ที่ปรึกษาการเงินการลงทุนส่วนบุคคลแบบใดเหมาะกับคุณ

ที่ปรึกษาการเงินการลงทุนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ

การเลือกที่ปรึกษาให้เหมาะกับเป้าหมายของคุณจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่คุณจะได้ไม่พบเจอปัญหาเหล่านี้

ได้รับคำแนะนำเฉพาะเครื่องมือการเงินที่ที่ปรึกษาการเงินถนัด (โดยไม่ทราบว่ามีอย่างอื่นหรือไม่)

เข้าใจผิดว่าเครื่องมือการเงินเป็นเรื่องยากซับซ้อนต้องพึ่งที่ปรึกษาการเงินเท่านั้น

เข้าใจผิดว่าที่ปรึกษาการเงินจะแก้ไขได้ทุกปัญหาการลงทุนที่ผิดพลาด

เข้าใจผิดว่าหน้าที่ของที่ปรึกษาการเงินคือ คิดมาให้แล้ว..ให้ทำตามได้เลยอย่างเดียว

ไม่ทราบว่าตอนไหนควรใช้ที่ปรึกษาการเงินรูปแบบใด

ปัญหาทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจากโมเดลการหารายได้ของธุรกิจด้านการลงทุนและด้านประกันชีวิต (ของทั้ง บลจ. และบริษัทประกันชีวิต) ที่เน้นการขยายตลาดผ่านตัวแทนกับผู้แนะนำการลงทุน

ซึ่งส่งผลให้ตัวแทนและผู้แนะนำการลงทุนจะเป็นคนวิ่งเข้าหาผู้มุ่งหวังที่สามารถลงทุนได้ ผ่านการแนะนำตาม Pattern ที่บลจ. หรือบริษัทประกันชีวิตฝึกฝนมา

โดยพยายามทำให้เห็นว่า เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีตัวแทนอยู่เคียงข้างเสมอในการเป็นที่ปรึกษาให้แง่คิดต่าง ๆ ทั้งจากการทำให้เหมือนยุ่งยากซับซ้อน การต้องคอยติดตามข่าวสารธุรกิจตลอดเวลา การแนะนำเชิงเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูง

ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้น ควรจะมีการกำหนดระดับของผู้ที่จะลงทุนก่อน เพราะไม่ใช่ทุกระดับที่จะต้องข้ามไปยังการลงทุนเชิงเทคนิคทันทีทั้งหมด แต่บางระดับควรจะต้องเริ่มทำความเข้าใจการลงทุนเบื้องต้นโดยเฉพาะการวางแผนเกษียณให้เรียบร้อยก่อน

เพราะเป็นระดับที่ ผู้ลงทุนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ส่วนนี้ ไม่ใช่เพียงให้เงินไปลงทุนตามที่ที่ปรึกษาการเงินให้คำแนะนำเท่านั้น เพราะนั่นจะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลังอีกมากมาย

ในบทความนี้จึงจะได้เน้นอธิบายถึงลักษณะของที่ปรึกษาการเงินแต่ละแบบที่ส่วนมากได้พบเจอกัน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกให้เหมาะกับระดับความรู้การลงทุนที่ตนเองเป็นอยู่ได้

1.แบบเน้นการเก็บออม การลดหย่อนภาษีนำหน้า
(Product-based)

CHLI 7

ที่ปรึกษาลักษณะนี้จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์การเงินเน้นการออมและผลตอบแทนเป็นหลัก

ทั้งนี้เพื่อลดความซับซ้อนในการแนะนำจึงจะเน้นไปที่ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ

เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้เครื่องมือการเงินแบบความเสี่ยงต่ำ และได้ยังผลประโยชน์ในแง่ของการลดหย่อนภาษี

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่สู้กันตรง ๆ ที่ผลตอบแทน จึงไม่จำเป็นต้องให้ความรู้เพิ่มเติมในแง่ของการลงทุนมากนัก

เพียงแต่ที่ปรึกษาต้องแจ้งเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ให้ดี ๆ และมั่นใจว่าเงินส่วนนี้จะเน้นเก็บยาวอย่างน้อย 10 ปีจริง ๆ

2.แบบเน้นกองทุนรวมจัดพอร์ตตามเป้าหมาย
(Mutual Fund-based)

New Home 2022 4

ที่ปรึกษาลักษณะนี้ จะเริ่มอธิบายถึงเบื้องหลังของประกันสะสมทรัพย์และประกันบำนาญว่า มีที่มาจากการลงทุนผ่านตราสารหนี้นานนับสิบปีขึ้นไป ทำให้ด้วยระยะเวลาที่นานพอ บริษัทประกันจึงมั่นใจว่าจะมีกำไรส่วนต่างจากผลตอบแทนที่ได้รับกับที่ให้ผู้ทำประกันได้

และเมื่อไปพิจารณาในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นอย่างหุ้น ที่ปรึกษาการเงินก็จะเริ่มนำสถิติย้อนหลังมาให้พิจารณาว่า หากลงทุนในหุ้นดัชนีนานกว่า 15 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ไม่ขาดทุนและได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้

ที่ปรึกษาการเงินที่เน้นกองทุนรวมเป็นหลักจึงจะเน้นให้ทำการจัดพอร์ตเชิง Strategic Asset Allocation ที่มีสัดส่วนของกองทุนรวมหุ้นที่สูงหากมีระยะเวลาให้เติบโตนานเกิน 10-15 ปีขึ้นไป แต่ถ้ามีระยะเวลาที่สั้นลงก็จะมีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงลดลงเรื่อยๆ

จึงสามารถแบ่งสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงและระยะเวลาการลงทุนได้ดังนี้

  • ให้เวลาสั้นมาก 2-3 ปี สินทรัพย์เสี่ยงอาจเหลือเพียง 10-20%
  • หรือ ถ้ามีเวลา 5-7 ปี สินทรัพย์เสี่ยงอาจเพิ่มเป็น 30-40%
  • หรือ ถ้ามีเวลา 9-15 ปี สินทรัพย์เสี่ยงอาจเพิ่มเป็น 50-70%
  • หรือ ถ้ามีเวลา 15 ปี สินทรัพย์เสี่ยงอาจเพิ่มเป็น 90-100%

โดยโดยในระหว่างทางอาจมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับวิธีที่ที่ปรึกษาเลือกใช้และลักษณะการใช้งานของพอร์ตดังนี้

เน้นปรับโมเดลพอร์ตตาม บลน. (บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าที่ขายกองทุนรวมได้หลายบลจ.)

  • บลน. จะมีพอร์ตโมเดลให้กับที่ปรึกษาแนะนำให้ผู้ลงทุนตามจุดประสงค์ต่างๆ ซึ่ง บลน. จะคอยจัดและปรับพอร์ตโมเดลนี้ให้ จากนั้นส่งสัญญาณไปที่ปรึกษาให้แจ้งเตือนและแจ้งสาเหตุให้ผู้ลงทุนปรับพอร์ตตาม
  • แน่นอนว่ารายได้หลักของ บลน. คือค่าธรรมเนียม และผู้ลงทุนก็อยากได้พอร์ตที่ปรับดีๆ ดังนั้นโมเดลธุรกิจนี้จึงเกิดขึ้น โดยต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากการปรับพอร์ตหลายครั้ง ตามสถานการณืที่ บลน. เห็นว่าจำเป็น

เน้นใช้กองที่ปรับสัดส่วนตาม บลจ.

  • แต่ละ บลจ. จะมีกองทุนรวมที่มีการจัดพอร์ตโดยเลือกกองทุนรวมของ บลจ. ตนเองมาให้แล้ว ซึ่งจะมีการกำหนดสินทรัพย์เสี่ยงสูงในสัดส่วนที่ต่างกันไป ตามความเสี่ยงและระยะการลงทุน
  • โดยภายในกองทุนที่จัดพอร์ตนั้นๆ จะมีผู้จัดการกองทุนที่ปรับพอร์ตให้ตามสถานการณ์รวมถึงพยายามคงสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงไว้ตามจุดประสงค์ของกองนั้นๆ ซึ่งผู้ลงทุนจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการปรับพอร์ตแบบ บลน. เพราะเป็นการปรับในกอง และกองเหล่านี้ยังสามารถเป็นกองลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

เน้นปรับพอร์ตตามความเห็นที่ปรึกษา

  • แบบนี้ที่ปรึกษาจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร และมีเครื่องมือในการติดตามกองทุน หรือเชื่อมั่นในแนวคิดของกองทุนบางกองอยู่
  • ซึ่งการปรับสัดส่วนมักจะเน้นเป็นลักษณะของการ Rebalance ให้ได้สัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงคงที่เหมือนเดิม ตามเป้าหมายการใช้งานของพอร์ตนั้นๆ ของผู้ลงทุน

3.แบบเน้นวางแผนการเงิน
(Financial planning-based)

New Home 2022 6
  • ที่ปรึกษาฝั่งนี้ จะเน้น Fact Finding หาข้อมูลกับผู้รับคำปรึกษาก่อน เพื่อที่จะได้ทราบเป้าหมาย ทราบสถานะทางการเงินในปัจจุบันผ่านการจัดทำงบการเงินว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  • จากนั้นจึงให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสม ทั้งฝั่งประกัน และฝั่งกองทุนรวม
  • โดยมักจะให้คำปรึกษาไปที่แผนเกษียณ แผนการศึกษาบุตร แผนมรดก และแผนด้านภาษี เป็นหลัก
  • จึงเป็นลักษณะที่เน้นให้ผู้รับคำปรึกษาได้ตื่นตัว ได้ทราบถึงสถานการณ์สุขภาพการเงินตนเอง และทราบว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ใดบ้าง พร้อมมีการติดตามสถานการณ์และแนะนำผลิตภัณ์การเงินที่เหมาะสมได้
  • พื้นฐานการให้คำปรึกษาจะเริ่มครอบคลุมกว้างมากขึ้นในจุดประสงค์ต่างๆ แต่พื้นฐานความรู้ด้านเครื่องมือการเงินเฉพาะด้านอาจไม่แตกต่างกับที่ปรึกษา 2 ข้อข้างบนมากนัก
  • แต่ที่ปรึกษารูปแบบนี้จะต้องมีการจัดทำแผนที่เน้นปรับตามผู้รับคำปรึกษาแต่ละคน และเป็นเหมือน ONE-STOP Service ด้านการเงินส่วนวบุคคลให้กับผู้รับการปรึกษา 

4.แบบเน้นวางแผนกลยุทธเฉพาะด้าน
(Specific Strategy-based)

New Home 2022 3
  • ที่ปรึกษาลักษณะนี้ จะเริ่มนำขบวนการวางแผนการเงินทั้งหมดมาสร้างโมเดลที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ง่ายเฉพาะด้านกับผู้ที่มีปัญหาคล้ายๆ กัน อย่างแผนการเงินด้านการเกษียณ เป็นต้น
  • ซึ่งเป็นแผนที่สามารถคำนวณเบื้องต้นได้ว่า จำเป็นต้องมีเงินขั้นต่ำเท่าใดเพื่อใช้ในการเกษียณ และจะกลายเป็นเป้าหมายทางการเงินหนึ่งของผู้รับคำปรึกษาในที่สุด
  • จึงทำให้รูปแบบนี้จะไม่ได้เจาะลึกไปถึงข้อมูลงบการเงินของผู้รับคำปรึกษา เพียงแต่จะคำนวณหาเป้าหมาย และจัดทำแผน ภายใต้เงื่อนไขในสิ่งที่ผู้รับการปรึกษาต้องการ
  • โดยโมเดลที่ทำขึ้นก็ยึดตามเครื่องมือการเงินและหลักการที่เลือกใช้มาประกอบในโมเดล จึงทำให้ที่ปรึกษาลักษณะนี้จะเน้นให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธในระยะยาวเป็นหลัก จะไม่ได้เป็นลักษณะเชิงเทคนิคที่หวังผลในระยะสั้นหรือระยะกลาง
  • หรือไม่ได้เป็นแบบเจาะลึกเชิงเทคนิคไส้ในการลงทุนใดๆ เพืยงแต่เลือกกองทุนรวมที่มีแนวคิดเหมาะสมกับโมเดลตนเองมากที่สุดเท่านั้น
  • การให้คำปรึกษาในช่วงแรก จึงมักป็นการให้ความรู้ในโมเดลกลยุทธที่จัดทำขึ้นมาเพื่อให้ที่ผู้สนใจที่จะรับการปรึกษา ได้ทำความเข้าใจทุกบริบทของกลยุทธก่อน และถ้ายังสนใจอยู่จึงสามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่ต้องการในการใช้โมเดลนี้ได้
  • รวมถึงในขั้นตอนต่อมาก็เป็นการติดตามผลว่าสอดคล้องกับกลยุทธหรือไม่ และต้องปรับเพิ่มส่วนใดหรือไม่

5.แบบเชิงเทคนิคลงทุนเสี่ยงสูง
(Tactical-based)

Salepage life insure 12
  • ที่ปรึกษาลักษณะนี้จะมีความรู้ลงลึกทั้งเชิงเทคนิค การดูกราฟ การพิจารณาพื้นฐานหุ้นรายตัว ตราสารหนี้รายตัว หรือกองทุนรวมเฉพาะอุตสาหกรรม
  • การให้คำปรึกษาจึงเป็นลักษณะของการเน้นสินทรัพย์เสี่ยงสูงเป็นหลัก และผู้ที่รับคำปรึกษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ พร้อมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
  • มักมีเครื่องมือที่ช่วยในการหาข้อมูลและพิจารณาสินทรัพย์เสี่ยงที่จะลงทุน ใช้ความรู้ ความเข้าใจ การรู้จังหวะ การทำนายคาดการณ์เชิงเทคนิค Money Management ในการตัดสินใจลงทุนในระยะสั้นหลักเดือนถึงปี มากกว่าการกลยุทธระยะยาวที่นานหลายสิบไป

บทสรุป ที่ปรึกษาแบบใดกันจะเหมาะกับคุณที่สุด

  • ถ้าผู้รับการปรึกษายังไม่พร้อมที่จะศึกษาเครื่องมือการเงินต่างๆ เพิ่มเติม และเน้นให้ที่ปรึกษาแนะนำหรือจัดการให้ทั้งหมด ที่ปรึกษาแบบข้อ 1 - 3 จะค่อนข้างน่าสนใจ โดยขึ้นอยู่กับว่าจะต้องการคำปรึกษาในลักษณะไหน
  • แต่ถ้าเป็นที่ปรึกษาข้อ 4 - 5 นั้น ผู้รับการปรึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาความรู้ ทำความเข้าใจถึงแนวทางของที่ปรึกษาที่สนใจ ให้เรียบร้อยก่อนและมั่นใจว่าจะเลือกในแนวทางนี้
  • ดังนั้น ที่ปรึกษาในข้อ 1 - 3 จึงมักเป็นลักษณะที่เครื่องมือการเงินจะวิ่งเข้าหาผู้ใช้ ในขณะที่ที่ปรึกษาข้อ 4 - 5 จะเป็นลักษณะที่ผู้ใช้จะวิ่งเข้าหาเครื่องมือการเงินนั่นเอง
  • ซึ่งของทาง Release you Risk เอง จะออกไปในแนวทางข้อ 4 เป็นหลัก จึงเน้นจัดทำเว็บไซต์และให้ความรู้เชิงลึกที่จำเป็นทั้งหมดในโมเดลแผนการเกษียณที่ Release your Risk ยึดเป็นหลักในการดำเนินการ

สามารถพิจารณาว่า

Release your Risk จะเหมาะกับท่านหรือไม่

ได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • แอนนี่ค่ะ2

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก