สถิติ Memo ของการพิจารณารับทำประกันสุขภาพ

การรับทำประกันของทาง BLA มีความเข้มงวดเพียงใด

ลูกค้าหลายท่านที่ยื่นทำประกันเข้ามา อาจยังไม่ทราบว่าบริษัทนั้นจำเป็นต้องมีการขอข้อมูลเพิ่มในบางครั้ง ซึ่งจะสอดคล้องกับการแถลงสุขภาพในใบคำขอทำประกันและฐานข้อมูลที่บริษัทมี เพื่อประกอบการประเมินและการตัดสินใจว่าจะสามารถรับทำประกันได้หรือไม่ หรือรับได้เพียงใด

ดังนั้นบทความนี้ จึงได้รวบรวมกราฟสถิติของการยื่นทำประกันสุขภาพ BLA Prestige Health และ Happy Health กับทาง Release your Risk ที่บริษัทฯ ขอข้อมูลเพิ่มเติม (Memo) หรือภาษาประกัน เรียกว่า ติดโม่ เพื่อดูว่ามีสัดส่วนเท่าใด.. มากน้อยแค่ไหนค่ะ

กราฟสถิติ Memo ของการยื่นทำประกันสุขภาพ

BLA Prestige Health และ BLA Happy Health

กราฟติดโม่ 2

จากสถิติจะเห็นว่า ใบคำขอทำประกันติดโม่ (memo) คิดเป็น 70.3% ซึ่งมีมากกว่าใบคำขอที่อนุมัติรับทำประกันทันทีที่ 29.7% โดยการติดโม่ หรือ การขอข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนมากจะขอใน 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. การขอสำเนาประวัติเจ็บป่วย หรือ สำเนาผลตรวจสุขภาพ

ขอสำเนาประวัติการรักษา release your risk2
ขอสำเนาผลตรวจสุขภาพ release your risk

ลูกค้า Release your Risk  ส่วนใหญ่นั้น ใบคำขอจะติดโม่ หรือ ถูกขอข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับ สำเนาประวัติการรักษา และ/หรือ สำเนาผลตรวจสุขภาพประจำปี

สาเหตุที่บริษัทฯ เรียกขอข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากมีข้อมูลระบุในใบคำขอ และต้องการข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลการรักษา/ผลการตรวจสุขภาพ เพื่อที่จะลงความเห็นการพิจารณารับทำประกันได้เหมาะสมที่สุด

เช่น การระบุผลตรวจสุขภาพและแพทย์แจ้งว่า คอลเลสเตอรอลสูงเล็กน้อย แน่นอนว่าฝ่ายพิจารณาบริษัทฯ จะต้องเรียกขอดูสำเนาผลตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อยืนยันค่าคอลเลสเตอรอลที่สูงเล็กน้อยนั้นจะไม่เป็นความเสี่ยงเกินไป

หรือมีการระบุว่าเคยป่วยเป็นไข้หวัด (ไม่ระบุชนิด) ฝ่ายพิจารณาบริษัทฯ จะต้องเรียกขอสำเนาประวัติการรักษา เพื่อยืนยันว่าการป่วยครั้งนั้นไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ เป็นต้น

ซึ่งผลการพิจารณาหลังจากได้รับข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว มีดังนี้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. อนุมัติรับทำประกัน
2. รับทำประกันโดยยกเว้นความคุ้มครอง
3. รับทำประกันโดยเพิ่มเบี้ยประกัน
4. ปฏิเสธรับทำประกัน
5. เลื่อนการรับทำประกัน

โดยส่วนมากทางเราจะแนะนำให้ลูกค้าแนบสำเนาประวัติการรักษา และ/หรือ แนบสำเนาผลตรวจสุขภาพเข้ามาพร้อมกับการยื่นขอทำประกันเลย เพื่อความรวดเร็วหรือลัดขั้นตอนการพิจารณาให้สั้นลงได้ค่ะ

2. การขอให้ตรวจสุขภาพตามแบบฟอร์มของบริษัท

ขอให้ตรวจสุขภาพ release your risk

ลูกค้า release your risk ส่วนน้อย ที่ทางบริษัทฯ ขอให้ดำเนินการตรวจสุขภาพตามแบบฟอร์มของบริษัท ⤴ ย้อนไปดูกราฟ

โดยสาเหตุที่บริษัทฯ ขอให้ตรวจสุขภาพ มีความเป็นไปได้ 4 อย่าง ดังนี้

1. สุ่มตรวจสุขภาพ
2. เกณฑ์อายุต้องตรวจสุขภาพ
3. ข้อมูลพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง เช่น ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นต้น
4. จากข้อมูลประวัติการรักษาจำเป็นต้องได้รับผลตรวจใหม่

หากไม่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น ไม่มีประวัติการรักษา  ไม่มีประวัติตรวจสุขภาพ  อายุ/ส่วนสูง/น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ บางครั้งถึงคราวที่บริษัทฯ อาจสุ่มให้ตรวจสุขภาพ แต่สำหรับกรณีนี้มักเกิดขึ้นน้อยค่ะ

แต่หากข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง เช่น ค่าดัชนีมวลกายสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน อาชีพเสี่ยง หรือข้อมูลประวัติการรักษาที่มีแนวโน้มเกี่ยวเนื่องกับโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง เช่น เคยอ่อนเพลีย ปวดหัวและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมาก่อน เป็นต้น ทางบริษัทก็อาจขอให้ดำเนินการตรวจสุขภาพค่ะ

การตรวจสุขภาพตามแบบฟอร์มบริษัทฯ หลัก ๆ เป็นการตรวจทั่วไปเพื่อดูค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในปัสสาวะ น้ำหนักส่วนสูง และการตอบคำถามตามแบบฟอร์มโดยแพทย์ของโรงพยาบาล

แต่หากบริษัทฯ ต้องการให้ตรวจนอกเหนือจากแบบฟอร์ม ก็จะมีการระบุรายละเอียดในจดหมายแจ้ง (ตัวอย่างรูปด้านล่าง)

ผลการพิจารณาหลังจากส่งผลตรวจสุขภาพแล้ว มีดังนี้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. อนุมัติรับทำประกัน
2. รับทำประกันโดยยกเว้นความคุ้มครอง
3. รับทำประกันโดยเพิ่มเบี้ยประกัน
4. ปฏิเสธรับทำประกัน
5. เลื่อนการรับทำประกัน

การที่บริษัทฯ ขอให้ตรวจสุขภาพไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่ดีและจะทำให้เราสบายใจมากยิ่งขึ้น หลังจากที่บริษัทฯ รับทำประกันค่ะ

ขอให้ตรวจสุขภาพ release your risk3

3. การขอให้กรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ

กรอกแบบสอบถามด้านสุขภาพเพิ่มเติม3

ลูกค้า release your risk ส่วนน้อยมาก ๆ ที่ทางบริษัทฯ ขอให้ดำเนินการกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติม ⤴ ย้อนไปดูกราฟ

จากตัวอย่างรูปข้างต้น เป็นเอกสารของแอนนี่เองที่ยื่นทำประกันสุขภาพ BLA Prestige Health ให้ตัวเอง ในขณะที่ยังมีประกันสุขภาพ BLA Health Plus (ตัวเก่า) อยู่แล้วพร้อมกับโดนยกเว้นไม่คุ้มครองโรคหรืออาการที่เกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ เนื่องจากเคยเป็นกรดไหลย้อนมาก่อนทำประกัน

แต่เนื่องจากไม่เคยมีประวัติการรักษาเกี่ยวกับกรดไหลย้อนหรือมีอาการใด ๆ เกิดขึ้นกับกระเพราะอาหารและลำไส้เลยตั้งแต่ทำประกันมา ดังนั้นเมื่อแอนนี่ยื่นทำประกันสุขภาพตัวใหม่ ทางฝ่ายพิจารณาบริษัทฯ จึงให้เพียงแถลงในเอกสารเพิ่มเติมและได้พิจารณาอนุมัติรับทำประกันสำหรับแผน Prestige Health โดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ค่ะ

สำหรับกรณีลูกค้าใหม่ หากใบคำขอติดโม่โดยให้กรอกแบบสอบถามสุขภาพเพิ่มเติม น่าจะมีสาเหตุจากข้อมูลสุขภาพที่ระบุในใบคำขอ เช่นตอบคำถามเกี่ยวกับอุบัติเหตุ  ความดัน เบาหวาน การเลิกดื่มสุรา โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคภูมิแพ้ ต่อมไทรอยด์ เป็นต้น

ผลการพิจารณาหลังจากกรอกแบบสอมถามเพิ่มเติมแล้ว มีดังนี้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

1. อนุมัติรับทำประกัน
2. รับทำประกันโดยยกเว้นความคุ้มครอง
3. รับทำประกันโดยเพิ่มเบี้ยประกัน
4. ปฏิเสธรับทำประกัน
5. เลื่อนการรับทำประกัน

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • แอนนี่ค่ะ2

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก