5 หมอสูติ-นรีเวชที่สาวออฟฟิตควรต้องติดตาม

เพราะเกิดเป็นผู้หญิง จึงมีแต่...ความเสี่ยง!

ภาพลักษณ์ภายนอกของผู้หญิงทุกคน ล้วนมีเอกลักษณ์ความสวยความงามในแบบของตัวเอง ความสวยที่ทุกคนสามารถกำหนดได้ หรือแม้แต่ความชราที่ปัจจุบันนี้ สามารถชะลอได้เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์

แต่ภายนอกที่เราเห็นนั้น จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ภายในผู้หญิงไม่มีสิ่งผิดปรกติแอบซ่อนอยู่!

เรื่องของผู้หญิง ที่ใคร ๆ ไม่มีวันเข้าใจ

นอกจากเรื่องของอารมณ์ที่มีความฉุนเฉียว ความเครียด ความอ่อนไหวก่อนมีประจำเดือนแล้ว ผู้หญิงยังอาจต้องเจอกับอาการอีกหลายอย่างที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ และต้องทนอยู่กับมันไปจนถึงวัยทอง

ดูแลตัวเองให้ดี ให้เสี่ยงน้อยลงเพราะ ผู้หญิงเรานั้นอาจมี...

  • อาการปวดท้องน้อย บางคนปล่อยผ่าน แต่จริงแล้วอาจจะเป็น“ช๊อกโกแลตซีส” ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง!! ต้องรักษาไปนานจนวัยทอง (หมอออ) แต่หากไม่ต้องการโดนผ่าตัดซ้ำแล้วซ้ำอีก... มันก็มีวิธีให้ปฏิบัติตาม
  • เลือดออกกระปริบกระปรอย เป็นๆ หายๆ เมนส์ก็มาปรกติ ซึ่งอาจเป็นติ่งเนื้อโพรงมดลูก หากเจอแล้วทำไงต่อ?
  • รังไข่เสื่อมก่อนวัย วัยทองก่อนวัยอันควร แล้วจะรู้ได้ยังไง?
  • มะเร็งโพรงมดลูก อายุน้อยสุดที่หมอเจอคืออายุ 23 ปี เป็นไปได้อย่างไร?
  • มะเร็งรังไข่ ซึ่งมักมีอาการพบบ่อย คือ “อืดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย” แล้วไปรักษาผิดทาง คิดว่าเป็นโรคกะเพาะลำไส้!!
  • เนื้องอกมดลูก ในวัย 29 ปี ทั้งๆ ที่ ผอม ไม่มีพุงยื่น ไม่ปวดประจำเดือน (มาตรงรอบ) ซึ่งในคน 1,000 คน จะมี 1 คนที่เป็นมะเร็ง
  • "เดอร์มอยด์ ซีส" ที่ภายในมีเส้นผมและฟัน กินยารักษาไม่หายแน่นอน ต้องผ่าตัดสถานเดียว
  • อาการปัสสาวะบ่อย ปนเลือด เพราะโดน "ถุงน้ำไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ" สรุปเป็น ช๊อกโกแล๊ต ซิส
  • ลักษณะอ้วน ประจำเดือนที่แวะมาประจำปี ปรากฏว่าเป็น "พีซีโอ หรือ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ"
  • อีกหลาย ๆ อาการที่ผู้หยิงเราต้องเผชิญ

แต่ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวล! แอนนี่มี 5 แพทย์สูติ-นรีเวช มาแนะนำให้ผู้หญิงทุกท่านกดติดตามไว้ค่ะ

รับรองว่าจะได้ข้อมูลสาระที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคภายในผู้หญิง (ช่องท้องช่วงล่าง) และขอเตือนเลยนะคะว่า ถ้าใจไม่แข็ง อย่ากดเข้าไปดูข้อมูลคุณหมอ เพราะภาพที่คุณจะได้เห็นนั้น มันของจริง!!!

แพทย์สูติ-นรีเวช ยอดนิยมและควรติดตาม

นพ.อรัณ ไตรตานนท์ : มะเร็งและนรีเวชวิทยา

หมออรัญ ท่านนี้เป็นขวัญใจของแอนนี่ด้วยค่ะ นอกจากจะได้ความรู้ลึก รู้จริงและเห็นภาพกันชัดเจน เกี่ยวกับเรื่องของผู้หญิงแล้ว ยังจะได้ความตลกขบขันจากหมออรัญที่เป็นคนอารมณ์ดี หมอที่แอบบ่นนิด ๆ แต่โคตรใจดี จิตใจดี ไม่เชื่อต้องลองติดตามค่ะ (บันเทิงมากค่ะ)

ช่องทางติดตามข้อมูล

ติดต่อพบแพทย์

  • โรงพยาบาลสุขุมวิท BTS เอกมัย โทร. 02-391-0011
  • โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 02-271-7000
  • โรงพยาบาลตำรวจ

เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชและมะเร็งวิทยา

หมออรัญ แกคอยเตือนให้ผู้หญิงเราหมั่นตรวจสุขภาพ หรือเช็คร่างกายทันทีเมื่อพบความผิดปกติ บางคนกลัวหมอ บางคนกลัวเรื่องค่าใช้จ่าย หมออรัญแนะนำว่า "อย่ากลัวค่ะ" ให้รีบตรวจใช้สิทธิ์บัตรทอง/ประกันสังคม ก็ได้ค่ะ

ตัวอย่างโพส หมออรัญ

งง!! คุณหมอพูดไม่ตรงกัน

คนไข้อายุ 27 ปีครับ ทราบอยู่แล้วว่ามีเนื้องอกมดลูก 10 ซม. แต่ไม่มีอาการใดใด สบายดี!

คุณหมอท่านแรกแนะนำให้ผ่าตัดเลาะเนื้องอกออกจากมดลูกก่อนตั้งครรภ์ เพราะถ้าตั้งครรภ์จะเสี่ยงแท้งลูก

คุณหมอคนที่สองแนะนำให้ตั้งครรภ์ไปเลย ไม่ต้องผ่าตัดเพราะเสียเวลา และเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ยากขึ้น

รพ. เอกชน แพงเกินคนไข้จ่ายไม่ไหว

ผมก็และชวนไปผ่าตัดที่ รพ. ที่ราคาไม่แพงและรับประกันสังคม

>> อ่านต่อ กด!


ใจไม่แข็งอย่าเข้ามาอ่าน

คนไข้สาวน้อย อายุ 27 ปี มีถุงน้ำรังไข่ 32 ซม. เคยผ่าตัดคลอดมาสองครั้ง ทำหมันไปแล้ว ลูกคนเล็กสี่ขวบเท่านั้น วันนี้เธอจากไปแล้ว!

เธอมีอาการอืดแน่นท้อง อิ่มง่าย
กินอะไรไม่ค่อยลง อาเจียนง่าย
ถ่ายอุจจาระลำบาก แต่ปัสสาวะบ่อยขึ้นมาก หน้าท้องยื่น แต่น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ  ผมยังคุยกับเธอเรื่องรถยนต์ไม่จบเลยครับ เสียดายเธอจากไปแล้วครับ!

คุณดารากับสามีได้สอบถามค่าผ่าตัด ประเมินได้ 180,000 บาท แต่เสียดายไม่มีประกันสุขภาพ

>> อ่านต่อ กด!

เศร้านะครับ โพสต์นี้

คนไข้เพิ่งแต่งงาน แต่อาจต้องตัดมดลูก! คนไข้อายุ 29 ปี ผมผ่าตัดไปเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน2563
รายนี้สูง 160 น้ำหนัก 48 กิโลกรัมครับ ผอม ไม่มีพุงยื่น คนไข้เพิ่งแต่งงานได้หนึ่งปี ไม่มีอาการใดใด

เธอมีอาการปัสสาวะบ่อย และถ่ายลำบาก ถ้าตัดมดลูกออก
อาการที่ว่ามาจะดีขึ้น คนไข้ดีใจที่รักษาได้ แต่...

คนไข้ร้องไห้ไปหลายวัน สามีก็เสียใจแต่ก็ให้กำลังใจ อยู่ด้วยกันแบบไม่ต้องมีลูกก็ได้นะ

คนไข้ร้องกรี๊ดดดดดด!!!

>> อ่านต่อ กด!

ต่อไปเป็นคุณหมอคนสวย ที่หากใครได้ฟังเสียงแล้ว จะรู้สึกชอบไปโดยไม่รู้ตัวกันเลยค่ะ

พญ.กรพินธุ์ รัตนสัจธรรม

หมอกรพินธุ์ หรือหมอออ คนสวยท่านนี้ มีความเป็นกันเองและให้ข้อมูลตรงไปตรงมามาก ๆ ค่ะ คุณหมอมีให้คำแนะนำเยอะมาก ๆ เกี่ยวกับโรคในผู้หญิง แนะนำให้ติดตามหมอออไว้ค่ะ

คุณหมออกตรวจที่ รพ.สมิติเวช ชลบุรี สามารถโทรนัดที่เบอร์ 033-038924

คุณหมอออ จะเน้นโพสคลิปอธิบายสั้น ๆ กระชับ และเข้าใจง่ายค่ะ คุณหมอออจะย้ำเสมอว่า ถ้ามีอาการผิดปรกติเกิดขึ้นในผู้หญิง อย่าชะล่าใจคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก เดี๋ยวก็หาย! ให้รีบพบแพทย์ตรวจดูอาการที่แท้จริงค่ะ

นพ.ภาคภูมิ เตชะยะวนิชกุล

หมอเต้ สร้างเพจมาเพื่อ อยากจะเล่าเรื่องราว รวมถึงตอบคำถามที่สงสัย ด้านสุขภาพและแชร์ไลฟ์ไตล์ ในเพจหมอเต้จะมีทั้งเรื่องราวเคสคนไข้ ความรู้แนะนำผู้หญิงเกี่ยวกับโรคภายในช่องท้อง กดติดตามไว้ค่ะ

คุณหมอเต้ออกตรวจที่สูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ ยังไงก็ลองติดต่อนัดหมายได้ค่ะ

ตัวอย่างโพสความรู้ของหมอเต้

ถุงน้ำรังไข่

เชื่อไหมครับว่า คนเราสามารถมีถุงน้ำรังไข่ อยู่ภายในช่องท้องขนาดถึง 35 เซนติเมตร

ผู้ป่วยท่านนี้อายุ 45 ปี ท้องโตมากขึ้นมา 4-5 เดือน เนื่องจากคิดว่าตนเองนั้นอ้วน ลงพุง จึงไม่ได้มาพบแพทย์ แต่ด้วยความที่ประจำเดือนเธอมาผิดปกติในเดือนนี้ จึงมาตรวจ และเราก็ได้พบกันครับ 

ถุงน้ำรังไข่มีหลายชนิด บางท่านเรียก เนื้องอกรังไข่

รังไข่ของคนเรานั้น ขนาดเพียง 3x2x1 เซนติเมตร เท่านั้นครับ แต่เมื่อมีความผิดปกติ สามารถใหญ่ จนสะสมน้ำภายในได้มากกว่า 10 ลิตรครับ

นับสนุนให้ตรวจภายในประจำปี หรือเร็วกว่านั้นถ้ามีอาการผิดปกติครับ

ดูวิธีการรักษา >>

ถุงน้ำรังไข่ 2

ไทรอยด์ในรังไข่ (Struma ovarii)

รังไข่หน้าตาแบบนี้ เหมือนมะเร็งมาก แต่คนไข้ท่านนี้โชคดี ไม่ได้เป็นมะเร็งครับ แต่พบว่าเป็น “ไทรอยด์ในรังไข่” ครับ

อะ...คืออะไร จะมาเล่าให้อ่านกันครับ เพราะเราพบไม่บ่อย

ส่วนมากคนไข้มักมาด้วยปวดท้องและคลำได้ก้อนครับ สุดท้าย....อาจมีคำถามว่า ต่อมไทรอยด์ต้องอยู่ที่คอสิ มาอยู่ที่รังไข่ได้ไง ตอบว่า ได้ครับ เพราะรังไข่เป็นเซลล์พิเศษ หรือ specialized cell สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่างๆในร่างกายของเราได้ ถ้าเกิดความผิดปกติครับ

ดูวิธีการรักษา >>

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์

หมอโอ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในหญิงสาวมีเมนส์" ความผิดปกติของผู้หญิง คงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หมอโอท่านนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิง โดยนิยม Live ผ่านเฟสบุค และมีวิดีโอความรู้ทางช่องยูทูปด้วย ยังไงกดติดตามไว้ค่ะ

ปัจจุบบันคุณหมอออกตรวจที่ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ค่ะ

ตัวอย่างความรู้จากหมอโอ

ติดตามไว้มีแต่ได้สาระความรู้ จากประสบการณ์จริงซึ่งหาจากไหนไม่ได้อีกแล้วค่ะ มาดูอีกท่านสุดท้ายค่ะ

พญ.พัทธนันท์ มัตตะธนาพันธ์

หมอเล็กคนสวยท่านนี้ให้ความรู้ และ คำแนะนำ ด้านสุขภาพสตรี ซึ่งถ้าได้เข้าไปดูในเพจจะเห็นว่าข้อมูลเพจหมเล็กเยอะมาก ๆ และมีภาพประกอบสวย ๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยค่ะ กดติดตามหมดเล็กไว้นะคะ

นอกจากนี้ หมดเล็กยังมีไปร่วมแชร์ความรู้กับช่องอื่นบ้าง เช่น SPECTRUM หากใครติดตามช่องนี้อยู่ก็น่าจะได้ความรู้จากหมอเล็กอยู่บ้าง

ตัวอย่างโพส หมอเล็ก

มะเร็งไข่ปลา

โรคครรภ์ไข่ปลาอุก แค่ได้ยินชื่อก็งงแล้วล่ะสิ ตอนหมอเป็นนักศึกษาแพทย์ได้ยินชื่อโรคนี้ครั้งแรกก็ถึงกับงงๆเหมือนกันว่า ไข่ปลาอุกคืออะไร?


ฮือๆ ฟังแล้วอยากร้องไห้ จริงๆแล้วหมอก็พูดภาษาไทยอยู่น้า แต่ด้วยบางทีชื่อโรคหลาย ๆ โรคก็แปลมาจากภาษาอังกฤษ พอมาพูดเป็นภาษาไทย ก็งงกันไปเลย

อ่านเพิ่มเติม >>

ฮอร์โมนเพศชายสูง

สาวๆคนไหนเคยได้ยิน คนพูดว่า ไม่มีประจำดือนเพราะฮอร์โมนพศชายเยอะกันบ้างมั้ย ถ้าคำตอบคือเคย สาวๆ รู้จักฮอร์โมนนี้ มากน้อยแค่ไหน ลองมาทำความเข้าใจมันสักหน่อย ดีมั้ยคะ

ในเพศหญิง ฮอร์โมนนี้ถูกสร้างที่รังไข่ และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงต่อไป

ฮอร์โมน testosterone ในผู้หญิง มีหน้าที่ในการสร้างกระดูก ควบคุมระบบสืบพันธุ์ และควบคุมอารมณ์ทางเพศ

อ่านเพิ่มเติม >>

หากใครได้กดติดตามคุณหมอทั้งหมดนี้ อย่าเครียดกันนะคะ ที่บอกดักไว้ก่อนเพราะแอนนี่เคยเครียดและกังวลไปหมด เพราะอาการต่าง ๆ ที่คุณหมอแต่ละท่านกล่าวถึง บางครั้งมันก็เหมือนเคยเกิดขึ้นกับเรา

อย่าไรแล้ว อยากเตือนให้สาว ๆ หรือคุณผู้หญิงทุกคน "อย่าประมาท" การใช้ชีวิต ควรหมั่นใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเอง และถ้าเกิดความผิดปรกติใด ๆ กับร่างกาย อย่าปล่อยทิ้งไว้และคิดไปเองว่า มันจะหายเอง! เพราะบางทีมันอาจเป็น สัญญาเตือนอะไรบางอย่าง ที่กำลังก่อตัวขึ้นในร่างกายเราก็ได้ค่ะ

เพราะเรื่องเพศหญิง เป็นอะไรที่ซับซ้อนยากเกินจะทำความเข้าใจง่าย ๆ

บางคนพบอาการผิดปรกติเกิดขึ้นกับตัวเองจริง เช่น ปวดท้อง แต่ไม่กล้าไปหาหมอเพราะกลัวเรื่องค่ารักษา จริง ๆ ตามที่คุณหมออรัญ (ท่านแรก) แนะนำ อย่ากลัวค่ะ! และอย่าคิดแบบนั้นเลย คนไทยเรายังมีสวัสดิการสิทธิ์บัตรทอง ที่สามารถรักษาฟรีในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ หรือบางคนที่มีสิทธิ์ประกันสังคม ก็ใช้สิทธิ์นี้ได้เลยค่ะ

ปัญหาเรื่องจ่ายส่วนต่างนั้นพอมีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากจนเกินไป เช่น

  • กรณีที่ต้องผ่าตัดส่องกล้อง สิทธิ์รักษาฟรีต่าง ๆ นี้อาจจะไม่คุ้มครอง ซึ่งเราสามารถจ่ายเองตรงส่วนนี้ได้ หรือ
  • กรณีที่ต้องใช้กรรไกรไฟฟ้าในการผ่าตัด สิทธิ์รักษาก็อาจจะยังไม่คุ้มครอง ส่วนต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ตรงนี้เราสามารถจ่ายเองได้ค่ะ

หากใครตรวจพบว่าตัวเองมีปัญหา เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกในมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก ถ้ามีประกันสุขภาพ สามารถติดต่อนัดแพทย์ผ่าตัดได้เลยค่ะ โดยไม่ต้องรอคิว แอนนี่แนะนำให้ตรวจเช็คสิทธิ์ความคุ้มครองค่ารักษาส่วนนี้ก่อนรักษาค่ะ

สามารถเลือกดูคู่มือการจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ที่นี่

5 ความเสี่ยงที่ชีวิตสู้กลับได้ทุกเมื่อ และจะกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของครอบครัว ซึ่งไม่คุ้มที่จะแก้ไขด้วยเงินเก็บและสินทรัพย์ที่หามาอย่างยากลำบากเพียงอย่างเดียว

แต่ควรศึกษาทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินให้มาทุ่นแรงช่วย ซึ่งจะประหยัดและทันการณ์ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามหากเลือกใช้เครื่องมือโดยขาดความรู้ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกหลอกหรือใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการได้ ดังนั้นคู่มือด้านล่างนี้ทางเราจึงจัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยตรง ดังต่อไปนี้

2 แผนกระจายรายได้ตอนเริ่มต้นทำงาน 1
6 รายได้ในตอนเกษียณ 1

คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงด้านความมั่งคั่ง

RELEASE WEALTH RISKS

คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ

RELEASE HEALTH RISKS

คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงตอนเกษียณ

COMING SOON..

คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงของเงินเฟ้อ

COMING SOON..

คู่มือเครื่องมือการเงินจัดการความเสี่ยงภาษีส่วนบุคคล

COMING SOON..

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก