การยืนยันทำประกันนั้นจะประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายคือ
- ฝ่ายผู้ยืนยันสมัครทำประกัน
- ฝ่ายผู้ยินยอมให้ทำประกัน
- ฝ่ายผู้ชำระเบี้ยประกัน
โดยทั้ง 3 ฝ่ายนั้นอาจเป็นคน ๆ เดียวกัน หรือ คนละคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับอายุของผู้สมัครทำประกันว่ายังเป็นผู้เยาว์อยู่หรือไม่
ซึ่ง ผู้เยาว์ คือ มีอายุตั้งแต่ 0 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ (นับวันชนวัน) เป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถทำธุรกรรมที่เป็นสัญญาทางนิติกรรมใด ๆ ได้ หากจะทำ จำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากบิดาหรือมารดาก่อนเท่านั้น (หรือ ผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง)
ทั้งนี้การเซ็นสัญญาในรูปแบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง การยืนยัน การยินยอม การชำระเบี้ย จะทำผ่านระบบ BLA โดยใช้ SMS OTP ไปยังเบอร์มือถือที่ท่านได้ระบุไว้ในใบคำขอทำประกัน โดยเบอร์มือถือจะต้องลงทะเบียนเบอร์ด้วยชื่อตนเอง (เพื่อเป็นการใช้แทนลายเซ็นตนเอง) ดังนั้นจะไม่สามารถใช้เบอร์มือถือของผู้อื่นแทนของตนเองได้
ยกเว้นในกรณีของผู้เยาว์ เบอร์มือถือที่ใช้ในการยืนยัน จะสามารถใช้เบอร์มือถือของผู้ปกครองที่เป็นผู้ชำระเบี้ย แทนได้จนถึงอายุ 19 ปี และเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำเรื่องเปลี่ยนเป็นเบอร์ตนเองภายหลังต่อไป
ซึ่งจะสามารถสรุป ลิงก์ที่จะได้รับในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง ยืนยัน/ชำระเบี้ย/ยินยอม ออกเป็นตามรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- ผู้สมัครทำประกันบรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับลิงก์ยืนยัน 1 ลิงก์ (เบอร์มือถือตนเอง)
- ผู้สมัครทำประกัน ยืนยัน ยินยอม และชำระเบี้ย (ในกรณีผู้ชำระเบี้ยเป็นญาติ สามารถเลือกวิธีการชำระเบี้ยที่ญาติสะดวกได้)
- ผู้สมัครทำประกันอายุ 0-10 ปี ที่ "บิดา/มารดา" เป็นผู้ชำระเบี้ย ได้รับลิงก์ยืนยัน 1 ลิงก์ (เบอร์มือถือบิดา/มารดา)
- บิดา/มารดาของผู้สมัครทำประกัน ยืนยัน ยินยอม และชำระเบี้ย
- ในกรณีที่ผู้เยาว์อายุ 7-10 ปี จะต้องใช้เลขหลังบัตรประชาชนของผู้เยาว์ในการยืนยัน
- ผู้สมัครทำประกันอายุเกิน 0-10 ปี ที่ "ญาติ" เป็นผู้ชำระเบี้ย ได้รับลิงก์ยืนยัน 2 ลิงก์ (เบอร์มือถือญาติ กับ เบอร์มือถือบิดา/มารดา ที่แตกต่างกัน)
- ลิงก์ที่ 1 ของ : ผู้ชำระเบี้ยที่เป็นญาติ เพื่อยืนยันและชำระเบี้ย
- ลิงก์ที่ 2 ของ : บิดาหรือมารดา เพื่อยินยอมให้ผู้เยาว์สมัครทำประกัน
- ผู้สมัครทำประกันอายุ 10-19 ปี ที่ "บิดา/มารดา" เป็นผู้ชำระเบี้ย ได้รับลิงก์ยืนยัน 2 ลิงก์ (เบอร์มือถือผู้เยาว์ กับ เบอร์มือถือบิดา/มารดา โดยสามารถใช้เบอร์มือถือบิดา/มารดาให้กับผู้เยาว์ได้)
- ลิงก์ที่ 1 ของ : ผู้สมัครทำประกัน เพื่อยืนยันทำประกัน ด้วยบัตรประชาชนตนเอง
- ลิงก์ที่ 2 ของ : บิดา/มารดา หรือ ผู้แทนโดยชอบธรรมที่ศาลแต่งตั้ง เพื่อยินยอมให้ผู้เยาว์สมัครทำประกัน และเพื่อทำการชำระเบี้ยประกัน
- ผู้สมัครทำประกันอายุ 10-19 ปี ที่ "ญาติ" เป็นผู้ชำระเบี้ย ได้รับลิงก์ยืนยัน 3 ลิงก์ (เบอร์มือถือผู้เยาว์ กับ เบอร์มือถือญาติ กับ เบอร์มือถือบิดา/มารดา โดยสามารถใช้เบอร์มือถือบิดา/มารดา/ญาติ ให้กับผู้เยาว์ได้)
- ลิงก์ที่ 1 ของ : ผู้สมัครทำประกัน เพื่อยืนยันทำประกัน ด้วยบัตรประชาชนตนเอง
- ลิงก์ที่ 2 ของ : บิดา/มารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมที่ศาลแต่งตั้ง เพื่อยินยอมให้ผู้เยาว์สมัครทำประกัน
- ลิงก์ที่ 3 ของ : ญาติ เพื่อทำการชำระเบี้ยประกัน
โดยหลังจากท่านกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มออกใบคำขอทำประกันออนไลน์และแจ้งทางเราให้รับทราบผ่านทางไลน์ @releaseyourrisk เรียบร้อย
จากนั้นรอทางเราจะนำข้อมูลเข้าระบบ BLA เพื่อสร้างใบคำขอทำประกันประมาณ 45-60 นาที (หรือตามลำดับคิว ไม่เกิน 24 ชั่วโมงค่ะ) โดยตัวระบบจะส่งลิงก์ "ยืนยันใบคำขอ ยินยอม และตรวจสอบชำระเบี้ย" ให้ท่านทาง SMS/E-mail ตามที่ท่านแจ้งไว้ในแบบฟอร์ม และตามความเกี่ยวข้องของแต่ละบุคคลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
โดยขั้นตอน ยืนยัน/ยินยอม/ชำระเบี้ย จะได้อธิบายไว้ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการยืนยันใบคำขอทำประกัน
**โปรดใช้คอม/โน๊ตบุ๊ค/แท็บเล็ต/มือถือ ที่มีกล้องถ่ายรูปยืนยันตนได้
โดยหลังจากได้รับ ลิงก์ยืนยัน/ยินยอม (ตามสถานะที่เกี่ยวข้อง) ของการสมัครทำประกันใน SMS/Email จากระบบของบริษัทเรียบร้อย ท่านจะสามารถคลิกที่ลิงก์และดำเนินการ ยืนยัน/ยินยอม ได้ทันที (แนะนำให้ Copy ลิงก์ไปเปิดบน Chrome หรือ Safari หรือคลิกลิงก์ผ่าน EMAIL ค่ะ)
ตัวอย่าง SMS/E-mail ลิงก์ยืนยัน/ยินยอม
กรณีผู้สมัครอายุ 10 ปีขึ้นไป
กรณีผู้สมัครเป็นผู้เยาว์ และบิดา/มารดาต้องให้ความยินยอม
กรณีผู้สมัครเป็นผู้เยาว์ และญาติชำระเบี้ย
การเตรียมเอกสาร PDF และ เตรียมมือถือ/คอม ที่มีกล้องถ่ายรูปเพื่อใช้ถ่ายรูป Selfie ยืนยันตน
ในขั้นตอนที่ 5 จะมีการถ่ายรูปเอกสาร ๆ ต่างแนบเข้าในระบบ รวมถึงหากมีประวัติการรักษาหรือผลตรวจสุขภาพไฟล์ PDF จะต้องเตรียมไฟล์ PDF ให้มีขนาดไม่เกิน 5 MB ด้วยวิธีที่ได้อธิบายด้านล่างนี้ให้เรียบร้อย และไฟล์ต้องอยู่ภายในมือถือที่คลิกลิงก์ยืนยันตนพร้อมแนบเข้าในระบบได้ (หากไม่สะดวกในการเตรียมไฟล์สามารถส่งให้ทางเราเตรียมไฟล์ให้ได้)
ระบบรองรับการอัพโหลดไฟล์รูปและ PDF ไฟล์ละไม่เกิน 5 MB โดยหากไฟล์ประวัติมีขนาดใหญ่เกินกว่า 5 MB จะสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้
- ก่อนดำเนินการหากไฟล์ติดรหัสผ่าน จะต้องเปลี่ยนเป็นไฟล์ PDF ที่ไม่ติดรหัสผ่านก่อน โดยใช้ >> เว็บ smallpdf (คลิกลิงก์) อัพโหลดPDF กรอกรหัสผ่าน แล้วดาวโหลด PDF ที่ไม่มีรหัสผ่าน จากนั้นจึงจะสามารถใช้วิธีด้านล่างนี้ได้
- 1.ทำการบีบอัดไฟล์ PDF โดยใช้ >> เว็บ pdfcompressor (คลิกลิงก์)
- 2. ทำการแบ่งไฟล์ PDF ออกเป็นหลายไฟล์ ไฟล์ละไม่เกิน 5MB >> เว็บ splitapdf (คลิกลิงก์) โดยเลือก Split based on a file size limit...และกำหนดขนาดของไฟล์ขนาดมากสุดที่ 5MB แล้วทยอยดาวโหลดไฟล์ pdf ที่มีการแบ่งเป็นไฟล์ย่อย ๆ มาอัพโหลดแนบในระบบ BLA ต่อไป
นอกจากนี้ระบบจะมีการให้ถ่ายรูป Selfie ร่วมด้วย ทำให้หากทางระบบตรวจไม่พบว่ามีกล้องถ่ายรูปอยู่ภายในมือถือหรือคอมที่ใช้ยืนยันตน ระบบจะทำการแจ้งเตือนดังรูปด้านล่างนี้ และไม่สามารถดำเนินการไปขั้นถัดไปได้
โดยขั้นตอนหลังจากคลิกลิงก์จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 : กรอกเลขที่บัตรประชาชน
ส่วนนี้จะกรอกหมายเลขบัตรประชาชนของผู้ที่เกี่ยวข้องตามสถานะที่ระบุไว้ใน SMS/Email
กรณีผู้สมัครอายุ 10 ปีขึ้นไป
กรณีผู้สมัครเป็นผู้เยาว์ และบิดา/มารดาต้องให้ความยินยอม
กรณีผู้สมัครเป็นผู้เยาว์ และญาติชำระเบี้ย
ขั้นตอนที่ 2 : ขั้นตอนการยืนยันตน
สรุปขั้นตอน : กรณีผู้เยาว์อายุ 0-10 ปี
ผู้ปกครอง (ทำแทนผู้เยาว์) : จะมีทั้งการยืนยันและชำระเบี้ย (หากผู้ปกครองไม่ได้เป็นผู้ชำระเบี้ยจะเพียงแค่ยืนยันเท่านั้น)
ผู้ชำระเบี้ย (ทำแทนผู้เยาว์): เป็นญาติของผู้เยาว์ (โดยผู้ปกครองต้องยืนยันยินยอมร่วมด้วย)
สรุปขั้นตอน : กรณีผู้เยาว์อายุ 10-19 ปี
ผู้เยาว์ : จะมีเฉพาะการยืนยัน
ผู้ปกครอง : จะมีทั้งการยืนยันและชำระเบี้ย (หากผู้ปกครองไม่ได้เป็นผู้ชำระเบี้ยจะเพียงแค่ยืนยันเท่านั้น)
ผู้ชำระเบี้ย : เป็นญาติของผู้เยาว์ (โดยผู้ปกครองต้องยืนยันยินยอมร่วมด้วย)
สรุปขั้นตอน : กรณีบรรลุนิติภาวะอายุ 20+ ปี
ผู้สมัครทำประกัน : จะมีทั้งการยืนยันและชำระเบี้ย
คำชี้แจ้งจากระบบกของ BLA
ระบบจะแสดง pop-up ให้ท่านดูคำเตือน ขั้นตอนและรายละเอียดมาตรฐานความปลอดภัยของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต ท่านสามารถกดปุ่ม x ปิดหรือกด "เริ่มขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล" ได้เลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบใบคำขอทำประกัน
ในหน้าตรวจสอบข้อมูลนี้ ท่านสามารถกดดู/อ่านรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(โดยหากมีส่วนใดที่ต้องการแก้ไข สามารถแจ้งให้ทางเราแก้ไขได้ทันทันที ก่อนดำเนินการขั้นตอนที่ 4)
❖ ตรวจสอบชื่อตัวแทนประกันชีวิต
❖ กดอ่านคำเตือนจาก คปภ. ตามสัญญาประกันภัยประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
❖ ตรวจสอบความถูกต้องในเอกสาร "ใบคำขอเอาประกันภัย" (ตามข้อมูลที่ผู้ขอเอาประกันได้กรอกแบบฟอร์มมา)
❖ กดดู "มูลค่าเวนคืน" (เมื่อยกเลิกสัญญาในแต่ละปีจะได้เงินคืนเท่าไร)
❖ ตรวจสอบชื่อแผนและเบี้ยประกันทั้งหมดจาก "ใบเสนอขาย"
❖ กดดูรายละเอียด "ใบสรุปแบบผลิตภัณฑ์" ฉบับย่อ
เฉพาะกรณีประกันชีวิต Unit Linked
❖ ตรวจสอบแบบประเมินความเสี่ยง
❖ กดตรวจสอบ ใบคำร้องทั้ง 2 เอกสาร เพื่อดูสัดส่วนการลงทุนและเบี้ยประกันว่าถูกต้องหรือไม่
❖ ท่านสามารถตรวจสอบ Fund Fact Sheet ของกองทุนรวมต่างๆ ได้ที่ลิงก์นี้ Fund Fact Sheet
❖ และสามารถตรวจสอบสัดส่วนพอร์ตแนะนำตามความเสี่ยงแบบต่างๆ อีกครั้ง ว่าตรงกับที่ท่านเลือกหรือไม่vในรูปภาพด้านล่างนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 4 : ยืนยันตัวตน
ยืนยันตัวตนด้วยเลขหลังบัตรประชาชนของผู้ขอทำประกัน หรือ ของผู้ปกครองของผู้เยาว์ที่ขอทำประกัน (กรณีผู้เยาว์อายุ 7-10 ปี จะต้องใช้เลขหลังบัตรประชาชนของผู้เยาว์ ไม่ใช่ของผู้ปกครอง)
ระบบในปัจจุบันจะไม่ได้เก็บหมายเลขหลังบัตรประชาชนไว้ในฐานข้อมูลเนื่องจากเป็นการผิด พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล จึงทำให้การกรอกเลขหลังบัตรจะใช้เพื่อนำไปตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครองโดยตรงในช่วงเวลานั้นๆ เท่านั้น ซึ่งถ้าหากตัวเลขหลังบัตรถูกต้องจะมีเครื่องหมายถูกขึ้นมา (ดังรูปด้านล่าง) และสามารถไปขั้นตอนต่อไปได้ค่ะ
หมายเหตุ 1 : กรณีระบบตรวจสอบเลขหลังบัตรประชาชนกับฐานข้อมูลกรมการปกครองแล้วพบว่า ข้อมูลไม่ถูกต้อง ท่านจะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กรุณาติดต่อแจ้งตัวแทน หรือ Call Center เพื่อตรวจสอบหาข้อผิดพลาด
ทั้งนี้ระบบ BLA จะไม่สามารถตรวจสอบการตอบกลับจากกรมการปกครองได้ว่าข้อมูลผู้ทำประกันส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง (กรมการปกครองจะตอบกลับมาว่า "ไม่ผ่าน" เท่านั้น เนื่องจากเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล) แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่ตรวจสอบกรมการปกครองไม่ผ่าน จะมีดังนี้ค่ะ
1. ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด พ.ศ. ไม่ถูกต้อง
แก้ไขโดย ตัวแทนตรวจสอบและแก้ไขใน step 1 ของ Smart App ให้ถูกต้อง เช่นสระแอ ควรพิมพ์เป็น "แ" ไม่ควรพิมพ์ สระเอ สองตัว
2. รหัสหลังบัตรประชาชน ไม่ถูกต้อง
แก้ไขโดย ให้ลูกค้าตรวจสอบและสะกดให้ถูกต้อง สังเกต ข้อมูลที่กรอก เช่น "O" ตัวโอ / "0" เลขศูนย์
3. บัตรประชาชนของลูกค้ามีการแจ้งความสูญหาย / หมดอายุ
ระบบไม่สามารถแก้ไขได้ จำเป็นจะต้องติดต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อสามารถออกบัตรใหม่ได้
หมายเหตุ 2 : กรณีระบบตรวจสอบเลขหลังบัตรประชาชนกับฐานข้อมูลกรมการปกครองแล้วแจ้งขึ้นมาเป็น Code Error แสดงว่า Server ของฝ่ายกรมการปกครองล่มหรือมีจำนวนผู้ใช้งานคับคั่ง ให้ท่านรอสัก 10-15 นาที หรือเปลี่ยนช่วงเวลาการยืนยันเป็นช่วงสาย หรือช่วงดึก หรือลองกดปุ่ม ถัดไป ย้ำหลาย ๆครั้ง
ขั้นตอนที่ 5 : แนบเอกสารยืนยันตนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทุกไฟล์ที่แนบในขั้นตอนนี้จะต้องระวังไม่ให้มีขนาดเกิน 5 MB ซึ่งหากเกิน ด้วยเพราะแอพกล้องมือถือมีการตั้งค่าภาพถ่ายแบบละเอียด (ที่ภาพถ่ายมีขนาดกว่า 5 MB) จะทำให้เกิดการแจ้งเตือนขึ้นดังรูปนี้ (ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องปรับการตั้งค่าของกล้องให้มีความละเอียดลดลงหากไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เกินไป)
โดยหน้าจอขั้นตอนที่ 5 จะระบุว่าต้องแนบรูปเอกสารใดบ้างตามแต่ละกรณีดังต่อไปนี้
5.1 กรณีผู้ขอทำประกันเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี (บิดา/มารดา/ญาติ ดำเนินการแทน)
❖ 1. ถ่ายรูป ผู้เยาว์ คู่กับ สูติบัตร/บัตรประชาชน ของผู้เยาว์ : พยายามให้ภาพถ่าย เห็นรายละเอียดของ สูติบัตร/บัตรประชาชน ที่ชัดเจนพอทราบว่าเป็น สูติบัตร/บัตรประชาชน เดียวกับ ภายถ่ายสูติบัตร/ประชาชนในข้อ 2 ( *เพื่อเป็นหลักฐานว่าเด็กเป็นเจ้าของสูติบัตรหรือบัตรประชาชนตามที่ คปภ. กำหนด ในกรณีการยืนยันผ่านระบบออนไลน์ค่ะ )
- การถ่ายรูป เด็กทารกหรือเด็กที่ยังยืนไม่ได้ : สามารถถ่ายรูปเด็กนอนหงายข้างสูติบัตร หรือ สามารถถ่ายรูปผู้ปกครองอุ้มเด็กนั่งหันหน้าตรงและผู้ปกครองช่วยถือสูติบัตรเพื่อถ่ายรูปได้ (รูปถ่ายติดผู้ปกครองได้ค่ะ)
- การถ่ายรูป เด็กที่ยืนได้แล้ว : สามารถถ่ายรูปเด็กยืนถือ สูติบัตร/บัตรประชาช
❖ 2. รูป สูติบัตร/บัตรประชาชน ของผู้เยาว์ : เน้นถ่ายให้เห็นตัวอักษรครบถ้วนชัดเจน
❖ 3. รูป บัตรประชาชนของผู้ปกครอง : เน้นถ่ายให้เห็นตัวอักษรครบถ้วนชัดเจน สามารถทำการขีดคร่อมได้ แต่จะต้องระวังไม่ให้ไปทับตัวอักษรจนไม่สามารถอ่านตัวอักษรบนบัตรได้
❖ 4. ถ่ายรูป selfie หน้าตรงของผู้ปกครองพร้อมถือบัตรประชาชน (เต็มตัว/ครึ่งตัวได้ค่ะ) : ภาพควรคมชัดหรือเห็นรายละเอียดว่าบัตรประชาชนที่ถืออยู่นั้น เป็นบัตรเดียวกันกับภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ปกครองในข้อ 3
❖ 5. รูป หน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคารของผู้ปกครอง (ที่ได้แจ้งไว้ในใบคำขอทำประกัน) : ที่เห็นรายละเอียดเลขบัญชี ชื่อเจ้าของบัญชี และสาขาครบถ้วน
❖ 6. รูป **สมุดบันทึกสุขภาพเด็กทุกหน้า (เฉพาะอายุ 0-2 ปี) : สามารถถ่ายรูปและแนบเข้าระบบทีละรูปได้ โดยรูปที่ 2 เป็นต้นไป จะสามารถกดปุ่ม "แนบภาพถ่ายสมุดบันทึกสุขภาพเพิ่มเติม" เพื่อแนบรูปเพิ่มได้ หรือ
[ หากต้องการรวมเป็นไฟล์เดียว จะสามารถใช้แอปมือถือสแกนเอกสาร (เช่น Microsoft Lens) ให้เป็นไฟล์ pdf. 1 ไฟล์ได้โดยไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 5 mb โดยหากเกิน 5 mb จะต้องแบ่งเป็นหลายไฟล์ (โดยภาพสแกนจะต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการต้องส่งใหม่อีกครั้ง และจะต้องตั้งชื่อไฟล์ด้วยภาษาอังกฤษหรือตัวเลขค่ะ) ]
5.2 กรณีผู้ขอทำประกันอายุเกิน 10 ปี (ผู้ขอทำประกันยืนยันเอง) หรือ บิดา/มารดา/ผู้แทนโดยชอบธรรม ให้ความยินยอม
❖ 1. รูป บัตรประชาชน พร้อมแนบในระบบ (บัตรประชาชนต้องยังไม่หมดอายุ)
❖ 2. ถ่ายรูป เซลฟี่ตนเองถือบัตรประชาชน (เต็มตัว/ครึ่งตัวได้ค่ะ) พร้อมแนบในระบบ (ภาพควรคมชัดหรือเห็นรายละเอียดว่าบัตรประชาชนที่ถือนั้นเป็นบัตรเดียวกันกับภาพถ่ายบัตรประชาชนข้อ 1)
❖ 3. รูป หน้าแรกสมุดบัญชีธนาคารที่กรอกในใบคำขอ โดยต้องเห็นรายละเอียดเลขบัญชี ชื่อเจ้าของบัญชี และสาขาครบถ้วน
❖ 4. รูป เอกสารคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้แทนโดยชอบธรรม (จะปรากฏขึ้นมาเฉพาะสำหรับผู้ชำระเบี้ยที่ไม่ใช่บิดามารดาของผู้เยาว์ที่อายุเกิน 10 ปีที่ได้สมัครทำประกัน)
**กรณีผู้เยาว์ยืนยัน หรือผู้ปกครองให้ความยินยอมอย่างเดียว ไม่ได้เป็นผู้ชำระเบี้ย จะไม่มีการแนบรูปหน้าแรกสมุดบัญชีธนาคาร
5.3 กรณีเลือกงวดชำระเบี้ยแบบรายเดือน (สำหรับผู้ชำระเบี้ย)
เฉพาะการชำระเบี้ยแบบรายเดือนเท่านั้นที่จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกวิธีการชำระเบี้ยแบบรายเดือนผ่านทางวิธีหักบัญชีธนาคาร หรือ หักบัตรเครดิต ในงวดถัดไปอัตโนมัติ โดยจะต้องชำระเบี้ยล่วงหน้า 2 งวดแรก จากนั้นงวดที่ 3 เป็นต้นไปจึงจะทำการหักชำระอัตโนมัติตามวิธีที่เลือกต่อไปนีั
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ Bualuang mBanking
- สามารถแจ้งทางเราว่าต้องการทำเรื่องหักบัญชีผ่านแอพธนาคารนี้เพื่อทางเราส่งลิงก์การดำเนินการให้ได้ค่ะ
- คลิกดู..วิธีการทำหักบัญชีผ่านแอพนี้
- ทำการแคปรูปจากแอพธนาคารตอนทำเรื่องหักบัญชีสำเร็จเพื่อใช้ในการแนบไฟล์รูปเข้าในระบบได้ค่ะ
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ Krungsri Mobile App
- สามารถแจ้งทางเราว่าต้องการทำเรื่องหักบัญชีผ่านแอพธนาคารนี้เพื่อทางเราส่งลิงก์การดำเนินการให้ได้ค่ะ
- คลิกดู..วิธีการทำหักบัญชีผ่านแอพนี้
- ทำการแคปรูปจากแอพธนาคารตอนทำเรื่องหักบัญชีสำเร็จเพื่อใช้ในการแนบไฟล์รูปเข้าในระบบได้ค่ะ
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ Krungthai NEXT
- รหัสบริษัท : SA00123456 (หมายเลขใบคำขอ)
- คลิกดู..วิธีการทำหักบัญชีผ่านแอพนี้
- ทำการแคปรูปจากแอพธนาคารตอนทำเรื่องหักบัญชีสำเร็จเพื่อใช้ในการแนบไฟล์รูปเข้าในระบบได้ค่ะ
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ SCB Easy
- สามารถแจ้งทางเราว่าต้องการทำเรื่องหักบัญชีผ่านแอพธนาคารนี้เพื่อทางเราส่งลิงก์การดำเนินการให้ได้ค่ะ
- คลิกดู..วิธีการทำหักบัญชีผ่านแอพนี้
- ทำการแคปรูปจากแอพธนาคารตอนทำเรื่องหักบัญชีสำเร็จเพื่อใช้ในการแนบไฟล์รูปเข้าในระบบได้ค่ะ
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ KPLUS
- สามารถแจ้งทางเราว่าต้องการทำเรื่องหักบัญชีผ่านแอพธนาคารนี้เพื่อทางเราส่งลิงก์การดำเนินการให้ได้ค่ะ
- คลิกดู..วิธีการทำหักบัญชีผ่านแอพนี้
- ทำการแคปรูปจากแอพธนาคารตอนทำเรื่องหักบัญชีสำเร็จเพื่อใช้ในการแนบไฟล์รูปเข้าในระบบได้ค่ะ
หักบัญชีธนาคารผ่านแอพ ธนาคารอื่นๆ จะต้องทำผ่านการกรอกเอกสารต่อไปนี้ (และแนบเข้าในระบบส่วนแบบฟอร์มยืนยันหักบัญชีธนาคารแทนค่ะ)
- เอกสารหักบัญชีธนาคาร ปริ๊นต์ กรอกและเซ็นด้วยลายมือ พร้อมถ่ายรูปแนบเข้าระบบ
หักบัตรเครดิต จะต้องทำผ่านการกรอกเอกสารในระบบ โดยเลือกหัวข้อด้านล่างต่อไปนี้ (ไม่ต้องแนบไฟล์รูปใดๆ เพิ่มเติมค่ะ)
หักบัญชีธนาคารผ่าน ATM หรือ Internet Banking
- สามารถแนบรูปภาพหน้าจอยืนยันการทำหักบัญชีธนาคารผ่าน Internet Banking สำเร็จ หรือสลิปยืนยันทำหักบัญชีผ่านตู้ ATM สำเร็จ
5.4 กรณีต้องการแนบข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลด้านสุขภาพของ ผู้สมัครทำประกัน
❖ แนบไฟล์เพิ่มเติม สามารถแนบไฟล์เพิ่มเติม สำหรับเอกสารต่อไปนี้ เพื่อทำให้ขบวนการพิจารณารวดเร็วมากยิ่งขึ้นได้ค่ะ (ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 5MB สามารถทยอยแนบหลายไฟล์ได้)
- สมุดฝากครรภ์/สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (จำเป็นในกรณีกำลังตั้งครรภ์ หรือ ควรแนบหากผู้เยาว์มีอายุไม่เกิน 2 ปี โดยในกรณีผู้เยาว์อายุไม่เกิน 2 ปี เพื่อลดโอกาสการถูกขอสำรองจ่ายเพื่อสืบประวัติตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์)
- สมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ผลตรวจสุขภาพประจำปี (จำเป็นโดยเฉพาะในกรณีที่มีบางค่าสุขภาพที่เกินหรือน้อยกว่าเกณฑ์อ้างอิง หรือ แพทย์มีการตั้งข้อสังเกตบางอย่างในผลตรวจสุขภพ)
- แบบสอบถามโรคต่างๆ เช่น แบบสอบถามการรักษาโควิด (เมื่อแถลงสุขภาพว่าเคยรักษาแบบแอดมิตนอน รพ. ด้วยโควิด) เป็นต้น (ส่วนนี้ทางเราจะมีแนะนำอีกทีค่ะ)
- สำเนาทะเบียนบ้านแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชำระเบี้ย ผู้ทำประกัน และผู้รับผลประโยชน์ (หากเป็นคนละนามสกุล)
- บันทึกข้อความ หลักฐาน การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นคู่ชีวิต หรือแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงทำให้เป็นคนละนามสกุล ในการเป็นผู้รับผลประโยชน์
- **กรณีต้องการแนบประวัติการรักษา สามารถแจ้งทางเรา เพื่ออธิบายถึงวิธีการส่งประวัติถึงฝ่ายพิจารณาโดยตรงได้ค่ะ (หากไฟล์ pdf ประวัติมีขนาดเกิน 5 mb แบ่งไฟล์ไม่ได้ หรือมีการติดรหัสผ่าน)
หมายเหตุ 1: การตั้งชื่อไฟล์รูปหรือเอกสาร ควรเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นตัวเลข และสามารถเขียนคร่อมสำเนาหรือรูปบัตรประชาชนว่า "สำหรับยื่นทำประกันสุขภาพกับ BLA เท่านั้น" พร้อมเซ็นกำกับ ได้ค่ะ
หมายเหตุ 2: หากมีเอกสารจำนวนหลายหน้า ท่านสามารถใช้แอปมือถือสแกนเอกสาร (เช่น Microsoft Lens) ให้เป็นไฟล์ pdf. 1 ไฟล์ (หากภาพสแกนไม่ชัดเจน ท่านอาจต้องส่งเอกสารตัวจริงภายหลัง) ที่สำคัญควรต้อง ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ ในทุกไฟล์ที่จะแนบเข้ามาในระบบ เพื่อป้องกันระบบอาจไม่ยอมให้บันทึกข้อมูลได้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 6 : ยืนยัน/ยินยอม สำหรับสมัครทำประกัน
สำหรับ ยืนยัน สมัครทำประกัน โดยจะปรากฏในหน้าจอของ
- บิดา/มารดา/ญาติ ของผู้เยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี
- ผู้เยาว์อายุเกิน 10 ปี
- ผู้สมัครทำประกันอายุเกิน 20 ปี
ให้ทำการเลื่อนอ่านข้อความในกล่องข้อความจนถึงบรรทัดล่างสุด จากนั้น Checkbox กล่องสี่เหลี่ยมจะกลายเป็นตัวหนา ให้สามารถติ๊กถูกเพื่อเป็นการยืนยันได้
สำหรับ ยินยอม สมัครทำประกัน โดยปรากฏในหน้าจอของ
- บิดา/มารดา/ผู้แทนโดยธรรม ของผู้เยาว์อายุเกิน 10 ปี
- บิดา/มารดา/ญาติ ของผู้เยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี
- ผู้สมัครทำประกันอายุเกิน 20 ปี
ให้ทำการเลื่อนอ่านข้อความในกล่องข้อความจนถึงบรรทัดล่างสุดทุกกล่องข้อความ จากนั้น Checkbox กล่องสี่เหลี่ยมจะกลายเป็นตัวหนา ให้สามารถติ๊กถูกเพื่อเป็นการยินยอมได้
ขั้นตอนที่ 7 : ขอรับรหัส OTP แทนการเซ็นเอกสาร
กด "ขอรับ OTP" ตามรูปข้างล่าง
จากนั้นกรอกหมายเลข OTP ที่ได้รับลงในช่องข้อความ แล้วกด "ยืนยันการขอเอาประกันภัย"
หากกดยืนยันการขอเอาประกันภัยแล้ว ใบคำขอนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อีก และหากต้องมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ภายหลังจากการกดยืนยัน จะต้องทำการยกเลิกการยืนยันที่ทำมาทั้งหมด และทำการยืนยันใหม่อีกครั้งค่ะ
หมายเหตุ 1: ในช่วงวันสุดท้ายของเดือนหรือวันที่มีผู้เข้าใช้ระบบจำนวนมาก อาจทำให้ระบบมีปัญหาหรือไม่สามารถบันทึกการทำรายการได้ ท่านสามารถติดต่อทางเราให้ประสานกับฝ่ายดำเนินการแก้ไขภายใน 1 วันทำการ
หมายเหตุ 2: หากยืนยันการขอเอาประกันแล้วขึ้นข้อความว่า "ไม่สามารถบันทึกรายการได้" ดังภาพด้านล่าง ให้ท่านกดย้อนกลับ และตรวจสอบว่าชื่อไฟล์ที่ท่านแนบทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่ รวมไปถึงตรวจสอบว่า ท่านได้เปิดลิงก์นี้ผ่าน EMAIL หรือ Copy link ไปเปิดใน chrome หรือ safari หรือไม่ เมื่อแก้ไขแล้วท่านสามารถกดยืนยันตนอีกครั้งได้ หากยังไม่สำเร็จ โปรดติดต่อเราเพื่อประสานกับฝ่ายไอที ให้ดำเนินการแก้ไขให้ต่อไปค่ะ
วิธีการชำระเบี้ยประกันเพื่อใบคำขอเข้าสู่ขบวนการพิจารณา (กรณีเบี้ยไม่เกิน 50,000 บ.)
หากมียอดเบี้ยประกันมากกว่า 50,000 บ. (ลดจาก 100,000 บ. เดิม) สามารถกดเลือก "ชำระภายหลัง" เพื่อส่งให้ฝ่ายพิจารณา พิจารณาก่อนได้ค่ะ โดยหากอนุมัติรับทำประกันแล้วจึงค่อยชำระเบี้ยภายใน 15 วันค่ะ
แต่ถ้าเบี้ยประกันไม่เกิน 50,000 บ. จะจำเป็นต้องกดเลือก "ชำระเบี้ยประกันภัย" เข้ามาก่อน เพื่อให้ระบบปลดล็อคและแสดงใบคำขอไปที่ฝ่ายพิจารณาได้ค่ะ
แบบที่ 1 : ชำระเบี้ยต่อจากขั้นตอนยืนยัน OTP
โดยบริษัทจะมีช่องทางการชำระเบี้ยที่หลากหลายทั้ง QR-Promptpay, Mobile Banking, Internet Banking รวมไปถึงการผ่อนชำระ 0% 4 เดือน ของบัตรที่เข้าร่วมโปรโมชัน (สามารถใช้ได้เฉพาะเบี้ยรายปีปีแรกเท่านั้น และต้องไม่ใช่แบบประกันยูนิตลิงก์)
ทั้งนี้ในกรณีบัตรเครดิต ระบบจะสามารถใช้ได้เฉพาะกับบัตร VISA หรือ MASTERCARD โดยที่บัตรเครดิตจะต้องมีการเปิดให้สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้เรียบร้อย หรือ เป็นบัตรเครดิตที่เคยซื้อของออนไลน์มาก่อน (เช่น ซื้อกับ Lazada Shopee)
แบบที่ 2 : ไม่ได้ชำระเบี้ยต่อจากขั้นตอน OTP
หากท่าน กดปุ่มชำระเบี้ยภายหลัง หรือ ปิดหน้าจอชำระเบี้ยไปก่อนชำระเบี้ยสำเร็จ
ท่านสามารถกลับมาชำระเบี้ยเพื่อให้ใบคำขอได้เข้าสู่ขบวนการพิจารณาต่อไปได้ (กรณีเบี้ยไม่เกิน 50,000 บ.) โดยทำการใช้มือถือคลิกลิงก์ยืนยันใบคำขอลิงก์เดิมที่ทางระบบส่ง SMS/E-Mail ให้ท่านก่อนหน้า
จากนั้นคลิกเพื่อทำการชำระเบี้ยดังรูปได้ค่ะ
เมื่อท่านชำระเบี้ยเรียบร้อย จะสามารถรอบริษัทฯ พิจารณาคำขอทำประกันของท่านประมาณ 3-5 วันทำการ และหากจำเป็นต้องมีการร้องขอข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ เพิ่มเติม ทาง Release your Risk จะรีบแจ้งท่านโดยเร็วต่อไปค่ะ
การขอเอกสารเพิ่มเติมและรูปแบบผลการพิจารณา
- ฝ่ายพิจารณาขอข้อมูลเพิ่มเติม (MEMO) : โดยมีขบวนการแล้วเสร็จภายใน 30 วันดังลิงก์นี้ค่ะ >> ดูขั้นตอน MEMO
โดยเบื้องต้นจะมีเกณฑ์การขอให้ตรวจสุขภาพดังทุนชีวิตและช่วงอายุต่อไปนี้
- รวมไปถึงหากมีทุนประกันชีวิตที่สูง ด้วยกฏหมาย ปปง. ที่ป้องการฟอกเงินที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก และ BLA เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้น (SET100) จึงทำให้ต้องเข้มงวดมากเป็นพิเศษ โดยจะมีหลักเกณฑ์การขอเอกสารเพิ่มเติมอีกดังนี้ (ลิงก์เอกสาร แบบสอบถามสำหรับการประกันวงเงินสูง )
- ฝ่ายพิจารณายื่นข้อเสนอการรับประกัน (COUNTER OFFER) : โดยมีขบวนการแล้วเสร็จภายใน 15 วันดังลิงก์นี้ >> ดูขั้นตอน COUNTER OFFER
- ฝ่ายพิจารณารับทำประกัน (APPROVED) : ความคุ้มครองจะเริ่มตั้งแต่วันที่ได้ชำระเบี้ยประกัน หรือวันที่ส่งเอกสาร Memo ครบถ้วน หรือวันที่ตอบรับข้อเสนอ โดยจะนับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังสุดค่ะ
วิธีชำระเบี้ยประกันหลังทราบผลพิจารณาอนุมัติรับทำประกัน
(กรณีเบี้ยเกิน 50,000 บ. และ เลือกชำระเบี้ยภายหลัง)
หลังจากบริษัทฯ พิจารณา อนุมัติรับทำประกัน ให้ท่านเรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้ความคุ้มครองของท่านเริ่มมีผลบังคับ ท่านสามารถชำระเบี้ยประกันภัยภายใน 15 วันหรือตามวันที่ระบุในเอกสารแจ้งชำระเบี้ยค่ะ
หมายเหตุ : ในกรณีนี้ระยะรอคอยจะเริ่มนับเมื่อมีการชำระเบี้ยประกันเรียบร้อยค่ะ
โดยกดเข้าลิงก์ใน e-mail ที่ท่านได้รับแจ้งผลการอนุมัติจากบริษัทฯ หรือลิงก์ที่ตัวแทน Release your risk ส่งให้ค่ะ
หลังจากนั้นใส่ "หมายเลขบัตรประชาชน" ของท่าน และเลือกวิธีการชำระเงินที่ท่านสะดวกที่สุดได้เลยค่ะ
หลังจากชำระเรียบร้อย ท่านจะได้รับ SMS/E-mail ยืนยันจากระบบของบริษัทฯ จากนั้นท่านจะได้รับ ใบรับเงินชั่วคราว ส่งทาง e-mail (หากไม่ได้รับ กรุณาติดต่อ Release your risk) ส่วนใบเสร็จรับเงินฉบับจริง บริษัทฯ จะจัดส่งไปให้ท่านหลังจากออกเลขที่กรมธรรม์ พร้อมกับ e-policy (ดูขั้นตอนการ download กรมธรรม์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์)
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"