วางแผนเกษียณ : 3. ตั้งค่าเบี้ยประกันสุขภาพ

เบี้ยประกันสุขภาพภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมค่ารักษามะเร็งทั้งในปัจจุบันและอนาคตนั้น มักมีเบี้ยประกันรวมกันหลังเกษียณในระดับ 10 ล้านกว่าบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อพิจารณาเรื่องรายได้ที่อาจขาดหายไปตอนเกษียณ

แต่ด้วยเบี้ยประกันสุขภาพจะไม่ได้จ่ายทั้งหมดทีเดียวเป็นก้อน แต่เป็นการทยอยจ่ายเบี้ยเพิ่มขึ้นทุกปีหรือทุก 5 ปี ทำให้สามารถใช้จุดนี้ในการเตรียมเงินก้อนในวันเกษียณที่น้อยกว่าเบี้ยประกันจริง ๆ (เช่นจาก 10 ล้านบาท อาจจะเหลือเพียงประมาณ 3 ล้านบาทได้) แล้วอาศัยให้เงินก้อนนี้เติบโตในกองทุนรวมและทยอยจ่ายเบี้ยไปพร้อม ๆ กันได้

ทั้งนี้หากปัจจุบันยังเหลือเวลาก่อนเกษียณอีกกว่า 20 ปี การทยอยเริ่มลงทุนในกองทุนรวมเลย ก็อาจจะทำให้ใช้เงินลงทุนจริง ๆ เหลือเพียง 1.5 ล้านบาทเท่านั้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้

โดยการจะให้เงินก้อนเติบโตขึ้นมาได้นั้น จะเน้นอาศัยการลงทุนในกองทุนรวมที่มีการกระจายความเสี่ยงเป็นหลักและเน้นให้ลงทุนได้นานพอในระดับ 15-20 ปีขึ้นไปโดยไม่ขายกองทุนเลย (ซึ่งจากสถิติจะทำให้มีโอกาสที่เงินจะเติบโตโดยไม่ติดลบจะสูงอย่างมาก)

แต่กองทุนรวมเองก็มีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป โดยองทุนที่จำเป็นต้องนำเงินออกมาใช้ทุกปีมักต้องเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อป้องกันการติดลบแล้วยังต้องนำเงินออกมาใช้ ในขณะที่กองทุนที่กว่าจะได้ใช้อีกนานหลายสิบปี จะสามารถเน้นไปที่ความเสี่ยงสูงที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงในระยะยาวได้

ดังนั้น การลงทุนในกองทุนรวม ได้แบ่งช่วงเกษียณออกมาเป็น 3 ช่วง (Time Segmentation) ตามการใช้งานของกองทุนรวม คือ

มูลค่าพอร์ตกองทุน ก่อนเกษียณ หลังเกษียณ 2

ใช้ก่อน ลงทุนสี่ยงต่ำ

ใช้หลัง ลงทุนเสี่ยงสูง

ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่มักจะแนะนำกันในการวางแผนการลงทุนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ และเป็นที่มาของเครื่องมือวางแผนเกษียณส่วนเบี้ยประกันสุขภาพนี้

จึงทำให้การเริ่มต้นใช้เครื่องมือวางแผนเกษียณ จึงต้องเน้นไปที่การระบุให้ชัดเจนถึงเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมด โดยเฉพาะในตอนเกษียณดังนี้

การตั้งค่าเบี้ยประกันสุขภาพในเครื่องมือวางแผนเกษียณ

เบื้องต้นจะสามารถเลือกประกันสุขภาพที่ต้องการได้ตามรูปด้านล่าง

ระยุเบี้ยประกันสุขภาพ

จากนั้นจะเป็นขั้นตอน การเลือกประกันบำนาญที่เหมาะสมสำหรับประกันสุขภาพ พร้อมสัดส่วนที่ต้องการให้ประกันบำนาญช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ( เช่น 50% )

แล้วนำรายละเอียดของของประกันบำนาญที่ได้ มากรอกเข้าไปในหน้าข้อมูลประกันบำนาญในขั้นตอนทดสอบอัตราการอยู่รอดของแผนเกษียณ

ซึ่งหากก่อนหน้านั้นมีข้อมูลประกันบำนาญเดิมที่ช่วยจ่ายเงินส่วนบำนาญอยู่แล้ว ให้ทำการบวกบำนาญที่รับเพิ่มมาช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงบวกเพิ่มเบี้ยทั้งหมดขึ้นอีกด้วย (ในกรณีใช้แบบประกันบำนาญเดียวกัน และต้องการวางแผนเกษียณรวบทั้ง แผนบำนาญและแผนเบี้ยประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน

ระบุประกันบำนาญขั้นตอนทดสอบ

ขั้นตอนต่อไป : วิธีการใช้เครื่องมือการวางแผนเกษียณ 3 ส่วนหลัก

ภายหลังจากกำหนดค่าใช้จ่ายในตอนเกษียณเรียบร้อย รวมถึงการพิจารณาว่าจะนำประกันบำนาญ มาช่วยค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากน้อยเพียงใด

ขึ้นตอนถัดมา จะเข้าสู่ขบวนการวางแผนเกษียณเพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายตอนเกษียณเหล่านี้ โดยจะสามารถแบ่งขั้นตอนการวางแผนออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. ขั้นตอนคำนวณหาเงินก้อนในวันที่เกษียณที่จะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายตอนเกษียณทั้งหมด

2. ขั้นตอนวางแผนการลงทุน "ควรลงทุนอย่างไรให้ได้เงินก้อนที่ต้องการในวันที่เกษียณ"

3. ขั้นตอนเลือกกองทุนรวมที่จะใช้ในแผน การติดตามผล และปรับปรุงแผนการลงทุน

การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง

เริ่มเมื่อเข้าใจธรรมชาติของ
เครื่องมือทางการเงิน

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก