยๆ อัตโนมัติ ให้สอดคล้องกับมูลค่าสะสมในสัญญาของประกันชีวิตที่ทยอยเพิ่มขึ้นทุกปี ดังสูตรต่อไปนี้

ทุนโรคร้ายปี กธ.นั้น ๆ = ทุนประกันชีวิตควบโณคร้ายที่เลือก (-ลบ) มูลค่าเวนคืน หรือ มูลค่าสะสมในสัญญาของประกันชีวิตปี กธ.นั้น

เช่น จากรูปด้านล่าง ตอนอายุ 45 ทุนประกันชีวิตควบโรคร้ายที่เลือกคือ 1,000,000 บาท แต่ภายในทุนโรคร้ายจะถูกปรับลดเหลือ 822,000 บ. (เพราะเมื่อรวมกับมูลค่าเวนคืนประกันชีวิตจำนวน 178,000 บาท แล้ว จะเท่ากับ 1,000,000 บาทพอดี) หรือ

822,000 = 1,000,000 - 178,000

ไส้ในประกันชีวิตควบโรคร้าย

จากรูปจะเห็นได้ว่าไส้ใน ทุนโรคร้ายจะทยอยลดลงเรื่อยๆ ตามมูลค่าเวนคืนของประกันชีวิตตลอดชีพที่ทยอยเพิ่มขึ้นมาทดแทน ซึ่งจะทำให้ค่าประกันภัยโรคร้ายไม่แพงเกินไปแม้ในตอนสูงอายุ (เพราะลดทุนคุ้มครองลงอัตโนมัติ) และสามารถเฉลี่ยออกมาเป็นเบี้ยคงที่รวมกับเบี้ยคงที่ของประกันชีวิตได้

เป็นแบบประกันที่เกิดขึ้นมา เพื่อแก้ไขข้อโต้แย้งว่า ถ้าเกิดโชคดีไม่ได้เป็นโรคร้ายจะยังได้มีเงินคืนกลับมา (จากฝั่งประกันชีวิตที่นำมาควบ)

จึงเป็นสาเหตุให้เบี้ยทั้งสัญญาของประกันแบบนี้จะค่อนข้างสูง และยากที่จะให้ทุนความคุ้มครองได้ถึง 2 เท่าของเบี้ยทั้งสัญญาที่จ่ายไปได้

รวมไปถึงทำให้มูลค่าเวนคืนของแบบประกันนี้กว่าจะสะสมเกินเบี้ยรวมที่จ่ายไปได้ มักต้องใช้เวลานานกว่าประกันชีวิตตลอดชีพทั่วไป (ที่ไม่ได้ควบโรคร้าย) หรือ นานมากขึ้นอีกกว่า 7-15 ปีขึ้นไป เช่น จากปกติต้องใช้เวลาประมาณ 27 ปี ก็เพิ่มเป็น 42 ปีได้ เป็นต้น

**หมายเหตุ แบบประกันลักษณะนี้ : 

  • บางบริษัทจะเป็นลักษณะแพ็คเกจที่ไม่สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมได้
  • หากทำตอนอายุมากที่เบี้ยทั้งสัญญาสูงกว่าทุนประกันที่ได้ และโชคดีไม่ได้ป่วยเป็นโรคร้าย เงินที่ได้คืน หรือได้ตอนเสียชีวิตจะเท่ากับทุนประกัน จะไม่ได้เบี้ยสะสมที่จ่ายไปมากกว่าคืน
  • มีโอกาสต้องทำประกันชีวิตเพิ่ม หากกังวลว่า เมื่อเป็นโรคร้ายเจอจ่ายจบไปแล้ว สุดท้ายต่อมาโชคร้ายต้องจากไปเพราะโรคร้าย แต่ต้องการทิ้งเงินไว้ให้คนข้างหลังอีกก้อน 

แบบนี้จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการเน้นเก็บออมเองเพื่อรับความเสี่ยงในอนาคต แต่ในระหว่างเก็บออมต้องการควบให้ได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและโรคร้ายร่วมกันเป็นเงินก้อนเดียว

4. ประกันชีวิตตลอดชีพควบโรคร้ายแรงแบบจ่ายจบทีละกลุ่มโรคร้าย

4. เหตุการณ์ Retirement release your risk

เป็นประกันที่เน้นการเก็บออมเป็นหลักโดยจะไม่ขาดทุนจากการออมใด ๆ  ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการออม คือ หากเป็นโรคร้ายแรงมากกว่า 2 กลุ่มโรคขึ้นไป จะได้เงินก้อนที่มากกว่าเงินออมแน่นอน (แบบจ่ายเบี้ยคงที่ 20 ปีคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี )

มูลค่าสะสมในสัญญาจะมากกว่าเบี้ยทั้งสัญญาตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 20 แต่ทุนประกันที่ได้จะเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของเบี้ยทั้งสัญญา เว้นแต่หากเสียชีวิตจะได้เบี้ยสะสมทั้งหมดคืน หักกับเงินก้อนที่จ่ายเมื่อเป็นประกันโรคร้ายแต่ละกลุ่มโรค

เป็นแบบประกันที่ทำตามใจผู้ทำประกันมากที่สุด โดยตอบทุกข้อโต้แย้ง

ทั้งเป็นเบี้ยคงที่ เบี้ยไม่จ่ายทิ้ง ทำตอนอายุมากไม่ขาดทุน คุ้มครองโรคร้ายจำนวนมาก เจอจบทีละกลุ่มโรค หากตรวจเจอโรคร้ายแรงหยุดจ่ายเบี้ยทันที เคลมซ้ำครั้งที่สองในบางโรคร้าย อยู่ในสภาวะวิกฤติได้เงินก้อน เป็นทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรได้เงินทั้งเงินก้อนและเงินรายเดือน หากเสียชีวิตได้เบี้ยสะสม (คืนหักจากที่ได้มาแล้ว)

แต่ทุกอย่างที่ตามใจ และทุกข้อโต้แย้งที่ตอบ นำมาซึ่งเบี้ยประกันที่สูง

ตัวอย่างตารางเจอจ่ายทีละกลุ่มโรคเบี้ยคงที่ 1

จากตัวอย่างตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า

  • ที่ทุนประกัน 1,000,000 บ. จะมีเบี้ยรวมทั้งสัญญาอยู่ที่ 1.9 ล้านบาท 
  • ทำให้เงินก้อนที่ได้จากการเคลมจะเกินเบี้ยทั้งสัญญาที่จ่ายไปได้ก็ต่อเมื่อ (เว้นแต่ จะเจอโรคร้ายแรงก่อนที่จะจ่ายเบี้ยครบ 20 ปีก็จะสามารถหยุดจ่ายเบี้ยแต่ได้รับความคุ้มครองต่อ)
    • เป็น 2 กลุ่มโรคร้ายแรงขึ้นไปก่อนอายุ 85 ปี หรือ
    • เป็น 1 กลุ่มโรคร้าย กับ ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือ
    • เป็น 1 กลุ่มโรคร้าย กับ เคลมซ้ำในโรคร้ายเสี่ยงสูงบางโรค
  • ทั้งนี้มูลค่าในกรมธรรม์จะเติบโตสูงสุดที่ 2,208,000 บ. จากนั้นจะทรงตัวขึ้นลงไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเมื่อถึงอายุ 99 ปี หากไม่มีการเคลมใด ๆ เลย ก็จะได้มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์คืนกลับมาที่ 1,954,000 บ. (เนื่องจากมากกว่าเบี้ยทั้งสัญญาที่จ่ายไป)

เป็นการรับความเสี่ยงไว้เองส่วนหนึ่ง และส่วนที่โชคร้ายเกินกว่าที่รับได้จึงโอนความเสี่ยงออกไป

ทั้งหมดนี้จึงทำให้เห็นว่า ประกันโรคร้ายรูปแบบนี้จะมีโอกาสรับความเสี่ยงแทนผู้ทำประกันในช่วงการชำระเบี้ยก่อนครบ 20 ปี และหากหลังครบ 20 ปีไปแล้ว จะเริ่มรับความเสี่ยงแทนเมื่อผู้ทำประกันโชคร้ายเป็นโรคร้ายหรือทุพพลภาพจนต้องเคลมเกิน 200% ของทุนประกัน และยังไม่เสียชีวิต

ประกันโรคร้ายรูปแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยของเงินออมสูงสุด และเกรงว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงมากกว่า 2 กลุ่มโรคก่อนอายุ 85  หรือ โรคร้ายที่กลับมาเป็นซ้ำครั้งที่ 2

- โดยสรุป -

แบบที่ 1 ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยเพิ่มตามอายุ ที่คุ้มครองจำกัดเวลา
จะดูน่าสนใจ

หากเน้นเพียงเรื่อง โอนความเสี่ยงก่อนเกษียณที่เบี้ยไม่สูงมาก

แบบที่ 2 ประกันชีวิต + ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ กับ แบบที่ 3 ประกันชีวิตควบโรคร้ายแรง จะเป็นคำตอบที่น่าสนใจ 

หากเน้นเรื่อง ความคุ้มครองยาวตลอดชีวิตและมีกำลังการออม
(ที่สุดท้ายแล้วเบี้ยรวมตลอดสัญญาจะประหยัดกว่าแบบที่ 1 แน่นอน)

ในขณะที่แบบที่ 4 ในเชิงการโอนความเสี่ยงจะยังไม่แนะนำในตอนนี้ เนื่องจากรูปแบบนี้จะรับความเสี่ยงไว้ด้วยเงินตนเองค่อนข้างมาก แม้จะไม่ขาดทุนก็ตาม (ทำตามใจลูกค้าแต่บริษัทรับโอนความเสี่ยงไว้ในสัดส่วนที่ไม่มากนัก)

จึงทำให้จะเหลือคู่แข่ง ในกรณีที่มีกำลังในการออมและต้องการความคุ้มครองตลอดชีพ อยู่ที่แบบที่ 2 และ แบบที่ 3

ซึ่งแบบที่ 2 จะเน้นแยกให้อิสระเลือกประกันชีวิตที่จะประกบคู่กับประกันโรคร้ายแรงได้ และเน้นเพียงโรคร้ายแรงเสี่ยงที่จะเป็นสูงเท่านั้น

ในขณะที่แบบที่ 3 จะเน้นควบประกันชีวิตในประกันโรคร้ายแรงมาให้เรียบร้อย แลกกับการได้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงจำนวนมาก

ดังนั้นการจะเปรียบเทียบ 2 รูปแบบนี้ได้ จะจำเป็นต้องเปรียบเทียบ 2 ส่วนด้วยกันคือ เปรียบเทียบเชิงเงื่อนไขความคุ้มครอง และ เปรียบเทียบเชิงตัวเลข ซึ่งรวมไปถึงอายุที่ควรรีบเริ่มทำประกันทั้ง 2 แบบนี้ ก่อนที่เบี้ยประกันจะสูงเกินไป

การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง
เริ่มเมื่อเข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงิน

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก