เพียงคุณใช้วิธีที่เรียบง่ายนี้ พอร์ตกองทุน RMF ของคุณก็จะกลายเป็นพอร์ต ขั้นเทพ ในทันทีเพราะวิธีนี้ช่วยให้
พอร์ตกองทุน RMF สำหรับเกษียณมีลักษณะการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยาก
เพราะยิ่งใกล้เกษียณ ก็ยิ่งจำเป็นต้องปรับพอร์ต โดยการทยอยสับเปลี่ยนเพื่อลดจำนวนหน่วยกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง มายังกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้นดังรูปด้านล่างค่ะ ถึงแม้การสับเปลี่ยนจะทำเพียงปีละครั้ง แต่การจะคำนวณให้ได้ผลอย่างแม่นยำ ก็เป็นเรื่องยากมาก
ทั้งยังมีปัญหาอีกว่า ถ้ามีกองทุนรวม RMF ในพอร์ตหลาย บลจ. ต่างกัน โอกาสที่จะสับเปลี่ยนได้เร็วและง่าย ก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากมากขึ้นอีก ทำให้จำเป็นต้องซื้อกองทุนลักษณะเดียวกันของ บลจ. อื่น ๆ เผื่อไว้ด้วยค่ะ
การที่ต้องคอยปรับพอร์ตลักษณะนี้
ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อถึงตอนเกษียณแล้วตลาดกลายเป็นขาลง ที่ส่งผลให้พอมีการถอนเงินออกมาใช้ก็ทำให้พอร์ตยิ่งมีมูลค่าลดน้อยลงซ้ำไปอีก ดังนั้นการทยอยลดความผันผวนให้เหลือน้อยที่สุดในช่วงใกล้เกษียณจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังภาพด้านล่างนี้ค่ะ
การปรับสัดส่วนพอร์ตกองทุนรวม เป็นสิ่งที่ปวดหัวอย่างมาก
โดยปกติแล้ว กองทุนรวม RMF เป็นการลงทุนระยะยาวและมีปัจจัยหลักเน้นการจัดสัดส่วนสินทรัพย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือก็คือการทำ Asset Allocation ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลงทุนสูงสุดกว่า 91.5% มากกว่าการจับจังหวะตลาดที่มีผลเพียง 1.8% หรือการคัดเลือกหลักทรัพย์เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ ที่มีผลต่อการลงทุนเพียง 4.6% เท่านั้น
จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นว่า จะจัดสัดส่วนพอร์ตกองทุนต่าง ๆ อย่างไรให้ตรงตามหลัก Asset Allocation ที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงออกไปให้ครอบคลุมทั้งระดับประเทศ ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเภทของสินทรัพย์ได้ ซึ่งหากสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมีปัญหา ก็ยังมีสินทรัพย์อื่น ๆ คอยพยุงพอร์ตไว้แทนได้
โดยจากรูปด้านล่างเป็นตัวอย่างที่ดีว่า วิกฤตต่าง ๆ ที่จะกระจายกันไปทั่วโลกนั้น มักจะไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน ๆ
ทำให้หากกระจายการลงทุนดี ๆ ก็จะช่วยให้พอร์ตยังมีผลดำเนินการที่ดีต่อไปได้ ไม่ติดลบหนัก เพราะเทการลงทุนไปเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
เนื่องจากผลของการติดลบนั้น หากยิ่งติดลบมาก ก็ยิ่งต้องใช้จำนวนเปอร์เซ็นต์การติดบวกที่มากกว่า เพื่อให้พอร์ตกลับมาอยู่ที่จุดต้นทุนเดิมได้ ดังเช่นรูปด้านล่างนี้ หากติดลบ -90% ก็จำเป็นต้องรอให้ตลาดกลับมาบวกถึง +900% จึงจะเท่าทุน
ในขณะที่หากติดลบเพียง -20% จะต้องรอให้ตลาดกลับมาบวกที่ +25% เท่านั้น ดังนั้น การกระจายสัดส่วนการลงทุนที่ดีจึงช่วยลดปัญหาการเทไปด้านใดด้านหนึ่ง ที่อาจทำให้ติดลบหนัก และลดปัญหาการที่ต้องรอให้ตลาดกลับมาบวกจำนวนมหาศาลเพื่อชดเชยที่ติดลบลงไปด้วยค่ะ
แต่เมื่อจะเริ่มจัดสัดส่วนพอร์ตกองทุน
ก็ยังติดปัญหาการคัดเลือกกองทุนเองจากหลาย ๆ บลจ. ที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งอาจจะเลือกกองทุนจำนวนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเทการลงทุนไปด้านใดด้านหนึ่งได้ โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นนำเงินเกือบทั้งหมด ไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว หรือที่เรียกว่า Feeder Fund ตามกระแสนิยม
ถ้าไปเลือกกองทุนรวมต่างประเทศลักษณะนี้มา 2-3 กองทุน โดยทุกกองทุนกลับมีการ Feed ไปยังกองทุนต่างประเทศเดียวกัน หรือ นโยบายกองทุนต่างประเทศนั้น ๆ มีการซ้อนทับกันอยู่ ดังนั้นการกระจายความเสี่ยงการลงทุนก็จะเริ่มมีปัญหาขึ้นมาได้ เพราะจะเริ่มเทน้ำหนักไปในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษนั่นเอง
นี่ยังไม่นับรวมปัญหาที่ว่า จำนวนกองทุนที่มีในตลาดทั้งหมด 1,500+ กองทุนจากหลากหลาย บลจ. ที่ต้องค่อยมาศึกษารายละเอียด หากจะเน้นดูเพียงผลตอบแทนอย่างเดียว ย่อมไม่ได้ แต่ยังต้องมองทะลุไปถึงไส้ในเพื่อป้องกันการลงทุนซ้อนทับกันด้วย
ทำให้การจะจัดสรรกองทุนรวมเองจนมั่นใจได้ว่า พอร์ตหลักมีการกระจายลดความผันผวนได้มากที่สุดแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้โดยส่วนใหญ่จะพยายามจัดพอร์ตตามแนวคิด Core Satellite Portfolio คือ ให้มีพอร์ตหลักที่ไว้ใจได้ในระยะยาวก่อน ดังรูปภาพด้านล่าง
จากนั้นจึงค่อยมี พอร์ตรอง หรือ Satellite ที่ต้องใช้เงินเย็นมาก ๆ มาลงทุน โดยเน้นกองทุนความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูงตามเทรนด์ตลาดช่วงนั้น ๆ ถ้าจับจังหวะได้ดีก็อาจได้เงินไว้ท่องเที่ยว หรือใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงหลังเกษียณช่วงที่ 1 อายุ 55-65 ปีได้ แต่ถ้าหากพลาดพลั้งอะไรไปก็ยังมีพอร์ตหลัก Core เป็นที่ยึดมั่นตามเป้าหมาย เพื่อให้ตอนเกษียณยังมีเงินใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นอยู่ได้
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หลายคนไม่รู้ตัวว่า
ตนเองยังไม่มีพอร์ตหลัก Core แต่กลับมีพอร์ตรอง Satellite ที่ซ้อนทับกันอยู่มากมาย แม้จะมีกองทุนรวมอยู่ในพอร์ตมากถึงกว่า 20-30 กองทุนก็ตาม ที่อาจซื้อตามตลาดนิยม และตามคำแนะนำต่อ ๆ กันมาโดยไม่ได้วางเป้าหมายไว้ก่อน
ทำให้สุดท้าย มีปัญหาเกิดขึ้นภายหลังเวลาที่ต้องมาเลือกว่า จะให้กองทุนอะไรบ้างเป็นพอร์ตหลัก และยังต้องวุ่นวายอย่างมากเวลาทยอยปรับพอร์ตหลักให้ลดความผันผวนลงตามช่วงอายุที่ใกล้เกษียณ ยิ่งถ้าเป็นกองทุน RMF ต่าง บลจ. กันด้วยแล้ว ยิ่งวุ่นวายขึ้นไปอีกเท่าตัวค่ะ
แก้ไขโดยปรับสัดส่วนพอร์ต RMF ที่มาจาก บลจ. เดียวกันได้หรือไม่?
หากสามารถจัดพอร์ต RMF ให้อยู่ใน บลจ. เดียวกันได้ อย่างน้อยก็จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการสับเปลี่ยนกองทุนที่ทำได้ง่ายขึ้น และเรื่องการใช้เวลาพิจารณาดูไส้ในกองทุนว่า เกิดการซ้ำซ้อนกันหรือไม่!? แต่ก็ต้องแลกมากับผลประกอบการของกองทุนประเภทนั้น ๆ ที่อาจจะไม่ได้ดีที่สุดในตลาด
และก็ยังต้องยอมรับว่า บางกองทุนแม้มาจาก บลจ. เดียวกัน แต่กองหนึ่งอาจเกิดขึ้นมาเพราะด้วยกระแส ที่มีการ Feed เงินไปยังกองทุนต่างประเทศชื่อดัง ทำให้ไม่สามารถจัดการเชิงลึกได้ จึงยังมีโอกาสที่จะเกิดความซ้ำซ้อนของสินทรัพย์ระหว่างกองทุนในพอร์ตได้ ถึงแม้กองทุนทั้งหมดจะอยู่ใน บลจ. เดียวกันก็ตาม
ทั้งนี้ยังไม่นับปัญหาที่ต้องคอยจัดสัดส่วนแต่ละสินทรัพย์ให้ดีและเหมาะกับช่วงอายุ ที่ยังเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร จึงมักตัดสินใจทำเพียงปีละครั้ง เท่านั้น
การจะแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ได้อาจจำเป็นต้อง ให้ บลจ. เน้นที่การทำ Asset Allocation เป็นหัวใจหลักก่อน มากกว่าการเน้นเปิดกองทุนขึ้นมาหลาย ๆ กอง แล้วให้ผู้แนะนำการลงทุนมาคัดเลือกและแนะนำพอร์ตให้ลูกค้าภายหลัง แบบทั่ว ๆ ไปนี้
เพราะต้องยอมรับว่า ผู้แนะนำการลงทุนเองก็ไม่สามารถจะรู้ข้อมูลเชิงลึกได้ทั้งหมด หรือรู้ได้มากเท่ากับ ผู้จัดการกองทุนใน บลจ. นั้น ๆ สุดท้ายสิ่งที่ผู้แนะนำการลงทุนจะทำได้ ก็เป็นเพียงการพยายามคงสัดส่วนแต่ละสินทรัพย์ให้ใกล้เคียงตามแผนมากที่สุดในแต่ละปี เท่านั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า การปรับตัวตามสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจปรับตัวได้ไม่ทันเท่ากับ บลจ. เป็นคนดูแลพอร์ตเหล่านั้นเอง
บลจ. ที่ให้ความสำคัญ Global Asset Allocation เป็นลำดับแรกมีหรือไม่?
ปัจจุบันมี บลจ. ลักษณะนี้อยู่ จึงทำให้กองทุน RMF ของ บลจ. นี้ จะค่อนข้างลงตัวสำหรับแผนกองทุนสุขภาพและกองทุนเกษียณ เพื่อให้มีประกันสุขภาพและเงินใช้จ่ายยามเกษียณไปตลอดชีพได้
ซึ่งค่าใช้จ่ายช่วงเกษียณนั้นเป็นปัญหาใหญ่จริง ๆ โดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายด้านค่ารักษาพยาบาลที่จะเริ่มดีดตัวสูงขึ้นมากในช่วงหลังอายุ 80 ปีเป็นต้นไป และเป็นช่วงที่เงินเกษียณลดน้อยลงแล้ว จึงจำเป็นต้องยกเลิกประกันสุขภาพไปก่อน ทั้ง ๆ ที่มีความจำเป็นสูงมาก ดังรูปภาพด้านล่างนี้ค่ะ
โดยทุกกองทุนรวมใน บลจ. นี้ จะเกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดของการทำ Global Asset Allocation เป็นหลัก จากนั้นจึงค่อยลงรายระเอียดเป็นบล็อคของแต่ละประเภทสินทรัพย์ โดยแต่ละบล็อคจะประกอบไปด้วยกองทุนต่าง ๆ ที่ไม่ทับซ้อนกัน และจะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลต่ออีกที
ทำให้โอกาสที่จะเกิดการซ้อนทับของประเภทสินทรัพย์ในการทำ Global Asset Allocation จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
รวมไปถึงกองทุนใน บลจ. นี้ จะไม่ได้เน้นการ Feed เงินลงทุนทั้งหมดไปที่กองทุนต่างประเทศกองเดียว แต่จะเน้นที่การเลือกซื้อขายกองทุนต่างประเทศหลาย ๆ กองรวมถึงกอง ETF เอง หรือเป็นในลักษณะที่เรียกว่า Fund of Funds ซึ่งจะทำให้มีอำนาจในการจัดการ Global Asset Allocation ได้อย่างเต็มที่
โดย บลจ. ที่เน้นการทำ Global Asset Allocation เป็นลำดับแรก นี้ก็คือ บลจ.บางกอกแคปปิตอล หรือ BCAP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บล.บัวหลวง อีกที ที่แต่ก่อนจะเน้นในเรื่องของการทำ Private Fund หรือกองทุนส่วนบุคคลให้กับลูกค้ารายใหญ่ด้วยเงินทุน 50 ล้านบาทขึ้นไป รวมถึงการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับบริษัทใหญ่ ๆ และพอร์ตการลงทุนของบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น
ทำให้ทุกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลที่ทาง BCAP ดูแลนั้น จำเป็นต้องทำ Global Asset Allocation ให้ดีอย่างมาก เพราะต้องรักษาผลดำเนินการให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เของบริษัทที่ให้ทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับ ลูกค้ารายใหญ่ และยังต้องไม่เสี่ยงมากจนเกินไป
ซึ่งด้วยประสบการณ์ที่กล่าวมานี้กว่า 20 ปี เมื่อ BCAP ได้เปิดกองทุนเปิดของตนเองขึ้นมา และมีแนวคิดที่เน้นไปที่หัวใจสำคัญคือ Global Asset Allocation เป็นหลัก ทำให้ในหนึ่งกองทุน Global Asset Allocation จะมีผู้จัดการกองทุนดูแลร่วมกันมากกว่า 10 คน เพื่อรับผิดชอบทั้งส่วนการทำ Global Asset Allocation และกองทุนที่แบ่งย่อยลงไปเพื่อดูแลสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
( การทำแบบนี้ของ BCAP จึงแตกต่างจาก บลจ. อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เพราะ บลจ. อื่น ๆ จะมีการออกกองทุนต่าง ๆ ของตนเองให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงมอบหมายให้ผู้จัดการกองทุน ทำการเลือกกองทุนที่มีอยู่เหล่านั้น มาจัดทำเป็นกองทุนแบบ Asset Allocation ภายหลังอีกที หรือเป็น Bottom-up Asset Allocation ในขณะที่ BCAP จะเป็นลักษณะ Top-down Asset Allocation จึงทำให้การทำ Asset Allocation เป็นในระดับกลยุทธตั้งแต่ระดับบนลงมานั้นเอง )
ซึ่งการที่ผู้จัดการกองทุนทั้งระดับ Top ถึง down ได้ดูแลและจัดการ Global Asset Allocation ให้นี้ จึงทำให้การทำงานของผู้แนะนำการลงทุนถูกเปลี่ยนไปที่ การวางกลยุทธการเกษียณอย่างเต็มตัวได้ในที่สุด เพราะผู้จัดการกองทุนจะดำเนินการจัดการทำและปรับ Asset Allocation ในส่วนพอร์ตหลัก Core ได้อย่างเต็มที่และทันสถานการณ์ได้ ดังรูปภาพด้านล่างนี้ค่ะ
BCAP ทำ Global Asset Allocation ได้อย่างไร?
การกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปทั่วโลกได้ในทุกประเภทของสินทรัพย์นั้น BCAP จะมีเครื่องมือและ Platform ดังรูปภาพด้านล่างนี้
ทำให้สามารถเข้าซื้อขายและจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตลอด 24 ชม.
โดยไม่ได้เน้นเป็น Feeder Fund ที่มีค่าธรรมเนียมการจัดการที่สูง แต่เน้นเป็นลักษณะของ Fund of Funds ที่มีอำนาจในการจัดการสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขาย ETF ในประเทศต่างๆ ที่มีค่าธรรมเนียมการจัดการถูกมาก และถูกกว่ากองทุนรวมต่างประเทศแน่นอน
และการกระจายการลงทุนลักษณะนี้ได้ จะต้องเริ่มมีการวางแผนล่วงหน้าว่า กองทุนหลักหรือพอร์ตหลัก Core ที่จะเปิดขึ้นมานั้น ต้องจัดสรรการลงทุนส่วนใดบ้าง โดยได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทางการด้วยกัน คือ
- พอร์ต BCAP Global Wealth ที่จะเน้นแบ่งสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่รับได้ไม่เกินกี่ % ของพอร์ต อย่าง 10% 25% 50% 75% และ 95%
- พอร์ต BCAP Global Target Date ที่จะเน้นปรับสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงลงเรื่อย ๆ ให้สอดคล้องกับปีที่ต้องการเกษียณอย่างปี 2030-2050
จากนั้นจึงได้ทำการวางแผนต่อว่า ในแต่ละประเภทสินทรัพย์ที่ต้องอยู่ในพอร์ตต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และทำการเปิดกองทุนที่มีทีมผู้จัดการกองทุนคอยดูแลสินทรัพย์ประเภทนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับการทำ Asset Allocation ที่กำหนดไว้ในพอร์ตหลัก และเพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกันของแต่ละกองทุนภายในพอร์ต ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สุดท้ายก็จะได้หน้าตาของพอร์ตแต่ละประเภทออกมา (ดังรูปด้านล่าง) ผ่านการจัดสัดส่วนของกองทุนต่าง ๆ ที่มั่นใจได้ว่าตรงตามที่พอร์ตหลัก Core ต้องการ และมีอำนาจในการจัดการร่วมกันอย่างเต็มที่【ไม่ใช่เป็นการทำอะไรก็ได้กับแต่ละกองทุนโดยไม่สนภาพรวมของพอร์ต Asset Allocation】ทำให้การจัดพอร์ต Asset Allocation มีความสมบูรณ์ในด้านการกระจายความเสี่ยง และการจัดการควบคุมที่สูงมาก
Global Asset Allocation กับกองทุน RMF Target Date
กองทุน RMF ของ BCAP จะเป็น Global Asset Allocation Target Date ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่แผนการเงินเกษียณ 401K ของอเมริกาทำกัน คือ จะมีชื่อกองทุนที่ลงท้ายปี ค.ศ ที่ต้องการเกษียณไว้ หากใครต้องการเกษียณปี ค.ศ ใด ก็จะมีการหักเงินจากรายได้ตามสัดส่วนที่จัดสรรไว้ เข้ามาที่กองนั้น ๆ โดยยิ่งใกล้ปีเกษียณมากเท่าไร ก็จะปรับลดสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงลงไปเรื่อย ๆ
การปรับลดสัดส่วนที่มีความเสี่ยงสูงลง ก็เพื่อลดความผันผวน และเพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถถอนเงินลงทุนไปใช้จ่ายได้ แม้ในสภาวะตลาดขาลงก็ตาม ↯
โดยพอร์ต BCAP Global Target Date ก็เป็นลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งจะมีปี ค.ศ ที่วางแผนว่าจะเกษียณให้เลือก นั่นก็คือ 2030 2040 และ 2050 หรือหากเริ่มนับตั้งแต่ปี 2020 ก็คือแผนในอีก 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี จะเกษียณนั้นเองค่ะ โดยในอนาคตก็เตรียมจะเปิดกอง 2060 ตามมาภายหลัง ตามช่วงเวลาที่เดินหน้าต่อจากนี้
สังเกตจากรูปด้านล่าง จะเห็นชัดเจนว่า หากอายุของเราเหลืออีกหลายสิบปีก่อนที่จะเกษียณ ก็สามารถเลือกลงทุนในกอง 2050 ที่จะมีสินทรัพย์เสี่ยงสูงอยู่ในสัดส่วนที่มากกว่าได้ และการลดสัดส่วนของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงในแต่ละปีก็จะช้ากว่ากอง 2040 และกอง 2030 ตามลำดับ (ดังรูปด้านล่าง) โดยจะมีลักษณะในแต่ละกองดังนี้
❖ กองทุน BCAP2050RMF
ในช่วง 10 ปีแรกของการลงทุน การปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพื่อมีเวลาให้พอร์ตได้เติบโตในระดับหนึ่ง และค่อนข้างมีความใกล้เคียงกับ BCAP-GW90 แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเล็กน้อย
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การปรับพอร์ตที่เราสามารถเห็นข้อมูลสรุปความแตกต่างในแต่ละเดือน (ดังภาพด้านล่าง) ว่าเป็นไปตามเทรนด์ตลาดช่วงนั้น ๆ เช่น ผู้จัดการกองทุนระดับพอร์ต Asset Allocation เล็งเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยกำลังจะกลับมา และตลาดหุ้นต่างประเทศมีแนวโน้มว่าจะลดลง ก็จะทำการปรับสัดส่วนที่สอดคล้องกับข่าวสารที่ได้ค้นคว้ามาทันที
การปรับสัดส่วนพอร์ต เป็นการปรับที่มีการคำนวณมาด้วยแล้วว่า ควรเป็นสัดส่วนเท่าไร ซึ่งถ้าให้ผู้แนะนำการลงทุนทำส่วนนี้ให้ จะค่อนข้างยากมาก ๆ เพราะไม่ได้มีข้อมูลเชิงลึกหรือมีเวลาที่เจาะหาข้อมูลได้มากพอเท่ากับผู้จัดการกองทุน
❖ กองทุน BCAP2040RMF
ในช่วง 20 ปีจนถึงเกษียณ จะมีการทยอยปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ลดลงเรื่อยๆ เพื่อลดความผันผวนลงตามช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งมักเป็นช่วงอายุที่มีรายได้สูง จึงค่อนข้างมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ระมัดระวังไม่ให้เงินที่ลงไปเสียหายมากนัก และยังพอมีเวลาให้เติบโตได้อยู่
เมื่อเทียบกับกอง BCAP2050RMF แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่ากอง BCAP2040RMF มีสัดส่วนของตราสารหนี้เยอะกว่าอย่างเห็นได้ชัด และมีการปรับสัดส่วนของตราสารหนี้แต่ละประเภทในระหว่างเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ไปด้วย
ซึ่งหากโดยทั่วไป ถ้าเราจัดพอร์ตเอง โอกาสที่จะมีกองทุนตราสารหนี้มากกว่า 1 กองก็ยังเป็นไปได้ยาก รวมถึงการปรับสัดส่วนกองตราสารหนี้นั้นด้วย
❖ กองทุน BCAP2030RMF
ในช่วง 10 ปีจนถึงเกษียณ จะมีการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียง 20% เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเงินมาใช้ในตอนเกษียณ
และ แม้ในพอร์ตจะมีตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน ก็ยังมีการปรับสัดส่วนด้วยเช่นกัน จึงทำให้ยิ่งอุ่นใจมากขึ้นไปอีกว่า มีการเตรียมพร้อมรับมือในแต่ละสถานการณ์ที่มีเข้ามาค่ะ
แต่ละอายุควรเลือกพอร์ตกองทุน RMF Target Date อย่างไร
ตรงส่วนนี้ทีมงาน Release your Risk ได้ทำตารางขึ้นมาเพื่อช่วยในการอธิบาย และคาดการณ์ผลตอบแทนที่ได้อย่างคร่าว ๆ ในแต่ละช่วงอายุของแต่ละพอร์ตกองทุน RMF ของ BCAP เพื่อประกอบการพิจารณา ในการเลือกพอร์ตกองทุน RMF ดังต่อไปนี้
จากตารางจะเห็นได้ว่าในแต่ละอายุ จะมีกอง RMF ให้เลือกตามความเสี่ยงที่รับได้แตกต่างกัน เช่น อายุ 30-39 ปี กอง RMF ที่แนะนำมี 2 กองคือ BCAP2050RMF กับ BCAP2040RMF หรือ อายุ 40-50 ปี จะสามารถเลือกได้ทั้ง 3 กอง เป็นต้น
ทั้งนี้การเลือกกองทุนใดจะขึ้นอยู่กับว่า จะรับความเสี่ยงได้เพียงใดจากพอร์ตหลัก Core นี้ โดยถ้ามีแผนจะซื้อกองทุนอื่น ๆ ตามสภาวะตลาดเพื่อให้เป็นพอร์ตรอง Satellite ด้วยนั้น ก็อาจจะเน้นให้พอร์ตหลักมีผลตอบแทนคาดหวังที่ 5% เพื่อลดความผันผวนให้ได้มากที่สุด เพราะพอร์ตรองมีความผันผวนสูงไปแล้ว
ถ้าไม่มีพอร์ตรอง Satellite เลย การเลือกให้ได้ผลตอบแทนคาดหวัง 7% ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ต้องขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนในช่วงเกษียณประกอบด้วยว่า จะมีแผนการจัดสรรอย่างไร?
สรุป RMF Target Date กับ Time Segmentation
บทความนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานของกองทุนรวมแบบ RMF Target Date ที่เกิดจากแนวคิด Global Asset Allocation แบบ Top-down ซึ่งสามารถช่วยลดการเลือกกองทุนจำนวนมากเพื่อมาจัดพอร์ตที่เป็นแกนหลัก หรือ Core เองได้
ทั้งนี้พอร์ตแกนหลัก หรือส่วน Core นี้ จะตรงกับ กองที่ 1 ของวิธีลงทุนแบบ Time Segmentation ซึ่งกองที่ 1 นี้ จะเป็นกองแรกที่จะถูกใช้จ่ายในตอนเกษียณ ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่พอร์ตการลงทุนกองที่ 1 นี้ ควรปรับลดความเสี่ยงลงเรื่อย ๆ เมื่อใกล้อายุเกษียณ และนี่จึงทำให้กองทุน RMF Target Date เป็นหนึ่งในกองทุนที่ตอบโจทย์มากที่สุด
รวมไปถึงไส้ในของ BCAP RMF Target Date เอง ส่วนใหญ่จะเป็น ETF ที่เป็นการลงทุนแบบ Passive เป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาตามสถิติย้อนหลังที่ในระยะยาว 15 ปีขึ้นไป การลงทุนแบบ Passive นั้น จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนแบบ Active ด้วยนั้น จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ ETF ที่เสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ที่สามารถซื้อขายได้ทันที จึงทำให้ผู้จัดการกองทุนสามารถทำการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วทันกาล
ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาว่าเพราะเหตุใดกองทุน ฺBCAP RMF Target Date เป็นหนึ่งในกองทุนที่มีแนวคิดการจัดการที่น่าสนใจตั้งแต่การวางกลยุทธ โดยเฉพาะกับแผนการลงทุนเกษียณแบบ Time Segmentation ที่ไม่ได้เน้นเรื่องผลตอบแทนที่สูงสุด แต่เน้นเรื่องค่าความผันผวนที่ไม่มาก เพื่อที่จะสามารถจำลองคาดการณ์ได้
ดังนั้นหากปัจจุบันยังไม่ได้ถือกองทุนด้านการเกษียณ อย่าง PVD แบบ Target Date หรือ กบข. แบบแผนปรับตามสมดุลอายุ อยู่ การพิจารณา BCAP RMF Target Date ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจใช้ได้นั้นเองกับรูปแบบแผนเกษียณแบบ Time Segmentation
แผนเกษียณแบบ Time Segmentation ดีจริงหรือไม่
การวางแผนเกษียณในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการทดสอบหาอัตราความสำเร็จของแผน