วางแผนการเงินและวางแผนเกษียณ อะไรคือสิ่งสำคัญที่ควรต้องรู้ก่อนวางแผน

  • ยิ่งถ้าหากวางแผนการเงินการเกษียณโดยรู้สิ่งสำคัญนี้ได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งช่วยให้คุณกับครอบครัวได้เหนื่อยน้อยลงเร็วขึ้นเท่านั้น 
  • หลายโรงเรียนในต่างประเทศต้องมีการสอนสิ่งสำคัญนี้อย่างจริงจัง โดยไม่ต้องรอให้ผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมาเป็นคนแนะนำ และทำให้พลาดเดินผิดทางไป!

เปิดเผยความจริงอันแสนเจ็บปวด

ที่คุณและครอบครัวจะได้พบหลังจากที่เรียนจบและทำงานไปได้หลายปีแล้ว

มันไม่ใช่การเจ็บปวดเพียงเพราะคุณกับครอบครัวรู้ตัวช้าไปเท่านั้น แต่มันเจ็บปวดเพราะ คุณกับครอบครัวจะไม่สามารถย้อนเวลา กลับไปแก้ไขอะไรได้อีก

คุณกับครอบครัวจะมีแต่คำถามมากมาย และคอยถามว่าทำไมเรื่องที่เสี่ยงเป็น เสี่ยงตายแบบนี้ถึงไม่ถูกสอนในโรงเรียน

แต่กลับให้คุณกับครอบครัวออกไปเรียนรู้เอง.. ให้ไปถูกหลอก.. ให้ไปเจ็บใจ จนกว่าคุณจะเข้าใจเองได้

เพราะสิ่งที่โรงเรียนคอยสอนคุณกับครอบครัว มักจะวนอยู่เพียง "ต้องแข่งขัน ต้องเก่ง ต้องหาเงินให้ได้มากที่สุด" ซึ่งมีแต่สร้างความเครียด ความกังวลให้กับชีวิตอยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเท่าไรจึงจะจบลงสักที 

ทั้งๆ ที่หากรู้ "เรื่องเหล่านี้ก่อน" จะทำให้ความเครียด ความกังวลในชีวิตหายไปได้ในทันที   โดยไม่ต้องรออย่างไร้จุดหมาย

สมัครงาน

อะไรคือสิ่งที่..โรงเรียนอาจไม่ได้สอน

    โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า คุณต้องทำงานให้ได้เงินเท่าไร.. ทำนานแค่ไหน แล้วเป้าหมายที่จำเป็นในชีวิตคือเท่าใด

   โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. ร่างกายและจิตใจของคุณจะถดถอยลงได้อย่างรวดเร็วเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหากทำงานกินดื่มใช้ร่างกายและรับความเครียดอย่างมากในทุกวัน

    โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. โรคภัยไข้เจ็บที่คุณและครอบครัวหลีกหนีได้ยากเมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งนั้นมีหน้าตาอย่างไร ค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นทุกปีนั้นแทบทำให้ล้มละลายต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาขนาดไหน

    โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. จะจัดการกับความกังวล ว่าห้ามป่วย ห้ามตายในระหว่างที่คุณต้องออกไปทำงานหาเงินเพื่อคนข้างหลังได้อย่างไร

    โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. จะจัดการกับความโลภในการลงทุนได้อย่างไร ให้ไม่เลวร้ายถึงขนาดที่คุณต้องหมดตัว และเป็นหนี้จนอาจคิดสั้นได้

   โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. ชีวิตคุณเป็นสิ่งที่เปราะบางแค่ไหน ถึงขนาดตอบอย่างมั่นใจไม่ได้ด้วยซ้ำว่า คนชราอายุ 70 ปี กับคนหนุ่มสาวอายุ 25 ปี ใครจะจากไปก่อนกัน เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้

   โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. มูลค่าของเงินนั้นเปลี่ยนแปลงตามเวลา และคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ จะต้องเป็นทาสของเงินต่อไปไม่รู้อีกนานเท่าไร

   โรงเรียนอาจไม่ได้สอนว่า.. คนที่พึ่งพาได้ที่สุดในชีวิต ก็คือตัวคุณเองในอดีต ไม่ใช่ใครที่ไหนทั้งใกล้ตัวและไกลตัว

บางสิ่งที่อันตราย.. ได้เข้ามาสอนแทน

โดยปล่อยให้คุณครูที่ชื่อว่า ละคร หนัง ซีรีย์ นิยาย โซเชียลมีเดีย อินฟลูเอ็นเซอร์ มาสอนแทน จนได้พาคุณหลงทางออกจากสิ่งที่คุณต้องการในชีวิตจริงๆ ไป

Big Short movie

ทำไมสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเป็นครู เพราะครูเหล่านี้เอาแต่สอนว่า..

  คุณกับครอบครัวต้องมีทุกอย่างตามที่คุณครูบอกว่าควรมี ไม่ว่าสิ่งนั้นจะแลกมาด้วย การทำงานที่ไม่ชอบ ทำแบบไม่รู้จบ หรือการลงทุนที่เสี่ยงในระดับการพนัน

  คุณกับครอบครัวต้อง มีบ้านหลังใหญ่ มีรถคันหรู ท่องเที่ยวในสถานที่ตื่นตาตื่นใจ อาหารการกินต้องไม่ธรรมดา ต้องมีของสะสมหายาก ต้องมีทุกๆ อย่าง ที่จะทำให้คนรอบข้างคุณต้องเอ่ยปากชม แม้ต้องผ่อนมาใช้ก่อนจ่ายที่หลังและต้องเป็นหนี้ที่จำกัดอิสรภาพ

  คุณกับครอบครัวต้อง ไล่ตามความสำเร็จ ต้องเป็นที่หนึ่ง มีบริษัทใหญ่โต เป็นผู้บริหารชั้นสูง มีพนักงานนับร้อยนับพัน เป็นที่รู้จักของคนจำนวนมาก มีผู้คนให้ความสนใจ

  คุณกับครอบครัวต้อง เป็นครอบครัวที่เพรียบพร้อม ทุกอย่างต้องดูดี ดูเพอร์เฟ็คในสายตาคนภายนอก

ทั้งหมดนี้ ทำให้คุณต้องเร่งทำงานหาเงินให้ได้มาก ๆ โดยที่ไม่รู้จริง ๆ ว่า คำว่ามากๆ นั้นคือเท่าไร  และต้องทำอีกนานแค่ไหนเหมือนคุณถูกสอนมาไม่ครบ

คิดเรื่องการหาเงินให้ได้มาก ๆ

และยิ่งคุณหาได้มาก มันกลับทำให้คุณยิ่งกังวลมากขึ้น


เพราะสิ่งมากๆ เหล่านี้ ล้วนวนกลับมา สร้างภาระที่มากมาย ตามมาด้วย แถมคุณและครอบครัวก็ยังคงมีความกังวลใจในเรื่องเหล่านี้กวนใจอยู่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น..

ความกังวลเมื่อคุณหรือคนในครอบครัวออกไปทำงานแล้ว.. ถ้าเกิดอะไรขึ้น คุณและครอบครัวจะอยู่กันต่ออย่างไร ไหนจะหนี้สิน ไหนจะค่าโรงพยาบาล ไหนจะค่าฌาปนกิจ ไหนจะค่าฟ้องร้อง ไหนจะค่าชดเชยคู่กรณี แล้วจะต้องหาทางขายทรัพย์สินหรือต้องกู้หนี้ยืมสิน และกลายเป็นปัญหาหรือภาระให้ใครอีกบ้าง

ความกังวลต่อความเจ็บป่วยในร่างกายทั้งตนเองและครอบครัว ไม่อยากไปตรวจสุขภาพ ไม่อยากรับรู้ ทำไมโรงเรียนไม่สอนให้รู้ว่า มันมีโรคบ้า ๆ มากมายที่ยากจะหลีกเลี่ยงและมีโอกาสเป็นสูงแค่ไหนเมื่ออายุมากขึ้น พร้อมค่าใช้จ่ายที่ไม่ต่างกับการปล้นเอาเงินที่หามาอย่างยากลำบาก ไปทั้งหมด

ความกังวลว่ายามแก่ชรา ค่าอยู่อาศัย ค่าการรักษา ค่าดูแล จะขึ้นไปสูงขนาดไหน จะต้องเป็นภาระใครต่อใครอีก จะมีใครหรืออะไรให้พึ่งพิงได้หรือไม่

ความกังวลว่า สุดท้ายจริง ๆ แล้วต้องหาเงินอีกนานแค่ไหน ต้องหาอีกเท่าไร เมื่อไรชีวิตที่วนเวียนแบบไม่มีจุดสิ้นสุดชัดเจนแบบนี้ จะจบลงสักที

สุดท้าย เมื่อคุณต้องเหนื่อยทั้งกายและใจอย่างถึงที่สุด

คุณจึงเริ่มรู้สึกตัวว่า..

คุณเดินอยู่บนเส้นด้ายมาตลอด นับจากวันที่คุณออกมาทำงาน คุณถูกสอนให้ทำ ให้หาสิ่งของต่าง ๆ มามากมาย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้เส้นด้ายนี้หนาและปลอดภัยมากขึ้นเลย

คุณเริ่มแก่ตัวลงมากพร้อมกับแบกภาระเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คุณเหนื่อย คุณเริ่มเจ็บป่วย คุณเริ่มต้องการแค่ความสงบในชีวิต ได้หลบไปหาความสุขเล็ก ๆ หรือขอแค่ได้ปลดปล่อยภาระที่มีออกไปให้ได้บ้าง

คุณไม่เคยได้กำหนดอะไรเลย ทุกอย่างเหมือนโดนผลักให้ไล่ไปตามกระแสความเชื่อบางอย่างของคนภายนอกเท่านั้น คุณเหนื่อยเหลือเกินที่ต้องวิ่งไปตามสายพานนี้

ตอนนี้คุณรู้สึกว่า ทำไมภาพทุกอย่างมันพล่ามัวไปหมด มันไม่เคยชัดเจนเลย มันไม่มีความมั่นคง มีแต่ความกังวลที่ยังคงอยู่กับคุณเสมอมา

คุณเริ่มรู้ตัวว่า..ทั้งหมดนี้มันไม่ถูกต้อง มันขาดจิ๊กซอว์บางอย่างไป

เมื่อคุณรู้ตัวแล้วว่า..นี่มันไม่ถูกต้อง

คุณจึงได้นั่งหยุดพักกับตนเอง ได้นั่งเคียงข้างกับตนเอง แล้วถามกับตนเองตรง ๆ ว่า จริง ๆ แล้วคุณกับครอบครัวต้องการอะไร

“จริงๆ คนเราหาเงินไปเพื่ออะไร สุดท้ายแล้ว เราต้องการเพียงแค่สิ่งไหน”

คนทำงาน burnout

และบางทีคุณอาจจะตอบกับตนเองได้ว่า..

“มันไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่เราได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้แบ่งปัน ได้ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนเองถนัด โดยไม่ต้องกังวลอะไร.. ไม่มีภาระอะไร”

เป้าหมายชีวิตจริง ๆ อาจเรียบง่ายถึงขนาดนี้ แต่คุณครูโซเชียลมีเดียได้สอนให้คุณเดินกลับหลังและอ้อมไปไกลมาก เพราะเพียงคำสอนที่ว่า

“คุณจะต้องหาเงินให้ได้มากๆ ต้องมีทุกอย่างโดยเร็ว ต้องได้รับคำชื่นชมจากผู้คนจำนวนมาก แล้วคุณจะไม่มีอะไรให้กังวล”

ทั้งที่จริงๆ แล้ว ความกังวลเหล่านี้สามารถจะหายไปได้ หรือ อย่างน้อยลดลงได้โดยไม่ยาก ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ไม่ต้องใช้เงินหลายล้านบาท ไม่ต้องเป็นคนหาเงินเก่งมากๆ หรือต้องทำอะไรที่จะเพิ่มภาระขึ้นอีกมากมายเลย

"แค่เพียงเริ่มทำในสิ่งที่โรงเรียนและคุณครูโซเชียลมีเดียเหล่านั้นสอนไม่ครบ"

ใช่..พวกเขาสอนไม่ครบ!! จากสิ่งที่ต้องสอนทั้งหมด 5 อย่าง พวกเขากลับสอนเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ

1. ACTIVE INCOME การหารายได้จากการทำงาน หนึ่งในวิธีการสร้าง Your Money 
ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆ ในการสร้าง Active Income อย่างมีประสิทธิภาพประมาณ 20-30 ปี

และสิ่งที่น่ากลัวต่อมา ที่พวกเขาสอนอ้อมๆ โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ก็คือ

2. SPENDING การใช้จ่ายในสิ่งคิดว่าควรมีเหมือนคนอื่น ด้วย Your Money หรือ Family's Money หรือ Future Money (LOAN-กู้ยืม) จากพลังสื่อโฆษณาและการตลาดต่างๆ ที่จะพุ่งเข้าหาคุณตลอด 24 ชม. ไม่ว่าคุณจะตื่นนอนตอนไหนก็ตาม

และไม่เคยเลยที่จะสอน จิ๊กซอว์สำคัญอีกถึง 3 อย่าง ที่คุณกับครอบครัวจำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างจริงจัง เพื่อที่จะทลายข้อจำกัดของข้อ 1 และ จำกัดขอบเขตความน่ากลัวของข้อ 2 ได้

ก่อนจะลงลึกถึง 3 จิ๊กซอว์ที่ขาดหายไปนี้ ให้คุณลองหลับตาและจินตนาการดูว่า..

เมื่อคุณเป็นดังเหตุการณ์ต่อไปนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร

Happy go to work

⦿   เมื่อคุณและครอบครัวสามารถออกจากบ้านไปทำงานได้อย่างสบายใจ โดยที่ไม่มีห่วงถึงภาระอันหนักหนาสาหัสภายหลังจากที่โชคร้ายมีสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งถูกมัจจุราชพรากไป และพร้อมทวงความยุติธรรมคืนให้ได้

Happy health check

⦿   เมื่อคุณกล้าที่จะเรียนรู้ว่า โรคภัยที่จะเข้ามาตอนช่วงอายุต่าง ๆ นั้นมีอะไรบ้าง กล้าที่จะตรวจสุขภาพ.. ตรวจคัดกรองมะเร็งโรคร้าย โดยไม่กลัวว่าถ้าตรวจพบแล้วคุณจะต้องทำอย่างไร

Happy treatment plan4

⦿   เมื่อคุณกล้าที่จะป่วย กล้าที่จะเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ทั้งต่อตัวคุณเองและครอบครัว พร้อมที่จะนอนรักษาใน รพ. ให้หายป่วยได้อย่างเต็มที่ด้วยความสบายใจ ไม่ต้องรีบเร่งแล้วสุขภาพจิตเสียเพราะกลัวว่าจะเป็นภาระให้กับคนรอบข้าง ทั้งยังมีเงินช่วยเหลือตอบแทนคนที่อาสาช่วยดูแลคุณหรือครอบครัวของคุณได้

Happy investment3

⦿   เมื่อคุณกล้าที่จะลงทุนและเสี่ยงได้มากขึ้นเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า เพราะคุณรู้ว่าคุณได้จัดการเงินส่วนที่จำเป็นในปัจจุบันและเงินตอนเกษียณไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้คุณกลับมาตั้งหลักใหม่ได้เสมอ

Happy Retire2

⦿   เมื่ออายุใกล้เกษียณมากเท่าใด คุณยิ่งมีความสุข เพราะคุณรู้แล้วว่าคุณจะได้พักและมีอิสระที่จะทำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ ได้โดยไม่ต้องคิดเรื่องการหาเงินใดๆ อีก

ถ้าความรู้สึกหลังจากที่คุณจินตนาการเรื่องเหล่านี้ ออกมาเป็น ความสบายใจ มีพลังชีวิตมากขึ้น ความพล่ามัวเริ่มจางลง

นั่นคือ เครื่องยืนยันที่ทำให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ชีวิตที่คุณต้องการดำเนินต่อไปนั้น คุณอยากจะเป็นอย่างไร

Happy thinking

3 จิ๊กซอว์สำคัญที่ขาดหายไป

เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวคุณมาก และ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากมหาศาล

ก็สามารถที่จะได้ 3 จิ๊กซอว์เหล่านี้ มาเริ่มปลดความห่วง ความกังวล ที่คุณมีได้ในทันที

3 จิ๊กซอว์นี้มีมานานแล้วและคุณเองก็คุ้นเคยดี เพียงแต่คุณกับครอบครัวอาจไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้อีกทางเท่านั้น เพราะมันคือขั้นตอนเดียวกันกับเมื่อตอนที่คุณอยากได้บ้าน อยากได้รถ อยากได้มือถือรุ่นใหม่ โดยสิ่งที่คุณจะทำอย่างแรกก็คือ

จิ๊กซอว์ 1

SAVING (เก็บออม) จาก Your Money ที่หามาได้ โดยอาจจะมีกลไกบางอย่างที่ทำให้สามารถออมได้อย่างมีวินัย

หรือ ถ้าหากมีเวลาที่นานพอหรือรับความเสี่ยงได้มากขึ้น คุณอาจเลือก

จิ๊กซอว์ 2

INVESTMENT (การลงทุน) ใน OPR (Other's People Resources) เช่น ลงทุนผ่านหุ้น ผ่านกองทุนรวม เพื่อที่จะให้เงินเติบโตได้เองมากขึ้น ผ่านการทำงานของคนอื่นโดยคุณมีหน้าที่เพียงแค่ลงเงินเท่านั้น

แต่ถ้าสุดท้ายคุณ ไม่ต้องการรอ ที่จะเก็บออมหรือลงทุนจนได้เงินก้อนมาซื้อ คุณต้องการให้มี ให้ได้ใช้ในทันที

สิ่งที่คุณมักจะทำต่อมาก็คือ BANK INVESTING (LOAN) คือ ให้ธนาคารมาลงทุนในตัวคุณผ่านการให้สิ่งที่คุณอยากได้มาก่อน จากนั้นคุณสัญญาว่าจะให้เงินธนาคารกลับไป 1-2 เท่าของราคาของนั้นๆ ตามเวลาที่กำหนด

ซึ่งก็คือการใช้ OPM (Other's People Money) จากเงินในธนาคาร หรือ การกู้มาใช้ก่อนแล้วค่อยผ่อนจ่ายภายหลัง นั้นเอง

และวิธีการนี้ละคือจิ๊กซอว์สำคัญที่ขาดหายไป

คุณรู้หรือไม่ว่า ด้วยวิธีการใช้เงินของผู้อื่นหรือ OPM แบบเดียวกันนี้เอง สามารถเปลี่ยนจากบ้าน รถ มือถือ มาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ของภัยที่คุณและครอบครัวไม่อยากให้เกิดขึ้นแต่ยากที่จะหลีกหนีได้

เช่น ค่ารักษาพยาบาลตลอดชีวิต ค่าใช้จ่ายช่วงสุดท้ายของชีวิต ค่าภาระหนี้สิน ค่าภาระทางธุรกิจ ค่าศาล ค่าทนาย ค่าเลี้ยงดูครอบครัว ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น ได้

ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต่างกับค่าบ้านค่ารถตรงที่ คุณไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหน และไม่รู้ควรจะต้องเก็บออม หรือ ลงทุน ไว้จำนวนเท่าไรและนานเท่าใดดี

ด้วยปัญหานี้เอง จิ๊กซอว์ตัวสำคัญสุดท้ายจึงเกิดขึ้นมา นั่นก็คือ

จิ๊กซอว์ 3

PROTECTION (การป้องกัน) ด้วย OPM (Other's People Money)  หรือก็คือการจ่ายค่า FEE ในการดึงเงินจำนวนมากของผู้อื่นที่เสี่ยงภัยร่วมกัน มาใช้เป็นค่าใช้จ่ายให้กับภัยที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน โดยไม่จำเป็นต้องออมเงินจำนวนมากไว้เอง

โดยเพียงแบ่งเงินจำนวน 5%-15% ของ INCOME มาเป็นค่า FEE เข้าถึง OPM นี้ คุณก็จะมีเครื่องมือ PROTECTION ไว้ใช้ ในเหตุการณ์เสี่ยงภัยที่ไม่คาดคิดได้ในทันที

จิ๊กซอว์ 1+2+3

ที่สำคัญที่สุดคือค่า FEE เข้าถึง OPM เหล่านี้ เป็นเงินส่วนน้อยและทยอยเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จึงทำให้คุณสามารถนำเงินส่วนที่เติบโตได้เร็วกว่าของ INVESTMENT ผ่าน OPR มาจ่ายค่า FEE ที่เติบโตช้ากว่านี้ได้ ซึ่งจะทำให้ในระยะยาวแล้ว มีโอกาสได้ PROTECTION มาโดยไม่ต้องใช้เงินจาก Active Income เลยนั้นเอง

2 แผนกระจายรายได้ตอนเริ่มต้นทำงาน 1
3 แผนกระจายรายได้ตอนทำงานเข้าที่ 1

ซึ่งคุณจะสังเกตเห็นได้ว่ากลไก OPM OPR นี้เปรียบเสมือนการที่คุณตัดสินใจที่จะ ผ่อนล่วงหน้าโดยที่คุณยังไม่ได้เป็นหนี้ หรือ ยังไม่ได้กู้ยืมเงินอะไรมาใช้ แต่เมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องใช้เงิน
ก็จะมีเงินให้คุณได้ใช้ตามสัญญา

4 รายได้ที่มาจัดการเหตุคาดไม่ถึง 1
5 รายได้กิจการการลงทุนตนเองเข้าที่ 1

และในบางภัยทุกครั้งที่จะใช้เงินหรือในทุกๆ สิ้นปี วงเงินกู้ก็จะรีเซ็ตกลับมาเต็มวงเงินเหมือนเดิมอีกครั้ง หรือบางภัยเมื่อกู้ออกไปแล้วก็ไม่ต้องผ่อนจ่ายใดๆ อีก

ซึ่งเป็นอะไรที่ กลับกันกับการ การผ่อนจ่าย การกู้ยืมเงิน และการเป็นหนี้  ตามปกติอย่างสิ้นเชิง

และนี่คือ 3 จิ๊กซอว์สำคัญที่เป็นเครื่องมือทางการเงิน ที่โรงเรียนอาจไม่ได้พูดถึง หรือ ไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอ

SAVING (YM-Your Money)

INVESTMENT (OPR-Other's People Resources )

PROTECTION (OPM-Other's People Money)


เพียงแค่ทำกลับกัน..

จะได้ประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง

และด้วยการที่คุณยอมผ่อนล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่เป็นหนี้ วงเงินที่ได้จาก OPM จึงสูงมาก เมื่อเทียบกับการที่คุณรอให้เกิดเหตุการณ์ให้เป็นหนี้ก่อน แล้วจึงค่อยผ่อนจ่าย

ซึ่งการกู้แบบปกติอาจจำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ หรือต้องแบกหน้าหาคนให้มาช่วยค้ำประกัน แตกต่างกับการผ่อนล่วงหน้าที่คุณเพียงนำสุขภาพที่แข็งแรงไปค้ำวงเงินเท่านั้น

ผ่อนก่อน กู้ทีหลัง  ได้วงเงินมูลค่าสูงมาก แถมเงินผ่อนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

รวมถึงกลไกนี้ รัฐบาลก็สนับสนุน ให้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีโอกาสได้เงินคืนภาษีหรือประหยัดภาษีที่จะจ่ายลงไปได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำทั้ง 3 จิ๊กซอว์นี้มาทำงานร่วมกัน

ทำไมต้องนำ 3 จิ๊กซอว์นี้มาทำงานร่วมกัน

เพื่อที่จะสามารถ "ประมาณหามูลค่าเงินลงทุน OPR เพื่อไว้หมุนจ่ายค่า FEE ของ OPM เองได้" 

ส่งผลให้สามารถทราบเป้าหมายของเงินลงทุน OPR ต่อปี ว่าต้องมีเท่าใด ตามระยะเวลาที่ต้องการ เช่นต้องการลงทุน 5 ปี 10 ปี 15 ปี  หรือจนถึงอายุ 60 ปี

ซึ่งเมื่อทราบเป้าหมายก็จะทำให้ทราบในทันทีว่าอย่างน้อยควรต้องหาเงินอีกประมาณเท่าใด จึงจะสามารถเกษียณสุขได้


จึงเป็นที่มาของจุดเริ่มต้นในการวางแผนการเงินที่แท้จริง

6 รายได้ในตอนเกษียณ 1

ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงรายรับรายจ่าย ให้มีสุขภาพทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนและเป้าหมายนี้ 

รวมถีงยังสามารถลงทุนได้เสี่ยงสูงมากขึ้นในส่วนที่เกินจากเป้าหมายที่วางไว้ โดยไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะมีส่วนที่ปลอดภัยกว่ารองรับไว้หมดเรียบร้อยแล้ว

แต่..ทำไมคนส่วนใหญ่มักหลีกหนี 3 จิ๊กซอว์นี้

กลไกของ 3 จิ๊กซอว์นี้สำคัญมาก ไม่ใช่เพียงในระดับครัวเรือน แต่เป็นในระดับชาติ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องผลักดันด้วยนโยบายทางภาษีอย่างเต็มที่ และส่งเสริมให้หากใช้ 3 จิ๊กซอว์นี้จะสามารถลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้สูงสุดถึง 600,000 บ.ต่อปี

แต่คนส่วนใหญ่มักจะสนใจเพียงว่าจะได้ประหยัดภาษีเท่าใด ได้เงินคืนเท่าใด ได้กำไรเท่าไร โดยไม่ได้สนใจเลยว่าลดหย่อน 600,000 บ.ต่อปีนี้ จะนำมาวางแผนอย่างไรให้พอเหมาะกับตนเองมากที่สุด และสามารถเกษียณสุขได้

การเกษียณนั้นแท้จริงแล้ว ไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดทำงาน แต่หมายความว่าสามารถทำงานที่ต้องการภายใต้เงื่อนไขที่ต้องการของร่างกายและจิตใจ ได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องกังวลถึงภาระใดๆ

แต่เพราะทุกเครื่องมือทางการเงินใน 3 จิ๊กซอว์นี้ ไม่สามารถเดินไปหาผู้ใช้งานเพื่ออธิบายถึงความสำคัญความจำเป็น และเงื่อนไขการใช้งานต่างๆ ได้

จึงทำให้ต้องมีผู้แนะนำเครื่องมือทางการเงิน และมีค่าตอบแทนการแนะนำจากบริษัทเจ้าของเครื่องมือการเงินนั้นๆ ให้กับผู้แนะนำ ในจำนวนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่องมือ

และด้วยผลประโยชน์ค่าตอบแทนนี้เอง จึงเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ด้วยความที่ผู้แนะนำเองก็อยากได้เครื่องมือที่ให้ค่าแนะนำสูง แนะนำง่ายไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้เวลาอธิบายนาน

จึงทำให้เกิดการทำงานที่บอกความจริงเพียงด้านเดียว หรือความจริงแบบที่จัดชุดแพ็คเกจมาแล้วจากบริษัท เพื่อช่วยให้ปิดการขาย ได้ง่ายมากขึ้น

ทำให้โดยส่วนใหญ่ ผู้แนะนำอาจไม่ใช้เวลาในการให้ความรู้ความเข้าใจถึงแก่นของเครื่องมือ แต่เลือกที่จะแนะนำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากได้ยินแทน แม้จะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดอยู่ก็ตาม

จนสุดท้ายมารู้ความจริงภายหลัง จึงรู้สึกไม่ดีกับเครื่องมือการเงินเหล่านี้ทำให้พอจะสรุปปัญหาที่ทำให้หลายคนกลัวและหลีกหนีเครื่องมือทางการเงิน 3 จิ๊กซอว์นี้ดังต่อไปนี้


SAVING (YM) : เงินฝากประจำ, กองทุนตราสารหนี้, ประกันสะสมทรัพย์

New Home 2022 5

ปัญหาของเครื่องมือนี้มักจะเกิดขึ้นกับประกันสะสมทรัพย์มากที่สุด โดยที่หน้าที่จริงๆ ของเครื่องมือนี้คือ

  • บังคับออมไม่ให้เอาเงินออกไปได้ในระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี 
  • เสริมวินัยทางการเงิน ได้ลดหย่อนภาษี 
  • ล็อคดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไม่ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น จะต้องให้เงินออมนี้ปลอดภัยและมั่นใจว่าจะเป็นตามจุดประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น

แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ผู้แนะนำอาจเน้นขายเพียงเรื่องการลดหย่อนภาษีนำหน้า หรือเน้นเพียงเรื่องผลตอบแทนมีเงินคืน หรือไว้อัพเซลเพิ่มความคุ้มครองอุบัติเหตุหรือสุขภาพ โดยไม่ได้บอกเลยว่าประกันสะสมทรัพย์นั้นหน้าที่จริงๆ แล้วคืออะไร ไม่ได้บอกว่ามีเครื่องมือการเงินอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่ เพราะจะทำให้ได้ค่าตอบแทนที่ลดน้อยลงได้

ทำให้หลายคนพอมาเข้าใจเครื่องมือการเงินในภายหลัง ก็ทำให้รู้สึกเสียดายโอกาสที่จริงๆ แล้วควรนำไปใช้กับประกันอย่างอื่นมากกว่า เพราะลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลส่วนของประกันนั้นได้สูงสุดเพียง 100,000 บ. เท่านั้น


INVESTING (OPR) : กองทุน SSF/RMF/PVD/กบข , ประกันบำนาญ

New Home 2022 8

ปัญหานี้ยังคงคล้ายกับประกันสะสมทรัพย์คือ ผู้แนะนำจะเน้นเพียงเรื่องลดหย่อนภาษีและผลตอบแทนนำหน้า โดยขาดการวางแผนที่ชัดเจนหรือการจำลองในหลายสถานการณ์ ว่าสุดท้ายแล้วเงินที่ลงทุนนี้ ควรตั้งเป้าให้ดูแลเป้าหมายที่จำเป็นในเรื่องใดบ้าง มีโอกาสสำเร็จกี่ % ไม่ใช่เพียงสร้างภาพให้ดูน่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อ สร้างความโลภจากการให้ดูสถิติย้อนหลังเท่านั้น

ส่งผลให้หลายคนมักประสบปัญหา 3 อย่างคือ 

  • ลงทุนแบบเสี่ยงมากเกินไปโดยไม่มีแผนอื่นใดมารองรับ โดยเฉพาะตอนใกล้เกษียณ
  • ลงทุนเสี่ยงน้อยเกินไปจนเสียโอกาสของระยะเวลาที่ยาวนานที่สามารถเฉลี่ยลดความเสี่ยงความผันผวนที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามต้องการลงไปได้อย่างมาก
  • ลงทุนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะขาดเป้าหมายไม่ได้มีการเชื่อมโยงกับเครื่องมือ OPM และใช้เงินคืนภาษีอย่างน่าเสียดาย

ทั้งๆ ที่สิทธิลดหย่อนรวมกันที่สูงถึง 500,000 บ.ต่อปีนั้น หากวางแผนจัดสรรค์อย่างดี ร่วมกับระยะเวลาและเครื่องมือด้าน OPM แล้ว จะทำให้ชีวิตหลังเกษียณแทบจะไม่มีภาระด้านค่ารักษา และบำนาญค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆ เลย


PROTECTION (OPM) : ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพโรคร้าย, ยูนิตลิงก์

New Home 2022 7

ถึงแม้เครื่องเหล่านี้จะเป็นลักษณะการป้องกันกระจายความเสี่ยง และลดหย่อนภาษีรวมกันได้สูงสุดที่ 100,000 บ.ต่อปี แต่สุดท้ายก็มักจะถูก

  • นำเสนอในเรื่องผลตอบแทนมากกว่าด้านความคุ้มครอง
  • นำเสนอโดยไม่บอกความรุนแรงของปัญหา แต่เน้นเบี้ยให้น้อยที่สุดนำหน้า
  • นำเสนอแต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก OPM โดยไม่บอกเงื่อนไขที่สำคัญ 
  • นำเสนอตามที่หลายคนเข้าใจมากกว่าจะบอกความจริง
  • นำเสนอตามที่บริษัทแนะนำทั้งๆ ที่มีความคลาดเคลื่อนหลายอย่างรออยู่ตอนเกษียณ
  • นำเสนอเฉพาะปัจจุบัน ไม่อธิบายหรือแนะนำวิธีแก้ไขของปัญหาที่จะตามมาในอนาคต
  • นำเสนอเฉพาะเครื่องมือเดียว โดยไม่นำเครื่องมืออื่นที่ตรงจุดประสงค์กว่าเข้ามาช่วย

ทั้งหมดนี้จึงทำให้ภายหลังเมื่อทำประกันแบบต่างๆ ไปแล้ว ก็มักจะเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ทั้งเรื่องความคุ้มครองไม่พอ มีส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่มมหาศาล การไม่ครอบคลุมความคุ้มครองบางอย่างที่สำคัญ การทะเลาะขัดแย้งเพราะความเข้าใจผิด ความคลาดเคลื่อนจากการจำลองคาดการณ์ที่จะเริ่มเปิดเผยให้เห็นหลังเกษียณโดยไม่มีแผนการอื่นใดมารองรับ


โดยสรุปปัญหาที่มักพบเจอจากผู้แนะนำและทำให้หลายๆ คนเกิดความกลัวและหลีกหนีเครื่องมือทางการเงิน ก็คือ ผู้แนะนำมักนำเสนอเพียงเฉพาะ

จุดเด่น (แต่ไม่เคยได้ยินว่า ข้อจำกัดมีอะไรบ้างและมีวิธีอื่นอีกไหม)

การจ่ายคงที่ มีเงินคืน คุ้มค่า (แต่ไม่ได้บอกว่าต้องแลกด้วยอะไรมา)

การจ่ายสั้น (แต่ไม่ได้บอกว่าเหมือนเป็นการกันเงินตนเองมาคุ้มครองตนเอง)

เล่นกับอารมณ์ (แต่ไม่ได้บอกว่าเครื่องมือที่ใช้นั้นเหมาะสมที่สุดหรือไม่)

จึงเหมือนเป็นการแนะนำเครื่องมือการเงินเหล่านี้แบบเดียวกับการขายสินค้าที่จับต้องได้ทั่วไป.. โดยเน้นการสร้างภาพ สร้างความสัมพันธ์ ความเชื่อใจ อารมณ์.. ชี้ให้เห็นตัวเลขผลที่ได้ จนเกิดความเชื่อความอยากได้ และใช้เทคนิคทั้งหมดนั้นมาปิดการขาย

ซึ่งจริงๆ แล้ว เครื่องมือการเงินคือสัญญาไม่ใช่สินค้าจับต้องได้ทั่วไป จึงจำเป็นต้องเข้าใจเงื่อนไขทั้งหมด หรืออย่างน้อยสาระสำคัญก่อนทำสัญญา ไม่ใช่เพียงเชื่อใจ เกิดความเชื่อจากสถิติย้อนหลังแล้วก็ลงมือทำสัญญา เพราะนั่นล้วนแต่สร้างปัญหาตามมาในภายหลัง และได้สร้างชื่อเสียมากมายให้กับเครื่องมือการเงินเหล่านี้

นอกจากนี้ ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ..คนส่วนใหญ่ไม่ยอมเสียเวลาทำความเข้าใจเครื่องมือการเงินเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะวิธีการนำแต่ละเครื่องมือมาใช้งานร่วมกัน ทั้งๆ ที่ราคาของเครื่องมือเหล่านี้นั้นรวมกันตลอดอายุสัญญามีมูลค่าหลักหลายแสนถึงหลักหลายล้านบาท

ยิ่งพอมารวมกับความเข้าใจผิดและการบอกกันแบบปากต่อปาก จากที่เป็นเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยทุ่นแรงให้คุณกับครอบครัวผ่าน OPM และ OPR

"กลับกลายเป็นเครื่องมือการหาเงินของผู้แนะนำไปแทน"

แม้สุดท้าย..จะมีผู้คนบางส่วนได้ทำความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญจริงๆ แต่ก็ไม่ไว้ใจผู้แนะนำ จนทำให้ต้องไปสมัครเป็นผู้แนะนำเอง เพื่อที่จะเข้าไปศึกษาล้วงข้อมูลออกมาไว้ทำให้กับครอบครัว

แต่นั่นก็เป็นวิธีที่ใช้เวลาอย่างมาก และต้องยอมรับว่าข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ เพราะบริษัทไม่ได้มีการสอนหรือยอมบอกตรงๆ ไว้ทั้งหมดตั้งแต่แรก เนื่องด้วยข้อมูลที่เยอะมาก และผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกันอยู่

"ดังนั้นคงจะดีมากๆ หากมีคนที่เข้าไปล้วงข้อมูลเหล่านี้ และนำออกมาบอกกับทุกคนอย่างตั้งใจและจริงใจ โดยไม่เอาผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างค่าการแนะนำ ค่าตอบแทนการตลาด เข้ามาเป็นปัจจัยหลักของการหารายได้"

และนั่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Release your Risk

จุดเริ่มต้นของ Release your Risk

เพียงแค่ต้องการ..วางแผนการเงินอย่างจริงจังเท่านั้น

หลายคนมักเข้าสู่ธุรกิจเครื่องมือทางการเงินด้วยเพราะ ต้องการวางแผนการเงินอย่างจริงจัง หรือ มีผู้ชี้ช่องให้เห็นถึงความสำคัญของเครื่องมือการเงินทั้ง OPR/OPM และเริ่มต้นที่อยากนำเครื่องมือการเงินมาดูแลครอบครัวตนเองอย่างจริงจัง

จากนั้นเมื่อได้เห็นค่าตอบแทนจากการแนะนำร่วมกับความสำคัญของเครื่องมือ จึงขยายวัตถุประสงค์ไปสู่การหารายได้จากการบอกต่อถึงความสำคัญนี้

และบางส่วนอาจเผลอติดอยู่ในกับดักของค่าตอบแทน และบทการขาย ที่บริษัทแนะนำว่าพูดตามนี้ แนะนำตามนี้ หรือให้มีตำแหน่งกับคุณวุฒิตามนี้ ให้ดูขายดี ขายได้มากๆ ให้เกิดความเชื่อ เพื่ออาศัยทั้งหมดนี้ทำให้ปิดการขายให้ได้ง่ายและมากที่สุด

แทนที่จะนำข้อมูลที่มีทั้งหมดของเครื่องมือการเงินแต่ละตัว มาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้ความรู้อย่างจริงจัง ว่าอะไรเป็นข้อดีตามบทขาย และอะไรเป็นข้อจำกัดที่แอบแฝงอยู่

ทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่การยกให้ ความจริงของบริษัท ขึ้นมาอยู่เหนือความจริงของเครื่องมือการเงิน

ทุกครั้งที่ขายด้วยบทขายต่างๆ จะรู้สึก "เอ๊ะ" และเกิดคำถามขึ้นเสมอ

ทาง Release you Risk เองก็ไม่ได้ต้องการติดกับดักเหล่านี้ เพราะทุกครั้งที่ขายด้วยบทขายต่างๆ พวกเราจะรู้สึก "เอ๊ะ" และเกิดคำถามขึ้นมาเสมอว่า มันน่าจะยังมีอะไรมากกว่านี้

เราจึงพยายามหาความรู้ อบรมและสอบคุณวุฒิทางการเงิน ในส่วนของการวางแผนการเงิน การลงทุน ทั้งแบบที่บริษัทจัดอบรมให้ และแบบที่ต้องสมัครสอบกับทางสมาคมนักวางแผนการเงินแห่งประเทศไทยเอง

เพื่อที่จะได้แก่นความรู้จริงๆ ว่าปัจจุบันวงการนี้ทำงานกันอย่างไร และเชื่อว่า นักวางแผนการเงินมืออาชีพจะค่อนข้างมีความเป็นกลางสูง

ซึ่งท้ายสุดความรู้ที่ได้จะเป็น Framework รูปแบบการทำงานรูปแบบหนึ่ง ว่าวางแผนการเงินนั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เลือกใช้เครื่องมือการเงินอย่างไร โดยเป้าหมายภาพรวมจะเน้นไปที่ การวางแผนเกษียณ เป็นสำคัญ

แต่ตัวไส้ใน Framework ที่เป็นตัวเครื่องมือที่ต้องใช้จริงๆ ยังต้องกลับไปเจาะลึกที่ตัวบริษัทเจ้าของเครื่องมือนั้นๆ อยู่ดี

ซึ่งศัตรูที่สำคัญที่สุดของแผนเกษียณ ก็คือ ค่ารักษาพยาบาล และ หนี้สิ้นจากความโชคร้ายเมื่อกำลังหลักในการหารายได้ของครอบครัวจากไปกะทันหันหรือทุพพลภาพถาวร

โดยถ้าหากไม่จัดการวางแผนการเงินเรื่องเหล่านี้ก่อน ย่อมทำให้ไม่สามารถทราบเป้าหมายการเงินที่จะวางแผนได้อย่างแท้จริง

และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ทางเราเริ่มเข้ามาเจาะลึก ประกันสุขภาพ แบบลงรายละเอียดในทุกบริษัท ในทุกข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยหารู้ไม่ว่านี้เป็นหนึ่งในแบบประกันที่ถูกคำโฆษณาและการตลาดเล่นงานอย่างหนักมากที่สุด

หนึ่งในแบบประกันที่ถูกการตลาดเล่นงานหนักมากที่สุด

การตลาดช่วงนั้นของแบบประกันสุขภาพถูกปกคลุมไปด้วยคำว่า ค่าห้อง ค่าOPD วงเงินคุ้มครองหลายล้าน แค่เคลม OPD ก็เกินเบี้ยที่จ่ายแล้ว และ เบี้ยคงที่เบี้ยไม่ทิ้ง

แน่นอนว่าหากฟังเพียงผิวเผินจะรู้สึกว่าน่าสนใจมาก ตามหน้าที่ของการตลาดที่ดึงความสนใจเข้ามาก่อน จากนั้นจึงค่อยมาอธิบายเพิ่มเติม และอัพเซลให้ได้สูงสุด (ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ชอบวิธีนี้)

ทางเราเข้าใจประเด็นนี้ จึงเจาะลึกเข้าไปในหมวดความคุ้มครองต่างๆ ว่าทำไมบริษัทนี้ให้แบบนี้ได้ แถมได้ค่าตอบแทนเยอะกว่าอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เบี้ยใกล้เคียงกัน

จนสุดท้ายเราก็เจาะเข้าไปเจอว่า เพราะแบบประกันที่ให้เยอะๆ ตามคำโฆษณาได้นั้น ไม่ได้มีความคุ้มครองในบางประเด็นที่สำคัญมากอยู่ และเป็นปัญหาหนักมากของค่ารักษาในปัจจุบัน

และนั้นจึงเปลี่ยนมุมมองเราไปตลอดกาลสำหรับการเลือกแบบประกันสุขภาพว่า ไม่ใช่ดูตามคำโฆษณาหรือฟีเจอร์ต่างๆ แต่ให้เริ่มดูตั้งแต่ 

  • โรคใดบ้างที่ค่ารักษาแพงมากหลักหลายล้าน ต้องรักษานาน และมีสถิติการป่วยมากที่สุด
  • แต่ละขั้นตอนการรักษามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง สวัสดิการภาครัฐมีข้อจำกัดอย่างไร
  • ค่าใช้จ่ายที่สูงที่ไม่ควรรับความเสี่ยงไว้เองและจำเป็นจริงๆ คือค่าอะไร

จากนั้นจึงค่อยพิจารณาเลือกแบบประกันสุขภาพที่สามารถตอบโจทย์ความเสี่ยงโรคเหล่านี้ได้

แล้วจึงค่อยพิจารณาเบี้ยประกัน และหาทางปรับให้เหมาะสมกับความจำเป็นมากที่สุด ว่าอะไรสามารถรับความเสี่ยงไว้เองได้ยอมสะดวกน้อยลง แต่จะประหยัดเบี้ยได้มากกว่า

และนั้นจึงเป็นที่มาให้ทางเราได้เจาะลึกหาสาเหตุว่าเบี้ยที่แพงสูงขึ้นนั้น มีสาเหตุจากความคุ้มครองลักษณะใดบ้าง

และเริ่มทำตารางเปรียบเทียบทั้งความคุ้มครองและเบี้ยประกัน ในหลายๆ แบบ หลายๆ บริษัท เพื่อวิเคราะห์หาจุดเด่นที่แต่ละบริษัทมี และทำให้ตัดสินใจเลือกตามจุดเด่นที่ชอบได้ง่ายขึ้น

แม้..ทุกอย่างกำลังดูดี ดูน่าสนใจ แต่เราก็พบปัญหาที่ยุ่งยากมากที่สุดตามมา..

การพิจารณารับประกันนั้น เข้มงวดและยุ่งยากไม่สะดวกอย่างที่คิด

นั่นก็คือ ขั้นตอนการพิจารณารับประกัน ที่เข้มงวดและยุ่งยากไม่สะดวกอย่างที่คิด

ด้วยแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองสูงนั้น ย่อมตามมาด้วยความเข้มงวดในการรับประกันที่สูงมากเช่นกัน และแม้หากหลีกเลี่ยงขั้นตอนนี้ได้ในตอนต้น แต่สุดท้ายตอนเคลมประกันก็ไม่มีทางหลีกหนีได้อยู่ดี

ทางเราจึงได้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานสะสมจากเดือนเป็นหลายปี ทั้งในขั้นตอนพิจารณารับประกัน และเคลมสินไหม จนได้ข้อสรุปต่างๆ ว่าในขั้นตอนเหล่านี้ควรทำอย่างไรจึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

แล้วจึงได้เดินทางมาถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่ง นั่นก็คือ เบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

เบี้ยประกันสุขภาพสูงขึ้นมากตอนเกษียณ เลือกเป็นเบี้ยคงที่ดีหรือไม่

ปัญหานี้เอง ที่สร้างความเข้าใจผิดในการเลือกแบบประกันสุขภาพได้อย่างมาก และทำให้เกิดปัญหาในการเลือกแบบประกันที่ไม่ตรงกับความเสี่ยงที่ต้องการโอนจริงๆ

ต้องยอมรับว่าประกันสุขภาพไม่ใช่จะดูเฉพาะตอนก่อนเกษียณเท่านั้น แต่จำเป็นต้องวางแผนหลังเกษียณควบคู่กันไปด้วย

เพราะประกันสุขภาพจะเน้นรีบทำตอนอายุน้อยให้ได้ความคุ้มครองครบถ้วนด้วยสุขภาพที่ยังดี และได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ในตอนสูงอายุที่สุขภาพไม่ดีแล้ว 

ไม่ใช่ว่าตอนสูงอายุจะยกเลิกประกันสุขภาพหรือปรับลดความคุ้มครองลงเนื่องจากเบี้ยที่สูงเกินไป

ซึ่งการจัดการเบี้ยประกันตอนสูงอายุนี้รูปแบบที่ง่ายที่สุดก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ความเสี่ยงและความผันผวนต่ำ ที่จะจำลองคาดการณ์ได้ว่าด้วยเงินลงทุนเท่าใดจะทำให้เงินเติบโตมาจ่ายเบี้ยประกันตอนสูงอายุได้เพียงพอในทุกๆ ปี

ขั้นตอนที่เรียบเงียบนี้ ถูกทำให้ยุ่งยากมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนจาก "เบี้ยไม่คงที่ที่จ่ายครบจบแน่" ให้กลายเป็น "เบี้ยคงที่จ่ายครบแต่อาจไม่จบ" เพราะโอนความเสี่ยงด้านการลงทุนทั้งหมดมาให้ผู้ทำประกัน

ทั้งหมดนี้ทางเราจึงได้เขียนโปรแกรมขึ้นมาพิสูจน์ให้เห็นภาพตามได้ง่ายขึ้นว่า จ่ายเบี้ยคงที่ครบอาจไม่จบแน่ และได้หลุดจากการสร้างภาพชุดความเชื่อของแผนการตลาดเบี้ยคงที่ไม่จ่ายทิ้งนี้

และทำให้เห็นว่าการเลือกแบบประกันสุขภาพยังคงต้องเลือกที่ความคุ้มครองเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยพิจารณาหาวิธีการจัดการเบี้ยหลังเกษียณที่เหมาะสมหลังทราบ ข้อดี/ข้อจำกัด/โอกาสสำเร็จ ของวิธีต่างๆ เรียบร้อย

"ไม่ใช่เลือกจากเงินสมมติที่คาดว่าน่าจะได้ตามบทขาย"

การคำนวณโอกาสสำเร็จสำคัญอย่างมาก

ด้วยค่าความแปรปรวนของกองทุนรวม ทางเราจึงได้เขียนโปรแกรมจำลองวิธีการจัดการเบี้ยสุขภาพหลังเกษียณร่วมกับการวางแผนเงินบำนาญขึ้นมา ร่วมกับแนวคิดตามงานวิจัยล่าสุด นอกเหนือจากวิธีใน Framework ของสมาคมนักวางแผนการเงิน

ซึ่งจะมีการนำปัจจัยพฤติกรรมการใช้จ่ายตอนเกษียณ และปัจจัยสถิติการเสียชีวิตในอายุต่างๆ มาเป็นพื้นฐานในการวางแผนร่วมด้วย

จึงทำให้ได้วิธีที่ยังยึดความผันผวนต่ำแต่กลับได้ผลตอบแทนที่สูงมากขึ้นได้ พร้อมคำนวณโอกาสสำเร็จในอายุต่างๆ ซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจและเลือกใช้ตามความต้องการได้

ทั้งหมดนี้เองจึงทำให้ประกันสุขภาพนั้น มีรายละเอียดค่อนข้างมากพอสมควร และยากที่จะนำเสนอทุกอย่างให้จบได้ภายในเวลาที่จำกัดเพียง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง

จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำเว็บไซต์ Release your Risk ขึ้นมา

พอทางเราเดินทางมาถึงขั้นตอนนี้ เรารู้สึกสบายใจมากขึ้นว่า งานเขียนโปรแกรมน่าจะง่ายแล้วเพราะ ในส่วนของประกันชีวิตไม่น่าจะซับซ้อนเท่ากับประกันสุขภาพ จนกระทั่งทางเราได้เริ่มลงมือเจาะลึกประกันชีวิต และพบว่าเราคิดผิด..

การตลาดที่รุนแรงของประกันโรคร้าย
กลับทำให้ประกันชีวิตมีความซับซ้อนสูง

โดยตัวประกันชีวิตเองนั้นมีความซับซ้อนสูงอยู่แล้ว เพียงแต่จะไม่ใช่ในแง่ความคุ้มครองอย่างแบบประกันสุขภาพ แต่จะเป็นในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนชีวิต มูลค่าเวนคืน เงินปันผล และเบี้ยประกัน

แต่พอมานับรวมประกันชีวิตบางแบบที่พ่วงประกันโรคร้ายเข้าไปด้วย จึงทำให้เกิดความซับซ้อนในแง่ความคุ้มครองเพิ่มเข้าไปอีก เพราะต้องมาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของประกันโรคร้ายร่วมเข้ามาด้วย

ซึ่งระกันโรคร้ายเองเป็นอีกหนึ่งแบบประกันที่มีการใช้การตลาดและการอัพเซลอย่างมากเพราะให้ค่าตอบแทนที่สูง

จนทำให้ลืมไปว่าหน้าที่หลักของประกันโรคร้ายไม่ใช่เรื่องค่ารักษาอย่างประกันสุขภาพ แต่เป็นเรื่องของการชดเชยและมีเงินก้อนให้ได้ปรับตัวที่รายได้หายไปหรือลดลง จากการป่วยโรคร้ายในวัยทำงาน

และเนื่องจากได้เป็นเงินก้อน จึงส่งผลให้เบี้ยประกันโรคร้ายตอนสูงอายุจึงแพงมาก และแพงมากกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ

จนทำให้เบี้ยทั้งหมดที่จ่ายไปตอนสูงอายุนั้นมากกว่า เงินก้อนที่จะได้ตอนเจอโรคร้ายเสียอีก

โดยเบี้ยประกันโรคร้ายจะมากหรือน้อยนั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ แล้ว ยังขึ้นอยู่กับความคุ้มครองทั้งจำนวนโรค ระยะโรค(ต้น/กลาง/ท้าย) สถิติการเป็นโรค การเคลมได้หลายกลุ่มโรค เงื่อนไขการเคลมซ้ำโรคเดิมได้ เงื่อนไขการเคลมหลายกลุ่มโรค (ได้ทันทีหรือจนกว่าจะหายจากกลุ่มโรคเดิม)

ทั้งหมดนี้จึงทำให้ประกันโรคร้ายเป็นประกันที่มีมีความซับซ้อนสูงอย่างมากอีกหนึ่งแบบประกัน ถึงขนาดการตลาดสามารถทำให้

เข้าใจผิดว่า..ประกันโรคร้ายเจอโรคเดียวจ่ายจบ เป็น ประกันโรคร้ายที่เคลมได้หลายกลุ่มโรคเลยก็ได้ ถ้าไม่สังเกตเงื่อนไขการเคลมข้ามกับกลุ่มโรคให้ดีๆ

เลือกประกันโรคร้ายตามวัตถุประสงค์ ประหยัดเบี้ยอย่างมาก

ในความเป็นจริงแล้ว การเลือกประกันโรคร้ายที่ถูกตามวัตถุประสงค์จะเน้นไปที่โรคร้ายระยะสุดท้ายที่มีโอกาสการเป็นสูงเงื่อนไขการเคลมไม่ยุ่งยากโดยเฉพาะในวัยทำงาน (เพราะส่งผลให้ต้องหยุดทำงานหรือกลับมาทำงานแบบเดิมไม่ได้อีก)

และเน้นใช้ประกันสุขภาพดูแลรักษาโรคอื่นๆ โรคร้ายในระยะต้น โรคร้ายที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ และโรคร้ายที่ยากจะเข้าเงื่อนไขการเคลมประกันโรคร้าย 

ซึ่งจะทำให้ได้ความคุ้มครองที่เพียงพอต่อค่ารักษา และในตอนสูงอายุจะประหยัดเบี้ยประกันได้มากกว่าการเลือกประกันโรคร้ายอย่างเดียวโดยไม่เอาประกันสุขภาพ

แต่ด้วยการตลาดและยอดขาย หากอธิบายเรื่องเหล่านี้ก็ยากที่จะอัพเซลได้ จึงจำเป็นต้องโฆษณาเน้นคุ้มครองจำนวนโรคเยอะๆ เคลมได้หลายระยะ ได้หลายกลุ่มโรค เพื่อให้ดูคุ้มค่าและไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกอัพเซลอยู่

หนำซ้ำยังทำการตลาดอัพเซลพ่วงขายประกันชีวิตตลอดชีพที่เป็นเบี้ยคงที่จ่าย 5-20 ปีเข้าไปอีก ทำให้ได้เงินก้อนตั้งแต่ตรวจเจอโรคร้าย ไม่ต้องรอให้ครบอายุสัญญาหรือเสียชีวิตแบบประกันชีวิตปกติ

ซึ่งจะทำให้สามารถอัพเซลขายประกันได้เบี้ยรวมสูงขึ้นอย่างมาก (เบี้ยจากหลักหมื่นอาจจะขึ้นไปถึงหลักแสน) ส่งผลให้ผู้แนะนำจึงเน้นขายประกันตัวนี้มากกว่าประกันสุขภาพ เพราะทั้งรับประกันได้ง่ายกว่า ได้ค่าตอบแทนมากกว่า และ ขายง่ายกว่า

ทั้งหมดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ทางเราได้จัดทำบทความเจาะลึกอย่างจริงจังระหว่าง

ประกันชีวิตตลอดชีพโรคร้าย VS. ประกันชีวิตตลอดชีพ + ประกันโรคร้าย + ประกันสุขภาพ

เพื่อที่จะได้เห็นความจริงที่ซ่อนอยู่ในผลประโยชน์ และสามารถแยกโรคร้ายออกไปจากประกันชีวิตได้ ซึ่งทำให้สามารถอธิบายเฉพาะประกันชีวิตแท้ๆ อย่างเดียวได้อย่างเต็มที่

ป้องกันมรดกหนี้สินที่จะตกมาที่ตนเองได้อย่างไร

ประกันชีวิตนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับครอบครัว ที่ต้องทำความเข้าใจกฏหมายเรื่องมรดกดีๆ ว่า สุดท้ายแล้วหากมีสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งจากไป

มรดกทั้งสินทรัพย์และหนี้สินนี้จะตกไปที่ใครบ้าง

รวมไปถึงต้องเข้าใจว่า มรดกหนี้นี้มีทั้ง หนี้ที่ติดตัวสมาชิกครอบครัวแต่ละคนตลอดชีวิต (อย่างค่าใช้จ่ายสุดท้ายของชีวิต) และ หนี้ที่ติดตัวสมาชิกครอบครัวชั่วคราว (อย่างหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ธุรกิจ)

การแก้ไขปัญหามรดกหนี้จึงมักต้องมีการประชุมภายในครอบครัวในทุกปี หรืออย่างน้อยในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินใหญ่ๆ เกิดขึ้นในครอบครัว

เพราะสมาชิกในครอบครัวคงไม่ต้องการใช้เงินตนเองในการจัดปัญหาหนี้นี้ แต่คงอยากใช้เงินผู้อื่น หรือ OPM มาช่วยจัดการปัญหามรดกหนี้สินมากกว่า

และนั่นคือ จุดประสงค์สำคัญของประกันชีวิตที่ต้องยึดไว้ให้แน่น ไม่ไขว้เขวออกนอกทางเพราะการตลาด และความซับซ้อนของแบบประกันชีวิต

โดยความซับซ้อนของประกันชีวิตจะเกิดจาก เบี้ย ทุนชีวิต มูลค่าเวนคืน ซึ่งแต่ละแบบประกันจะแตกต่างกันไปตามเพศและอายุที่เริ่มทำประกัน

ทำให้แบบประกันชีวิต A อาจเหมาะกับช่วงอายุนี้เท่านั้น ในขณะที่แบบประกันชีวิต B จะเหมาะกับอีกช่วงอายุหนึ่งมากกว่า ไม่มีแบบประกันใดที่จะเหมาะใช้ในทุกช่วงอายุ หรือ ในทุกประเภทมรดกหนี้

ทำให้การเลือกแบบประกันชีวิตใด จึงจำเป็นต้องนำมาเปรียบเทียบทั้งหมดก่อนตัดสินใจว่า แบบใดจะเหมาะกับสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด และเหมาะกับมรดกหนี้สินแบบใด

รูปแบบของประกันชีวิตจะมี 3 แบบใหญ่

โดยรูปแบบของประกันชีวิตที่ควรนำมาเปรียบเทียบพร้อมกันนั้น จะมีทั้ง

  • แบบที่ 1 ทุนชีวิตสูง เบี้ยน้อย มูลค่าเวนคืนต่ำ คุ้มครองสั้น
  • แบบที่ 2 ทุนชีวิตต่ำ เบี้ยสูง มูลค่าเวนคืนสูง มีปันผล คุ้มครองยาว 
  • แบบที่ 3 ประกันชีวิตควบการลงทุนที่เลือกปรับได้ว่าจะเป็น แบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 ในตอนอายุเท่าใด แต่แลกมากับการรับความเสี่ยงจากการลงทุนเอง

ด้วย 3 แบบประกันชีวิตนี้เอง จึงเป็นความยากของทางเราในการเขียนโปรแกรมเปรียบเทียบทุกแบบประกันชีวิตในอายุเริ่มทำประกันนั้นๆ รวมถึงการแสดงมูลค่าเวนคืนที่ได้ในอายุต่างๆ

นอกจากนี้ แบบประกันชีวิตหนึ่งๆ ก็อาจแตกย่อยออกไปได้อีกหลายแผน เช่น อย่างแบบที่ 2 มักจะมีแผนให้เลือกเจาะจงสำหรับทุนชีวิตสูง เช่น ทุน 5-10 ล้านขึ้นไป จะมีแผนที่ให้ส่วนลดเบี้ยพิเศษพร้อมสิทธิพิเศษ หรือ อาจให้ความคุ้มครองเพิ่ม เช่น เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุได้ 2 เท่าของทุนชีวิต เป็นต้น

ในขณะที่แบบที่ 3 บางช่วงอายุก็เด่นกว่าแบบที่ 1 และแบบที่ 2 อย่างชัดเจน จนพร้อมที่จะรับความเสี่ยงด้านการลงทุนไว้เองได้ แต่บางช่วงอายุก็เห็นได้ชัดว่าไม่ควรเลือกแบบที่ 3 เลย

ทั้งหมดนี้ ทางเราจึงต้องจัดทำบทความเจาะลึกและเปรีบบเทียบให้เห็นภาพตามให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถเลือกในสิ่งที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดได้ และหากต้องรับความเสี่ยงไว้เองควรเป็นความเสี่ยงแบบใด

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ประกันชีวิตจึงเน้นหนักไปการเปรียบเทียบเชิงตัวเลข ซึ่งจะแตกต่างกับประกันสุขภาพและโรคร้ายที่จะเน้นหาข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายและความคุ้มครองที่จำเป็นในการตัดสินใจ

อย่างไรก็ตามแบบประกันทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงเรื่องของการใช้เงินผู้อื่น OPM ในการจัดการเหตุการณ์ไม่คาดคิดและไม่อยากที่จะให้เกิดขึ้นเท่านั้น

แต่ในส่วนการใช้ทรัพยากรผู้อื่นหรือ OPR เพื่อเพิ่มมูลค่าของเงินที่มีให้สามารถเติบโตจนสามารถชนะเงินเฟ้อ และให้สามารถกลายเป็นบำนาญได้นั้น ยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ต้องวางแผนเพื่อให้ทราบเงินเป้าหมายที่ควรจะต้องมี

แผนเกษียณแม้ซับซ้อนแต่ช่วยให้ทราบเป้าหมายที่เหมาะสม

สิ่งหนึ่งที่ได้จาก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย และงานวิจัยวางแผนเกษียณของต่างประเทศ คือการวางแผน Mapping เครื่องมือการเงิน OPR ให้เหมาะสม กับ สถานการณ์ที่ต้องใช้งาน รวมไปถึงการมีแผนสำรองรองรับเสมอ

 เครื่องมือการเงิน OPR ที่เหมาะสม นั้น จะพิจารณาจากค่าความแปรปรวนของผลตอบแทน ซึ่งโดยปกติยิ่งมีค่าความแปรปรวนน้อยผลตอบแทนก็ยิ่งน้อยลง แต่ก็เสี่ยงน้อยลงมาก ดังนี้

  • ค่าความแปรปรวนน้อยมาก หรือไม่แปรปรวน เช่น เป็นสัญญาการันตีผลตอบแทนว่าจะได้ผลตอบแทนทั้งหมดที่ 3% ต่อปีแน่อน หากมีอายุยืนถึง 90 ปี หรือ ครบอายุสัญญานั้นๆ
  • ค่าความแปรปรวนน้อย เช่น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3%-4% ต่อปี แต่สามารถแปรปรวนได้ตั้งแต่ได้ -5% ถึง +5% จึงควรมีระยะเวลาให้เงินได้เติบโตเพื่อลดความแปรวนสัก 5+ ปี
  • ค่าความแปรปรวนปานกลาง เช่น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6%-7% ต่อปี แต่สามารถแปรปรวนได้ตั้งแต่ได้ -12% ถึง +12% จึงควรมีระยะเวลาให้เงินได้เติบโตเพื่อลดความแปรวนสัก 10+ ปี
  • ค่าความแปรปรวนสูง เช่น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8%-9% ต่อปี แต่สามารถแปรปรวนได้ตั้งแต่ได้ -20% ถึง +20% จึงควรมีระยะเวลาให้เงินได้เติบโตเพื่อลดความแปรวนสัก 15+ ปี
  • ค่าความแปรปรวนสูงมาก เช่น ให้ผลตอบแทนได้มากกว่า 100% ต่อปี แต่สามารถแปรปรวนจน -100% ภายในไม่ถึงปีก็ได้เช่นกัน จึงควรต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่สูงพอที่จะใช้เครื่องมือ OPR นี้

ส่วนใหญ่แล้ว ค่าแปรปรวนน้อยถึงสูง นั้นมักจะเป็น OPR จริงๆ คือ ให้ผู้อื่นที่มีความชำนาญและมีทรัพยากรมากพอ ให้ช่วยจัดการลงทุนและกระจายความเสี่ยงให้ โดยแลกกับค่าธรรมเนียมบางส่วน

และพอมีการกระจายความเสี่ยงที่ดี คัดเลือกการลงทุนที่ดี อย่างไรแล้วในระยะยาวจึงมีโอกาสที่สูงมากที่เฉลี่ยผลตอบแทนออกมาจะเป็น "บวก" หรือ เงินได้เติบโตขึ้นแน่นอน

วิธีนี้จึงมักจะเรียกกันติดปาก วิธีอดทนรวย คือหากอดทนรอให้เงินเติบโตได้ก็มีโอกาสรวย

ในขณะที่ OPR ที่มีค่าความแปรปรวนสูงนั้นเสี่ยงมาก และหากไม่มีแผนใดๆ รองรับ หากต้องสูญเสียเงินทั้งหมด วิธีนี้ก็จะคล้ายกับการเล่นการพนันพอสมควร

  สถานการณ์ที่ต้องใช้งาน  นั้นมักจะแบ่งได้ 3 ทางเลือกคือ

1. เลือกใช้ให้สอดคล้องตามระยะเวลาของเครื่องมือ OPR เช่น

  • เงินก้อนนี้จะใช้ตอนอายุ 60 ปี ซึ่งยังมีเวลาอีกนานกว่า 10 ปีที่ จึงสามารถใช้เครื่องมือ OPR ที่มีความแปรปรวนปานกลางถึงสูงได้
  • แต่ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินทุกๆ ปี หรือ ทุกๆ 5 ปี ก็มักจะใช้เครื่องมือ OPR ที่มีความแปรปรวนน้อย

2. เลือกใช้ให้เหมาะกับประเภทค่าใช้จ่ายตอนเกษียณ

  • ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขาดไม่ได้ (NEED) - เป็นเงินขั้นต่ำที่ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย (WANT)
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง (FUN)

3. เลือกใช้ให้เหมาะโอกาสการเสียชีวิตในอายุต่างๆ

  • ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขาดไม่ได้ (NEED) - เป็นเงินขั้นต่ำที่ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย (WANT)
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง (FUN)

แผนสำรองที่เหมาะสมคือ

ทั้งหมดนี้ต้องนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน

ดังนั้น

ข้อมูลและรายละเอียดเยอะมาก ทำไมควรต้องเรียนรู้เอง

เมื่อทางเราได้เรียนรู้จากประสบการณ์มาถึงจุดนี้ จึงพบว่ามีรายละเอียดมากมายหลายอย่างที่ถูกซ่อนเอาไว้ด้วยคำโฆษณาของบริษัทประกัน หรือด้วยคำว่าซื้อประกัน/กองทุนเพียงเพื่อลดหย่อนภาษีของลูกค้า หรือด้วยผลตอบแทนที่ดึงดูดของผู้แนะนำ

แต่อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสได้เรียนรู้ข้อมูลที่ถูกซ่อนอยู่เหล่านี้ แม้ว่ามันจะมากมายเพียงใดก็ตาม ก็ควรจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตนเองให้ได้

มากกว่าที่จะเชื่อตามภาพที่ผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนได้สร้างขึ้นมาเท่านั้น

เพราะหลายๆ ครั้ง การเลือกซื้อประกัน การเลือกลงทุน ตามที่การตลาดสร้างภาพไว้นั้นจะทำให้

  • ต้องจ่ายแพงเกินจริง 
  • ซื้อผิดวัตถุประสงค์ของเครื่องมือ
  • ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริงของครอบครัว

ดังนั้นหากยอมเสียเวลาทำความเข้าใจเครื่องมือเหล่านี้ (ที่ควรต้องมีสอนในโรงเรียน) ให้ได้เริ่มเข้าใจตั้งแต่ในวันนี้ ย่อมทำให้คุณกับครอบครัวได้ประหยัดเงินกว่าหลักแสนหลักล้านบาทอย่างแน่นอน

Release Your Risk ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

โดยทางเราจะนำข้อมูล และความจริงทั้งหมดของเครื่องมือทางการเงินทั้งด้าน OPM และ OPR รวมถึงวิธีการประยุกต์ใช้งานร่วมกัน  ออกมาตีแผ่แบบไม่หมกเม็ด พล็อตกราฟจำลองข้อมูลเปรียบเทียบเชิงตัวเลข อธิบายเบื้องหลังคำโฆษณา ข้อควรระวังคำเตือนที่ถูกซ้อนไว้ด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งหมด

เพื่อที่คุณจะสามารถวางแผนจัดสรรค์เงินส่วนลดหย่อนภาษีสูงสุด 600,000 บาทต่อปีนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายที่.. 

"คุณและสมาชิกในครอบครัวจะเกษียณสุขได้อย่างสบายใจ"

โดยขบวนการนี้ทางเราจะเริ่มจากเจาะลึกวิธีวางแผนเกษียณผ่าน OPR และวิธีป้องกันศัตรูของแผนเกษียณด้วย OPM ดังนี้

1. วางแผนเกษียณด้วย OPR

ผ่าน Premium Contents ส่วน คู่มือการวางแผนเกษียณผ่าน OPR อย่างมั่นใจ ในลิงก์ด้านล่างนี้ ที่จะเจาะลึกและเปรียบเทียบให้เข้าใจถึง

  • วิธีป้องกันการใช้ประกันควบการลงทุนอย่างผิดวัตถุประสงค์ ตามคำเชื่อของโฆษณาที่จะให้ผลร้ายแรงอย่างมากในตอนเกษียณ 
  • วิธีใช้งานพอร์ตการลงทุนมากกว่า 1 พอร์ตตามจุดประสงค์ต่างๆ แทนการใช้เพียง 1 พอร์ตจัดการทุกอย่าง เพื่อลดความเคลื่อนจากคำนวณให้ได้มากที่สุด
  • วิธีการและข้อควรระวัง ในการเลือกอัตราผลตอบแทนคงที่ในการจำลองการคาดการณ์ผลลัพธ์ตอนเกษียณ พร้อมการจำลองที่มีความแม่นยำมากกว่า
  • ข้อควรระวังในการบริหารพอร์ตการลงทุนตอนใกล้เกษียณและหลังเกษียณ โดยเฉพาะหากโชคร้ายต้องมาอยู่ในตลาดขาลงพอดี

รวมไปถึงแนวทางวิธีการคำนวณว่าควรจะต้องลงทุนอย่างไรในกองทุนแบบใดดี จะใช้ SSF หรือ RMF จะจำเป็นต้องลงทุนเท่ากันทุกปีหรือไม่ แล้วในส่วนประกันบำนาญควรต้องทำหรือไม่ ควรเลือกแบบประกันบำนาญใดดี และควรทำประกันบำนาญเท่าไรดี

เพื่อทำให้เครื่องมือ OPR ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คาดการณ์ได้ และเงินเติบโตขึ้นมากพอที่จะดูแลทั้งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและบำนาญตอนเกษียณได้อย่างมั่นใจ พร้อมมีแผนสำรองรองรับความคลาดเคลื่อนไว้เสมอ

ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้รวบรวมและจัดทำเป็น Premium Content ในลิงก์ด้านล่างนี้

คลิกดู คู่มือการวางแผนเกษียณผ่าน OPR อย่างมั่นใจ

RELEASE  RETIREMENT  RISK

2. ปกป้องแผนด้วย OPM-LIFE

ผ่าน Premium Contents ส่วน คู่มือเจาะลึกการเลือกประกันชีวิตให้ไม่ถูกหลอก ที่จะเจาะลึกไปถึงแก่นที่แท้จริงของเครื่องมือ ไม่ถูกคำโฆษณาหลอกให้ไขว้เขว 

โดยจะทำให้คุณกับครอบครัวได้เห็นถึง

  • ที่มาและวัตถุประสงค์ของประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญที่หากไม่เข้าใจก็พร้อมจะเลือกแบบประกันผิดพลาดได้ในทันที
  • ข้อควรระวังของ ประกันชีวิตที่ถูกพัฒนามาจนเริ่มผิดวัตถุประสงค์และทำให้จ่ายแพงเกินจริง
  • แต่ละช่วงอายุควรเลือกแบบประกันชีวิตใดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การเปรียบเทียบชัดเจนของแบบประกันชีวิตต่างๆ เข้าใจเห็นภาพตามได้ง่าย
  • วิธีการคัดเลือกควรต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้แบบที่ดีที่สุด

ทั้งหมดนี้จึงทำให้เรื่องนี้อยู่ในความรู้การเงินขั้นพื้นฐานที่หลายประเทศให้เรียนรู้จากโรงเรียนถึงความสำคัญตั้งแต่ในวัยประถม (จะไม่ใช่เพียงให้บริษัทประกันที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นผู้ให้ความรู้เชิงชักชวนเท่านั้น)

ซึ่งส่งผลให้ประชากรในประเทศเกิดความเข้าใจถึงความสำคัญของการทำ Cross-Insured ระหว่างคนในครอบครัว เช่น 

  • สามีทำให้ภรรยา หรือภรรยาทำให้สามี หรือลูกทำให้พ่อแม่ และพ่อแม่ทำให้ลูก Cross กันไปมา ตามการประชุมภาระหนี้ที่มีของสมาชิกในครอบครัวแต่ละปี ทำให้ทุกคนในครอบครัวมีแผนปกป้องรายได้ของตนเองรองรับกับเหตุร้ายของสมาชิกในครอบครัวที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้

ดังนั้นเพื่อป้องกันความรู้การเงินที่คลาดเคลื่อนจากผู้ที่ผลประโยชน์ทับซ้อน ทางเราจึงได้จัดทำและรวบรวมข้อมูลเจาะลึกเหล่านี้ไว้ใน Premium Contents ด้านล่างนี้เรียบร้อย และจะทยอยอัพเดทเรื่อยๆ เมื่อฝ่ายการตลาดของบริษัทประกันต่างๆ ได้ออกผลิตภัณฑ์ที่จะเริ่มเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์ที่แท้จริงออกมา

คลิกดู คู่มือเจาะลึกการเลือกประกันชีวิตให้ไม่ถูกหลอก

RELEASE  WEALTH  RISK

3. ปกป้องแผนด้วย OPM-HEALTH

ผ่าน Premium Contents ส่วน คู่มือเปรียบเทียบเชิงลึกประกันสุขภาพในลิงก์ด้านล่างนี้ ที่จะเจาะลึกและเปรียบเทียบประกันสุขภาพในหลายๆ บริษัท ว่ามีแบบใดบ้าง และควรจะเลือกแบบใดดี 

  • โดยจะเน้นให้ข้อมูลจี้ตรงไปถึงค่ารักษาของโรคในปัจจุบันและอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง และค่าใช้จ่ายนี้เป็นศัตรูตัวร้ายของแผนเกษียณสุขได้ขนาดไหน เพื่อเลือกประกันสุขภาพที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้จริงๆ
  • เน้นทำให้เข้าใจว่าควรเลือกความคุ้มครองแบบใด ความคุ้มครองใดที่จ่ายเองได้จะประหยัดกว่าการใช้ OPM เพราะไม่ใช่ทุกความคุ้มครองที่ค่า FEE จะน้อยกว่าเงินที่ดึงมาจากผู้อื่นหรือ OPM เสมอไป
  • ชี้ให้เห็นแนวโน้มและความอันตรายของค่า FEE โดยเฉพาะตอนสูงอายุ และได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า การที่ครอบครัวต้องรีบทำประกันสุขภาพนั้น เป็นเพราะต้องรีบรักษาสิทธิ์ที่ยังทำประกันสุขภาพและดึงเงินจาก OPM ออกมาได้
  • และมั่นใจว่าตอนเกษียณจะได้รับความคุ้มครองครบถ้วน ไม่ถูกยกเว้นความคุ้มครองบางอย่าง ด้วยเงื่อนไขที่เป็นโรคมาก่อนทำประกันสุขภาพ

ในบางประเทศที่ค่ารักษาแพงกว่าประเทศไทยมากนั้น จะบังคับให้ประชาชนต้องทำประกันสุขภาพโดยเร็วที่สุดและเบี้ยประกันจะค่อนข้างสูงมาก ถึงขนาดที่เบี้ยรายเดือนเท่ากับเบี้ยรายปีของประเทศไทย แต่ยังให้ความคุ้มครองเพียง 70% เท่านั้นที่เหลือจะต้องร่วมจ่ายก็มี

ดังนั้นแท้จริงแล้วจะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพนั้น ไม่ใช่จะสามารถดึงเงินจาก OPM ออกมาได้ง่ายๆ แต่จะต้องมีเงื่อนไขต่างๆ ตามมาอีกมากมายที่ต้องทำความเข้าใจก่อนทำประกัน

และคู่มือฉบับนี้จะเปิดโลกของประกันสุขภาพให้คุณและครอบครัวเข้าใจได้อย่างตรงไปตรงมามากที่สุด พร้อมด้วยวิธีการแก้ไขต่างๆ หากพบเจอกับปัญหา

คลิกดู คู่มือเปรียบเทียบเชิงลึกประกันสุขภาพ

RELEASE  HEALTH  RISK

รายได้ Release your Risk จะมาจากทางใด

รายได้หลักที่จะทำให้ทางเราให้บริการต่อไปได้นั้นจะมาจากรายได้ของค่าสมาชิกรายปีต่อไปนี้

1. PREMIUM CONTENTS ที่เจาะลึกเครื่องมือการเงินเพิ่มใน 3 หัวข้อคือ

  • คู่มือวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณสุข 2023
  • คู่มือเลือกซื้อประกันชีวิต 2023
  • คู่มือเลือกซื้อประกันสุขภาพโรคร้าย 2023
  • และเนื้อหาทางการเงินที่จำเป็นต้องรู้ ที่ทยอยอัพเดทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ..

2. PREMIUM SERVICES เฉพาะสมาชิก Premium Contents ที่ต้องการบริการพิเศษเพิ่ม

  • การคำนวณเงินลงทุน SSF/RMF ต่อปี พร้อมการคำนวณ Success Rate เพื่อไว้เป็นเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณและไว้เป็นเงินบำนาญ โดยใช้กองทุนรวมในรูปแบบ Multi และ Dynamic Portfolio
  • การตอบคำถามและการให้ความเห็นที่ 2 (Second Opinions) ในการการเปรียบเทียบเครื่องมือการเงินต่างๆ

ในส่วนรายได้รองนั้น จะเป็นการให้บริการเครื่องมือการเงินต่างๆ ซึ่งจะรับดูแลเฉพาะสมาชิกเท่านั้น เนื่องจากเราอยากเน้นเฉพาะท่านที่เห็นด้วยและชอบกับแนวทางของทางเราจริงๆ และยังต้องการให้ทางเราเป็นผู้ให้บริการและดูแลส่วนต่อไปนี้ คือ 

1. PROTECTION SOLUTION

  • ต้องการให้ทางเราเป็นตัวแทนประกันชีวิต ของ กรุงเทพประกันชีวิต และภายหลังทำประกันก็ยังสามารถใช้ทั้ง PREMIUM CONTENTS และ SERVICES ได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกรายปีในปีถัดไปอีก

2. INVESTMENT SOLUTION

  • ต้องการเปิดบัญชีกองทุนรวมกับทางเราและให้ทางเราเป็นผู้แนะนำการลงทุนโดยตรง โดยหากขั้นต่ำของพอร์ตการลงทุนจะอยู่ที่ 500,000 บ. จะสามารถใช้ทั้ง PREMIUM CONTENTS และ SERVICES ได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกรายปีในปีถัดไปอีก

ที่เป็นในรูปแบบนี้ก็เพื่อทำให้ทางเราได้มีความชัดเจนมากขึ้นว่า เราจะรับค่าตอบแทนจาก ค่าสมาชิกเป็นหลัก ไม่ใช่เพราะหวังมุ่งเป้าไปที่จะเอาค่าตอบแทนการตลาดหรือค่าการแนะนำเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความลำเอียงและไม่สามารถให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาได้

โดยเป้าหมายหลักของทางเรา คือการตีแผ่ข้อมูลทุกอย่าง พร้อมบทวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ทั้งในมุมมองของทั้งผู้ทำสัญญา ผู้แนะนำสัญญา และผู้รับทำสัญญา

เพื่อให้คุณกับครอบครัวเข้าใจถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังได้อย่างลึกซึ้งโดย ไม่ต้องเสียเวลา เสียโอกาส และค่าใช้จ่ายเพื่อเข้ามาล้วงข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเอง หรือต้องมานั่งขุดข้อมูลบางอย่างเพื่อวิเคราะห์หาผลประโยชน์ทับซ้อนที่ปิดบังเอาไว้

ให้เป็นคู่มือข้างกายในการเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินส่วนบุคคลและส่วนครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ถูกบริษัทที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ชักชวนเลือกจัดแพ็คเกจแทนคุณกับครอบครัวทั้งหมดโดยไม่รู้สาเหตุเบื้องหลังว่าเพราะอะไร

ทำให้คุณกับครอบครัวได้ทราบถึงที่มาว่า ทำไมบริษัทชอบแนะนำเครื่องมือนี้มากกว่าอีกเครื่องมือหนึ่ง หรือชอบให้เพิ่มเติมเครื่องมือนี้เพิ่มเข้ามาด้วย รวมไปถึงทำไมบริษัทผู้รับทำสัญญาจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ออกมา

แน่นอนว่าไม่ใช่เพียงเพราะ เครื่องมือเหล่านี้นั้นดีต่อคุณกับครอบครัวฝ่ายเดียวแน่นอน


เข้าใจก่อนเลือกใช้เครื่องมือการเงิน เพื่อสามารถเกษียณสุขได้อย่างสบายใจ และนั่นคือหน้าที่ของเรา

RELEASE YOUR RISK

เราคือทีมงานที่ รวมตัวกันเพราะความเจ็บปวดจากการไม่ได้ศึกษาเครื่องมือทางการเงินอย่างจริงจัง เพราะคิดว่าไม่จำเป็น ไม่มีเวลา รู้แต่เพียงวิธีการหารายได้และจัดการการค่าใช้จ่ายเท่านั้น

จนมีวันหนึ่งได้มีคนเข้ามาเปิดใจให้ทางเราได้เห็นประโยชน์ของเครื่องมือทางการเงิน ทำให้เกิดความเชื่อใจ และทำตามคำแนะนำด้วยอารมณ์เป็นห่วงครอบครัว โดยที่ยังไม่เข้าใจเครื่องมือการเงินนั้นจริง ๆ ว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร 

สุดท้ายเมื่อรู้สึกแปลก ๆ จึงได้เอาตนเองเข้าไปศึกษาและล้วงข้อมูล จนทำให้รู้ว่า นี่มันไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมกับเราในตอนนี้ มันมีเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมมากกว่า แต่นั้นก็สายไปแล้ว เพราะทุกอย่างเป็นสัญญา ที่ย่อมมีบทลงโทษหากจะยกเลิกสัญญา ซึ่งสร้างบาดแผลที่เจ็บปวดแสนสาหัสให้กับทางเรา

RELEASE YOUR RISK จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาจากความเจ็บปวดนี้ เพราะราต้องการทำตรงกันข้าม (ทุกอย่าง) กับสิ่งที่ทำให้เราได้เคยเจ็บปวดมาอย่างแสนสาหัส

เราต้องการให้คุณได้มีข้อมูลในการศึกษาทำความเข้าใจแบบไม่ถูกกดดันและถูกเร่งรัดการตัดสินใจ

เราต้องการให้คุณเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินด้วยข้อมูลรวมกับความเชื่อใจ ไม่ใช่เพียงเพราะความเชื่อใจอย่างเดียว

เราอยากให้คุณเข้าใจที่มาของตัวเลขและ ข้อควรระวัง ในการได้มาของตัวเลขนั้น ๆ

หลายสิ่งที่บริษัทแนะนำมา เราอยากให้คุณวิเคราะห์สัญญาอย่างละเอียด ในทุกด้านแม้ในด้านที่บริษัทไม่บอก

ทุกอย่างที่เราอยากให้คุณทำ เป็นแรงเสียดทานต่อกาลงมือทำทั้งสิ้น แม้เครื่องมือการเงินอย่างประกัน ยิ่งทำเร็วยิ่งดีแต่ด้วยที่เป็น สัญญาระยะยาว 50-60 ปี (หรือมากกว่านี้) การใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจสัก 1-2 ชั่วโมงขึ้นไปนั้น ดูค่อนข้างสมเหตุสมผลมากกว่าการเชื่อตามกันมา เชื่อตามที่ถูกแนะนำ

ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดด้าน ความจริงในมุมมองของแต่ละฝ่าย เบื้องหลังและที่มาของเครื่องมือ เพื่อให้คุณกับครอบครัวได้เข้าใจ และเห็นภาพรวมกับวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแต่ละแบบ ได้เปรียบเทียบกันในแต่ละด้าน

และสุดท้ายได้เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด ที่จะนำมาใช้รวมกันสำหรับการวางแผนการเงินเพื่อเกาียณสุขได้อย่างสบายใจ 

เกี่ยวกับ
RELEASE YOUR RISK

แอนนีนี่นี่

แอนนี่ - รุจิรา ต๊ะบุญเรือง

ผู้แนะนำให้ความรู้ในเครื่องมือการเงินแบบองค์รวม

ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 เลขที่ 088660

ตัวแทนกรุงเทพประกันชีวิต เลขที่ 6001021654

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน และโดยส่วนใหญ่กว่าจะได้รู้ก็อาจจะสายไปแล้ว

แอนนี่จึงจะเน้นแก้ไขปัญหานี้ ผ่านการให้ความรู้ทางการเงินที่ครบถ้วนที่สุดเพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ค่ะ

Untitled design 23 1

บาส - ฐิติ  รุ่งเจริญไพศาล

ผู้ค้นคว้าพัฒนา FRAMEWORK เพื่อการเกษียณสุข

ผู้วางแผนการลงทุน IP เลขที่ 105969

ที่ปรึกษทางการเงิน AFPT เลขที่ AFPT190104

ตัวแทนกรุงเทพประกันชีวิต เลขที่ 6101074044

ผมอยู่ในสายงานนักพัฒนาโปรแกรมและอาจารย์มหาวิทยาลัยมากว่า 10 ปี ซึ่งได้พบความจริงว่า หากขาดความรู้ ความเข้าใจ ลำดับการใช้งานของเครื่องมือทางการเงินที่ถูกต้องแล้ว  ก็ยากที่จะทราบได้ว่าจะมีอิสรภาพทางการเงินได้เมื่อใด

ผมจึงพยายามพัฒนาเครื่องมือคำนวณ ที่จะใช้เครื่องมือการเงินให้ครบรอบด้านโดยเฉพาะในกรอบการลดหย่อนภาษี เพื่อช่วยให้สามารถคำนวณเงินที่จำเป็นสำหรับนำไปสู่อิสรภาพทางการเงินในช่วงเกษียณได้ ทั้งยังต้องสามารถลงมือทำตามได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์รายได้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก