เสริมเต้า เร้ามะเร็ง แพทย์เตือน! สาวเสริมหน้าอก

มะเร็งชนิดหายากบริเวณเต้านม


เรื่องความสาวความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน การดูแลตัวเอง การแต่งตัว การแต่งหน้าทำผม ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงให้ความสำคัญ จึงตรงกับคำสุภาษิตที่ว่า "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" หรือแม้แต่ปัจจุบันนี้ก็มีคำยอดฮิตติดปากว่า "ผู้หญิงอย่าหยุดสวย" ใครอยากสวยถูกใจอันนี้ต้องไปศัลยกรรม ปัจจุบันนี้การศัลยกรรมไม่ใช่เรื่องแปลก ใครๆ ก็ทำกัน เพราะทำแล้วผลออกดีเวอร์ สวยดูดี เรียกว่าคุ้มค่ากับเม็ดเงินเอามากๆ 

การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน เรียกได้ว่าเป็นต้นตำรับของการศัลยกรรม พอๆ กับการเสริมจมูก สาวๆหลายคนชอบเพราะเสริมแล้วทำให้รูปร่างเป็นสัดส่วน แต่งตัวแล้วดูดี เอาเป็นว่าทำแล้วสวย ใครๆ ก็อยากทำ แต่!! การศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าอกด้วยการผ่าตัดใส่ถุงซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อผิวหนังบริเวณเต้านม อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

gettyimages 182173348

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

จากรายงานข่าวต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ทางหน่วยงานสาธารณะสุขของสหรัฐอเมริกาส่งเอกสารเตือนแพทย์ พยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ระวัง "มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" ที่อาจเกิดขึ้นกับสาวเสริมหน้าอก  นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทางองค์การอาหารและยาส่งเอกสารเตือนวงการแพทย์ทุกภาคส่วน

ไม่ใช่มะเร็งเต้านม

ลักษณะของมะเร็งที่ว่านี้ "ไม่ใช่มะเร็งเต้านม" แต่เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณแผลผ่าตัดราวเต้านม โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งชนิดนี้คือ "อาการบวม มีก้อนเนื้อ และเจ็บหน้าอก" ซึ่งทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้เฝ้าติดตามรายงานของผู้ป่วยมะเร็งดังกล่าวนี้มานาน และในปี 2017 ก็ยืนยันแล้วว่ามะเร็งชนิดหายากนี้อาจเกี่ยวเนื่องมาจากการผ่าตัดเสริมเต้านม  โดยตั้งแต่ปี 2010 สาวที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกป่วยเป็นมะเร็งชนิดหายาก หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณราวเต้านมทั้งหมด 457 ราย มียอดผู้เสียชีวิต 16 รายทั้วโลก (มีจากสหรัฐฯ 9 ราย)  มะเร็งชนิดนี้จะทำลายเซลในระบบภูมิคุ้มกันส่งผลให้กลายเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็ว นับว่าเสี่ยงมากสำหรับใครที่ผ่าตัดเสริมหน้าอก มีรายงานจำนวนผู้ผ่าตัดเสริมหน้าอกในสหรัฐฯ มีประมาณ 400,000 รายต่อปี หรือยอดทั่วโลกประมาณ 11,000,000 ราย เอาเป็นว่า...ตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนของโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็วที่เกิดจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก โอกาสเป็นมะเร็งอาจจะ 1 ใน 3,000 รายหรือ 1 ใน 30,000 รายก็เป็นได้ 


ที่มา: FOXNEWS / CNN

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังคิดจะเสริมหน้าอก ควรศึกษาข้อมูลให้ดีๆ ปรึกษาแพทย์ด้านความเสี่ยง สำรวจคนรอบข้าง ญาติพี่น้อง หรือคนในตระกูลว่ามีใครเคยเป็นมะเร็งหรือไม่ อย่างน้อยก็ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจผ่าตัดเสริมเต้า

สำหรับสาวๆ ที่เสริมอึ๋มไปแล้วก็อย่าพึ่งตกใจ เรามาดูแนวทางการรับมือกับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้กันค่ะ 

การวินิจฉัยหาโรคมะเร็งและการป้องกัน

วิธีการตรวจหามะเร็งและแนวทางป้องกันมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1


การตรวจด้วยตนเอง

ง่ายๆ เลยคือการตรวจหาก้อนเนื้อตรงเต้านม คลำ เต้านม เพื่อตรวจ หาความผิดปกติ หากตรวจพบให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ขั pobpad

2


ตรวจเต้านมด้วยแพทย์หรือพยาบาล

สาวๆ ที่เสริมหน้าอกควรพบแพทย์ ตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้การตรวจด้วยแมมโมแกรมอาจทำได้ยากสำหรับผู้ที่เสริมหน้าอก ดังนั้นให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาใช้เทคนิคในการตรวจอื่นๆ จะดีที่สุด 

3


ทำประกันโรคร้ายแรง

พูดถึงโรคร้ายแรง แน่นอนว่าต้องใช้เงินจำนวนมากในการรักษา หากไม่มีการเตรียมตัวรับมือกับโรคร้าย โชคร้ายเป็นมะเร็งก็อาจะต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตหรือหมดตัวเลยก็ว่าได้ ดังนั้นสาวๆ ที่เสริมหน้าอกอาจมีความเสี่ยงมากกว่า เมื่อรู้แบบนี้แล้วยิ่งต้องโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับไปดีกว่ารับไว้เองทั้งหมด 

application 3399516 960 720

รู้ว่าเสี่ยง..แต่คงต้องขอลอง

การเสริมหน้าอกมีความเสี่ยงแฝงตัวอยู่  แต่เมื่อความสวยมันหยุดไม่ได้ สาวๆ เลยต้องยอมเสี่ยง ถึงอย่างไรแล้วความเสี่ยงที่แฝงอยู่มีทั้งโอกาสเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งชนิดหายากนี้ ยังไงก็ตามไม่มีใครรู้ว่าโรคร้ายนี้จะมาถึงเมื่อไหร่ อย่าปล่อยให้ภาระค่ารักษาโรคร้ายแรงทำให้ชีวิตเป็นศูนย์ โอนหรือแบ่งภาระค่าใช้จ่ายให้บริษัทประกันรับไปดีกว่า

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก