Prestige Health ปลดล็อค มี/ไม่มี Deductible แบบใดดีกว่ากัน

Deductible สามารถช่วยลดเบี้ยประกันลงได้อย่างมาก แต่ก็ทำให้กังวลว่าค่า Deductible ที่ต้องจ่ายเมื่อเป็นผู้ป่วยในจะคุ้มกับส่วนลดเบี้ยประกันที่จะได้หรือไม่


เลือกหัวข้อที่สนใจ


ไม่มี Deductible VS. 
มี Deductible

Deductible หรือ ค่ารับผิดส่วนแรก (ต่อปี) ของ Prestige Health ปลดล็อค นั้นจะสามารถให้ความคุ้มครองผู้ป่วยในหมวด 1-6 ได้ ก็ต่อเมื่อทางผู้ทำประกันได้มีการออกค่ารับผิดส่วนแรกตามแผนที่เลือกเรียบร้อยแล้ว ( แผน 20-30 ล้าน ค่ารับผิด 50,000 บ. ต่อปี และ แผน 50-200 ล้าน ค่ารับผิด 100,000 บ. ต่อปี )

จากนั้นค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากค่ารับผิดส่วนแรก จะสามารถนำมาเคลมตามหมวดความคุ้มครองและวงเงินในหมวดความคุ้มครองนั้น ๆ ของ Prestige Health ปลดล็อค ต่อไปได้ หรือ ก็คือ Prestige Health ปลดล็อคจะให้ความคุ้มครองผู้ป่วยในเฉพาะค่ารักษาส่วนที่จากค่ารับผิดส่วนแรกนั่นเอง 

ตัวอย่าง

ในปี 67 มีค่าผ่าตัดรักษาเป็นผู้ป่วยในครั้งที่ 1 ทั้งหมด 350,000 บ. เมื่อผู้ทำประกันแผน 30 ล้าน จ่ายรับผิดส่วนแรก 50,000 บ. ไปแล้วด้วยเงินตนเอง หรือ จากสวัสดิการประกันกลุ่มของบริษัทที่มีวงเงินเคลมได้ 50,000 บ. พอดี จากนั้นค่ารักษาส่วนที่เหลืออีก 300,000 บ. จึงจะสามารถนำมาเคลมตามหมวดคุ้มครองของ Prestige Health ปลดล็อค ต่อได้

ต่อมาจำเป็นต้องมีการผ่าตัดครั้งที่ 2 ในปีกรมธรรม์เดียวกัน ค่าผ่าตัดรักษาทั้งหมด 500,000 บ. แต่เนื่องจากยังอยู่ในปีกรมธรรม์เดียวกัน และได้จ่ายค่ารับผิดส่วนแรก 50,000 บ. ต่อปี ไปแล้วตั้งแต่ตอนผ่าตัดครั้งที่ 1 จึงทำให้การผ่าตัดครั้งที่ 2 นี้ จะสามารถเคลมกับ Prestige Health ปลดล็อคโดยได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายรับผิดอีก (เว้นแต่เกิดการผ่าตัดครั้งที่ 3 ขึ้นในปีกรมธรรม์ถัดไป จะต้องกลับมาจ่ายรับผิดของปีถัดไปอีกครั้ง)

Deductible ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

จากที่ Deductible นั้น ทำให้ผู้ทำประกันจะต้องรับความเสี่ยงในส่วนค่ารับผิดส่วนแรกนี้ไม่ว่าจะด้วยสวัสดิการที่มีอยู่ หรือด้วยเงินของผู้ทำประกันเอง ซึ่งการทำแบบนี้มีแง่มุมที่ได้ประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้ทำประกัน และบริษัทประกันดังนี้

1. ประโยชน์ที่ผู้ทำประกันจะได้รับ

  • สามารถจำกัดค่ารักษาที่ต้องออกเองให้ไม่เกินค่ารับผิดส่วนแรกนี้ได้
  • ส่งเสริมให้ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อทำให้ยากอย่างมากที่จะนอน รพ. ทุกปี หรือ ยากอย่างมากที่จะนอน รพ. เกินค่าสถิติ ทำให้แทบไม่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรกและทำให้ประหยัดเงินได้อย่างมาก (โดยเฉพาะช่วงอายุ 15-60 ปี ที่บางคนไม่เคยเป็นผู้ป่วยในเลยก็มีค่อนข้างมาก)
  • โดยเบี้ยประกันรวมของแผนที่มี Deductible จะน้อยกว่าแผนที่ไม่มี Deductible ได้รวมถึงหลักแสนบาท (ก่อนอายุ 60) และได้ถึงหลักล้านบาท (อายุ 61-98 ปี)
  • หรือ ประหยัดเบี้ยได้หลายแสน เพียงพยายามออมเงินให้ได้สัก 5 หมื่น - 1 แสน ไว้เป็นค่ารับผิดส่วนแรกก่อนเกษียณ
  • หรือ ประหยัดเบี้ยได้หลักล้าน เพียงพยายามออมเงินให้ได้หลักแสน ไว้เป็นค่ารับผิดส่วนแรกหลังเกษียณ

2. ประโยชน์ที่บริษัทประกันจะได้รับ

  • บริษัทประกันแบกรับความเสี่ยงน้อยลง โดยยังคงให้ความคุ้มครองในหมวดต่าง ๆ ที่ผลประโยชน์สูงเหมือนเดิมได้
  • ลดความเสี่ยงที่จะได้ผู้ทำประกันที่ภายหลังการทำประกันจะไม่ได้ดูแลสุขภาพเหมือนแต่ก่อน เพราะเห็นว่ามีประกันสุขภาพแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้มีโอกาสนอน รพ. สูงกว่าค่าสถิติได้

อย่างไรก็ตามการที่จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทางบริษัทประกันจะมีการคำนวณแล้วว่า หากมีค่ารับผิดส่วนแรก จะสามารถทำให้เบี้ยประกันลดลงได้มากที่สุดเท่าใดอย่างยุติธรรม

ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทประกันจะต้องพิจารณาค่าสถิติของการนอน รพ. ในแต่ละช่วงอายุว่ามีอัตราการนอน รพ. เท่าใดบ้าง จากนั้นจึงนำค่ารับผิดส่วนแรกคูณด้วยจำนวนครั้ง (ปี) ที่ต้องนอน รพ. ตามค่าสถิติ 

เช่น อายุ 30-60 ปี ค่าสถิติระบุว่ามีโอกาสนอน รพ. 15% หรือ 5 ปี จาก 31 ปี ดังนั้นเบี้ยที่สามารถลดลงได้ หากค่ารับผิดคือ 100,000 บ. จะเท่ากับ 100,000 x 5 = 500,000 บ. โดยประมาณ เป็นต้น

ทำให้ผู้ทำประกันเพียงจะต้องไม่เป็นผู้ป่วยในนอน รพ. เกินค่าสถิตนี้ จนต้องจ่ายค่ารับผิดส่วนแรก เกินกว่าส่วนลดเบี้ยประกันที่ได้รับมา ดังตารางต่อไปนี้

ส่วนต่างของเบี้ยรวมระหว่าง มี/ไม่มี Deductible

ตารางเบี้ยรวม PHUL
ส่วนต่างเบี้ยรวม PHUL

▍จากตารางเปรียบเทียบเบี้ยรวมระหว่าง มี Deductible กับ ไม่มี Deductible นั้น จะเห็นได้ว่า จะทำให้เกิดประเด็นในการพิจารณาขึ้น 4 ประเด็นใหญ่ คือ 

  • การเลือกแผนแบบมี Deductible5หมื่น ในแผน 20/30 ล้าน ประหยัดเบี้ยรวมไปได้ 1.6 ล้านบาท
  • การเลือกแผน 50 ล้าน + Deductible1แสน + OPD50000  กับแผน 30 ล้าน เบี้ยรวมต่างกันเพียง 3.8 แสนบาท
  • ในแผนที่มี OPD หากเลือกแบบมี Deductible จะประหยัดเบี้ยรวมได้ประมาณ 3 ล้านบาท

จึงทำให้เกิดคำถามสำคัญในแต่ละประเด็นขึ้นว่า ควรจะเลือกแบบใดดี โดยเฉพาะกับแผนต่าง ๆ ต่อไปนี้

แผน 20/30 ล้าน VS.
แผน 20/30 ล้าน + Deductible

เนื่องจากแต่ก่อน BLA จะมี Prestige Health ตัวเก่าที่แผน 10/30 ล้าน ซึ่งมีเบี้ยรวมอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านบาท แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย BLA Happy Health Premier ที่ความคุ้มครองลดลงพอสมควรแต่แลกกับการได้ค่าห้องเดียวราคาเริ่มต้น กับ เงินก้อนภาวะวิฤต

ซึ่งแน่นอนว่า หากมองในแง่มุมความคุ้มครองแล้ว การเลือกตระกูล Prestige Health ยังน่าสนใจกว่า แต่ด้วยเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมากของแผนเริ่มต้น 20/30 ล้าน ของ Prestige Health ปลดล็อค

ทำให้การพิจารณาแบบ มี Deductible จะประหยัดเบี้ยรวมได้ถึง 1.6 ล้านบาท จึงช่วยให้แผน 20/30 ล้าน + Deductible50000 นั้น ดูน่าสนใจขึ้นอย่างมากในการมาแทนที่ Prestige Health 10/30 ล้านตัวเก่า

แต่ก็มีคำถามที่ว่า การต้องจ่าย Deductible เองที่ 50,000 บ. ต่อปี หากปีนั้นต้องแอดมิตเป็นผู้ป่วยในนั้น จะคุ้มกับส่วนลด 1.6 ล้านบาทที่ได้หรือไม่

แผน 30 ล้าน VS. 
แผน 50 ล้าน + OPD + Deductible

หากประเด็นสำคัญของการเลือกแผนอยู่ที่เริ่มมี OPD ค่ารักษาทั่วไปรวมอยู่ด้วย กับ สนใจแผน 30 ล้าน ไม่มี Deductible ที่เบี้ยรวมของทั้ง 2 แผน จะต่างกันเพียง 3.8 แสนบาทเท่านั้น

จึงทำให้เกิดคำถามสำคัญขึ้นว่า การได้ความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้นของแผน 50 ล้าน + OPD 50,000 บ.ต่อปี แต่ต้องจ่าย Deductible ถึง 1 แสนบาทต่อปี (หากปีนั้นเป็นผู้ป่วยใน) กับการไม่ต้องจ่าย Deductible เลยแบบแผน 30 ล้านบาท แบบไหนจะดีกว่ากัน

ซึ่งคำตอบจะแข่งกันที่ ค่าใช้จ่าย OPD รักษาทั่วไปที่ต้องออกเองของแผน 30 ล้าน vs ค่าใช้จ่าย Deductible 1 แสนต่อปีของแผน 50 ล้าน แบบใดจะมีความเสี่ยงที่ค่าใช้จ่ายจะสูงมากกว่ากัน

แผน 200 ล้าน + OPDตามจริง + Deductible

หากประเด็นสำคัญของการเลือกแผนอยู่ที่การมี OPD ค่ารักษาทั่วไป จ่ายตามจริง รวมอยู่ด้วย การพิจารณาเลือกแผน 200 ล้านแบบมี Deductible จะประหยัดได้ถึง 3.2 ล้านบาท

แต่การเพิ่มจากแผน 100 ล้านบาท กลายเป็นแผน 200 ล้านแบบมี Deductible นั้น ต่องเพิ่มเงินถึง 6.3 ล้านบาท เพื่อเแลกกับ OPDตามจริง และ ความคุ้มครองหมวดพิเศษต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาจากแผน 100 ล้านบาท

จึงเกิดคำถามว่า การที่ต้องเพิ่มเงินถึง 6.3 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนจาก OPD 1 แสนบาทต่อปี เป็น OPD จ่ายตามจริงพร้อมด้วยหมวดคุ้มครองพิเศษ จะดีหรือไม่ หรือ หากเลือกแผน 200 ล้านแบบมี Deductible จะดีกว่าหรือไม่ (เพิ่มอีก 3 ล้านบาท) จะจำเป็นต้องใช้ OPD สูงถึงขนาดนี้หรือไม่ 

สรุป : จะเห็นได้ว่าทุกคำตอบของคำถามที่กล่าวมา จะจำเป็นต้องพิจารณาจากสถิติของทั้งการเป็นผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอกร่วมกัน รวมไปถึงการจัดการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมหรือการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากเลือกแผนที่มี Deductible เพื่อที่จะประหยัดเบี้ยให้ได้มากขึ้น

ข้อสังเกตุ : แผนแบบ มี Deductible อาจจะไม่น่าสนใจ หากมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติขึ้นอย่างมาก ภายหลังการทำประกัน 

สถิติการเป็นผู้ป่วยใน IPD และ ผู้ป่วยนอก OPD สิ่งที่ทำให้เกิดแผน Deductible ขึ้นมา

การจะมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้จ่าย Deductible มากกว่าส่วนลดเบี้ยที่ได้นั้น นอกจากจะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง (การป้องกันประหยัดกว่าการรักษาเสมอ) จะจำเป็นต้องพิจารณาค่าสถิติตามช่วงอายุของการเป็นผู้ป่วยด้วยโรคหลัก ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ 

สถิติอัตราการป่วยเป็นผู้ป่วยในจากโรคหลัก

▍นี้คือ 7 โรคหลักที่จะทำให้กลายเป็นผู้ป่วยในได้ ซึ่งล้วนเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงเกินกว่าค่ารับผิดส่วนแรกอย่างแน่นอนหากต้องมาเป็นผู้ป่วยใน โดยเมื่อรวมทุกโรคเข้าด้วยกันจะทำให้อัตราการเป็นผู้ป่วยในจากโรคหลักอยู่ที่ประมาณ 20,000 คน จากประชาการ 100,000 คน หรือ มีโอกาสประมาณ 20% ต่อปีที่จะต้องเป็นผู้ป่วยในด้วยโรคหลักเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ประเมินความเสี่ยงประกอบการตัดสินใจว่าจะทำ Deductible ดีหรือไม่ จะจำเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงของการเป็นผู้ป่วยในที่แยกตามช่วงอายุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยดังนี้

สถิติอัตราการป่วยเป็นผู้ป่วยในแต่ละช่วงอายุ

▍ช่วงอายุ 15-59 ปี จากสถิติจะอัตราการเป็นผู้ป่วยในโดยโรคหลักรวมกันประมาณ 15% เท่านั้น ในขณะที่ช่วงอายุ 0-4 ปี และ อายุ 60 ปีขึ้นไป (หลังเกษียณ) จะมีอัตราการเป็นผู้ป่วยในที่สูงอย่างมาก จึงทำให้จะต้องนำตัวเลขอัตราการเป็นผู้ป่วยในตามช่วงอายุนี้ มาตรวจสอบกับส่วนลดเบี้ยที่ได้ว่ามากกว่าค่ารับผิดส่วนแรกกี่เท่า หรือ ก็คือสามารถเป็นผู้ป่วยในได้กี่ครั้ง (ปี) โดยที่ค่ารับผิดยังไม่เกินส่วนลดเบี้ยที่ได้

สถิติอัตราการป่วยเป็นผู้ป่วยนอกแต่ละช่วงอายุ

▍แม้อัตราเป็นผู้ป่วยในจะน้อย แต่อัตราเป็นผู้ป่วยนอก OPD นั้นสูงอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่รวมทั้งชายหญิงแล้วจะมีโอกาสเป็นผู้ป่วยนอกสูงถึงประมาณ 5 ครั้งต่อปี (ผู้ป่วยนอกจะไม่มีการคิดค่ารับผิดส่วนแรกจึงทำให้ Prestige Health ปลดล็อค แผนที่มีวงเงิน OPD จะสามารถรักษาแบบ OPD ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่ายค่ารับผิดใด ๆ) 

สรุป : การมี Deductible ทำให้มีโอกาสได้ส่วนลดเบี้ยเพิ่มขึ้นหลายแสนบาทถึงหลักล้านบาท ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ทำประกันที่ร่างกายแข็งแรงและเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยในได้น้อยกว่าค่าสถิติการเป็นผู้ป่วยในตามช่วงอายุ รวมถึงจะเหมาะอย่างมากกับผู้ที่มีสวัสดิการประกันกลุ่มของบริษัทหรือของหน่วยงานอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่วงก่อนเกษียณที่ทั้งร่างกายแข็งแรง และยังทำงานในบริษัทที่ให้สวัสดิการประกันกลุ่มได้

ข้อสังเกตุ : แบบ Deductible จะไม่เหมาะสมกับผู้ที่หลังทำประกันสุขภาพแล้ว ไม่ได้รักษาสุขภาพ และทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี จนมีสุขภาพที่แย่ลงเรื่อย ๆ หรือ โชคร้ายเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถส่งผลให้ต้องนอน รพ. หลายครั้ง (ปี) เกินค่าสถิติแล้วค่ารับผิดที่จ่ายไปเกินกว่าส่วนลดเบี้ยที่ได้

ผลลัพธ์ของ Deductible
แผน 20-50 ล้านบาท

แผน 20-30 ล้านเป็นแผนประกันสุขภาพระดับกลาง และแผน 50 ล้านที่มี OPD ปีละ 50,000 มาให้ด้วยจะเป็นระดับกลางบน ที่ครอบคลุมค่ารักษาได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

แต่ด้วยเบี้ยที่ยังค่อนข้างสูง แบบมี Deductible จึงมีความจำเป็น เพราะจะช่วยให้เบี้ยลดลงได้มากพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามจะมีจำนวนครั้ง (ปี) ที่ไม่ควรนอน รพ. เกินจำนวนนี้อยู่ ไม่อย่างนั้นจะต้องจ่ายค่ารับผิดสูงรวมกว่าส่วนลดรวมที่ได้

ซึ่งจะสามารถสรุปแบ่งออกตามช่วงอายุได้ดังต่อไปนี้

[ก่อนเกษียณ] ส่วนลดเบี้ยที่ได้จาก Deductible และจำนวนปีสูงสุดที่เป็นผู้ป่วยในได้ โดยค่า Deductible ยังไม่เกินส่วนลด

เปรียบเทียบPHUL Deductible 20 50mb 1

▍จากตารางจะเห็นได้ว่าอัตราการนอน รพ. สูงสุดที่จะทำให้ค่ารับผิดรวมไม่เกินส่วนลดเบี้ยที่ได้ จะอยู่ที่ประมาณ 20% ในแผน 20-30 ล้าน และลดลงมาที่ประมาณ 17% ในแผน 50 ล้าน ด้วยเพราะแผน 50 ล้านจะมี OPD 50,000 บ. ต่อปีเข้าช่วย ทำให้สามารถรักษาได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วยหนักจนต้องรักษาเป็ยผู้ป่วยใน

ซึ่งจากค่าสถิติที่ผ่านมาอัตราการนอน รพ. ในช่วงอายุ 15-60 ปี จะอยู่เพียงที่ 15% นั้นหมายความว่าหากยึดจากค่าสถิติแล้ว โอกาสที่จะจ่ายค่ารับผิดเกินส่วนลดเบี้ยที่ได้จะน้อยมาก (และจะน้อยลงไปอีกมากหากมีการรักษาสุขภาพที่ดีร่วมด้วย)

ทั้งนี้หากไม่มีประกันกลุ่มไว้ช่วยจ่ายค่ารับผิด อย่างน้อยควรจะต้องเตรียมเงินสำรองสำหรับจ่ายค่ารับผิดนี้อย่างน้อย 1-2 ปี เนื่องจากโดยปกติแล้วหากป่วยขึ้นมามักจะเป็นการแอดมิตต่อเนื่องใน 1 ปีนั้น มากกว่าแอดมิตข้ามปี เช่น การส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัยแบบผู้ป่วยใน แล้วต่อมาต้องมีการส่องกล้องเพื่อผ่าตัดหรือการผ่าตัดแบบเปิด มักจะรวมอยู่ภายใน 1 ปีนั้น ทำให้ไม่ต้องจ่ายรับผิดซ้ำอีก (หรือ หากปีนั้นต้องจ่ายรับผิดแล้ว ควรตรวจต้องรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในให้เรียบร้อยและลดโอกาสการเป็นผู้ป่วยในในปีต่อๆ ไป)

แน่นอนว่าควรต้องพิจารณาอัตราการนอน รพ. ของคนในครอบครัว และคนใกล้ตัวร่วมด้วย ในการพิจารณาว่าควรจะต้องมีเงินสำหรับค่ารับผิดนี้ไว้สำหรับนอน รพ. จำนวนมากกว่า 1 ปีหรือไม่ในช่วงอายุ 15-60 ปีนี้

ในส่วนการเปรียบเทียบแผน 30 ล้าน กับ แผน 50 ล้าน + Deductible + OPD นั้น จะเห็นได้ว่าแผนอย่างหลังจะต้องมีการเตรียมเงินสำรองไว้อย่างน้อย 1-2 แสนบาทร่วม เผื่อสำหรับค่ารับผิดการต้องแอดมิตนอน รพ. ทำให้ถ้าหากเลือกแผน 30 ล้านบาทจะดีกว่าหากไม่ได้จ่ายค่ารักษา OPD ทั่วไปรวมกันเกิน 1-2 แสนบาทในช่วงอายุ 15-60 ปี (ซึ่งการจะใช้ค่ารักษา OPD ทั่วไปสูงขนาดนี้ได้ มักจะผลมากจากการป่วยหนักและต้องรักษาติดตามอาการเป็นระยะเวลายาวนานเท่านั้น)

เว้นแต่มีประกันกลุ่มช่วยจ่ายค่ารับผิด แผน 50 ล้านบาทแบบมี Deductible จะน่าสนใจกว่าแผน 30 ล้านอย่างแน่นอน รวมถึงในช่วงอายุ 55-65 จะสามารถถอด Deductible ออกได้โดยไม่ต้องพิจารณาใหม่ ทำให้การตัดสินใจปรับไปเป็นแผน 30 ล้านบาทตอนเกษียณที่เสี่ยงกับการแอดมิตหลายครั้งได้ดังตารางต่อไปนี้

[หลังเกษียณ] ส่วนลดเบี้ยที่ได้จาก Deductible และจำนวนปีสูงสุดที่เป็นผู้ป่วยในได้ โดยค่า Deductible ยังไม่เกินส่วนลด

เปรียบเทียบPHUL Deductible 20 50mb 2

▍จากตารางจะเห็นได้ว่าส่วนลดเบี้ยที่ได้ ได้เผื่อโอกาสของการแอดมิตเป็นผู้ป่วยในไว้หลายปีมาก โดยเฉพาะหากนับร่วมอายุ 60-98 ปี และกลายเป็นคำถามสำคัญว่าตลอด 38 ปี จะต้องนอน รพ. ถึง 20 ปีหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาสุขภาพช่วงอายุ 55-65 ปีแล้วเห็นว่ามีโอกาสน้อยมาก การเลือกที่จะเป็นแผนแบบมี Deductible ต่อไปดูจะเป็นสิ่งที่ประหยัดได้มากกว่าการเลือกแบบไม่มี Deductible 

ในขณะที่การเลือกระหว่าง แผน 30 ล้าน กับ แผน 50 ล้าน + Deductible นั้น จะตัดสินใจค่อนข้างยากมากกว่า เพราะตอนเกษียณจะไม่มีประกันกลุ่มคอยช่วยจ่ายค่ารับผิดให้ แผน 50 ล้าน + Deductible อีกแล้ว ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาสุขภาพและโรคที่เป็นอยู่

ซึ่งหากเป็นโรคเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการนอน รพ. หลายปี และต้องจ่ายค่ารับผิดมากกว่าค่ารักษา OPD ทั่วไปอย่างแน่นอน การเลือก แผน 30 ล้าน จะดูน่าสนใจกว่า แต่ถ้าหากร่างกายแข็งแรงมากหรือเป็นโรคเรื้อรังที่เน้นการรักษาแบบ OPD ทั่วไปเป็นหลัก การเลือก แผน 50 ล้าน + Deductible เหมือนเดิมจะดีกว่า (ปัญหาการตัดสินใจเลือกแผนตอนอายุ 55-65 ปีนี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่เลือกแผน 50 ล้าน +Deductible ตั้งแต่ก่อนเกษียณ)

[หลังเกษียณตามช่วงอายุ] ส่วนลดเบี้ยที่ได้จาก Deductible และจำนวนปีสูงสุดที่เป็นผู้ป่วยในได้ โดยค่า Deductible ยังไม่เกินส่วนลด

เปรียบเทียบPHUL Deductible 20 50mb 3

▍จากข้อมูลในตารางจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าแต่ละช่วงอายุหลังเกษียณความเสี่ยงต่อการแอดมิตเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเห็นว่าแผนแบบมี Deductible นั้นได้ให้ส่วนลดเผื่อไว้สำหรับการนอน รพ. ที่ค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะตั้งแต่อายุ 71 ปีเป็นต้นไป

ทำให้การตัดสินใจเลือกแผน Deductible จะง่ายขึ้นมาก หากสุขภาพมีความแข็งแรงดูแลสุขภาพอย่างดี เพราะโอกาสที่จะนอน รพ. จากสถิติเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 20% (อายุ 61 ปีขึ้นไป) แต่ส่วนลดเบี้ยที่ได้จาก Deductible นั้น มากกว่าค่าสถิติอย่างมาก

ซึ่งจากสถิติแล้ว 20% ของ 38 ปี จะอยู่ที่ 7.6 ปี ดังนั้นการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่ารับผิดจะอยู่ที่ 7-8 ปี จะมีโอกาสเพียงพอสูง (อาจน้อยกว่านี้ได้อีกหากดูแลรักษาร่างกายเป็นประจำ) ในขณะที่หากเลือกแบบไม่มี Deductible จะเหมาะกับผู้ที่มีแนวโน้มปัญหาสุขภาพอย่างหนักจริง ๆ เพราะเหมือนเป็นการเผื่อสำหรับการต้องนอน รพ. นานมากกว่า 20 ปีขึ้นไปจาก 38 ปี

สรุป : ช่วงก่อนเกษียณ แผน 50 ล้านบาทแบบมี Deductible จะน่าสนใจกว่าแผน 30 ล้านอย่างแน่นอน หากมีประกันกลุ่มช่วยจ่ายค่ารับผิดร่วมด้วย เพราะจะทำให้ได้ทั้งความคุ้มครอง OPD และค่าห้องเพิ่ม แบบไม่ต้องจ่ายรับผิดใด ๆ ในขณะที่แผน 20/30 ล้านแบบมี Deductible จะช่วยประหยัดเบี้ยได้หลักแสน แม้มีการเผื่อเงินสำรองไว้นอน รพ. ประมาณ 2 ปี (หรือมีประกันกลุ่มช่วยจ่ายค่ารับผิด)

ดังนั้นหากมีประกันกลุ่มการเลือกแผนแบบมี Deductible เป็นเรื่องที่ควรทำช่วงก่อนเกษียณ หรือแม้แต่ไม่มีประกันกลุ่ม แต่คนในครอบครัวแทบไม่มีประวัตินอน รพ. เลย ก็จะทำให้การเลือก Deductible ยังเป็นทางที่น่าสนใจกว่าพอสมควร

ในขณะที่ช่วงเกษียณโดยเฉพาะอายุ 55-65 ปี ควรจะตรวจสุขภาพรอบด้าน คัดกรองมะเร็งให้ครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินได้ว่าจะเก็บ Deductible ไว้เหมือนเดิม หรือ จะถอด Deductible ออก เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะต้องนอน รพ. มากกว่า 20 ปีตอนเกษียณ 

ข้อสังเกตุ : หากดูแลร่างกายเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงหลังเกษียณ แผนที่มี Deductible จะช่วยให้ประหยัดเบี้ยได้ถึงหลักล้านบาท และทำให้การวางแผนเกษียณสำหรับเบี้ยประกันสุขภาพง่ายขึ้นได้

สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อนเลือกแผน Deductible

สิ่งสำคัญของการเลือกแผนแบบมี Deductible นั้นคือ ทั้งการเตรียมการรับมือกับค่า Deductible ที่ต้องจ่าย และ การทำให้โอกาสที่ต้องแอดมิตนอน รพ. น้อยลง ดังต่อไปนี้

  • ใช้ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุและถูกทำร้าย (อบ3 ฆจ3) วงเงินอย่างน้อย 1 แสนบาทต่ออุบัติเหตุ สำหรับช่วยจ่ายค่ารับผิดส่วนแรกกรณีแอดมิตด้วยการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (โดยเฉพาะกับแผน 50 ล้าน + Deductible)
  • ใช้ประกันโรคร้ายแรง สำหรับจ่ายค่ารับผิดส่วนแรกกรณีแอดมิตด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง (สำหรับเสริมภาวะวิกฤตที่ได้รับจาก Prestige Health ปลดล็อค)
  • ใช้วงเงิน OPD ที่ได้ (หากเลือกแผนที่มี โดย OPD จะไม่ต้องจ่ายรับผิด) รักษาก่อนที่จะป่วยหนัก โดยหากใช้วงเงิน OPD ในการรักษาแต่เนิ่น ๆ  บางที่ค่ารักษา OPD อาจจะสูงกว่าค่ารับผิดได้ด้วย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เลือกอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำแต่ไม่หักโหม เพื่อป้องกันการแอดมิตด้วยโรค Simple disease
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ รักษาสุขภาพให้ดี หากเป็นอะไรพยายามรักษาด้วย OPD แต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่ารับผิดส่วนแรกได้ 
  • การเข้าทำงานกับบริษัทที่มีประกันกลุ่ม
  • อายุ 55-65 สามารถตัดสินใจอีกทีได้ว่า จะเอา Deductible ออก หรือเก็บไว้ โดยพิจารณาจากผลการสุขภาพต่าง ๆ

สรุป : แผน Deductible ทำขึ้นมา มีจุดประสงค์เดียวกับแบบประกันสุขภาพที่มีการให้ส่วนลดเบี้ยประกันหากมีเกณฑ์สุขภาพแข็งแรง หรือมีการเดินการออกกำลังครบตามที่กำหนด เพียงแต่แผน Deductible จะให้ส่วนลดเบี้ยประกันตั้งแต่แรก โดยหากไม่ต้องการให้ส่วนลดนั้นหายไปกับการจ่ายค่ารับส่วนแรก ก็จะต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดีที่สุดนั่นเอง ซึ่งการได้ส่วนลดก่อนก็ช่วยทำให้ประหยัดได้ทันที โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถิติและประสบการณ์ของคนใกล้ตัว คนในครอบคร้วสำหรับการแอดมิตนอน รพ. แล้ว

ข้อสังเกตุ : แม้ไม่ได้เลือกแผน Deductible แต่การรักษาสุขภาพก็เป็นเรื่องสำคัญอยู่ดี เพราะการนอน รพ. ไม่ใช่เรื่องสนุก ถึงแม้จะไม่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรกก็ตาม ดังนั้นบางทีแล้วการมี Deductible อาจเป็นข้อดีสำคัญที่ช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพได้อีกทาง

บทสรุปควรเลือก มี/ไม่มี Deductible

ต้องยอมรับว่าในช่วงอายุก่อนเกษียณ โดยเฉพาะผู้ที่มีประกันกลุ่มที่มีค่ารักษาค่าผ่าตัดอย่างน้อย 50,000 บ. ขึ้นไป การเลือกแผนที่มี Deductible จะช่วยให้ประหยัดเบี้ยรวมได้ถึงหลักแสนบาท หรือแม้แต่ไม่มีประกันกลุ่ม การเลือกแผน Deductible ก็ยังน่าสนใจ เมื่อพิจารณาจากสถิติการเป็นผู้ป่วยในของอายุ 15-59 ปีที่มีเพียง 15% และยิ่งหากคนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัวแทบไม่เคยแอดมิต รพ. เลย ก็ยิ่งทำให้แผน Deductible น่าสนใจขึ้นไปอีก 

นอกจากนี้การเลือกแผน Deductible ยังช่วยให้ได้ใส่ใจกับการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้นแม้ภายหลังการทำประกันสุขภาพไปแล้ว และทำให้เริ่มได้ฝึกการออมเงินสำรองฉุกเฉินไว้สำหรับจ่ายรับผิดส่วนแรกนี้ จนเรียกได้ว่า ออมเงินหลักหมื่นเพื่อประหยัดเบี้ยหลักแสน หรือแม้แต่การได้เริ่มฝึกออมโดยจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยของแผนไม่มี Deductible เพียงแต่ส่วนลดเบี้ยที่ได้จากแผนที่ มี Deductible จะนำมาเก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉินแทน (เบี้ยจ่ายก็หมดไป แต่เงินสำรองหากไม่แอดมิตก็จะยังอยู่เหมือนเดิม) หรือการฝึกนำเงินคืนภาษีที่ได้จากการลดหย่อนมาออมสำหรับค่ารับผิดนี้

อย่างไรก็ตามแผนที่ ไม่มี Deductible ก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับผู้ที่หลังทำประกันสุขภาพแล้วมีแนวโน้มต้องใช้ร่างกายและสภาพจิตใจอย่างหนักในการทำงาน หรือผู้ที่ใช้ร่างกายมาอย่างหนักแต่ยังไม่มีประวัติการรักษาหรือผลตรวจสุขภาพที่จะแสดงความผิดปกติให้เห็น (ทำให้ยังสามารถทำประกันสุขภาพได้โดยไม่มีปัญหา) และภายหลังทำประกันสุขภาพก็ยังจะคงใช้ร่างกายอย่างหนักเหมือนเดิม (แต่ถึงไม่ต่างจ่ายรับผิด การป้องกันก็ยังดีกว่าการรักษาเสมอ เพราะเงินค่ารักษาไม่สามารถเรียกสุขภาพที่ดีกลับมาได้เสมอไป)

ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจะเริ่มเห็นได้ชัดตอนอายุ 55-65 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่บริษัทเปิดให้ตัดสินใจอีกครั้งว่าจะเลือกแผนที่ มี/ไม่มี Deductible ได้อีกครั้ง โดยไม่มีการพิจารณาหรือนับระยะรอคอยใหม่ (ช่วงอายุ 61-98 ปี เป็นช่วงอายุที่ได้รับส่วนลดเบี้ยจากแผนที่ มี Deductible รวมกันถึงหลักล้านบาท)

ดังนั้นการตรวจสุขภาพให้ละเอียดที่สุดในช่วงอายุ 55-65 ปีนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเป็นแผน มี/ไม่มี Deductible ซึ่งหากดูแลร่างกายมาอย่างดี ย่อมมีแนวโน้มที่จะประหยัดเบี้ยรวมได้หลักล้านจากการมั่นใจที่จะเลือกแแผนที่มี Deductible (และพอเลือก Deductible แล้วย่อมทำให้ต้องดูแลสุขภาพโดยไม่ประมาทได้ต่อไปอีกด้วย)

และนี้คือบทสรุปสำหรับแผนประกันสุขภาพยุคปัจจุบันและยุคใหม่ต่อจากนี้ ที่บริษัทประกันจะเน้นให้ผลประโยชน์กับแผนที่มี Deductible มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายของบริษัท และเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ทำประกันเอง

การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง

เริ่มขึ้น..เมื่อ

เข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงิน

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก