หากดำเนินการ ออมเงิน และ กำหนดหน้าที่ของเงินออม ให้เป็นดังต่อไปนี้
- เงินสำหรับดูแลคนข้างหลังโดยตรงยามจากไป (โดยไม่ผ่านผู้จัดการมรดก ไม่ผ่านเจ้าหนี้ และไม่ผ่านภาษี)
- เงินที่คนข้างหลังได้จะต้องมากกว่าเงินออมหลายเท่า โดยเฉพาะตั้งแต่เริ่มออมปีแรก
- มีกลไกป้องกันการนำเงินออมออกมาใช้ผิดวัตถุประสงค์
- ต้องการมีเงินออมก้อนสุดท้ายไว้ส่งต่อให้ผู้ที่ดูแลตนเองช่วงสุดท้ายของชีวิต
- ต้องการออมเงินคงที่เท่ากันทุกปี เสมือนเป็นค่าใช้จ่ายประจำ
จะทำให้เครื่องมือการออมที่เหมาะสมที่สุด คือ..
ประกันชีวิต
เครื่องมือลำดับแรกที่ควรใช้
ลดหย่อนภาษี
ประกันชีวิตกับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี
ประกันชีวิตเป็นประกันแบบแรก ที่ควรทำเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บ. (ตามสิทธิลดหย่อนส่วนเบี้ยประกันชีวิต) เพื่อให้ ได้ส่วนลดเบี้ยประกันกลับมาในรูปแบบเงินคืนภาษี ตามฐานภาษีตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น
จากฐานภาษี 30% ตารางด้านบนนี้ ทำให้เห็นได้ว่าการลดหย่อนภาษี จะได้ความคุ้มครองของเบี้ยที่ 100,000 บ. โดยใช้เงินจริงที่ 70,000 บ. เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนลดที่ค่อนข้างมาก แม้จะใช้ได้เฉพาะกับเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บ. แรกก็ตาม
โดยประกันชีวิตมีด้วยกันหลายแบบ ทั้งแบบที่เน้นคุ้มครองตลอดชีวิต และแบบที่เน้นคุ้มครองจำกัดเวลาตามจำนวนปีที่เลือก จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้ตามที่เหมาะสมกับอายุ และ ภาระที่มี
อย่างไรก็ตามสิทธิลดหย่อนภาษีจะไม่ช่วยให้เห็นความสำคัญของประกันชีวิตแบบต่าง ๆ ขึ้นมาได้ โดยผู้ที่จะเห็นความสำคัญส่วนนี้ได้ จะมีเฉพาะผู้ที่เริ่มทำบัญชีงบรายรับรายจ่ายส่วนบุคคลหรือส่วนครอบครัวล่วงหน้าแล้วเท่านั้น
(โดยผู้ที่ไม่ได้ทำบัญชีจะค่อนข้างยากอย่าวมากที่จะเห็นภาระที่แฝงไว้ในครอบครัว ซึ่งสามารถนำเงินผู้อื่นมาช่วยป้องกันไม่ให้ภาระนี้ตกไปถึงครอบครัวแบบ 100% ได้)
ซึ่งการทำบัญชีจะทำให้ ทราบถึงสถานะการเงินและวินัยการเงินส่วนบุคคลหรือครอบครัวแล้ว การตัดสินใจเลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมจึงจะเริ่มเกิดขึ้นตามมา
โดยจะสามารถแบ่งรูปแบบของประกันชีวิตออกเป็นดังต่อไปนี้
ประกันชีวิตตลอดชีพ
หรือ ประกันมรดก
โดยปกติประกันจะแบ่งออกเป็น สัญญาหลัก (เบี้ยคงที่ - ทำหน้าที่กำหนดอายุของกรมธรรม์) และ สัญญาเพิ่มเติม (เบี้ยปรับเพิ่มตามอายุ - จะต้องแนบกับสัญญาหลัก ทำหน้าที่คุ้มครองปีต่อปี โดยต่ออายุได้นานตามข้อกำหนดของสัญญาเพิ่มเติมแต่ต้องไม่เกินอายุของสัญญาหลัก)
ดังนั้นเพื่อให้กรมธรรม์สามารถรองรับการต่ออายุของสัญญาเพิ่มเติมได้นานที่สุด สัญญาหลักจึงมักอยู่ในรูปแบบของ ประกันชีวิตตลอดชีพ
ที่อายุสัญญาคุ้มครองได้ถึงอายุ 85 ปี 90 ปี 95 ปี หรือ 99 ปี อย่างแน่นอน (ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันนั้น ๆ ว่ามีสัญญาเพิ่มเติมที่ต้องการต่ออายุได้นานถึงอายุเท่าใด)
เช่น บางบริษัทที่สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพต่ออายุได้นานถึงอายุ 99 ปี ก็มักจะต้องมีประกันชีวิตแบบตลอดชีพที่คุ้มครองได้นานถึงอายุ 99 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ควรเลือกระยะเวลาคุ้มครองสั้นถึงอายุ 85 ปี หรือแบบยาวถึงอายุ 99 ปี แบบใดดีกว่ากัน จะขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์ของเงินออมคือ ต้องการส่งต่อให้ลูกตอนจากจากไปเพียงใด หากยิ่งต้องการส่งให้ลูกหรือคนข้างหลังจริง ๆ การเลือกแบบยาวจะสามารถปกป้องเงินจากการใช้จ่ายของตัวเราเองได้นานกว่านั่นเอง
เช่น บางบริษัทที่สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพต่ออายุได้นานถึงอายุ 99 ปี ก็มักจะต้องมีประกันชีวิตแบบตลอดชีพที่คุ้มครองได้นานถึงอายุ 99 ปี เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ที่ทำประกันชีวิตตลอดชีพจะมีดังต่อไปนี้
แบบตลอดชีพ
เป็นแบบดั่งเดิม (ยอดนิยม) เน้นทั้งความคุ้มครองชีวิตและการออมเงินไปในตัว ความคุ้มครองมักจะอยู่ในหลักสิบเท่าของเบี้ยที่จ่ายต่อปี
และเมื่อเวลาผ่านไป 20+ ปีขึ้นไป มูลค่าเวนคืนมักจะเกินเบี้ยที่จ่ายไป (ขึ้นอยู่กับแบบประกันนั้น ๆ โดยมูลค่าเวนคืนยิ่งเกินเบี้ยเร็วเท่าใด ดอกเบี้ยการกู้มูลค่าเวนออกมาใช้จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย)
ซึ่งประกันแบบตลอดชีพนี้สามารถใช้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินบำเหน็จโดยการ กู้มูลค่าเวนคืน ออกมาได้โดยเฉพาะตอนที่ชำระเบี้ยครบหมดเรียบร้อย
และโดยหาก จากไป จะได้ทุนชีวิต ลบด้วย เงินที่กู้ออกไป (รวมดอกเบี้ย) ซึ่งยังเป็นเงินก้อนที่ใหญ่กว่าเบี้ยที่จ่ายไป
และ
แบบตลอดชีพมีเงินปันผล/เงินคืน
เป็นแบบประกันที่เน้นทั้งคุ้มครองชีวิต เก็บเงิน และ ลงทุนความเสี่ยงต่ำ ไปในตัว
ความคุ้มครองต่อเบี้ยที่จ่ายไปมักจะลดลงจากแบบตลอดชีพปกติ เนื่องจากต้องในเบี้ยที่จ่ายไปจะต้องมีการแบ่งส่วนหนึ่งไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้ได้เงินปันผล (ไม่การันตี) หรือ เงินคืน (การันตี) กลับมาในทุกปี หรือตามที่กำหนด
มองว่าแทนที่จะต้องกู้กรมธรรม์ออกมาและเสียดอกเบี้ย สู้ยอมจ่ายเบี้ยสูงขึ้นแล้วออม เงินปันผล/เงินคืน ที่ได้มา มาใช้เป็นแหล่งเงินฉุกเฉินแทนโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้
โดยประกันของ BLA ที่เป็นตัวอย่างจะมี
และ
จะสามารถเปรียบเทียบประกันของ BLA ที่เป็นตัวอย่างได้ดังนี้
แบบตลอดชีพควบโรคร้าย
เป็นแบบประกันที่เน้นทั้งคุ้มครองชีวิต เก็บเงิน และคุ้มครองโรคร้าย ไปในตัว
ทุนความคุ้มครองต่อเบี้ยที่จ่ายไปมักจะลดลงพอสมควรเมื่อเทียบกับแบบตลอดชีพปกติ เนื่องจากต้องแบ่งเบี้ยมาจ่ายความคุ้มครองส่วนโรคร้ายเพิ่มจากส่วนชีวิตด้วย ทำให้ระยะเวลาที่มูลค่าในกรมธรรม์จะเติบโตมากกว่าเบี้ยรวมที่จ่ายไป จะช้ากว่าแบบตลอดชีพปกติพอสมควร
และเป็นแบบประกันที่ไม่ควรทำหลังอายุ 45-47 ปี เนื่องจากเบี้ยรวมที่จ่ายไปจะมากกว่าทุนประกันที่ได้ ทำให้เหมือนเป็นการทยอยเก็บเงินเพื่อรับความเสี่ยงเองทั้งหมด เพียงแต่ในช่วงเวลาที่ทยอยเก็บเงินจะได้ความคุ้มครองก่อนเท่านั้น
ดังนั้นก่อนเลือกแบบประกันลักษณะนี้ ควรเปรียบเทียบระหว่าง ประกันชีวิตตลอดชีพควบโรคร้ายแรง กับ ประกันชีวิตตลอดชีพ + ประกันโรคร้ายเบี้ยคงที่ ดูก่อน
ด้วยเหตุที่..หากเพิ่มเงินอีกเล็กน้อย การได้ทั้งทุนชีวิตและทุนโรคร้ายแยกจากกัน จะดูน่าสนใจกว่าได้ทุนเดียวที่ควบทั้งชีวิตและโรคร้าย
เพราะการแยกกันจะทำให้หากเจอโรคร้ายจะได้รับเงินก้อนเท่ากับทุนโรคร้าย และต่อมาหากเสียชีวิตจะได้เงินก้อนเท่าทุนชีวิตเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายที่ทิ้งไว้ได้ด้วย รวม 2 เหตุการณ์
จะไม่ได้ "จ่ายจบ" เพียงเหตุการณ์เดียวเหมือนกับประกันชีวิตตลอดชีพควบโรคร้ายแรง
แบบตลอดชีพในรูปแบบประกันบำนาญ
เป็นแบบประกันที่มักเน้นเก็บเงินเป็นหลัก ความคุ้มครองชีวิตต่อเบี้ยที่จ่ายจะน้อยมากๆ
ประกันแบบนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการมีมรดก (หรืออาจไม่มีทายาทสืบสกุล) แต่ต้องการมีบำนาญ และมีอายุกรมธรรม์ระยะยาวให้กับสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
บางรูปแบบประกันบำนาญ อาจมีการควบทั้งมีเงินคืนให้ก่อนอายุรับบำนาญ และมีความคุ้มครองชีวิตตลอดชีพให้ด้วย
แต่จำเป็นต้องพิจารณาดูอีกที เช่นกันว่า แทนที่จะควบรวมแบบ แต่แยกออกมาเป็นสัญญาที่ทำตามหน้าที่ของตนเองหนึ่งหน้าที่ จะดีกว่าหรือไม่
แบบตลอดชีพในรูปประกันควบการลงทุน
(แบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว)
เป็นแบบประกันที่เน้นลงทุนเป็นหลัก ความคุ้มครองเพียง 110% ของเบี้ยที่จ่ายครั้งเดียว โดยส่วนใหญ่จะทำตอนอายุ 61 ปีขึ้นไป
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำประกันบำนาญได้แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนเงินก้อนที่มีอยู่ ให้กลายเป็นกองทุนรวมในกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่สามารถกำหนดให้ขายกองทุนรวมออกมาเป็นเงินบำนาญให้ใช้ทุกปีหรือทุกเดือนได้โดยอัตโนมัติ (เพื่อป้องกันการถูกมิจฉาชีพหลอกเอาเงินก้อนใหญ่)
และในระหว่างรับเงินบำนาญ ก็จะมีความคุ้มครองชีวิตให้เลือก 2 แบบ ขึ้นอยู่กับว่าในตอนที่เสียชีวิต แบบใดจะมากกว่ากัน ก็จะได้แบบนั้น
- ได้ทุนชีวิต 110% ของเบี้ยที่จ่ายครั้งเดียว - เงินบำนาญที่ได้รับไปแล้วทั้งหมด
- ได้มูลค่าหน่วยลงทุนในกรมธรรม์ + เงินอีก 10% ของเบี้ยที่จ่ายครั้งเดียว
โดยทุนชีวิตที่ได้นี้ จุดประสงค์เพียงเพื่อไว้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายหลังการจากไปเป็นหลัก (ควรเลือกกองทุนรวมความเสี่ยงต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับผลกระทบจากตลาดขาลง)
ตัวอย่างเช่น
- เบี้ยครั้งเดียว 10,000,000 บ. จะได้ความคุ้มครองชีวิตอยู่ที่ 11,000,000 บ. โดยทำเรื่องให้ขายกองทุนรวมออกมาเป็นบำนาญอัตโนมัติปีละ 100,000 บ. ผ่านไป 5 ปีเสียชีวิต
- กรณีตลาดเป็นขาลง :
- มูลค่าในกองทุนเหลือเพียง 9,000,000 บ. เนื่องจากตลาดเป็นขาลง เงินจึงเหลือน้อยกว่า 9,500,000 บ. (จ่ายบำนาญไปแล้ว 500,000 บ.)
- ผู้รับผลโยชน์จะได้รับเงินแบบที่ 1 คือ 11,000,000 - 500,000 = 10,500,000 บ. (จากเบี้ยที่จ่าย 10 ล้านบาท)
- กรณีตลาดเป็นขาขึ้น:
- มูลค่าในกองทุนเหลือ 10,000,000 บ. เนื่องจากตลาดเป็นขาขึ้น เงินจึงเหลือมากกว่า 9,500,000 บ. (แม้จ่ายบำนาญไปแล้ว 500,000 บ.)
- ผู้รับผลโยชน์จะได้รับเงินแบบที่ 2 คือ 10,000,000 + 100,000 = 11,000,000 บ. (จากเบี้ยที่จ่าย 10 ล้านบาท)
นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการบำนาญ แต่เพียงต้องการย้ายเงินจากกองทุนรวมภายนอก ให้มาอยู่กับกองทุนรวมในประกันชีวิตแทน เพื่อที่หากจากไป.. เงินกองทุนรวมในประกันชีวิตจะส่งตรงถึงผู้รับผลประโยชน์โดยตรง เพื่อลดความยุ่งยากของขั้นตอนการจัดตั้งผู้จัดการมรดก และเงินมรดกสามารถทยอยเติบโตเองได้
อย่างไรก็ตาม ควรเปรียบเทียบกับประกันบำนาญให้เรียบร้อยก่อนตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบนี้ เนื่องจากประกันบำนาญได้ทั้งสิทธิลดหย่อนภาษี (ประกันควบการลงทุนจะไม่สามารถลดหย่อนเบี้ยส่วนที่นำไปลงทุนได้) และการันตีผลตอบแทนที่จะได้ ซึ่งบางบริษัทให้ค่อนข้างดีและดีกว่าที่จะไปเสี่ยงลงทุนเอง
ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา
หรือ ชั่วเวลา หรือ จำกัดเวลา
เน้นเฉพาะคุ้มครองชีวิตตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 10-20 ปี หรือจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี โดยความคุ้มครองมักจะอยู่หลักร้อยเท่าของเบี้ยที่จ่ายต่อปี (บางช่วงอายุ) จุดประสงค์จึงจะคล้ายกับประกันรถยนต์..เพียงเปลี่ยนจากรถมาเป็นคนเท่านั้น
คุณสมบัติของผู้ที่ควรทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาจะมีดังต่อไปนี้
ซึ่งประกันแบบนี้จะไม่มีความซับซ้อน
และแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ
แบบชั่วเวลาที่เป็นสัญญาเพิ่มเติม
พ่วงกับสัญญาหลักประกันชีวิตตลอดชีพ โดยหากสัญญาเพิ่มเติมนี้ครบอายุสัญญาความคุ้มครอง ก็จะยังเหลือสัญญาหลักประกันชีวิตตอดลชีพที่ทำงานต่อไปแทน
จึงเหมาะกับผู้ที่อยากได้ความคุ้มครองก่อนเกษียณ หรือทุนชีวิตให้สูงเพิ่มขึ้นตามภาระที่มี และมากกว่าประกันชีวิตตลอดชีพสัญญาหลักเดิมที่มีอยู่ แต่ต้องการจ่ายเบี้ยให้น้อยที่สุด
โดยตัวอย่างของ BLA จะเรียกสัญญาเพิ่มเติมนี้ว่า "สัญญาเฉพาะกาล" ซึ่งมีเบี้ยที่ประหยัดที่สุดในปัจจุบัน แต่ให้ทุนชีวิตได้สูงสุด โดยมีระยะเวลาคุ้มครองให้เลือกที่ 10 15 18 ปี สามารถทำแนบกับประกันชีวิตตลอดชีพสัญญหลักได้ โดยทุนสูงสุดที่ทำได้ จะต้องไม่เกิน 10 เท่าของทุนชีวิตสัญญาหลัก
แบบชั่วเวลาที่เป็นสัญญาหลัก
แบบนี้เมื่อสัญญาหลักครบกำหนดอายุความคุ้มครอง ทั้งกรมธรรม์จะปิดตัวลงทันที
จึงเหมาะกับผู้ที่พิจารณาเห็นแล้วว่า.. แบบนี้จะให้ ทุนชีวิต หรือ ความคุ้มครองอื่น ๆ ที่สูงกว่าในเบี้ยที่เท่ากัน เมื่อเทียบกับแบบประกันชีวิตอื่น ๆ ในระยะเวลาความคุ้มครองที่ต้องการ
โดยประกันของ BLA ที่เป็นตัวอย่างจะมี
แบบชั่วเวลาที่เป็นสัญญาหลัก Unit-Linked
แบบยูนิตลิงก์ จะให้อิสระในการเลือกจำนวนเท่าของความคุ้มครองต่อเบี้ยที่จ่ายไปได้ แลกกับการที่ไม่การันตีอายุความคุ้มครอง โดยอายุความคุ้มครองคงอยู่จนกระทั่งมูลค่าพอร์ตกองทุนรวมที่เลือกเองเหลือเป็นศูนย์
เบี้ยที่จ่าย ส่วนหนึ่งจะจ่ายค่าประกันภัย อีกส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุนตามกองทุนรวมที่เลือกเอง เพื่อนำผลตอบแทนที่ได้มาช่วยจ่ายค่าประกันภัยในอนาคต
ทำให้บางช่วงอายุ หากเลือกปรับจำนวนเท่าความคุ้มครองต่อเบี้ยให้สูงที่สุด (200 - 250 เท่า) ในช่วงที่อายุยังไม่มาก จะได้ทุนชีวิตที่สูงกว่าแบบจำกัดเวลาทั่วไป เพื่อที่จะพอการันตีให้สามารถคุ้มครองชีวิตได้ยาวถึงอายุ 60 ปี หรือจนกว่าเกษียณได้
ดังนั้นจึงควรจะเลือกพอร์ตกองทุนรวมความเสี่ยงต่ำที่มีความผันผวนน้อย ให้พอมั่นใจได้มากขึ้นว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์
เหมาะกับบางช่วงอายุ ที่แบบประกันชั่วเวลาทั่วไป (ข้อ 2.1-2.2) ไม่มีจำนวนปีความคุ้มครองให้เลือกตามที่ต้องการได้ และเหมาะกับช่วงอายุที่เบี้ยต่อความคุ้มครองของแบบ Unit Linked ประหยัดกว่าเบี้ยแบบประกันชั่วเวลาแบบอื่น ๆ
โดยประกันของ BLA ที่เป็นตัวอย่างจะมี
จะสามารถเปรียบเทียบประกันของ BLA ที่เป็นตัวอย่างได้ดังนี้
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
(สัญญาปีต่อปี)
เป็นแบบประกันที่คล้ายกับแบบชั่วเวลา คือ เน้นคุ้มครองชีวิตที่ตรวจพิสูจน์แล้วว่าเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแบบปีต่อปีเท่านั้น และส่วนใหญ่จะคุ้มครองรวมไปถึงค่าชดเชยจากทั้งทุพพลภาพชั่วคราว ทุพพลภาพถาวร และค่ารักษาจากอุบัติเหตุด้วย
(เบี้ยเฉพาะส่วนที่เป็นค่ารักษาอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เท่านั้นที่ลดหย่อนภาษีได้)
แม้จะคุ้มครองหลายอย่างมากกว่าประกันชีวิตทั่วไป แต่เบี้ยมักน้อยกว่า เพราะขอบเขตข้อจำกัดจะอยู่ที่ต้องเป็นเหตุที่เกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น ดังนั้นจะมีเงื่อนไขข้อยกเว้นจำนวนมากในกรณีที่จะไม่คุ้มครอง เช่น ต้องไม่เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุรา หรือมีเจตนาทำร้ายตนเอง หรือเกิดขึ้นเพราะปัญหาสุขภาพร่างกาย (เป็นความดันหน้ามืด) เป็นต้น
การเคลมจึงมีความยุ่งยากกว่าการเคลมประกันชีวิตทั่วไปพอสมควร
และเนื่องจากสัญญาประกันอุบัติเหตุเป็นสัญญาแบบปีต่อปี ทำให้ถ้าบริษัทประกันเห็นว่ามีการรักษาด้วยอุบัติเหตุบ่อย ๆ และดูมีความเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าคนทั่วไป ก็สามารถที่จะไม่รับต่ออายุสัญญาในปีถัดไปได้
ซึ่งแตกต่างกับประกันชีวิตที่เป็นสัญญาระยะยาว และหากจ่ายเบี้ยเกิน 2 ปีไปแล้ว บริษัทจะไม่สามารถโต้แย้งหรือยกเลิกสัญญาใด ๆ ได้อีก
ทำให้ตอนเคลมประกันชีวิตจะง่ายขึ้นมากหากอายุสัญญามากกว่า 2 ปีขึ้นไปแล้ว (เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้ฆ่าผู้ทำประกัน)
ในแง่มุมของการลดหย่อนภาษีและความยุ่งยากในการเคลมนั้น ประกันชีวิตจึงมีภาษีดีกว่าประกันอุบัติเหตุพอสมควร แต่ถ้ายังไม่สนใจทำประกันชีวิตเลย..
อย่างน้อยควรมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้รองรับเหตุคาดไม่ถึงเพื่อผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง
คำถามนี้จะเหมือนเป็นการถามว่า ระหว่างการใช้เครื่องมือการออมที่ตรงจุดประสงค์ของเงินออมโดยตรง กับแบบที่ไม่ตรงจุดประสงค์เงินออม แบบไหนจะดีกว่ากัน
กับเป็นการถามว่า ระหว่างการใช้เครื่องมือการออมคนละแบบให้มาทำงานร่วมกัน จะดีกว่าการใช้เพียงเครื่องมือการออมแบบเดียวได้หรือไม่ โดยจะสามารถนำเปรียบเทียบกันได้ดังต่อไปนี้
แบบลงทุนเอง
หากต้องการมีเงินไว้จัดการภาระที่อาจทิ้งไว้หลังจาก จำนวน 5 ล้านบาทขึ้นไป วิธีนี้จะต้องพยายามลงทุนเองอย่างเป็นประจำ ซึ่งหากตลาดเป็นขาขึ้นอาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ที่เงินลงทุนจะเติบโตได้ตามเป้าหมายมรดก โดยอาจใช้เงินลงทุนเพียง 10%-75% ของเป้าหมายเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลา ผลตอบแทน และเงินลงทุนที่ใช้ ไม่แน่นอน)
ข้อดี
- เป็นการเก็บออมลงทุนเอง ไม่ได้เฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้ใด ดังนั้นสามารถลงมือทำได้ทันที ได้ไม่ต้องมีการพิจารณาเรื่องเกณฑ์สุขภาพ หรือ ประวัติการรักษาโรคเรื้อรังใด ๆ ที่มีอยู่
- ไม่มีการบังคับให้ต้องออมเท่ากันทุกปี ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้
ข้อจำกัด
- ต้องมีวินัยบังคับให้ตนเองออมให้สำเร็จเอง
- ห้ามจากไปในระหว่างทยอยลงทุนให้เงินเติบโตถึง 5 ล้านบาท หรือ ตามเป้าหมาายที่ตั้งไว้
- ห้ามใจตนเองหรือลูกหลานไม่ให้ขอใช้เงิน ระหว่างเงินเติบโตและเงินเติบโตได้ตามเป้าหมาย
- เงินที่ได้ตามเป้าหมาย เมื่อจากไปจะเข้าสู่กองมรดก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือน กว่าที่คนข้างหลังจะนำเงินออกมาได้ถูกต้องตามกฏหมาย
- เงินที่ได้ตามเป้าหมาย ถือเป็นมรดกที่หากทายาทรับมรดกจะต้องรับหนี้ไปด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้จะมีสิทธิในมรดกนี้ก่อนทายาทเสมอ
- หากเงินตามเป้าหมายเกิน 100 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะเสีบภาษี 10% หากผู้รับมรดกตามพินัยกรรมไม่ใช่บุพการี หรือ ทายาทโดยตรง (หาดเป็นบุพการีหรือทายาทโดยตรงเสียภาษี 5% และหากเป็นคู่สมรสจะไม่เสียภาษี)
เหมาะกับ
- ผู้ที่มีเงินมรดกที่จะให้ตามเป้าหมายอยู่แล้ว และต้องการใช้เงินตนเอง 100% สำหรับให้เป็นมรดกตามเป้าหมายหลังการจากไป
- ผู้ที่ยังไม่พร้อมทำความเข้าใจเครื่องมือประกันชีวิต และชอบการลงทุนที่มีความซับซ้อนสูงกว่า และความเสี่ยงมากกว่า
- ผู้ที่มีเกณฑ์สุขภาพ หรือมีอายุ หรือมีอาชีพ ที่ไม่สามารถรับทำประกันชีวิตได้
- ผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวในการเก็บออมเงินเพื่อเป็นมรดกโดยเฉพาะ
- ผู้ที่มีผู้รับมรดกมีความชำนาญในทางกฏหมายมรดก และมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนที่จะนำเงินมรดกออกมาใช้ได้จากกองมรดก
- ผู้ที่ไม่มีเจ้าหนี้
- ผู้ที่มีมรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือผู้ที่เกินแต่ยินดีจ่ายภาษีเต็ม 100% หรือ มรดกส่วนเกินที่มีไม่ได้อยู่ในรูปแบบ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ เงินฝาก เงินสด ยานพาหนะ
แบบชั่วเวลา + แบบลงทุนเอง
จะเป็นการแก้ไขปัญหาการจากไปก่อนเงินลงทุนเติบโตได้ตามเป้าหมายมรดกที่ต้องการ โดยจะแบ่งเงินลงทุนบางส่วนมาทำประกันชีวิตชั่วเวลา ระยะเวลาตามจำนวนปีที่คาดว่าเงินจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย
ซึ่งทุนชีวิตจะให้สูงเท่ากับมรดกที่ตั้งเป้าไว้ แต่จ่ายเบี้ยประกันชีวิตชั่วเวลาให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบกับเงินที่ลงทุนเอง โดยจะได้ทุนชีวิตสูงถึง 200-250 เท่าของเบี้ยที่จ่ายแต่ละปี (หรือ เบี้ย 20,000-25,000 บ.ต่อปี ได้ทุนชีวิต 5 ล้านบาท) ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และอาชีพ ตอนเริ่มทำประกัน
ข้อดี
- ระหว่างเงินลงทุนกำลังเติบโต เครื่องมือประกันชีวิตชั่วเวลาจะรับความเสี่ยงไว้ให้เอง
- ใช้เบี้ยประกันชีวิตที่น้อยมากเมื่อเทียบกับทุนชีวิตที่ได้ โดยเฉพาะในช่วงอายุก่อน 60 ปี
ข้อจำกัด
- ต้องมีสุขภาพ อายุ อาชีพ อยู่ในเกณฑ์รับทำประกันชีวิตชั่วเวลา และมีแหล่งที่มาของรายได้ชัดเจน
- อาจต้องเลือกประกันชีวิตชั่วเวลาแบบที่สามารถยืดจำนวนปีความคุ้มครองถึงอายุ 60 ปีได้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เงินลงทุนใช้เวลามากกว่าที่คาดการณ์ในการเติบโตได้ตามเป้าหมาย
- ห้ามใจตนเองหรือลูกหลานไม่ให้ขอใช้เงินมรดกที่ได้ตามเป้าหมายแล้ว
- เงินที่ได้ตามเป้าหมาย เมื่อจากไปจะเข้าสู่กองมรดก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือน กว่าที่คนข้างหลังจะนำเงินออกมาได้ถูกต้องตามกฏหมาย
- เงินที่ได้ตามเป้าหมาย ถือเป็นมรดกที่หากทายาทรับมรดกจะต้องรับหนี้ไปด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้จะมีสิทธิในมรดกนี้ก่อนทายาทเสมอ
- หากเงินตามเป้าหมายเกิน 100 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะเสีบภาษี 10% หากผู้รับมรดกตามพินัยกรรมไม่ใช่บุพการี หรือ ทายาทโดยตรง (หาดเป็นบุพการีหรือทายาทโดยตรงเสียภาษี 5% และหากเป็นคู่สมรสจะไม่เสียภาษี)
เหมาะกับ
- ผู้ที่มีกำลังการออมยังไม่มาก หรือ ต้องการเน้นลงทุนเอง 100% มากกว่าการออมเงินมรดกในประกันชีวิตตลอดชีพ
- ผู้ที่มีเงินมรดกที่จะให้ตามเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องการใช้เงินตนเอง 100% ในช่วงเวลาที่ทำประกันชีวิตชั่วเวลา
- ผู้ที่มีเกณฑ์สุขภาพ หรือมีอายุ หรือมีอาชีพ ที่สามารถทำประกันชีวิตชั่วเวลาได้
- ผู้ที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวในการเก็บออมเงินเพื่อเป็นมรดก โดยไม่นำออกมาใช้ก่อน ให้เงินได้เติบโตทันตามระยะเวลาที่ประกันชั่วเวลายังคงให้ความคุ้มครอง
- ผู้ที่มีผู้รับมรดกมีความชำนาญในทางกฏหมายมรดก และมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนที่จะนำเงินมรดกออกมาใช้ได้จากกองมรดก
- ผู้ที่ไม่มีเจ้าหนี้
- ผู้ที่มีมรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือผู้ที่เกินแต่ยินดีจ่ายภาษีเต็ม 100% หรือ มรดกส่วนเกินที่มีไม่ได้อยู่ในรูปแบบ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ เงินฝาก เงินสด ยานพาหนะ
แบบตลอดชีพ + แบบชั่วเวลา
แบบนี้จะเน้นแก้ไขข้อจำกัดของการลงทุนเองในเรื่องการส่งต่อมรดก ที่ประกันชีวิตจะมีความสะดวกและสภาพคล่องมากกว่ากองมรดก
โดยจะใช้ประกันชีวิตตลอดชีพที่ทุนชีวิตเท่ากับเงินมรดกตามเป้าหมาย และใช้ประกันชั่วเวลาดูแลภาระหรือหนี้สินในช่วงวัยทำงาน เพื่อให้ภาระหรือหนี้สินไม่กระทบกับมรดกที่ตั้งเป้าออมไว้ในประกันชีวิตตลอดชีพ
เงินที่ออมในประกันชีวิตตลอดชีพ โดยรวมจะคิดเป็น 20% - 100% ของเป้าหมายมรดกที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิตที่เลือก จำนวนปีที่ชำระเบี้ย อายุ เพศ และ อาชีพ ที่เริ่มทำประกัน แต่เป็นแบบการันตีแน่นอน
(หากเลือกเป็นประกันมรดกที่ทุนชีวิตสูง และชำระเบี้ยสั้น จะทำให้ได้สัดส่วนเบี้ยรวมต่อทุนชีวิตที่น้อยเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับประกันชีวิตตลอดชีพทั่วไป)
ข้อดี
- ได้รับความคุ้มครองชีวิตตั้งแต่เริ่มออมมรดกในประกันชีวิตตลอดชีพ
- ได้รับทุนชีวิตที่สูงของประกันชีวิตชั่วระยะเวลาเสริมในช่วงอายุที่มีภาระค่อนข้างมาก
- ด้วยกลไกประกันชีวิต ที่เปลี่ยนเงินออมให้เป็นรายจ่ายที่ต้องชำระเท่ากันทุกปี จึงช่วยให้การออมมีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมายได้สูงมาก
- ด้วยกลไกของประกันชีวิตจึงทำให้ยากที่จะนำเงินที่ออมออกมาใช้ผิดวัตถุประสงค์
- ด้วยกลไกของประกันชีวิตทำให้ทุนชีวิตส่งถึงผู้รับผลประโยชน์โดยตรง ไม่ต้องผ่านผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้ และภาษี
- เงินที่ออมน้อยกว่ามรดกที่จะส่งต่อ (ขึ้นอยู่กับ สุขภาพ อายุ เพศ และ อาชีพ ตอนเริ่มทำประกันชีวิตตลอดชีพ)
ข้อจำกัด
- ต้องมีสุขภาพ อายุ อาชีพ อยู่ในเกณฑ์รับทำประกันชีวิต และมีแหล่งที่มาของรายได้ชัดเจน
- หากต้องการนับเงินในกรมธรรม์ประกันชีวิตออกมาใช้ก่อน จะต้องกู้ยืมออกมาและมีดอกเบี้ยจนกว่าจะนำเงินที่ยืมไปกลับคืนเข้ากรมธรรม์พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นกลไกปกป้องการใช้เงินผืดวัตถุประสงค์
- บังคับออมเท่ากันทุกปี ตามระยะเวลาของแบบประกัน อาจสร้างความกังวลกว่าว่าบางปีจะขาดสภาพคล่องได้
เหมาะกับ
- ผู้ที่มีกำลังการออม และต้องการอาศัยประกันชีวิตเป็นกลไกในการบังคับออมเงินมรดกให้สำเร็จ
- มีความตั้งใจต้องการออมเงินเพื่อส่งต่อเป็นมรดก หรือ เพื่อจัดการภาระที่ทิ้งไว้หลังจากไปจริง ๆ และใช้เวลาที่สั้นกว่าผ่านกองมรดก
- ต้องการลดความขัดแย้งในการแบ่งทรัพย์มรดก เนื่องจากประกันชีวิตจะได้รับเป็นเงินสดที่ชัดเจน ไม่ต้องตีมูลค่าเพิ่มเติม
- ไม่ต้องการให้ใครสามารถยุ่งเกี่ยวกับเงินออมมรดกนี้ได้ง่าย ๆ โดยมีกลไกของประกันชีวิตคอยปกป้องอยู่
- ไม่ต้องการใช้เงินตนเอง 100% สำหรับส่งต่อให้เป็นมรดก โดยเฉพาะในตอนใกล้เกษียณที่ต้องการกันเงินไว้ใช้เองด้วย จึงต้องการกันเงินสำหรับเป็นมรดกให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ไม่ต้องการเสียภาษีมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาททั้งหมดเอง แต่ต้องการให้ประกันชีวิตมาช่วยจ่ายภาษีมรดกนี้ด้วย
แบบชั่วเวลา + แบบลงทุนเอง + แบบตลอดชีพ
แบบนี้จะนำข้อดีของการลงทุนเองเข้ามาช่วยจ่ายเบี้ยประกันชีวิตตลอดชีพมรดกทุนสูง จึงสามารถทำให้เบี้ยรวมทั้งสัญญาลดลงจากเบี้ยประกันชีวิตตลอดชีพโดยทั่วไปได้ (และลดลงกว่าที่จะต้องลงทุนเองแน่นอน)
โดยในตอนแรกจะเน้นทำประกันชีวิตชั่วเวลาที่ทุนสูงให้ครอบคลุมทั้งภาระและมรดก ด้วยเบี้ยที่น้อยที่สุด จากนั้นเน้นกำหนดระยะเวลาที่จะลงทุนเอง X ปี
ซึ่งเป้าหมายการลงทุนคือจะให้เงินเติบโตใกล้เคียงกับเบี้ยทั้งสัญญาของประกันชีวิตมรดกทุนสูงมากที่สุดใน X ปีข้างหน้า
เช่น จากแต่ก่อนหากไม่นำประกันชีวิตมรดกเข้าช่วย จะต้องลงทุนเองให้ได้ถึง 5 ล้านบาทภายใน X ปี แต่หากใช้ประกันชีวิตมรดกช่วยจะเหลือเพียง 1.8 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นเบี้ยทั้งสัญญาของประกันชีวิตมรดกในผู้ชาย อายุ 40 ปี แบบชำระเบี้ย 5 ปี (หรือลดเงินเป้าหมายลงได้ถึง 3.2 ล้าน)
ตัวอย่างเช่น
- ชาย อายุ 30 ปี ทำประกันชีวิตชั่วเวลาทุน 5 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายว่าจะให้คุ้มครองนาน 10 ปี รวมเป็นเบี้ยปีละ 25,000 บ. หรือทั้งหมด 250,000 บ.
- เพื่อตลอดระยะเวลา 10 ปีนี้ จะทำการลงทุนให้ได้ 1.8 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเบี้ยรวมทั้งสัญญาของประกันชีวิตมรดกทุนชีวิต 5 ล้านบาท ตอนอายุ 40 ปี (ตอนอายุ 30 ปี เบี้ยรวมจะอยู่ที่ 1.36 ล้านบาท)
- ซึ่งหากลงทุนทุกต้นปี คาดการณ์ผลตอบแทนที่ 5% ต่อปี จะต้องลงทุนปีละ 136,294 บ. เพื่อให้เงินเติบโตได้ถึง 1.8 ล้านบาท
- ดังนั้นจะใช้เงินรวม 10 ปีทั้งสิ้น เงินลงทุน 1.36 ล้านบาท + เบี้ยชั่วเวลาอีก 250,000 บ. รวมเป็นเงิน 1.61 ล้านบาทเท่านั้น จากเบี้ยตอนอายุ 40 ปีที่ 1.8 ล้านบาท (แบ่งจ่ายปี 5 ปี)
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าวิธีนี้ เป็นการเสริมวิธี แบบชั่วเวลา + ลงทุนเอง ให้มีความง่ายมากขึ้น และช่วยทำให้ได้ข้อดีของประกันชีวิตตลอดชีพในการส่งต่อมรดกได้ไปตลอดชีวิต ร่วมกับข้อดีของผลตอยแทนที่มีโอกาสเกิน 5% ต่อปีได้ (แต่แน่นอนว่าต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนเองด้วยเช่นกัน)
ข้อดี
- แก้ไขข้อจำกัดของ แบบชั่วเวลา + ลงทุนเอง ทำให้การลงทุนเองมีเป้าหมายที่ลดลงมาก และได้กลไกการส่งต่อมรดกของประกันชีวิตตลอดชีพมาด้วย
- สามารถปรับทุนชีวิตของชั่วเวลาให้สูงกว่า 5 ล้านบาทได้ และขยายเวลานานกว่า 10 ปีได้ ตามความต้องการ ไม่จำเป็นต้องจำกัดให้เท่ากับเป้าหมายมรดกเท่านั้น
- ไม่จำเป็นต้องออมเงินก้อนใหญ่สำหรับประกันชีวิตมรดกในตอนอายุ 30 ปีในทันที เลือกความยืดหยุ่นเองได้ผ่านการจัดการการลงทุนเอง
ข้อจำกัด
- มีความซับซ้อนกว่าแบบ ตลอดชีพ + ชั่วเวลา ต้องมีการคำนวณหาเงินลงทุนที่ต้องใช้เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย และหากลงทุนไม่เท่ากันทุกปีจะต้องมีการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น
- ผลตอบแทนการลงทุนไม่การันตี หากตอนอายุ 40 ปีเป็นตลาดขาลง อาจส่งผลให้เงินเติบโตพลาดเป้าหมายได้ (แม้มีระยะเวลาชำระเบี้ยอีก 5 ปีก็ตาม)
- ความไม่แน่นอนของการลงทุน อาจทำให้บางทีตอนอายุ 30 ปี เลือกประกันชีวิตมรดก แบบชำระเบี้ย 10 ปีแทน (เบี้ยรวมที่ 1.77 ล้านบาท) อาจจะใช้เงินออมที่ประหยัดได้มากกว่า (ซึ่งซับซ้อนน้อยกว่า เนื่องจากการันตี และบังคับออมเท่ากันทุกปี)
- ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาตารางเบี้ยรวมในแต่ละอายุ และจำนวนปีการชำระเบี้ย ร่วมกับคำนวณเงินลงทุนให้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีนี้
เหมาะกับ
- ผู้ที่เชี่ยวชาญการลงทุน รับความเสี่ยงได้
- ต้องการความยืดหยุ่นในออมเงินมรดกเองในแต่ละปี
- ต้องการกลไกการส่งต่อมรดกของประกันชีวิต
- มั่นใขในสุขภาพตนเอง ว่าผ่านไปอีก 10+ ปีจะยังแข็งแรง ไม่มีโรคเรื้อรัง ทำให้ไม่สามารถทำประกันชีวิตได้ (เช่น เบาหวาน ความดันสูง ที่ควบคุมไม่ได้ รวมถึงโรคซึมเศร้า)
ถ้าหากต้องการลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ จะเหมาะกับผู้ที่มีภาระยังไม่สูงมาก ต้องการความคุ้มครองตลอดชีวิตในราคาที่ถูก และต้องการเก็บออมเงินสำรองฉุกเฉินรวมด้วย รวมถึงมูลค่าเงินที่สะสมในกรมธรรม์จะสามารถเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้แน่นอน (เบี้ยไม่จ่ายทิ้ง) โดยเฉพาะหากเริ่มทำประกันตอนอายุก่อนเกษียณ
แต่หากในอนาคตมีภาระมากขึ้น และต้องการเพิ่มทุนชีวิตในช่วงเวลาหนึ่งให้มากขึ้นตามภาระที่เพิ่ม ก็จะยังสามารถ ทำสัญญา ประกันชีวิตแบบชั่วเวลา เพิ่มได้
อย่างไรก็ตาม หากในปัจจุบันมีภาระค่อนข้างมาก และสภาพคล่องไม่เอื้อให้ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพทุนชีวิตสูง ๆ ได้
การพิจารณา ประกันชีวิตชั่วเวลา ก่อนจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อย่างน้อยช่วยทำให้ได้ทุนชีวิตที่สูงในเบี้ยที่น้อยมากและพร้อมที่จะออกไปสู้ลุยทำงานได้โดย มี Peace of Mind ลดความกังวลต่อคนข้างหลังว่า..จะอยู่อย่างไรหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น
และต่อมาหากเริ่มมีกำลังทรัพย์มากขึ้น จึงค่อยพิจารณาประกันชีวิตตลอดชีพในภายหลังก็ได้เช่นกัน
ดังนั้นการเลือกประกันชีวิต จึงต้องพิจารณาทั้งสภาพคล่อง อายุ และสุขภาพ ในขณะนั้น จึงจะสามารถเลือกที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดได้
การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..
วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"