รักษาหาย! มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ข่าวดีของผู้หญิงทั้งประเทศ

งานวิจัยล่าสุด! การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้หญิงเราที่วันนี้มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายได้ด้วย "วิธีภูมิคุ้มกันบำบัด" ทำไมต้องตื่นตัว? ก็เพราะ มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายแรงที่ ผู้หญิงไทยเป็นมากที่สุด และครึ่งหนึ่ง “เสียชีวิต” และคนไม่มีเต้านมอย่าง “ผู้ชาย” ก็เป็นได้นะคะ! ซึ่งในปี 2557 มีชายไทยเป็นมะเร็งเต้านม 162 คน (ข้อมูลจากกรมการแพทย์)

เดิมทีวิธีรักษามะเร็งเต้านม คือ การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออกโดยตัดเต้าทิ้งไปเลยเพื่อป้องกันการลุกลาม การทำคีโม การรักษาด้วยฮอร์โมน และการฉายแสง แต่ด้วยนวัตกรรมล่าสุด ไม่จำเป็นถึงต้องตัดเต้านมอีกต่อไป! เพราะสามารถรักษาเฉพาะจุดไป เป็นจุดไหนรักษาจุดนั้น หรือจะแพทย์จะเลือกรักษาให้แบบไหน ขึ้นอยู่กับระยะและลักษณะโมเลกุลของมะเร็งค่ะ

จริง ๆ แล้ววิธีการรักษาแบบ Immunotherapy มีมาสักพักแล้ว แต่มักใช้ไม่ค่อยได้ผลกับมะเร็งเต้านมแบบ triple-negative และยังมีวิธีการรักษาแบบพุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่ดีกว่า แต่เรื่องค่าใช้นั้นสูงมากๆ ดังนั้นเมื่อเจ้าก้อนความเสี่ยงยังคงวนเวียนในชีวิตผู้หญิงทั่วโลกและหญิงไทยมากที่สุด นักวิจัยจึงต้องเร่งหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลโดยเร็วที่สุด ในราคาที่ย่อมลงมาหน่อย!

และข่าวดี ข่าวใหญ่! หลายงานวิจัยล่าสุด มีการทดลองรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย และพบว่าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกับบำบัด สามารถรักษามะเร็งเต้านมได้!

เมื่อต้นปี 2019 ทาง FDA ของสหรัฐฯ ได้เร่งอนุมัติการรักษาด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเฉพาะที่และผ่าตัดไม่ได้เป็นครั้งแรก โดยใช้ยา atezolizumab (หรือชื่อการค้าคือ Tecentriq) ร่วมกับการทำคีโม 

ผลลัพธ์ที่ได้ในตอนนั้น ได้ประสิทธิผลอย่างยิ่งและพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเฉพาะที่ หายจากมะเร็งและเมื่อตรวจซ้ำมากว่า 3 ปี ก็ไม่พบเซลล์มะเร็ง...แบบนี้ไชโยกันได้เลย!

ค่ายา

ต้องยอมรับว่า ยาใหม่ที่ดีกว่าเดิมนี้มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่แสนจะหนักหน่วง ซึ่งมีรายงานจากสำนักข่าว Associated Press ว่า เจ้ายา atezolizumab ตัวนี้ ต้องใช้เงินประมาณ 13,400 เหรียญต่อเดือน หรือประมาณ 402,000 บาท

และเมื่อต้องนำเข้ายาชนิดนี้มารักษาผู้ป่วยมะเร็งในไทย คิดว่าค่ายาจะเท่าไหร่กัน? ยอมรับเลยว่าราคาแพงมากค่ะ ราคาหลอดหนึ่งเกือบ 200,000 บาท และก็ยอมรับว่าสิทธิรักษาฟรีที่พวกเรามี ก็คงไม่ครอบคลุมแน่นอน และถ้าจำต้องเลือกการรักษาทางนี้ เราก็ต้องรับค่าใช้จ่ายนี้เองทั้งหมด โดยฉีดเดือนละ 2 ครั้ง หรือสามสัปดาห์ครั้ง จนกว่าจะหาย บางคนรักษายาวนาน 4 ปี ก็มี! แต่ต้องขอบคุณทางทีมแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ที่ได้ทำการวิจัยยาภูมิคุ้มกันบำบัดนี้จนสำเร็จ ทำให้ค่ายาลดลงมามากพอสมควรค่ะ

แล้วเคยคิดเหมือนกันไหมค่ะว่า.. ทำไมค่ารักษาโรคร้ายถึงต้องใช้เงินเยอะมากขนาดนี้? มันยิ่งตอกย้ำให้เรารู้ว่า ชีวิตนั้นมีค่ามากจริง ๆ (ยิ่งตอนที่เจ็บป่วย ค่าของชีวิตเรายิ่งสูงมาก)

ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับโรคร้าย หากปล่อยให้เป็นเรื่องของเวรของกรรม และถ้าคิดแบบนี้ได้ มันก็แค่นั้นจริง ๆ ค่ะ คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย สัจธรรมของชีวิต นี่ก็พยายามท่องอยู่ตลอด เกิด แก่ ตาย แต่ไม่อยากเจ็บเลยพูดตรง ๆ เพราะไม่มีเงินมากขนาดนั้น แถมมันไม่เรียงลำดับกับพวกด้วยสิ อยากจะเจ็บตอนไหนก็ได้ ไม่บอกเราซักกคำ!!! 

และตอนที่กำลังนั่งอ่านงานวิจัยต่างชาติเกี่ยวกับยาภูมิคุ้มกันบำบัด แอนนี่เลื่อนไปอ่านคอมเมนต์ เพราะอยากรู้ว่าต่างชาติมีความคิดเห็นยังไงกันบ้าง? ทุกคนดีใจนะที่ทุกวันนี้มีการพัฒนาการรักษาอยู่เสมอ และเจอคอมเมนต์หนึ่งเขาพูดว่า

"ยาดีขนาดนี้ แล้วใครจะจ่ายค่ายาให้เรา?"  และแฟนเพจคนหนึ่งมาตอบว่า  "ค่ายาแพงระดับนี้ คนที่จะต้องจ่ายให้เราคือ บริษัทประกัน"


วิธีเลือกประกันสุขภาพอย่างไรไม่ให้โดน "ป้ายยา" ด้วยคำโฆษณา?

โอกาสดี ๆ นี้ เป็นเรื่องที่ควรรีบคว้าโดนด่วน! โดยเฉพาะการเลือกซื้อประกันตอนที่ยังมี "ประวัติสุขภาพดี" เพราะคือหัวใจหลักของการทำประกันที่ดี ที่ไม่อิงโฆษณา

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก