ที่มาของเครื่องมือวางแผนภาษีส่วนบุคคล ผ่านการออม
เครื่องมือการคำนวณภาษีในปัจจุบัน มีอยู่มากมายและหลากหลายแพลตฟอร์ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว (1) หน้ากรอกข้อมูลสิทธิลดหย่อนประกันชีวิต (2) หน้ากรอกข้อมูลสิทธิลดหย่อนประกันบำนาญและการลงทุน และ (3) หน้าผลลัพธ์ภาษี มักจะอยู่คนละหน้ากัน
ซึ่งอาจไม่ค่อยสะดวกสำหรับการวางแผนการใช้สิทธิลดหย่อนส่วนประกันชีวิต ประกันบำนาญ และกองทุน RMF/SSF ที่จำเป็นต้องมีการทดลองกรอกข้อมูลและปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง เพื่อเลือกสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด โดยไม่ให้เกินสิทธิลดหย่อนที่ได้รับตามรายได้ต่อปี
ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงเน้นพัฒนาไปที่การเพิ่มความสะดวกช่วยให้เห็นผลลัพธ์ได้ในทันที ว่าหากออมเงินผ่านทางประกันชีวิต ประกันบำนาญ หรือ กองทุนรวมต่างๆ แล้วจะประหยัดภาษีได้เท่าใด ภายในหน้าโปรแกรมเดียวกันทันที
สิทธิลดหย่อนภาษี
ควรเลือกทำอะไรก่อนหลัง
โดยจากมุมมองของเป้าหมายการวางแผนเกษียณสุขนั้น ลำดับเครื่องมือการเงินที่ควรเลือกใช้ก่อนหลังจะมีดังต่อไปนี้
(สมาชิกในครอบครัวแต่ละคน ควรไล่ลำดับตามนี้และตามความจำเป็น เนื่องจากการจัดการส่วนนี้เฉพาะบางคนในครอบครัวนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงและภาระในอนาคตได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ปัญหาคือ ยากที่จะทราบว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะสุ่มเกิดขึ้นกับใครก่อน)
ประกันชีวิต + ทุพพลภาพ
พิจารณาทุนชีวิตให้เพียงพอตามหนี้สินที่มี (ทั้งของตนเองหรือครอบครัว) หรือเพิ่มทุนชีวิตขึ้นอีกเพื่อให้เวลาแก่คนครอบครัวได้ใช้เพื่อปรับตัวหรือใช้ชีวิตต่อไปได้ อย่างเช่น 3-5 เท่าของรายได้ต่อปี
ประกันสุขภาพ
พิจารณาเลือกที่สามารถดูแลค่ารักษาที่แพงที่สุดอย่างโรคมะเร็งได้ และเป็นประกันสุขภาพที่จะอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิต มากกว่าจะเลือกประกันสุขภาพเพียงเพื่อให้ได้ใช้สิทธิลดหย่อน หรือเบี้ยไม่เกินสิทธิลดหย่อนเท่านั้น
ประกันโรคร้าย
ควรเน้นไปที่ โรคมะเร็ง เป็นหลัก เพราะเป็นโรคร้ายที่เสี่ยงเป็นสูงที่สุด เสี่ยงมากกว่าโรคร้ายอื่น ๆ 3-5 เท่า และเคลมประกันโรคร้ายได้ง่ายที่สุด ทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ต้องลาออกจากงานอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องมีเงินก้อนพอสมควรที่จะชดเชยจนทำให้ฟื้นตัวและกลับมาสร้างรายได้ใหม่ได้อีกครั้ง
ประกันบำนาญ
จุดประสงค์แรกคือ (1) การนำมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพตามสัดส่วนที่วางแผนไว้ ที่เหลือจะเป็น (2) การบังคับออมเพื่อให้ได้เป็นบำนาญส่วน Needs ของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นยามเกษียณ
กองทุน RMF/SSF
เป้าหมายแรก คือ (1) นำไปจ่ายเบี้ยสุขภาพในยามเกษียณร่วมกับประกันบำนาญ เป้าหมายที่สองคือ (2) ไว้เป็นบำนาญส่วน Wants ค่าใช้จ่ายเพื่อความสะดวกสบาย เหลือใช้ก็เก็บได้
กองทุน RMF/SSF (บำเหน็จ)
เป้าหมายมักเลือกให้เป็นบำเหน็จ มีเงินก้อนไว้ใช้ในยามเกษียณช่วงแรกที่อาจต้องมีการปิดหนี้ และสามารถพักผ่อนท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่
ประกันสะสมทรัพย์
เป้าหมายมักเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถเลื่อนตารางเวลาได้ โดยถึงเวลานั้นต้องใช้เงินเดียวนั้นเท่านั้น เช่น ทุนการศึกษาบุตร หรือ เงินตั้งตัวต่อยอดธุรกิจตนเอง เป็นต้น
จากลำดับที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ต่อให้โชคร้ายมีภัยใด ๆ เข้ามาในชีวิตไม่ว่าด้วยโรคร้ายหรืออุบัติเหตุ ชีวิตก็ยังมีโอกาสเดินต่อไปได้จนกระทั่งถึงช่วงเกษียณต่อ ๆ ไป
แต่หากเลือกใช้ผิดลำดับเมื่อใด เช่น เน้นตั้งแต่ข้อ 7 ไล่ไปข้อ 1 สุดท้ายจะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจบลงตรงที่ เงินออมไม่เหลือ เหลือแต่หนี้ก้อนใหญ่ จากการใช้ลำดับเครื่องมือการเงินที่ผิดพลาดในครั้งนี้
ดังนั้นการเริ่มวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนการออมให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง จะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย และควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะเครื่องมือการเงิน 3 ลำดับแรกที่หากเป็นโรคบางอย่างแล้ว อาจจะไม่สามารถทำประกันได้อีกเลย และนั่นจะทำให้การวางแผนการเงินยากขึ้นตามไปด้วย
เริ่มต้นการใช้งานเครื่องมือวางแผนภาษีผ่านการออม
การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง
เริ่มเมื่อเข้าใจธรรมชาติของ
เครื่องมือทางการเงิน