4 สาเหตุที่ต้องทำประกันชีวิต
สิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตเรานั้นหนีไม่พ้นเรื่องปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค โดยเมื่อคนเรามีครบตามนี้แล้ว ก็อยากมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตอีก
ตัวอย่างเช่น การศึกษาบุตร รถยนต์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อย่าง อินเตอร์เน็ต ทั้งหมดนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น "ภาระ" ที่แต่ละคนเลือกแบกรับเอาไว้แตกต่างกันตามความต้องการ
และทำให้แต่ละคนต้องทำงานหา "รายได้" จากนั้นนำรายได้ไปเป็น "รายจ่าย" ให้กับภาระที่เลือก แล้วส่วนเกินที่เหลือ (ที่มักไม่ค่อยเหลือ) ก็จะเก็บไว้เป็น "เงินออม" ไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น หรือใช้ในยามเกษียณอายุ
จำนวนเงินออมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวินัยและการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล แน่นอนว่ากว่าจะเหลือเงินให้มาออมได้ว่ายากแล้ว แต่เงินออมที่มีกลับสามารถถูกโจมตีให้หมดลงได้ด้วย 4 เหตุร้ายที่ยากจะหลีกเลี่ยงดังต่อไปนี้
1. อายุสั้นเกินไป
จากเคยมีหัวหน้าครอบครัว อยู่มาวันหนึ่งหัวหน้าครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควรไม่มีวันหวนคืน เหลือไว้เพียงความทรงจำและภาระหน้าที่ที่ต้องรับช่วงต่อ เช่นภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายครอบครัว ค่าเทอมลูก คำถามคือ ใครจะเป็นคนรับภาระนี้ต่อไป?
ยกตัวอย่างนักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการที่มีภาระหนี้สินจากการกู้เพื่อนำเงินมาลงทุน หมุนเวียนในธุรกิจ เมื่อสิ้นลมหายใจ แน่นอนว่าภาระหนี้สินยังคงอยู่ดังเดิม แล้วภาระหนี้สินทั้งหมดนี้ใครจะรับผิดชอบ?
2. อายุยืนยาวเกินไป
ทีแรกคิดว่าอายุสั้นมันไม่ดี แต่อายุยืนก็ไม่ดี แม้ว่าการมีอายุยืนแน่นอนว่าใครๆ ก็ปราถนา แต่หากมองอีกด้าน การมีอายุยืนก็มักมีปัญหา "เรื่องค่าใช้จ่ายยามชรา" ที่มักไม่ได้มีแผนการเตรียมเอาไว้ (เงินหมดก่อนอายุขัย) และกลับต้องมาอยู่แบบขัดสน เป็นภาระให้ครอบครัวและสังคม
ดังนั้นหากอายุยิ่งยืนเท่าใด ก็จะยิ่งต้องเตรียมการสำหรับอนาคตเผื่อไว้ให้มากขึ้น จากสถิติตารางมรณะคนไทยสำหรับบริษัทประกันชีวิต พบว่า เด็กในช่วงอายุ 0-6 ปี มีอัตราเสียชีวิตสูง แต่จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จากนั้นอัตราเสียชีวิตจะกลับมาเพิ่มอีกทีช่วงอายุ 40-50 ปี
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วยว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ทางสถิติยังบอกอีกว่าผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ผู้ชายเสียชีวิตก่อนผู้หญิง เพราะใช้ชีวิตผาดโผน กล้าเสี่ยง โดยเฉพาะชายในช่วงอายุ 18-40 ปี
3. การเจ็บป่วย และ ทุพพลภาพ
การเจ็บป่วย และ ประสบอุบัติเหตุย่อมมีผลกระทบต่อการทำงาน และการหารายได้ของคนเรา ซึ่งแม้ไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายยังมีเท่าเดิมและยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ต่อไป
แบบนี้เกิดปัญหาเรื่องการใช้จ่ายอย่างแน่นอน เพราะขาดรายได้ บางคนถึงกับเป็นภาระคนในครอบครัวหรือคนอื่นไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว
4. เครื่องมือการเงิน เช่น ประกันชีวิต
เงินออมส่วนหนึ่งเมื่อเริ่มวางแผนแล้ว มักจะหมดไปกับเครื่องมือการเงินที่เรียกว่า ประกันชีวิต ที่เป็นการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว จึงทำคนส่วนใหญ่มองว่าประกันชีวิตนั้น "คนทำไม่ได้ใช้เงิน"
แต่แท้จริงแล้วมีแบบประกันชีวิตบางแบบที่ผู้เอาประกันจะยังมีโอกาสได้ใช้เงินตอนมีชีวิตอยู่ด้วย เช่น ประกันชีวิตตลอดชีพ ที่มีมูลค่าในกรมธรรม์ที่สามารถกู้ออกมาใช้ยามฉุกเฉินได้ หรือ ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ครบกำหนดอายุกรมธรรม์ ก็จะได้รับเงินเอาประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ด้วย
แต่หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินทุนประกันชีวิตไป เรียกได้ว่า "มีชีวิตอยู่ก็ได้ใช้เงิน เสียชีวิตก่อนก็มีเงินให้คนข้างหลัง" ตามจำนวนที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันชีวิต
เพราะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
คุณสามารถเลือกได้ว่าจะยอมเสียเงินออมให้กับเหตุร้ายที่ยากจะหลีกเลี่ยง หรือจะยอมเสียเงินออมให้กับเครื่องมือทางการเงิน เพื่อให้เหตุร้ายเหล่านี้ได้ลดความรุนแรงลงได้บ้าง