ประกันสุขภาพคืออะไร กับ 4 สิ่งที่ต้องเข้าใจ

ประกันสุขภาพคือ การที่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งมาร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงภัยค่ารักษาร่วมกัน ในภัยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่มีค่าใช้จ่ายด้านค่ารักษาที่สูงมากและไม่ควรที่จะหาหรือกันเงินจำนวนมากเพื่อรับความเสี่ยงไว้เองตามลำพัง

เพื่อให้เห็นถึงที่มาที่ชัดเจนมากขึ้น และเช้าใจถึงปัญหาที่ตามมาจากการเฉลี่ยภัยลักษณะนี้ แอนนี่จึงได้สรุปออกมาเป็นนิทานดังต่อไปนี้


4 สิ่งที่ต้องเข้าใจ ประกันสุขภาพคืออะไร

แอนนี่เป็นคน ๆ หนึ่งที่เคยโดนคำโฆษณาของบริษัทประกันหลอกให้เข้าใจผิดไปเองหลายเรื่อง เคยต้องสูญเงินให้กับความเข้าใจผิดและความเกรงใจตัวแทนประกันไปฟรี ๆ หลักแสนบาท เพื่อมาค้นพบว่าแผนประกันที่เราพยายามเปรียบเทียบตามคำโฆษณาที่แต่ละบริษัทแข่งขันกันนั้นไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ

ทำให้เข้าใจผิดว่าบริษัทจะเป็นคนคุ้มครองเรา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นเลยค่ะ ซึ่งข้อมูลที่คอยช่วยอธิบายเรื่องเหล่านี้ แอนนี่ไม่สามารถหาได้จากเว็บไซต์หรือจากตัวแทนประกันได้ง่าย ๆ ทั้งในสมัยก่อนหรือแม้แต่ในสมัยปัจจุบัน สุดท้ายต้องไปทำการวิเคราะห์และศึกษาเองรวมถึงสอบถามผู้รู้โดยตรง

ด้วยเหตุนี้แอนนี่จึงได้ตัดสินใจเขียนบทความที่ค่อนข้างยาวมากนี้ขึ้นมา โดย แอนนี่อยากให้ท่านอ่านและพิจารณานิทานเรื่องนี้ดูว่า ท่านเห็นปัญหาใดอยู่ในวิธีการที่หมู่บ้านนี้ใช้อยู่บ้างค่ะ???

1. ที่มาของประกันสุขภาพ ใครกันที่คุ้มครองเรา




  • ลูกบ้านทุกคน สามารถมาแชร์ความเสี่ยงร่วมกัน "ต่อสู้ร่วมกัน" แทนการรับความเสี่ยงตามลำพังได้
  • วิธีนี้ยังช่วยรับประกันได้ว่า ลูกบ้านที่ป่วย จะมีเงินค่ารักษาแน่นอน
  • วิธีนี้ช่วย คลายกังวล และ สร้างความสบายใจ เรื่องการเงินอย่างมากเมื่อเทียบกับต่อสู้เพียงคนเดียว
  • คนที่ช่วยคุ้มครองลูกบ้านไม่ใช่ผู้ใหญ่บ้าน แต่คือทุกคนที่มาต่อสู้ร่วมแชร์ความเสี่ยงด้วยกัน

ซึ่งกลไกการร่วมสู้ด้วยกันนี้จริง ๆ คล้าย "การบริจาคเงิน"  แต่หากถึงคราวโชคร้าย คนบริจาคเกิดป่วยขึ้นมา คนบริจาคเอง ก็ยังได้รับเงินบริจาคนั้นด้วย!

2. ช่องโหว่ร้ายแรง ที่จะทำให้หมู่บ้านในนิทานนี้ ล้มละลาย!

  1. ถ้ามี ลูกบ้านคนใหม่ ย้ายจากที่ ๆ มีโรคระบาดหนักเข้ามาที่หมู่บ้าน ซึ่งส่งผลให้เสี่ยงเป็นโรคนี้มากเกินไป
  2. ถ้ามี ลูกบ้านบางคน เจตนาทำให้ตนเองป่วย (หลายครั้ง) เพื่อหวังเงินที่เหลือจากค่ารักษาได้
  3. ถ้า ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงติดโรคนี้ได้ง่ายกว่าคนอายุน้อย การเก็บเงินเท่า ๆ กันจะไม่เพียงพอต่อการรักษา

ด้วย 3 ช่องโหว่นี้ ทำให้แนวคิดการรับประกันในนิทานนี้จึงไม่เหมาะกับ โรคที่เจตนาทำให้เกิดขึ้นได้ หรือมีความเสี่ยงสูงมากที่ทุกคนจะติดโรค

เพราะจะทำให้ทุกคนไม่สามารถแชร์ความเสี่ยงร่วมกันได้เลยค่ะ

เนื่องจากทั้ง 3 ช่องโหวที่กล่าวมานี้ ย่อมทำให้เงินกองกลางมีไม่เพียงพอ และทำให้ ไม่สามารถรับประกันได้อีกต่อไปว่าคนป่วยจะมีค่ารักษาเพียงพอ แต่ทั้งนี้ก็พอจะมีหนทางแก้ไขช่องโหวนี้ได้ ดังนี้ค่ะ...

3.การคัดกรองคนและโรค "ทางออกจากการล้มละลาย!!"

  1. ก่อนจะรับลูกบ้านคนใหม่ ต้องซักประวัติก่อน! ว่าไม่ป่วยมาก่อนและต้องให้มี ระยะเวลาคัดกรอง ให้แน่ใจว่าพูดจริงก่อนให้เข้ามาแชร์ความเสี่ยงร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่า ลูกบ้านคนใหม่นี้ไม่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นไม่ใช่รับใครเข้ามาง่าย ๆ
  2. ลูกบ้านคนใดเจตนาทำให้ตนเองป่วยหรือ ป่วยบ่อยผิดปกติจะไม่ได้รับค่ารักษาและให้ย้ายออกจากหมู่บ้าน! และวางเงื่อนไขการจ่ายเงินกองกลางโดยจะจ่ายให้ เฉพาะโรคที่ไม่สามารถเจตนาทำให้เกิดขึ้นได้ มีโอาสเกิดขึ้นได้น้อย
  3. ลูกบ้านที่อายุมาก ต้องจ่ายเงินเข้ากองกลางมากกว่า ลูกบ้านที่อายุน้อย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คนเสี่ยงสูง ต้องจ่ายเงินมากกว่า คนเสี่ยงน้อย ค่ะ

จากวิธีแก้ไขจึงสรุปได้ว่า การจะรับประกันได้ ต้องมีการคัดเลือกทั้งภัยและคนที่จะมาเฉลี่ยความเสี่ยง และพยายามปิดช่องการทุจริตให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันเคสที่เจตนาทำให้ตัวเองป่วยได้ เพราะถ้าละเลยให้ช่องโหว่ทุจริตนี้มีอยู่เหมือนเดิม เงินกองกลางก็อาจไม่พอจ่าย จนต้อง คอยจับผิดและคัดคนทุจริตออกจากหมู่บ้านแทนค่ะ

จึงทำให้เห็นว่า การคัดภัยที่ดีและคัดคนร่วมภัยที่ดีของการรับประกันนั้น ต้องทำให้เป็น การมาร่วมแชร์ความเสี่ยงร่วมกันโดยแท้จริงและยุติธรรมต่อทุกฝ่าย

4.หนทางที่จะได้ได้สัญญาประกันที่ "ประหยัด" และ "ครอบคลุม"

จากข้อสรุปวิธีการอุดช่องโหว่ของเงินกองกลางหมู่บ้าน จะทำให้ท่านทราบได้ว่าผู้ใหญ่บ้าน หรือบริษัทประกันนั้นเองจะ "ไม่ชอบ" ทั้งคนและภัยที่ส่งผลกระทบต่อเงินกองกลางของทุกคนที่ร่วมรับภัยด้วยกัน แต่ในมุมมองของลูกค้าผู้ทำประกันจะเห็นตรงข้ามกับบริษัทค่ะ! ปัญหาเลยเกิดขึ้นจากจุดนี้

ประมาณว่า "ลูกค้าอยากให้บริษัทยอมรับภัยที่เกิดขึ้นบ่อยหรือเจตนาทำให้เกิดขึ้นได้ด้วย" เช่น อยากได้ค่าห้องราคาแพง ค่าทำคลอด ค่าทำฟัน ค่าตรวจสุขภาพ ได้กำไรคืนจากเบี้ยประกันที่จ่ายไป

โดยไม่ได้มองว่าจริง ๆ แล้วการจ่ายเบี้ยประกัน จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อได้กำไรจากเงินกองกลางของทุกคน แต่เพื่อร่วมกันต่อสู้ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการเงินขึ้นในกรณีที่เกิดภัยที่ไม่ปรกติกับใครคนใดคนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะสุ่มมาโดนใคร

แต่เมื่อลูกค้าอยากได้แบบนี้ บริษัทประกันจึงต้องปรับตัวและมอบในสิ่งที่ลูกค้า "อยากได้และอยากได้ยิน" มากกว่าที่จะ "มอบความเข้าใจ" ให้กับลูกค้า จึงทำให้เกิดการโฆษณา "รับประกันภัยที่ลูกค้าชอบ" ขึ้นมาภายใต้เบื้องหลังบางอย่าง หรือแลกกับ เบี้ยประกันที่สูงขึ้นมาก!! ที่ลูกค้ามองว่าเหมือนตนเองได้กำไร แต่หากวิเคราะห์ในระยาวแล้วอาจต้องสูญเงินเป็นล้าน

ลูกค้าไม่เคยได้เปรียบบริษัทประกัน เพราะบริษัทประกันมีสถิติและข้อมูลอยู่ในมือ ใครคิดสร้างปัญหาที่ผิดจากสถิตินี้หากไม่ขับออกจากหมู่บ้านก็ไม่ต่อสัญญาให้อยู่ในหมู่บ้านต่อไปก็เท่านั้น

"ปัญหาคือ ก็บริษัทไปโฆษณาว่าคุ้มครองภัยนั้น ๆ เต็มที่ ลูกค้าก็เลยใช้อย่างเต็มที่ ใช้ให้คุ้ม โดยไม่ระแวงเลยว่าจะโดนขับออกจากหมู่บ้านตอนไหน หรือจะถูกเรียกเก็บเงินส่วนกลางเพิ่มกว่า 2 เท่าในตอนใด"


บทสรุป

ประกันสุขภาพคืออะไร 

  • คือ การเข้าร่วมกลุ่มแชร์ความเสี่ยงรับความเสี่ยงสุขภาพร่วมกัน
  • โดยที่ความเสี่ยงสุขภาพนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งแต่สามารถทำให้เกิดหายนะทางการเงินได้
  • ไม่มีใครทราบว่าความเสี่ยงนี้จะเกิดกับใคร ก่อนหรือหลัง หรือ รุนแรงเท่าใด
  • การเตรียมเงินไว้รักษาล่วงหน้าอาจไม่ทัน หรือ เตรียมแล้วอาจไม่ได้ใช้ก็ได้ ไม่มีอะไรแน่นอนเลย
  • ทำให้การเข้าร่วมกลุ่มแชร์/รับความเสี่ยงร่วมกันจะปลอดภัยและแน่นอนกว่ามาก 
  • โดยต้องมีทั้งการคัดคนและคัดความเสี่ยงที่จะแชร์ร่วมกันอย่างยุติธรรม
  • ใครเสี่ยงกว่าคนอื่นตั้งแต่ก่อนเข้ากลุ่มก็ต้องจ่ายเงินกองกลางแพงกว่า หรืออาจไม่รับเข้ากลุ่ม
  • ใครเริ่มเสี่ยงกว่าคนอื่นหลังเข้ากลุ่มแล้ว ก็ต้องจ่ายเงินกองกลางสูงขึ้น หรืออาจถูกขับออกจากกลุ่ม
  • ความเสี่ยงสุขภาพส่วนใดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งและไม่ส่งผลต่อฐานะทางการเงินอย่างรุนแรง จะเป็นความเสี่ยงที่แชร์กันในกลุ่มได้ยาก บริษัทประกันไม่ชอบ และมักต้องจ่ายเงินกองกลางที่สูงมากในทุกปีเพืื่อแชร์ความเสี่ยงนี้กับตนเองในแต่ละช่วงอายุแทน

"วิธี RISK-BASED" จึงเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ท่านวัดค่าความชอบ/ไม่ชอบของบริษัทประกันในความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนประกันสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพ ที่มีเบี้ยที่ลดลงได้หลักล้าน แต่ยังคงป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติได้อย่างครอบคลุมค่ะ

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก