5
ศัตรูร้าย

ที่พร้อม ทำลายฐานะ  และ เงินออม ของคุณกับครอบครัว หากไม่เข้าใจวิธีการออมและวางแผนภาษีส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

5 ศัตรูนี้มาในรูปแบบของเหตุการณ์ร้าย ที่ทุกคนรู้ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งยังสามารถทำลายฐานะการเงินได้อย่างร้ายแรง แต่คนส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะไม่ทำความเข้าใจ และ ใช้เครื่องมือลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมสำหรับเตรียมการรองรับกับเหตุการณ์เหล่านี้ 

จนสุดท้ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น จึงจำต้องแก้ไขสถานการณ์แบบฉุกเฉินโดยมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าการเตรียมการล่วงหน้าอย่างมาก และ อาจตามมาด้วยดอกเบี้ยอีกมากมาย

ฐานะทางการเงิน
อาจสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับชั้น

Social class pyramid release your risk 2

จะสามารถเปรียบเทียบฐานะทางการเงินครอบครัวได้ดังภาพด้านบน ที่แสดงถึงสัดส่วนระหว่างรายได้ รายจ่ายและหนี้บริโภคทั้ง 4 แบบ หรือ 4 ระดับชั้น

ซึ่งแต่ละครอบครัวจะเสมือนอาศัยอยู่ในบอลลูนที่ลอยขึ้นลงอยู่ระหว่าง 4 ระดับชั้นนี้ อันประกอบไปด้วย

ชั้น 4

หรูหรา

มีรายได้หลายทาง มากกว่ารายจ่าย

ชั้น 3

สะดวกสบาย

มีรายได้มากกว่ารายจ่ายและหนี้บริโภค

ชั้น 2

ขัดสน

มีรายจ่ายและหนี้บริโภคมากกว่ารายได้

ชั้น 1

ยากลำบาก

ต้องอาศัยสวัสดิการภาครัฐ

ผู้คนโดยส่วนใหญ่จะพยายามหาทางเลื่อนฐานะตนเองและครอบครัวให้ไปอยู่ที่ชั้น 3-4 โดยมักลืมไปว่าไม่ว่าจะอยู่ชั้นฐานะใด ก็ไม่สามารถหลีกหนี 5 ศัตรูหรือ 5 เหตุการณ์ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ล่วงตกชั้นฐานะลงมาได้

เนื่องด้วยพาหนะบอลลูนที่ลอยขึ้นลงของครอบครัวนั้น จะลอยได้ด้วย ไฟจากรายได้ของการทำงาน ถ่วงน้ำหนักด้วย ค่าใช้จ่าย และ หนี้บริโภค ที่มี

จึงทำให้หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ รายได้ลดลงหรือหายไป พร้อมกับไปทำให้ ค่าใช้จ่ายและหนี้บริโภคสูงมากขึ้น "อย่างรุนแรง" ก็ย่อมทำให้บอลลูนล่วงลงต่ำและลดชั้นฐานะได้อย่างรวดเร็วมาก

แน่นอนว่าแต่ละครอบครัวคงไม่อยากที่จะเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้ แต่น่าเสียดายที่เหตุการณ์เหล่านี้ มีมากถึง 5 เหตุการณ์ที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ 

Balloon with debt

5
เหตุการณ์ศัตรูร้าย
ลดชั้นฐานะทางการเงินได้อย่างไร

เหตุการณ์ร้ายที่คอยโจมตีบอลลูนของแต่ละครอบครัวที่กำลังลอยอยู่ในชั้นฐานะการเงินต่าง ๆ จะประกอบด้วย 5 เหตุการณ์ศัตรูร้าย ดังต่อไปนี้

1.เหตุการณ์ Death release your risk 1

1

เหตุการณ์ Death / Permanent Disablement :

ไฟจากรายได้การทำงานหายไปกระทันหันและถาวร (เมื่อสมาชิกที่หารายได้จากไปกระทันหัน หรือ ทุพพลภาพถาวร)

เหตุการณ์ Critical Illness release your risk

2

เหตุการณ์ Critical Illness :

ไฟจากรายได้การทำงานต้องลดลงถาวรพร้อมหินถ่วงค่ารักษาก้อนใหญ่ตลอดชีพ (เมื่อสมาชิกไม่สามารถทำงานเดิมได้อีก จากสภาพร่างกายที่ถดถอยเปลี่ยนไปถาวร)

3.เหตุการณ์ illness release your risk

3

เหตุการณ์ illness :

ไฟจากรายได้การทำงานหายไปชั่วคราวพร้อมหินถ่วงค่ารักษาก้อนใหญ่ (เมื่อสมาชิกเจ็บป่วยเข้าผ่าตัด แต่ยังกลับมาทำงานเดิมได้)

4. เหตุการณ์ Retirement release your risk

4

เหตุการณ์ Retirement :

ไฟจากรายได้การทำงานหมดลง (เมื่อสมาชิกเกษียณจากการทำงาน)

5. เหตุการณ์ Education Fee release your risk

5

เหตุการณ์ Education fee :

ไฟจากรายได้ถูกหินถ่วงก้อนใหญ่ (เมื่อสมาชิกต้องจ่ายค่าเล่าเรียนระดับสูง และค่าใช้จ่ายเพื่อให้สมาชิกเตรียมออกมาสร้างไฟครอบครัวตนเองต่อในอนาคต)

5 เหตุการณ์นี้ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เพียงดับไฟบอลลูนลง แต่ยังตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาล หรือได้ก้อนหินถ่วงบอลลูนก้อนใหญ่มาด้วย

ทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นกับสมาชิกแต่ละคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งพร้อมที่จะทำให้บอลลูนล่วงตกไปอยู่ระดับชั้น 2 หรือแม้แต่ชั้น 1 ได้ในเวลาไม่นาน

balloon money fire release your risk

แต่..มีเพียงสิ่งเดียวที่พอจะช่วยทำให้บอลลูนของครอบครัวยังสามารถอยู่ในชั้นเดิมต่อไปได้แม้ต้องเผชิญกับ 5 เหตุการณ์นี้ ซึ่งสิ่งนั้นคือ..?

วิธีป้องกัน
การถูกลดฐานะทางการเงินได้

โดยสิ่งเดียวที่จะช่วยป้องกันได้ คือ การวางแผนเตรียมแหล่งจ่ายไฟสำรอง (หรือแหล่งเงินสำรองไว้) รองรับกับเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เหล่านี้ 

ซึ่งน่าจะเป็นทางแก้ไขที่ตรงจุดที่สุด..แต่ปัญหาก็คือ สมาชิกในครอบครัวมักโฟกัสเพียงแต่ไฟจากการทำงานหารายได้เท่านั้น มากกว่าที่จะวางแผนเตรียมไฟสำรองที่จำเป็นกันอย่างจริงจัง

ทำให้โดยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า ราคาของไฟสำรองที่ควรเตรียมการล่วงหน้านั้นมีราคาถูกกว่าไฟปกติอย่างมาก แถมยังได้รับดอกเบี้ย เงืนคืนภาษี กลับคืนมา 

ซึ่งหากเตรียมการล่วงหน้าได้นานพอ ดอกเบี้ยกับเงินคืนภาษีที่ได้มานั้น มีโอกาสสูงที่จะมากกว่าราคาของไฟสำรองเสียอีก (เสมือนได้ไฟสำรองมาฟรี ๆ)

แต่..ด้วยเพราะความไม่รู้นี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่สมาชิกในบอลลูนส่วนใหญ่ เลือกที่จะรอให้เกิดเหตุขึ้นก่อนแล้วค่อยหาไฟฉุกเฉินทีหลังมากกว่าการเตรียมไฟสำรองไว้ล่วงหน้า

ทั้งนี้ปัญหาใหญ่ของไฟฉุกเฉิน คือ ราคาของไฟฉุกเฉินจะแพงมากกว่าไฟสำรองอย่างมาก และยังตามมาด้วยหินถ่วงก้อนใหญ่ (ดอกเบี้ยเงินกู้) ที่พร้อมจะฉุดบอลลูนให้ลงไปยังชั้นที่ 2 หรือชั้นที่ 1 ได้ตลอดเวลา

ไฟสำรองทางการเงิน release your risk

จะเลือกเป็น
คนหมู่มาก
ที่ยอมจ่ายแพง
หรือ จะเลือกเป็น
คนส่วนน้อย 
ที่จ่ายถูกกว่า

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มเห็นแล้วว่า สิ่งที่บอลลูนส่วนมากเลือกทำกันอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นเรื่องที่แปลก และคุณเองก็ไม่ต้องการที่จะเป็นหนึ่งในบอลลูนส่วนมากเหล่านี้

การเริ่มที่จะศึกษาเพื่อวางแผนการเตรียมไฟสำรองให้เหมาะสมกับบอลลูนของคุณมากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

โดยไฟสำรองนั้นมีหลายชนิดหลายขนาด การเตรียมไฟสำรองทั้งที่ยังไม่เข้าใจจะเป็นอันตรายอย่างมาก

เลวร้ายที่สุด..ไฟสำรองที่ได้มาอาจจะมีหน้าที่เพียงเพื่อปกป้องเงินที่ใช้ซื้อไฟสำรองมาเท่านั้น ไม่ได้ปกป้องไม่ให้บอลลูนล่วงลงไปชั้นที่น้อยกว่า แต่อย่างใด

ดังนั้นการเลือกซื้อไฟสำรอง จึงต้องเลือกซื้อด้วยความเข้าใจ (ไม่ใช่เพียงเพื่อได้เงินคืนภาษีอย่างเดียว)

หรือ ไม่ใช่ซื้อเพียงเพราะเชื่อในคำพูดคนขายที่ดูน่าเชื่อถือ ดูขายดี ลูกค้าเยอะ ซึ่งเป็นหลุมพรางที่เมื่อตกลงไป จะทำให้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะจ่าย

ไฟสำรองเพียงเพื่อลดหย่อนภาษี 3 release your risk

ไฟสำรองมีหลายแบบ หากเลือกใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์จะ
ประหยัดเงินได้อย่างมาก

ชนิดของ
ไฟสำรอง
แบบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง

โดยขนาดและชนิดของไฟสำรอง (เงินสำรอง) นั้น จะขึ้นอยู่กับว่าจะนำไฟสำรองมาใช้รองรับในเหตุการณ์ใดบ้างต่อไปนี้

ไฟสำรองทางการเงิน release your risk

ไฟสำรองแบบที่ 1 :
ใช้เป็นเงินสำรองทดแทนไฟรายได้ของผู้ที่หารายได้หลักของครอบครัว (เดอะแบก)

โดยไฟสำรองแบบนี้มักมีขนาดใหญ่ประมาณ 10-20 เท่าของรายได้ของเดอะแบกต่อปี และไฟสำรองขนาดใหญ่นี้มักจะมีระยะเวลา Stand by รอทำงานเพียง 10-20 ปี หรือจนถึงประมาณอายุ 60 ปีเท่านั้น

จึงทำให้ไฟสำรองแบบนี้ทำหน้าที่คล้ายกับประกันรถยนต์ที่จ่ายเงินชดเชยค่าซากรถที่ไม่สามารถซ่อมได้แล้ว เพียงแต่ไฟสำรองนี้จะเน้นไปที่บุคคล(แทนรถยนต์) โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ที่บุคคลนั้นต้องจากไป หรือถูกตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงแล้วทำงานต่อไม่ได้อีก ไฟสำรองนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นเงินทดแทนรายได้ของบุคคลในอีก 10 - 20 ปีข้างหน้าได้นั่นเอง 

ดังนั้นไฟสำรองแบบที่ 1 นี้ จะมีประโยชน์กับบอลลูนหรือครอบครัว ที่มีลูกอายุยังน้อยมากและไม่มีใครจะขึ้นมาทดแทนทำหน้าที่เป็นเดอะแบกแทนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

ไฟสำรองแบบที่ 2 :
ใช้เป็นเงินสำรองทดแทนไฟรายได้ 5 ปี ของเดอะแบก

เป็นไฟสำรองหรือเงินสำรองที่มีขนาด 5 เท่าของรายได้ต่อปีของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มีเวลาปรับตัวประมาณ 5 ปี ในการหารายได้ทดแทนหากบุคคลใดในครอบครัวได้จากไป หรือถูกตรวจพบโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง 

โดยไฟสำรองลักษณะนี้มักจะ Stand by รอทำงานตลอดชีวิตและมีเงินเป็นมูลค่าสะสมอยู่ในไฟสำรองเองด้วย

ซึ่งเมื่อถึงจำนวนปีที่กำหนด มูลค่าของเงินที่สะสมไว้ก็จะสามารถเกินค่าตัวของไฟสำรองแบบนี้ได้ จึงทำให้ไฟสำรองแบบที่ 2 เป็นคล้ายกับการบังคับออมเงินในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะแถมไฟสำรองตลอดชีพฟรี เป็นค่าตอบแทนการออมเงินนี้

ที่สำคัญเงินที่ออมอยู่ในไฟสำรอง หากทำตามเงื่อนไขก็จะสามารถนำออกมาใช้ได้ด้วย โดยที่ไฟสำรองยังคง Stand by รอทำงานเหมือนเดิม 

ดังนั้นไฟสำรองแบบนี้จึงเหมาะกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกที่มีศักยภาพพอที่จะทำงานสร้างรายได้ทดแทนสมาชิกที่จากไปหรือเป็นโรคร้ายแรง ได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ไฟสำรองแบบที่ 3 : 
ใช้เป็นเงินสำรองทดแทนไฟหรือเงินที่โดนปล้นไปเป็น ค่ารักษาของสมาชิกในครอบครัว

ในปัจจุบันเมื่อต้องนอนรักษาตัวใน รพ.เอกชน มักจะมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทที่ไม่แตกต่างกับการถูกปล้นเท่าใดนัก

ไฟสำรองแบบที่ 3 นี้ จึงคล้ายกับประกันรถยนต์ที่เน้นจ่ายค่าซ่อมรถกรณีถูกเชี่ยวถูกชน ที่ต้องสูญเสียทั้งเวลาซ่อมและค่าซ่อมจำนวนมาก

โดยปัญหาของไฟสำรองรูปแบบนี้คือ ถ้าไม่รีบทำตอนที่สุขภาพยังแข็งแรงก็อาจจะทำไม่ได้อีกแล้ว 

กับปัญหาที่ราคาของไฟสำรองแบบนี้จะสูงมากขึ้นทุกปีจนตอนเกษียนอาจไม่สามารถทำต่อได้ จึงจำเป็นต้องวางแผนเตรียมเงินเผื่อไว้ทำไฟสำรองแบบนี้ต่อในช่วงเกษียณด้วย เพราะจะประหยัดกว่าการออกค่ารักษาฉุกเฉินเองได้แน่นอน (หากค่ารักษาในรพ. ยังเพิ่มมากขึ้นทุกปีอยู่แบบนี้)

ไฟสำรองแบบที่ 4 :
ใช้เป็นเงินสำรองทดแทนไฟรายได้ที่ลดลงหรือหายไปในช่วงเกษียณอายุ

เป็นไฟสำรองที่ทำหน้าที่เป็นรายได้ในทุก ๆ ปีตั้งแต่วันที่เกษียณเป็นต้นไป จึงทำให้แม้รายได้จากการทำงานจะลดลงลงหรือไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว แต่บอลลูนก็ยังคงลอยต่อไปได้ไม่ล่วงหล่นลงมายังชั้นที่ต่ำกว่า

ไฟสำรองแบบนี้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาราคาไฟสำรองที่แพงขึ้นตามอายุของไฟแบบที่ 3 ได้อีกด้วย แต่ราคาของไฟสำรองแบบที่ 4 นี้สูงพอสมควร หากเลือกทำไม่ดีอาจได้ไฟสำรองที่ราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นถึงหลักล้านบาทได้!!!

ไฟสำรองแบบที่ 5 :
ใช้เป็นเงินสำรองทดแทนเงินที่กำลังเก็บสำหรับค่าทุนการศึกษาลูก ๆ

เป็นไฟสำรองที่คล้ายกับไฟสำรองที่ทดแทนรายได้ 5 ปี เพียงแต่จะใช้เพื่อมาแทนเงินเก็บตามจุดประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น จึงเสมือนเป็นการบังคับให้ออมเงินหรือเก็บเงิน แลกกับผลประโยชน์ที่สามารถเลือกได้แบบต่าง ๆ

ทำให้ปัญหาของไฟแบบที่ 5 จะเป็นการพิจารณาเลือกผลประโยชน์ที่ได้จากการบังคับออม เช่น ได้เงินเก็บที่สูงมากขึ้นจากเป้าหมายหรือได้เงินเก็บตามเป้าหมาย แต่ระหว่างเก็บเงินจะมีไฟสำรองขนาดใหญ่กว่าเงินเก็บหลายเท่า Stand by รอทำงานอยู่ หากผู้เก็บเงินต้องจากไปกระทันหัน เป็นต้น

ไฟสำรองทางการเงิน release your risk

ไฟสำรองทั้ง 5 แบบนี้ภาครัฐสนับสนุนให้ควรมี เพราะจะช่วยลดภาระของภาครัฐได้อย่างมาก จึงได้ให้สิทธิลดหย่อนภาษีหากนำเงินไปซื้อไฟสำรองเหล่านี้มาใช้

อย่างไรก็ตามด้วยรายได้และสิทธิลดหย่อนภาษีที่เท่ากัน ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกบอลลูนนั้น ๆ จะมีไฟสำรองที่ป้องกัน 5 เหตุการณ์นี้ได้ครบถ้วน เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะได้เฉพาะไฟสำรองที่มีขนาดพอ ๆ กับราคาไฟสำรองที่จ่ายไปเท่านั้น

ด้วยเพราะความไม่เข้าใจ และไม่ให้เวลาในการทำความเข้าใจไฟสำรองแบบต่าง ๆ ทั้งยังเลือกที่จะเชื่อใจและฝากความเข้าใจไว้ที่ผู้ขายไฟสำรองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แทนที่จะเริ่มตั้งคำถามที่สำคัญกับตนเอง ดังต่อไปนี้

7 คำถามสำคัญ
ที่ควรถามตนเอง
ก่อนเลือกหาไฟสำรอง

1.
ครบ้าง?..ที่คุณคิดว่าสำคัญสำหรับคุณ (คุณ คู่ชีวิต ลูก พ่อแม่ พี่น้อง..)

2.
ทำไมเขาถึงสำคัญสำหรับคุณ?

คำถามสำคัญ 1 release your risk

3.
หากคุณต้องเผชิญกับเหตุการณ์ death/disablement, illness, retirement, kid-education จะเกิดอะไรขึ้นกับคนสำคัญคุณบ้าง?

4.
หากคุณต้องเผชิญกับเหตุการณ์ death/disablement, illness, retirement, kid-education บอลลูนที่คุณอยู่ในปัจจุบันจะล่วงลงไปชั้นใด?

คำถามสำคัญ 4 release your risk

5.
เมื่อใด?..จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่คุณจะปรึกษาวางแผนไฟสำรองกับคนสำคัญ

6.
คุณคิดว่าคนสำคัญจะรู้สึกอย่างไร? หากคุณกำลังจะเริ่มลงมือวางแผนไฟสำรองให้

7.
คุณเชื่อใจใครมากกว่ากันระหว่าง ตัวคุณเอง หรือ พ่อค้าแม่ค้าขายไฟสำรอง?

คำถามสำคัญ 6 release your risk

คำถามทั้ง 7 ข้อนี้จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าไฟสำรองทั้ง 5 แบบ(ด้านบน) แบบใดที่จำเป็นสำหรับคุณและคนสำคัญของคุณ

เช่น หากคุณเป็นคนโสด และเหลือเพียงตัวคนเดียวแล้ว การเลือกไฟสำรองแบบที่ 2 (เก็บเงินแลกความคุ้มครอง เช่น โรคร้ายแรง) แบบที่ 3 (แลกค่ารักษา) แบบที่ 4 (บำนาญ) ก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้บอลลูนคุณไม่ล่วงลง

แต่หากคุณเป็นครอบครัว และเป็นกำลังหลักในการหารายได้ในปัจจุบันของบอลลูน หากขาดคุณไปเมื่อใดบอลลูนล่วงลงทันที ก็จะส่งผลให้คุณต้องรีบวางแผนไฟสำรองกับสมาชิกในครอบครัวโดยเร็วที่สุด

และอาจต้องพิจารณาไฟสำรองแบบที่ 1 (ทดแทนรายได้ตัวคุณเอง) เป็นหลักก่อน จากนั้นเมื่อเงินเหลือจึงค่อยพิจารณาไฟสำรองแบบอื่นๆ ต่อไป

คำถามสำคัญ 8 release your risk

สุดท้าย..สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คำตอบในข้อที่ 7 ซึ่งเป็นคำตอบที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ทำไมคุณจึงควรเริ่มศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับไฟสำรองเหล่านี้ด้วยตนเอง

ตัวคุณเอง
คือ ที่พึ่งสำคัญที่สุด สำหรับการวางแผนไฟสำรองนี้

จะเห็นว่า ตัวคุณเองจะเป็นคนที่ตอบได้ว่า ไฟสำรองแบบใดจะจำเป็นกับคุณบ้าง และคุณต้องหาความรู้เรื่องใดเพิ่มเติมอีก ไม่ใช่เพียงแค่ตามหาพ่อค้าแม่ค้าที่ขายไฟสำรองมาบอกว่าคุณเหมาะกับอะไรเท่านั้น

เพราะอย่างไฟสำรองแบบที่ 3 (ค่ารักษา) นั้นมีรายละเอียดและเงื่อนไขในการใช้งานเยอะอย่างมาก การให้พ่อค้าแม่ค้าเลือกให้ตามงบประมาณ หรือดูเพียงราคาอย่างเดียวโดยไม่ทราบเลยว่าไฟสำรองแบบที่ 3 นี้ ควรต้องทดแทนค่ารักษาที่จำเป็นใดๆ บ้างนั้น จะอันตรายมาก ๆ 

yourself release your risk

เพราะสุดท้ายแล้วทุกอย่างต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการใช้งาน ไม่ใช่เพียงที่พ่อค้าแม่ค้าแนะนำหรือโฆษณาใด ๆ

หรืออย่างไฟสำรองแบบที่ 4 (บำนาญ) หากเข้าใจและเลือกให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การใช้งาน ไม่ได้เลือกเพียงเพราะภาพลักษณ์ของพ่อค้าแม่ค้า

ก็จะทำให้มีโอกาสได้บำนาญเท่ากันแต่ประหยัดเงินได้กว่าหลักล้านขึ้นไปเลยได้ นี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่คุณจำเป็นต้องยอมเสียสละเวลาทำความเข้าใจไฟสำรองเหล่านี้

ไม่ใช่เพียงการค้นหาพ่อค้าแม่ค้าที่มีภาพลักษณ์ดีแล้วใช้เงินแก้ปัญหาทันที เพราะส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นมีโอกาสสูงถึงหลักล้าน และบางอย่างไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้อีก

ทุกอย่างเริ่มต้น..ที่
การเรียนรู้ทำความเข้าใจ

อย่างที่กล่าวมาเบื้องต้นว่า สิทธิลดหย่อนภาษีของไฟสำรอง ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ และกองทุนรวม RMF/SSF/PVD/กบข. นั้น

หากใช้ 7 คำถาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับความเข้าใจในบทบาทของไฟสำรองแบบต่างๆ แล้ว

Tax deduction release your risk

สิทธิลดหย่อนภาษีเหล่านี้จะสามารถทำให้บอลลูนของคุณยังลอยอยู่ในชั้นฐานะทางการเงินเดิมได้แน่นอนทั้งในปัจจุบัน ในยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด และในอนาคต (ยามเกษียณ)

มากกว่าที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างขาดเป้าหมาย หรือเป้าหมายเพียงระยะสั้นว่าเสียภาษีน้อยที่สุด จนสุดท้ายได้ใช้เพียงฟังก์ชันที่เล็กที่สุดของไฟสำรอง คือเพียงการเก็บเงินและปกป้องเงินเก็บเท่านั้น

ทำให้มักจะลงเอยที่ระหว่างปีได้เงินคืนออกมาจากไฟสำรองเท่าใดก็หมด เงินคืนภาษีที่ได้มาก็หมด ครบกำหนดสัญญาการเก็บเงิน ได้เงินเก็บก้อนใหญ่ออกมาก็หมด หรือไม่ก็เป็นหนี้เพราะนำไปดาวน์ของชิ้นใหญ่ที่ต้องการจนหมด

ในขณะที่หากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนี้เป็นและอย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสสูงที่จะส่งผลให้

มีประกันสุขภาพตลอดชีวิต release your risk

1
มีประกันสุขภาพแบบที่เพียงพอต่อค่ารักษามะเร็งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงครอบคลุมวิธีการรักษาแบบใหม่ล่าสุด

จ่ายเบี้ยประกันได้ตลอดสัญญา 2 release your risk

2
สามารถจ่ายเบี้ยสุขภาพได้จนอายุครบ 99 ปี

มีเงินใช้ตอนเกษียณ release your risk

3
มีเงินบำนาญใช้ขั้นต่ำหลักหมื่นต่อเดือน

จากไปมีเงินก้อนให้ครอบครัว release your risk

4
เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด มีเงินก้อนหลักล้านถึงสิบล้านดูแลบอลลูนได้ทันที

'คุณ'
เข้าใจเครื่องมือ 
สำคัญกว่า 'ใคร' ขายเครื่องมือ

ด้วยความแตกต่างกันอย่างมาก ระหว่าง "การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ" กับ "การใช้เพื่อจ่ายภาษีน้อยลง" 

จึงเป็นที่มาที่ทาง Release your Risk ได้จัดทำบทความและเครื่องมือในการคำนวณขึ้นมา เพราะเราเห็นว่า ความเข้าใจที่จับต้องได้พร้อมระยะเวลาให้ได้พิจารณาทำความเข้าใจ

จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการเลือกใช้เครื่องมือการเงินได้อย่างเหมาะสม

เราจึงเน้นที่ การให้ความรู้และเครื่องมือคำนวณ ที่ทำให้เห็นภาพเปรียบเทียบจับต้องได้

แทนการสร้างภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือว่า.. เราคือใคร ขายดีเพียงไหน ฐานะดีขึ้นเพียงใด ประสบความสำเร็จอะไรมาบ้าง

เพราะสุดท้ายเมื่อถึงเวลาใช้เครื่องมือการเงิน ภาพลักษณ์เหล่านี้จะไม่ได้ช่วยอะไรเลย ในขณะที่ความเข้าใจจะช่วยตั้งแต่ตอนเลือกซื้อ..ไม่ใช่เพียงตอนการใช้งานเท่านั้น

ให้ความรู้และเครื่องมือคำนวณ release your risk

สิทธิลดหย่อนภาษีเท่ากัน
แต่ผลลัพธ์สุดท้ายไม่เท่ากัน

ดังนั้น สิ่งเดียวที่ทางเราอยากจะขอ..เมื่อเริ่มสนใจหาซื้อเครื่องมือลดหย่อนภาษีเหล่านี้

เราอยากขอให้ อย่าซื้อเพราะซื้อตามคนสนิท อย่าซื้อเพราะเพียงดูน่าเชื่อถือ หรือแม้แต่อย่าซื้อเพราะเชื่อตามบทความของทางเรา

แต่เราอยากขอให้ซื้อ..

เพราะได้อ่านบทความจนเข้าใจ ได้เห็นความจำเป็นที่เหมาะสมกับตัวเรา ได้ยอมรับเงื่อนไขการพิจารณารับทำประกันต่าง ๆ

ได้ทดลองใช้โปรแกรมคำนวณจนเห็นภาพว่าเหมาะกับตนเองจริง ๆ เรียบร้อยแล้วเท่านั้นก่อนตัดสินใจซื้อ

คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจด้วยตนเอง release your risk

เพราะในความเป็นจริง ชีวิตของทางตัวแทนหรือตัวเราเองก็หนีไม่พ้น 5 เหตุการณ์อันตรายในชีวิต การจะพึ่งตัวแทนไปตลอดชีวิตจึงเป็นได้ยากอย่างมาก

แต่หากซื้อเพราะเชื่อใจตัวแทนที่เข้าใจสัญญาฝ่ายเดียว และหากตัวแทนเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นหรือจากไป ความเข้าใจในเงื่อนไขของสัญญาก็จะจากไปพร้อมกับตัวแทน

ดังนั้นการเข้าใจในสัญญาที่ทำด้วยตนเอง จึงเป็นที่พึ่งพิงได้ตลอดทั้งอายุสัญญา มากกว่าที่จะฝากความเข้าใจให้อยู่กับตัวแทนเพียงฝ่ายเดียว

และนี้คือ 7 วิธีการเลือกใช้งานเครื่องมือการเงิน ที่ทางเราอยากให้ได้เริ่มทำความเข้าใจ ก่อนที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและรองรับกับ 5 เหตุการณ์ร้ายได้

เลือกลดหย่อนภาษี release your risk

1.
วิธีการวางแผนลดหย่อนภาษีส่วนบุคคล
ที่สามารถป้องกันการตกชั้นของฐานะทางการการเงินของครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลือกประกันชีวิต 3 release your risk

2.
วิธีการเลือกซื้อประกันชีวิต
ในแบบประกันดูว่า หมวดความคุ้มครองใดที่รับความเสี่ยงไว้เองไหว เพื่อจะทำให้ได้เบี้ยประกันที่จำเป็นจริง ๆ มา

การเลือกประกันโรคร้ายแรง 2 release your risk

3.
วิธีการเลือกซื้อประกันโรคร้าย
ทำอย่างไรให้ได้ประกันโรคร้ายที่ไม่ถูกอัพเซลและมีโอกาสได้ประกันโรคร้ายมาฟรีๆ โดยใช้เงินเริ่มต้นน้อยที่สุด

เลือกประกันสุขภาพ2 release your risk

4.
วิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย
ที่ครอบคลุมทั้งหมดของความเสี่ยงที่ยากจะรับไว้เองไหว

การเลือกประกันบำนาญ release your risk

5.
วิธีการเลือกซื้อประกันบำนาญ
ในแบบประกันดูว่า หมวดความคุ้มครองใดที่รับความเสี่ยงไว้เองไหว เพื่อจะทำให้ได้เบี้ยประกันที่จำเป็นจริง ๆ มา

การจัดการเบี้ยสุขภาพหลังเกษียณ release your risk

6.
วิธีการจัดการกับเบี้ยประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลังเกษียณ
ให้ลงล็อคกับเบี้ยประกันและได้ประกันสุขภาพตลอดชีพ

จัดการเงินบำนาณหลังเกษียณ release your risk

7.
วิธีการจัดการกับบำนาญที่ต้องการหลังเกษียณ
ให้เพียงต่อค่าใช้จ่ายทั้ง NEEDs และ WANTs

จุดเริ่มต้นครั้งสำคัญ

เมื่อคุณผู้อ่านอ่านมาถึงจุดนี้ จะเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่า 

การเงิน..เป็นเรื่องที่สมาชิกในครอบครัว ควรเปิดใจคุยกัน และวางแผนจัดการให้อย่างน้อยสามารถมี "รายได้มากกว่ารายจ่ายได้ตลอดทั้งปี"

 และควร "ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด" เพื่อหมดความกังวลยามที่ต้องเผชิญกับ 5 เหตุการณ์ร้ายที่ยากจะหลีกหนีได้

ครอบครัววางแผนการเงินและภาษี 2 release your risk

เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการ

ทำความเข้าใจ

การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..

วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • แอนนี่ค่ะ2

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก