BLUEPRINT :
การเลือกใช้เครื่องมือการเงินแต่ละช่วงอายุ
เพื่อตัวอย่าง ประกอบการเลือกใช้เครื่องมือการเงินแต่ละช่วงอายุ เมื่อเข้าใจในเครื่องมือการเงินลดหย่อนภาษีเป็นอย่างดี
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 0 - 10 ปี [พ่อแม่ดูแล]
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันมรดก + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ + ประกันสุขภาพเด็ก + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ + ประกันชั่วเวลาผู้ชำระเบี้ยหรือคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยจนลูกอายุ 20 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1 : กองทุนรวมหรือประกันออมทรัพย์วางแผนทุนการศึกษา ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
ประกันชีวิต
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
สามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ในการออม โดยช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงอายุที่ออมสำหรับให้เป็นเงินส่งต่อให้คนข้างหลัง หรือ เงินกู้ยืมฉุกเฉินดอกเบี้ยต่ำ ด้วยเบี้ยที่ประหยัดที่สุด
- ประกันมรดก
- เน้นทุนชีวิตสูง คุ้มครองตลอดชีวิตลูก และออมเพื่อลูกสามารถกู้ยืมกรมธรรม์ตนเองในยามฉุกเฉินหลังเรียนจบได้
- ตัวอย่าง : BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5 ล้านบาท
- เบี้ยชาย อายุ 0-5 ปี : 1.13 - 1.35 แสนบาทต่อปี 5 ปี รวม 5.65 - 6.75 แสนบาท ( 1 ใน 10 ของทุนชีวิต)
- เบี้ยหญิง อายุ 0-5 ปี : 0.92 - 1.13 แสนบาทต่อปี 5 ปี รวม 4.6 - 5.65 แสนบาท ( 1 ใน 10 ของทุนชีวิต)
- ประกันชีวิตตลอดชีพปกติ
- ยังไม่เน้นทุนชีวิตสูง จะใช้เพียงเป็นสัญญาหลักให้กับสัญญาเพิ่มเติมแนบเท่านั้น
- ตัวอย่าง : BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม ทุน 1 แสนบาท (แนะนำทุนชีวิต 2-3 แสนบาท)
- เบี้ยชาย อายุ 0-5 ปี : 1,284 - 1,361 บาทต่อปี 20 ปี รวม 25,680 - 27,220 บาท ( 2 ใน 10 ของทุนชีวิต)
- เบี้ยหญิง อายุ 0-5 ปี : 1,153 - 1,187 บาทต่อปี 20 ปี รวม 23,060 - 23,740 บาท ( 2 ใน 10 ของทุนชีวิต)
ประกันโรคร้ายแรง
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
- แบบเบี้ยคงที่ มีมูลค่าสะสมในกรมธรรม์
- เน้นทุนโรคร้ายแรง คุ้มครองตลอดชีวิตลูก และออมเพื่อลูกสามารถกู้ยืมกรมธรรม์ตนเองในยามฉุกเฉินหลังเรียนจบได้ โดยเป็นช่วงเวลาที่จะได้ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ที่ประหยัดเบี้ยมากที่สุดได้
- ทั้งยังสามารถใช้เสริมประกันสุขภาพเด็กที่ไม่ใช่แบบเหมาจ่ายได้ โดยเฉพาะในส่วนของโรคมะเร็ง
- ตัวอย่าง : BLA Happy CI 99/20 ทุน 5 ล้านบาท
- เบี้ยชาย อายุ 0-5 ปี : 56,800 - 62,350 บาทต่อปี 20 ปี รวม 1.14 - 1.25 ล้านบาท ( 1 ใน 5 ของทุนโรคร้าย)
- เบี้ยหญิง อายุ 0-5 ปี : 66,350 - 72,400 บาทต่อปี 20 ปี รวม 1.33 - 1.45 ล้านบาท ( 1 ใน 5 ของทุนโรคร้าย)
ประกันสุขภาพเด็ก + เงินสำรองฉุกเฉิน
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
หากงบประกันสุขภาพเด็กไม่เกิน 50,000 บ. และค่าห้องอยู่ที่ 4,000 ในปัจจุบันจะได้ประกันสุขภาพแบบมีวงเงินแยกตามหมวดคุ้มครอง และเป็นแบบมีรับผิดส่วนแรก รวมถึงอาจต้องเตรียมใจในการจ่ายส่วนต่างบางอย่างรวมด้วย ทั้งหมดนี้จึงทำให้การทำประกันสุขภาพเด็กจำเป็นต้องมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินร่วมด้วยเสมอ
- แบบแยกวงเงินค่ารักษาตามหมวด เบี้ยเพิ่มตามอายุ และมีรับผิดส่วนแรก
- เน้นบรรเทาค่ารักษากรณีต้องแอดมิต
- ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 200,000 บ. กรณีต้องสำรองจ่ายเพราะมีการสืบประวัติ
- เพื่อลดโอกาสการถูกสืบประวัติควรส่งประวัติการรักษาทั้งหมดของลูก บันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (กรณีลูกอายุ 0-2 ปี) ไปตั้งแต่ตอนยื่นขอทำประกัน
- ตัวอย่าง : BLA Value Health Kid แผน 4,000 รับผิด 5,000
- เบี้ยชาย อายุ 0-5 ปี : 45,648 บาทต่อปี 228,240 322,300
- เบี้ยหญิง อายุ 0-5 ปี : 45,648 บาทต่อปี
ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
ประกันสุขภาพเด็กมักมีข้อจำกัดในส่วนวงเงินการรักษาแบบ OPD ผู้ป่วยนอก และการ Follow up ติดตามอาการแบบ OPD จึงทำให้การเพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD เพิ่มเติม จะสามารถช่วยเสริมประกันสุขภาพเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แบบวงเงินค่ารักษา 100,000 บ. ต่ออุบัติเหตุ ติดตามอาการ 1 ปี หรือจนกว่าวงเงินจะหมด
- ตัวอย่าง : BLA อบ.3
- เบี้ยชาย อายุ 0-5 ปี : 2,683 บาทต่อปี
- เบี้ยหญิง อายุ 0-5 ปี : 2,683 บาทต่อปี
- ตัวอย่าง : BLA อบ.3
ประกันชั่วเวลาผู้ชำระเบี้ย
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
จะเห็นได้ว่าทุกประกันมีหน้าที่สำคัญสำหรับการดูแลคุ้มครองลูกน้อยไปตลอดกว่า 10 ปีขึ้นไป ดังนั้นหากโชคร้ายผู้ปกครองต้องจากไปก่อน การที่ลูกยังคงความคุ้มครองส่วนนี้ไว้ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเบี้ยประกันทั้งหมดของลูกจึงสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบสัญญาเพิ่มเติม และทำประกันชีวิตของ ผู้ปกครองผู้ชำระเบี้ยหรือผู้หารายได้หลัก แยกออกมาเป็นอีก 1 กรมธรรม์
- เน้นคุ้มครองเบี้ยประกันทั้งหมดของลูก 18 ปี หรือจนลูกอายุ 21 ปี หากผู้ปกครองจากไป
- สัญญาคุ้มครองการชำระเบี้ยผู้ปกครอง (คช.) (BLA Prestige Life ไม่สามารถทำได้)
- เบี้ยผู้ปกครองชาย อายุ 30 ปี : ประมาณ 6,000 บาทต่อปี จนลูกอายุครบ 21 ปี (เบี้ย คช. เปลี่ยนแปลงตามเบี้ยรวมปีต่ออายุ โดยหากเบี้ยรวมลดลง เบี้ย คช. จะลดลงตาม)
- เบี้ยผู้ปกครองหญิง อายุ 30 ปี : ประมาณ 2,000 บาทต่อปี จนลูกอายุครบ 21 ปี
- สัญญาเพิ่มเติมเฉพาะกาล (กรณี BLA Prestige Life ผู้ปกครองสามารถทำประกันชีวิตชั่วเวลาแยกในกรมธรรม์ที่ตนมี เช่น ทำประกันชีวิตคุ้มครองชั่วเวลา 18 ปี ที่ทุนชีวิตประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นเบี้ยรวมทั้งหมดประกันที่แนะนำหากเลือก Prestige Life)
- เบี้ยผู้ปกครองชาย อายุ 30 ปี : ประมาณ 10,000 บาทต่อปี คุ้มครอง 18 ปี (เบี้ยจะสูงกว่า คช. เนื่องด้วยค่าเบี้ยทุนชีวิต 5 ล้านบาทของ Prestige Life ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วจำนวนเบี้ยที่คุ้มครองลดลง จะสามารถปรับลดทุนชีวิตเพื่อประหยัดเบี้ยลงได้)
- เบี้ยผู้ปกครองหญิง อายุ 30 ปี : ประมาณ 6,000 บาทต่อปี คุ้มครอง 18 ปี
- สัญญาคุ้มครองการชำระเบี้ยผู้ปกครอง (คช.) (BLA Prestige Life ไม่สามารถทำได้)
พอร์ตลงทุนที่ 1
ทุนการศึกษา
- ในพอร์ตนี้จะสามารถประกอบด้วยทั้งกองทุนรวม และ ประกันออมทรัพย์ (ประกันสะสมทรัพย์)
- โดยทั้ง 2 แบบจะมีความคล้ายคลึงกันตรงที่ตรงทราบเวลาชัดเจนที่จะใช้ทุนการศึกษานี้ เพื่อเลือกความเสี่ยงของกองทุนรวม หรือ เลือกประกันออมทรัพย์ ที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่ต้องใช้เงินได้
- ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างกองทุนรวมกับประกันออมทรัพย์อยู่ตรงที่วิธีการจัดการ
- โดยประกันออมทรัพย์จะบังคับการออมให้เป็นรายจ่ายที่คงที่ชัดเจน และสัญญาชัดเจนว่าจะให้เงินเท่าใดเป็นสัญญา
- ในขณะที่กองทุนรวมจะไม่ได้บังคับ แต่อาจใช้กลไก DCA ช่วยได้ รวมถึงจำเป็นต้องเลือกกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงลดลงโดยเฉพาะเมื่อใกล้เวลาที่จะต้องใช้เงินอีก 3-5 ปี เพื่อป้องกันโอกาสขาดทุนแต่จำเป็นต้องขายออกมาจ่ายเป็นค่าเทอมแล้ว
- ดังนั้น ประกันออมทรัพย์ จะจัดการได้ง่ายกว่า กองทุนรวม แต่กองทุนรวมก็จะมีอิสระและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากกว่า ประกันออมทรัพย์ ได้ การเลือกจึงขึ้นอยู่กับความถนัดและเวลาที่มีผู้ใช้เครื่องมือการเงิน
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 1 :
ตั้งต้นเตรียมพร้อมให้ลูก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Happy CI ทุน 1,000,000 - 5,000,000
+ BLA Value Health Kid แผน 4,000 รับผิด 5,000
+ ค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ทุน 100,000
+ เฉพาะกาลผู้ปกครอง 18 ปี ทุนครอบคลุมเบี้ยทั้งหมด หรือ คุ้มครองชำระเบี้ยผู้ปกครองถึงบุตรอายุ 21 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1 :
ทุนการศึกษา
ใช้ในอีก 4-5 ปี : BCAP-GW25 / ประกันออมทรัพย์
ใช้ในอีก 9-12 ปี : BCAP-GW75 / ประกันออมทรัพย์
ใช้ในอีก 15-18 ปี : BCAP-GW90 / ประกันออมทรัพย์
สรุป : ช่วงอายุนี้ เป็นช่วงอายุที่การเลือกใช้เครื่องมือการเงินอย่าง ประกันชีวิต ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ จะได้เปรียบมากที่สุด และจะเป็นการบังคับออมให้ลูกร่วมกับผลประโยชน์ความคุ้มครองที่ได้ค่อนข้างสูงมาก เพียงแต่อาจต้องคำนึงถึงเบี้ยความคุ้มครองด้านสุขภาพ เบี้ยประกันชั่วเวลาคุ้มครองการชำระเบี้ย ทุนการศึกษา ให้เรียบร้อย ก่อนตัดสินใจว่าควรจะเลือกประกันชีวิตรูปแบบใด หรือสามารถเลือกประกันโรคร้ายที่ทุนสูงสุดที่ 5 ล้านบาท ได้หรือไม่
หมายเหตุ : แต่ละบริษัทประกันจะมีประกันสุขภาพเด็กที่แตกต่างกันไป ดังนั้นอาจทำการแยกออกมาเป็น 2 กรมธรรม์ได้ โดยกรมธรรม์หนึ่งเป็นเน้นประกันสุขภาพเด็กที่ชื่นชอบ และอีกกรมธรรม์หนึ่งเน้นประกันชีวิตกับประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ที่ชื่นชอบ โดยไม่จำเป็นต้องทำรวมกันอยู่ในกรมธรรม์เดียวของบริษัทเดียวได้
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 11-22 ปี
[พ่อแม่ดูแล]
กรมธรรม์ที่ 2 : ประกันชีวิตตลอดชีพ + ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ + ประกันชั่วเวลาผู้ชำระเบี้ยหรือคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยจนลูกอายุ 20 ปี
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันมรดก✅ + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ + ประกันสุขภาพเด็ก + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ + ประกันชั่วเวลาผู้ชำระเบี้ยหรือคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยจนลูกอายุ 20 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1 : กองทุนรวมวางแผนทุนการศึกษา
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
จะคล้ายกับกรมธรรม์ที่ 1 เพียงแต่จะยกเลิกประกันสุขภาพเด็ก และทำการเพิ่มประกันสุขภาพเหมาจ่ายความคุ้มครองสูงเข้ามาในกรมธรรม์ที่ 2 แทนรวมถึงอาจเพิ่มความคุ้มครองโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นด้วยประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุได้
ทั้งนี้หากยังไม่เคยมีกรมธรรม์ที่ 1 มาก่อน จะสามารถพิจารณาเริ่มทำตามแบบกรมธรรม์ที่ 1 ในส่วนของประกันชีวิตและประกันโรคร้ายแรงให้มารวมอยู่ในกรมธรรม์แรกที่เริ่มทำตอนอายุช่วงนี้ได้
ประกันชีวิต
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
หากยังไม่ได้ทำประกันมรดกตั้งแต่อายุ 0-10 จะทำให้ในช่วงอายุนี้ จะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะสามารถทำประกันมรดกได้ด้วยเบี้ยที่ยังเพิ่มสูงไม่มากนัก หรือยังคงสามารถใช้ประกันชีวิตตลอดชีพได้ ทั้งนี้สามารถพิจารณาตามกำลังการออมต่อไป
ประกันโรคร้ายแรง
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
หากยังไม่มี ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ ช่วงอายุ 11-22 นี้จะสามารถทำได้ด้วยเบี้ยที่ยังไม่สูงมาก แต่หากมีประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่แล้วโดยที่ทุนโรคร้ายแรงยังไม่เกิน 5 ล้านบาท จะสามารถทำทุนโรคร้ายแรงที่สูงมากขึ้นอีกได้
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + เงินสำรองฉุกเฉิน
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
เมื่ออายุ 11 ปีขึ้นไป จะเป็นอายุที่สามารถทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ให้ความคุ้มครองสูงมากได้แล้ว จึงเป็นอายุที่ควรเริ่มทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายนี้โดยเร็วก่อนที่จะมีประวัติการรักษาใด ๆ เพิ่มขึ้นมา
ทั้งนี้ด้วยความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ยังไม่สูงมาก การเลือกแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่มีรับผิดส่วนแรกพร้อมเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้เอง จะสามารถช่วยลดเบี้ยประกันได้ในระดับหนึ่ง แต่ควรเป็นแบบประกันที่สามารถเอารับผิดส่วนแรกออกภายหลังได้เมื่ออายุมากขึ้นและเสี่ยงมากขึ้น โดยไม่ต้องมีการพิจารณาใหม่และนับระยะรอคอยใหม่ใด ๆ
ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
ค่ารักษาอุบัตเหตุแบบ OPD ยังคงมีความจำเป็น โดยสามารถเก็บสัญญานี้ไว้ในกรมธรรมืที่ 1 เหมือนเดิมได้ หรือจะยกเลิกของกรมธรรม์ที่ 1 และย้ายมาทำในกรมธรรม์ที่ 2 ก็ได้เช่นกัน เพื่อทำให้กรมธรรม์ที่ 2 จะเน้นเรื่องค่ารักษาเป็นหลัก
ประกันชั่วเวลาผู้ชำระเบี้ย
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
ในกรมธรรม์ที่ 2 ที่ทำเพิ่มขึ้นมา (หรือ กรมธรรม์แรกหากเพิ่งเริ่มทำประกันตอนอายุช่วงนี้) โดยเฉพาะทำตอนอายุไม่เกิน 15 ปี จะควรต้องทำสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองชำระเบี้ยผู้ปกครอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหากผู้ปกครองที่เป็นผู้ชำระเบี้ยโชคร้ายจากไปก่อน แต่กรมธรรม์ของลูกก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้จนลูกอายุ 20 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1
ทุนการศึกษา
ส่วนนี้จะเป็นการออมต่อเนื่องกับ การนำออกมาใช้ตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 1+2 :
ค่ารักษาเป็นหลัก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Prestige Health Unlock 30 ล้าน รับผิด 5 หมื่น
+ BLA Happy CI 1-5 ล้าน
+ ค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ทุน 100,000 (หากยังไม่มี)
+ คุ้มครองชำระเบี้ยผู้ปกครองถึงบุตรอายุ 20 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1 :
ทุนการศึกษาต่อเนื่อง
ใช้ในอีก 4-5 ปี : BCAP-GW25 / ประกันออมทรัพย์
ใช้ในอีก 9-12 ปี : BCAP-GW75 / ประกันออมทรัพย์
ใช้ในอีก 15-18 ปี : BCAP-GW90 / ประกันออมทรัพย์
สรุป : เป็นอีกช่วงอายุสำคัญที่พ่อกับแม่จะสามารถทำสวัสดิการที่ดีที่สุดให้กับลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองสูง หรือ ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ที่เบี้ยประหยัดอย่างมาก หรือ ประกันชีวิตมรดกที่เบี้ยประหยัดมากได้
หมายเหตุ : ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองสูงจะสามารถรับทำประกันและคุ้มครองได้แบบ 100% นั้น ก็ต่อเมื่อไม่มีโรคที่ยังรักษาไม่หายขาดก่อนทำประกันเท่านั้น ซึ่งช่วงอายุ 11-22 ปีนี้ เป็นช่วงอายุ Golden Time ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมาก่อนน้อยที่สุด
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 23-35 ปี
[ลูกดูแลต่อ]
กรมธรรม์ที่ 3 : ประกันชีวิต Unit-Linked ทุนชีวิตสูงถึงอายุ 60 ปี + ประกันทุพลภาพสิ้นเชิงถาวร + ประกันชดเชยรายได้ + ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุไม่คงที่
กรมธรรม์ที่ 2 : ประกันชีวิตตลอดชีพ✅ + ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันมรดก✅ + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่✅ + ประกันชั่วเวลาพ่อหรือแม่ 20 ปี
พอร์ตลงทุนที่ 1 : กองทุนรวมวางแผนทุนการศึกษา
พอร์ตลงทุนที่ 2 : กองทุนรวมวางแผนเบี้ยประกันสุขภาพและทุพพลภาพถาวร
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
กรมธรรม์ที่ 3 จะเน้นการคุ้มครองชีวิตทุนสูงจนถึงอายุ 60 ปีเป็นหลัก ร่วมกับประกันทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร และประกันชดเชายรายได้จากการนอน รพ. เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีรายได้สูง ซึ่งมักจะตามมาด้วยความรับผิดชอบมากมาย และมักมากกว่าทุนชีวิตที่เคยทำไว้ใน กรมธรรม์ที่ 1+2
ทั้งนี้หากยังไม่เคยมีกรมธรรม์ที่ 1+2 มาก่อน จะสามารถพิจารณาเริ่มทำตามแบบกรมธรรม์ที่ 1+2 ในส่วนของประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง และ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายให้มารวมอยู่ในกรมธรรม์ที่ 1+2 ที่เริ่มทำตอนอายุช่วงนี้ได้
ประกันชีวิตชั่วเวลา
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
เป็นช่วงอายุที่มีทั้งรายได้สูง และภาระค่าใช้จ่ายมากมาย ค่าเล่าเรียนลูก รวมถึงหนี้ต่าง ๆ ที่เริ่มมีหรือมีสูงขึ้น จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่อย่างน้อยจะต้องแบ่งรายได้บางส่วน เพื่อเน้นทำประกันชีวิตชั่วเวลาแบบเบี้ยน้อยทุนสูง (ซึ่งอาจไม่เหลือมูลค่าในกรมธรรม์ใด ๆ เมื่อครบสัญญาหรือหากยกเลิกไปก่อน)
เพื่อนำมาปกป้องคนข้างหลังจากหนี้เหล่านี้ รวมถึงได้มีก้อนใหญ่มาทดแทนรายได้ที่จะขาดหายไปอย่าง 3-5 ปี เพื่อให้คนข้างหลังได้มีโอกาสปรับตัวกลับมาเลี้ยงดูตนเองได้ และอาจมีทุนให้สูงเพียงพอในการครอบคลุมค่าเล่าเรียนของลูกด้วย
ปัญหา คือ ไม่แน่ใจว่าความคุ้มครองนี้จะควรมีระยะเวลาเท่าใดดี จึงทำให้การเลือกประกันชีวิตควบการลงทุน BLA Premier Link ให้ทำหน้าที่เป็นประกันชีวิตชั่วเวลาที่สามารถเลือกระยะเวลาเองได้ หรือ สามารถคุ้มครองทุนสูงจนถึงอายุ 60 ปีได้ด้วยพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงต่ำ จะเป็นเครื่องมือการเงินที่น่าสนใจที่สุด
ประกันทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร (+อบ.1-2)
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
สัญญาเพิ่มเติมประกันทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือ BLA ทุพพลภาพโพรเท็ค จะคุ้มครองจ่ายเป็นเงินก้อนชดเชยหากไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่สำคัญตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปได้เป็นเวลาอย่างน้อยครึ่งปี
หรือหากพิการสูญเสียอวัยวะ หรือ อวัยวะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อีก ตั้งแต่ 2 อวัยวะขึ้นไป อันได้แก่ ตา 2 ข้าง มือ 2 ข้าง และ เท้า 2 ข้าง
โดยสัญญาจะคุ้มครองไปถึงสาเหตุที่มาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เป็นภายหลังทำประกันร่วมด้วย แต่ไม่รวมถึงการทำร้ายตนเอง การนำเข้าสารพิษเข้าร่างกาย การเกิดขึ้นภายใต้ฤทธิ์สุรา หรือ กำลังก่ออาชญกรรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากต้องการลดความคุ้มครองลงเหลือเพียงสาเหตุให้ทุพพลภาพจากอุบัติเหตุ จะสามารถสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครอง อบ.1 และ อบ.2 ได้ โดย อบ.2 จะขยายความคุ้มครองการจ่ายชดเชยในกรณีของทุพพลภาพชั่วคราวด้วย เช่น ขาหัก หรือ เกิดบาดแผลที่ต้องใช้เวลารักษาฟื้นตัว เป็นต้น
ทั้งนี้สัญญาเพิ่มเติมทั้ง 3 นี้ จะสามารถทำได้ไม่เกิน 10 เท่าของทุนชีวิต และจะคุ้มครองถึงเพียงอายุ 65 ปี หรือถึงอายุ 75 ปีเท่านั้น จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำแนบกับสัญญาหลัก BLA Premier Link ที่เน้นทุนชีวิตสูงจนถึงอายุ 60 ปี
ประกันชดเชยรายได้
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่สำคัญโดยเฉพาะกับอาชีพที่รายได้เกิดจากการทำงานในแต่ละวัน โดยหากหยุดจะไม่มีรายได้ ซึ่ง สัญญาชดเชยรายได้นี้ จะได้เป็นต่อวัน โดยหากเริ่มทำตั้งแต่วันละ 3,000 บ. ขึ้นไป จะต้องมีการแสดงหลักฐานทางการเงินว่ามีรายได้สูงวันละ 3,000 บ. ขึ้นไปจริง ๆ
ทั้งนี้ประกันชดเชยรายได้ มักจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งเน้นชดเชยเพราะแอดมิตจริง ๆ อย่างเดียว โดยคุ้มครองต่อเนื่องที่ 365 วัน กับแบบที่สองที่มีเงินชดเชยพิเศษเพิ่มให้ด้วย หากเป็นการผ่าตัดใหญ่ตามที่ระบุ หรือ เป็นการรักษาโรคร้ายแรง หรือ เข้า ICU รวมถึงจะสามารถคุ้มครองต่อเนื่องได้ถึง 1250 วัน
โดยแบบที่สองจะมีเบี้ยที่สูงกว่าแบบที่หนึ่งพอสมควร
ประกันโรคร้ายแรง
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
หากยังไม่มี ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่ จะควรทำเพิ่มไว้ในกรมธรรม์ที่ 1+2 ตามกำลังการออม แต่หากมีประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่แล้ว และต้องการทุนโรคร้ายแรงที่สูงมากขึ้นอีกแบบชั่วระยะเวลาก่อนเกษียณ การพิจารณาทำประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุไม่คงที่ไว้ในกรมธรรม์ที่ 3 จะค่อนข้างน่าสนใจ ด้วยเบี้ยที่ค่อนข้างน้อยมากต่อทุนโรคร้ายแรงที่ได้
และเนื่องจากเป็นวัยที่หากเป็นโรคร้ายแรงแล้ว จะทำให้ขาดรายได้ไปในทันที จึงควรทำทุนสูงเพิ่มขึ้นอีก หากเห็นว่าทุนโรคร้ายแรงที่มีอยู่ยังไม่สามารถชดเชยรายได้ในช่วงการรักษาอย่างน้อย 3-5 ปีได้
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + เงินสำรองฉุกเฉิน
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
หากยังไม่เคยมีกรมธรรม์มาก่อน จะควรต้องทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายไว้ในกรมธรรม์ที่ 1+2 อย่างขาดไม่ได้ เพราะค่ารักษาใน รพ.เอกชน นั้นสูงมากจริง ๆ โดยเฉพาะกับค่ารักษาโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง
ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD
สัญญาเพิ่มเติมแนบกับสัญญาหลัก
หากยังไม่เคยมีกรมธรรม์มาก่อน จะควรต้องทำประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ไว้ในกรมธรรม์ที่ 1+2 อย่างขาดไม่ได้ เพราะเป็นเบี้ย OPD ที่น้อยที่สุด แต่ให้ความคุ้มครองสูงอย่างมาก และสามารถอุดช่องโหว่ของประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่มักให้การ Follow up OPD มาเพียง 15-30 วันเท่านั้น ในขณะที่สัญญาเพิ่มเติมนี้สามารถ Follow up ได้ 1 ปี หรือ จนกว่าวงเงินจะหมด
พอร์ตลงทุนที่ 2
เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ
พอร์ตนี้มักจะใช้เป็นกองทุนรวมลดหย่อนภาษีเป็นหลัก โดยจะใช้วิธีการจัดพอร์ตแบบ Time-Segmentation ที่ทำการแบ่งเวลาเกษียณที่จะใช้จ่ายเบี้ยออกเป็น 3 ช่วงเวลา ช่วงเวลาละประมาณ 15 ปี
ซึ่งแต่ละช่วงเวลาจะมีกองทุนรวมแบบที่ปรับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับเวลาที่จะใช้ คือ ต้องรีบใช้ก่อนหรือกำลังใช้อยู่ต้องเป็นความเสี่ยงต่ำ หากยังไม่รีบใช้หรืออีกนานมากกว่าจะใช้จะสามารถเน้นไปที่กองทุนรวมความเสี่ยงสูงได้
เช่น กองทุนที่ปรับลดความเสี่ยงลงอัตโนมัติ Global Asset Allocation Target Date อย่าง BCAP-2050RMF จะถูกใช้ในเวลาเกษียณช่วงแรกสุด และ เวลาเกษียณช่วงที่สองจะใช้กองทุนรวม Global Asset Allocation ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น BCAP-GW90SSF และ เวลาเกษียณช่วงสุดท้ายที่นานที่สุด จะสามารถเน้นกองทุนรวมเจาะจงอุตสาหกรรม หรือ Thematic ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดได้อย่าง B-INNOTECHRMF
โดยการคำนวณการลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะวางแผนลงทุนกี่ปี เช่น 5 - 10 ปีเป็นต้น ซึ่งในระหว่างการลงทุนนี้หากมีบางปีไม่ได้ลงทุนตามแผน ก็จะจำเป็นต้องมีการคำนวณหาเงินลงทุนที่ต้องลงทุนเพิ่มใหม่ด้วย หรือ บางปีมีการลงทุนที่มากกว่าแผน ก็จำเป็นต้องคำนวณใหม่เช่นกัน
รวมถึงการคำนวณติดตามแผนในแต่ละปี ว่าผลการลงทุนจริงมีความแตกต่างจากแผนอย่างไรบ้าง และจำเป็นต้องมีการปรับแผนลงทุนใหม่หรือไม่
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 3 :
ชดเชยรายได้ก่อนเกษียณ
BLA Premier Link ทุน 5+ ล้าน
+ BLA ทุพพลภาพโปรเท็ค ทุน 3+ ล้าน / อบ.1-2
+ BLA ชดเชยรายได้ วันละ 1,000+ บ.
+ BLA Super Care ทุน 1-3 ล้าน เจอจ่ายทีละกลุ่มโรค
กรมธรรม์ที่ 1+2 :
ค่ารักษาเป็นหลัก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Prestige Health Unlock 30 ล้าน รับผิด 5 หมื่น
+ BLA Happy CI ทุน 1-3 ล้าน
+ ค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ทุน 100,000 (หากยังไม่มี)
พอร์ตลงทุนที่ 2 :
แผนเบี้ยสุขภาพ
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงแรก : BCAP-2050RMF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW90SSF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : B-INNOTECHRMF
สรุป : นอกจากจะเป็นช่วงอายุที่ควรเริ่มทำประกันชีวิตชั่วเวลามากที่สุดดแล้ว อายุช่วงนี้ยังเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองสูง ที่จำเป็นต้องรีบทำให้เร็วที่สุดแล้ว ก่อนจะเริ่มมีรอยโรคบางอย่างถูกบันทึกไว้ในประวัติการรักษา และหรือ ผลตรวจสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพิจารณารับทำประกันสุขภาพ และสามารถถูกยกเว้นความคุ้มครองในโรคที่เป็นมาก่อนได้ หรือหากเลวร้ายจะไม่สามารถรับทำประกันสุขภาพได้
หมายเหตุ : หากพ่อกับแม่ได้ทำกรมธรรม์ 1+2 ไว้ให้แล้ว ช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงอายุที่เริ่มสานต่อจากพ่อแม่ เพื่อดูแลค่าเบี้ยประกันเอง รวมถึงการวางแผนในการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในตอนเกษียณ
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 35-50 ปี
[ลูกดูแลและลูกดูแลหลาน]
กรมธรรม์ที่ 5 : ประกันลูก + ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 10-20 ปี (Option)
กรมธรรม์ที่ 4 : ประกันบำนาญ (เพิ่มได้จนกว่าจะครบตามเป้าหมาย)
กรมธรรม์ที่ 3 : ประกันชีวิต Unit-Linked ทุนชีวิตสูงถึงอายุ 60 ปี + ประกันทุพลภาพสิ้นเชิงถาวร + ประกันชดเชยรายได้ + ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุไม่คงที่
กรมธรรม์ที่ 2 : ประกันชีวิตตลอดชีพ✅ + ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันชีวิตมรดก✅ + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่✅
พอร์ตลงทุนที่ 2 : กองทุนรวมวางแผนเบี้ยประกันสุขภาพและทุพพลภาพถาวร ✅
พอร์ตลงทุนที่ 3 : กองทุนรวมวางแผนเกษียณ
พอร์ตลงทุนที่ 4 : กองทุนรวมวางแผนทุนการศึกษาหลาน
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
กรมธรรม์ที่ 4 จะเกิดขึ้นในช่วงอายุที่เริ่มมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน และเริ่มเห็นความสำคัญของการวางแผนเกษียณ โดยประกันบำนาญเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการวางแผนเกษียณ เพราะสามารถสร้างรายได้ประจำให้ตลอดอายุเกษียณได้แบบ Passive จริง ๆ ซึ่งต้องทำประกันบำนาญเท่าใดและแบบใด จะจำเป็นต้องใช้โปรแกรมคำนวณวางแผนเกษียณเข้าช่วย
อย่างไรก็ตามหากยังไม่เคยมีกรมธรรม์ที่ 1+2 และ 3 มาก่อนจะจำเป็นต้องรีบพิจารณาทำประกันสุขภาพและประกันชีวิตชั่วเวลาให้เร็วที่สุด ก่อนที่ประวัติการรักษาและผลตรวจสุขภาพที่สะสมมา จะส่งผลให้ไม่สามารถทำประกันทั้งสองแบบได้อีกแล้ว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในการวางแผนเกษียณทันทีเพราะจะต้องออมเงินจำนวนมากเพื่อรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด
นอกจากนี้หากมีลูก จะส่งผลให้จำเป็นต้องมีกรมธรรม์ที่ 5 หรือประกันของลูกเพิ่มขึ้นด้วย (แบบเดียวกับกรมธรรม์ที่ 1) จึงจำเป็นต้องวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี ๆ เพราะจะมีทั้งเบี้ยประกันลูก ตนเอง และแผนเกษียนในอนาคตร่วมด้วย
ประกันบำนาญ
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
การเลือกใช้เครื่องมือนี้โดยจะเผื่อด้วย 2 วัตถุประสงค์ คือ ช่วยจ่ายเบี้บประกันสุขภาพ และ ช่วยจ่ายบำนาญส่วน NEEDs ซึ่งจำเป็นต้องมีการคำนวณให้ชัดเจนก่อนว่าจำเป็นต้องได้บำนาญเท่าใดใน 2 วัตถุประสงค์นี้
จากนั้นจึงเริ่มมาคัดเลือกประกันบำนาญที่จะทำให้ได้บำนาญตามที่ต้องการโดยใช้เบี้ยที่ประหยัดที่สุด ทั้งนี้จะสามารถแบ่งประกันบำนาญที่จะใช้ออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ แบบจ่ายเบี้ยสั้น และ แบบจ่ายเบี้ยยาวจนถึงอายุเกษียณ
ซึ่งมักจะใช้การจ่ายเบี้ยยาวสำหรับให้ได้บำนาญที่จำเป็นต้องได้ขั้นต่ำจริง ๆ (NEEDs of NEEDs) โดยต้องสอดคล้องกับรายได้ประจำกับกำลังการออมที่มั่นใจว่าจะสามารถออมด้วยเงินเท่านี้ต่อเนื่องได้ทุกปี (รวมถึงหากต้องการนำมาลดหย่อนภาษีร่วมด้วย)
ในส่วนการจ่ายเบี้ยสั้นจะเหมาะการเปลี่ยนรายได้ที่ไม่ประจำ หรือ มากเป็นบางช่วงของชีวิต ให้กลายมาเป็นเงินบำนาญสะสมไว้เรื่อย ๆ จนกระทั่งครบตามเป้าหมายในที่สุด
สิ่งที่ต้องระวัง คือ แบบประกันบำนาญที่ให้ผลตอบแทนสูงจะสามารถปิดแบบหรือหยุดการรับสมัครลงได้ โดยเฉพาะหากดอกเบี้ยนโยบายเป็นขาลง ซึ่งการจ่ายเบี้ยยาวจะได้เปรียบเทียบกว่าจ่ายเบี้ยสั้น ตรงที่เป็นสัญญาระยะยาวไว้เรียบร้อย ในขณะที่แบบเบี้ยสั้นจะต้องลุ้นกันว่าปีหน้าจะยังมีแบบประกันนี้อยู่หรือไม่
พอร์ตลงทุนที่ 2
เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ
ส่วนนี้จะเป็นการออมต่อเนื่องจากที่วางแผนไว้ก่อนหน้า
พอร์ตลงทุนที่ 3
บำนาญส่วน WANTs ตอนเกษียณ
การลงทุนส่วนนี้จะใช้วิธีการลงทุนแบบ Time Segmentation ที่แบ่งช่วงเวลาเกษียณออกเป็น 3 ช่วง เช่นเดียวกับ พอร์ตลงทุนที่ 2 เพียงแต่ว่าจะไม่ได้นำไปใช้เพื่อจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ
โดยจะนำไปใช้เป็นบำนาญส่วน WANTs เพิ่มความสะดวกสบายให้กับบำนาญส่วน NEEDs ที่ได้จากประกันบำนาญ รวมถึงเพื่อชดเชยค่าเงินที่เฟ้อเพิ่มขึ้นตามเวลาได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องคำนวณอย่างละเอียดอีกครั้งว่าจะต้องลงทุนเพิ่มจาก พอร์ตลงทุนที่ 2 เท่าไร ทั้งนี้หากพอร์ตลงทุนที่ 2 ได้ลงทุนเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่วางแผนไว้เรียบร้อย ก็จะทำให้พอร์ตลงทุนที่ 3 นี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต่อเนื่องได้เต็มที่
แต่ก็มีโอกาสที่การลงทุนจะเกินสิทธิลดหย่อนได้ ซึ่งส่วนที่เกินสิทธิลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะที่จะนำไปใช้ตอนเกษียณช่วงที่ 2 และ 3 จะสามารถเน้นไปที่กองทุนรวมแบบไม่ลดหย่อนภาษีได้
ดังนั้นหากต้องการไม่ให้เกินสิทธิลดหย่อนภาษีไปมากนัก รวมถึงยังต้องการได้ค่าธรรมเนียมการจัดการที่ถูกแบบกองทุนลดหย่อนภาษีอยู่ อาจไม่ควรลงทุนทั้งพอร์ตที่ 2 และ 3 พร้อมกัน โดยลงทุนในพอร์ตที่ 2 ให้เสร็จตามแผนก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มแผนพอร์ตที่ 3 ต่อไป
พอร์ตลงทุนที่ 4
ทุนการศึกษาลูก
ส่วนนี้จะเป็นลักษณะเดียวกับ พอร์ตลงทุนที่ 1
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 5 :
ประกันตั้งต้นของลูก
เป็นลักษณะเดียวกับ กรมธรรม์ที่ 1
กรมธรรม์ที่ 4 :
บำนาญส่วน NEEDs
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยยาวถึงเกษียณ
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยสั้น
กรมธรรม์ที่ 3 :
ชดเชยรายได้ก่อนเกษียณ
BLA Premier Link ทุน 5+ ล้าน
+ BLA ทุพพลภาพโปรเท็ค ทุน 3+ ล้าน / อบ.1-2
+ BLA ชดเชยรายได้ วันละ 1,000+ บ.
+ BLA Super Care ทุน 1-3 ล้าน เจอจ่ายทีละกลุ่มโรค
กรมธรรม์ที่ 1+2 :
ค่ารักษาเป็นหลัก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Prestige Health Unlock 30 ล้าน รับผิด 5 หมื่น
+ BLA Happy CI ทุน 1-3 ล้าน
+ ค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ทุน 100,000 (หากยังไม่มี)
พอร์ตลงทุนที่ 4 :
ทุนการศึกษาลูก
เป็นลักษณะเดียวกับ พอร์ตลงทุนที่ 1
พอร์ตลงทุนที่ 3 :
แผนบำนาญส่วน WANTs
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงแรก : BCAP-2050RMF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW90SSF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : B-INNOTECHRMF
พอร์ตลงทุนที่ 2 :
แผนเบี้ยสุขภาพ
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงแรก : BCAP-2050RMF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW90SSF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : B-INNOTECHRMF
สรุป : ช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงที่ Recheck อีกครั้งว่า มีกรมธรรม์ที่ครอบคลุมหรือยัง โดยเฉพาะกรมธรรม์ค่ารักษา และกรมธรรม์ค่าชดเชยทั้งจากโรคร้ายและการจากไป เพียงแต่ว่าหากเพิ่งเริ่มทำที่อายุช่วงนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักมีประวัติการรักษามาเรียบร้อย และหากโชคร้ายเป็นเกี่ยวกับเบาหวาน ความดัน ค่าตับสูง ภูมิแพ้ หรือ แม้แต่โรคออฟฟิศซินโดรมขึ้นมา โอกาสที่จะไม่สามารถทำประกันได้จะสูงมาก หรือ หากทำได้ก็มีโอกาสโดนยกเว้นความคุ้มครองบางโรค บางอวัยวะ หรือแม้แต่ถูกเพิ่มเบี้ยรับความเสี่ยงขึ้นอีกได้ ดังนั้นหากยังไม่มีต้องรีบตัดสินใจให้เร็วที่สุด หรือ อย่างน้อยให้เร็วกว่าการป่วยเรื้อรัง 120 วันขึ้นไป (ปัญหา คือ หลายโรคกว่าจะแสดงอาการ มักเป็นตอนเรื้อรังและเข้ารับการรักษาตลอดชีวิตไปแล้ว)
หมายเหตุ : เมื่อเคลียร์เรื่องกรมธรรม์ได้ จึงจะสามารถเริ่มคำนวณวางแผนพอร์ตที่ 2 และ 3 ได้อย่างเต็มที่ เพราะอย่างน้อยรู้แล้วว่า ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาจะพอคาดการณ์ได้จากเบี้ยประกันสุขภาพ หรือ ถ้าหากทำประกันสุขภาพไม่ได้จะได้เริ่มวางแผนพอร์ตที่ 3 อย่างเต็มที่ เพราะต้องเพื่อค่ารักษาตนเองไว้ด้วยนั่นเอง
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 51-60 ปี
[ลูกดูแลและลูกดูแลหลาน]
กรมธรรม์ที่ 6 : ประกันมรดก
กรมธรรม์ที่ 5 : ประกันลูก✅ + ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 20 ปี (Option)
กรมธรรม์ที่ 4 : ประกันบำนาญ (เพิ่มได้จนกว่าจะครบตามเป้าหมาย)
กรมธรรม์ที่ 3 : ประกันชีวิต Unit-Linked ทุนชีวิตสูงถึงอายุ 60 ปี + ประกันทุพลภาพสิ้นเชิงถาวร + ประกันชดเชยรายได้ + ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุไม่คงที่
กรมธรรม์ที่ 2 : ประกันชีวิตตลอดชีพ✅ + ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันชีวิตมรดก✅ + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่✅
พอร์ตลงทุนที่ 2 : กองทุนรวมวางแผนเบี้ยประกันสุขภาพและทุพพลภาพถาวร✅
พอร์ตลงทุนที่ 3 : กองทุนรวมวางแผนเกษียณ
พอร์ตลงทุนที่ 4 : กองทุนรวมวางแผนทุนการศึกษาหลาน
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
ช่วงอายุนี้คาดหวังว่าจะมีกรมธรรม์ที่จำเป็นครบหมดเรียบร้อยแล้ว หรือ ทราบแล้วว่าสามารถทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ โดยมักจะเหลือเพียงการติดตามและปรับพอร์ตการลงทุนที่ 2 และ 3 เพื่อให้เป็นไปตามแผนมากที่สุด กับ การพิจารณาเรื่องมรดก
ประกันมรดก
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
โดยหากยังไม่มีประกันมรดก หรือ ประกันมรดกที่มีนั้นน้อยเกินกว่าความต้องการ ช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงอายุท้ายสุดที่เมื่อทำประกันมรดกแล้วจะจ่ายเบี้ยรวมทั้งสัญญาน้อยกว่าทุนประกันมรดกที่จะได้ เช่น
- หากมีเงิน 50 ล้านบาท
- ทำประกันมรดก BLA Prestige Life 99/5 ทุน 40 ล้านบาท แบบการันตี เพื่อแบ่งให้ลูกเท่ากัน 2 คน
- เบี้ยประกัน BLA Prestige Life 99/5 รวมทั้งสัญญาจะอยู่ที่ 19,356,000 บ. หรือประมาณ 20 ล้านบาท
- ทำให้ยังเหลือเงินไว้ใช้ยามเกษียณอีกถึง 30,644,000 หรือ 30 ล้านบาท
- แต่ถ้าหากไม่มีประกันมรดก จะทำให้ต้องกันเงินไว้ถึง 40 ล้านบาท และไม่การันตีว่าจะสามารถกันเงินไว้ได้สำเร็จหรือไม่
ดังนั้นประกันมรดกจึงมีความสำคัญมาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือสุขภาพที่ยังต้องแข็งแรง ไม่ควรเป็นโรคความดัน หรือเบาหวาน โดยหากทุนมรดกสูง และหรือ อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป โอกาสจะถูกขอให้ตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจะสูงมาก และต้องลุ้นนักพอสมควรว่าจะสามารถทำประกันมรดกได้หรือไม่
เสมือน 20 ล้านบาทที่ประหยัดได้จากประกันมรดก ก็คือ มูลค่าของสุขภาพที่แข็งแรงนั่นเอง
ประกันบำนาญ
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
ยังสามารถทำประกันบำนาญเพิ่มได้อีก หากยังเห็นว่ายังไม่ได้บำนาญตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
พอร์ตลงทุนที่ 2
เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ
ในอายุช่วงนี้จะเหลือเพียงการติดตามพอร์ตการลงทุนว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ จะต้องลงทุนเพิ่มอีกหรือไม่ หรือถ้ายังไม่มีประกันสุขภาพ และยังสมารถทำได้ก็จะเป็นการคำนวณว่าควรต้องลงทุนเท่าใดเพื่อไว้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ร่วมกับประกันบำนาญ
พอร์ตลงทุนที่ 3
บำนาญส่วน WANTs ตอนเกษียณ
ในอายุช่วงนี้ยังเน้นทั้งติดตามและลงทุนต่อเนื่องเพื่อให้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
พอร์ตลงทุนที่ 4
ทุนการศึกษาลูก
ส่วนนี้จะเป็นลักษณะเดียวกับ พอร์ตลงทุนที่ 1
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 6 :
มรดก
BLA Prestige Life 99/ 5,10,15 ทุน 5+ ล้าน
กรมธรรม์ที่ 5 :
ประกันตั้งต้นของลูก
เป็นลักษณะเดียวกับ กรมธรรม์ที่ 1
กรมธรรม์ที่ 4 :
บำนาญส่วน NEEDs
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยยาวถึงเกษียณ
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยสั้น
กรมธรรม์ที่ 3 :
ชดเชยรายได้ก่อนเกษียณ
BLA Premier Link ทุน 5+ ล้าน
+ BLA ทุพพลภาพโปรเท็ค ทุน 3+ ล้าน / อบ.1-2
+ BLA ชดเชยรายได้ วันละ 1,000+ บ.
+ BLA Super Care ทุน 1-3 ล้าน เจอจ่ายทีละกลุ่มโรค
กรมธรรม์ที่ 1+2 :
ค่ารักษาเป็นหลัก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Prestige Health Unlock 30 ล้าน รับผิด 5 หมื่น
+ BLA Happy CI ทุน 1-3 ล้าน
+ ค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ทุน 100,000 (หากยังไม่มี)
พอร์ตลงทุนที่ 4 :
ทุนการศึกษาลูก
เป็นลักษณะเดียวกับ พอร์ตลงทุนที่ 1
พอร์ตลงทุนที่ 3 :
แผนบำนาญส่วน WANTs
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงแรก : BCAP-2050RMF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW90SSF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : B-INNOTECHRMF
พอร์ตลงทุนที่ 2 :
แผนเบี้ยสุขภาพ
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงแรก : BCAP-2050RMF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW90SSF
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : B-INNOTECHRMF
สรุป : เป็นช่วงอายุที่หากเพิ่งเริ่มทำกรมธรรม์ที่จำเป็นจะเห็นว่า เบี้ยนั้นสูง แต่นั่นเป็นราคาของอนาคตที่นำมารวมด้วย โดยหากยังสามารถทำประกันต่าง ๆ ได้ และมีกำลังพอ ควรรีบทำเพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยประหยัดได้ในระยะยาวจริง ๆ เพราะค่าใช้จ่ายช่วงเกษียณยังสามารถตามมาได้อีกมาก และเป็นจำนวนเงินที่คาดการณ์ได้ยาก หากไม่มีเครื่องมือการเงินเหล่านี้ช่วย
หมายเหตุ : หากมีกรมธรรม์ที่จำเป็นครบหมดเรียบร้อย การติดตามการลงทุน และลงทุนต่อเนื่องทั้งในกองทุนรวมและประกันบำนาญ จะเริ่มทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าชีวิตตอนเกษียณเป็นเช่นไร และเริ่มย้อนกลับมาขอบคุณตนเองในอดีตมากยิ่งขึ้น ที่ได้วางแผนและลงมือทำ
เครื่องมือการเงินที่เลือกใช้ตอนอายุ 61+ ปี
[ลูกดูแลตนเอง หลานดูแลต่อ]
กรมธรรม์ที่ 6 : ประกันมรดก✅
กรมธรรม์ที่ 5 : ประกันลูก✅
กรมธรรม์ที่ 4 : ประกันบำนาญ (เพิ่มได้จนกว่าจะครบตามเป้าหมาย) ✅
กรมธรรม์ที่ 3 : ประกันชีวิต Unit-Linked ทุนชีวิตสูงถึงอายุ 60 ปี ✅ + ประกันทุพลภาพสิ้นเชิงถาวร + ประกันชดเชยรายได้ + ประกันโรคร้ายเบี้ยเพิ่มตามอายุไม่คงที่
กรมธรรม์ที่ 2 : ประกันชีวิตตลอดชีพ✅ + ประกันสุขภาพเหมาจ่าย + ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ
กรมธรรม์ที่ 1 : ประกันชีวิตมรดก✅ + ประกันโรคร้ายแรงเบี้ยคงที่✅
พอร์ตลงทุนที่ 2 : กองทุนรวมวางแผนเบี้ยประกันสุขภาพและทุพพบภาพถาวร✅
พอร์ตลงทุนที่ 3 : กองทุนรวมวางแผนเกษียณ✅
เครื่องมือการเงินที่แนะนำ
เป็นช่วงอายุที่จะรู้ตัวแล้วว่า จะมีความสุขกับการเกษียณได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเตรียมตัวมาครบถ้วน ทั้งกรมธรรม์ และพอร์ตการลงทุนที่เตรียมมา จะเริ่มทำงานแทนตนเองอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มีเวลามากขึ้นในการทำในสิ่งที่ตนชอบได้อย่างสบายใจไร้กังวล
ประกันมรดก
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
ส่วนนี้จะเหลือเพียงชำระเบี้ยให้ครบ หากเลือกระยะเวลาชำระเบี้ยเช่น 10 - 15 ปี แต่จะการันตีมรดกให้ลูกได้แน่นอน รวมถึงยังสามารถเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์จากทุนประกันมรดกนี้ได้อยู่
ประกันชีวิตชั่วเวลา
สัญญาหลักกำหนดระยะเวลาของสัญญา
ในกรมธรรม์ที่ 3 นี้ จะสามารถเลือกที่จะยกเลิกทั้งกรมธรรม์ หรือ สามารถเลือกยกเลิกเฉพาะสัญญาเพิ่มเติมตามที่ต้องการได้
โดยหากยังเก็บกรมธรรม์ที่ 3 ไว้อยู่ จะจำเป็นต้องทำเรื่องเปลี่ยนจำนวนเบี้ยที่ชำระเป็นแบบต่ำสุด และเปลี่ยนทุนชีวิตเป็นแบบต่ำสุด ซึ่งจะเหลือทุนชีวิตที่ 60,000 บ. เท่านั้น ทำให้ค่าประกันภัยส่วนประกันชีวิตลดลงอย่างมาก และกรมธรรม์ที่ 3 จะสามารถอยู่ต่อได้อีกนานหลายปี
ทั้งนี้การเก็บกรมธรรม์ที่ 3 ไว้ นอกจากจะมีประโยชน์หากต้องการเก็บสัญญาเพิ่มเติมบางตัวไว้แล้ว ยังมีประโยชน์ในการย้ายเงินลงทุนจากกองทุนรวมที่จะใช้ช่วงแรกของอายุเกษียณมาอยู่ใน กองทุนรวมของกรมธรรม์ที่ 3 ที่เป็นความเสี่ยงต่ำได้
ด้วยเพราะกรมธรรม์ที่ 3 เป็นประกันควบการลงทุน ที่เมื่อจะหยุดชำระเบี้ยแล้ว จะสามารถสั่งให้ทยอยขายกองทุนในกรมธรรม์ออกมาเป็นบำนาญที่เท่ากันทุกเดือนได้โดยอัตโนมัติ
ทำให้หากวางแผนมาอย่างดีพอ บำนาญที่ได้จากการขายกองทุนทุกเดือน เมื่อรวมกับบำนาญจากประกันบำนาญ จะสามารถนำมากินใช้จ่ายได้อย่างเพียงพอ รวมถึงสามารถนำมาหักบัญชีธนาคารจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพอัตโนมัติได้ด้วย
พอร์ตลงทุนที่ 2
เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ
พอร์ตลงทุนที่ 2 ส่วนที่ต้องใช้จ่ายเบี้ยสุขภาพของอายุเกษียณช่วงแรก จะย้ายไปอยู่ในกรมธรรม์ที่ 3 เพื่อสามารถตั้งค่าให้กรมธรรม์ที่ 3 ขายกองทุนออกมาใส่บัญชีธนาคารอัตโนมัติ ซึ่งเป็นบัญชีธนาคารที่จะถูกหักบัญชีจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเมื่อครบรอบ
โดยกองทุนที่จะใช้ในตอนอายุเกษียณช่วงที่ 2 และช่วงที่ 3 จะมีการสับเปลี่ยนมาเป็นกองทุน Global Asset Allocation ที่มีความเสี่ยงลดลงตามลำดับ และตามแผนที่วางไว้
ทั้งนี้จะมีการแจ้งเตือนจากระบบเมื่อมูลค่าเงินในกรมธรรม์ที่ 3 ใกล้หมด ซึ่งจะทำให้รู้ว่าถึงเวลาต้องย้ายเงินจากกองทุนรวมเบี้ยอายุเกษียณช่วงที่ 2 มาใส่ไว้ในกรมธรรม์ที่ 3 และทำการปรับลดความเสี่ยงของกองทุนรวมอายุเกษียณช่วงที่ 3 ลงได้ต่อไป
พอร์ตลงทุนที่ 3
บำนาญส่วน WANTs ตอนเกษียณ
การทำงานและการจัดการจะคล้ายกับพอร์ตลงทุนที่ 2 เพียงแต่จะให้พอร์ตลงทุนที่ 3 ขายกองทุนออกมาเพื่อเป็นบำนาญส่วน WANTs ในทุกเดือน โดยเงินขายกองทุนจะเข้าบัญชีเดียวกับเงินที่ได้รับจากประกันบำนาญ
แต่เนื่องจากประกันบำนาญจะรับเงินเป็นแบบรายปี ทำให้เพื่อป้องกันการนำเงินจากประกันบำนาญไปใช้จ่ายหมดในทีเดียว บัญชีที่ได้รับเงินทั้งจากกองทุนและประกันบำนาญจะไม่สามารถใช้จ่ายใด ๆ ได้
แต่จะทำการโอนเงินอัตโนมัติที่ตั้งค่าไว้ทุกเดือนตามเงินบำนาญที่วางแผนไว้ไปยังบัญชีสำหรับใช้จ่ายโดยเฉพาะ หรือเสมือนเป็นการเลียนแบบรับเงินเดือนนั่นเอง
สรุปเครื่องมือการเงิน
กรมธรรม์ที่ 6 :
มรดก
BLA Prestige Life 99/ 5 ,10,15 ทุน 5+ ล้าน
กรมธรรม์ที่ 4 :
บำนาญส่วน NEEDs
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยยาวถึงเกษียณ
ประกันบำนาญดั้งเดิมแบบจ่ายเบี้ยสั้น
กรมธรรม์ที่ 3 :
บำนาญอัตโนมัติ
BLA Premier Link ทุน 60000 บ.
กรมธรรม์ที่ 1+2 :
ค่ารักษาเป็นหลัก
BLA Prestige Life 99/5 ทุน 5+ ล้าน หรือ
BLA ตลอดชีพสุดคุ้ม 99/20 ทุน 1-5 แสน
+ BLA Prestige Health Unlock 30 ล้าน รับผิด 5 หมื่น
+ BLA Happy CI ทุน 1-3 ล้าน
พอร์ตลงทุนที่ 3 :
แผนบำนาญส่วน WANTs
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW75
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : BCAP-GW90
พอร์ตลงทุนที่ 2 :
แผนเบี้ยสุขภาพ
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสอง : BCAP-GW75
ใช้จ่ายเบี้ยตอนเกษียณช่วงสาม : BCAP-GW90
สรุป : ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาที่หมดห่วงหลายอย่าง ๆ ด้วยเครื่องมือการเงินที่พร้อมทำงานอัตโนมัติประสานกัน ทำให้เสมือนเป็นการได้รับเงินเดือนปลอดภาษีในทุกเดือน และยังสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลจาก รพ.เอกชน ได้อย่างหมดห่วง
หมายเหตุ : อาจมีค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากความคุ้มครองของประกันสุขภาพ และเงินเดือนหรือบำนาญที่ได้อาจไม่เพียงพอ ในกรณีนี้หากพอร์ตการลงทุนที่ 2 มีการวางแผนเงินสำรองฉุกเฉินค่ารักษาไว้ด้วยก็จะแก้ปัญหานี้ได้ แต่หากไม่ได้วางแผนไว้ก็จะยังสามารถกู้กรมธรรม์ประกันชีวิตหรือประกันมรดกออกมาจ่ายก่อนได้ จากนั้นเมื่อได้รับเงินบำนาญจึงทยอยจ่ายคืนกรมธรรม์ที่กู้ออกมาได้ ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำมาก
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"