มะเร็ง.คร่าชีวิตคนไทยไปเกือบ 1.3 แสนคนในปี 2563 แซงหน้าอุบัติเหตุบนท้องถนนไปกว่า 7-8 เท่า การได้วิธีตรวจรักษาที่ดีที่สุดโดยเร็ว เป็นหนึ่งในปัจจัยรอดชีวิต
- แต่..วิธีตรวจรักษาที่ดีที่สุดมีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายจะสูงถึงกว่า 10 ล้าน
- สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง ไม่ครอบคลุมพออาจต้องรอนาน
- ด้วยวัยที่กำลังสร้างฐานะ..จะทำอย่างไรจึงจะเตรียมแก้ปัญหานี้ได้
- มันใกล้ตัวมาก...ถึงขนาดที่คนรู้จักโดยตรงหรืออ้อม ต้องมีผู้ป่วยเป็นมะเร็ง
เพราะมะเร็งเป็น...ภัยร้ายใกล้ตัว ที่เข้าใกล้ทั้งเราเองและครอบครัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี
- มะเร็ง...หนึ่งใน โรคร้ายแรงที่สุด หากตรวจพบว่า เป็นมะเร็งแล้ว...เหมือนโดนคำสั่งประหาร และจะยิ่งหนักมากขึ้นเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเราเองและคนในครอบครัว
- สถิติล่าสุด ปี 2020 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มสูงถึง 190,636 รายจากแต่ก่อน (ในปี 2014) 122,757 ราย และจำนวนผู้ป่วย เสียชีวิตในปี 2020 มากถึง 124,866 ราย เพิ่มจาก 70,075 รายในปี 2014 ทั้งยอดผู้ป่วยใหม่และเสียชีวิตทยอยเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนประชากรประเทศไทยทยอยลดลง แทบจะบอกได้ว่า...หนึ่งในคนที่เราเคยรู้จักทั้งจากทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องมีผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งอยู่ [1] [2]
- ยิ่งในปัจจุบันนี้มีค่า PM2.5 สูงจนอันตรายมาก ซึ่งให้ผลร้ายแรงต่อผู้ที่สูดอากาศเข้าไป เหมือนได้สูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ปัญหา PM2.5 หนักที่สุด มีสถิติผู้ป่วยมะเร็งปอดพุ่งสูงขึ้นเกินมะเร็งชนิดอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว [3]
- เพื่อให้เห็นว่ามะเร็งนั้นใกล้ตัวเราจริง ๆ เพียงค้นหาคำว่า "มะเร็ง" ทั้งช่อง Youtube และเพจ Facebook แล้วจะเห็นว่ามีสังคมผู้ป่วยมะเร็งที่ได้ต่อสู้กับโรคร้ายนี้มากมาย และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน เพราะมะเร็งใกล้ตัวเรากว่าที่คิดไว้มากจนน่ากลัว เพียงแต่เราปิดตา...ไม่ยอมมองถึงภัยร้ายนี้
- ที่สำคัญในการเคลมประกันโรคร้ายแรง มะเร็งมีอัตราการเคลมสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้งหมด ทำให้เห็นได้ชัดเจนถึงโอกาสที่สูงมากของการเป็นโรคมะเร็ง [4]
มะเร็ง...สร้างหายนะทางการเงินที่ไม่รู้จบ
- แม้ปัจจุบันการแพทย์จะดีขึ้นมาก ถึงขนาดมีโอกาสในการรักษามะเร็งหายขาดได้โดยเฉพาะในระยะ 1-3 แต่มะเร็งโดยส่วนใหญ่มักถูกพบในระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้ายไปแล้ว เพราะอาการป่วยของมะเร็ง...จะเริ่มแสดงผลออกมาให้เห็นชัดในระยะสุดท้ายนี้เกือบทุกชนิดของมะเร็ง [5]
- มะเร็งระยะสุดท้ายจะเน้นที่การรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น และไม่มีผลข้างเคียง บางรายสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาชนิดใหม่ เช่น ยาพุ่งเป้าและยาภูมิคุ้มกัน
- การรักษาด้วยยาพุ่งเป้า และ/หรือยาภูมิคุ้มกัน ต้องใช้ยารักษาติดต่อกันมากกว่า 1 ปีขึ้นไป รวมค่ายาและกระบวนการรักษาสูงถึงกว่า 8.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่ารักษาที่ไม่ตายตัวและอาจสูงขึ้นกว่านี้อีก...ขึ้นอยู่ว่า มะเร็งจะดื้อยาตอนไหนซึ่งปกติจะใช้เวลา 1-2 ปีและต้องเปลี่ยนเป็นยาชนิดใหม่ที่ราคาอาจแพงขึ้นอีก โดยเฉพาะเมื่อกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ [6]
- โชคร้ายซ้ำอีก ในปี 2018 มีการตัดยารักษามะเร็งบางตัวที่มีราคาแพงออกจากสิทธิค่ารักษาของข้าราชการ และสนับสนุนให้ข้าราชการหันไปทำประกันสุขภาพรวมถึงประกันโรคร้ายด้วยตนเองแทน ซึ่งคงไม่ต้องพูดถึงสวัสดิการภาครัฐอื่น ๆ ที่โดนจำกัดยารักษาแบบนี้เหมือนกัน [7]
- นอกจากนี้ ค่าตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจหามะเร็ง และ ค่าตรวจด้วย PET/CT Scan เพื่อประเมินระยะของโรคมะเร็ง ก็หมดไปเกือบ 400,000 บาทในรพ.เอกชน แล้วโดยที่ยังไม่ได้เริ่มรักษาใด ๆ แม้หากตรวจกับรพ.รัฐบาล ราคาจะถูกลงกว่านี้แต่อาจจะต้องรอคิวนานมากถึง 2-3 เดือน ซึ่งอาจจะทำให้มะเร็งแพร่กระจาย (ลุกลาม) ไปแล้ว [8]
- ลำดับคิวของการใช้เครื่องฉายรังสีรักษาจะต้องรอนาน เพราะเครื่องฉายรังสีรักษาเครื่องนึงมีราคาแพงหลัก 100 ล้านบาท ซึ่งจะมีอยู่แค่โรงพยาบาลในจังหวัดใหญ่ ๆ แถมต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้/ดูแล ถ้าทำเคมีบำบัดในรพ.เอกชน ค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท ส่วนรพ.รัฐบาล ก็จะประมาณหลักพันถึงหลักหมื่นต้น ๆ ต่อครั้ง แต่ต้องรอคิวนัดนาน และต้องไปรับบัตรคิวแต่เช้ามืด (ตีสี่ตีห้า) ตรวจเสร็จอย่างเร็วก็บ่ายสามขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล [9]
- ค่าใช้จ่ายเรื่องมะเร็งควบคุมลำบากมากและมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าจะจบลงตรงไหน ถ้ามีการติดเชื้อรอบนึง ค่าเข้าห้อง ICU ก็หลักแสนแน่นอน
- ทางเดียวที่พอจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแพง ๆ ระดับนี้ได้คือ ต้องตรวจหามะเร็งให้เจอในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แม้ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำจะอยู่ราว ๆ 1-3 ล้านบาทขึ้นอยู่กับระยะที่ตรวจพบ แต่ถ้าเทียบกับ 8.5 ล้านบาทแล้วก็ถือว่าลดลงมาก ซึ่งอาจพอที่จะรอรับสวัสดิการของรัฐ และการขอรับเงินบริจาคได้ทันก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม
เลื่อนขวาดูข้อมูลเพิ่มเติม
ตรวจหามะเร็ง แมมโมแกรม/อัลตราซาวน์ความคมชัดสูง | 4,000 - 5,150 |
วินิจฉัยเจาะตรวจชิ้นเนื้อ (ต่อจุด) | 6,500 - 54,000+ |
การตรวจระยะของมะเร็งด้วย PET/CT (ต่อครั้ง) | 59,000 - 68,000+ |
การตรวจยีนเพื่อหาความสัมพันธ์กับมะเร็งและความปลอดภัยในการใช้ยา | 17,630 - 69,900 |
การผ่าตัดมะเร็ง | 185,000 - 450,000+ |
รังสีรักษาฉายแสง (แบบผู้ป่วยนอก - ราคาขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนบริเวณ) | 84,000 - 164,800+ |
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (แบบผู้ป่วยนอก ต่อคอร์ส) | 120,000 - 420,000+ |
การรักษาด้วยยาพุ่งเป้า (แบบผู้ป่วยนอก ค่อคอร์ส) | 1,530,000 - 4,590,000+ |
การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด (แบบผู้ป่วยนอก) | ราคาเท่ากับหรือสูงกว่ายาพุ่งเป้า |
ค่ายาอื่น ๆ เพื่อลดผลข้างเคียง เช่น เกร็ดเลือดต่ำ อาเจียน ท้องเสีย | 10,000+ |
ค่าปลูกถ่ายไขกระดูก | 750,000 - 1,300,000 |
ค่าตรวจวินิจฉัยติดตามอาการ ตรวจเลือด อัลตราซาวน์ PET/CT (ต่อครั้ง) | 59,000 - 68,000+ |
รวมค่าใช้จ่ายเฉพาะการรักษาโดยประมาณ (ไม่รวมค่าติดเชื้อเข้า ICU) | 2,530,000 - 7,199,850++ |
อ้างอิงราคาจาก [A] [B] [C] [D]
ค่าใช้จ่ายระดับซื้อคอนโดหรือบ้านได้นี้ หากใช้เวลาเก็บเงินประมาณ 20,000 - 30,000 บาทต่อเดือน จะต้องใช้เวลามากถึง 20 - 30 ปีด้วยความกังวลและไม่สบายใจ คำถามสำคัญคือ มะเร็งจะรอเราหรือไม่!! และ เราพร้อมที่จะให้เงินเก็บนี้หายไปกับมะเร็งหรือไม่!!
มันคงจะดีกว่าที่เราจะจ่ายเพียง 20,000 - 30,000 บาทต่อปี แล้วแก้ปัญหากับค่าใช้จ่ายมะเร็งหลักหลายล้านนี้ได้ทันทีไม่ต้องรอถึง 20 -30 ปี ซึ่งหนึ่งในทางออกที่สำคัญก็คือ
การตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำคือทางออกสำคัญ
- มะเร็งบางตัวเกิดขึ้นจากยีนกลายพันธุ์ที่ถ่ายทอดภายในตระกูล แม้ดูแลร่างกายดีเพียงใด หรือแม้ไม่เคยสูบบุหรี่...ก็ยังสามารถเป็นมะเร็งได้โดยเฉพาะมะเร็งปอดในผู้หญิง และมะเร็งเต้านม [10]
- รวมไปถึงมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่เป็นกลุ่มมะเร็งยอดฮิตที่เชื่อได้เลยว่าต้องมีคนรู้จักทั้งทางตรงและอ้อม อาจกำลังเผชิญโรคร้ายนี้อยู่
- การตรวจคัดกรองมะเร็งในวัยที่สำคัญอย่างอายุ 40-50 ปีในชาย และ 25 ปีในหญิงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง แล้วยิ่งมีสถิติที่น่ากลัวชี้ให้เห็นว่า พบผู้ป่วยมะเร็งอายุ 16-30 ปีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นหากมีคนในครอบครัวหรือคนในตระกูล เคยป่วยเป็นมะเร็งที่ช่วงอายุเท่าใด ก็ควรรีบตรวจคัดกรองมะเร็งให้เร็วที่สุดที่ช่วงอายุนั้นของเราเอง หรือตรวจก่อนก็ได้ [11]
คำถามคือ...ทำอย่างไรจึงจะกล้าไปตรวจคัดกรองมะเร็ง
- ทางที่หนึ่ง มีเงินเก็บหลักล้านไว้กับตัวเพื่อพร้อมสู้กับข่าวร้าย ที่จะมาตอนไหนไม่รู้ หรือ
- ทางที่สอง เตรียมใช้สวัสดิการเท่าที่มี และพร้อมขอบริจาค แม้อาจต้องลุ้นว่าจะได้เงินมากพอหรือไม่ หรือ
- ทางที่สาม เข้าร่วมกลุ่มแชร์ความเสี่ยงโดยใช้เงินเท่ากับค่ากาแฟเก้วเดียวต่อวัน เพื่อให้พร้อมไปตรวจคัดกรองมะเร็งและอุ่นใจได้ว่าหากตรวจพบมะเร็งก็จะมีเงินหลักล้านบาทไว้ต่อสู้กับค่าใช้จ่ายที่ไม่รู้วันจบในแต่ละปีได้ และหากไม่ได้ป่วยก็ยังได้ร่วมทำบุญช่วยเหลือให้ผู้ป่วยรายอื่นที่แชร์ความเสี่ยงด้วยกันนี้ (เหมือนการบริจาคแต่ผู้บริจาคมีโอกาสได้รับการบริจาคด้วยหากตนเองป่วย)
และนี่คือสิ่งที่เรียกว่า "มะเร็ง" ภัยร้ายที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ไม่ต่างกับภัยจากอุบัติเหตุทางรถ ถึงแม้ในปัจจุบันความเสียหายของมะเร็งได้เกินความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถมากแล้วก็ตาม [12]
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งค่อนข้างสูง
เพราะมะเร็งไม่เลือกอายุ ไม่เลือกเวลา มีแต่เราเอง...ที่อาจยังพอมีโอกาสเลือกที่จะเตรียมการรองรับเผื่ิอไว้หรือไม่
ตอนนั้นทำงานได้ปีกว่า แล้วก็ไปเรียนต่อ ป.โท ที่อังกฤษ ทำประกันทุกอย่าง ยกเว้นประกันสุขภาพ เพราะไม่คิดว่าสำคัญ อายุยังน้อย สุขภาพก็ดี โดยมะเร็งที่รักษาคือเป็นระยะที่สี่ ระยะสุดท้าย เป็นในหัวใจ เป็นปี 2013-2016 ใช้เวลา 3-4 ปีในการรักษาซึ่งการรักษามะเร็งไม่ใช่แค่มีสติหรือสตางค์ แต่ต้องไตร่ตรองเรื่องการเงินด้วย ค่าใช้จ่ายเรื่องมะเร็งมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าจะจบลงตรงไหน ถ้ามีการติดเชื้อรอบนึง ค่าเข้าห้อง ICU ก็หลักแสน ต้องมีการวางแผนการเงินที่ดี
ก่อนป่วยเพิ่งมีคนมาพยายามขายประกันมะเร็ง แต่ตอนนั้นเพิ่งอายุ 27 ก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ได้มีความเสี่ยง เราเลยไม่ได้ทำไว้ ตอนนั้นกำลังสร้างตัว งานการที่พยายามเพิ่งเริ่ม ก็มาสะดุดล้มกับการเจ็บปวด ไม่รู้จะรอดไหม ระยะที่เป็นก็ระยะท้ายๆ ทำให้รู้สึกว่าชีวิตมันไม่แน่นอน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เตรียมอะไร ตอนนี้เหมือนต้อง improvise ไปเรื่อยๆ โชคดีที่คุณพ่อเป็นคนที่ support ลูกและเคยช่วยดูแลอากงอาม่าที่เป็นมะเร็ง เลยรู้ว่าการรับมือกับโรคนี้ต้องเจอกับอะไรบ้าง
เรียน ท่านที่กำลังสร้างฐานะและต้องการห่างไกลจากหายนะทางการเงินที่ชื่อว่า "มะเร็ง"
บทความนี้อาจจะยาวเป็นพิเศษ แต่เพื่อให้ท่านเริ่มมองเห็นมากขึ้นว่ามะเร็งกำลังเดินเข้ามาใกล้เราเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัว...ก็มักสายไป
และเพื่อใด้ทราบถึงวิธีเตรียมแผนรับมือ ว่ามีวิธีการหรือเทคนิคอย่างไรบ้างค่ะ
ตัวแอนนี่เอง ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เคยสูญเสียคนในครอบครัวให้กับมะเร็ง
...คนแรกเป็นน้าที่เสียชีวิตด้วย มะเร็งลำไส้และต่อมน้ำเหลือง ครอบครัวน้าใช้เงินจำนวนมากไปกับขั้นตอนการรักษาที่ไม่ได้ผล กับคุณน้าคนที่สองก็มาเป็น มะเร็งเต้านม แต่โชคดีรักษาหายและนัดติดตามอาการมาจนทุกวันนี้
รวมถึงพี่สะไภ้ป่วยเป็น มะเร็งไทรอยด์ ซึ่งส่งผลข้างเคียงให้หลานชายคนเล็กเกิดมาแล้วมีปัญหาเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่เกิด แม้โชคดีผ่าตัดและรักษาทันก่อนที่จะเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียงแค่ 2 เดือน
...แต่ก็ต้องติดตามอาการ และทานยาเป็นประจำไปตลอดชีวิต กับต้องคอยระวังการใช้ชีวิตของหลาน เพราะอาการหัวใจรั่วจะไม่สามารถดีขึ้นไปมากกว่านี้ ได้แต่ป้องกันไม่ให้แย่ไปกว่าเดิมเท่านั้นซึ่งแอนนี่รับหน้าที่พาหลานไปตรวจเช็คที่ศิริราชทุก 3-6 เดือน
และคุณแม่ของแอนนี่เองก็เคยผ่าตัดเนื้องอกในมดลูกที่ทางคุณหมอแนะนำให้ผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด ก่อนจะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง
นอกจากนี้ พี่ฐิติ...พี่ที่เป็นนักวางแผนการลงทุนในทีม Release your Risk เอง ก็ได้สูญเสียคุณตาไปด้วย มะเร็งปอด และคุณป้าเป็น มะเร็งเต้านม ต้องตัดเต้านมทิ้งไป รวมถึงคุณลุง (สามีคุณป้า) ก็เสียชีวิตไปด้วย มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ยังไม่พอ สมัยที่พี่ฐิติยังเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย...ก็เคยสูญเสียลูกศิษย์ถึง 2 คนด้วย มะเร็งลำไส้ แต่ยังดีที่มีลูกศิษย์อีก 1 คนป่วยเป็น มะเร็งลำไส้ เหมือนกันแต่รักษาหายได้โดยยังต้องติดตามอาการเป็นประจำ
พี่ฐิติเล่าว่า ก่อนหน้านั้นได้ไปเยี่ยมลูกศิษย์และเห็นถึงความลำบากของพ่อแม่รวมถึงตัวลูกศิษย์เองที่ ต้องนอนรอการรักษาบนเตียงแบบชนติดกันใน รพ.ภาครัฐแห่งหนึ่ง
และ สุดท้ายต้องย้ายตัวไปรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่มี ซึ่งก็เป็นโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อม แต่ก็ด้วยอาการที่รุนแรงจึงต้องทำเรื่องลัดคิวรับการรักษาแต่ก็ยังคงต้องใช้เวลา และเมื่อสามารถลัดคิวได้ ตอนนั้นอาการของลูกศิษย์เริ่มรุนแรงหนักมากและในที่สุดได้จากพ่อแม่ไป
คนรู้จักรอบตัวที่แอนนี่เล่ามาทั้งหมด...ส่วนใหญ่เสียชีวิต เพราะตรวจเจอมะเร็งในระยะสุดท้ายแล้วเกือบทั้งหมด และไม่มีใครทำประกันที่จะทำให้สามารถเลือกการรักษาที่ดีกว่านี้ได้
พวกเขาได้แต่ลุ้นผลการรักษาจาก ยาที่ใช้ได้ตามสิทธิที่มีเท่านั้น และภาวนาขออย่าให้กลับมาเป็นซ้ำ เพราะนั่นหมายความว่า...ไม่สามารถใช้ยาตัวเดิมรักษาได้อีกค่ะ
เรียกได้ว่าเราทั้งคู่ต้องวนเวียนอยู่กับข่าวร้ายที่มี "มะเร็ง" เป็นต้นเหตุแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และยอมรับ (ตั้งแต่เห็นคนใกล้ตัวเริ่มจากไป) ว่า...มะเร็งนั้นใกล้ตัวเรากว่าที่คิดไว้มาก
ซึ่งคิดว่ามากจนแอนนี่และพี่ฐิติไม่อยากประมาทกับตัวเองอีกต่อไป จึงได้ไปสมัครเป็นตัวแทนประกันเพื่อหาทางป้องกันให้ตัวเองและครอบครัว และเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนที่สุด แล้วก็ได้ยื่นขอทำประกันมะเร็งและมีความคุ้มครองเรียบร้อยค่ะ
โดยตอนยื่นทำประกันมะเร็งนั้น ส่วนของแอนนี่ถูกบริษัทขอให้มีการตรวจสุขภาพและตรวจเลือดอย่างละเอียด เพราะมีประวัติเคยเป็นกรดไหลย้อน ซึ่งบอกเลยว่าตอนนั้นแอนนี่เครียดหนักมาก!!!
ในใจคิดอย่างเดียวว่า ขอให้ผลเลือดไม่มีเชื้อมะเร็ง...พูดวนอยู่อย่างนั้น จนสุดท้ายผลออกมาคือไม่มีเชื้อมะเร็งและสามารถทำประกันได้ ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนคนยกภูเขาออกจากอก
เพราะมันรู้สึกโล่งใจมาก ๆ ที่ไม่ได้เป็นมะเร็งและโล่งใจว่าต่อไปถ้าเป็นอะไรก็มีเงินส่วนนี้ไว้จัดการกับมะเร็งได้
หมายเหตุ : การตรวจเชื้อมะเร็งจากผลเลือดมักแม่นยำสูงในมะเร็งระยะที่ 4 หรือระยะแพร่กระจาย
ใครเคยเห็นคนที่กำลังนั่งคิดอะไรแล้วสักพักก็มีรอยยิ้มตรงมุมปากไหมคะ? นั่นแหละค่ะ อาการของแอนนี่ตอนที่ประกันอนุมัติผ่าน..เย้!
แต่พอได้มานั่งค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษามะเร็งแบบเจาะลึก พบว่า ประกันมะเร็งที่แอนนี่ทำนั้นยังไม่เพียงพอ จะพอก็แต่เอาไว้ใช้ดำเนินชีวิตระหว่างรักษาเท่านั้น หรือ ต้องวางแผนเก็บเงินส่วนนี้ให้เป็นค่ายาพุ่งเป้าอย่างเดียว และใช้สิทธิบัตรทองร่วมด้วยในส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
สุดท้ายจึงได้ค้นหาประกันสุขภาพอย่างละเอียดว่าแบบใดจึงจะเพียงพอต่อค่ารักษาได้ แล้วในที่สุดก็ตัดสินใจเลือก ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายรายปี ที่เหมาะเอาไว้เป็น ค่ารักษามะเร็งโดยเฉพาะจริง ๆ โดยไม่มีส่วนคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (เช่น ทำฟัน ทำคลอด) จึงทำให้เบี้ยไม่สูงเกินจำเป็น ค่ะ
และความรู้สึก โล่งใจ นั้นเกิดขึ้นอีกครั้งตอนที่บริษัทส่งข้อความตอบรับอนุมัติประกันสุขภาพ ซึ่งถือว่าแอนนี่ได้ปิดช่องทางที่อาจจะต้องล้มละลายเพราะโรคมะเร็งนี้ได้สำเร็จค่ะ ที่เหลือก็คือการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ
และวางแผนเตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับจ่ายเบี้ยยามเกษียณ ที่มีความเสี่ยงของมะเร็งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่อายุ 40 - 70 ปีค่ะ
จากประสบการณ์ที่มี แอนนี่จึงนำมาเขียนสรุปลำดับวิธีการเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายและประกันมะเร็งโรคร้ายในหัวข้อถัดไปของบทความนี้ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ
(เนื่องจากแอนนี่เลือกเป็นตัวแทนของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต ดังนั้นข้อมูลที่ยกมาจึงอ้างอิงกับกรุงเทพประกันชีวิตเป็นหลัก แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทอื่น ๆ ได้เช่นกันค่ะ)
ก่อนทำประกันสุขภาพ/โรคร้าย ต้องทราบเรื่องอะไรบ้าง?
โดยก่อนที่จะตัดสินใจเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายหรือมะเร็งโรคร้าย จะมีบทความที่แอนนี่และทีมงานจัดทำขึ้นที่อยากให้ท่านได้พิจารณาดูก่อน ดังต่อไปนี้ค่ะ (แต่ละบทความมีลิงก์ข้ามดูบทสรุปของบทความเพื่อประหยัดเวลาของท่านได้ค่ะ)
- การทำประกันสุขภาพแท้จริงแล้วคืออะไร ทำไมถ้าไม่เข้าใจแล้วจึงอันตรายมาก คือ การเอาเงินน้อยแลกเงินมากโดยการร่วมแชร์ความเสี่ยงด้วยกัน แต่ด้วยความเข้าใจผิดจากนี้ อาจทำให้หลายท่านถูกยกเลิกสัญญา ถูกปฏิเสธการต่ออายุสัญญา หรือ หากเลวร้ายกว่านั้น อาจทำให้ไม่คิดจะมีสัญญาสุขภาพของตนเองเลยจนกระทั่งมีประวัติสุขภาพที่เป็นโรคเรื้อรังอย่าง ความดัน เบาหวาน หัวใจ ซึ่งจะไม่สามารถทำสัญญาประกันสุขภาพได้อีก
- เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายอย่างไร ให้ดีที่สุดไม่ให้โดน "ป้ายยา" ด้วยคำโฆษณา ที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจถึงประกันสุขภาพจริง ๆ และไม่ถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกันเพราะความเข้าใจผิดด้วยข้อความโฆษณาที่หากท่านเผลอเชื่อไป มีโอกาสสูงที่จะต้องจ่ายเงินที่สูงกว่าความจำเป็น
- เลือกประกันโรคร้ายอย่างไร ไม่ให้โดนคำโฆษณาหลอก เป็นอีกหนึ่งประกันยอดฮิต ที่มีขบวนท่าการขายที่หลากหลายและสร้างความสับสนได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง ด้วยการคุ้มครองจำนวนโรคร้ายมากมาย แต่เบื้องหลังจะเคลมเพื่อเป็นค่ารักษาได้จริง ๆ มีไม่กี่โรคเท่านั้น และถ้าหากต้องการให้ครอบคลุมค่ารักษามะเร็งทั้งหมด เบี้ยประกันอาจแพงกว่าเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่าย
บริษัทที่รับทำประกันต้องเลือกอย่างไร
สิ่งสำคัญของการเลือกบริษัทประกัน คือ
- ความมั่นคง ( เพราะเป็นสัญญาระยะยาว )
- กระบวนการรับประกัน
- การบริการที่มีมาตรฐานทุกขั้นตอน
- ความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงพยาบาลคู่สัญญา (ไม่เอาเปรียบกันและกัน)
ตัวอย่างการพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ผ่านการติดตามข่าว (แอนนี่ขอยกตัวอย่างเป็นของ BLA ) เช่น
กรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของญี่ปุ่นอย่างบริษัทนิปปอนไลฟ์ และมีพันธมิตรในประเทศในด้านการเงินทั้งธนาคารกรุงเทพ กรุงเทพประกันภัย บลจ.บัวหลวง และ บลจ.บางกอกแคปปิตอล รวมไปถึงเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
มีสถิติในกระบวนการที่กล่าวมาที่ดีมากจนได้รับรางวัล “บริษัทที่ให้ความคุ้มครองประกันสุขภาพดีที่สุดแห่งปี 2019” และยังได้รับรางวัลด้านการบริการก็ยังได้รับรางวัล Product Innovation Awards 2020 พร้อมกับความร่วมมือพิเศษกับทั้ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ โรงพยาบาลชั้นนำในประเทศ ที่ดีเยี่ยม
จึงพอเป็นเครื่องพิสูจน์ในระดับหนึ่งว่า BLA มีความมั่นคง ขั้นตอนการบริการและการเคลมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ เป็นต้น
**มูลค่าสินทรัพย์รวมจากในวิดีโอปี 2014 จำนวน 1.7 แสนล้านบาท ได้สูงขึ้นมาเป็น 3.3 แสนล้านบาทในปี 2020 ที่ผ่านมา
บริษัทเปิดเผยนโยบายการทำงานของบริษัทอย่างชัดเจน โปร่งใสหรือไม่
การตรวจสอบเรื่องนโยบาย ใช้วิธีการสำรวจจากรีวิว pantip หรือ แหล่งข้อมูลโดยตรงจากทางบริษัทค่ะ
เช่น ทาง BLA ให้ผู้บริหารแต่ละฝ่าย/แผนก คอยหมุนเวียนมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงนโยบายการทำงานทั้งต่อตัวแทน ที่ปรึกษาทางการเงิน ลูกค้า และบุคคลทั่วไป ผ่านทางช่อง Youtube : Bangkok Life Agency Channel เป็นต้น
จึงทำให้เข้าใจถึงนโยบาย แนวทางการพัฒนาบริษัท เพื่อสร้างความสบายใจและเลือกวางใจให้ดูแลในยามที่ต้องเจ็บป่วยจริง ๆ
ตัวแทน...องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมาก
ด้วยประเด็นนี้เอง สุดท้ายทำให้แอนนี่ตัดสินใจสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนกับ BLA เองโดยตรง เพื่อจะได้ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุด และอะไรคือจุดเด่นที่สุดของทางบริษัท โดยแอนนี่ได้เขียนรวบรวมข้อมูลที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นตัวแทนไว้ที่บทความนี้ค่ะ >> คลิกดูบทความกว่าจะมาเป็นตัวแทน
...จึงทำให้แอนนี่ได้ประสบการณ์ และสามารถสรุปได้ว่าสัญญาณของตัวแทนที่ดีนั้นพิจารณาได้จากอะไร โดยดูได้จากบทความนี้ค่ะ >>คลิกดูบทความ 5 หน้าที่ของตัวแทนประกันที่ดี
เพราะหน้าที่ของตัวแทนไม่ได้จบเพียงการแนะนำประกัน เนื่องจาก ประกันเองนั้นยังมีปัญหาที่ต้องเตรียมการแก้ไขและทำความเข้าใจตามมา ตัวแทนจึงควรให้การแนะนำในการแก้ไขทั้งหมดมากกว่าปิดเงียบไว้ค่ะ
ซึ่งแอนนี่ไม่เคยค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้ง่าย ๆ จากเว็บไซต์ใด ๆ จะมีก็แต่เพียงเสนอความคุ้มครอง แสดงภาพขอบคุณลูกค้า แสดงบิลค่ารักษา แต่ไม่อธิบายเบื้องลึกเบื้องหลังใด ๆ ที่จำเป็นก่อนทำสัญญา จนสุดท้ายในเมื่อหาจากที่ใดไม่ได้ เมื่อแอนนี่ได้มาเป็นตัวแทนเอง ก็เลยนำความรู้ที่ได้มาแชร์ภายในบทความต่าง ๆ นั้นเองค่ะ
ความจริงที่ตัวแทน...ควรต้องบอกกับลูกค้า
คำเตือน...มีเพียง 1 ใน 10 ท่านเท่านั้นที่อ่านข้อความส่วนนี้แล้วยังตัดสินใจทำประกันสุขภาพ เพราะนี่คือความจริงที่ตัวแทนเองก็ไม่อยากบอกท่าน เพราะกลัวว่าท่านอาจไม่ยอมทำประกันสุขภาพด้วย หรือถ้าหากบอกไปแล้ว...ก็ไม่อยากแนะนำแนวทางการเตรียมตัวแก้ไข เพราะจะทำให้ท่านคิดว่ายุ่งยากที่ต้องมาวางแผนการเงินอย่างจริงจัง (แม้ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วยังไงท่านก็ควรทำ) ซึ่งถ้า Release your Risk เน้นเพียงการขาย เราจะไม่มีทางนำเสนอข้อมูลส่วนนี้แน่นอน ดังนั้นหากท่านกลัวจนอาจจะเปลี่ยนใจไม่ทำประกันสุขภาพ แอนนี่แนะนำให้ท่านข้ามความจริงส่วนนี้ไปค่ะ
ความจริงนั้นก็คือ เบี้ยประกันสุขภาพ/โรคร้ายตอนหลังเกษียณนั้นจะสูงขึ้นอย่างมาก เช่น ตอนอายุ 60 ปี ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย 10 ล้านเบี้ยจะสูงเกือบ 70,000 บาทต่อปี แต่เบี้ยประกันโรคร้ายหากเอาทุนสูงระดับ 10 ล้าน เบี้ยประกันก็สูงเกือบ 400,000 บ. เพราะตั้งแต่อายุ 55 ปีเป็นต้นไปมักพบว่า...มีการป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าใจหาย [13]
ถึงแม้ว่าเบี้ยประกันสุขภาพต่อปีที่ท่านจ่ายไปหลังเกษียณนั้น จะน้อยกว่ามูลค่าความคุ้มครองที่ท่านได้เพื่อเตรียมไว้สู้กับค่ารักษามะเร็งหลัก 10 ล้าน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเบี้ยประกันนั้นขยับสูงขึ้นมากจริง ๆ แล้วยิ่งตอนเกษียณอายุก็อาจไม่ได้มีรายได้อะไรเข้ามาเพิ่มอีกแล้วด้วย
ซึ่งที่เบี้ยประกันสุขภาพสูงขึ้น ก็มีเหตุผลสำคัญของมันเอง เพราะโดยหลักการแล้ว เราทำประกันสุขภาพ/โรคร้ายเพื่อให้มาช่วยรับความเสี่ยงในระหว่างที่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านการเงิน และตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า เราจะต้องพร้อมด้านการเงินตอนหลังเกษียณเพื่อจะได้แบกรับความเสี่ยงสุขภาพไว้เองได้ ซึ่งอาจจะหยุดต่ออายุประกันสุขภาพก็ได้ค่ะ
ดังนั้นตัวแทนจึงจำเป็นต้องบอกความจริงข้อนี้ เพื่อลูกค้าจะได้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพร้อมไปกับการเตรียมเก็บออมเงิน ทำให้พอถึงช่วงวัยเกษียณจะได้มีเงินเพียงพอจ่ายเบี้ยประกัน หรือจะเก็บเตรียมเงินก้อนใหญ่เพื่อไว้ใช้จ่ายเป็นค่ารักษาในวัยเกษียณเองก็ได้ค่ะ
สิ่งที่ตัวแทนควรให้คำแนะนำกับลูกค้าได้ "กองทุนสุขภาพ"
เมื่อลูกค้าทราบความจริงเรื่องนี้แล้ว ตัวแทนควรสามารถแนะนำลูกค้าได้ว่า สัดส่วนของเงินที่ควรจะเตรียมเก็บไว้ต่อเดือนควรเป็นเท่าไร งบรายจ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมคืออะไร เพื่อให้ลูกค้าสามารถเตรียมเก็บเงินสำหรับใช้จัดการค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพตอนเกษียณอายุได้
...และตัวแทนควรสามารถแนะนำเครื่องมือการเงินที่เอาไว้ช่วยทุ่นแรงในการเก็บเงินได้ รวมไปถึงวิธีการลดความเสี่ยงของเครื่องมือการเงินนั้น ๆ
ดังนั้น ทั้งแอนนี่ พี่ฐิติ และทีม Release your Risk จึงเห็นความสำคัญของเรื่องการวางแผนการเงินอย่างมาก และได้จัดเตรียมบทความให้กับท่านเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาเรื่องเบี้ยประกันที่สูงมากขึ้นตอนเกษียณอายุ ดังนี้ค่ะ
- ทำอย่างไรให้มีประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลัก 10 ล้านตลอดการเกษียณ ที่จะอธิบายถึงวิธีการวางแผนการเงินอย่างไร ให้หมดปัญหาเรื่องเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงมากขึ้นในวัยเกษียณ และมีโอกาสประหยัดเบี้ยประกันได้ถึง 92% หรือจากปกติอาจสูงถึง 10 ล้านบาทจะเหลือเพียงไม่ถึง 8 แสนบาทเท่านั้น
- ลงทุนในกองทุนรวมตอนเกษียณอย่างไรให้เสี่ยงน้อยได้ผลตอบแทนดีโดยง่ายที่สุด ทำให้เห็นว่าการเตรียมเงินเกษียณนั้นจุดสำคัญอยู่ที่การบริหารการลงทุนหลังเกษียณ ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินที่จะต้องเตรียมเกษียณไปได้หลายล้านบาท
โดยแผนการเงินนี้จะเริ่ม เน้นไปที่แผนการเงินด้านสุขภาพเป็นลำดับแรก เพราะโอกาสที่จะใช้เครื่องมือนี้อาจหมดไปทันทีแบบไม่รู้ตัว หากสุดท้ายมะเร็งมาเยือนก่อนจะได้ทำประกันสุขภาพ จนทำให้ต้องรื้อแผนการเงินใหม่ทั้งหมดและการเงินของท่านจะเริ่มเข้าสู่สภาวะวิกฤตโดยทันทีเพราะมะเร็งนั้นเองค่ะ
จากทั้งหมดที่กล่าวมา คือปัจจัยสำคัญที่ควรต้องพิจารณาก่อนเจาะไปที่ตัวแบบประกัน โดยส่วนต่อจากนี้แอนนี่จะเน้นไปที่วิธีการเลือกทั้งประกันมะเร็งโรคร้าย และประกันสุขภาพ ให้พร้อมรองรับมะเร็ง ลงมือทำได้ทันทีโดยประหยัดที่สุดค่ะ
ประกันมะเร็งโรคร้าย หรือ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย
2 แบบประกันนี้ควรเลือกแบบใดดี สามารถพิจารณาดังนี้ได้ค่ะ
ลักษณะของประกันโรคร้าย
- จะคุ้มครองจำกัดเฉพาะโรคร้ายที่ระบุ แต่หากตรวจพบโรคก่อนถึงขั้นร้ายแรงแล้วปล่อยไว้ไม่ยอมรักษา จนถึงขั้นเป็นโรคร้ายแรงจะไม่สามารถเคลมได้ รวมถึงการเป็นโรคร้ายแรงเพราะสุรา ยาเสพติดจะเคลมไม่ได้
- เน้นให้เงินก้อน ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตหลังการรักษาโรคร้ายที่มักจะไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้อีก
- โอกาสเคลมเพื่อเป็นค่ารักษาจะมีประมาณ 10 โรคเท่านั้น และหนึ่งในนั้นเป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสเคลมสูงกว่า 80%
- ต้องสำรองจ่ายก่อน จากนั้นจึงทำเรื่องเคลมซึ่งโดยปกติจะภายใน 15 วัน แต่หากมีประวัติน่าสงสัยจะภายใน 90 วัน
- เบี้ยประกันสูงกว่าประกันสุขภาพเมื่อเทียบทุนความคุ้มครองที่เท่ากันโดยเฉพาะตอนสูงอายุ เพราะเจอแล้วจ่ายเงินก้อน
- เหมาะกับ
- ใช้โอนความเสี่ยงทางด้านมะเร็งเพราะเคลมได้ง่ายที่สุด ไม่ติดเงื่อนไขมากมาย โดยเฉพาะในช่วงอายุยังไม่มาก หรือน้อยกว่า 30 ปี และยังไม่มีงบประมาณเพียงพอในการทำประกันสุขภาพ
- เป็นเครื่องมือแรกในการโอนความเสี่ยง แถลงประวัติสุขภาพไม่มาก แม้อาจให้ความคุ้มครองไม่เพียงพอต่อค่ารักษามะเร็งทุกระยะ แต่ถ้าตรวจคัดกรอมะเร็งเป็นประจำ ประกันมะเร็งโรคร้ายจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้มาก
- เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ คนที่เข้าใจวิธีการเอาเงินน้อยแลกเงินมากจะปล่อยไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงอายุยังน้อยและยังไม่ได้เตรียมงบประมาณเพียงพอสำหรับประกันสุขภาพ เพราะเบี้ยสามารถน้อยกว่าค่าโทรศัพท์รายเดือน หรือน้อยกว่า 500 บ./เดือน ได้นั้นเอง เมื่อเทียบกับความคุ้มครองหลักหลายล้านบาท
- เพียงพอในการทำให้พร้อมไปตรวจคัดกรองมะเร็งได้
- สามารถใช้เป็นค่ารักษาสำหรับวิธีการรักษาแบบใหม่ที่ประกันสุขภาพยังไม่รับรองได้
ลักษณะของประกันสุขภาพเหมาจ่าย
- ไม่เจาะจงเฉพาะโรค พร้อมเป็นค่ารักษาก่อนจะกลายเป็นโรคร้ายแรง
- เน้นให้เงินเป็นค่ารักษาจริงตามความจำเป็นทางการแพทย์
- มีเงื่อนไขการเคลมน้อยกว่า จึงเคลมได้ง่ายกว่าโรคร้าย แต่ต้องแถลงประวัติสุขภาพเยอะกว่าโรคร้ายมาก
- สามารถ Fax-Claim กับทางโรงพยาบาลได้
- เบี้ยประกันอาจสูงกว่าในช่วงก่อนเกษียณ แต่ช่วงหลังเกษียณเบี้ยประกันจะถูกกว่าชัดเจนในความคุ้มครองที่เท่ากัน
- เหมาะกับ
- เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ควรมี เพื่อดูแลรักษาทุกโรค โดยเฉพาะตั้งแต่อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ที่สำคัญสำหรับเพศหญิงจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้นกว่าผู้ชายตั้งแต่อายุ 36 ปีเป้นต้นไป
- เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถ้าเตรียมงบประมาณได้แล้วควรต้องรีบมี เพราะหากปล่อยไว้จนเริ่มมีประวัติสุขภาพ มีโอกาสสูงที่จะโดนยกเว้นความคุ้มครองในโรคที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หรือ ไม่รับทำประกันได้
- เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ คนที่เข้าใจวิธีการเอาเงินน้อยแลกเงินมากจะปล่อยไปไม่ได้เช่นกัน และควรวางแผนให้มีได้เพียงพอตลอดชีวิตให้ได้ เพราะรายจ่ายตอนเกษียณเกินกว่า 50% เป็นรายจ่ายด้านปัญหาสุขภาพ
ประกันสุขภาพสำหรับรักษามะเร็งควรเป็นแบบใด
เนื่องจากความต้องการในการเลือกใช้ "วิธีการรักษาแบบแม่นยำ Precision Cancer Medicine" ที่ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างแม่นยำและเกิดผลข้างเคียงน้อยมากพร้อมต่อสู้กับมะเร็งระยะลุกลามได้ไว้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นจะสูงกว่า 500,000 บาทต่อเดือน [14]
จึงต้องมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลัก 10 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ครอบคลุมกับ ค่ารักษามะเร็ง ที่ประกันสุขภาพแบบอื่น ๆ หรือแม้แต่ประกันมะเร็งโดยตรงก็ไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมดนั่นเองค่ะ เนื่องจากความคุ้มครองสูงเบี้ยประกันย่อมสูงมากตาม
ซึ่งทางที่จะทำให้เบี้ยประกันไม่สูงจนเกินไปได้นั้น ต้องตัดแนวคิดที่ว่า "จ่ายเบี้ยประกันแล้วจะต้องรักษาได้ทุกอย่าง" ออกไป และเปลี่ยนเป็น "จ่ายเบี้ยประกันให้เฉพาะกับค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถดูแลเองได้ไว้"
เพราะหากคิดแบบนี้ได้เมื่อไร ก็สามารถเลือกแผนประกัน ส่วนที่ไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่ปกติสามารถรับไว้เองได้ เช่น ค่าผู้ป่วยนอก (OPD) ค่าทำฟัน ค่าทำคลอด ค่าอวัยวะเทียมนอกร่างกาย ส่วนต่างค่าห้อง เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เบี้ยสูง หากตัดออกไปได้ก็จะทำให้ประหยัดเบี้ยประกันในระยะยาวโดยเฉพาะตอนสูงอายุได้มาก
นอกจากนี้อาจลองเทียบตารางความคุ้มครอง กับตารางค่าใช้จ่ายค่ารักษามะเร็งแต่ละขั้นตอน ว่ามีแผนใดดูแลได้ครบถ้วนบ้าง และสามารถดูแลได้แม้จะมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งแบบเดิมซ้ำภายใน 5 ปีก็ตาม
จากวิธีการเลือก ประกันสุขภาพเหมาจ่าย นี้ ทำให้แอนนี่ได้คัดเลือกแผนประกันของทาง BLA ออกมา และเป็นแผนที่แอนนี่เลือกทำอยู่ คือ
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย BLA Prestige Health
จากบทความที่เขียนมาทั้งหมด จึงทำให้แอนนี่มั่นใจและเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย BLA Prestige Health ของกรุงเทพประกันชีวิต เป็นประกันสุขภาพของตนเอง จากทุกประกันสุขภาพที่บริษัทมีให้เลือก โดยหากมีงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่าของ BLA Cancer Max แอนนี่ก็ขอแนะนำเป็นแผนนี่ค่ะ
ส่วนด้านล่างนี้จะเป็นการเจาะลึกแผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย BLA Prestige Health ว่าจะสามารถมา แก้ไขปัญหาการล้มละลายด้วยค่ารักษามะเร็งและพร้อมรับโรคอื่น ๆ ในวัยกำลังสร้างฐานะได้ด้วยเพียงค่ากาแฟ 1 แก้วต่อวันเท่านั้นค่ะ
รายละเอียดสรุปของแผนประกันสุขภาพด้านล่าง จะเป็นของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิตที่มีชื่อแผนว่า BLA Prestige Health ค่ะ (**ซึ่งข้อเสียของแผนนี้ที่เจอมา คือ จะค่อนข้างรับทำประกันยากพอสมควร หากเทียบกับแผนประกันสุขภาพอื่น ๆ ค่ะ)
เลื่อนขวาดูข้อมูลเพิ่มเติม
1. ผลประโยชน์ คุ้มครองกรณีเสียชีวิต | |||
1.1 คุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรืออายุครบ 99 ปี | 50,000 | 50,000 | 50,000 |
2. ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน IPD | |||
2.1 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล (365 วัน) | 8,000 | 10,000 | 12,000 |
2.2 ค่าห้อง ICU ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล (365 วัน) | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.3 ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ในโรงพยาบาล | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.4 ค่าเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์เทียม | 50,000 | 80,000 | 100,000 |
2.5 ค่าแพทย์ตรวจรักษาประจำวัน ค่าปรึกษาแพทย์ | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.6 ค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการ | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.7 ค่าธรรมเนียมวิสัญญีแพทย์/พยาบาล | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.8 ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.9 ค่าฟื้นฟูสภาพในฐานะผู้ป่วยใน (สูงสุดไม่เกิน 30 วันต่อโรค) | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.10 ค่าใช้จ่ายสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.11 ค่าพยาบาลส่วนตัวตามคำแนะนำแพทย์ หลังการเข้า | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
2.12 ค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
3. ผลประโยชน์การรักษาพยาบาล แบบฉุกเฉิน | |||
3.1 ค่าธรรมเนียมรถพยาบาล | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
3.2 ค่ารักษาทางทันตกรรม เนื่องจากการบาดเจ็บ | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
3.3 ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติเหตุ | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
4. ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยนอก OPD | |||
4.1 ค่ารักษา ค่าวินิจฉัย และค่ายา (ไม่เกินวันละ 2 ครั้ง และสูงสุดไม่เกิน 360 ครั้งต่อปี) | - | 15,000 | 15,000 |
4.2 ค่ากายภาพบำบัดภายใน 60 วัน หลังออกโรงพยาบาล | - |
|
|
4.3 การฝังเข็ม ธรรมชาติบำบัด กระดูกกล้ามเนื้อบำบัด และการจัดกระดูก (ต่อปี *รวมกายภาพ) | - | ||
4.4 ค่ารักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัด Targeted Therapy | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
4.5 ค่าล้างไต | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
4.6 ค่าภาพวินิจฉัยขั้นสูง ได้แก่ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วย | ตามจริง | ตามจริง | ตามจริง |
โดยประโยชน์สำคัญโดยตรงของแผนนี้จะทำให้...
ท่านยังได้รับ BLA Every Care
สิทธิพิเศษ ดูแลทุกช่วงเวลา
ท่านยังได้ที่ปรึกษาในช่วงเวลาสำคัญ
BLA HEALTH PARTNER
เครื่องมือการเงินนี้เหมาะกับท่านที่...
แต่...ไม่ได้เหมาะกับทุกคน
สำหรับ BLA Prestige Health จะต้องเป็นท่านที่
น้อยกว่า 16 และมากกว่า 35
วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย
BMI = น้ำหนักตัว (กก.) ÷ ส่วนสูง (เมตร2)
สมมติ ท่านน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และสูง 167 ซม. (= 1.672 ม.)
ดัชนีมวลกาย BMI = 58 ÷ 1.672 = 20.80 (ผ่านเกณฑ์)
กรณีที่รักษาโรคจนหายขาด เกิน 5 ปี
บริษัทจะพิจารณาจากประวัติสุขภาพ และอาจ ขอตรวจสุขภาพใหม่พร้อมกับอาจขอประวัติการรักษาจากทางโรงพยาบาลที่เคยรับการรักษา
กลุ่มโรคและอาการที่ "ไม่รับประกัน"
กรณีที่ท่านที่กําลังเป็นอยู่ หรือเป็นภายใน 5 ปี ก่อนยื่นทําประกัน จะถูกปฏิเสธการรับทำสัญญาคุ้มครอง
- โรคระบบสมองและระบบประสาท/จิตประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ โรคอัมพฤกษ์/โรคอัมพาต ปวดศรีษะรุนแรงเรื้อรัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคพาร์กินสัน โรคความจําเสื่อม โรคจิตเภท ดาวน์ซินโดรม
- โรคมะเร็ง/โรคระบบต่อมไร้ท่อและภูมิคุ้มกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเอดส์หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคหนังแข็ง โรคเอสแอลอี (SLE)
- โรคระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และ หลอดเลือด เช่น โรคหัวใจและเส้นเลือดหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคระบบทางเดินอาหาร/ทางเดินปัสสาวะและโรคอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง พิษสุราเรื้อรัง โรคไตวาย ตาบอด2ข้าง ท้องมาน เคยพยายามฆ่าตัวตาย
กลุ่มโรคและอาการที่ สามารถทำประกันได้ แต่ "ยกเว้นความคุ้มครอง"
กรณีที่ท่านที่กําลังเป็นโรคใดโรคหนึ่งต่อไปนี้ หรือเป็นภายใน 5 ปี ก่อนยื่นทําประกัน แม้จะสามารถทำสัญญาประกันสุขภาพได้ แต่จะถูกยกเว้นความคุ้มครองในโรคที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับโรคที่กำลังเป็นอยู่นั้น ๆ
- การอักเสบ (เรื้อรัง) เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง กระเพาะอาหารอักเสบ ไซนัสอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม เก๊าท์
- กรดไหลย้อน
- ปวดศีรษะไมเกรน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- กระดูกสันหลังเคลื่อน / หมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือทับเส้นประสาท
- ริดสีดวงทวาร
- ภูมิแพ้
- นิ่ว
สำหรับความคุ้มครองโรคต่าง ๆ เมื่อได้รับการตอบรับในการทำสัญญาประสุขภาพได้แล้ว แม้จะแถลงตามจริงว่า ไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ก็ยังต้องมีช่วงเวลารอคอยเพื่อคัดกรองเพื่อความมั่นใจว่าทุกคนที่เข้าร่วมแชร์ความเสี่ยงร่วมกันจะมีความเสี่ยงเท่ากันจริง ๆ
รอคัดกรอง 30 วัน ในโรคต่อไปนี้ (หลังจากนั้นจึงจะสามารถเคลมได้)
- การป่วยไข้ ท้องเสีย โรคทั่วไปใด ๆ
รอคัดกรอง 120 วัน ในโรคต่อไปนี้ (หลังจากนั้นจึงจะสามารถเคลมได้)
- เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
- ริดสีดวงทวาร
- ไส้เลื่อนทุกชนิด
- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
- การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
- นิ่วทุกชนิด
- เส้นเลือดขอดที่ขา
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ภายใน 3 ปี หลังทำสัญญา
- แม้จะได้เข้ากลุ่มเฉลี่ยความเสี่ยงแล้วก็ตาม แต่เพื่อความมั่นใจว่า ผู้ทำสัญญารายใหม่ไม่เสี่ยงเกินไปกว่าคนเก่าอื่น ๆ หรือ ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงเรื้อรังใด ๆ มาก่อน ทางบริษัทจำเป็นต้องขอตรวจสอบประวัติการรักษาย้อนหลัง ในครั้งแรกที่มีการเคลมค่ารักษาของโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงได้ จึงจะอนุมัติเงินเคลมในครั้งแรกค่ะ
- ซึ่งอาจใช้เวลา ในการพิจารณาอนุมัติเคลม 15 - 90 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ จำนวนโรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษาของผู้ทำสัญญา และ โรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อความรวดเร็วในการจัดส่งเอกสาร และส่งผลให้ผู้ทำสัญญาต้องสำรองจ่ายค่ารักษาครั้งนี้ โดยทางบริษัทจะอนุมัติเงินคืนภายหลังตรวจสอบ
ลักษณะอาชีพที่มีความเสี่ยง
สำหรับแผนประกันสุขภาพ Prestige Health กรณีที่ท่านประกอบอาชีที่มีความเสี่ยงสูงเกินค่าเฉลี่ย จะไม่สามารถรับทำประกันแผนนี้ได้ ซึ่งมีอาชีพต่อไปนี้
- การขับขี่ยานพาหนะ เช่น นักบิน มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (ทุกชนิด) เป็นต้น
- อาชีพด้านการกีฬา และ การแสดง เช่น นักแข่งรถ นักโดดร่ม สตั้นแมน นักมวย เป็นต้น
- อาชีพด้านความปลอดภัย เช่น ตํารวจจราจรชั้นประทวน ตํารวจตระเวนชายแดน ตํารวจป่าไม้ ทหารที่ทํางานบริเวณคลังสรรพวุธ เป็นต้น
- อาชีพที่มีความเสี่ยงทางน้ำ เช่น นักประดาน้ำ พนักงานในเรือบรรทุกสินค้า เป็นต้น
- อาชีพที่มีความเสี่ยงผลกระทบจากโรงงานและอัคคีภัย เช่น คนงานผลิต บรรจุ ทำความสะอาดและช่างในโรงงานเกี่ยวกับสารเคมี พนักงานดับเพลิง พนังงานขับรถน้ำมัน เป็นต้น
- อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น พนักงานปีนเสาไฟฟ้า ช่างอิฐ ช่างปูน เตาหลอม ช่างชุบ เจ้าหน้าที่ควบคุม/ปราบปรามนักโทษ คนงานก่อสร้างเขื่อน คนงานก่อสร้างตึกสูง เป็นต้น
อาชีพอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ และทำไม่ได้ โดยละเอียดสามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ
คลิก >> ตรวจสอบอาชีพที่ทำ Prestige Health ได้
ภัยที่เจตนาให้เกิดขึ้นได้
เป็นภัยที่สามารถป้องกัน หรือ ควบคุมได้เอง โดยภัยเหล่านี้จะถูกตัดออกจากความคุ้มครอง เพื่อให้ค่าโอนความเสี่ยง มีอัตราที่ไม่สูงมากและสมเหตุสมผล ดังนี้
- การตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี
- การขอเข้าอยู่รักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่ความจําเป็นตามมาตราฐานทางการแพทย์ ค่าพยาบาลเฝ้าไข้พิเศษ
- การตั้งครรภ์ แท้งบุตร ทําแท้ง การคลอดบุตร โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การแก้ไขมีบุตรยาก การทําหมัน
- โรคเอดส์ กามโรค เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความผิดปกติทางเพศ การแปลงเพศ
- การรักษาฟันและเหงือก ที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ *ทั้งนี้ไม่รวมค่าฟันปลอม การครอบฟัน การรักษารากฟัน หรือใส่รากเทียม)
- สายตาสั้น ยาว เอียง
- การให้ฮอร์โมนทดแทนในวัยใกล้หมดประจำเดือน การชะลอความเสื่อมของวัย
- การเสริมสวย ปัญหาผิวพรรณ
- บําบัดติดยาเสพติดให้โทษ บุหรี่ สุรา
- โรคที่เป็นมาแต่กําเนิด
- โรคทางจิตเวช
- การรักษาที่อยู่ระหว่างทดลอง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การนอนกรน
- การขอฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอง
- เป็นแพทย์และสั่งตรวจรักษาตนเอง หรือ คนในครอบครัว
- การบาดเจ็บที่เกิดจาก การฆ่าตัวตาย การเข้าร่วมการทะเลาะวิวาท การเข้าร่วมชุมนุความรุนแรง การแข่งขันทางกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง การขึ้นลงโดยสารเครื่องบินที่มิใช่การพาณิชย์ การขับขี่เป็นพนักงานในท่าอากาศยาน การปฏิบัติหน้าที่ตำรวจ หรือ ทหาร การก่ออาชญากรรม
- การรักษาที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
กรณีเบี้ยประกันเกินกว่า 20% ของรายได้
(( ตัวอย่างเช่น ))
หากค่าเบี้ยประกันอยู่ที่ 2,000 บาทต่อเดือน ท่านควรมีรายได้ต่อเดือน อย่างน้อย 20,000 บาท เพื่อป้องกันปัญหาต่อสภาพคล่องทางการเงินของท่าน และเป็นไปตามหลักสัดส่วนการเงินที่เหมาะสมค่ะ
หากยังไม่ได้ดูตัวอย่างสัญญาประกัน
สุดท้ายนี้ แผนประกัน Prestige Health อาจจะยังคงไม่เหมาะ กับท่าน หากท่านยังไม่ได้อ่าน และทำความเข้าใจทั้งหมด เนื่องจาก
แผนประกันก็คือ การทำสัญญาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาที่มีผลผูกพันธ์ระยะยาว จึงจำเป็นต้อง ทำความเข้าใจรายละเอียดที่สำคัญของสัญญา ก่อนที่จะตัดสินใจทำสัญญาเสมอ!
และตัวแอนนี่เอง เห็นความสำคัญของประเด็นนี้มาก ๆ ดังนั้น นอกจากที่จะสรุปส่วนสำคัญของสัญญาลงในบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้แล้ว
แอนนี่ยังนำ ตัวอย่างสัญญาและรายละเอียดทั้งหมด พร้อมทั้งอธิบาย และ Hilight ส่วนสำคัญที่จำเป็น รวมถึง "โบรชัวร์บริษัท" ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริง ให้ท่าน สามารถดาวน์โหลดและศึกษาเพิ่มเติม จากลิงก์ข้างล่างนี้ก่อนตัดสินใจค่ะ
แผนประกันก็คือ สัญญาที่มีผลผูกพันธ์ "ระยะยาว" จึงจำเป็น ต้องทำความเข้าใจส่วนสำคัญของสัญญาก่อนการตัดสินใจเสมอ นั่นคือสิ่งที่แอนนี่ยึดถือเป็นสำคัญมากที่สุดค่ะ
1. รับประกันความพึงพอใจ
2. ยังไม่ต้องชำระเงินใด ๆ
3. ไม่มีการตรวจสุขภาพ
4. ยิ่งทำเร็ว ระยะรอคอยยิ่งหมดเร็ว!
5. เวลาที่ดีที่สุด!
พิจารณาแผนการเงินด้านสุขภาพ
ของท่านโดยเฉพาะ
เป็นแผนที่ละเอียดมากค่ะ ช่วยให้เปรียบเทียบแผนประกันได้ง่ายขึ้นมาก ถ้าเป็นแต่ก่อนกว่าจะได้ข้อมูลแบบนี้ต้องมานั่งทำเอง งงไปหมดเลยค่ะ
คุณดาด้า ● พนักงานบริษัท
ไม่เคยเจอตัวแทนคนใดที่กล้าให้ข้อมูลครบและยอมอธิบายทุกอย่างขนาดนี้ แม้แต่ปัญหาที่ตอนเกษียณก็ยังมีแผนแนะนำแนวทางในแก้ไขให้อีก นึกไม่ถึงเลยจริง ๆ
คุณยุ้ย ● อาจารย์ฟิสิกส์
ข้อมูลชัดเจน เข้าใจง่ายมากค่ะ ที่สำคัญคือ ทำให้เข้าใจถึงเครื่องมือประกันตัวอื่น ๆ ที่เข้าใจผิดมาตลอด เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาจริง ๆ ค่ะ
คุณหญิง ● ผู้บริหาร
เวลาผมจะเลือกอะไรสักอย่าง ผมจะต้องเปรียบเทียบค่อนข้างละเอียด แต่ข้อมูลในเว็บและแผนการเงินนี้ช่วยลดเวลาผมได้มากเลยครับ
คุณเอก ● โปรแกรมเมอร์
คำถาม-คำตอบ
เพราะว่าท่านสามารถนำเงินเก็บและทรัพย์สินที่ท่านได้สร้างมา ไปใช้ในสิ่งจำเป็นส่วนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำมาร่วมแชร์ความเสี่ยงกับผู้อื่นได้ เช่น การลงทุน การทำมาค้าขาย การต่อยอดทางธุรกิจ เป็นต้น
เรื่องของสุขภาพ เป็นความเสี่ยงที่สามารถแชร์ร่วมคนอื่นได้ด้วยเงินจำนวนน้อยลงและรู้แน่ชัด แต่การเก็บความเสี่ยงตรงนี้ไว้เองทั้งหมดโดยไม่แชร์ร่วมกับใคร ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจและไม่มีทางรู้ล่วงหน้าเลยว่า
ท่านจะต้องใช้เงินเก็บและทรัพย์สินจำนวนเท่าใด เพื่อมารับความเสี่ยงส่วนนี้เองเพียงลำพัง?
การใช้เงินเก็บเพียงบางส่วนผ่านเครื่องมือทางการเงินด้านประกันสุขภาพนี้ จะช่วยแบ่งเบาเรื่องค่ารักษาที่จะไปกระทบเงินเก็บและทรัพย์สินของท่าน ได้เป็นอย่างดี และสัดส่วนเงินที่นำไปใช้จ่ายในเรื่องจำเป็นอื่น ๆ ก็จะมีมากขึ้นด้วยค่ะ
เครื่องมือการเงินเพื่อประกันสุขภาพนี้ มีไว้สำหรับเหตุการณ์ผิดปรกติที่เกิดขึ้นกับสุขภาพที่ต้องใช้เงินรักษาจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่า การวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ผิดปรกติ ย่อมต้องทำตอนที่สุขภาพยังปรกติค่ะ
- ทำไมรถยนต์จำเป็นต้องมีเข็มขัดนิรภัย และถุงลมนิรภัย?
- ทำไมอาคารสำนักงาน ห้างร้านจำเป็นต้องมี ถังดับเพลิง ไฟสำรอง ประตูหนีไฟ?
- ทำไมอาคาร สำนักงาน ห้างร้านที่พึ่งสร้างเสร็จใหม่ แม้โอกาสเกิดเหตุจะยังน้อยมาก ๆ แต่ก็ยังจำต้องมีถังดับเพลิงติดตัวอาคารไว้ เพื่ออะไร!?
เพื่อไว้จัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติ ที่แม้จะมีมาตราฐานการควบคุมความปลอดภัยแล้วอย่างดีและโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่ก็ย่อมรู้ดีว่าถ้าเกิดเหตุ อุปกรณ์เหล่านี้จะมีหน้าที่ "จำกัดขอบเขตความเสียหาย" และแม้เหตุไม่เกิด แต่ได้เพิ่มความอุ่นใจ
สุขภาพเราก็เช่นกันค่ะ แม้ตอนนี้จะยังมีสุขภาพแข็งแรงและเราดูแลสุขภาพอยู่เสมอ แต่ไม่ได้เป็นการการันตีว่า เราจะไม่มีวันป่วย! โดยเฉพาะโรคร้ายแรงที่มันเหมือนสุ่มเลือกว่าจะเกิดกับใครก็ได้ โดยไม่สนว่า คนนั้นจะกินคลีน เป็นนักกีฬา เป็นคุณหมอ เป็นเด็ก หรือเป็นนักเรียน
ดังนั้น ถ้าตอนนี้เรายังสุขภาพดี ยังสามารถแชร์ความเสี่ยงร่วมกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเราได้ และใช้เครื่องมือการเงินเพื่อประกันสุขภาพได้ทันกาล ควรรีบทำ! และจากที่แอนนี่เคยเจอและเห็นจากหลาย ๆ ตัวอย่าง ทำให้รู้ว่า
ประกันสุขภาพ..เงินเพียงอย่างเดียว ยังซื้อไม่ได้! ต้องมีสุขภาพดีด้วยค่ะ
แต่..ไม่รู้ว่าจะป่วยตอนไหน และไม่รู้ว่าจะเก็บเงินทันไหม
เนื่องจากปัจจุบัน อัตราการป่วยไข้โดยเฉพาะกับโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง นั้นเพิ่มสูงขึ้นมาก หากโชคร้าย โอกาสที่เงินเก็บที่ท่านเก็บไว้ อาจเก็บไม่ทันและไม่พอเป็นค่ารักษาโรคร้ายแรงค่ะ
ยิ่งถ้าต้องการการรักษาที่รวดเร็วและดีที่สุด เงินเก็บเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ และอาจทำให้ท่านต้องเจอกับหายนะทางการเงินเนื่องจาก ค่ารักษาที่มีเพิ่มไม่รู้จบ และด้วยเหตุของค่ารักษานี้ ทำให้บางท่านถึงกับไม่กล้าไปขอตรวจสุขภาพ แม้จะสงสัยว่ากำลังมีอาการหรือป่วยอยู่ก็ตาม
ดังนั้นการที่ท่านมีงบค่ารักษาสุขภาพชัดเจนในแต่ละปีผ่านเครื่องมือการเงินประกันสุขภาพนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่ไปกระทบกับเงินเก็บและสภาพคล่องของท่านจนเกิดหายนะทางการเงินได้ค่ะ
เมื่อเจ็บป่วย สิ่งแรกที่ควรทำคือต้องรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่อาจเป็นโรงพยาบาลเอกชน หรืออาจอยู่นอกเหนือสิทธิสวัสดิการที่ท่านมี ดังนั้นสิ่งที่โรงพยาบาลจะสอบถาม คือ
- ท่านมีประกันสุขภาพหรือไม่?
- ท่านมีบัตรเครดิตหรือไม่?
- ท่านมีสมุดบัญชีธนาคารยืนยัน หรือเงินสดมาเพียงพอหรือไม่?
กรณีชำระเองด้วยเงินสด
เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นโดยตรงกับหลานชายของแอนนี่ค่ะ ครั้งหนึ่งตอนที่หลานวัย 1 ขวบกว่า เกิดอบัติเหตุเหงือกฉีกและเลือดไหลไม่หยุด จึงต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเอกชนที่ใกล้ที่สุดตอนดึก เมื่อไปถึงโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ถามทันทีถึงสิทธิ์ต่าง ๆ ทันทีก่อนจะทำการรักษาให้ (ตอนนั้นแอนนี่แจ้งว่าจะ ชำระเงินสด เจ้าหน้าที่จะมานั่งชี้แจงค่าใช้จ่ายและให้เซ็นตกลงก่อน จึงจะเริ่มรักษาหลานของแอนนี่ค่ะ)
เหตุการณ์ลักษณะนี้สามารถค้นหาได้ใน pantip เช่นกันค่ะ เช่น เรื่องที่1 เรื่องที่2
กรณีใช้สิทธิภาครัฐ (บัตรทอง/ประกันสังคม)
ช่วงที่ยังเป็นแบบสิทธิรักษาสังกัดอยู่โรงพยาบาลไหน ให้ไปที่นั่น ตอนนั้นถ้าไปโรงพยาบาลอื่น ท่านจะต้องออกค่ารักษาเอง เว้นแต่จะมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด และเนื่องจากโรงพยาบาลรัฐมีผู้มาใช้สิทธิรักษาฟรีจำนวนมาก ทำให้การรับรักษาจะพิจารณาจาก ความรุนแรง/อันตรายถึงชีวิตของการเจ็บป่วยในตอนนั้น ๆ เช่น การตรวจพบมะเร็งและต้องทำการรักษาแน่นอน แม้เป็นมะเร็งแต่ความรุนแรงยังไม่ถึงขนาดเป็นเหตุฉุกเฉิน ท่านต้องไปรักษาฟรีที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิ์สังกัดอยู่เท่านั้น หากจะรักษาที่โรงพยาบาลอื่นต้องมีใบส่งตัว หรือไม่อย่างนั้นต้องออกค่ารักษาเองทั้งหมด
และเนื่องด้วยอุปกรณ์การแพทย์ บุคลากร และเตียงผู้ป่วยมีจำนวนจำกัด แน่นอนว่าจำเป็นต้องรอคิวการตรวจรักษาที่อาจนานหลายเดือน และเมื่อถึงคิวรักษา อาการอาจจะเริ่มรุนแรงถึงชึวิตที่เป็นเหตุให้การรักษานั้น ไม่ทันกาลค่ะ!
นี่ยังไม่รวมการเดินทางมาโรงพยาบาล ตั้งแต่ตี 5 หรือเช้ามืด เพื่อมารอรับบัตรคิวและกว่าจะถึงคิวก็อาจเกือบเที่ยงวัน รวมถึงค่ายาบางชนิดที่สิทธิ์/สวัสดิการรักษาฟรีไม่ครอบคลุม ท่านต้องจ่ายเอง!
ประสบการณ์เช่นในรูปด้านล่างท่านสามารถหาอ่านได้ใน pantip เช่นกันค่ะ
ดังนั้น การที่ภาครัฐช่วยดูแลนั้นเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาจนทุกวันนี้ แต่การวางแผนและใช้เครื่องมือการเงินมาช่วยเสริมสวัสดิการให้กับตนเองนั้น จะยิ่งดีมากขึ้นและ เพิ่มโอกาสทางเลือกในการรักษาที่ดีมากขึ้น ด้วยค่ะ
บริษัทที่ดีควรมีพร้อมสวัสดิการแก่พนักงาน ทั้งตรวจสุขภาพประจำปีและประกันกลุ่ม แต่ 2 อย่างนี้จริง ๆ แล้ว มีเพื่อลดความเสี่ยงให้บริษัท ไม่ใช่เพื่อลดความเสี่ยงให้พนักงาน
หากพนักงานยังไม่รู้ตัวถึงเรื่องนี้ และยังใช้สวัสดิการนี้อย่างเต็มที่ รู้ตัวอีกทีก็อาจไม่มีสิทธิในการทำประกันสุขภาพให้ตนเองอีกแล้ว เนื่องจากประกันกลุ่มของบริษัท มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อดูแล "เรื่องอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยทั่วไป" เท่านั้น จึงจะไม่ครอบคลุมถึงโรคร้ายแรง หรือการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินที่ขอบเขตกำหนดได้
การใช้ประกันกลุ่ม จะสามารถแบ่งเบาภาระได้เพียงบางโรค/อาการที่ไม่รุนแรง ซึ่งบริษัททราบดีว่าหากพนักงานป่วย ผลระทบย่อมเกิดกับบริษัท ดังนั้นการมีสวัสดิการส่วนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระของบริษัทได้มาก และยังทราบงบประมาณตรงส่วนนี้อย่างชัดเจนในแต่ละปี
เมื่อใดที่พนักงานโชคร้าย ป่วยเป็นโรคที่ต้องใช้ค่ารักษาสูงเกินวงเงินประกันกลุ่ม ค่ารักษาส่วนเกินตรงนี้พนักงานต้องรับผิดชอบเอง และต้องรีบหายเพื่อกลับมาทำงานต่อเพื่อคงสิทธิ์ความเป็นพนักงานของบริษัทอยู่ และแน่นอนว่า ถ้าหากลาออกจากบริษัทหรือฝืนทำงานต่อไปไม่ไหว สิทธิเหล่านี้ก็จะสิ้นสุดทันที!
เมื่อจะหันไปทำประกันสุขภาพเอง ประวัติการรักษาที่มีมาแล้วอาจถูกยกเว้นการคุ้มครองบางโรค หรือถ้าร้ายแรงคือ ไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้แล้ว
ดังนั้น วันนี้หากประวัติและผลตรวจสุขภาพประจำปีของท่านยังปรกติดี นี่คือโอกาสที่ดีมากที่ท่านต้องรีบทำประกันสุขภาพให้ตัวท่านเองค่ะ รีบทำ! ก่อนที่สุขภาพจะเริ่มงอแงหรือเป็นโรคที่ทำให้ท่านหมดสิทธิ์ทำประกันเองค่ะ
แบบนี้จึงจะเรียกว่าเป็น การโอนความเสี่ยงของตัวท่านจริง ๆ ไม่ใช่เพียงเฉพาะบริษัทที่ต้องการโอนความเสี่ยงพนักงานค่ะ
หากท่านมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินคุ้มครองสูงอยู่แล้ว ทางแอนนี่ไม่แนะนำให้ทำประกันสุขภาพเพิ่มค่ะ เพียงแต่แนะนำให้ เริ่มวางแผนการลงทุนเพื่อช่วยลดภาระเบี้ยประกันในตอนเกษียณ
แต่ถ้ามีประกันสุขภาพแบบกำหนดวงบการจ่ายในแต่ละหมวด หรือมีการจ่ายตามจริงในบางหมวดแล้ว แอนนี่ขอแนะนำให้พิจาณาดูแผนประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม เพื่อนำมาช่วยเสริมเป็นค่าใช้จ่ายหากโชคร้ายตรวจเจอโรคร้ายแรงค่ะ
หากอายุมากขึ้น แนะนำให้พิจารณาเรื่อง เบี้ยประกันสุขภาพ (แบบกำหนดวงเงินจ่ายแต่ละหมวด) และเบี้ยโรคร้ายแรง รวมกัน ถ้าพบว่าเป็นจำนวนที่ต้องจ่ายพอ ๆ กับแผนประกัน Prestige Health และสุขภาพตอนนั้นยังแข็งแรงปรกติดี อาจค่อยพิจาณาทำแผน Prestige Health ควบคู่ไปกับแผนสุขภาพเดิมก่อน จนกว่าสัญญาแผน Prestige Health จะครบระยะเวลารอคอย 120 วัน จึงพิจารณาเลือกให้มีเฉพาะแผนสุขภาพ (ล่าสุด) อันเดียวค่ะ
มีประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรงแล้ว
ท่านที่มีทั้ง 3 ประกันนี้แล้วแต่ยังไม่มีประกันสุขภาพ ถ้าสัดส่วนการจ่ายเบี้ยประกันที่มี ยังไม่เกิน 10%-20% ของรายได้
และร่างกายยังแข็งแรง ไม่เป็นโรคเรื้อรัง แอนนี่ขอแนะนำให้พิจารณาแผน Prestige Health นี้ค่ะ
#เบี้ยประกันสะสมทรัพย์ ไม่จัดอยู่ในสัดส่วน 10%-20% เพราะถูกพิจารณาเป็นเงินออม ไม่ใช่เงินเพื่อโอนความเสี่ยงค่ะ
ด้วยวัฒนธรรมและแผนประกันของกรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA เป็นแบบที่ ไม่เน้นการขายนำหน้า แต่เน้นเรื่องการวางแผนการเงินเป็นหลัก จึงต้องยึดผลประโยชน์สูงสุดของผู้ทำประกัน และต้องมองให้ครบทุกองค์รวมด้านการเงินมากกว่าเพียงแค่เรื่องคอมมิสชันของตัวแทนเท่านั้น
BLA จึงเป็นอีกหนึ่งบริษัทประกันชีวิตที่ทำให้ เห็นคุณค่าของเครื่องมือทางการเงินต่อผู้ใช้จริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเจ้าของเครื่องมือนั้นค่ะ
และจากแนวคิดของ BLA ที่มีผลต่อแอนนี่ พี่ฐิติ และทีม Release Your Risk จึงทำให้มีเว็บไซต์นี้ขึ้นมา เพื่อให้ท่านมีโอกาสใช้เวลาศึกษา เครื่องมือการเงินที่เราย่อย วิเคราะห์ และอธิบายอย่างละเอียดจนครบทุกด้าน ที่หาไม่ได้ในบทความหรือตำราทั่วไป และเป็นสิ่งที่ในอดีต ทีม Release Your Risk ทุกคนก็ต้องการอยากรู้มาก่อน
คงไม่ใช่แนวของเราที่จะให้ข้อมูลเพียงเรื่องผลประโยชน์บางอย่าง หรือพบหน้ากันและเร่งรัดให้รีบทำประกันนั้นโดยที่ท่านยังไม่ทราบถึงข้อจำกัดของเครื่องมือการเงินที่จะใช้ และทำให้ท่านอึดอัด รวมถึงไม่มีมีอิสระในการพิจารณาแผนนั้น ๆ
และแนวทางของทีม Release Your Risk จะเน้นการทำประกันด้วยความเข้าใจ ที่อย่างน้อยขอให้ท่านได้มีความรู้การเงินเพิ่ม ลดความเข้าใจผิดลง เข้าใจถึงข้อดีข้อจำกัดที่มีมากกว่าในทฤษฎี และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางใดทางหนึ่ง เพียงเท่านี้ก็ถือว่า เราประสบความสำเร็จและได้ทำหน้าที่ของเราแล้วค่ะ
สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่ท่านไม่ต้องเอ่ยประโยคเหล่านี้ออกมา:
"ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฉันยังป่วยไม่ได้!"
"เพราะถ้าฉันป่วย นั่นหมายถึง รายจ่ายที่คาดเดาไม่ได้ว่า เท่าไหร่ที่ต้องใช้ในการรักษา!? และครอบครัวก็จะขาดรายได้จนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ต่อให้ฉันรู้สึกป่วยแค่ไหน ยังไงก็ไม่ไปโรงพยาบาล...ไม่ไปตรวจอะไรทั้งนั้น"
เครื่องมือการเงินด้านประกันสุขภาพนี้ จึงมีขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันท่านจะยังล้มอยู่บนฟูก ยังสามารถป่วยและได้รับการรักษาได้ทันทีโดยที่ครอบครัวของท่านจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงค่ะ
ดังนั้นการสร้างความสบายใจให้แก่ท่านและครอบครัว จึงอาจจำเป็นต้องปรึกษากันและพิจารณาลดรายจ่ายส่วนอื่น ๆ เพื่อนำมาแบ่งเป็นงบประกันสุขภาพที่มีค่ารักษาให้ในแต่ละปีค่ะ
ด้วยกฏหมาย และการควบคุมดูแลของ คปภ. จะทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า:
- บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญากรมธรรม์
โดยเฉพาะกับการที่ท่านได้แถลงสุขภาพตามจริงและไม่มีการปกปิดข้อมูลสุขภาพใด ๆ ก่อนทำประกัน
- บริษัทย่อมถูกกฏหมายบังคับให้ต้องจ่ายค่ารักษาตามที่สัญญาไว้ และตรงส่วนนี้เองจึงต้องเป็นหน้าที่ของตัวแทน อย่างแอนนี่ที่ต้องคอยดูแล พร้อมกับให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดค่ะ
สิ่งสำคัญจริง ๆ จะอยู่ที่สัดส่วนของเบี้ยประกัน ที่ไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ได้มีเพียงเบี้ยประกันด้านสุขภาพอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนั้นถ้าจะกำหนด สัดส่วนเฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพ แอนนี่แนะนำว่า ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ ค่ะ เพื่อคงสัดส่วนที่เหลือสำหรับค่าโอนความเสี่ยงด้านอื่น ๆ เช่น ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ หรือประกันโรคร้ายได้เพียงพอ และเมื่อรวมทุกเบี้ยประกันแล้ว ไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ค่ะ
ดังนั้นหากมีอายุ 30 ปี
- เงินเดือน 18,000 - 29,000 บาท แนะนำเป็นแผน 10 ล้านบาท
- เงินเดือน 30,000 -39,000 บาท แนะนำเป็นแผน 10 - 30 ล้านบาท
- เงินเดือน 40,000 บาทขึ้นไป แนะนำเป็นแผน 10 - 50 ล้านบาท
ทั้งนี้ควรประเมินด้วยค่ะว่า ควรต้องวางแผนการลงทุนอย่างน้อย 2 เท่าของเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไป รวมถึงภาระส่วนอื่น ๆ ที่อาจจำเป็นต้องลดสัดส่วนเบี้ยสุขภาพให้น้อยกว่า 10% ด้วยค่ะ
สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ แต่จะต้องเปลี่ยนจากแผนที่คุ้มครองสูง มาเป็นแผนที่คุ้มครองน้อยกว่าเท่านั้นค่ะ จึงจะไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพและเริ่มนับระยะรอคอยใหม่ หรือไม่ต้องทำสัญญาใหม่ นั่นเองค่ะ
#ยกตัวอย่างเช่น
ปัจจุบันอายุ 30 ปี ทำแผนสุขภาพแบบ 50 ล้านบาท แต่พอเวลาผ่านไป 10 ปี เป้าหมายชีวิตอาจเปลี่ยน รายจ่ายอาจเยอะขึ้น หรือต้องการเก็บเงินเพื่อเตรียมเกษียณมากขึ้น หรือมองว่าความคุ้มครองที่มีนั้นมากเกินความต้องการ ก็สามารถปรับลดเป็นแผน 30 ล้าน หรือ แผน 10 ล้านบาทได้ค่ะ
โดยสามารถแจ้งทางแอนนี่ และทีมงาน เพื่อประสานงานและดำเนินการทางเอกสารให้ได้ทันทีค่ะ
แต่ในทางกลับกัน ถ้าตอนนั้นเริ่มทำที่แผน 10 ล้านบาท แต่พอเวลาผ่านไปอาจมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงต้องการเปลี่ยนเป็นแผนสุขภาพที่สูงขึ้น เช่น คุ้มครอง 50 ล้านบาท แบบนี้จะเป็นไปได้คือ
- เปลี่ยนแผนไม่ได้ หรือ
- เปลี่ยนได้ แต่ (อาจ) ต้องตรวจสุขภาพและเริ่มระยะรอคอยใหม่ หรือง่าย ๆ คือ คล้ายกับทำประกันใหม่ค่ะ แต่จะง่ายหน่อยตรงที่บริษัทมีข้อมูลประวัติเราอยู่แล้วค่ะ
กรณีข้อ 2 ท่านจำเป็นจะต้องสอบถามตัวแทนและบริษัทก่อนตัดสินใจยกเลิก เพราะมันมีเรื่องของผลประโยชน์เดิมที่จะถูกยกเลิกทันทีเมื่อท่านเปลี่ยนแผนใหม่ค่ะ
มีค่ะ แผน Prestige Health จะมีความคุ้มครองให้เลือกอีกสองแบบคือ 80 ล้าน และ 100 ล้านบาทค่ะ ทั้งนี้ในทุกแผน (ยกเว้น 10 ล้านบาท) สามารถเลือกเน้นได้อีกว่า จะให้คุ้มครองเฉพาะพื้นที่:
- เฉพาะประเทศไทย
- ทวีปเอเชีย
- ทั่วโลก (ยกเว้น USA) หรือ
- ทั่วโลก
หากท่านสนใจ 2 แผนนี้สามารถแจ้งที่แอนนี่และทีมงานได้ค่ะ ความแตกต่างหลัก ๆ จะเป็นเรื่องของค่า OPD ค่าอวัยวะเทียม ค่าห้อง ที่สูงมากขึ้นค่ะ ทั้งนี้ เบี้ยสุขภาพก็สูงมากขึ้นเช่นกันค่ะ โดยเฉพาะแผน 100 ล้านบาทที่อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันสูงฉีกแผนอื่น ๆ เลยค่ะ
ทำประกันสุขภาพผ่านตัวแทนด้วยระบบออนไลน์ได้ และมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ
- ทักมาที่ Line @ryrisk และพิมพ์ทักด้วยคำว่า health
- กรอกแบบฟอร์มเพื่อใช้ทำเอกสารใบคำขอทำประกันสุขภาพ
- กรุณาแจ้งผ่าน @ryrisk ว่าท่านทำการ กรอกและส่งข้อมูลในแบบฟอร์มเรียบร้อย
- รอประมาณ 15-30 นาที จะมี SMS แจ้งลิงก์เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบเอกสารใบคำขอ และตรวจสอบเบี้ยประกัน ดังตัวอย่างลิงก์ต่อไปนี้ >> ขั้นตอนการตรวจสอบใบคำขอและยืนยัน
- แนบหลักฐาน ตามที่ระบบกำหนด และ ชำระเงินเบี้ยประกันทางออนไลน์ เพื่อส่งพิจารณาใบคำขอ (โดยหากเบี้ยประกันมากกว่า 15,000 บาท สามารถยื่นพิจารณาได้ทันทีโดยยังไม่ต้องชำระเงิน จากนั้นหลังการอนุมัติ ท่านจึงจะชำระเงินค่ะ)
- รอผลการพิจารณาประมาณ 1-2 วันทำการ โดยจะแจ้งผลให้ทราบผ่านทาง SMS และระบบจะจัดส่งกรมธรรม์อิเล็คทรอนิกส์ให้ทางอีเมล ไม่เกิน 3 วันทำการค่ะ
- กรณีบริษัทแจ้งให้ท่านไปตรวจสุขภาพ
ทางทีมงานจะจัดส่งเอกสาร (ฟอร์มตรวจสุขภาพ) และบอกขั้นตอนการติดต่อโรงพยาบาลค่ะ การตรวจสุขภาพตามที่บริษัทร้องขอ เป็นการตรวจฟรีค่ะ แต่หากท่านไปตรวจกับโรงพยาบาลนอกเครือข่าย ท่านต้องสำรองจ่าย แล้วส่งใบเสร็จมาพร้อมเอกสารค่ะ (แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเอกชนเครือข่ายขนาดใหญ่เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วค่ะ) ดูขั้นตอนได้จากลิงก์นี้ค่ะ >> วิธีการตรวจสุขภาพเพื่อใช้ทำประกัน - หลังตรวจสุขภาพเสร็จเรียบร้อย
ส่งเอกสารที่ได้จากทางโรงพยาบาลมาให้กับฝ่ายพิจารณากรมธรรม์ใหม่ทางไปรษณีย์ และรอฟังผลการพิจารณาว่าผ่านหรือไม่ ระหว่างนี้บริษัทอาจะขอ/ไม่ขอเอกสารเพิ่มเติม อาจเพิ่ม/ไม่เพิ่มเบี้ย ก็ได้ อย่างไรแล้ว ทางทีมงานประสานดูแลจนจบกระบวนการค่ะ
โดยปกติการทำประกันสุขภาพสามารถจ่ายเป็นราย 6 เดือน / ราย 3 เดือน / รายเดือน ของปีกรมธรรม์นั้น ๆ ได้ค่ะ แต่หากชำระเป็นรายปี ท่านจะได้ส่วนลดค่าเบี้ยเกือบ 1 เดือนค่ะ (เมื่อเปรียบเทียบกับการคิดค่าเบี้ยแบบราย 1 เดือน)
ทั้งนี้มีเรื่องต้องระวัง!
ในส่วนการใช้ Fax Claim (ไม่สำรองจ่าย) ที่จะสามารถใช้ได้ปรกติก็ต่อเมื่อ
- ไม่มียอดค้างชำระเบี้ย หรืออยู่ในระยะเวลาผ่อนผัน 60 วันค่ะ
ดังนั้นแอนนี่แนะนำท่านว่าอาจเลือกชำระเป็นแบบรายปีเพื่อให้ระหว่างปีนั้นหมดปัญหาเรื่องการ Fax Claim เมื่อเกิดเหตุจนต้องเข้ารับการรักษา หรือเลือกแบบราย 3 เดือนก็ได้ค่ะ
การทำแบบราย 1 เดือน
ครั้งแรกท่านจะต้องชำระล่วงหน้า 2 เดือน ตอนยื่นทำสัญญา และต้องยื่นเอกสารทำเรื่องหักบัญชีรายเดือนเข้ามาเพิ่มเติมด้วยค่ะ จึงจะสามารถทำแบบราย 1 เดือนได้ค่ะ
เพื่อเลี่ยงปัญหาการใช้ Fax Claim ไม่ได้ แอนนี่แนะนำให้ท่านทยอยเก็บเงินทุกเดือน และนำมาจ่ายเบี้ยประกันรายปี ซึ่งจะประหยัดกว่าและยังส่งผลต่อการบังคับใช้สัญญาด้วยค่ะ
และนอกจาก ส่วนลดค่าเบี้ยรายปีแล้ว ทาง BLA ยังมีการทำสัญญากับธุรกิจ ห้างร้าน โรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อมอบสิทธิพิเศษและส่วนลดเมื่อเข้าใช้บริการกับธุรกิจคู่สัญญานั้น ๆ ด้วย เช่น
- โรงพยาบาลบำรุงราษร์ ที่มอบสิทธิพิเศษรถรับส่งไป-กลับ (ในกรณีผู้ป่วยใน) และอัปเกรดค่าห้อง จากความคุ้มครองค่าห้องที่ 8,000 บาทต่อวัน เป็นแบบ Single Room (มูลค่า 12,000 บาท) ฟรี! ในเฉพาะแผน Prestige Health 10 ล้านบาท ในโครงการ 2B Care Privilege เท่านั้น
โดยสามารถตรวจสอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ >> BLA HAPPYLIFE CLUB
บริษัทจะคืนเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคาร ตามข้อมูลที่ได้แนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีมาค่ะ (กรณีผู้ชำระเบี้ยเป็นบุคคลที่ 3 จะต้องแนบสำเนาสมุดบัญชีของผู้ชำระเบี้ยค่ะ เช่น แม่ทำประกันให้ลูก สามีทำประกันให้ภรรยา เป็นต้น)
โดยเพื่อลดขั้นตอนการคืนเบี้ย
แอนนี่แนะนำว่า ท่านอาจเลือกการชำระเบี้ยเป็นรายปี หรือ ราย 6 เดือน เพื่อให้มียอดเบี้ยชำระเกิน 15,000 บาท แล้วส่งพิจารณาผ่านระบบไปก่อนโดยที่ยังไม่ต้องชำระเงินเข้ามาค่ะ จากนั้นค่อยชำระหลังจากบริษัทอนุมัติรับประกันแล้วค่ะ
สามารถดูวิธีการเคลมประกันสุขภาพได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ วิธีเคลมประกันสุขภาพ
ทางทีมงาน Release Your Risk จะทำการส่งบัตร (ดังรูปด้านล่าง) ไปให้ท่าน เพื่อใช้พกติดกระเป๋าเงินและใช้กรณีฉุกเฉิน โดยในบัตรจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากบัตรของบริษัท BLA ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน บุคคลอื่นสามารถทำหน้าที่ติดต่อโรงพยาบาลแทนท่านได้ค่ะ รวมถึงมี contact ของแอนนี่ สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อให้ช่วยประสานงานได้ค่ะ
กรณีลืมชำระเบี้ยประกัน
จะมีระยะเวลาผ่อนผันให้ 60 วันค่ะ โดยในระหว่างผ่อนผันนี้ การเคลมจะทำได้เฉพาะแบบเคลมด้วยตนเอง ซึ่งท่านต้อง "สำรองจ่ายไปก่อน" ไม่สามารถทำ Fax-Claim ได้ค่ะ
หากเกินระยะผ่อนผัน 60 วัน!!!
สัญญาสิ้นผลบังคับทันที และหากมีการชำระเบี้ยเข้ามาหลังจากนี้ ถือเป็น "การต่อสัญญาใหม่" ส่งผลให้ระยะเวลารอคอยจะเริ่มนับใหม่อีกครั้งค่ะ
เรื่องสัญญาสิ้นผลบังคับ อันตรายมากนะคะ! พยายามอย่าให้สัญญาสิ้นผลบังคับกันเลยค่ะ โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติการรักษาโรคแล้ว
ช่องทางการชำระเงิน
BLA มีช่องทางชำระเบี้ยที่สะดวกและรวดเร็ว และยังสามารถตรวจผลการชำระผ่านระบบได้ทันที โดยการชำระเงินผ่านทางแอพ BLA Happy Life และ ผ่านทาง Line ได้ดังนี้ค่ะ
- สามารถลงทะเบียนเข้าแอพ BLA Happy Life ได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ >> วิธีการสมัคร BLA Happy Life
- สามารถดูวิธีการชำระเบี้ยได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ >> วิธีการชำระเบี้ย
ไม่จำเป็นเสมอไปค่ะ
เพียงแต่ทางเราพยายามแนะนำให้ท่าน วางแผนการลงทุนควบคุมคู่กันไปด้วย เพื่อใช้เครื่องมือการเงินที่ชื่อว่า "กองทุนรวม" ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการชำระเบี้ยในตอนเกษียณ รวมถึงยังช่วยท่านประหยัดภาษีได้อีกทางด้วยค่ะ
ทั้งนี้ เราจะมีคำแนะนำ ว่าต้องลงทุนเท่าไร? หรือ ลงทุนอย่างไร? ผ่านทางของขวัญพิเศษที่ทางพี่ฐิติ ได้จัดเตรียมไว้ให้ท่านค่ะ
Copyright © 2018-2021 Release Your Risk