โดยเฉพาะผู้ที่มี Prestige Health เดิม (ปิดรับสมัครแล้วเมื่อ 1 ต.ค. 66) จะควรเปลี่ยนเป็น Prestige Health ปลดล็อค หรือไม่
จุดเริ่มต้นของประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่สามารถครอบคลุมค่ารักษามะเร็งแต่ละขบวนการให้มากที่สุด
ที่มาประกันสุขภาพตระกูล Prestige Health
หากท่านกำลังมองหาประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมค่ารักษามะเร็งทุกขบวนการการรักษาได้มากที่สุดในตลาดตอนนี้ พร้อมด้วยเบี้ยประกันที่คุ้มค่าต่อความคุ้มครองที่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่มีเบี้ยใกล้เคียงกัน
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายตระกูล Prestige Health จะเป็นแบบประกันตัวนั้น ที่จุดตั้งต้นเกิดขึ้นมาเพื่อให้ต่อสู้กับค่ารักษามะเร็งได้อย่างสมน้ำสมเนื้อมากที่สุด โดยจะมีพัฒนาการมาตั้งแต่
- BLA Prestige Health (2562 - มาตรฐานประกันสุขภาพเก่า) : จุดเริ่มต้นของแบบประกันสุขภาพต่อสู้มะเร็ง
- Prestige Health (2565 - มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่) : ปรับจากตัวก่อนไม่มาก เพียงเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานใหม่ โดยเพิ่มค่าตรวจวินิจฉัยก่อนแอดมิต 30 วัน และค่าบริการพยาบาลจ่ายตามจริงแยกจากค่าห้อง โดยเบี้ยที่ประกันที่ปรับเพิ่มน้อยมากจนน่าตกใจ และกลายเป็น The Best in Class ของประกันสุขภาพตลอดกาลในค่าห้อง 9,000-12,000 บ. ที่คุ้มครองสูงแต่เบี้ยประหยัดอย่างมาก โดยเฉพาะกับการรักษามะเร็ง
- Prestige Health ปลดล็อค (2566 - มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่) : ตัวปัจจุบันที่ปรับเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงมากพอสมควร และรับทำประกันยากมาก แต่ก็แลกมากับความคุ้มครองที่น่าสนใจ ซึ่งต้องมาดูกันว่าจะคุ้มค่าหรือไม่
- Prestige Health ปลดล็อค + เงื่อนไข Copayment (2568 - มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ + มาตรการเงื่อนไข Copayment หากสัญญาเริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 20 มี.ค. 68) : ทุกอย่างเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มมาตรการ Copayment เข้ามา เพื่อเป็นบทลงโทษให้กับผู้ทำประกัน 5% ที่เคลมเงินกองกลางของผู้ทำประกันทุกคนเกินความจำเป็นอย่างมาก และส่งผลเสียให้มีโอกาสถูกปรับเบี้ยเพิ่มทุกคนได้ หากไม่มีมาตรการนี้ออกมา
จะเห็นได้ว่าจุดตั้งต้นของตระกูล Prestige Health อยู่ที่การรักษามะเร็ง ไม่ใช่อยู่ที่เพียง 13 หมวดมาตรฐานเพียงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะลงลึกถึงข้อมูลของ Prestige Health ปลดล็อค สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจให้เรียบร้อยก่อนคือ Prestige Health ปลดล็อค ตั้งแต่ 20 มีค. 68 จะมีมาตรการ Copayment เข้ามาด้วย ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจและยอมรับให้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงลึกถึงข้อมูลอื่น ๆ ผ่านบทความเจาะลึกมาตรการ Copayment ต่อไปนี้
แบบประกันที่หักอกผู้สมัครทำประกันมากที่สุด
หลายท่านที่เริ่มศึกษาประกันสุขภาพเหมาจ่ายอย่างจริงจัง จะเริ่มเห็นข้อดีสำคัญของ Prestige Health ปลดล็อค ที่เบี้ยต่อความคุ้มครองนั้นมีความคุ้มค่าสูง และสนใจที่จะสมัครทำประกันด้วยเพราะความคุ้มค่านี้
แต่สุดท้ายกลับต้องอกหัก จากการที่ฝ่ายพิจารณาไม่สามารถรับทำประกันสุขภาพ Prestige Health ปลดล็อคได้ง่าย ๆ เนื่องจากความคุ้มค่านั้นจะไม่ได้ใช้เพียงเบี้ยประกันเท่านั้นในการสมัคร แต่ยังต้องใช้ประวัติการรักษา หรือ ผลตรวจสุขภาพ ที่ขาวสะอาดมาก ๆ หรือ หากไม่มีประวัติการรักษา ไม่มีผลตรวจสุขภาพเลยจะยิ่งดีมาก
ซึ่งขัดกับความเป็นจริงพอสมควร เพราะผู้ที่จะมาสนใจ Prestige Health ปลดล็อค ได้นั้น มักเป็นผู้ที่มีประวัติการรักษา หรือ ผลตรวจสุขภาพมาแล้วเป็นส่วนมาก จนเริ่มสนใจมองหาประกันสุขภาพอย่างจริงจัง และมาพบกับ Prestige Health ปลดล็อค นี้ได้
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการทำความเข้าใจความคุ้มครองและเบี้ยของ Prestige Health ปลดล็อค จึงควรพิจารณาก่อนว่า Prestige Health ปลดล็อค จะไม่รับทำประกันด้วยสาเหตุใดได้บ้าง ดังต่อไปนี้
เปรียบเทียบความคุ้มครองที่ Prestige Health ปลดล็อค ได้เพิ่มขึ้นจาก Prestige Health เดิม
การเริ่มต้นเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพต่าง ๆ ได้นั้น จะต้องเริ่มจากการเปรียบเทียบ 13 หมวดความคุ้มครองตามมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงจะพบว่าแบบประกันสุขภาพใดที่เพียงแค่ให้พอครบ 13 หมวด หรือ คุ้มครองทั้ง 13 หมวดอย่างจริงจัง หรือ แบบที่เน้นให้ความคุ้มครองที่ครบถ้วนจริง ๆ ทั้ง 13 หมวด รวมไปถึงช่องโหว่ของ 13 หมวด
ดังนั้น การเลือกประกันสุขภาพจึงควรทำการบ้านอย่างน้อยในเรื่อง 13 หมวดความคุ้มครองให้เข้าใจ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแบบประกันสุขภาพใด ๆ
ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบว่า Prestige Health ปลดล็อค มีอะไรเพิ่มเติมจาก Prestige Health เดิมบ้าง จึงจะต้องเริ่มจากหมวดความคุ้มครองเหล่านี้
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง




สรุปความคุ้มครองที่ Prestige Health ปลดล็อค ให้เพิ่มขึ้นจาก Prestige Health เดิม หรือ เมื่อเทียบกับประกันสุขภาพอื่น ๆ

หนึ่งในความคุ้มครองสำคัญที่ทำให้ Prestige Health ได้ชื่อว่า ปลดล็อค หรือ Unlock นั้น ก็คือความคุ้มครองเพิ่มเติมหมวดนี้ ที่มีไว้เพื่ออุดช่องโหว่ของ ความคุ้มครองประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกหมวดที่ 9-11 โดยตรง ซึ่งในหมวดดังกล่าวจะมีการระบุชื่อวิธีการรักษาลงในกรมธรรม์อย่างชัดเจน ดังรูปด้านล่าง
(ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้าในอนาคตมีวิธีการรักษาใหม่อื่น ๆ แล้วบริษัทประกันอาจอ้างได้ว่าไม่ได้ระบุวิธีการรักษาผู้ป่วยนอกแบบนี้ไว้ในกรมธรรม์ โดยเฉพาะถ้าวิธีการรักษาใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีการเก่าอย่างมาก)



แต่เมื่อมีหมวดขยายความคุ้มครองวิวัฒนาการทางการแพทย์ จะทำให้เมื่อจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการรักษาใหม่ในอนาคตที่ปรากฏชื่อวิธีการรักษาในกรมธรรม์หมวดที่ 9-11
จะสามารถให้ รพ. ทำการยื่นพรีเคลม อธิบายแผนการรักษา และความจำเป็นทางการแพทย์ ให้กับทางฝ่ายสินไหม จากนั้นฝ่ายสินไหมจะทำการตรวจสอบว่าวิธีการรักษาใหม่ที่ไม่ได้มีระบุในกรมธรรม์หมวด 9-11 นี้มีราชวิทยาลัยสาขาที่เกี่ยวข้องในแพทยสภารองรับวิธีการรักษาใหม่นี้หรือยังไม่
ซึ่งแพทย์สินไหม และแพทย์ที่ทำการรักษา จะประสานงานกัน ตรวจสอบการรับรองที่ยอมรับได้และมีความจำเป็นทางการแพทย์ เพื่อตัดสินใจอนุมัติให้เคลมด้วยวิธีการรักษาใหม่นี้
ทั้งนี้ประกันสุขภาพมาตรฐานปัจจุบัน ทุกวิธีการรักษาจำเป็นต้องได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยในแพทยสภาเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก อย่างในกรณีผู้ป่วยในที่ไม่ได้มีข้อจำกัดระบุวิธีการรักษาแบบหมวดที่ 9-11 (เพียงแต่ต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์ และเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย)
อย่างกรณีการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ในปัจจุบัน จะจำเป็นต้องทำพรีเคลมเข้ามาก่อน เพราะไม่ใช่ทุกการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์จะผ่านการรับรองแล้วว่ามีความจำเป็นทางการแพทย์
โดย ณ ตอนนี้ หุ่นยนต์จะใช้ได้กับการผ่าตัด ตัดไตบางส่วน มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ตรงและทวารหนัก เท่านั้น โดยการใช้หุ่นยนต์จะช่วยให้แผลเล็กไม่ติดข้อจำกัดของขนาดมือหมอที่ใหญ่
หรือการทำกายภาพบำบัด หมวดคุ้มครองที่ 2 และที่ 8 หากใช้วิธีรักษาแบบแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ที่ปัจจุบันจะยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน จึงทำให้บริษัทประกันจะยังไม่ได้ให้คัุมครองวิธีการกายภาพบำบัดด้วยวิธีนี้
อย่างในกรณีวิธีการรักษามะเร็งผู้ป่วยนอกด้วย Immunotherapy ปัจจุบันที่ผ่านการรับรองแล้วในไทยส่วนใหญ่จะเป็นในมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ที่เป็นแบบพันธุ์ดุไม่สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้
ซึ่ง BLA เคยได้ทำเคลมโดยใช้ Happy Health ด้วย ถึงแม้ Immunotherapy จะไม่ปรากฏในชื่อวิธีการรักษาใน หมวด 9-11 แต่ตามแนวปฏิบัติการเคลมของ คปภ. (ดังรูปด้านล่าง) จะให้สามารถเคลม Immunotherapy ได้หากมีเหตุจำเป็นจริง ๆ ผ่านการทำเรื่องขอความอนุเคราะห์เข้าบริษัทฯ

ดังนั้นอาจจะมองได้ว่า อาจไม่จำเป็นต้องทำ Prestige Health ปลดล็อค เพราะ Happy Health รวมถึง Prestige Health ตัวเก่า ก็สามารถให้ความคุ้มครอง Immunotherapy ได้อยู่แล้ว ตามแนวทางปฏิบัติของ คปภ.
แต่อย่างไรก็ตาม Happy Health จะต้องขอความอนุเคราะห์ เพราะไม่มีชื่อวิธีรักษาแบบ Immunotherapy ปรากฏในกรมธรรม์หมวดที่ 11 (แต่ใช้อ้างอิงจากแนวทางเคลมของ คปภ. เข้าช่วย) ในขณะที่ Prestige Health ปลดล็อค จะเพียงทำพรีเคลมเข้ามาเท่านั้น
ดังนั้นหากในอนาคตมีวิธีการรักษาใหม่ เช่น วิธี XXX ที่ผ่านการรับรองในไทยแล้ว แต่ไม่มีระบุใน กธ. มาตรฐานปัจจุบัน รวมถึงไม่มีในแนวทางเคลมของ คปภ. ตัว Happy health เอง ก็ต้องลุ้นว่าจะสามารถขอความอนุเคราะห์ใช้วิธี XXX นี้ได้สำเร็จหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้การขอความอนุเคราะห์สำเร็จโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากที่ ไม่มีวิธีอื่นรักษาได้แล้ว เป็นหลัก จะไม่ใช่เพียงเพราะมีวิธีใหม่ที่รักษาแล้วได้ผลดีกว่าเท่านั้น จึงทำให้ถ้าหากกังวลกับอนาคตในหลายปีข้างหน้า ตัว Prestige Health ปลดล็อค ก็จะสามารถปลดล็อคความกังวลนี้ได้ต่อไป
นอกจากนี้ หากยังมีความกังวลเรื่องวิธีรักษาที่ยังไม่ผ่านการรับรองในไทย แต่ได้ผลดีในต่างประเทศแล้วอยากใช้วิธีนี้โดยเฉพาะการรักษามะเร็ง จะสามารถปลดล็อคความกังวลนี้โดยอาศัยเงินก้อนที่ได้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤตของ Prestige Health ปลดล็อค (500,000 บ.) หรือ Happy Health premier (300,000 บ.) ดังรูปด้านล่างได้อีกทางหนึ่ง
(หรือหากมองว่ายังไม่เพียงพอจะยังสามารถ ทำประกันมะเร็ง หรือ ประกันโรคร้ายแรง เพิ่มอีกได้ แต่เบื้องต้นประกันมะเร็ง และประกันโรคร้ายแรง หน้าที่คือ ชดเชยรายได้ที่ต้องหยุดทำงาน 2-3 ปี เพื่อรักษาโรคมะเร็งร้ายแรงเหล่านี้)

โดยสรุปความคุ้มครองทั้งหมดที่ Prestige Health ปลดล็อค ให้เพิ่มมาจาก Prestige Health เดิม ดังนี้
- เลือกค่าห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. ได้ ปลดล็อคความกังวลเรื่องค่าห้อง
- การเปลี่ยนอวัยวะเป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง (แม้ว่าจะมีโอกาสน้อยมากที่จะเปลี่ยนเกินกว่า 1 ครั้ง)
- คุ้มครองหมวดที่ 8 เวชศาสตร์ฟื้นฟู แบบไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใน 60 วันหลังแอดมิต
- เพิ่มคุ้มครองอรรถบำบัดในหมวดที่ 8
- แผนที่มีวงเงิน OPD ค่ารักษาทั่วไป สามารถนำมาใช้กับเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบที่ไม่ต้องแอดมิตมาก่อนได้
- วงเงินค่าแพทย์ทางเลือกแยกจาก วงเงิน OPD ทั่วไป
- ค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกกายที่มากขึ้น
- คุ้มครองการตรวจวินินฉัย OPD สำหรับยามุ่งเป้าแบบจ่ายตามจริง ปลดล็อคส่วนต่างการรักษาด้วยยามุ่งเป้า เมื่อไม่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองด้วยหมวดที่ 6 ตรวจวินิจฉัยก่อนหลังแอดมิต 30 วัน หรือ ด้วยหมวดที่ 2 การตรวจวินิจฉัยแบบผู้ป่วยใน
- มีเงินชดเชยภาวะวิกฤตให้จำนวน 500,000 บาท ปลดล็อคสำหรับค่าการรักษาที่ยังไม่ได้รับรองในประเทศไทย
- เพิ่มความคุ้มครองเชิงรุกการตรวจสุขภาพ ทันตกรรม ในบางแผน
- คุ้มครองการรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอนาคตที่ผ่านการรับรองในประเทศไทยแล้ว ที่ไม่ได้ระบุชื่อวิธีรักษาไว่ในกรมธรรม์ โดยเฉพาะกับหมวดที่ 9-11 ปลดล็อคความกังวลในแง่ตัวอักษรด้านเงื่อนไขสัญญา ที่สามารถทำให้หมวดที่ 9-11 อาจไม่คุ้มครองวิธีการรักษาแบบใหม่ในอนาคต
- สามารถเลือกแบบจ่ายรับผิดส่วนแรกต่อปีได้ เพื่อลดเบี้ยประกันลงได้อีกระดับหนึ่ง (จ่ายรับผิดเฉพาะความคุ้มครองหมวดที่ 1-6 ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในเท่านั้น )
Prestige Health ปลดล็อค สามารถเลือกแบบมี Deductible ได้ แล้วตอนเกษียณจะเอา Deductible ออกได้หรือไม่
ในตอนอายุ 55-65 ปี Prestige Health ปลดล็อค จะมีสิทธิพิเศษที่สามารถเปลี่ยนจากแผนที่ "มีรับผิดส่วนแรก" ให้เป็นแแผนที่ "ไม่มีรับผิดส่วนแรก" ได้ 1 ครั้งตลอดสัญญา โดยที่ไม่ต้องเข้าขบวนการพิจารณาใหม่ และให้ความคุ้มครองต่อเนื่อง แม้บริษัทจะรับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นก็ตาม (และเนื่องจากไม่ได้เข้าสู่ขบวนการพิจารณาใหม่ จึงทำให้สัญญาที่เริ่มคุ้มครองก่อน 20 มี.ค. 68 พอใช้สิทธิพิเศษนี้ ก็จะไม่โดนมาตรการ Copayment ตามไปด้วย)

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแผนประกันนั้นไม่จำเป็นต้องรอถึงอายุ 55-65 ปี เพื่อจะใช้สิทธิพิเศษเท่านั้น โดยจะสามารถเปลี่ยนแผนได้ในสถานการณ์ปกติ เฉพาะภายใต้รหัสแบบประกันเดียวกัน ดังต่อไปนี้
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ประเทศไทย) (ไม่มีความรับผิดส่วนแรก) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 20,000,000
- แผนประกัน 30,000,000
- แผนประกัน 50,000,000
- แผนประกัน 100,000,000
- แผนประกัน 200,000,000
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ประเทศไทย) (มีความรับผิดส่วนแรก 50,000 บาท) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 20,000,000
- แผนประกัน 30,000,000
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ประเทศไทย) (มีความรับผิดส่วนแรก 100,000 บาท) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 50,000,000
- แผนประกัน 100,000,000
- แผนประกัน 200,000,000
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ทวีปเอเชีย) (ไม่มีความรับผิดส่วนแรก) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 100,000,000
- แผนประกัน 200,000,000
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและเกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา) (ไม่มีความรับผิดส่วนแรก) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 100,000,000
- แผนประกัน 200,000,000
- แบบประกัน เพรสทีจ เฮลธ์ ปลดล็อค (ทั่วโลก) (ไม่มีความรับผิดส่วนแรก) : ประกอบไปด้วย
- แผนประกัน 100,000,000
- แผนประกัน 200,000,000
โดยหากในแบบประกันเดียวกัน มีการปรับเปลี่ยนจากแผนเดิมไปเป็นแผนที่ทุนประกันเพิ่มมากขึ้น เช่น PHUL30ล้าน ประเทศไทย ไปเป็น PHUL50ล้าน ประเทศไทย หรือ PHUL50ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย ไปเป็น PHUL200ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย เป็นต้น จะต้องมีการพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนของทุนประกันที่เพิ่มมากขึ้น (และเนื่องจากมีการพิจารณาใหม่ จึงส่งให้การเปลี่ยนแผนแบบนี้ตั้งแต่ 20 มี.ค. 68 เป็นต้นไป จะติดมาตรการ Copayment มาด้วย)
ในขณะที่หากในแบบประกันเดียวกัน เปลี่ยนเป็นแผนที่ทุนประกันลดลง เช่น PHUL50ล้าน ประเทศไทย ไปเป็น PHUL30ล้าน ประเทศไทย หรือ PHUL100ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย ไปเป็น PHUL50ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย เป็นต้น แบบนี้จะไม่ต้องเข้าขบวนการพิจารณาใหม่ จึงทำให้การเปลี่ยนแผนแบบนี้ แม้จะทำหลัง 1 มี.ค. 68 ก็จะไม่ติดมาตรการ Copayment มาด้วย
ทั้งนี้ การเปลี่ยนข้ามรหัส (code) หรือเปลี่ยนข้ามแบบประกัน อย่าง PHUL50ล้าน ประเทศไทย ไปเป็น PHUL50ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย แม้จะมีความคุ้มครองเหมือนกัน และบริษัทก็รับความเสี่ยงลดลง แต่ตามเงื่อนไขแล้วจะต้องมีการเข้าขบวนการพิจารณาใหม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยนแผนแต่เป็นการเปลี่ยนแบบประกัน (เปลี่ยนแผน = ต้องภายใต้รหัสแบบประกันเดียวกัน) ทำให้หากทำหลัง 19 มี.ค. 68 ก็จะติดมาตรการ Copayment มาด้วย (กรณีต้องพิจารณาใหม่)
(**ในส่วนจะคุ้มครองต่อเนื่องได้หรือไม่ หรือจะถูกให้มีข้อเสนอยกเว้นความคุ้มครองเพิ่มหรือไม่นั้น จะจำเป็นต้องยื่นเรื่องขอความอนุโลมดู ซึ่งมีโอกาสที่จะได้ เพราะบริษัทรับความเสี่ยงน้อยลง แต่ติดเพียงเงื่อนไขการเปลี่ยนแบบประกันข้ามรหัสเท่านั้น)
ด้วยเหตุทั้งหมดนี้เองจึงทำให้การเปลี่ยนแบบประกัน หรือเปลี่ยนข้ามรหัส โดยไม่ต้องเข้าขบวนการพิจารณาใหม่นั้น จะมีเพียงการใช้สิทธิพิเศษตอนอายุ 55-65 ปี ที่เป็นการถอดรับผิดส่วนแรกออกได้เท่านั้น เช่น จาก PHUL50ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย ถอดรับผิดส่วนแรกออก ก็จะกลายเป็น PHUL50ล้าน ประเทศไทย เป็นต้น และเนื่องจากไม่ต้องเข้าขบวนการพิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องจะติดมาตรการ Copayment เพิ่มเข้ามา (ในกรณีที่ประกันมีผลคุ้มครองก่อน 20 มี.ค. 68)
นอกจากนี้หากใช้สิทธิพิเศษตอนอายุ 55-65 ให้ดี ก็จะสามารถเปลี่ยนข้ามรหัสจาก PHUL50ล้าน รับผิด 1 แสน ประเทศไทย ให้เป็น PHUL20ล้าน ประเทศไทย ได้ โดยไม่ต้องเข้าขบวนการพิจารณาใหม่ เนื่องจากใช้สิทธิพิเศษอายุ 55-65 ปี ข้ามรหัสจาก มีรับผิด เป็น ไม่มีรับผิด หลังจากนั้นก็สามารถทำการเปลี่ยนแผนลดทุนประกันในแผน แบบที่ไม่มีรับผิดแบบเดียวกันได้เลย
หรือถ้าหากขอความอนุโลมได้สำเร็จ ก็จะสามารถเปลี่ยนจาก PHUL20ล้าน ประเทศไทย เป็น PHUL20ล้าน รับผิด 5 หมื่น ประเทศไทย โดยคุ้มครองต่อเนื่องและไม่ถูกข้อยกเว้นโรคเพิ่มได้ด้วย และทำให้ตอนเกษียณสามารถข้ามรหัสมายังแบบประกันที่มีเบี้ยประกันน้อยที่สุดได้แบบปลอดภัยที่สุด (แต่อาจต้องติด Copayment มาในขบวนการข้ามรหัสแบบไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้)
▍สรุป : Prestige Health ปลดล็อค ให้ความคุ้มครองที่สูงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในข้อ 27 เป็นข้อที่ไม่มีปรากฏในประกันสุขภาพแบบใดมาก่อน ทั้งนี้ยังมีความคุ้มครองข้อที่ 8 ที่ขาดหายการจ่ายตามจริงไปจาก Prestige Health เดิม รวมถึงอุดช่องโหว่การรักษามะเร็งของแบบเดิมโดยการเพิ่มความคุ้มครองข้อ 23-24 เข้ามา
▍ข้อสังเกตุ : เบี้ยประกันสูงขึ้นอย่างมาก (ตามตารางเบี้ยบางส่วนใน Section ด้านล่างต่อจากนี้) อาจด้วยเพราะมีความคุ้มครองภาวะวิกฤตกับโรคร้ายแรงด้วยเงินก้อนชดเชย 500,000 บ. เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งค่าประกันภัยน่าจะเพิ่มขึ้นตามอายุ (ด้วยเพราะตอนสูงอายุเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ Prestige Health ตัวเดิมที่ไม่คุ้มครองภาวะวิกฤต) ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกับประกันโรคร้ายแบบเบี้ยเพิ่มตามอายุโดยทั่วไปคือ แบบทั่วไปหากเป็นโรคร้ายแรงจะเจอจ่ายจบไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีก ในขณะที่แบบปลดล็อคแม้จะเจอภาวะวิกฤตหรือโรคร้ายแรงและได้จ่ายเงินก้อนชดเชยไปแล้ว แต่ก็ยังต้องจ่ายเบี้ยเท่าเดิมตามตารางเบี้ยต่อไปโดยไม่มีส่วนลดใด ๆ
เปรียบเทียบเบี้ยประกันที่ Prestige Health Unlock เพิ่มขึ้นจาก Prestige Health เดิม



▍สรุป :
- เบี้ยแผน 20-30 ล้านใหม่ จะมีเบี้ยพอๆ กับ แผน 50-80 ล้านเดิม (เบี้ยขึ้นประมาณ 1.46-1.49 เท่าจากเบี้ยแผนเดิม 10-30 ล้าน) จึงเหมือนเป็นการแข่งขันกันระหว่าง
- เปลี่ยนเป็นแผนใหม่ 20-30 ล้าน (ไม่มี OPD แต่มีปลดล็อคความคุ้มครองต่างๆ ให้)
- หรือ อัพเกรดแผนเดิมไปเป็นแผน 50-80 ล้าน (ที่มี OPD ทั่วไปให้)
▍ข้อสังเกตุ : การเลือก Prestige Health ปลดล็อค เป็นการบังคับให้เลื่อนจากประกันสุขภาพพื้นฐาน คือ จากแผน 10-30 ล้านเดิม ให้เป็นแผนประกันสุขภาพที่มีราคาสูงระดับกลางขึ้นทันที เพราะแผนได้คุ้มครอง OPD ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ค่าการปรึกษายามุ่งเป้าและการตรวจยีน รวมถึงรับเงินก้อน 500,000 บ. ในภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตามหากต้องการได้เบี้ยที่ลดลง Prestige Health ปลดล็อค ยังมีแบบ Deductible ให้เลือกได้
หากมี Prestige Health เดิม ควรเปลี่ยนเป็น Prestige Health ปลดล็อค หรือไม่
แผน 10-30 ล้านเดิม VS.
แผน 20-30 ล้านใหม่ รับผิดส่วนแรก 50,000 บ.
ด้วยเบี้ยที่ใกล้เคียงกันมากระหว่าง แผน 10-30 ล้านเดิม กับ แผน 20-30 ล้านปลดล็อคใหม่ แบบมีรับผิดส่วนแรก 50,000 บ. จึงทำให้ผู้ที่มี Prestige Health 10-30 ล้านเดิมอยู่ และต้องการปรับเพิ่มความคุ้มครอง พร้อมจ่ายเบี้ยเพิ่มจะมี ทางเลือกดังนี้
ทางเลือก เปลี่ยนแผนใหม่ ที่เบี้ยใกล้เคียงเดิมโดยเฉพาะอายุก่อนเกษียณ : สิ่งที่ได้เมื่อเปลี่ยนจาก [แผน 10-30 ล้านเดิม] เป็น [แผน 20-30 ล้านใหม่ มีรับผิดส่วนแรก 50,000 บ.]
- 1. ได้ทางเลือกห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. เผื่อในอนาคต แทนค่าห้อง 8,000 - 10,000 บ.
- 2. ได้เวชศาสตร์ฟิ้นฟูผู้ป่วยนอกข้อ 8 รวมถึงอรรถบำบัด (กายภาพบำบัด OPD กรณี Follow up จาก IPD)
- 3. ได้ค่าปรึกษา ค่าตรวจ OPD สำหรับการรักษาแบบ Targeted Therapy จ่ายตามจริง
- 4. ได้ค่าชดเชย 500,000 บ. หากอยู่สภาวะวิกฤต 5 สภาวะ ไม่ว่าจะมีที่มาจากโรคหรืออุบัติเหตุใดๆ
- 5. ได้รับรองการรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอนาคตทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
- 6. ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรกในกรณีเป็นผู้ป่วยใน IPD 50,000 บ.ต่อปี
▍ผลการเปรียบเทียบ : ทางเลือกแผนใหม่ กับ ทางเลือกแผนเก่า
1. แผนใหม่ชนะ (ค่าห้องสำหรับในอนาคต)
2. แผนใหม่ชนะ (เวชศาสตร์ฟื้นฟูจ่ายตามจริง)
3. แผนใหม่ชนะในกรณี OPD การตรวจยีนให้คำปรีกษาสำหรับ Targeted Therapy แต่แพ้แผนเก่าใน OPD ทั่วไป
4. แผนใหม่ชนะในแง่มุมได้ค่าชดเชย 500,000 บ.ในภาวะวิกฤต
5. แผนใหม่ชนะในแง่มุมได้วิธีการรักษาใหม่ในอนาคตที่ระบุในกรมธรรม์อย่างชัดเจน
6. แผนใหม่แพ้ต้องเลือกมี Deductible รายปีเพื่อให้เบี้ยลดลง ในตอนก่อนเกษียณ
▍ข้อสังเกตุ : ด้วยความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้นพอสมควร การจะคงเบี้ยให้ใกล้เคียงแผนเดิมมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีรับผิดส่วนแรกเพิ่มเข้ามา แต่ถ้าหากพิจารณาจากสถิติการเป็นผู้ป่วยใน IPD กับ เบี้ยที่เพิ่มขึ้นหากเลือกแบบไม่มีรับผิดส่วนแรกแล้ว การเลือกแบบมีรับผิดส่วนแรก หรือ Deductible นั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจพอสมควร
อัพเกรดเป็นแผน 50-80 ล้านเดิม VS.
เปลี่ยนเป็นแผน 20-30 ล้านใหม่
ด้วยเบี้ยที่ใกล้เคียงกันมากระหว่าง แผน 50-80 ล้านเดิม กับ แผน 20-30 ล้านปลดล็อคใหม่ จึงทำให้ผู้ที่มี Prestige Health 10-30 ล้านเดิมอยู่ และต้องการปรับเพิ่มความคุ้มครอง พร้อมจ่ายเบี้ยเพิ่มประมาณ 1.46 เท่าจากเดิม จะมี 2 ทางเลือกดังนี้
ทางเลือกที่ 1 เปลี่ยนแผนใหม่ : สิ่งที่ได้เมื่อเปลี่ยนจาก [แผน 10-30 ล้านเดิม] เป็น [แผน 20-30 ล้านใหม่ แบบไม่มีรับผิดส่วนแรก]
- 1. ได้ทางเลือกห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. เผื่อในอนาคต จากค่าห้อง 8,000 - 10,000 บ.
- 2. ได้เวชศาสตร์ฟิ้นฟูผู้ป่วยนอกข้อ 8 รวมถึงอรรถบำบัด (กายภาพบำบัด OPD กรณี Follow up จาก IPD)
- 3. ได้ค่าปรึกษา ค่าตรวจ OPD สำหรับการรักษาแบบ Targeted Therapy จ่ายตามจริง
- 4. ได้ค่าชดเชย 500,000 บ. หากอยู่สภาวะวิกฤต 5 สภาวะ ไม่ว่าจะมีที่มาจากโรคหรืออุบัติเหตุใดๆ
- 5. ได้รับรองการรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอนาคตทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
ทางเลือกที่ 2 อัพเกรดแผนเก่า : สิ่งที่ได้เมื่อเปลี่ยนจาก [แผน 10-30 ล้านเดิม] เป็น [แผน 50-80 ล้านเดิม]
- 1. ได้ค่าห้องเพิ่มเป็น 12,000 - 15,000 บ. จากค่าห้อง 8,000 - 10,000 บ.
- 2. ได้เวชศาสตร์ฟิ้นฟูผู้ป่วยนอกข้อ 8 ไม่รวมถึงอรรถบำบัดที่ 5,000 - 10,000 บ.ต่อปี (รวมแพทย์ทางเลือก)
- 3. ได้ค่าตรวจรักษา OPD ทั่วไป 15,000 - 30,000 บ.ต่อปี (ไม่รวมกายภาพบำบัด OPD)
- 4. ได้ค่าเวชภัณฑ์ 2 บางอุปกรณ์ เพิ่มเป็น 100,000 - 200,000 บ. ตลอดชีพ จาก 50,000 - 80,000 บ. ตลอดชีพ
▍ผลการเปรียบเทียบ : ทางเลือกแผนใหม่ กับ ทางเลือกแผนเก่า
1. แผนใหม่ชนะ (ค่าห้องสำหรับในอนาคต)
2. แผนใหม่ชนะ (เวชศาสตร์ฟื้นฟูจ่ายตามจริง)
3. แผนใหม่ชนะในกรณี OPD การตรวจยีนให้คำปรีกษาสำหรับ Targeted Therapy แต่แพ้แผนเก่าใน OPD ทั่วไป
4. แผนใหม่ชนะในแง่มุมได้ค่าชดเชย 500,000 บ.ในภาวะวิกฤต และ ค่ารักษาในอนาคต
5. แผนใหม่เลือกมี Deductible ได้เพื่อให้เบี้ยลดลงในตอนก่อนเกษียณ แล้วค่อบปรับเป็นไม่มี Deductible หลังเกษียณได้โดยไม่ต้องมีการพิจารณาและนับระยะรอคอยใหม่
▍ข้อสังเกตุ : แผนใหม่จะเปลี่ยนจาก OPD ทั่วไปของแผนเดิม ให้เจาะจงมากขึ้นและได้เป็นจ่ายตามจริง และ แผนใหม่เน้นลดความกังวลในอนาคตได้มากขึ้น
แผน 50-80 ล้านเดิม VS.
แผน 50-100 ล้านใหม่
สิ่งที่ได้เมื่อเปลี่ยนจาก แผน 50-80 ล้านเดิม เป็น แผน 50-100 ล้านใหม่ (เบี้ยขึ้นประมาณ 1.4-1.6 เท่า)
- 1. ได้ทางเลือกห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. เผื่อในอนาคต เพิ่มจากค่าห้อง 12,000 - 15,000 บ.
- 2. ได้เวชศาสตร์ฟิ้นฟูผู้ป่วยนอกข้อ 8 รวมถึงอรรถบำบัด จ่ายตามจริง
- 3. ได้ค่าปรึกษา ค่าตรวจ OPD ตรวจยีน สำหรับการรักษาแบบ Targeted Therapy จ่ายตามจริง
- 4. ได้ค่าชดเชย 500,000 บ. หากอยู่สภาวะวิกฤต 5 สภาวะ ไม่ว่าจะมีที่มาจากโรคหรืออุบัติเหตุใดๆ
- 5. ได้รับรองการรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอนาคตทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
- 6. ได้ OPD เพิ่มเป็น 50,000 - 100,000 บ. ที่ใช้กับกายภาพบำบัดได้ จากแต่ก่อนได้ 15,000 - 30,000 ต่อปี ใช้กับกายภาพบำบัดไม่ได้
- 7. ได้ค่าแพทย์ทางเลือกวงเงินตนเอง 5,000 - 10,000 บ.ต่อปี จากแต่ก่อนต้องแชร์กับเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- 8. ได้ค่าตรวจสุขภาพ หรือ วัคซีน หรือ จิตเวช 0 - 15,000 บ. ต่อปี
- 9. ได้ค่าทันตกรรม 0 - 10,000 บ. ต่อปี
▍ผลการเปรียบเทียบ : ทั้ง 9 ข้อเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดเบี้ยจึงจำเป็นต้องเพิ่มสูงขึ้น
▍ข้อสังเกตุ : การเพิ่มของเบี้ยนี้จึงทำให้ต้องเปรียบเทียบกับแบบประกันสุขภาพบริษัทอื่นๆ ในแผนระดับสูง ว่าจะมีแบบประกันสุขภาพใดที่สามารถจะให้ความคุ้มครองในระดับเดียวกันได้ ด้วยเบี้ยที่ใกล้เคียงกัน
แผน 100 ล้านเดิม VS.
แผน 200 ล้านใหม่
สิ่งที่ได้เมื่อเปลี่ยนจาก แผน 100 ล้านเดิม เป็น แผน 200 ล้านใหม่ (เบี้ยขึ้นประมาณ 1.06 เท่า)
- 1. ได้ทางเลือกห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. เผื่อในอนาคต จากค่าห้อง 25,000 บ.
- 2. ได้เวชศาสตร์ฟิ้นฟูผู้ป่วยนอกข้อ 8 รวมถึงอรรถบำบัด
- 3. ได้ค่าปรึกษา ค่าตรวจ OPD สำหรับการรักษาแบบ Targeted Therapy จ่ายตามจริง
- 4. ได้ค่าชดเชย 500,000 บ. หากอยู่สภาวะวิกฤต 5 สภาวะ ไม่ว่าจะมีที่มาจากโรคหรืออุบัติเหตุใดๆ
- 5. ได้รับรองการรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในอนาคตทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
- 6. ได้ OPD จ่ายตามจริงที่ใช้กับกายภาพบำบัดได้ จากแต่ก่อนใช้กับกายภาพบำบัดไม่ได้
- 7. ได้ค่าแพทย์ทางเลือกวงเงินตนเอง 50,000 บ.ต่อปี จากแต่ก่อนต้องแชร์กับเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- 8. ได้ค่าตรวจสุขภาพ หรือ วัคซีน หรือ จิตเวช 50,000 บ. ต่อปี
- 9. ได้ค่าทันตกรรม 40,000 บ. ต่อปี
▍ผลการเปรียบเทียบ : Prestige Health ปลดล็อค แผนสูงสุด ได้กลับมาให้ความคุ้มครองที่สูงมากกว่าเดิมในเบี้ยประกันที่ใกล้เคียงเดิม จึงทำให้ในตลาดสูงสุดนี้ Prestige Health ปลดล็อคได้กลับมาเป็นแบบประกันสุขภาพที่น่าสนใจมากกว่าเดิมอย่างมาก
▍ข้อสังเกตุ : เป็นแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองที่จำเป็นสูงสุดในปัจจุบัน แม้จะยังไม่รวมค่าตัดแว่นหรือค่าทำคลอดก็ตาม
มี Prestige Health 30 ล้านเดิม ต้องการเพิ่มความคุ้มครอง มีทางเลือกใดบ้าง
เนื่องจาก "Prestige Health 30 ล้านเดิม" นั้นถือว่าเป็น The Best in Class ของประกันสุขภาพเหมาจ่ายในช่วงค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ. ด้วยเบี้ยประกันที่ประหยัดและให้ความคุ้มครองที่จำเป็นมาครบถ้วนโดยเฉพาะสำหรับการรักษามะเร็ง อย่าง
- ค่าพยาบาลส่วนตัวจ่ายตามจริง
- ค่าอรรถบำบัด ฟื้นฟูการพูดผู้ป่วยใน
- ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องแอดมิต (MRI CT PET - จำเป็นสำหรับตรวจวินิจฉัย และติดตามอาการมะเร็งค่าใช้จ่ายสูง 3-8 หมื่นบาทต่อครั้ง ปีละ 3-4 ครั้ง ที่เกินวงเงิน OPD ของแบบประกันที่มี OPD ไปมาก)
- ค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมภายนอกกาย
- จ่ายตามจริงทุกอย่างใน 13 หมวดความคุ้มครองมาตรฐาน (ยกเว้นค่าห้อง และ หมวดที่ 8 ที่ไม่คุ้มครอง)
ซึ่งจากกราฟด้านล่างจะเห็นได้ชัดเจนว่า เบี้ยของ Prestige Health 30 ล้านเดิมนั้น มีเบี้ยที่น่าสนใจอย่างมากเมื่อเทียบกับแบบประกันสุขภาพอื่น ๆ

อายุก่อนเกษียณ เพศชาย

อายุหลังเกษียณ เพศหญิง

อายุก่อนเกษียณ เพศหญิง

อายุหลังเกษียณ เพศหญิง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดคำถามขึ้นได้ว่าถ้าต้องการเพิ่มความคุ้มครองของ Prestige Health 30 ล้าน ให้สูงขึ้นอีก จะมีหนทางใดได้บ้าง และแต่ละหนทางมีเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเพิ่มเท่าใด
ซึ่งเบี้ยประกันรวมของแบบประกันสุขภาพทางเลือกต่าง ๆ ในการพิจารณาประกอบการเลือกอัพเกรดความคุ้มครองจะมีดังต่อไปนี้ (เมื่อ HHP คือ Happy Heath Premier, PH คือ Prestige Health, PHUL คือ Prestige Health Unlock, PHULDD คือ Prestige Health Unlock แบบ Deductible, HHDD คือ Happy Health แบบ Deductible)
เบี้ยประกันรวมอายุ 11-60 ปี
- HHP10 : ประมาณ 1.3 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 180 วันต่อครั้งการรักษา)
- PH30 : ประมาณ 1.5 ล้าน (ห้อง 10,000 บ. สูงสุด 365 วัน + หมวดคุ้มครองพิเศษ)
- PH30+HH1DD1แสน : 1.8 ล้าน (เพิ่มจากค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นมาอีก 10,000 บ. สูงสุด 180 วัน)
- PH30+HH5DD1แสน : 1.85 ล้าน (เพิ่มจากค่าห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. มาอีก 10,000 บ. สูงสุด 180 วันต่อครั้งการรักษา)
- PHUL30 : ประมาณ 2.3 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้น สูงสุด 365 วัน + คุ้มครองปลดล็อค)
- PHUL30DD : ประมาณ 1.7 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้น สูงสุด 365 วัน + คุ้มครองปลดล็อค แต่ต้องจ่ายรับผิด 50,000 บ. ต่อปี)
- PHUL50 : ประมาณ 3.2 ล้าน
- PHUL50DD : ประมาณ 2.2 ล้าน
เบี้ยประกันรวมอายุ 61-98 ปี
- HHP10 : ประมาณ 9.6 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 180 วันต่อครั้งการรักษา)
- PH30 : ประมาณ 9.6 ล้าน (ห้อง 10,000 บ. สูงสุด 365 วัน + หมวดคุ้มครองพิเศษ)
- PH30+HH1DD1แสน : ประมาณ 12 ล้าน (เพิ่มจากค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นมาอีก 10,000 บ. สูงสุด 180 วัน)
- PH30+HH5DD1แสน : ประมาณ 12.4 ล้าน (เพิ่มจากค่าห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. มาอีก 10,000 บ. สูงสุด 180 วัน)
- PHUL30 : ประมาณ 13.3 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้น สูงสุด 365 วัน + คุ้มครองปลดล็อค)
- PHUL30DD : ประมาณ 12.2 ล้าน (ห้องเดี่ยวเริ่มต้น สูงสุด 365 วัน + คุ้มครองปลดล็อค แต่จ่ายรับผิด 50,000 บ. ต่อปี)
- PHUL50 : ประมาณ 15.7 ล้าน
- PHUL50DD : ประมาณ 13.7 ล้าน
1. กรณีพิจารณา PH30 ไปเป็น PH30+HH1DD1แสน เพื่อเพิ่มความคุ้มครองค่าห้องในอนาคตเป็นหลัก
หากไม่ต้องการมี DD ในประกันสุขภาพตัวหลัก และเรื่องจำนวนวันค่าห้องได้สูงสุด 180 วันต่อครั้งการรักษา ไม่เป็นปัญหา รวมถึงสนใจให้หมดกังวลค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นที่ยังมีโอกาสจ่ายส่วนต่างได้ หากห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นเต็ม
โดยการเลือก PH30 + HH1DD1แสน นั้นจะได้ค่าห้องทั้งจากห้องเดี่ยวเริ่มต้นของ HH1DD1แสน + ค่าห้อง 10,000 บ. ของ PH30 เข้าไปร่วมด้วย หรือก็คือ แบบนี้จะได้ค่าห้องเดี่ยวพิเศษที่ราคาสูงกว่าค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นอีก 10,000 บ. นั้นเอง ทำให้แม้ห้องเดี่ยวเต็มก็ยังมี PH30 มาช่วยอัพเกรดห้องให้ได้
ซึ่งวิธีนี้จะต้องเพิ่มเบี้ยจาก PH30 อีกสูงสุดที่ 3 แสน (ก่อนเกษียณ) 2.4 ล้าน (หลังเกษียณ) จึงอาจต้องพิจารณาว่าเงิน 2.7 ล้านนี้ เก็บเงินเป็นส่วนต่างค่าห้องเองจะดีกว่าหรือไม่ เพราะหากไม่ได้ใช้ เงินก็ยังถูกเก็บไว้เหมือนเดิม หรือ ถ้ามองว่า 2.7 ล้านนั้น ไม่ได้เป็นการจ่ายเบี้ยทั้งหมดในทันที
และโอกาสไม่มากนักที่จะอายุยืนถึง 98 ปีได้ รวมถึงหากในอนาคตสมมติค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 บ. การจ่ายส่วนต่างค่าห้องคืนละ 15,000 บ. (กรณีใช้ PH30 อย่างเดียว) เงิน 2.7 ล้านบาทนี้ ก็จะพอจ่ายส่วนต่างค่าห้องได้ที่ 180 วันเท่านั้นก็จะทำให้การพิจารณาเพิ่ม HHDD เข้าไปใน PH30 ก็จะเป็นเรื่องน่าสนใจขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามองว่า
- ค่าห้องจำเป็นเผื่อในอนาคต
- หมวดความคุ้มครองพิเศษของ PH จำเป็น
- ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ 1 ครั้งตลอดชีพเพียงพอ (เพราะโอกาสที่จะเปลี่ยนถึง 2 ครั้งได้จะน้อยมาก และร่างกายอาจรับไม่ไหว)
- ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูOPD รับความเสี่ยงเองได้
- เงินชดเชยภาวะวิกฤต 5 แสน ทำประกันโรคร้ายแรงแทน หรือ รับความเสี่ยงเองได้
- OPD ตรวจยีนสำหรับยามุ่งเป้า รับความเสี่ยงเองได้
- มองว่า เทคโนโลยีใหม่แบบ OPD โดยเฉพาะในส่วนมะเร็งเป็นเรื่องที่ขอความอนุเคราะห์ได้ (อย่าง immunotherapy มีเคสที่ HH เคลมในวงเงินมะเร็งผู้ป่วยนอกได้ ในกรณีมะเร็งเต้านมพันธุ์ดุที่ใช้ยามุ่งเป้าไม่ได้)
2. กรณีพิจารณา PH30 ไปเป็น PHUL30DD หรือ PHUL30 เพื่อเพิ่มความคุ้มครอง Unlock
กรณีนี้มองแล้วว่าการเพิ่มเบี้ยจาก PH30 อีก 2 แสนก่อนเกษียณ หรือ 2.6 ล้านหลังเกษียณ และมีค่ารับผิดส่วนแรก 50,000 บ. ต่อปี เพื่อเปลี่ยนเป็น PHUL30DD (ยอดเบี้ยมีความใกล้เคัยงกับ PH30 + HH1DD1แสน แต่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรกด้วยแน่นอน) หรือ การเพิ่มเบี้ยจาก PH30 อีก 8 แสนก่อนเกษียณ หรือ 3.7 ล้านหลังเกษียณ เพื่อเปลี่ยนเป็น PHUL30 นั้นเป็นไปได้และมีความสนใจในความคุ้มครองที่ได้เพิ่มขึ้นต่อไปนี้
- ค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้น (แต่ไม่ได้เป็นแบบ addon เพิ่มแบบ PH30 + HH1DD1แสน)
- หมวดความคุ้มครองพิเศษทั้งหมดของ PHUL
- ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะไม่จำกัดครั้ง
- ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู OPD หมวด 8
- เงินชดเชยภาวะวิกฤต 5 แสน
- OPD ตรวจยีนสำหรับยามุ่งเป้า
- เทคโนโลยีใหม่แบบ OPD โดยเฉพาะในส่วนมะเร็ง
3. กรณีพิจารณา PH30 ไปเป็น PHUL50DD หรือ PHUL50 เพื่อเพิ่มความคุ้มครอง Unlock และได้วงเงิน OPD 50,000 บ. ต่อปี
กรณีนี้มองแล้วว่าการเพิ่มเบี้ยจาก PH30 อีก 7 แสนก่อนเกษียณ หรือ 4.1 ล้านหลังเกษียณ (ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนเป็น PHUL30 มาก) แต่ต้องมีค่ารับผิดส่วนแรก 100,000 บ. ต่อปี เพื่อเปลี่ยนเป็น PHUL50DD นั้นคุ้มค่า หรือ ถ้าหากไม่ต้องการมี รับผิดส่วนแรก ก็สามารถเพิ่มเบี้ยจาก PH30 อีก 1.7 ล้านก่อนเกษียณ หรือ 6.1 ล้านหลังเกษียณ เพื่อเปลี่ยนเป็น PHUL50 ได้โดยเฉพาะเมื่อสนใจความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นต่อไปนี้
- ค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้น (จะไม่ได้เป็นแบบ addon เพิ่มแบบ PH30 + HH1DDแสน)
- หมวดความคุ้มครองพิเศษของ PHUL
- ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะไม่จำกัดครั้ง
- ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู OPD
- เงินชดเชยภาวะวิกฤต 5 แสน
- OPD ตรวจยีนสำหรับยามุ่งเป้า
- เทคโนโลยีใหม่แบบ OPD โดยเฉพาะในส่วนมะเร็ง
- *วงเงิน OPD ทั่วไป 50,000 บ. ต่อปี (ไม่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรก)
- *ค่าอุปกรณ์ภายนอกกายที่เพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บ. ตลอดชีพ
- *ค่าแพทย์ทางเลือก 5,000 บ. ต่อปี
▍สรุป : การอัพเกรดความคุ้มครองให้กับ PH30 ที่เป็นแบบประกันยอดนิยมนั้น จะมีแนวทางได้ดังต่อนี้
- 1. PH30 >> PH30+HH1DD1แสน : ประหยัดคุ้ม และเพิ่มการลดกังวลค่าห้อง
- เพิ่มเบี้ย 3 แสน ก่อนเกษียณ และ 2.4 ล้าน หลังเกษียณ
- ไม่ต้องการจ่ายรับผิดส่วนแรกในส่วนสัญญาสุขภาพตัวหลัก
- เน้นหมดกังวลค่าห้องเป็นหลักสูงสุด 180 วันต่อครั้งการรักษา และส่วนอื่น ๆ รับความเสี่ยงไว้เองได้ - 2.PH30 >> PHUL30DD : ประหยัดคุ้ม อุดช่องว่าง PH ลดเบี้ยด้วยการมีรับผิดและการดูแลร่างกายให้แข็งแรง
- เพิ่มเบี้ย 2 แสน ก่อนเกษียณ และ 2.6 ล้าน หลังเกษียณ
- มีค่ารับผิดส่วนแรก 50,000 บ. ต่อปี ในหมวดที่ 1-6 (เกี่ยวกับผู้ป่วยใน)
- ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 365 วันต่อครั้งการรักษา + หมวดคุ้มครองที่ขาดหายไปของ PH + เงินภาวะวิกฤต - 3.PH30 > PHUL30 : อุดช่องว่าง PH ประหยัดเบี้ยโดยไม่เอา OPD ทั่วไป
- เพิ่มเบี้ย 8 แสน ก่อนเกษียณ และ 3.7 ล้าน หลังเกษียณ
- ไม่ต้องการจ่ายรับผิดส่วนแรก
- ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 365 วันต่อครั้งการรักษา + หมวดคุ้มครองที่ขาดหายไปของ PH + เงินภาวะวิกฤต - 4.PH30 > PHUL50DD : อุดช่องว่าง PH เอา OPD ทั่วไป ลดเบี้ยด้วยมีรับผิดและการดูแลร่างกายให้แข็งแรง
- เพิ่มเบี้ย 7 แสน ก่อนเกษียณ และ 4.1 ล้าน หลังเกษียณ
- มีค่ารับผิดส่วนแรก 100,000 บ. ต่อปี ในหมวดที่ 1-6 (เกี่ยวกับผู้ป่วยใน)
- ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 365 วันต่อครั้งการรักษา + หมวดคุ้มครองที่ขาดหายไปของ PH + เงินภาวะวิกฤต + OPD 50,000 บ. ต่อปี - 5.PH30 > PH50UL : อุดช่องว่างของ PH เอา OPD ทั่วไป และไม่เอามีรับผิด
- เพิ่มเบี้ย 1.7 ล้าน ก่อนเกษียณ และ 6.1 ล้าน หลังเกษียณ
- ไม่ต้องการจ่ายรับผิดส่วนแรก
- ห้องเดี่ยวเริ่มต้นสูงสุด 365 วันต่อครั้งการรักษา + หมวดคุ้มครองที่ขาดหายไปของ PH + เงินภาวะวิกฤต + OPD 50,000 บ. ต่อปี
▍ข้อสังเกตุ :
- การเลือกว่าจะอัพเกรด PH30 อย่างไรดีนั้น จึงจะขึ้นอยู่กับงบประมาณ และความคุ้มครองที่ต้องการโอนความเสี่ยง โดย PH จะเน้นที่จำเป็นและเสี่ยงสูง ในขณะที่ PHUL จะเน้นอุดช่องว่างของ PH และ เผื่อในอนาคตข้างหน้าร่วมด้วย เบี้ยประกันจึงสูงขึ้นมากพอสมควร เว้นแต่จะเลือกแบบมี DD เพื่อช่วยลดเบี้ยที่เพิ่มขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องแลกมากับการจ่ายรับผิดส่วนแรก ซึ่งอาจไม่เหมาะนักหากภายหลังทำประกันแล้วสุขภาพไม่แข็งแรง หรือ ไม่ต้องการดูแบสุขภาพให้แข็งแรง
การเปลี่ยนจาก Prestige Health เดิม มาเป็น Prestige Health ปลดล็อค จะช่วยลดโอกาสการถูกปรับเบี้ยเพิ่มทั้งพอร์ตได้หรือไม่
เหตุผลที่ต้องมีมาตรการ Copayment
ตั้งแต่ 20 มี.ค. 68
เหตุผลหลักที่ต้องนำมาตรการ Copayment มาใช้กับสัญญาประกันสุขภาพที่เริ่มมีผลคุ้มครองตั้งแต่ 20 มี.ค. 68 นั้นก็เพราะการป้องกันการขึ้นเบี้ยเพิ่มทั้งพอร์ต จากการที่มีการเคลมที่น่ากลัว หรือ Over Claim ของผู้ทำประกันส่วนน้อยประมาณ 5% เท่านั้น (ซึ่งไม่ยุติธรรมต่อผู้ทำประกันส่วนใหญ่ 95% อย่างมาก)
ซึ่ง BLA พยายามจะไม่ขึ้นเบี้ยประกันทั้งพอร์ต แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ขึ้น (แม้ยังไม่เคยมีประวัติการขึ้นเบี้ยทั้งพอร์ตมาก่อนก็ตาม) โดยประเด็นใหญ่อยู่ที่ โรค Simple disease ที่ควรจะเป็นการรักษาแบบ OPD หลักพัน แต่กลายมาเป็นการรักษาแบบ IPD หลักหมื่นถึงแสนแทน และมักเข้านอน รพ. มากกว่า 2-3 ครั้งต่อปี ด้วยความร่วมมือของ รพ.เอกชน
ซึ่งจากข้อมูลของธุรกิจประกันภัยแจ้งว่า ค่ารักษาพยาบาล Simple Disease แบบผู้ป่วยในคิดเป็น 44% ของค่าสินไหมที่ส่งเคลมทั้งหมด!!
โดยทาง BLA ได้ลองหาวิธีแก้ไขมาหลายทาง อย่างเช่น การปิดแบบประกันเก่าที่เบี้ยถูกลง และเปิดแบบประกันใหม่ที่เบี้ยสูงขึ้นเพื่อลดการเพิ่มความเสี่ยงของแบบประกันเก่าที่เบี้ยถูกกว่าความเป็นจริงในปัจจุบัน
และล่าสุด มีการขึ้นระบบประเมิน Simple disease ก่อนแอดมิตตลอด 24 ชม. (Real-time in Pre-Cer/Pre-admit) ซึ่งถ้าหากไม่เข้าเกณฑ์นอน รพ. ก็จะแจ้งผู้ทำประกันว่าไม่สามารถ Fax-Claim ได้ทัน และอาจต้องสำรองจ่าย (เว้นแต่ในระหว่างการรักษาอาการของโรค Simple Disease จะเข้าเกณฑ์การแอดมิตก็จะสามารถโต้แย้งและทำ Fax-Claim ได้)
รวมถึงการจะเพิ่มมาตรการ Copayment ที่เป็นมาตรการที่จะบังคับใช้กับแบบประกันสุขภาพที่อนุมัติตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 68 เป็นต้นไป เข้ามาช่วยในการลดโอกาสการปรับเพิ่มเบี้ยทั้งพอร์ต ซึ่งดูแล้วน่าจะได้ผลมากกว่า 2 มาตรการก่อนหน้า
ตระกูล Prestige Health กับพอร์ตประกัน
ถ้าเป็นการแยกพอร์ตในรูปแบบ ประกันสุขภาพเก่าที่ปิดรับสมัคร กับ ประกันสุขภาพที่เปิดรับสมัครอยู่ โดยปกติแล้วก็จะมีโอกาสที่พอร์ตเก่าจะถูกปรับเพิ่มเบี้ยขึ้นก่อนได้ โดยเฉพาะหากแบบประกันเก่าที่ปิดรับสมัครนั้นมีจุดอ่อนในการ Over Claim ได้ง่าย และ ทำการปิดแบบช้าเกินไป (การปรับขึ้นเบี้ยของแบบประกันที่ปิดไปแล้วนั้น จะกระทบกับลูกค้าเก่าอย่างมาก บริษัทประกันจึงมักไม่เลือกวิธีนี้ เว้นแต่ประกันเก่ามีจุดอ่อนที่ส่งผลเสียหนักอยู่จริง ๆ)
ซึ่งจุดอ่อนของแบบประกันเก่าที่แม้จะปิดแบบแล้วก็ยังมีการปรับเบี้ยเพิ่มทั้งพอร์ตได้นั้น จะอยู่ที่
- การให้วงเงิน OPD ที่ใกล้เคียงหรือมากเกินกว่าเบี้ยประกันที่จ่าย หรือ
- ให้ค่าห้องสูงเกินไปเมื่อเทียบกับวงเงินคุ้มครองที่ได้ หรือ
- ให้ความคุ้มครองที่เฉลี่ยความเสี่ยงกับคนจำนวนไม่ได้มามากเกินไปไม่สอดคล้องกับเบี้ยประกันที่เรียกเก็บ (เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าทำฟัน ค่าตรวจจิตเวช)
โดยเฉพาะกับประกันสุขภาพเด็ก ที่ รพ. มักให้นอนพักรักษาตัว IPD ราคาสูง ด้วยอัตราการเข้าแอดมิตที่สูงมากจนเฉลี่ยความเสี่ยงได้น้อยมาก และจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ BLA ปิดแผนประกันสุขภาพเด็กแบบไม่มีรับผิดทั้งหมด และเปิดแผนใหม่ที่มีรับผิดส่วนแรกในทุกแผนขึ้นมาแทนพร้อมปรับเบี้ยที่สูงมากขึ้น และบังคับให้ความคุ้มครอง OPD เข้ามา (เพื่อสนับสนุนให้มีทางเลือกในการรักษาแบบ OPD ดูก่อน)
ในขณะที่ตระกูล Prestige Health นั้น แม้แยกพอร์ตกันระหว่าง Prestige Health เดิม , Prestige Health ปลดล็อค กับ Prestige Health ปลดล็อค มีมาตรการ Copayment แต่ Prestige Health แบบที่ปิดตัวลง ก็ไม่ได้มีช่องโหว่ร้ายแรงให้ Over Claim ได้ง่ายนัก เพราะรับทำประกันยาก ไม่เน้นเด็ก และ พอเห็นแนวโน้มที่อันตรายก็ปิดรับสมัครลงอย่างรวดเร็ว รวมถึง มีบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศมาแชร์ความเสี่ยงร่วมด้วยจึงทำให้พอร์ตใหญ่มากขึ้น จึงยังยากที่จะปรับเพิ่มเบี้ยขึ้นทั้งพอร์ตได้
และด้วยตระกูล Prestige Health มีจุดอ่อนค่อนข้างน้อยมากนี้เอง จึงทำให้เมื่อนำมาตรการ Copayment มาใช้กับ Prestige Health ปลดล็อค ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 68 เป็นต้นไป ก็ยิ่งทำให้โอกาสการเพิ่มเบี้ยทั้งพอร์ตของ Prestige Health ปลดล็อค แบบมีมาตรการ Copayment นั้นยากมากขึ้นไปอีกตามไปด้วย
Prestige Health กับ Happy Health แบบใดเสี่ยงถูกปรับเบี้ยทั้งพอร์ตมากกว่ากัน
ถ้ามองที่เคสเลวร้ายสุดว่าอย่างไรแล้วจะต้องมีการปรับเบี้ยเพิ่มทั้งพอร์ต แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองน้อยลงมาอย่าง Happy Health และ Happy Health Premier ที่เน้นผู้ป่วยใน IPD เป็นหลัก รับทำประกันง่ายกว่า และคุ้มครองมะเร็งผู้ป่วยนอกน้อยกว่า
ทำให้หากตระกูล Prestige Health มีการปรับเบี้ยทั้งพอร์ตจริง ๆ ตระกูล Happy Health น่าจะไม่รอดเช่นกัน ด้วยเพราะขนาดพอร์ตที่มีขนาดใหญ่กว่าของตระกูล Prestige Health ที่ส่งบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศในสัดส่วนที่มากกว่า พอร์ตจึงค่อนข้างใหญ่มาก
แต่ถ้าตระกูล Happy Health ต้องปรับเบี้ยทั้งพอร์ต ตระกูล Prestige Health เองก็น่าจะรอดยาก เพราะตระกูล Happy Health นั้นเน้นที่ผู้ป่วยในเป็นหลัก การที่ต้องปรับพอร์ตแสดงว่าค่ารักษาผู้ป่วยในพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งตระกูล Prestige Health ย่อมไม่มีทางหลีกหนีปัญหานี้ได้เช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายด้วยกันนั้น หากแบบประกันหนึ่งโดนผลกระทบ แบบประกันอื่นก็จะกระทบตามกันมาเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะภายในบริษัทเดียวกัน และ หากแบบประกันสุขภาพนั้น ๆ มีจุดอ่อนสำหรับการ Over Claim ได้ง่าย หรือ รับทำประกันได้ง่ายเกินไป
ส่งผลให้ การจะเลือกแบบประกันใดโดยพิจารณาว่าจะมีการปรับเบี้ยทั้งพอร์ตง่ายหรือยากนั้น แน่นอนว่าต้องดูว่ามีหมวดความคุ้มครองใดที่เป็นจุดอ่อนให้เกิดการ Over Claim ได้ง่ายหรือไม่ การรับทำประกันเข้มงวดเพียงใด ก็จะพอได้เห็นความเสี่ยงการปรับเบี้ยทั้งพอร์ตได้
แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้การันตีใด ๆ ว่าจะไม่มีการปรับเบี้ยทั้งพอร์ต ถ้าสุดท้ายแล้วเกิดปรากฏการณ์
- อัตราการป่วยของผู้คนที่พุ่งสูงขึ้นกว่าปกติเป็นเวลานาน (เช่น หากมีเหตุการณ์แบบโควิดที่ทั้งรุนแรงและป่วยได้ง่ายต้องแอดมิตเท่านั้นนานกว่า 3-5 ปี) หรือ
- ค่ารักษา รพ.เอกชน ที่พุ่งสูงขึ้นมากเกินเกณฑ์เงินเฟ้อที่ในตารางเบี้ยประกันเดิมเผื่อไว้ แบบควบคุมไม่ได้ติดต่อกันหลายปี หรือ
- มาตรการที่นำมาใช้ในทุกแบบประกันสุขภาพอย่าง Copayment ไม่ได้ผล หรือ
- ผลประกอบการของบริษัทประกันนั้น ๆ เริ่มขาดทุนติดต่อกันจากประกันสุขภาพ
ทั้งหมดนี้หากเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ย่อมเป็นสัญญาณที่ทำให้ผู้ทำประกันต้องเตรียมตัวรับแรงกระแทกการปรับเบี้ยทั้งพอร์ตได้ โดยแน่นอนว่าจะเริ่มกระทบกับแบบประกันที่มีจุดอ่อนให้ Over Claim ได้ง่ายเป็นอันดับแรกก่อนเสมอ
▍สรุป : มีการแยกพอร์ตกันชัดเจนระหว่าง Prestige Health เดิม, Prestige Health ปลดล็อค และ Prestige Health ปลดล็อค แบบมีมาตรการ Copayment แน่นอนว่าแบบมีมาตรการ Copayment จะดูเข้มงวดในการเคลมมากกว่า แต่ยิ่งทำให้โอกาสการปรับเพิ่มทั้งพอร์ตยากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ Prestige Health แบบไม่มีมาตรการ Copayment ด้วยการรับทำประกันที่ยาก มีสัดส่วนบริษัทรับประกันภัยต่อที่สูง ไม่มีจุดอ่อนให้ Over Claim ได้ง่าย จึงทำให้โอกาสการถูกปรับเบี้ยทั้งพอร์ตถึงแม้จะไม่น้อยเท่าแบบมี Copayment แต่ก็ยังถือว่าน้อยอย่างมากอยู่
▍ข้อสังเกตุ : แบบประกันตระกูล Prestige Health ให้ความคุ้มครองสูง จึงมีความเสี่ยงสูง และทำให้ BLA ไม่เก็บความเสี่ยงนี้ไว้เพียงลำพัง แต่นำไปเฉลี่ยความเสี่ยงกับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศร่วมด้วย แน่นอนว่าผลกำไร BLA ย่อมลดลง และบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศย่อมกำหนดเงื่อนไขในการรับทำประกันที่ยากและเข้มงวดมากขึ้นตามมาด้วย แต่ก็ทำให้พอร์ตของ Prestige Health ใหญ่ขึ้นมาก โดยไม่ได้จำกัดการแชร์ความเสี่ยงเพียงในประเทศไทยเท่านั้น และทำให้การเพิ่มเบี้ยทั้งพอร์ตยากขึ้นมากตามไปด้วย
บทสรุป เก็บตัวเดิมไว้ หรือ ทำตัวปลดล็อค ดีกว่า แล้วปลดล็อคแบบมีรับผิดจะดีหรือไม่
ส่วนหนึ่งที่เป็นจุดให้ผู้ถือ Prestige Health ตัวเดิมเป็นกังวล มักจะเกี่ยวกับค่าห้องในอนาคต ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจไม่ครอบคลุมการรักษาที่ยังไม่ได้รับรองโดยแพทยสภา หรือ แม้ได้รับการรับรองแล้วแต่ไม่ปรากฏวิธีการรักษานี้อยู่ในกรมธรรม์ (โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยนอกอย่างการรักษามะเร็ง)
ซึ่งมักจะแก้ไข Prestige Health เดิม เพื่ออุดช่องโหว่เหล่านี้ได้โดยการ
- เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเอง ใน ค่ากายภาพบำบัด OPD, การตรวจยีนส์รับยามุ่งเป้า OPD
- การทำประกันสุขภาพ "ค่าห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นจ่ายรับผิดส่วนแรก 1 แสน" (เสมือนได้ค่าห้องเดี่ยวเริ่มต้นเพิ่มมาจากค่าห้องเดิม) หรือ ให้ตัวแทนขอส่วนลดค่าห้องให้ (บางแบบประกันค่าห้อง 2,500 ขอส่วนลด รพ. สามารถพักห้องเดี่ยว 15,000 ได้)
- การทำสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาอุบัติเหตุเพื่อสำหรับค่ากายภาพบำบัด OPD จากอุบัติเหตุ
- ทำสัญญาเพิ่มเติมประกันโรคร้ายแรง หรือทำสัญญาเพิ่มเติมด้านทุพพลภาพ หรือด้านชดเชยรายวัน เพื่อทดแทนเงินสภาวะวิกฤต 500,000 บ. หรือแม้แต่ใช้ในการรักษาแบบใหม่ที่ยังไม่รองรับจากแพทยสภา
- การทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เพื่อใช้วิธีการรักษามะเร็งผู้ป่วยนอกวิธีใหม่ที่ได้รับรองจากแพทยสภา แต่ไม่ได้ปรากฏอยู่ในกรมธรรม์ โดยมีความจำเป็นทางการแพทย์เพราะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า
Prestige Health ปลดล็อคเอง จึงเกิดมาจากแนวคิดที่ต้องการอุดช่องโหว่ให้ได้มากที่สุด และจบภายในสัญญาเดียว ซึ่งแลกมากับเบี้ยประกันสุขภาพที่สูงมากขึ้นพอสมควร แต่ถ้ามองถึงในอนาคตและอาจลดเบี้ยโดยจ่ายรับผิดส่วนแรกได้ ก็อาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ
ในส่วนการปลดล็อคมีสัญญาว่าพร้อมรองรับวิธีการรักษาใหม่ๆ ในอนาคตนั้น จริงๆ อาจจะแตกต่างกันเพียงไม่ต้องทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ กับระยะเวลาดำเนินการอนุเคราะห์ที่น้อยลง เพราะสุดท้ายแล้วยังจำเป็นต้องขอดูแผนการรักษาและเหตุผลทางการแพทย์ประกอบด้วยอยู่ดี โดย
- แบบปลดล็อค สินไหมพิจารณาแผนการรักษาว่ามีความจำเป็นทางการแพทย์สำหรับใช้แนวทางการรักษาใหม่หรือไม่
- แบบเดิม สินไหมพิจารณาหนังสือขอความอนุเคราะห์ทำไมใช้แนวทางการรักษาเดิมไม่ได้ พิจารณาแผนการรักษาว่ามีความจำเป็นทางการแพทย์สำหรับใช้แนวทางการรักษาใหม่หรือไม่ และวิธีการรักษาใหม่ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีการรักษาเดิมมากนัก (เพราะเบี้ยแบบเดิมจะไม่ได้คำนวณเพื่อมารองรับค่าใช้จ่ายการรักษาแบบใหม่ที่สูงกว่าเดิมมาก)
แต่ไม่ว่าอย่างไร แนวทางการรักษาใหม่ที่จะใช้ในแบบปลดล็อคหรือไม่ปลดล็อค จะต้องได้รับรองจากแพทยสภาเรียบร้อยแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ (แต่ถ้ายังไม่ได้รับรอง แบบปลดล็อคจะยังสามารถพึ่งเงินค่าชดเชย 500,000 บ. ได้ หากพบว่าอยู่ใน 5 สภาวะวิกฤต ในขณะที่แบบเดิมต้องดูว่ามีการทำสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงหรือทุพพลภาพไว้หรือไม่)
ด้วยข้อมูลทั้งหมดนี้แบบปลดล็อคจึงน่าสนใจและเป็นประกันสุขภาพสำหรับรองรับอนาคตจริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม Prestige Health ปลดล็อค ได้ทิ้ง Segment ของลูกค้าที่สนใจ แผน 10-30 ล้านเดิมแต่ทำไม่ทัน ให้มาอยู่กับ BLA Happy Health Premier แทน ซึ่งจะโอนความเสี่ยงของโรคมะเร็งผู้ป่วยนอกได้จำกัดกว่า
การมาของ Prestige Health ปลดล็อค จึงเป็นแนวโน้มที่ชัดเจนว่า เบี้ยประกันสุขภาพของแบบประกันสุขภาพใหม่นั้น เบี้ยมีแต่จะสูงมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่แบบเก่าที่ให้ความคุ้มครองสูงแต่เบี้ยไม่สูงมาก จำเป็นจะต้องทยอยปิดรับสมัครลง เพื่อลดความเสี่ยงและอัตราการขาดทุนของบริษัทประกันลงนั่นเอง
บทส่งท้าย
Prestige Health ปลดล็อค 50 ล้าน มีรับผิดส่วนแรก 100,000 บ.ต่อปี + OPD 50,000 บ.ต่อปี
VS.
Prestige Health ปลดล็อค 30 ล้าน ไม่มีรับผิดส่วนแรก
แต่ทั้งนี้ Prestige Health ปลดล็อคเอง ก็ยังมีแบบรับผิดส่วนแรกแบบรายปี (Deductible) ให้เลือกร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถช่วยลดเบี้ยประกันลงได้ในระดับหนึ่ง
จนทำให้เบี้ยของแผน Prestige Health ปลดล็อค 50 ล้าน แบบมีรับผิดส่วนแรก 100,000 บ.ต่อปี แต่ได้ค่ารักษา OPD ทั่วไป 50,000 บ.ต่อปี (OPD จะไม่ต้องจ่ายรับผิส่วนแรก) ใกล้เคียงกับเบี้ยของแผน Prestige Health ปลดล็อค 30 ล้าน ไม่มีรับผิดส่วนแรก อย่างมาก (แต่แผน 30 ล้านจะไม่มี OPD ค่ารักษาทั่วไป) ดังตารางเบี้ยรวมต่อไปนี้

และด้วยที่เบี้ยที่ใกล้เคียงกันมากนี้ การเลือกแบบมีรับผิดส่วนแรกแต่ได้ OPD จะมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง รวมถึงในแง่มุมของ Happy Health Premier 10 ล้าน ที่มีเบี้ยใกล้เคียงกับ Prestige Health ปลดล็อค 20 ล้านแบบมีรับผิดส่วนแรก พอสมควร


แต่ Prestige Health ปลดล็อคจะให้ความคุ้มครองที่มากกว่า Happy Health Premier อย่างชัดเจน จนทำให้ Prestige Health ปลดล็อค รับทำประกันยากกว่า Happy Health Premier
( เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม ที่ผู้ที่เป็นจะไม่สามารถสมัครทำประกัน Prestige Health ปลดล็อคได้เลย ในขณะที่ยังสามารถสมัคร Happy Health Premier ได้ตามปกติ)
ซึ่งในบทความต่อไปนี้จะเจาะลึกถึงสถิติการเป็นผู้ป่วยในจริง ๆ เมื่อเทียบกับส่วนลดเบี้ยที่ได้จากการเลือกแบบมีรับผิดส่วนแรกนั้นจะคุ้มหรือไม่ ที่จะเลือกแบบมีรับผิดส่วนแรกนี้ (ที่จะได้ OPD 50,000 บ. ต่อปี เข้ามาด้วยในแผน 50 ล้าน)
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"