เปรียบเทียบประกันชีวิตชั่วระยะเวลา Term Insurance ของ BLA
เพื่อที่จะสามารถเลือกแบบประกัน BLA ให้ได้ทุนชีวิตต่อเบี้ยสูงที่สุดในตลาด และกลายเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งที่ไว้สร้าง "ความสบายใจ" ให้พร้อมออกไปทำงาน โดยหมดความกังวลใจต่อคนข้างหลัง
* ประกันชีวิตชั่วเวลา หรือ Term คือ แบบประกันชีวิตที่จ่ายเบี้ยทุกปี เพื่อให้ได้ทุนชีวิตที่สูงที่สุดในทุกปี โดยอายุสัญญาจะขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เลือกว่าต้องการความคุ้มครองนานกี่ปี เช่น 10 ปี 15 ปี 18 ปี 20 ปี หรือ จนถึงอายุ 60 ปี
แบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA
เป็นแบบประกันที่ใช้ เบี้ยน้อยแแบบคงที่ เพื่อแลกทุนชีวิตสูงคงที่ในทุกปีจนครบอายุสัญญา การพิจารณารับทำประกันจึงค่อนข้างเข้มงวดอย่างมาก
เพราะมี พรบ.ป้องการฟอกเงิน การฉ้อฉลประกันภัย และมีเงื่อนไขการตรวจสุขภาพก่อนการรับประกันที่ค่อนข้างละเอียด (โดยเฉพาะหากทุนชีวิตสูงกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป)
โดยประกันชั่วระยะเวลา BLA จะแบ่งออกเป็น 3 แบบประกันด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. แบบสัญญาหลัก "คุ้มครอง 2 พลัส"
เป็นแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลาที่อยู่ในรูปแบบสัญญาหลัก
โดยจะเพิ่มความคุ้มครองทุพพลภาพถาวร (สัญญาเพิ่มเติม) จำนวน 3 เท่าของทุนชีวิตร่วมด้วย เพื่อให้สามารถคุ้มครองได้ทั้ง กรณีเสียชีวิตและกรณีทุพพลภาพถาวร แต่ด้วยเพราะการบังคับให้ความคุ้มครองทุพพลภาพถาวร จึงทำให้เบี้ยสูงขึ้นกว่าอีก 2 แบบที่จะกล่าวถึงพอสมควร โดยเฉพาะในตอนสูงอายุ
BLA คุ้มครอง 2 พลัส+
ทุนประกันเริ่มต้น 1,000,000 บาท
คุ้มครองและชำระเบี้ยคงที่ 10 ปี, 15 ปี หรือ 20 ปี
อายุรับทำ 20 - 65 ปี
บังคับแนบความคุ้มครองทุพพลภาพถาวร 300% ของทุน หรือขั้นต่ำ 3,000,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30,000,000 บาท)
*รับทำเฉพาะอาชีพความเสี่ยงขั้นที่ 1 , 2 และต้องแสดงเอกสารที่มาของรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน
* เสียชีวิตรับเงินทุนประกัน
ส่วนลดอัตราเบี้ย ต่อจำนวนเงินทุนประกันชีวิต 1,000 บาท
2. แบบสัญญาเพิ่มเติม "เฉพาะกาล"
เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ต้องแนบกับสัญญาหลักประกันชีวิตอื่น ๆ
สัญญาเพิ่มเติมเฉพาะกาลนี้จะสามารถเลือกทุนชีวิตได้สูงสุดที่ 10 เท่า(X) ของทุนประกันชีวิต (สัญญาหลัก) เช่น หากทำทุนชีวิตสัญญาหลักที่ 100,000 บ. จะสามารถทำทุนชีวิตเฉพาะกาลได้สูงสุดที่ 1,000,000 บ. เป็นต้น
จุดเด่นที่สำคัญของ "แบบเฉพาะกาล" คือ เบี้ยชีวิตมีอัตราถูกกว่าแบบ คุ้มครอง 2 พลัส รวมถึงหากทำทุนชีวิตสูง จะได้รับส่วนลดเบี้ยเพิ่มมากกว่าส่วนลดของคุ้มครอง 2 พลัส แต่ข้อจำกัด คือระยะเวลาคุ้มครองสูงสุดเพียง 18 ปีเท่านั้น
โดยสัญญาหลักที่มักจะใช้เป็นตัวพ่วงกับสัญญาเพิ่มเติม "เฉพาะกาล" มีดังนี้
2.1
สัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพ (เช่น ตลอดชีพสุดคุ้ม 20/99)
หากต้องการให้กรมธรรม์มีความคุ้มครองตลอดชีพร่วมด้วย ภายหลังจากที่สัญญาเฉพาะกาลได้สิ้นสุดผลบังคับลงเรียบร้อย
2.2
สัญญาหลักประกันชีวิตชั่วระยะเวลา (เช่น คุ้มครอง2พลัส+ ระยะเวลาตามปีคุ้มครองของแบบเฉพาะกาล)
หากต้องการเบี้ยที่ประหยัดที่สุดในตลาดที่ทุนความคุ้มครอง 2,000,000 บาทเป็นต้นไปและยังได้รับความคุ้มครองทุพพลภาพถาวรเพิ่มเติม รวมถึงไม่ต้องการให้กรมธรรม์มีความคุ้มครองต่อไปอีกในภายหลังที่สัญญาเฉพาะกาลได้สิ้นสุดผลบังคับลงเรียบร้อย
สัญญาเพิ่มเติม "เฉพาะกาล"
ทุนประกันเริ่มต้น 100,000 บาท (ทุนสูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของทุนประกันสัญญาหลัก)
คุ้มครองและชำระเบี้ยคงที่ 10 ปี, 15 ปี หรือ 18 ปี
อายุรับทำ 15 - 60 ปี
บังคับพ่วงกับสัญญาหลักประกันชีวิต
* เสียชีวิตรับทุนประกัน พร้อมกับทุนสัญญาหลัก
ส่วนลดอัตราเบี้ย ต่อจำนวนเงินทุนประกันชีวิต 1,000 บาท
3. แบบสัญญาหลัก "พรีเมียร์ ลิงก์" (เน้นทุนชีวิตสูง)
ประกันชีวิตควบการลงทุนที่ให้เพดานจำนวนเท่า(X) ของทุนชีวิตต่อเบี้ยที่สูงสุดในตลาด โดยเฉพาะหากเริ่มทำประกันตอนอายุ 30 - 40 ปี (จะสามารถเลือกเพดานทุนชีวิตสูงสุดคงที่ได้ตลอดไปตามอายุที่เริ่มทำประกัน ด้วยเบี้ยคงที่เท่าเดิม จนกว่ามูลค่ากรมธรรม์จะหมด)
เช่น ชายอายุ 30 ปี จ่ายเบี้ย 12,000 บ./ปี ทุกปี จะได้ทุนชีวิตสูงสุดที่ 200x (หรือจำนวน 12,000 x 200 = 2,400,000 บาท) ไปทุกปี จนกระทั่งมูลค่ากรมธรรม์จะหมดที่ประมาณอายุ 60 ปี (ด้วยผลตอบแทนการลงทุนคาดการณ์ที่ 2% ต่อปี)
ประกันแบบนี้จะไม่ได้กำหนดระยะความคุ้มครองที่ชัดเจนว่าได้กี่ปี ขอเพียงในกรมธรรม์ยังมีมูลค่าเหลืออยู่ ก็จะยังคงให้ความคุ้มครองต่อไปเรื่อย ๆ ได้ (มักจะให้ความคุ้มครองได้ยาวถึงช่วงอายุ 60 ปี) โดยไม่ต้องเติมเงินพิเศษเพิ่มเข้าไปในกรมธรรม์
สำหรับประกันชีวิตควบการลงทุนที่เน้นจำนวนเท่าของทุนชีวิตต่อเบี้ยสูงสุดนั้น จำเป็นต้องเน้นที่พอร์ตการลงทุนความเสี่ยงต่ำ (ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยอยู่ที่ 1-3% ต่อปี) เพื่อป้องกันปีที่ตลาดเป็นขาลง แล้วพอร์ตติดลบหนัก และอาจทำให้กรมธรรม์ต้องปิดตัวลงก่อนอายุ 60 ปีได้
BLA Premier Link (แบบชั่วระยะเวลา)
ลงทุนในพอร์ตความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนคาดการณ์ 1-3% ต่อปี
เน้นทุนชีวิตสูงคงที่ด้วบเบี้ยที่น้อยคงที่ คุ้มครองจนถึงถึงอายุ 60 ปี
เบี้ยประกันขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อปี
คุ้มครองและชำระเบี้ยคงที่ทุกปีจนถึงอายุ 60 ปี
อายุรับทำ : แรกเกิด - 70 ปี
เลือกทุนประกันสูงสุด 200-250 เท่าของเบี้ย (ตามเพศและอายุที่เริ่มทำ)
* เสียชีวิตรับทุนประกัน
เปรียบเทียบเบี้ยประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA
การเลือกแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลานั้นยังมีทั้ง ปัจจัยทางด้านอายุ เพศ อาชีพ และสุขภาพ ที่ต้องพิจารณาประกอบ เพราะแม้จะจ่ายเบี้ยเท่ากันแต่ทุนชีวิตที่ได้จะได้แตกต่างกันไป ตามปัจจัยข้างต้น อีกทั้งแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลาแต่ละแบบจะมีความเหมาะสมเฉพาะในบางช่วงอายุเท่านั้น
ทาง Release your Risk จึงได้ทำการเปรียบเทียบทั้งในส่วนหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพ และเปรียบเทียบเบี้ยที่ทุนความคุ้มครองชีวิตเท่ากันที่ 5,000,000 บาท (แต่หากต้องการทุนชีวิตมากขึ้น เช่น 10,000,000 บาท จะสามารถนำเบี้ยในตารางมาคูณ 2 เพื่อคำนวณหาเบี้ยสำหรับทุน 10 ล้านบาทได้ทันที)
1. ตารางเบี้ยประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA เพศชาย
จากตารางจะเห็นได้ว่า หากต้องการทุนประกันชีวิตที่ 5,000,000 บาท
คุ้มครอง2พลัส ทุน 5,000,000 บ.
จะถูกบังคับให้ทำสัญญาเพิ่มเติมทุพพลภาพถาวร 3 เท่าของทุนหรือ 15,000,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท)
พรีเมียร์ลิงก์ (ยูนิตลิงก์)
จะสามารถทำทุน 5,000,000 บ. ได้โดยไม่ถูกบังคับทำสัญญาเพิ่มเติมใด ๆ
เฉพาะกาล (สัญญาเพิ่มเติม)
จะต้องเลือกทุนให้สอดคล้องกับสัญญาหลักที่เลือก
- ถ้าเป็น ตลอดชีพสุดคุ้ม ทุนชีวิตอยู่ที่ 454,546 บ. + เฉพาะกาล 4,545,454 บ. (ไม่เกิน 10 เท่าของทุนสัญญาหลัก) = 5,000,000 บ.
- ถ้าเป็น คุ้มครอง2พลัส ทุนเริ่มต้น 1,000,000 บ. (บังคับทุนทุพพลถาวรภาพ 3 เท่าหรือ 3,000,000) + เฉพาะกาล 4,000,000 บ. (ไม่เกิน 10 เท่าของทุนสัญญาหลัก) = 5,000,000 บ.
จากตาราง ชาย อายุ 45 ปี ต้องการความคุ้มครองนาน 15 ปี เบี้ยน้อยที่สุดคงที่ ที่ทุนชีวิต 5 ล้านคงที่
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส15ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 65,640 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 47,655 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส20ปี+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 45,510 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก พรีเมียร์ลิงก์ คาดการณ์คุ้มครองถึงอายุ 60 ปี (หรือ 16 ปี) จะจ่ายเบี้ยปีละ 50,000 บ. คงที่ 16 ปี
*หรือ หากต้องการทุนชีวิต 10 ล้านบาท จะสามารถนำเบี้ยด้านบน x2 ได้ เช่น พรีเมียร์ลิงก์ 10 ล้าบบาท เบี้ยปีละ 50,000 x 2 = 100,000 บาท เป็นต้น
ข้อสังเกตุ :
ด้วยอายุที่ประมาณอีก 20 ปีก็จะเกษียณอายุ ( 60 ปี) และเบี้ยที่น้อยกว่าอย่างชัดเจนรวมถึงมีความแน่นอนสูงกว่า จึงทำให้ช่วงอายุ 41-50 ปี แบบ คุ้มครอง2พลัส+เฉพาะกาล จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด
เนื่องด้วยเป็นช่วงอายุที่มีรายได้สูง (ที่มักตามมาด้วยภาระที่สูงมากเช่นกัน) ทำให้การได้ทั้งการการันตีระยะเวลาคุ้มครองและเบี้ยที่น้อยกว่าจึงเป็นสิ่งจำเป็น
โดยการจัดแบบ คุ้มครอง2พลัส + เฉพาะกาล ยังทำให้ได้ความคุ้มครองทุพพลภาพถาวรมาด้วยส่วนหนึ่ง และเบี้ยยังประหยัดกว่าการซื้อแบบพรีเมียร์ลิงก์ + ทุพพลภาพถาวร
อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แบบคุ้มครอง2พลัสจะเริ่มมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดก่อนทำประกัน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องมั่นใจว่ามีประกันสุขภาพเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะตัดสินใจตรวจสุขภาพเพื่อทำประกันชนิดนี้ (เพราะไม่งั้นหากผลตรวจสุขภาพออกมาไม่ดี ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้อาจทำประกันนี้ไม่ได้ แต่อาจส่งผลให้ทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายบางแบบไม่ได้เช่นกันด้วย)
จากตาราง ชาย อายุ 51 ปี ต้องการความคุ้มครองนาน 10 ปี เบี้ยน้อยที่สุดคงที่ ที่ทุนชีวิต 5 ล้านคงที่
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส10ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 83,520 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 59,045 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส20ปี+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 57,045 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก พรีเมียร์ลิงก์ คาดการณ์คุ้มครองถึงอายุ 60 ปี (หรือ 10 ปี) จะจ่ายเบี้ยปีละ 100,000 บ. คงที่ 10 ปี
*หรือ หากต้องการทุนชีวิต 10 ล้านบาท จะสามารถนำเบี้ยด้านบน x2 ได้ เช่น พรีเมียร์ลิงก์ 10 ล้าบบาท เบี้ยปีละ 100,000 x 2 = 200,000 บาท เป็นต้น
ข้อสังเกตุ :
เช่นเดียวกับช่วงอายุ 41-50 ปี ที่ ช่วงอายุ 51-60 ปี ก็จะเหมาะกับแบบ ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล/คุ้มครอง2พลัส+เฉพาะกาล เช่นกัน
แต่จะเห็นได้ว่าเบี้ยประกันปรับตัวขึ้นสูงตามอายุไปมาก และเบี้ยเริ่มมีความใกล้เคียงกับแบบประกันชีวิตตลอดชีพ จึงทำให้การได้ทั้งออมเงินเผื่อสภาวะฉุกเฉินและได้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปด้วยนั้นแม้เบี้ยจะแพงกว่าแต่ก็น่าสนใจกว่าจ่ายเบี้ยที่ไม่มีการออมเลยแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลา
ดังนั้นในช่วงอายุ 51-60 ปี ที่เบี้ยแบบชั่วระยะเวลาเริ่มน้อยกว่าเบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพไม่มากนัก การเริ่มหันมาพิจารณาประกันชีวิตตลอดชีพอย่าง BLA Prestige Life 99/5 (ที่จ่ายเบี้ยสั้นและน้อยที่สุดในตลาดสำหรับทุนชีวิต 5 ล้านบาทขึ้นไป และมูลค่าเวนคืนเกินเบี้ยที่จ่ายไปใช้เวลาเพียง 12 ปี) จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจอย่างมากเมื่อมีอายุ 51 ขึ้นไป
โดยสรุปแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA ชาย
พรีเมียร์ลิงก์
จะมีเรื่องการลงทุนที่ไม่การันตีผลตอบแทนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การที่มีเวลาให้เงินเติบโตได้นานมากเท่าใด ย่อมลดความผันผวนได้มาก และทำให้การคาดการณ์ระยะความคุ้มครองมีความแม่นยำได้มากขึ้น จึงเหมาะอย่างยิ่งกับอายุ 20-40 ปี
ตลอดชีพสุดคุ้ม + เฉพาะกาล หรือ คุ้มครอง2พลัส + เฉพาะกาล
เหมาะกับอายุ 41-50 ปี (หากจะเกษียณอายุ 60 ปี) จะได้เบี้ยที่ประหยัดกว่า และแบบตลอดชีพสุดคุ้มก็มีมูล่าสะสมไว้ในกรมธรรม์ร่วมด้วย (ไม่ได้จ่ายทิ้งทั้งหมด)
พิจารณา ประกันชีวิตตลอดชีพ แทน
เหมาะกับอายุ 51-60 ปี เนื่องจากเบี้ยแบบชั่วระยะเวลาเริ่มแตกต่างกับเบี้ยตลอดชีพไม่มาก (เช่น แบบ Prestige Life ) และแบบตลอดชีพเองก็สามารถตัดสินใจหยุดจ่ายเบี้ยในปีที่ต้องการ แล้วเปลี่ยนเป็นมูลค่าสำเร็จ ได้ (คือ ทุนชีวิตลดลงแต่ได้ความคุ้มครองยาวถึงอายุ 99 ปี) หรือหยุดจ่ายเบี้ยแล้วเลือก ขยายระยะเวลา (คือ ได้ทุนชีวิตเท่าเดิมแต่ความคุ้มครองจะสั้นลงไม่ถึงอายุ 99 ปี) หรือ แม้แต่การเวนคืนกรมธรรม์ ( คือ ยกเลิกสัญญา แล้วคืนมูลค่าที่มีในกรมธรรม์กลับมา )
รวมไปถึง แบบ Prestige Life ยังใช้เกณฑ์เฉพาะการแถลงสุขภาพถึงอายุ 55 ปี ที่ทุนไม่เกิน 20 ล้านบาท จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
*บางแบบประกันชีวิตในลิงก์อาจปิดรับสมัครใหม่เรียบร้อยแล้ว
2. ตารางเบี้ยประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA เพศหญิง
จากตารางจะเห็นได้ว่า หากต้องการทุนประกันชีวิตที่ 5,000,000 บาท
คุ้มครอง2พลัส ทุน 5,000,000 บ.
จะถูกบังคับให้ทำสัญญาเพิ่มเติมทุพพลภาพถาวร 3 เท่าของทุนหรือ 15,000,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท)
พรีเมียร์ลิงก์ (ยูนิตลิงก์)
จะสามารถทำทุน 5,000,000 บ. ได้โดยไม่ถูกบังคับทำสัญญาเพิ่มเติมใด ๆ
เฉพาะกาล (สัญญาเพิ่มเติม)
จะต้องเลือกทุนให้สอดคล้องกับสัญญาหลักที่เลือก
- ถ้าเป็น ตลอดชีพสุดคุ้ม ทุนชีวิตอยู่ที่ 454,546 บ. + เฉพาะกาล 4,545,454 บ. (ไม่เกิน 10 เท่าของทุนสัญญาหลัก) = 5,000,000 บ.
- ถ้าเป็น คุ้มครอง2พลัส ทุนเริ่มต้น 1,000,000 บ. (บังคับทุนทุพพลถาวรภาพ 3 เท่าหรือ 3,000,000) + เฉพาะกาล 4,000,000 บ. (ไม่เกิน 10 เท่าของทุนสัญญาหลัก) = 5,000,000 บ.
จากตาราง ชาย อายุ 45 ปี ต้องการความคุ้มครองนาน 15 ปี เบี้ยน้อยที่สุดคงที่ ที่ทุนชีวิต 5 ล้านคงที่
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส10ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 34,280 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 29,650 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส20ปี+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 24,190 บ. คงที่ 15 ปี
- หากเลือก พรีเมียร์ลิงก์ คาดการณ์คุ้มครองถึงอายุ 60 ปี (หรือ 10 ปี) จะจ่ายเบี้ยปีละ 33,333 บ. คงที่ 16 ปี
*หรือ หากต้องการทุนชีวิต 10 ล้านบาท จะสามารถนำเบี้ยด้านบน x2 ได้ เช่น พรีเมียร์ลิงก์ 10 ล้าบบาท เบี้ยปีละ 33,333 x 2 = 66,666 บาท เป็นต้น
ข้อสังเกตุ :
ด้วยเพราะค่าการประกันภัยของทั้งชีวิตและทุพพลภาพถาวรในผู้หญิงนั้นจะถูกกว่าผู้ชายค่อนข้างมาก จึงทำให้ คุ้มครอง2พลัส+เฉพาะกาล มีเบี้ยที่น่าสนใจมากในช่วงอายุ 41 - 50 ปี ด้วยเบี้ยที่ประหยัดกว่าแบบพรีเมียร์ลิงก์ (ไม่นับรวมมุมมองว่า พรีเมียร์ลิงก์อาจมีโอกาสได้เงินสะสมในกรมธรรม์เหลือมากกว่า แบบคุ้มครอง 2 พลัส)
แต่ก็ต้องระวังเกณฑ์การตรวจสุขภาพให้ดี ๆ
จากตาราง ชาย อายุ 51 ปี ต้องการความคุ้มครองนาน 10 ปี เบี้ยน้อยที่สุดคงที่ ที่ทุนชีวิต 5 ล้านคงที่
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส10ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 44,960 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 36,495 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก คุ้มครอง2พลัส20ปี+เฉพาะกาล18ปี จะจ่ายเบี้ยปีละ 30,843 บ. คงที่ 10 ปี
- หากเลือก พรีเมียร์ลิงก์ คาดการณ์คุ้มครองถึงอายุ 60 ปี (หรือ 10 ปี) จะจ่ายเบี้ยปีละ 55,556 บ. คงที่ 10 ปี
*หรือ หากต้องการทุนชีวิต 10 ล้านบาท จะสามารถนำเบี้ยด้านบน x2 ได้ เช่น พรีเมียร์ลิงก์ 10 ล้าบบาท เบี้ยปีละ 55,556 x 2 = 111,112 บาท เป็นต้น
ข้อสังเกตุ :
ช่วงอายุ 51-60 ปี จะเหมาะกับแบบ ตลอดชีพสุดคุ้ม+เฉพาะกาล / คุ้มครอง2พลัส+เฉพาะกาล ที่ให้เบี้ยและระยะเวลาคุ้มครองที่เหมาะสมที่สุด
อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุในช่วงนี้ที่หากได้ทั้งออมและได้ความคุ้มครองชีวิตร่วมด้วย (แม้จ่ายเบี้ยสูงกว่าแต่อาจน่าสนใจกว่าการจ่ายเบี้ยแบบไม่ออมเลย) ดังนั้นการพิจารณาประกันชีวิตตลอดชีพอย่าง BLA Prestige Life 99/5 (ที่จ่ายเบี้ยสั้นและน้อยที่สุดในตลาดสำหรับทุนชีวิต 5 ล้านบาทขึ้นไป และมูลค่าเวนคืนเกินเบี้ยที่จ่ายไปใช้เวลาเพียง 11 ปี) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเมื่อมีอายุ 51-60 ปี หรืออายุหลังจากนี้
รวมไปถึง แบบ Prestige Life ยังใช้เกณฑ์เฉพาะการแถลงสุขภาพถึงอายุ 55 ปี ที่ทุนไม่เกิน 20 ล้านบาท จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
โดยสรุปแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลา BLA หญิง
เบี้ยถูกกว่าเพศชาย
ด้วยค่าการประกันภัยในส่วนชีวิตและทุพพลภาพถาวรของเพศหญิงนั้นจะน้อยกว่าเพศชายพอสมควร จึงทำให้เบี้ยมักจะถูกกว่า
พรีเมียร์ลิงก์
เป็นอีกหนึ่งแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมอย่างมากในเพศหญิง อายุ 20-40 ปี
คุ้มครอง 2 พลัส + เฉพาะกาล
จะเหมาะกับเพศหญิง อายุ 41-50 ปี ด้วยเบี้ยที่ประหยัดที่สุด แต่ก็ต้องระวังเรื่องเกณฑ์การตรวจสุขภาพ
Prestige Life
หากเน้นเป็นประกันมรดก แบบเพรสทีจ ไลฟ์ อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าของเพศหญิง ช่วงอายุ 51-60 ปี
*บางแบบประกันชีวิตในลิงก์อาจปิดรับสมัครใหม่เรียบร้อยแล้ว
เปรียบเทียบเกณฑ์การตรวจสุขภาพ
เกณฑ์การตรวจสุขภาพตามทุนชีวิตที่เลือกของแต่ละแบบประกันชั่วระยะเวลา จะมีเกณฑ์แตกต่างกันไป
โดยบางแบบแม้ทุนประกันสูงแต่จะใช้เพียงการแถลงสุขภาพเท่านั้น ในขณะที่บางแบบจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดร่วมด้วย ซึ่งผลตรวจที่ได้อาจส่งผลต่อการทำประกันอื่น ๆ อย่างประกันสุขภาพไปด้วยได้ และทำให้อาจจำเป็นต้องวางแผนทำประกันสุขภาพให้เรียบร้อยก่อนทำประกันชีวิตทุนสูง
1. เกณฑ์การตรวจสุขภาพ 'ประกันไม่ควบการลงทุน'
จากตารางจะเห็นได้ว่า ประกันแบบไม่ควบการลงทุน จะมีช่วงเกณฑ์อายุและทุนของ การแถลงสุขภาพ ที่ค่อนข้างแคบ ทำให้ในช่วงอายุ 40 ปีเป็นต้นไป ที่เบี้ยประกันแบบนี้จะเริ่มได้เปรียบกว่าประกันแบบควบการลงทุน แต่กลายเป็นว่าจะต้องมีการตรวจสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว หากทุนประกันชีวิตเกิน 3 ล้านบาทเท่านั้น
2. เกณฑ์การตรวจสุขภาพ 'ประกันควบการลงทุน'
จากตารางจะเห็นได้ว่า ประกันพรีเมียร์ลิงก์ (ยูนิตลิงก์ ควบการลงทุน) มีช่วงเกณฑ์อายุและทุนประกันของ การแถลงสุขภาพ ที่กว้างกว่า แบบประกันชีวิตที่ไม่ควบการลงทุนทั้งหมด อย่างไรก็ตามหากทุนประกันชีวิตที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป อย่างไรแล้วก็จะต้องตรวจสุขภาพ เนื่องด้วยเบี้ยประกันที่น้อย แต่ทุนชีวิตสูง ทำให้การพิจารณาต้องมีความเข้มงวดเป็นพิเศษอย่างมาก
จากตารางเกณฑ์การตรวจสุขภาพด้านบน จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันชีวิตทุนสูง ๆ ที่ต้องระวังให้ดี
โดยเฉพาะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ความดัน) การตรวจเลือด (เบาหวาน ไต ตับ) หากพบว่าค่าใดมีความผิดปกติ (ไม่อยู่ในเกณฑ์) จะส่งผลต่อการรับทำประกันอย่างมาก ซึ่งมีทั้งการปฏิเสธการรับประกัน การเลื่อนการรับประกัน และ การเพิ่มเบี้ยรับความเสี่ยง
แน่นอนว่าหากยังไม่ได้ทำประกันสุขภาพให้เรียบร้อยก่อน แล้วจะทำภายหลังก็จะได้รับผลกระทบจากผลตรวจสุขภาพนี้ตามไปด้วย นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมจึงไม่ควรมีประวัติตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน (โดยเฉพาะการตรวจที่มีความละเอียด)
เพราะบางอย่าง ไม่รู้ ไม่เจอ ย่อมไม่ผิด แต่ถ้าไปตรวจแล้วพบอะไรบางอย่าง ย่อมจะกลายเป็นหลักฐานทางตัวอักษรที่ฝ่ายพิจารณายากจะหลีกเลี่ยงได้ เว้นแต่ได้ทำประกันสุขภาพเรียบร้อยก่อนไปตรวจ เพราะต่อให้ตรวจเจออะไรบางอย่างภายหลัง ก็ยังสบายใจได้ว่ามีประกันสุขภาพคอยดูแลเรื่องค่ารักษาอยู่
บทสรุป
วิธีการเลือกแบบประกันชั่วระยะเวลา BLA
หากอายุไม่เกิน 40 ปี BLA Premier Link จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในเรื่องเบี้ยและทุนที่ได้ รวมถึงระยะเวลาความคุ้มครอง
แต่ถ้าหากอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป สัญญาเพิ่มเติมเฉพาะกาล จะเป็นคำตอบที่น่าสนใจมากขึ้นทันที อย่างไรก็ตามเกณฑ์การตรวจสุขภาพของเฉพาะกาลจะมีความเข้มงวดกว่ามาก
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลาของ BLA แตกต่างกันนั้น จะอยู่ที่ความคุ้มครองในส่วน ทุพพลภาพถาวร เนื่องจาก 'คุ้มครอง2พลัส' จะบังคับให้มีความคุ้มครองนี้สูงถึง 3 เท่าของทุนชีวิต
ในขณะที่แบบชั่วระยะเวลาอื่น ๆ จะไม่ได้บังคับ และเลือกทุนทุพพลภาพที่ต้องการเองได้ (แต่เบี้ยทุพพลภาพถาวรแบบเลือกเองจะเพิ่มตามอายุ ไม่ได้คงที่เหมือน 'คุ้มครอง2พลัส')
ดังนั้นการเลือกว่าจะทำประกันแบบใดดี จึงอาจต้องพิจารณาความสำคัญของ ความคุ้มครองทุพพลภาพถาวร ร่วมด้วยดังนี้
ทุพพลภาพจำเป็นหรือไม่
ทุพพลภาพถาวร เป็นอีกหนึ่งความคุ้มครองที่มักพิจารณาร่วมกันกับประกันชีวิต จนบางบริษัทประกันอาจมีการบังคับให้ทำทุพพลภาพถาวรด้วยจำนวนทุนเท่ากับทุนชีวิตไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งมักพบเจอได้ในแบบประกันควบการลงทุน ที่เบี้ยเหมือนจะคงที่ แต่ไส้ในกรมธรรม์พบว่ามีทั้งค่าการประกันภัยของทั้งทุพพลภาพถาวรและของประกันชีวิตที่ไม่ได้คงที่ตามเบี้ย แต่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ
ทำให้ทุพพลภาพถาวรจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประกันควบการลงทุนลักษณะนี้ กับประกันแบบคุ้มครอง 2 พลัส มีค่าการประกันภัยที่ค่อนข้างสูงในตอนที่อายุมาก เนื่องจากถูกบังคับให้ทำทุพพลภาพถาวรด้วยนี้เอง
อย่างไรก็ตาม โอกาสการเคลมทุพพลภาพถาวรนั้นจะค่อนข้างน้อย (เว้นเสียแต่เกิดเหตุพิการแขน ขา และ/หรือตา รวมกัน 2 ข้างขึ้นไป) โดยจะต้องเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป พร้อมมีการรับรองโดยแพทย์ จึงจะสามารถเคลมประกันส่วนทุพพลภาพถาวรนี้ได้
หลายคนจึงเลือกที่จะโอนความเสี่ยงทุพพลภาพถาวรแบบที่ระบุสาเหตุว่ามาจากอุบัติเหตุผ่าน ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) มากกว่า เพราะเบี้ยจะประหยัดกว่าในตอนสูงอายุ
รายละเอียดเพิ่มเติม
ในส่วนของการเลือกแบบประกันของ BLA การพิจารณาตารางเบี้ย อายุ เพศ และเกณฑ์ตรวจสุขภาพ จะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ทุพพลภาพถาวรนั้นควรเลือกให้อยู่ในแบบประกันแบบใดดี รวมถึงการให้ความสำคัญของระยะเวลาการคุ้มครองชีวิต
อย่างไรก็ตาม บทความนี้เป็นการเปรียบเทียบในปัจจัยส่วนที่พบเห็นได้ง่ายของแบบประกันชั่วระยะเวลาทั้ง 3 แบบของ BLA เท่านั้น
โดยหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละแบบประกันชีวิตชั่วระยะเวลาของ BLA เพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้เงินคืนภาษีที่ได้ มาแลกความคุ้มครองชีวิตที่สูง จะสามารถดูรายเพิ่มเติมได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้
การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง
เริ่มขึ้น..เมื่อ
เข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงิน