ขั้นตอนดำเนินการเมื่อผลการพิจารณาขอให้ดำเนินการเพิ่มเติม (Memo)


เลือกหัวข้อที่สนใจ


สถิติการขอข้อมูลเพิ่มเติม (Memo) 

หลังจากยืนยันใบคำขอทำประกันเรียบร้อย แน่นอนว่าผลการพิจารณาที่ทั้งตัวแทนและผู้ทำประกันอยากให้เป็นคือ การอนุมัติรับทำประกัน นั่นเองค่ะ แต่จากสถิติที่ผ่านมาของทาง Release your Risk พบว่า ใบคำขอทำประกันกว่า 70.3% จะมีการขอให้ดำเนินการเพิ่มเติม หรือ Memo (สามารถดูบทความได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ >> สถิติ Memo

ซึ่งบริษัทมักจะขอให้ผู้สมัครทำประกันดำเนินการเพิ่มเติม เช่น ขอสำเนาประวัติการรักษาทั้งหมด ขอสำเนาผลตรวจสุขภาพประจำปี(เฉพาะ รพ. ที่ไม่มีประวัติการรักษา)  ขอให้ตรวจสุขภาพตามแบบฟอร์มของบริษัท (ในกรณีประวัติมีค่าสุขภาพผิดปกติ ที่ควรตรวจใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะหากผลตรวจมีอายุเกิน 6-8 เดือนขึ้นไปแล้ว) เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เอง ทางเราจึงเน้นแนะนำให้ขอประวัติการรักษาทั้งหมดร่วมถึงผลตรวจสุขภาพตั้งแต่ยื่นสมัครทำประกัน เพื่อที่จะลดเวลาขั้นตอน Memo นี้ได้ลงบ้าง รวมถึงยังสามารถส่งประวัติและผลตรวจสุขภาพไปพิจารณาหลายบริษัทประกันพร้อมกันได้อีกด้วยค่ะ

โดยระบบ BLA จะมีการส่ง Email แจ้งการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้สมัครทำประกัน และแจ้งลิงก์สำหรับการแนบเอกสารที่ฝ่ายพิจารณาร้องขอเพิ่มเติมด้วยตนเองต่อไปได้ค่ะ

(**ทั้งนี้หากมีการแนบเอกสารไปตั้งแต่ตอนยืนยันใบคำขอทำประกันแล้ว แต่ทางฝ่ายพิจารณายังคงขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้ตรวจสุขภาพอีก อาจเป็นไปได้ว่ายังมีบางข้อมูลที่ฝ่ายพิจารณามีความเห็นว่าจำเป็นต้องได้รับเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาร่วมด้วย เช่น ขาดผลตรวจชิ้นเนื้อ ขาดประวัติการรักษาบางหน้าที่มีการอ้างอิงถึงในประวัติหน้าอื่น ไฟล์เอกสารขาดความชัดเจน ประวัติที่ได้รับมาเพิ่มมีค่าสุขภาพผิดปกติมานานกว่า 6-8 เดือนขึ้นไป เป็นต้น)

ทำไมจึงติด Memo 

1.1 ฝ่ายพิจารณาต้องการข้อมูลสำหรับการพิจารณาเพิ่มเติมจากคำแถลงในใบคำขอ

โดยเมื่อฝ่ายพิจารณามองเห็นความเสี่ยงจากคำแถลงในใบคำขอทำประกันของท่าน หรือจากฐานข้อมูลบริษัท เช่น การแถลงเรื่องมีประวัติการรักษา (แม้จะรักษาหายแล้ว) การแถลงผลการตรวจสุขภาพที่มีเกณฑ์ความเสี่ยงบางอย่าง หรือในฐานข้อมูลอาจพบว่าท่านเคยมีประวัติการแอดมิตนอน รพ. เป็นต้น

แต่ทางฝ่ายพิจารณาก็ยังไม่สามารถสรุปได้ทันทีว่าจะตัดสินใจ ยกเว้น หรือ คุ้มครอง ความเสี่ยงที่เป็นข้อสงสัยเหล่านั้น จึงอยากให้ท่านได้ชี้แจ้งและอัพเดทข้อมูลล่าสุดของสุขภาพของท่าน มากกว่าที่ฝ่ายพิจารณาจะตัดสินใจเอาเองโดยไม่มีข้อมูลล่าสุดแล้วท่านต้องเสียผลประโยชน์ไป

ดังนั้นถึงแม้การแถลงสุขภาพตามจริงอาจจะทำให้ท่านติด Memo กลับมา แต่ขอให้ท่านสบายใจได้ว่า นี่คือกระบวนการที่จะช่วยให้ท่านสามารถพิสูจน์เรื่องสุขภาพของท่านได้ค่ะ และเป็นการป้องกันปัญหาการเคลมค่ารักษาไม่ได้ภายหลังทำประกันเพราะการปกปิดประวัติที่เป็นข้อน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคมาก่อนทำประกันค่ะ

1.2 ไม่มีประวัติสุขภาพใด ๆ ต้องแถลง อายุไม่ถึงเกณฑ์ต้องตรวจสุขภาพ แต่ทำไมยังติด Memo

การยื่นคำขอทำประกันสุขภาพ (หรือแม้แต่ประกันชีวิต) อายุ เพศ อาชีพของผู้เอาประกัน พื้นที่อาศัย รวมถึงการสุ่มตรวจสุขภาพ อาจส่งผลต่อการติด Memo ได้ทั้งสิ้น เราอาจเคยได้ยินคำที่มักพูดกันเล่น ๆ ว่า ไม่ตรวจก็คือไม่เป็น ซึ่งในทางประกันภัยมองว่าเสี่ยงมาก ๆ จึงต้องมีการคัดกรองก่อนอนุมัติ เช่น ดูอายุตอนทำประกันและสถิติของการเกิดโรค จึงทำให้มีการสุ่มให้ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมได้ค่ะ

อย่างไรแล้ว ขออย่าได้กังวลใจหากผลการพิจารณาของท่านติด Memo เพราะท่านยังมีโอกาสต่อสู้พิสูจน์ให้คลายข้อสงสัยว่าท่านไม่ได้เป็นโรคใด ๆ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งจะต่างกับการสู้เมื่อตอนที่ทำประกันไปแล้ว แล้วมีปัญหาตอนเคลมเพราะเมื่อถึงตอนนั้นบริษัทจะถือไพ่เหนือกว่าและท่านจะไม่มีโอกาสได้ย้อนเวลากลับไปพิสูจน์ใด ๆ ค่ะ

วิธีดำเนินการตาม Memo ที่ได้

โดยจะสามารถดำเนินการเพิ่มเติมดังต่อนี้

  • กรณี ขอให้ตรวจสุขภาพ (คลิกเพื่อดูขั้นตอน) ส่วนนี้ทางเราจะมีการจัดเตรียมเอกสารทั้งหมด พร้อมขั้นตอนและคำแนะนำต่าง ๆ ส่งให้กับท่านอีกทีค่ะ
  • กรณี ขอประวัติการรักษา (คลิกเพื่อดูขั้นตอน)  
  • กรณี ขอให้แถลงสุขภาพเพิ่มเติม ในบางอาการโดยละเอียด เช่น โควิด ภูมิแพ้ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งทางฝ่ายพิจารณาจะมีการแนบแบบฟอร์มแถลงสุขภาพเพิ่มเติมมาให้ทางอีเมลของผู้สมัครทำประกันเรียบร้อยค่ะ

วิธีแนบเอกสารเพิ่มเติมตาม Memo ที่ได้

หลังจากได้รับ Link แจ้งเรื่องการขอเอกสารเพิ่มเติมทาง Email จากบริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถคลิกที่ลิงก์จาก EMAIL หรือ copy link ไปเปิดใน chrome หรือ safari แล้วดำเนินการเพิ่มเติมตามที่บริษัทฯ ร้องขอได้ทันทีค่ะ โดยระยะเวลาดำเนินการคือ ภายใน 30 วัน (ซึ่งในเอกสารจะมีการระบุวันที่ชัดเจน) โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้ค่ะ

email แจ้งขอข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทฯ 2

ขั้นตอนที่ 1 กรอกเลขที่บัตรประชาชนตามที่ระบุในใบคำขอ

ขั้นตอน MO กรอกเลขที่บัตรประชาชน
ขั้นตอน MO กรอกเลขที่บัตรประชาชน Mmobile

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบขั้นตอนตอบข้อเสนอใหม่ด้วยตนเอง 

หากท่านไม่ต้องการดูขั้นตอน สามารถกดปุ่ม x เพื่อปิด pop-up message ได้เลยค่ะ

memo3
ขั้นตอน MO Pop Up ดูขั้นตอนตอบรับข้อเสนอใหม่ Mobile

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

ขั้นตอน MO ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
ขั้นตอน MO ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร Mobile

ขั้นตอนที่ 4 กรอก "รหัสหลังบัตรประชาชน" เพื่อยืนตัวตนก่อนแนบเอกสารที่ร้องขอเพิ่มเติม

ข้อควรทราบ : กรณีระบบตรวจสอบข้อมูล กับ ฐานข้อมูลกรมการปกครองแล้ว ข้อมูลไม่ถูกต้อง จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ กรุณาติดต่อแจ้งตัวแทน หรือ Call Center เพื่อตรวจสอบหาข้อผิดพลาดในการกรอกข้อมูลค่ะ (สามารถเกิดในกรณีที่มีการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่)

ขั้นตอน MO กรอกรหัสหลังบัตรประชาชน
ขั้นตอน MO กรอกรหัสหลังบัตรประชาชน Mobile

ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการแนบเอกสารเพิ่มเติม "ทั้งหมด" ตามที่บริษัทร้องขอ

  • เอกสารการแถลงสุขภาพ
  • ประวัติการรักษา และ/หรือ ผลตรวจสุขภาพ

ในกรณีที่ท่านได้รับมาเป็นเอกสารไม่ใช่ไฟล์ PDF ท่านสามารถใช้แอพมือถือสำหรับสแกนเอกสาร เช่น แอป Microsoft Lens สแกนเอกสารหลายหน้าให้เป็นไฟล์ pdf 1  ไฟล์ (หากภาพสแกนไม่ชัดเจนอาจต้องส่งเอกสารตัวจริงภายหลัง ควรสแกนทีละ 1 หน้ากระดาษเท่านั้น ไม่ควรสแกนเป็นหน้าคู่)  และควรตั้ง ชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ

ระบบรองรับการอัพโหลดไฟล์ ไฟล์ละไม่เกิน 5 MB โดยหากไฟล์ประวัติมีขนาดใหญ่เกินกว่า 5 MB จะสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้

  • ก่อนดำเนินการหากไฟล์ติดรหัสผ่าน จะต้องเปลี่ยนเป็นไฟล์ PDF ที่ไม่ติดรหัสผ่านก่อน โดยใช้ >> เว็บ smallpdf (คลิกลิงก์)  อัพโหลดPDF กรอกรหัสผ่าน แล้วดาวโหลดPDFที่ไม่มีรหัสผ่าน จากนั้นจึงจะสามารถใช้วิธีด้านล่างนี้ได้
    • 1.ทำการบีบอัดไฟล์ PDF โดยใช้ >> เว็บ pdfcompressor (คลิกลิงก์) (เฉพาะในกรณีที่ไฟล์มีขนาดไม่เกิน 10 MB)
    • 2. ทำการแบ่งไฟล์ PDF ออกเป็นหลายไฟล์ ไฟล์ละไม่เกิน 5MB >> เว็บ splitapdf (คลิกลิงก์) โดยเลือก Split based on a file size limit...และกำหนดขนาดของไฟล์ขนาดมากสุดที่ 5MB แล้วทยอยดาวโหลดไฟล์ pdf ที่มีการแบ่งเป็นไฟล์ย่อย ๆ มาอัพโหลดแนบในระบบ BLA ต่อไป

จากนั้นทำการแนบเอกสาร (โดยเลือกหมวดหมู่และประเภทที่เกี่ยวข้องดังรูป) ทั้งนี้หากไฟล์ที่แนบมีการติดรหัสผ่านจะสามารถแจ้งชื่อไฟล์ที่ติดรหัสผ่าน กับรหัสผ่านในช่องหมายเหตุ ได้ดังรูปภาพด้านล่างนี้ (แนะนำให้ทำการปลดล็อครหัสผ่านก่อนแนบไฟล์ตามวิธีในกล่องสี่เหลี่ยมด้านบน)

ขั้นตอน MO ข้อมูลขอเอกสารเพิ่มเติม Mobile

หมายเหตุ: ระบบจะเช็คว่ามีการแนบไฟล์ หรือมีการกรอกข้อมูลลงในช่อง หรือไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือทั้งสองก็ได้) หากไม่มีข้อมูลทั้งสองตัวเลือก ระบบจะไม่ให้ท่านดำเนินการถัดไป

การแนบประวัติการรักษา
ขั้นตอน MO ขอรับ OTP Mobile

ขั้นตอนที่ 6 ยืนยันรหัส OTP (หากยืนยัน OTP แล้วลิงก์จะใช้ไม่ได้อีก ทำให้จะต้องแนบเอกสารให้ครบตาม MEMO ก่อนการยืนยัน OTP)

กดขอรหัส OTP

ขั้นตอน MO ยืนยันรหัส OTP
ขั้นตอน MO ยืนยันรหัส OTP Mobile

หมายเหตุ : หากยืนยันการขอเอาประกันแล้วขึ้นข้อความว่า "ไม่สามารถบันทึกรายการได้"  ดังภายพด้านล่าง ให้ท่านกดย้อนกลับ และตรวจสอบว่าชื่อไฟล์ที่ท่านแนบทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่ รวมไปถึงตรวจสอบว่าท่านได้เปิดลิงก์นี้ผ่าน EMAIL หรือ copy link ไปเปิดใน chorme หรือ safari หรือไม่ เมื่อแก้ไขแล้วท่านสามารถกดยืนยันตนอีกครั้งได้ หากยังไม่สำเร็จ โปรดติดต่อเราเพื่อประสานกับฝ่ายไอที ให้ดำเนินการแก้ไขให้ต่อไปค่ะ

IMG 4027

ขั้นตอนที่ 7 ระบบจะส่ง E-mail แจ้งผู้สมัครทำประกัน ถึงการได้รับการยืนยันการส่งเอกสาร MEMO เรียบร้อย

พร้อมกับส่ง E-mail แจ้งตัวแทนเพื่อรับทราบว่า ท่านได้ดำเนินการเพิ่มเติมตามที่บริษัทร้องขอแล้ว

ขั้นตอนถัดไปหลังจากส่งเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วน 

ฝ่ายพิจารณาจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 3-5 วันทำการ หรืออย่างช้า 5 วันทำการ ซึ่งหากผลการพิจารณายังไม่ออก ทางเราจะมีการติดต่อกับทางฝ่ายพิจารณาเพื่อสอบถามเหตุผล รวมถึงติดตามเอกสารต่าง ๆ

ซึ่งผลการพิจารณาสามารถออกมาเป็นได้ทั้ง อนุมัติรับประกัน หรือ รับประกันแต่มีข้อเสนอให้ท่านพิจารณา ( Counter Offer ) ซึ่งท่านสามารถตัดสินใจตอบรับ หรือโต้แย้งข้อเสนอต่อไปได้

โดยมีรายละเอียดวิธีการ Counter Offer ที่ลิงก์นี้ค่ะ >> ขั้นตอนดำเนินการเมื่อได้รับข้อเสนอใหม่

การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..

วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก