ประกันสุขภาพดูแลค่ารักษาใดได้บ้าง ตัวอย่างเคลมจริง

เรียน..  ท่านที่ต้องการเข้าใจหมวดความคุ้มครองของประกันสุขภาพ เพื่อใช้ในการเลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุม ขบวนการรักษาทั้งผู้ป่วยใน IPD และผู้ป่วยนอก OPD ที่จำเป็นให้มากที่สุด

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในการพิจารณาเลือกแบบประกันสุขภาพของผู้ที่จะทำประกัน คือ ผู้ทำประกันมักนึกภาพตามไม่ออกและไม่เข้าใจว่าหมวดความคุ้มครองของประกันสุขภาพ (มาตรฐานใหม่ปี 64) นี้ จะถูกใช้อย่างไร มีความสำคัญอย่างไร และมีข้อจำกัดอะไรบ้าง 

สุดท้ายผู้ทำประกันส่วนใหญ่จึงไม่รู้ว่า จะเลือกเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพอย่างไรดี และมักเลือกแบบประกันสุขภาพโดยพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้แทนความเข้าใจในสัญญา

เช่น วงเเงินเหมาจ่ายสูง ค่าห้องสูง มีค่าผู้ป่วยนอก เบี้ยที่อยู่ในงบ เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง และ ตัวแทนที่ดูน่าเชื่อถือ ดูเอาใจใส่ ขายดีมียอดขายสูงถึง MDRT (เพราะเข้าใจว่ายอดขายดีแสดงถึง การที่คนอื่น ๆ รับรองว่าดี) เป็นต้น

ซึ่งเมื่อไม่ได้เลือกแบบประกันจากความเข้าใจในสัญญาความคุ้มครอง จึงทำให้ทุกครั้งที่เข้า รพ. จะสงสัยเสมอว่าเป็นโรคนี้ แพทย์ตรวจรักษาแบบนี้ ในสัญญาจะคุ้มครองหรือไม่ หรือ ก็คือเป็นการซื้อเครื่องมือโดยที่ไม่รู้เลยว่า เครื่องมือนั่นทำอะไรได้บ้าง !?!

หรือ แม้แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ต้องความเข้าใจตั้งแต่ก่อนทำสัญญา อย่าง เงื่อนไขการสิ้นผลความคุ้มครอง ก็จะไม่ได้ทำความเข้าใจเลย ทำให้เมื่อเกิดการเคลมไม่ได้ หรือถูกยกเลิกสัญญา หรือไม่ต่ออายุสัญญา ก็จะเข้าใจว่าถูกหลอกแล้วส่งผลให้ ไม่ชอบประกัน ไม่ชอบตัวแทน ไม่ชอบบริษัทเป็นอย่างมาก

ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะ การทำสัญญาในรูปแบบที่อันตรายที่สุดในโลกการเงิน นั่นก็คือ การทำสัญญาด้วย ความเชื่อใจ กับด้วยเพียงเพราะ ตัวเลข

โดยผู้คนส่วนใหญ่มักจะเลือกทำประกันจากเพียง 2 ปัจจัยนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้สนใจถึงเงื่อนไขของสัญญาเลย จึงทำให้ตัวแทนประกันมักเน้นไปที่การสร้าง Personal Branding ให้ดูน่าเชื่อถือดูขายดี และ การนำเสนอเรื่องตัวเลขเป็นหลักอย่างเดียว (ซึ่งขายได้และขายดีด้วย) มากกว่าที่จะใช้เวลาในการนำเสนอข้อมูลเงื่อนไขของสัญญา ที่จะทำให้ผู้ทำประกันได้เข้าใจมากขึ้นและครบถ้วนที่สุดก่อนตัดสินใจเลือกแบบประกัน

เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ขายประกันได้ง่าย แล้วได้กลายเป็นคนที่ขายดีสามารถเสริม Personal Branding ขึ้นไปได้อีก 

ด้วยเหตุนี้ในวงการประกันจึงหาข้อมูลที่จะช่วยให้เข้าใจเงื่อนไขของความคุ้มครองได้ค่อนข้างน้อย (เมื่อเทียบกับ ข้อมูลตัวเลขจุดขายของแบบประกัน ข้อมูลรีวิว ข้อมูลยอดขายกับรางวัล และความสำเร็จของทีมงาน) ถึงแม้การให้ข้อมูลเงื่อนไขจะช่วยให้สามารถทำสัญญาได้อย่างสบายใจไม่มีระเบิดเวลาอยู่ทั้งใน ฝั่งผู้ทำประกัน และ ฝั่งตัวแทน ในระยะยาวก็ตาม 

แต่ในระยะสั้นถึงกลาง การเน้นอธิบายเงื่อนไขเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดนั้น ตัวแทนต้อง ลงทุน ลงแรง ลงเวลา เป็นอย่างมาก โดยรายได้ที่ได้รับจะสู้กับการเน้น Personal Branding และ เน้นเรื่องตัวเลข ไม่ได้เลย เพราะมีผู้ทำประกันเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สละเวลาทำความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกำลังจะซื้อหรือทำสัญญาระยะยาวนี้

อย่างไรก็ตามถึงแม้ผู้ทำประกันด้วยความเข้าใจอาจจะมีไม่มาก แต่ทาง Release your Risk เองก็ขอเลือกแนวทางนี้ เพราะจากประสบการณ์ของทางเราเมื่อได้แนะนำให้กับ ท่านที่ทำประกันด้วยความเข้าใจ จะทำให้เกิดความสบายใจในการทำสัญญาระยะยาวทั้ง 2 ฝ่ายเป็นอย่างมากจริง ๆ  

และทั้งหมดนี้เองจึงได้กลายมาเป็นบทความนี้ ที่จะทำให้ท่านได้เข้าใจสัญญาความคุ้มครองหมวดต่าง ๆ ตามสถานการณ์ตัวอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เห็นภาพตามได้ง่าย และสะดวกมากกว่าที่จะอ่านกรมธรรม์เองตรง ๆ

ซึ่งหากท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะสามารถเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ของท่านได้ง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะกับท่านที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในใน รพ. มาก่อน

ซึ่งทางเราได้สรุปออกมาดังรูปด้านล่าง รวมถึงรายละเอียดขยายความทั้งหมดตามลำดับเมื่อเกิดการเข้ารับการรักษาใน รพ .ดังต่อไปนี้

สรุปตารางการรักษา

เลือกหัวข้อที่สนใจ


การตรวจวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น แบบผู้ป่วยนอก OPD

เมื่อเริ่มเข้า รพ. ด้วยอาการบาดเจ็บ หรือ อาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะปวดท้องบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือปวดต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการตรวจวินิจฉัยและมีการรักษาเบื้องต้น ในลักษณะของผู้ป่วยนอก OPD ก่อนเสมอ โดยคำนิยามของผู้ป่วยนอกในสัญญาประกันสุขภาพจะเป็นดังนี้

นิยามของผู้ป่วยนอก OPD

ค่ารักษา 05

จากคำนิยามจะสังเกตุได้ว่า ผู้ป่วยนอก OPD คือ ผู้ป่วยที่ไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องเป็นผู้ป่วยในนั้นเอง โดยการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในฐานะผู้ป่วยนอกที่ประกันจะสามารถให้ความคุ้มครองได้นั้น จะต้องพิจารณาว่าเป็น อาการเจ็บป่วย หรือ อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ดังต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัยและรักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD เนื่องจาก "การเจ็บป่วยทั่วไป"

ปกติแล้วการตรวจวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้นจากการเจ็บป่วยทั่วไป แบบผู้ป่วยนอก OPD นั้น มักจะมีราคาค่ารักษาอยู่ที่ประมาณหลักพันบาทและมีความเสี่ยงที่เกิดจะขึ้นได้บ่อยครั้ง

จึงทำให้ประกัน OPD หรือ ประกันสุขภาพที่มี OPD ค่ารักษาทั่วไป จะมีเบี้ยประกันที่ค่อนข้างแพง จนแทบไม่ต่างกับการออกค่ารักษา OPD เอง

ทั้งนี้ส่วนที่จะทำให้ค่ารักษา OPD มีราคาสูงถึงหลักหมื่นได้นั้น มักจะเป็นในส่วนของค่าตรวจวินิจฉัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง (โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยที่นำไปสู่การต้องเป็นผู้ป่วยใน) เช่น การตรวจปัสสาวะ การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอ็กซเรย์ การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจแมมโมแกรม การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น 

ตรงจุดนี้เองจึงทำให้มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 แม้จะไม่ได้มีความคุ้มครอง OPD ค่ารักษาทั่วไป แต่ก็จะมีความคุ้มครองแบบ OPD ในส่วนค่าตรวจวินิจฉัยมาให้แทน เพียงแต่ผลการตรวจวินิจฉัยที่ได้จะต้องนำไปสู่การเป็นผู้ป่วยในเท่านั้นจึงจะให้ความคุ้มครอง

โดยจะมีตัวอย่างการใช้งาน ประกันสุขภาพที่มี OPD ค่ารักษาทั่วไป กับ ประกันสุขภาพที่ไม่มี OPD ค่ารักษาทั่วไป ในการให้ความคุ้มครองค่าตรวจวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้นแบบ OPD ดังนี้

หมวดพิเศษ : การตรวจวินิจฉัยและการรักษา แบบผู้ป่วยนอกทั่วไป 

ในกรณีที่ประกันสุขภาพมีความคุ้มครอง OPD ค่ารักษาทั่วไปอยู่ด้วย (เป็นความคุ้มครองหมวดพิเศษที่อยู่นอกเหนือหมวดความคุ้มครองตามาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64) จะมีโอกาส Fax-Claim ได้ทั้งค่าตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ ค่าแพทย์ และค่ายา ตามวงเงิน OPD ที่มี ซึ่งมีทั้งวงเงิน OPD แบบรายปี และ วงเงิน OPD แบบรายครั้ง ดังรายละเอียดด้านล่างนี้

ค่ารักษา 03

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอก

ค่าวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้น

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอกวงเงินต่อปี

ค่า opd สบายใจ

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอกวงเงินต่อครั้ง

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD 5

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอก

อย่างไรก็ตามหากเป็น OPD แบบรายครั้ง วงเงินมักจะไม่เพียงพอต่อค่าการตรวจวินิจฉัย และทำให้จำเป็นต้องพิจารณาใช้ความคุ้มครองหมวด 6.1 ในประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่แทน

หมวดที่ 6.1 : การตรวจวินิจฉัยแบบผู้ป่วยนอกที่นำไปสู่การเป็นผู้ป่วยในภายใน 30 วัน

ปัญหาของหมวดที่ 6.1 ที่แแตกต่างกับหมวดพิเศษค่ารักษา OPD คือ ค่าการตรวจวินิฉัยผู้ป่วยนอกนี้จะต้องสำรองจ่ายก่อนเสมอ เพราะยังไม่ทราบว่าในอีก 30 วัน จะได้แอดมิตเป็นผู้ป่วยในหรือไม่ ทำให้จำเป็นต้องแอดมิตให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงทำการส่งเคลมค่าตรวจวินิจฉัยก่อนแอดมิตนี้ในภายหลัง 

ค่ารักษา 01 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอก 'ก่อน' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษาเป็นผู้ป่วยใน

ค่าวินิจฉัยเบื้องต้น

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอก 'ก่อน' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษาเป็นผู้ป่วยใน

คุ้มครองหมวดที่6 8 e1727718130788

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอก 'ก่อน' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษาเป็นผู้ป่วยใน

จากตารางความคุ้มครองของประกันสุขภาพแต่ละแบบจะเห็นได้ว่า ความคุ้มครองหมวดที่ 6.1 นั้น จะมีแบบที่ให้วงเงินมาจำกัดและแชร์วงเงินร่วมกับหมวดที่ 6.2 ด้วย

จึงทำให้บางทีเมื่อนำวงเงินมาใช้ในการ Follow up แบบ OPD ภายหลังการแอดมิตแล้ว อาจจะทำให้ไม่เหลือวงเงินที่จะสามารถเคลมค่าตรวจวินิจฉัยก่อนแอดมิตคืนที่สำรองจ่ายไปแล้วได้

ด้วยปัญญานี้เองบางแบบประกันสุขภาพจึงมีการแยกวงเงินหมวดที่ 6.1 ออกมาต่างหากจากหมวดที่ 6.2 โดยให้เป็นจ่ายตามจริงทั้งหมด ในขณะที่หมวดที่ 6.2 ที่เป็นค่ารักษา Follow up ให้จ่ายตรมจริงเหมือนกันแต่จะกำหนดเป็นจำนวนครั้งที่ใช้ได้แทน เช่น ใช้ได้ 2 ครั้งต่อการเป็นผู้ป่วยในในครั้งการรักษานั้น ๆ

**การแอดมิตด้วยโรคเดียวกัน(รวมถึงอาการสืบเนื่อง) ที่แอดมิตห่างกันไม่เกิน 90 วัน จะนับว่าเป็นการรักษาผู้ป่วยในครั้งเดียวกัน และจะนับจำนวนครั้งที่ใช้ในหมวดที่ 6.2 ต่อเนื่อง หรือ นับวงเงินหมวดที่ 6.1-6.2 ที่เหลือต่อเนื่อง จนกว่าจะเป็นการแอดมิตด้วยโรคใหม่ หรือโรคเดิมแต่ห่างกันเกิน 90 วัน ทำให้การเลือกแบบประกันสุขภาพที่จ่ายตามจริงไม่จำกัดจำนวนครั้งของหมวดที่ 6.1-6.2 จะทำให้มีปัญหาในการเคลมน้อยกว่ามาก


การตรวจวินิจฉัยและรักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD เนื่องจาก "บาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุ"

กรณีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จะมีโอกาสเกิดได้น้อยกว่าการเจ็บป่วยแบบผู้ป่วยนอก ดังคำนิยามด้านล่างนี้ ซึ่งความยากอีกอย่างจะอยู่จะต้องมีการบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย เช่น ฝุ่นเข้าตาจะเคลมประกันอุบัติเหตุได้ก็ต่อเมื่อพบว่าผิวตามีการบาดเจ็บอย่างชัดเจนจากฝุ่น หรือพบฝุ่นในดวงตา เป็นต้น

ค่ารักษา 07

และด้วยความยากที่จะเกิดขึ้นนี้เอง จึงทำให้ประกันที่คุ้มครองค่าตรวจวินิยค่ารักษาแบบ OPD เนื่องจากอุบัติเหตุนั้น จะมีเบี้ยประกันที่ถูกกว่า ประกันค่ารักษา OPD ทั่วไปอย่างมาก โดยเบี้ยจะอยู่ที่หลักพันในขณะที่ได้ความคุ้มครองหลักแสนต่ออุบัติเหตุ (ประกัน OPD ทั่วไป เบี้ยหลักพันคุ้มครองหลักพันต่อครั้ง หรือเบี้ยหลักหมื่นคุ้มครองหลักหมื่นต่อปี)

และนี้จึงเป็นสาเหตุที่ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 จึงให้ความคุ้มครองค่ารักษาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นใน 24 ชม. แบบผู้ป่วยนอกมาด้วย โดยจะอยู่หมวดที่ 7 ดังนี้

หมวดที่ 7 และ หมวดพิเศษ : ค่าตรวจวินิจฉัยค่ารักษาอุบัติเหตุ และค่าติดตามผล 

ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่จะมีหมวดที่ 7 เป็นความคุ้มครองพื้นฐานมาด้วย เพียงแต่จะจำกัดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุสำคัญ หรือ ต้องรีบรักษาภายใน 24 ชม. เท่านั้น รวมถึงไม่มีความคุ้มครองการ Follow up แบบ OPD มาให้ด้วย

ค่ารักษา 02

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่ารักษาอุบัติเหตุใน 24 ชม.

ดังนั้นบางแบบประกันสุขภาพจึงได้เพิ่มความคุ้มครองหมวดพิเศษขึ้นมา เพื่ออุดรอยรั่วความคุ้มครองของหมวดที่ 7 โดยจะเพิ่มความคุ้มครองการรักษาต่อเนื่อง Follow up แบบ OPD ให้อีก 15 วัน (บางแบบประกันสุขภาพให้อีก 30 วัน) รวมไปถึงมีการเพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาฟันเนื่องจากอุบัติเหตุเข้ามาร่วมด้วย (ปกติประกันค่ารักษาอุบัติเหตุจะไม่รวมถึงทันตกรรม) แต่อาจมีกำหนดว่าต้องรักษาภายใน 7 วัน และไม่คุ้มครองการรักษาต่อเนื่องด้านทันตกรรม ดังรายละเอียด ตย. ความคุ้มครองต่อไปนี้

ค่ารักษา 09

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ติดตามผลอุบัติเหตุ 15 วัน

ค่ารักษา 10

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ค่ารักษาทันตกรรมจากอุบัติเหตุ

ค่ารักษาอบุติเหตุ 24 ชม

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ค่ารักษาอุบัติเหตุใน 24 ชม.

ค่ารักษาอบุติเหตุ 24 ชม ติดตามอาการ

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ติดตามผลอุบัติเหตุ 15 วัน

คุ้มครองหมวดที่7และพิเศษ

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่ารักษาอุบัติเหตุผู้ป่วยนอก

จาก ตย. ความคุ้มครองของแบบประกันสุขภาพต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าบางแบบจะไม่มีวงเงินหมวดที่ 7 มาให้ หรือ บางแบบจะให้มาจำกัด ซึ่งวงเงินจำกัดที่ให้มามักจะเพียงพอต่อการรักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงเท่านั้น

แต่หากเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรงถึงต้องเข้าเฝือกหรือต้องมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด วงเงินที่ให้มาย่อมไม่เพียงพอ หรือแม้แต่เลือกแบบที่มีวงเงินจ่ายตามจริงก็ตาม แต่ก็อาจติดที่ให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อเนื่องเพียง 15 วันเท่านั้น ซึ่งจำนวนวันไม่สามารถเพียงพอต่อการบาดเจ็บที่รุนแรงได้

ดังนั้นเพื่อให้ครอบคลุมค่าตรวจวินิจฉัยแบบละเอียดและค่ารักษาแบบ OPD ที่มักสูงในวันแรกที่รักษา จึงมักเลือกแบบประกันสุขภาพที่จ่ายตามจริงในหมวดที่ 7 นี้ จากนั้นในส่วนการรักษาต่อเนื่อง จะสามารถพิจารณาซื้อความคุ้มครองค่ารักษาอุบัติเหตุ อบ.3 เพิ่มโดยตรง ที่เบี้ยหลักพันคุ้มครองหลักแสนต่ออุบัติเหตุ และรักษาต่อเนื่องได้นานถึง 1 ปี (52 สัปดาห์) โดยมีรายละเอียดดังด้านล่างนี้ 

ประกันอุบัติเหตุ : ค่ารักษาอุบัติเหตุ อบ.3

ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุนั้นนอกจากจะรักษาต่อเนื่องได้ 1 ปีแล้ว ยังไม่จำกัดว่าต้องรีบพบแพทย์ใน 24 ชม. แบบหมวดที่ 7 อีกด้วย (แต่อย่างน้อยควรพบแพทย์ภายในสัปดาห์ที่เกิดอุบัติเหตุ) จึงมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง รวมถึงยังสามารถเพิ่มความคุ้มครองการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการถูกทำร้ายร่างกาย หรือ ฆจ. 3 ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามทั้ง อบ.3 และ ฆจ.3 จะมีข้อจำกัดอยู่ที่วงเงินคุ้มครองจะเป็นไปตามที่เบี้ยที่เลือกจ่าย และจะต่ออายุได้ถึงอายุครบ 65 ปีเท่านั้น ในขณะที่ประกันสุขภาพหมวดที่ 7 จะต่ออายุได้นานตามประกันสุขภาพ คือ ได้ถึงอายุครบ 99 ปี

ดังนั้นในแง่ของการตรวจวินิจฉัยแบบ OPD แล้ว หากประกันสุขภาพที่เลือกไม่มีความคุ้มครองหมวดที่ 7 หรือให้มาน้อยมาก (อย่างต่ำควร 50,000 บ.ขึ้นไป) การพิจารณาทำ อบ.3 และ ฆจ.3 เพิ่ม หรือแม้แต่การมองหาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ที่มีค่ารักษาพยาบาลอยู่ด้วย จะเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง

ค่ารักษา 06

ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ : อบ.3

ค่ารักษา 08

ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ : ฆจ.3 (เพิ่มจาก อบ.3)

ค่ารักษาอบุติเหตุ อบ3

ตย.การเคลม ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ : อบ.3

จาก ตย.การเคลม การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จะเห็นได้ว่าการใช้ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ จะประหยัดและครอบคลุมกว่าการใช้ประกันค่ารักษา OPD แบบทั่วไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากประกันค่ารักษา OPD ทั่วไป ควรเน้นไปที่การเจ็บป่วยเป็นหลัก เพราะหากเน้นมาใช้จ่ายค่าบาดเจ็บแล้ว วงเงินอาจไม่เหลือสำหรับการเจ็บป่วยได้

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่หากมีประกันค่ารักษา OPD แล้ว จะต้องมีประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ OPD ควบคู่ไปด้วยเสมอ


การตรวจวินิจฉัยและรักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD โดย "การผ่าตัดเล็ก"

อาการเจ็บป่วย หรือ อาการบาดเจ็บ ในระดับผิวหนังที่จำเป็นต้องรักษาแบบ OPD ด้วยการเจาะ การคีบ การผ่า การยิงเลเซอร์ และต้องมีการใช้ยาชาเฉพาะจุดร่วมด้วย จะสามารถใช้ความคุ้มครองหมวดที่ 13 ของประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 มาคุ้มครองค่ารักษาอาการเจ็บป่วยระดับผิวหนังต่อไปนี้เช่น ฝี หูด เจาะระบายหนอง การตัดชิ้นเนื้อโดยไม่ต้องใช้ยาสลบ เป็นต้น

หมวดที่ 13 : Minor Surgery

การผ่าตัดเล็กจะเป็นเพียงการรักษา OPD ในระดับผิวหนังที่มีการใช้ยาชาเฉพาะบริเวณ ไม่ถึงขนาดต้องเจาะเป็นโพร่งเข้าไปในร่างกายอย่างการผ่าตัดใหญ่

ค่ารักษา 12
ค่ารักษา 11

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ผ่าตัดเล็ก

ค่าผ่าตัดเล็ก

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : การรักษาผ่าตัดเล็ก

คุ้มครองหมวดที่13

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ผ่าตัดเล็ก

การเคลมผ่าตัดเล็กนี้หากเกิดขึ้นจากการเจ็บปวด ดังตัวอย่าง รายชื่อโรคหรืออาการที่เข้าข่ายผ่าตัดเล็ก จะควรต้องทำ Pre-Claim เข้ามาก่อน เพราะมีโอกาสขอสืบประวัติการรักษาก่อนการอนุมัติเคลมได้ 

แต่ถ้าหากเป็นการบาดเจ็บในระดับผิวหนังที่เกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุจะมีโอกาสสามารถทำ Fax-Claim ได้สูง ด้วยการผ่าตัดเล็ก OPD หมวดที่ 13 นี้ได้ โดยไม่ต้องใช้หมวดที่ 7 เพราะบาดเจ็บเลย 24 ชม. แล้ว หรือ ยังไม่ต้องใช้วงเงินจาก อบ.3 ที่มีจำกัด เพราะแบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่การผ่าตัดเล็กจะเน้นจ่ายตามจริงเป็นหลัก จากนั้นจึงค่อยใช้ อบ.3 สำหรับการ Follow up OPD อุบัติเหตุต่อไป 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้นแล้ว จะยังต้องมีการกลับมา รพ. เพื่อติดตามผลต่อไป ซึ่งถ้าแพทย์เห็นว่าอาการไม่ดีขึ้น หรือมีข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็นอะไรที่รุนแรงมากขึ้น ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัยฉายภาพขั้นสูง ส่องกล้อง ตรวจชิ้นเนื้อ แบบผู้ป่วยนอก OPD

หากตรวจวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จะจำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียดเพิ่มมากขึ้นอีก โดยเฉพาะการฉายภาพขั้นสูงที่ช่วยให้เห็นปัญหาภายในร่างกายได้อย่างเด่นชัดมากขึ้น

หมวดพิเศษ : การตรวจวินิจฉัยฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก

การฉายภาพขั้นสูงแบบ OPD นั้น ไม่ได้มีอยู่ในหมวดพื้นฐานของประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 จึงทำให้หากต้องการใช้จำเป็นจะต้องอาศัย ประกันค่ารักษา OPD ทั่วไป หรือ หมวดที่ 6.1 เข้าช่วยหากเป็นอาการเจ็บป่วย (แต่หากเป็นอาการบาดเจ็บสามารถใช้หมวดที่ 7 หรือ อบ.3 เข้าช่วยได้)

แต่ปัญหาคือ ค่าฉายภาพขั้นสูงจะมีราคาหลักหมื่นขึ้นไป ซึ่งทำให้วงเงิน OPD ทั่วไป อาจไม่เพียงพอ หรือ การสำรองจ่ายหลักหมื่นไปก่อนแล้วใช้ หมวดที่ 6.1 จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะถ้าสุดท้ายแล้วไม่ได้ส่งผลให้ต้องแอดมิตเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งทำให้เคลมคืนด้วยหมวดที่ 6.1 ไม่ได้

จึงทำให้หากต้องมีการฉายภาพขั้นสูงผ่านประกันสุขภาพตามมาตราฐานปี 64 แพทย์จะต้องเขียนอธิบายเพื่อให้มีความจำเป็นที่จะต้องแอดมิตพร้อมทำการตรวจวินิจฉัยฉายภาพขั้นสูงในวันเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถ Fax-Claim ค่าตรวจวินิจฉัยในหมวดความคุ้มครองผู้ป่วยในได้ แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้มีข้อบ่งชี้เพียงพอให้สามารถแอดมิตได้เสมอไป

ดังนั้นการเลือกใช้แบบประกันสุขภาพที่มีหมวดความคุ้มครองพิเศษสำหรับค่าฉายภาพขั้นสูงแบบ OPD โดยตรงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เพียงพิจารณาเฉพาะประกันสุขภาพที่มี OPD ทั่วไปให้เท่านั้น เพราะ OPD ทั่วไปวงเงินอาจหมดไปหลังการฉายภาพขั้นสูงเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และไม่เหลือสำหรับการตรวจรักษาอาการเจ็บป่วยผู้ป่วยนอกอื่น ๆ ตามจุดประสงค์ของ OPD ทั่วไปนี้อีก

ค่ารักษา 04

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก

ค่าวินิจฉัยภาพขั้นสูง 3

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD MRI

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก

จากตารางคุ้มครองจะเห็นได้ว่าแบบประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่าฉายภาพขั้นสูงจะเป็นจ่ายตามจริง จึงช่วยให้หมดกังวลได้ว่าในปีนั้น ๆ จะต้องมีการตรวจฉาพขั้นสูงหลายครั้งหรือไม่

แต่โดยปกติแล้วภายหลังการฉาพขั้นสูง หากพบต้นตอของอาการเจ็บป่วย เช่น เจอเนื้องอก ก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจละเอียดมากขึ้นอีกโดยการส่องกล้อง หรือ การตัดชิ้นเนื้อ เพื่อไปตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งการตรวจวินิฉัยลักษณะนี้ จะสามารถเข้าข่ายการเป็น ผ่าตัดใหญ่แบบ Day Surgery ต่อไปนี้ได้

หมวดที่ 5 : การตรวจนิจฉัยแบบ Day Surgery

โดยส่วนใหญ่การตรวจวินิฉัยที่ต้องมีการส่องกล้องเข้าไปในร่างกาย หรือ ตัดชิ้นเนื้อในร่างกายมาตรวจนั้น มักจะไม่ต้องมีการแอดมิตเป็นผู้ป่วยใน โดยสามารถมองเป็น Day Surgery ได้ ซึ่งตามมาตรฐานประกันสุขภาพปี 64 จะถือว่าอยู่ในหมวดที่ 5 ซึ่งจะเสมือนเป็นผู้ใน

ทำให้หากมีการตรวจวินิจฉัยมาก่อนไม่เกิน 30 วันที่จะทำ Day Surgery ก็จะสามารถเคลมในหมวดที่ 6.1 คืนที่สำรองจ่ายไปก่อนได้

ค่ารักษา 13
ค่ารักษา 14

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : Day Surgery

ค่า Day Surgery ส่องกล้อง

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : Day Surgery (ส่องกล้อง)

คุ้มครองหมวดที่5

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : Day Surgery (ส่องกล้อง)

จะเห็นได้ว่าราคาการตรวจวินิจฉัยแบบ Day Surgery จะค่อนข้างสูงโดยเมื่อรวมกับค่าฉายภาพขั้นสูงแล้ว เพียงแค่ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยก็อาจมีค่าใช้จ่ายรวมกันถึงหลักแสนได้ไม่ยาก

ซึ่งแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายโดยทั่วไป มักจะจ่ายตามจริงในหมวดที่ 5 นี้ เว้นแต่บางแบบประกันสุขภาพอาจมีการกำหนดค่าตัวแพทย์ผู้ทำ Day Surgery ให้ไม่เกินคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ล่าสุดได้ ซึ่งส่วนนี้ควรทำ Pre-Claim ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีส่วนต่างที่ต้องออกเอง

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกการผ่าตัดที่ใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยจะเป็นการผ่าตัดใหญ่ Day Surgery เสมอไป เพราะบางการผ่าตัดจะนับเป็นเพียงการผ่าตัดเล็ก Minor Surgery เท่านั้น

หมวดที่ 13 : การตรวจวินิจฉัยแบบ Minor Surgery

การผ่าตัดเล็กจะเป็นการตรวจวินิจฉัยแบบ OPD เท่านั้น และไม่มีการใช้ยาสลบ มีแต่การใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงทำให้ไม่สามารถใช้หมวดที่ 6.1 ในการเคลมคืนค่าตรวจวินิจฉัยที่สำรองออกไปก่อนได้ เหมือนการตรวจวินิจฉัยแบบ Day Surgery ที่เป็น IPD

ค่าผ่าตัดเล็ก 2

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ตรวจวินิจฉัยผ่าตัดเล็ก

อย่างไรก็ตามการจะแยกว่าหัตถการใด คือ Day Surgery หรือ Minor Surgery ได้แบบชัดเจนมากขึ้น ทาง คปภ. จึงได้มีการทำคู่มือแนวทางการปฏิบัตสำหรับบริษัทประกัน เพื่อช่วยในการพิจารณาสินไหมดังต่อไปนี้

ตัวอย่างรายการตรวจวินิจฉัยแบบ Day Surgery และ Minor Surgery

จาก ตารางของทาง คปภ. จะเห็นได้ว่า การตรวจวินิฉัยทั้งแบบส่องกล้อง หรือแบบตัดชิ้นเนี้อ จะมีทั้งแบบที่เป็น Day Surgery หรือเป็น Minor Surgery ซึ่งส่วนของ Minor Surgery ที่เป็นผู้ป่วยนอกจะไม่สามารถเคลมค่าตรวจวินิจฉัยภาพขั้นสูงคืนได้แน่นอน ดังนั้นการมีหมวดความคุ้มครองค่าฉาพภาพขั้นสูงจึงค่อนข้างสำคัญ

ค่ารักษา 15
ค่ารักษา 16
ค่ารักษา 17

ภายหลังการตรวจวินิฉัยอย่างละเอียดแล้ว มักจะนำไปสู่การผ่าตัดในฐานะผู้ป่วยในได้ต่อไป ซึ่งเป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงอย่างมาก

การรักษาผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือผ่าตัดแบบเปิด ในฐานะผู้ป่วยในหรือเทียบเท่าผู้ป่วยใน IPD

หลังจากมีการตรวจวินิฉัยโดยละเอียด ทาง รพ. จะมีการนัดวันผ่าตัดต่อไป ซึ่งโดยปกติก็จะสามารถรอถึงวันนัดผ่าตัดได้ เว้นแต่หากมีเหตุฉุกเฉินเกินขึ้นและจำเป็นต้องเรียกรถพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ในส่วนนี้จะมีหมวดที่ 12 ให้ความคุ้มครองอยู่ดังนี้

หมวดที่ 12 : ค่ารถพยาบาลฉุกเฉิน

โดยปกติรถพยาบาลนั้นจะประกอบไปด้วยเครื่องมือที่ช่วยพยุงชีวิต และปฐมพยาบาลอยู่ภายในรถ พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการในการดูแลและใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้การเรียกรถพยาบาลแต่ละครั้งจึงมีค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับหนึ่ง

จึงทำให้ความคุ้มครองหมวดที่ 12 จะเน้นคุ้มครองเฉพาะเหตุฉุกเฉินเสี่ยงต่อชีวิตที่ต้องอาศัยเครื่องมือของรถพยาบาลเข้าช่วยเท่านั้น เช่น  อาการเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง การหมดสติ การได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง เป็นต้น

ซึ่งการจะพิจารณาความรุนแรงนั้น จะดูจากเมื่อถึง รพ. แล้ว ได้เข้าแอดมิตเป็นผู้ป่วยในหรือไม่อีกทีร่วมด้วย ส่งผลให้ความคุ้มครองหมวดที่ 12 นี้ จะต้องใช้ในภาวะฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น โดยรถพยาบาลไม่ได้เพียงพยุงชีวิตและส่งจากบ้านผู้ป่วยมาถึง รพ. แต่ยังรวมไปถึงจาก รพ. หนึ่ง ไปยังอีก รพ. หนึ่ง ที่มีเครื่องมือในการรักษาพร้อมกว่าด้วย

ค่ารักษา 28

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน

คุ้มครองหมวดที่12

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน

ส่วนใหญ่แล้วหมวดที่ 12 จะเน้นจ่ายตามจริงในแบบประกันสุขภาพเหมาจ่าย เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยครั้งมาก

ทั้งนี้เมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัดด้วยภาวะฉุกเฉิน หรือ ถึงวันตามที่นัดหมาย โดยปกติแล้วเมื่อถึง รพ. จะต้องมีการตรวจร่างกายวินิจฉัยพื้นฐานอีกครั้งว่าร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมผ่าตัดหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ใช่ด้วยเหตุฉุกเฉิน ปกติแล้วจะต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ร่วมด้วย (แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)

โดยจะมีรายละเอียดความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดโดยตรงดังในหมวดที่ 4-5 ของประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 ต่อไปนี้

หมวดที่ 4-5 : ค่าผ่าตัดใหญ่

โดยปกติการผ่าตัดใหญ่จะมีคำนิยามที่ชัดเจนว่าแบบใดจึงเป็นการผ่าตัดใหญ่ จึงทำให้เป็นหนึ่งในความเสี่ยงภัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ถ้าหากเกิดขึ้นแล้วจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างมากไม่ต่ำกว่า 1 แสน หากเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง และไต่ระดับถึงหลักล้านบาทได้ไม่ยากโดยเฉพาะกับการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะซับซ้อนอย่าง หัวใจ สมอง กระดูกสันหลัง ที่ต้องใช้เวลาผ่าตัดติดต่อกันนาน 4-6 ชั่วโมงขึ้นไป และมีโอกาสต้องทำการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้งในการรักษา

ค่ารักษา ผ่าตัดใหญ่

ด้วยเป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่หากเกิดแล้วอาจทำให้ต้องเป็นหนี้เป็นสินได้ในพริบตาม จึงทำให้การเฉลี่ยความเสี่ยงภัยนี้กับคนจำนวนมากด้วยเงินที่น้อยกว่า ผ่านประกันสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรหลีกเลี่ยงในการวางแผนการเงิน

ซึ่งส่วนที่ทำให้การผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูงส่วนใหญ่แล้วจะเป็น หมวดที่ 4.3-4.4 ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดกับค่าธรรมเนียมวิสัญญีแพทย์ หรือ ค่าตัวแพทย์นั่นเอง โดยเฉพาะกับการผ่าตัดที่มีความยากและอันตรายถึงชีวิตได้มาก แพทย์ผู้ชำนาญการที่สามารถทำได้ก็จะมีน้อยลง แต่ต้องแบกความรับผิดชอบที่มากขึ้น

และยิ่งหากต้องผ่าตัดเป็นเวลานานหรือมีโอกาสที่จะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดระหว่างผ่าตัด การจัดการปริมาณของยาสลบที่เหมาะสมของวิสัญญีแพทย์ก็จะมีความสำคัญอย่างมากไม่แตกต่างกัน รวมไปถึงการผ่าตัดสำคัญที่จำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากพอ เพื่อลดความผิดพลาด และลดระยะเวลาในการผ่าตัดได้ซึ่งจะอยู่ในความคุ้มครองหมวดที่ 4.2 ที่ปัจจุบันเริ่มสูงมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการผ่าตัด

ในขณะที่ห้องผ่าตัด และห้องเตรียมตัวกับพักฟื้นของการผ่าตัดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะต้องปลอดเชื้อ มีสิ่งอำนายความสะดวกที่ครบครันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการผ่าตัดมากที่สุด ซึ่งจะอยู่ในความคุ้มครองหมวดที่ 4.1 โดยจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า หมวดที่ 4.2-4.4

ค่ารักษา 18

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าผ่าตัดจ่ายตามจริง

จากค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างมากนี้เอง ส่วนใหญ่แล้วจึงมักจะเลือกเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลักล้านหลักสิบล้านขึ้นไป มากกว่าประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายที่จำกัดวงเงินคุ้มครองหมวดที่ 4 เพื่อให้มั่นใจว่าประกันจะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่จะให้ความคุ้มครองหมวดที่ 4.1-4.4 แบบเหมาจ่ายตามจริงทั้งหมด เพราะบางบริษัทประกันเองจะมีมาตรฐานของค่าใช้จ่ายในหมวดที่ 4.2 ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ด้วย ซึ่งหากแพทย์มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงกว่าที่บริษัทประกันคาดการณ์ในการผ่าตัดหลายครั้ง

ก็มีโอกาสที่บริษัทประกันจะประกาศออกมาว่าหากเป็นการผ่าตัดด้วยแพทย์ท่านนี้จะต้องสำรองจ่ายก่อนเสมอ เพื่อลดผู้ทำประกันที่จะมาใช้บริการกับแพทย์ท่านนี้ลง (สามารถสังเกตุบริษัทประกันลักษณะนี้ได้จากผลกำไรต่อรายได้ที่ได้รับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยบริษัทอื่น ๆ มากเพียงใด หรือ สอบถามทางแพทย์ผู้ผ่าตัดได้)

แต่บริษัทประกันโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะยึดตามข้อความในกรมธรรม์เป็นหลัก จึงมักไม่ค่อยมีปัญหากับหมวดที่ 4.2 มากนัก แต่จะเน้นไปที่การควบคุมค่าใช้จ่ายของหมวดที่ 4.3-4.4 แทนเป็นหลัก ที่สามารถระบุสัญญาได้ว่า ให้วงเงินหมวดที่ 4.3-4.4 ยึดตามที่คู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ล่าสุดในระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90

ข้อดีคือ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ควบคุมหมวดที่ 4.3-4.4 นี้จะมีเบี้ยประกันที่น้อยกว่า แต่ข้อจำกัดคือ อาจต้องเน้นเลือก รพ.เอกชนขนาดกลางหรือกลางใหญ่ แทน รพ.เอกชนขนาดใหญ่อันดับ 1-2 ของประเทศ เพราะมีโอกาสที่ค่าตัวแพทย์ของ รพ.เอกชนขนาดใหญ่ระดับ 1-2 ของประเทศ จะสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ได้ (อย่างไรก็ตามหากเลือกทำ Pre-Claim ก่อน ก็มีโอกาสที่ทาง รพ. จะลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้อยู่ตามคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ได้)

โดยข้อกำหนดวงเงินตามคู่มือแพทย์จะมีรายละเอียดที่เพิ่มเติมขึ้นมาแบบเหมาจ่ายปกติ ดังเงื่อนไขด้านล่างต่อไปนี้

HH ค่าธรรมเนียม

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าแพทย์ผ่าตัดจ่ายตามคู่มือ

นอกจากการผ่าตัดโดยทั่วไปแล้ว ยังมีการผ่าตัดที่ยากที่สุดจนทำให้ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ชัดเจนขึ้นมาดังหมวดที่ 4.5 อยู่ด้วย นั่นก็คือ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เพราะไม่ใช่เป็นการผ่าตัดเพื่อไปรักษาอวัยวะเดิม แต่เป็นการเปลี่ยนทั้งอวัยวะ ซึ่งมีความยากและเสี่ยงสูงอย่างมาก

ถึงแม้โอกาสที่จะโชคร้ายจนถึงต้องผ่าตัดแบบขั้นนี้ได้จะมีไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายคือระดับหลักล้านขึ้นไปอย่างแน่นอน การมีเงื่อนไขหมวดที่ 4.5 นี้ขึ้นมา จึงทำให้บริษัทประกันสามารถกำหนดเงื่อนไขจำนวนครั้งสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้ด้วย เช่น  1 ครั้งตลอดชีพ ซึ่งเป้นตัวเลขที่สมเหตุสมผล เพราะมีโอกาสน้อยมากที่จะต้องเปลี่ยนอวัยวะสำคัญในร่างกายมากกว่า 1 อย่าง ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่น่ารับไหวได้

ทั้งนี้หมวดที่ 4.5 จะเป็นเหมือนเงื่อนไขเพิ่มเติมเท่านั้น แต่ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดต่าง ๆ จะยังคงคิดแจกแจงตามหมวดที่ 4.1-4.4 อยู่เช่นเดิม

ค่ารักษา 19

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกการผ่าตัดใหญ่ที่จำเป็นต้องแอดมิตนอน รพ. ดังนั้น หมวดที่ 5 Day Surgery นี้ ก็จะสามารถนำมาให้ความคุ้มครองเสมือนหมวดที่ 4.1-4.4 ได้  

ค่ารักษา 14

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : Day Surgery

ค่าผ่าตัด IPD 1

ตย.การเคลมประกันสุขภาพ : ค่าผ่าตัดใหญ่

คุ้มครองหมวดที่4

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่าผ่าตัดใหญ่

จาก ตย.การเคลม และ ตย.ความคุ้มครอง จะเห็นได้ว่าหมวดที่ 4-5 นั้นเป็นหมวดสำคัญที่ทุกแบบประกันจะพยายามเน้นเป็นพิเศษ เพราะหากไม่มีประกันคอยช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงด้วยเงินจำนวนน้อยกับผู้คนจำนวนมากแล้ว การผ่าตัดบางอย่างอาจนำไปสู่การล้มละลายทางการเงินได้เลยทีเดียว จึงเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรจะเก็บไว้กับตัวเพียงลำพังเป็นอันขาด

ทั้ง ก่อน/หลัง การผ่าตัดจะมีทั้งการเตรียมพร้อมร่างกาย และ การพักฟื้น/รักษาต่อเนื่องในฐานะผู้ป่วยใน รวมอยู่ด้วยได้ ซึ่งจะอยู่ในความคุ้มครองหมวดต่อไปนี้ 

การแอดมิตนอน รพ. เพื่อการผ่าตัด หรือ เพื่อการรักษาแบบผู้ป่วยใน IPD

การเป็นผู้ป่วยในนั้นนอกจากจะช่วยให้แพทย์พยาบาลได้ทำการรักษาอาการเจ็บป่วยที่จำเป็นหรือมีความเสี่ยงที่จะรุนแรงมากขึ้นได้อย่างใกล้ชิดแล้ว ยังช่วยในกรณีการพักฟื้นหลังผ่าตัดได้อย่างมาก โดยเฉพาะกับการผ่าตัดแบบเปิดที่มีแผลขนาดใหญ่กว่าการส่องกล้อง และการผ่าตัดที่ต้องใช้ระยเวลานานมากกว่า 2-3 ชม. ขึ้นไป

โดยหลังการผ่าตัดดังกล่าว ผู้ป่วยมักจะไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หรือทำได้ยาก เช่น การต้องให้ยาสารอาหารหรือน้ำเกลือแทนการทานอาหาร การอาบน้ำเช็ดตัว การปัสสาวะขับถ่าย เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการเจ็บปวดจากแผล จากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ที่จำเป็นต้องมีทั้งพยาบาลและแพทย์ดำเนินการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้หากเป็นการผ่าตัดอวัยวะสำคัญอย่างสมอง กระดูกสันหลัง ที่อาจส่งผลให้ต้องมีการกายบำบัดฟื้นฟูร่วมด้วยโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ทั้งยังต้องมีการเฝ้าระวังสัญญาณอันตรายที่หากเกิดขึ้นแล้วต้องรีบเข้าห้อง ICU เพื่อดำเนินการรักษาด้วยเครื่องมือช่วยพยุงชีวิตตลอด 24 ชม.

ทั้งหมดนี้เองคือ ความจำเป็นของการเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งแน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลายอย่างเพิ่มขึ้นมาในขบวนการรักษา เฝ้าระวัง หรือพักฟื้นร่างกายนี้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 จะให้ความคุ้มครอง แต่อย่างไรก็ตามการจะเป็นผู้ป่วยในได้ จะต้องตรงกับคำนิยามต่อไปนี้ด้วย จึงจะเข้าเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองได้

นิยามของผู้ป่วยใน IPD

โดยตามเงื่อนไขแล้ว จะเป็นผู้ป่วยในได้จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์ด้านล่างนี้ รวมถึงต้องมีการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน เนื่องจากรับการรักษานานกว่า 6 ชม. ขึ้นไปด้วย

ค่ารักษา 22
ค่ารักษา 23

ทั้งนี้ในโรค Simple Disease หรือ โรครักษาแบบผู้ป่วยนอกที่พบบ่อย หากจำเป็นต้องแอดมิต จะมีการพิจารณาความจำเป็นทางการแพทย์เพิ่มขึ้นมาว่า ต้องมีข้อมูลทางการแพทย์ข้อใดข้อหนึ่งด้านล่างนี้ร่วมด้วย หรือจะต้องมีภาวะแทรกแซงที่อันตรายต่อชีวิตเท่านั้น จึงจะทำให้สามารถแอดมิตเป็นผู้ป่วยในได้ (เนื่องจากจำเป็นต้องทำการรักษา และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่เพียงการนอนพักผ่อนแบบมีผู้ดูแลเท่านั้น)

Simple Disease
เกณฑ์แอดมิตข้อใดข้อหนึ่ง

ซึ่งการที่ประกันสุขภาพจะต้องคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่สูงมากของการดูแลและรักษาอย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ป่วยในนั้น จึงทำให้เบี้ยประกันจะค่อนข้างสูง ซึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดเบี้ยประกันลงได้จะมี 2 แบบ คือ

แบบ Co-payment ที่ผู้ทำประกันแบ่งสัดส่วนค่ารักษาที่ต้องจ่ายตามหมวดที่คุ้มครองกับบริษัทประกันอย่างชัดเจน โดยเป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก เพราะคาดการณ์เงินที่ผู้ทำประกันต้องออกเองลำบาก เพราะยิ่งค่ารักษาสูงผู้ทำประกันก็ต้องช่วยร่วมจ่ายที่สูงตามไปด้วย จึงทำให้ผู้ทำประกันไม่นิยมมากนัก แม้จะช่วยลดเบี้ยประกันลงไปมากก็ตาม

กับอีกแบบที่ได้รับความนิยมมากกว่า คือ แบบ Deductible เนื่องจากผู้ทำประกันจะทราบค่าใช้จ่ายที่ต้องออกเองอย่างชัดเจน เพราะ มีการระบุให้จ่ายค่ารับผิดส่วนแรก (Deductible) ก่อนอย่างชัดเจนแล้วว่าเป็นเท่าไร โดยส่วนที่เกินจากค่ารับผิดส่วนแรกที่ระบุ ประกันสุขภาพจะคุ้มครองตามหมวดที่คุ้มครองให้ต่อไปไม่ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงเท่าใดก็ตาม (แต่ผู้ทำประกันจะจ่ายเพียงส่วนรับผิดที่ระบุตั้งแต่แรกเท่านั้น วิธีนี้จึงได้รับความนิยมกว่าแม้จะช่วยลดเบี้ยประกันได้น้อยกว่าแบบ Co-payment ก็ตาม)

ค่ารับผิดส่วนแรก Deductible

แต่ละแบบประกันสุขภาพที่มี Deductible นั้น จะแบ่งเป็น Deductible ต่อครั้งการรักษา หรือ Deductible แบบรายปี โดยแบบที่เข้าใจง่ายคือ แบบรายปี เช่น หากกำหนดว่ามี Deductible 100,000 บ. แบบรายปี จะหมายความ หากแอดมิตไม่ว่าจะกี่ครั้งด้วยกี่โรคก็ตามในปีนั้น ๆ จะจ่าย Deductible เพียง 100,000 บ. เท่านั้น

ในขณะที่ Deductible แบบรายครั้งการรักษา จะต้องจ่าย Deductible ทุกครั้งการรักษา เช่น หากกำหนดว่ามี Deductible 100,000 บ. ต่อครั้งการรักษา จะทำให้การแอดมิตไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม หากนับเป็นครั้งการรักษาเดียวกัน ก็จะจ่าย Deductible เพียง 100,000 บ.เท่านั้น

เพียงแต่ว่า การนับครั้งการรักษา หรือ การเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่งนั้น จะเริ่มนับเป็นครั้งใหม่เมื่อเป็นการรักษาคนละโรค หรือ หากเป็นการรักษาโรคเดียวกัน (รวมถึงอาการสืบเนื่อง) จะต้องแอดมิตห่างกันเกิน 90 วันจึงจะนับเป็นคนละครั้งการรักษาได้

ดังนั้น Deductible แบบรายครั้งการรักษา จึงต้องจ่ายรับผิดใหม่อีกครั้งหากเป็นการรักษาคนละโรค หรือโรคเดียวกัน (รวมถึงอาการสืบเนื่อง) แต่แอดมิตห่างจากครั้งก่อนเกิน 90 วัน

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ Deductible แบบรายครั้งการรักษา จะมีโอกาสจ่ายมากกว่า Deductible แบบรายปี เมื่อพิจารณาถึงการแอดมิตในปีนั้น ๆ แต่ก็เป็นเหตุให้ Deductible แบบรายครั้งการรักษา จะช่วยลดเบี้ยประกันได้มากกว่าแบบรายปีด้วยนั่นเอง

ค่ารักษา 21

อย่างไรก็ตาม Deductible ที่ต้องจ่ายนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละแบบประกันสุขภาพ โดยบางแบบจะต้องจ่ายรับผิดก่อนเสมอ หากมีการเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยในอย่าง หมวดที่ 1-5 หรือ หมวดที่ 1-6 แต่หากเป็นการเคลมนอกเหนือจาก หมวดดังกล่าวจะไม่ต้องจ่ายรับผิดใด ๆ ก่อนเลยก็สามารถเคลมได้ทั้งหมด

ในขณะที่บางแบบประกันสุขภาพ อาจมีการระบุชัดเจนว่าจะต้องจ่ายรับผิดก่อนเสมอ หากเคลมหมวดที่ 1-13 ซึ่งจะส่งผลต่อ หมวดที่คุ้มครองผู้ป่วยนอกอย่าง หมวดที่ 6-13 ด้วย ดังนั้นการเลือกแบบประกันสุขภาพที่มี Deductible จึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยว่า จะต้องจ่ายรับผิดหากมีการเคลมความคุ้มครองในหมวดใดบ้าง 

คุ้มครองหมวด รับผิด

ตย. ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : กรณีมีค่ารับผิดส่วนแรก

จาก ตย. ตารางความคุ้มครอง จะเห็นได้ว่าบางแบบประกันสุขภาพจะสามารถเลือก Deductible ให้กับแผนตนเองได้ ในขณะที่บางแบบประกันสุขภาพจะมีการกำหนดมาแล้วว่าแผนใดจะต้องเป็น Deductible เท่าใดแบบตายตัว

นอกจากนี้ส่วนที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ แบบประกันสุขภาพที่คิด Deductible ในหมวดที่ 6 ด้วยนั้น ทำให้การเคลมย้อนหลังหมวดที่ 6.1 ค่าตรวจวินิจฉัยก่อนแอดมิตได้ จะต้องมั่นใจว่าค่าใช้จ่ายการแอดมิตครั้งนั้นได้เกินค่า Deductible ไปแล้วจึงจะมีโอกาสเคลมได้ เช่น แผนที่มี Deductible 50,000 บ. ค่าใช้จ่ายที่จะเคลมตอนแอดมิตต้องเกิน 50,000 บ. และจ่ายรับผิดไปเรียบร้อยแล้ว

เว้นแต่บางแผนที่มี Deductible 100,000 บ. อาจจะมีหมวดความคุ้มครองพิเศษ OPD ทั่วไปหลักหมื่นบาทขึ้นไปมาให้ด้วย ก็จะสามารถใช้หมวดพิเศษนี้ช่วยจ่าย หมวดที่ 6 ได้ แม้ว่าการแอดมิตครั้งนั้นจะมีค่าใช้จ่ายไม่ถึง 100,000 บ. ก็ตาม

อย่างไรก็ตามการแอดมิตเป็นผู้ป่วยในในปัจจุบันนั้น หากเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว โอกาสที่ค่าใช้จ่ายจะเกินหลักแสนขึ้นไปจะสูงอย่างมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนการผ่าตัดหมวดที่ 4 และการรักษาต่อเนื่องแบบผู้ป่วยในหมวดที่ 1-3 ร่วมด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

หมวดที่ 1 : ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการ

การแอดมิตนอน รพ. ส่วนที่คนส่วนใหญ่กังวลมักจะเป็นเรื่องของค่าห้อง เนื่องจากค่าห้องมีหลายระดับ หลายราคาตามความสะดวกสบายที่ต้องการ (ไม่ใช่ด้วยตามความจำเป็นทางการแพทย์)

จึงทำให้แบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะเหมาจ่ายตามจริงค่าห้องได้เหมือนหมวดความคุ้มครองอื่น ๆ และทำให้หมวดค่าห้อง หรือ หมวดที่ 1 นี้เป็นหมวดที่จำเป็นต้องมีวงเงินให้จำกัด โดยวงเงินที่ได้จะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่จ่ายโดยตรง

ทั้งนี้เพื่อแก้ไขให้สามารถจ่ายตามจริงของค่าห้องได้ บางแบบประกันสุขภาพจึงจำเป็นต้องระบุชนิดของค่าห้องที่จำเป็นจริง ๆ ขึ้นมา ซึ่งมักจะเป็นห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. นั้น ๆ นั่นเอง อย่างไรก็ตามห้องเดี่ยวลักษณะนี้จำนวนห้องจะไม่มาก แต่หากห้องเต็มก็ยังมีโอกาสที่ทาง รพ. จะอัพเกรดห้องให้ได้

โดยหมวดที่ 1 ตามมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 นั้น ค่าห้องจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ค่าห้องโดยตรง ค่าอาหาร 3 มื้อ และค่าบริการใน รพ. (สำหรับอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษา) ซึ่งจะแตกต่างกับประกันสุขภาพมาตรฐานก่อนหน้าที่มักจะมีการรวม ค่าบริการพยาบาล (เกี่ยวข้องกับการรักษาในหมวดที่ 2.2) เข้ามาในค่าห้องด้วย

จึงทำให้ค่าห้องของมาตรฐานเก่ามักจะได้น้อยกว่ามาตรฐานใหม่ เพราะไม่ได้แยกค่าบริการพยาบาลออกมาจ่ายตามจริง อย่างไรก็ตามบางแบบประกันสุขภาพในปัจจุบันแม้เป็นมาตรฐานใหม่ แต่ก็ยังมีการจำกัดค่าบริการพยาบาลให้อยู่ในวงเงินค่าห้องก็มีอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องอ่านเงื่อนไขส่วนหมวดที่ 1 นี้ให้ดีก่อนที่จะเลือกห้องที่จะใช้แอดมิต

ค่ารักษา 20

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าห้องผู้ป่วยใน

ค่าผ่าตัด IPD 3

ตย. การเคลมประกันสุขภาพ : ค่าห้อง อาหาร บริการ

จาก ตย. การเคลมของหมวดที่ 1.1 หรือค่าห้องนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนอย่างชัดเจน (ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ายบริการ) โดย 3 ส่วนนี้ร่วมกันแล้วจะต้องไม่เกินวงเงินที่คุ้มครอง โดยหากเกินจะเป็นกลายเป็นส่วนต่างที่ผู้ทำประกันจะต้องชำระเอง ซึ่งจาก ตย. จะเห็นได้ว่า หมวดที่ 1.1 จะคุ้มครองที่วันละ 10,000 บ. เท่านั้น แต่ห้องที่พักจริงเมื่อรวมค่าอาหารและค่าบริการแล้วจะเกินวันละ 10,000 บ. จึงเกิดส่วนต่างที่ต้องออกเองขึ้น

คุ้มครองหมวดที่1

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่าห้อง อาหาร บริการ

จาก ตย.ตารางคุ้มครอง จะมีจุดที่สำคัญอีกอย่างคือ จำนวนวันการแอดมิตต่อครั้งการรักษา ที่แต่ละแบบประกันสุขภาพจะมีความแตกต่างกัน โดยจำนวนวันสูงสุดจะอยู่ที่ 365 วัน (รวมจำนวนวันในห้อง ICU แล้ว) ต่อครั้งการรักษา นั่นหมายความว่า

หากรักษาโดยโรคเดิมจะนอน รพ. ได้นานที่สุดตามความจำเป็นทางการแพทย์ที่ 365 วันเท่านั้น และจำเป็นต้องออกจาก รพ. ให้เกิน 90 วัน จึงจะกลับเข้ามาแอดมิตใหม่ด้วยโรคเดิมได้ หรือ ต้องกลับมาแอดมิตด้วยโรคใหม่ เพื่อให้นับเป็นครั้งการรักษาใหม่ และเริ่มนับวันแอดมิต 365 วันได้ใหม่อีกครั้งนั่นเอง 

แต่โดยปกติแล้วหากต้องนอน รพ. นานขนาดนี้ มักจะอยู่ในอาการโคม่าและอาจจำเป็นต้องอยู่ห้อง ICU ร่วมด้วย ซึ่งบางแบบประกันจะมีการกำหนดจำนวนวันของ ICU ต่อครั้งการรักษาขึ้นมาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่บอกว่า

แบบประกันสุขภาพนี้ไม่ได้รองรับความเสี่ยงอาการโคม่าที่ต้องอยู่ใน ICU นานเกินวันที่กำหนดได้ ซึ่งปกติแล้วแบบประกันสุขภาพที่รองรับ ICU ได้ถึง 365 วัน จะเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายหลักหลายสิบล้านขึ้นไป เพราะค่าใช้จ่ายหากต้องอยู่ ICU หรือแม้แต่ห้องปกติได้นานถึง 365 วัน ก็มีมูลค่าสูงถึงหลักสิบล้านเช่นกัน

ทั้งนี้นอกจากค่าห้องแล้วยังมีค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ สำหรับการบำบัดรักษาอยู่ โดยจะอยู่ในหมวดที่ 2 กับ 3 ดังต่อไปนี้

หมวดที่ 2-3 : ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา เวชภัณฑ์ และแพทย์ตรวจรักษา

เป็นหมวดความคุ้มครองผู้ป่วยในส่วนสำคัญที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากใกล้เคียงกับค่าผ่าตัด หรือ อาจจะมากกว่าหากต้องมีการนอน รพ. นานหลายสิบวัน หรือ นานเป็นเดือน และแน่นอนว่าสูงกว่าค่าห้องของหมวดที่ 1 เพียงแต่หมวดที่ 2 กับ 3 จะดีกว่าหมวดที่ 1 ตรงที่ ประกันสุขภาพจะสามารถเน้นจ่ายตามจริงได้ เพราะเป็นหมวดที่เกี่ยวกับการรักษาที่จำเป็นทางการแพทย์โดยเฉพาะ

โดยส่วนสำคัญแรกที่จะได้ใช้ในหมวดนี้ คือ หมวดที่ 2.1 ซึ่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการตรวจวินิจฉัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวินิจฉัยก่อนหรือหลังผ่าตัด หรือการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา ด้วยเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยแบบต่าง ๆ จะถูกรูปเหมาจ่ายตามจริงไว้ในหมวดนี้

ค่ารักษา 24 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยใน

ภายหลังการตรวจวินิจฉัย ก็จะพบกับสาเหตุของอาการผิดปกติ ทำให้สามารถทำการบำบัดรักษาต่อเนื่องได้ด้วยหมวดคุ้มครองที่ 2.2 นี้ ซึ่งประกันสุขภาพมักจะเป็นการเหมาจ่ายค่ารักษาในหมวดนี้ด้วยเช่นเดียวกับหมวดที่ 2.1 โดยนอกจากการรักษาแล้ว จะยังรวมไปถึงด้านการฟื้นฟูร่างกายด้วยกายภาพบำบัด และค่าใช้จ่ายด้านการบริการทางการพยาบาลเพื่อการรักษาร่วมกับค่าบริการอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมด

ค่ารักษา 24 2

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่ารักษาผู้ป่วยใน

ในขณะที่หมวดที่ 2.2 จะเน้นที่การบริการทางการพยาบาลเพื่อการรักษา หมวดที่ 2.3 จะเน้นที่ค่ายา ค่าสารอาหาร รวมค่าเวชภัณฑ์ 1 กับ 3 ที่ใช้ในการรักษาตอนอยู่ รพ. และมีหมวดที่ 2.4 ที่จะเน้นสำหรับค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ 1 ที่ต้องใช้ในการรักษาต่อเนื่องที่บ้านหลังออกจาก รพ. แล้ว

โดย เวชภัณฑ์ 1 หรือเวชภัณฑ์สิ้นเปลือง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา หรือการทำแผลที่ “ใช้ครั้งเดียวทิ้ง” เพื่อสุขอนามัย เช่น เข็มฉีดยา ชุดให้ยา ที่ติดแผลหรือสาายน้ำเกลือ เป็นต้น

และ เวชภัณฑ์ 3 หรือเวชภัณฑ์ใช้ในร่างกาย คือ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในตัวผู้ป่วย ที่อยู่ภายในร่างกายหรือติดตัวผู้ป่วย หรือกายอุปกรณ์เทียม เช่น ข้อเข่าเทียม เหล็กดามกระดูกหัก เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ข้อสะโพกเทียม หรือหลอดเลือดเทียม เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหมวดที่ 2.3 กับ 2.4 นี้จะไม่ได้คุ้มครองรวมไปถึงเวชภัณฑ์ 2 หรือเวชภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ไม้ค้ำยัน ฟันปลอม เฝือกพยุงคอ ขาเทียม และเครื่องช่วยฟัง เป็นต้น และในประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 นี้ ก็จะไม่มีหมวดความคุ้มครองที่เกี่ยวกับเวชภัณฑ์ 2 เช่นกัน  

ค่ารักษา 25

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่ายาสารอาหาร ค่าเวชภัณฑ์

อย่างไรก็ตามบางแบบประกันสุขภาพได้เพิ่มหมวดความคุ้มครองพิเศษขึ้นมา สำหรับเวชภัณฑ์ 2 บางอย่างขึ้นมาให้ด้วย เพื่อเติมเต็มหมวดความคุ้มครองที่ขาดหายไปของประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 นี้ ดังตัวอย่าง หมวดความคุ้มครองพิเศษด้านล่างนี้

ค่ารักษา 27

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : อุปกรณ์ (เวชภัณฑ์) นอกกาย

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ อุปกรณ์เทียมนอกกาย

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : อุปกรณ์ (เวชภัณฑ์) นอกกาย

นอกจากการตรวจวินิจฉัยและการรักษาแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือการตรวจรักษาจากแพทย์โดยตรง ที่จะมีรอบในการมาเยี่ยมเพื่อสอบถามอาการ ประกอบการวินิจฉัยและการรักษาในทุกวัน

ซึ่งหากโรคหรือการบาดเจ็บที่เป็นอยู่ จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางมากกว่า 1 ด้านเข้ามาตรวจเยี่ยมและรักษาด้วย หมวดที่ 3 นี้ก็จะสามารถให้ค่าแพทย์สำหรับการตรวจรักษานี้ทั้งหมดได้

เว้นแต่ว่าบางแบบประกันสุขภาพ อาจจะมีการวางเงินค่าแพทย์ตรวจรักษาต่อวันอยู่โดยไม่ได้จ่ายจริง ก็อาจะส่งผลให้เกิดส่วนเกินวงเงินขึ้นได้ หากมีแพทย์มากกว่า 1 ด้านที่ต้องเข้ามาตรวจเยี่ยมรักษาในวันนั้น ๆ

ค่ารักษา 26

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ค่าแพทย์ตรวจรักษา

ค่าผ่าตัด IPD 2

ตย. การเคลมประกันสุขภาพ : ค่าแพทย์ตรวจรักษา

คุ้มครองหมวดที่2 3

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : การตรวจรักษาผู้ป่วยใน

จาก ตย. ตารางความคุ้มครองจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วหมวดที่ 2.1-2.3 มักจะไม่มีปัญหาเรื่องส่วนต่างมากนัก โดยเฉพาะหากมีหมวดพิเศษมาช่วยเสริม หมวดที่ 2.3 ในค่าเวชภัณฑ์ 2 ร่วมด้วย

แต่จะมีเริ่มมีส่วนที่เริ่มแตกต่างกันในแต่ละแบบประกันสุขภาพ เมื่อเกี่ยวข้องกับหมวดที่ 2.4 กับหมวดที่ 3 โดยเฉพาะหมวดที่ 2.4 ที่บางแบบให้ค่ายากลับบ้านมาได้สูงสุดเพียง 7 วัน ทำให้ภายหลังออกจาก รพ. แล้วต้องกลับมา Follow up เพื่อรับยาเพิ่ม แต่วงเงิน Follow up มีจำกัด ก็อาจจำเป็นต้องจ่ายส่วนต่างค่ายานี้เองได้

ในขณะที่หมวดที่ 3 ค่าแพทย์ตรวจเยี่ยมรักษานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหมาจ่ายตามจริง แต่อย่างไรก็ตามก็มีบางแบบประกันที่จำกัดวงเงินส่วนนี้อยู่ และอาจกลายเป็นส่วนต่างสำคัญได้ โดยเฉพาะกับการบำบัดรักษาโรคมะเร็งที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน 

เมื่อทำการรักษาเป็นผู้ป่วยในต่อเนื่อง จนอาการดีขึ้น และไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรับการรักษาหรือต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในฐานะผู้ป่วยในแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นการรักษาในฐานะผู้ป่วยนอก และมีการ Follow up ต่อไปดังนี้

การ Follow up ติดตามอาการ แบบ OPD (หลัง IPD)

ทุกครั้งที่มีการแอดมิตเป็นผู้ป่วยใน IPD จะต้องมีการนัด Follow up แบบ OPD ด้วยเสมอ ซึ่งบางอาการจะสามารถติดตามอาการด้วยการสอบถามได้ ในขณะที่บางอาการอาจต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมถึงจะสามารถติดตามอาการได้

จึงทำให้มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 ให้มีความคุ้มครองการ Follow up OPD หลัง IPD นี้ขึ้นมาโดยจะอยู่ในหมวดที่ 6 แต่ทั้งหมวดที่ 6 จะเน้นการติดตามอาการโรคทั่วไปที่ไม่เรื้อรัง กับ ติดตามอาการหลังการผ่าตัดเป็นหลัก

ซึ่งอาการทั้งสองมัก แพทย์จะมีการนัด Follow up ประมารณ 2 ครั้ง (เว้นแต่มีอาการแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องมากกว่า 2 ครั้ง) โดยการผ่าตัดมักจะมีระยะเวลาในการตรวจสอบไหมละลาย หรือ การนำไหมที่เย็บแผลออกประมาณ 1 เดือนเท่านั้น จึงทำให้หมวดที่ 6 จะถูกจำกัดระยะเวลาคุ้มครองเพียง 30 วันหลัง IPD เท่านั้น

หมวดที่ 6 : Follow up แบบ OPD

เนื่องจากหมวดที่ 6 นี้ที่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่ไม่เรื้อรังเป็นหลัก จึงทำให้หากหมวดที่ 6 นี้มีการจำกัดจำนวนครั้งการใช้งาน หรือ จำกัดวงเงินการใช้งานมาด้วย จะส่งผลต่อการแอดมิตด้วยโรคเดิมอีกครั้งภายใน 90 วันที่ยังนับเป็นครั้งการรักษาเดียวกันอยู่ทันที

เช่น จากตารางด้านล่างจะมีการจำกัดวงเงินหมวดที่ 6 ต่อครั้งการรักษาอยู่ที่ 10,000 บ. นั่นหมายความว่า หากใช้ 10,000 บ. ในการติดตามอาการของการแอดมิตตอนแรกจนหมดไปแล้ว แล้วต่อมาต้องแอดมิตด้วยโรคเดิมอีกครั้งใน 90 วัน ก็จะทำให้ไม่เหลือวงเงินในการติดตามอาการแอดมิตครั้งล่าสุดนี้เลย เพราะถือว่ายังนับเป็นครั้งการรักษาเดียวกันอยู่

หรือ หากมีการจำกัดจำนวนครั้งการใช้งาน เช่น 2 ครั้งต่อการเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง แล้วแอดมิตตอนแรกได้ใช้การ Follow up 2 ครั้งไปแล้ว แล้วต่อมาต้องแอดมิตด้วยโรคเดิมอีกใน 90 วัน ก็จะไม่เหลือจำนวนครั้งให้สามารถ Follow up ติดตามอาการได้อีกเลย

ดังนั้นหมวดที่ 6 นี้หากเลือกแบบที่เป็น จ่ายตามจริง และ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ก็จะทำให้ไม่มีผลกระทบจาก การรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ได้ เพราะจะเน้นไปที่ 30 วันก่อนหลังการแอดมิตเป็นหลักเท่านั้น

คุ้มครองหมวดที่6
ค่ารักษา 21

การตรวจวินิจฉัยจะถูกแยกออกมาจากการรักษษอย่างชัดเจนในหมวดที่ 6.1 เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยจะคุ้มครองทั้งก่อนและหลังแอดมิต 30 วัน ในขณะที่การรักษาจะใช้ได้เฉพาะ 30 วันหลังแอดมิตเท่านั้น

ค่ารักษา 01 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษา

ค่ารักษา 29 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : รักษาผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการักษา

โดยปกติแล้วค่ารักษาติดตามอาการมักจะมีราคาไม่เกินหลักพันบาท หากไม่ต้องรับยาที่ราคาแพงใด ๆ เพิ่มเติม หรือ จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยฉายภาพขั้นสูงในการติดตามผลใด ๆ อีก

ค่า followup OPD 2

ตย. การเคลมประกันสุขภาพ : รักษาผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษา

เว้นแต่ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือ โรคเกี่ยวกับกระดูก หรือ สมอง ที่ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องในแบบ OPD ต่อไป ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลักพันบาทขึ้นไปได้ เพราะจะไม่ใช่เพียงการติดตามอาการ แต่เป็นการรักษาพยาบาลต่อเนื่องด้วยนั่นเอง

ค่า followup OPD

ตย. การเคลมประกันสุขภาพ : รักษาผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษา

คุ้มครองหมวดที่6 8 e1727718130788

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : การ Follow up OPD  'หลัง' แอดมิต 30 วันต่อครั้งการรักษา

จาก ตย. ตารางการเคลม และ ตย. ตารางคุ้มครองแล้ว หากต้องการโอนความเสี่ยงโรคหรืออาการบาดเจ็บที่ยังต้องมีการรักษาหรือตรวจวินิจฉัยอย่างต่อเนื่องแบบ OPD การเลือกแบบประกันสุขภาพที่จ่ายตามจริง ไม่จำกัดจำนวนครั้งในหมวดที่ 6.1 กับ 6.2 ได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจากการติดตามอาการ หรือ รักษาต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอกแล้ว ก็ยังมีการฟื้นฟูสภาพในฐานะผู้ป่วยนอกต่อด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการบาดเจ็บถึงกระดูก และสมอง ดังความคุ้มครองต่อไปนี้

การฟื้นฟูสภาพแบบ OPD (หลัง IPD)

นอกจากการรักษาต่อเนื่องด้วยยาในหมวดที่ 6.2 แล้ว จะยังมีการรักษาในลักษณะการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานได้ตามปกติหรือฟื้นตัวได้มากที่สุดด้วย ซึ่งการฟื้นฟูจะประกอบไป กายบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด และ จิตบำบัด

ทั้งนี้เบื้องต้นในมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 นั้นจะได้มีการฟื้นฟูสภาพตั้งแต่ในฐานะผู้ป่วยในที่อยู่ในความคุ้มครองหมวดที่ 2.2 ส่วนกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด อยู่แล้ว (แต่ไม่ได้ครอบคลุมอรรถบำบัด และจิตบำบัด) โดยมักจะเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับ หลอดเลือด สมอง หัวใจ ปอด กระดูก ไขข้อ มะเร็ง แผลไหม้รุนแรง เป็นต้น ที่ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง จึงทำให้ต้องมีการฟื้นฟูโดย..

  • การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด การหายใจ การสื่อสาร การพูด การกลืนอาหาร
  • การบำบัดฟื้นฟูทางด้านร่างกาย ให้เกิดการเคลื่อนไหวในแขนและมือข้างที่มีอาการอ่อนแรงให้กลับมาใช้งานให้ได้มากที่สุด 
  • การฝึกการจัดท่าทาง การทรงท่า ให้ผสามารถทำกิจวัตรประจำวันที่ต้องอาศัยการทรงตัวได้
  • การบำบัดฟื้นฟูทางด้านการรับความรู้สึก เช่น การรับรู้อุณหภูมิร้อนเย็น การรับรู้รสชาติ เป็นต้น
  • การฟื้นฟูด้านความเข้าใจและการรู้คิด เช่น ความจำ การรับรู้สภาวะความเป็นจริง บุคคล สถานที่ เวลา 

ทำให้จำเป็นต้องทยอยฟื้นฟูจนแพทย์ให้ความเห็นว่าสามารถออกจาก รพ. และสามารถฟื้นฟูสภาพในฐานะผู้ป่วยนอก หรือดูแลต่อที่บ้านได้

อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูสภาพฐานะผู้ป่วยในนั้น จะทำได้ถึงเพียงเห็นว่าอาการทรงตัวไม่สามารถดีขึ้นกว่านี้อย่างรวดเร็วได้อีกแล้ว โดยเฉพาะกับผู้ป่วยติดเตียง (ปกติจะใช้เวลาดูอาการประมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์) ก็จะจำเป็นต้องให้กลับบ้านเนื่องจากจะไม่มีการบำบัดรักษาที่ทำให้มีความจำเป็นทางการแพทย์ในฐานะผู้ป่วยในต่อไปได้อีก

จึงทำให้คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลที่บ้านจำเป็นจะต้องฝึกในการพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ การนวดการช่วยขยับแขนขา การทำและให้อาหารทางสายยาง การดูแลเรื่องการขับถ่าย เป็นต้น โดยในส่วนนี้หากมีการจ้างพยาบาลส่วนตัวช่วยในช่วงการปรับตัวของคนที่บ้านหรือปรับตัวของผู้ดูแลได้จะดีมาก แต่ถ้าหากไม่ถึงขั้นติดเตียง การเตรียมตัวเพื่อจะสามารถมาฟื้นฟูสภาพต่อในฐานะผู้ป่วยนอกต่อเนื่องจะจำเป็นอย่างมาก

จากการฟื้นฟูสภาพที่กล่าวมานี้เอง โดยเฉพาะภายหลังการได้รับการผ่าตัดซับซ้อนในอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 ได้มีการให้ความคุ้มครองในหมวดที่ 8 อย่างชัดเจนเพื่อให้ครอบคลุมการฟื้นฟูภายหลังการรักษาด้วย

หมวดที่ 8 : เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ในหมวดที่ 8 นี้ จะไม่ได้คุ้มครองการบำบัดรักษาทางด้านจิตบำบัด รวมถึงทางด้านร่างกายหรือการให้ยารักษาใด ๆ เพราะการรักษาจะอยู่ในหมวดที่ 6.2 เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้หมวดที่ 8 นี้ จะเน้นคุ้มครองที่การฟื้นฟูสภาพในฐานะผู้ป่วยนอก OPD เป็นหลักจริง ๆ โดยจะประกอบไปด้วยการบำบัดต่อไป

  • กายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมและมีใบรับรอง เช่น การรักษาด้วยคลื่นความร้อนอัลตราซาวด์ การดึงหลัง การประคบร้อน การนวด การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การฝึกการเคลื่อนไหวและทรงตัว การกายภาพปอดและทางเดินหายใจ และกายภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • กิจกรรมบำบัด โดยนักกิจกรรมบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมและมีใบรับรอง เช่น การกระตุ้นเมื่อเริ่มมีพัฒนาการ ฝึกการคิด ฝึกการรับรู้ การกระตุ้นกล้ามเนื้อเกี่ยวกับระบบช่องปาก การจัดการการเคี้ยวและกลืน
ค่ารักษา 30

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : รักษาผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 60 วัน

คุ้มครองหมวดที่8

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : รักษาผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วัน

เนื่องจากอาการปวดต่าง ๆ หรือ อาการที่ต้องได้รับการฟื้นฟูนั้น ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน จึงทำให้การฟื้นฟูเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในรูปแบบ OPD เป็นหลัก ซึ่งพอเป็น OPD ที่วัดความจำเป็นทางการแพทย์ได้ 

จึงทำให้บางแบบประกันสุขภาพจะไม่ได้ให้ความคุ้มครองในหมวดที่ 8 นี้ ในขณะที่แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองจะระบุชัดเจนว่าฟื้นฟูได้สูงสุดวันละ 1 ครั้ง ภายใน 60 วันหลังการแอดมิตเท่านั้น ซึ่งจะเพียงพอสำหรับการฟื้นฟูสภาพให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดเท่านั้น จะไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการดูแลฟื้นฟูจนหายปวด หรือกลับมาเป็นปกติได้ 100%

แนวทางปฏิบัติหมวดที่ 8

อย่างไรก็ตามหมวดที่ 8 ยังจะไม่มีการฟื้นฟูในส่วนของ อรรถบำบัด แพทย์ทางเลือก (ฝังเข็ม) และ การมีพยาบาลวิชาชีพดูแลส่วนตัวตามคำแนะนำจากแพทย์ในการรักษาต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงหากมีความจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดต่อภายหลังแอดมิต 60 วัน

จึงทำให้บางแบบประกันสุขภาพได้มีหมวดความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม เพื่อสามารถที่จะมีความคุ้มครองได้ครอบคลุมมากขึ้นกว่าที่มีในหมวด 8 ดังต่อไปนี้

หมวดพิเศษ : เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เพิ่มความคุ้มครอง อรรถบำบัด การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร ให้บริการอรรถบำบัดโดยนักอรรถบำบัดที่มีทักษะสูง ครอบคลุมถึงการประเมินการพูด การฝึกพูดสำหรับผู้มีปัญหาด้านการสื่อสาร และภาวะหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

โดยหากเป็นในฐานะผู้ป่วยในจะขยายความคุ้มครองอรรถบำบัดในหมวดที่ 2.2 ได้สูงสุดที่ 30 วันต่อโรคต่อปีกรมธรรม์ และหากเป็นในฐานะผู้ป่วยนอกจะขยายความคุ้มครองหมวดที่ 8 ได้สูงสุดที่ 60 วันภายหลังการแอดมิต

ค่ารักษา 32

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ขยายเพิ่มอรรถบำบัด

เพิ่มความคุ้มครอง พยาบาลวิชาชีพดูแลส่วนตัวที่บ้าน ตามคำแนะนำแพทย์เพื่อให้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องสูงสุดไม่เกิน 60 วันภายหลังแอดมิต

ค่ารักษา 31

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : พยาบาลส่วนตัว 60 วัน

เพิ่มความคุ้มครอง แพทย์ทางเลือก โดยเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีแผนการรักษาและการวัดผลลัพธ์จากการรักษาที่ชัดเจน

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ ฝังเข็มแพทย์ทางเลือก

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : แพทย์ทางเลือก

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ ฟื้นฟู

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ขยายเวชศาสตร์ฟื้นฟู

นอกจากนี้ยังมีหมวดพิเศษค่ารักษา OPD ทั่วไป ที่สามารถนำมาใช้กับกายภาพบำบัดได้ 1 ครั้งต่อวันอีกด้วย จึงทำให้หมวดพิเศษที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนี้จะช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปของหมวดที่ 8 ได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามจะต้องแลกมากับเบี้ยประกันที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 

โดยเฉพาะในส่วนความคุ้มครอง OPD ทั่วไปที่ครอบคลุมถึงกายภาพบำบัด และแพทย์ทางเลือก ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยในมาก่อน และทำให้เฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้อื่นได้ยากทำให้ต้องรับความเสี่ยงส่วนใหญ่ไว้เองด้วยเบี้ยที่สูงขึ้น และวงเงิน OPD ที่จำกัด (เว้นแต่เป็นการกายบำบัดเนื่องจากอุบัติเหตุ จะสามารถใช้ อบ.3 คุ้มครองต่อเนื่องได้ถึง 1 ปี หรือจนกว่าวงเงินคุ้มครองจะหมด โดยเบี้ยหลักพันจะได้วงเงินคุ้มครองหลักแสนต่ออุบัติเหตุ)

ทั้งนี้หากเป็นกายภาพบำบัดแบบ OPD ทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณหลักพันบาทต่อครั้ง และทำกายภาพบำบัดประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจะแตกต่างกับการฟื้นฟูสภาพที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับผู้ป่วยใน ที่ค่าใช้จ่ายจะสามารถอยู่ที่หลักหมื่นบาทขึ้นไปต่อครั้งได้ในช่วงแรกของการฟื้นฟู แต่เนื่องจากมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากความคุ้มครองส่วนนี้ประกันจึงจะสามารถจ่ายตามจริงได้

หากเป็นการรักษาโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง การรักษาอาจจะจบลงที่หมวดนี้ แต่ถ้าหากมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งแล้ว จะส่งผลให้ยังต้องมีการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อเนื่องแบบ OPD ต่อไปอีกดังต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัยแบบ OPD  สำหรับการใช้ยามุ่งเป้า

หากเป็นการรักษามะเร็งที่มีการใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยยับยั้งการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้มีมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัด

แต่ยากลุ่มนี้จะใช้ได้เฉพาะมะเร็งชนิดที่มี “เป้า” ที่จำเพาะต่อยาเท่านั้นอยู่ ดังนั้นขบวนการสำคัญที่เพิ่มเข้าขึ้นมาจากขั้นตอนปกติในการรักษามะเร็งคือ “การตรวจหาเป้า” โดยนำเลือดของผู้ป่วย หรือชิ้นเนื้อมะเร็งส่งตรวจพันธุกรรม หากตรวจพบเป้า หรือ ยีนพันธุ์ที่เข้ากันได้กับยา จึงจะมีโอกาสใช้ยามุ่งเป้าได้

โดยขั้นตอนการตรวจหาเป้านี้เอง จะเป็นการตรวจวินิจฉัยแบบผู้ป่วยนอก OPD ซึ่งจะสามารถใช้หมวดความคุ้มครองของประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 ได้ดังต่อไปนี้

หมวดพื้นฐาน : ใช้ตรวจวินิจฉัยหมวดที่ 2.1 หรือหมวดที่ 6.1

หากเป็นตรวจวินิจฉัยหาเป้าเพื่อรับยามุ่งเป้าตั้งแต่ตอนเป็นผู้ป่วยใน IPD จะสามารถใช้ความคุ้มครองข้อ 2.1 ได้ แต่อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่จะยังไม่ได้รับยามุ่งเป้าทันทีตั้งแต่ตอนเป็นผู้ป่วยใน โดยจะเน้นการรักษาด้วยการผ่าตัดก่อน จากนั้นภายหลังการแอดมิตจึงค่อยมีการรับยามุ่งเป้า ซึ่งจะทำให้การตรวจหาเป้าจะสามารถใช้ความคุ้มครองหมวดที่ 6.1 ตรวจวินิจฉัยหลังแอดมิต 30 วันได้ 

หรือในบางกรณีก่อนผ่าตัดอาจจำเป็นต้องรับยามุ่งเป้าก่อนเพื่อลดขนาดของมะเร็ง ในกรณีนี้การตรวจหาตัวรับจะยังสามารถใช้หมวดที่ 6.1 ได้ แต่จะเป็นในลักษณะการสำรองจ่ายไปก่อน โดยต้องผ่าตัดใน 30 วัน จึงจะสามารถเคลมคืนภายหลังการแอดมิตได้

ค่ารักษา 24 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยใน

ค่ารักษา 01 1

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอก 'หลัง' แอดมิต 30 วัน

แนวทางปฏิบัติหมวดที่ 6.1

หมวดพิเศษ : ตรวจวินิจฉัยสำหรับยามุ่งเป้าโดยเฉพาะแบบ OPD

อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถผ่าตัดใน 30 วันหลังตรวจหาเป้าได้ ก็จะไม่สามารถใช้ความคุ้มครองหมวดที่ 6.1 ได้ รวมถึงในกรณีที่หลังการแอดมิต จะต้องมีการรักษาด้วยฉายแสงก่อน และใช้เวลานานกว่า 30 วันหลังแอดมิต กว่าที่จะเริ่มเข้าสู่ขบวนการใช้ยามุ่งเป้าและการตรวจหาเป้า ซึ่งก็จะส่งผลให้ไม่สามารถใช้หมวดที่ 6.1 ในการคุ้มครองค่าตรวจหาเป้าได้เช่นกัน

เว้นแต่การตรวจหาเป้านั้นต้องตัดชิ้นเนื้อมะเร็งเพื่อไปตรวจด้วยวิธี Day Surgery ที่เทียบเท่าผู้ป่วยใน ก็จะสามารถใช้หมวดที่ 2.1 คุ้มครองค่าตรวจนี้ได้ (แต่อย่างไรก็ตามการตัดชิ้นเนื้อบางอย่างจะเป็นเพียง Minor Surgery ที่เป็นการตรวจ OPD เท่านั้น ซึ่งจะไม่ได้รับความคุ้มครองหมวดที่ 2.1 กับ 6.1 นี้)

ดังนั้นบางแบบประกันสุขภาพจึงได้มีหมวดความคุ้มครองพิเศษเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากในมาตรฐานประกันสุขภาพปี 64 เพื่อให้สามารถดูแลค่าใช้จ่ายการตรวจหาเป้าแบบ OPD หลักหมื่นบาทขึ้นไปนี้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดของการรักษามะเร็งก็ตาม

ค่ารักษา 33

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ตรวจรหัสพันธุกรรมผู้ป่วยนอก

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD 4

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ตรวจรหัสพันธุกรรมผู้ป่วยนอก

หมวดพิเศษ : ตรวจวินิจฉัยด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่แบบ OPD

นอกจากนี้หากในอนาคตมีวิธีการรักษามะเร็งด้วยยาใหม่หรือวิธีใหม่ แล้วจำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูว่าสามารถใช้ยาหรือวิธีการรักษาใหม่นี้ได้หรือไม่

บางแบบประกันสุขภาพจึงได้ มีหมวดความคุ้มพิเศษอีกอย่าง ที่จะระบุในสัญญาว่าจะขยายความคุ้มครองให้รองรับการรักษาและการตรวจวินิจฉัยด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่ ที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในแพทยสภาแล้วได้ด้วย

จึงทำให้แบบประกันสุขภาพลักษณะนี้ แม้ในสัญญาจะไม่ได้มีชื่อวิธีการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษามะเร็งแบบใหม่โดยเฉพาะการรักษาแบบ OPD แต่ก็มั่นใจได้ว่าแบบประกันสุขภาพลักษณะนี้จะยังคงให้ความคุ้มครองการตรวจวินิจฉัยและรักษาแบบใหม่นี้ได้

ค่ารักษา 38
ค่ารักษา 37

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ตรวจวินิจฉัยวิวัฒนาการใหม่

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD 3 1

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ตรวจวินิจฉัยวิวัฒนาการใหม่

ทั้งนี้หากแบบประกันสุขภาพไม่มีหมวดความคุ้มพิเศษเพื่อรองรับวิวัฒนาการทางการแพทย์นี้อยู่ จะส่งผลให้หากต้องการวิธีการตรวจรักษาใหม่แบบ OPD นี้ จะต้องขอความอนุเคราะห์ไปทางฝ่ายสินไหมเท่านั้น เพราะถือว่าในสัญญาไม่ได้ระบุว่าให้ความคุ้มครองวิธีใหม่นี้ด้วย ทำให้จะต้องลุ้นมากกว่าการที่มีหมวดความคุ้มครองพิเศษนี้อยู่ในสัญญาพอสมควร โดยเฉพาะหากวิธีการตรวจรักษาใหม่มีราคาสูงกว่าวิธีเก่าอย่างมาก 

หลังจากผ่านขั้นการตรวจวินิจฉัยสำหรับยามุ่งเป้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การรักษาแบบผู้ป่วยนอกของมะเร็งแบบระยะยาวโดยเฉพาะ (รวมไปถึงการล้างไตแบบ OPD ที่ต้องรักษาระยะยาวเช่นกัน)

การล้างไต และ การรักษามะเร็งแบบ OPD

เนื่องจากการล้างไตแบบ OPD ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณหลักพันต่อครั้ง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมเป็นค่าใช้จ่ายประมาณเกือบ 1 ล้านบาทต่อปีตลอดชีวิต (เว้นแต่มีการผ่าตัดเปลี่ยนไต) 

และค่ารักษามะเร็งในส่วนการรักษาแบบ OPD ทั้งการฉายแสง คีโมยามุ่งเป้า และค่าตรวจวินิจฉัยตรวจหายีนที่จะรองรับกับยา กับค่าการฉายภาพขั้นสูงติดตามอาการ จะมีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายจะสูงรวมกันถึงปีละ 3-10 ล้านบาทต่อปี (ขึ้นอยู่กับชนิดยาและระยะของมะเร็ง ระยะ 3-4 จะต้องรักษาและติดตามอาการไปตลอดชีวิต)

อย่างไรก็ตามโอกาสการเป็นโรคล้มละลายทั้ง 2 โรคนี้ จะไม่ได้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยในทุกคน จึงทำให้ยังสามารถใช้เงินส่วนน้อยกับเบี้ยประกันเพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงภัยนี้กับคนจำนวนมากได้ และจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ปี 64 ได้มีความคุ้มครอง OPD หมวดที่ 9-11 สำหรับ 2 โรคนี้โดยเฉพาะขึ้นมา ดังต่อไปนี้

หมวดที่ 9 : การล้างไตแบบผู้ป่วยนอก

โดยหมวดนี้จะเน้นที่การล้างไตผ่านทางเส้นเลือดแบบ OPD เท่านั้น ซึ่งจะไม่ได้มีการผ่าตัดหรือทำหัตถการ อย่างไรก็ตาม หมวดที่ 9 นี้จะยังไม่ได้รองรับการล้างไตแบบใหม่หรือการล้างไตแบบ ONLINE HDF

ค่ารักษา 36

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : การล้างไตผู้ป่วยนอก

แนวทางปฏิบัติหมวดที่ 9
คุ้มครองหมวดที่9 11

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : การล้างไตผู้ป่วยนอก

จาก ตย.ตารางคุ้มครอง จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพแบบใดบ้างที่จะสามารถรองรับการโอนความเสี่ยงในหมวดที่ 9 นี้ได้

หมวดที่ 10-11 : ค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอก

ในหมวดนี้จะคุ้มครองการรักษามะเร็งผู้ป่วยนอก OPD ทั้งการฉายแสง เคมีบำบัด และยามุ่งเป้า โดยจะมีการระบุชื่อชนิดของการยาอย่างชัดเจน นอกจากนี้ในส่วนของการฉายแสงยังสามารถใช้กับเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งได้อีกด้วย

ค่ารักษา 34

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : การฉายแสง ผู้ป่วยนอก

ค่ารักษา 35

ประกันสุขภาพหมวดพื้นฐาน : ยาเคมี ยามุ่งเป้า ผู้ป่วยนอก

แต่ในหมวดที่ 11 จะได้ไม่ได้มีการระบุรวมถึงยาต้านฮอร์โมน (เม็ดละหลักสิบบาท) และยาภูมิคุ้มกันบำบัด (เม็ดละหรือเข็มละหลักแสนบาท) จึงทำให้หากยึดตามสัญญา จะไม่สามารถใช้หมวดที่ 11 นี้คุ้มครองได้

ถึงแม้ว่า คู่มือแนวปฏิบัติของ คปภ. จะให้ครอบคลุมด้วย แต่เนื่องจากไม่ได้ระบุลงในสัญญาอย่างชัดเจน บริษัทประกันจึงจะให้เคลมได้ก็ต่อเมื่อมีหนังสือขอความอนุเคราะห์ด้วยเหตุจำเป็นทางการแพทย์ตามระยะมะเร็งเข้ามาพิจารณาก่อนเท่านั้น

เว้นแต่หากยังทำการรักษาเป็นผู้ป่วยในอยู่จะสามารถใช้หมวดที่ 2 คุ้มครองค่ายาได้ หรือหากเพิ่งออกจากการแอดมิตจะใช้หมวดที่ 6 คุ้มครองได้ แต่ทั้งนี้ก็จะได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งจะไม่เพียงพอ

แนวทางปฏิบัติหมวดที่ 11
คุ้มครองหมวดที่9 11

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ยาเคมี ยามุ่งเป้า ผู้ป่วยนอก

จาก ตย.ตารางคุ้มครอง จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพแบบใดบ้างที่จะสามารถรองรับการโอนความเสี่ยงในหมวดที่ 10-11 นี้ได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

หมวดพิเศษ : การรักษาด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ใหม่แบบ OPD

จากปัญหาความไม่ครอบคลุมวิธีการรักษาใหม่ในปัจจุบันของ หมวดที่ 9-11 นี้เอง จึงทำให้บางแบบประกันสุขภาพจึงต้องมีหมวดความคุ้มครองพิเศษขึ้นมา เพื่อใช้ขยายความคุ้มครองของหมวดที่ 9-11 นี้ ให้สามารถรองรับวิธีการรักษาใหม่ที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยในแพทยสภาได้

ล้างไตปัจจุบัน
มะเร็งปัจจุบัน
ค่ารักษา 37

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : การรักษาด้วยวิวัฒนาการใหม่

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD 3 1

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : การรักษาด้วยวิวัฒนาการใหม่

ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์จึงทำให้มีวิธีการรักษาแบบใหม่ที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น ได้ผลมากขึ้น กับราคาที่มักจะสูงมากขึ้นขึ้นมา เพียงแต่ว่าด้วยมาตรฐานของประกันสุขภาพจะไม่สามารถติดตามวิวัฒนาการเหล่านี้ได้ทัน

และทำให้หากต้องการใช้วิธีการรักษาใหม่ การขอความอนุเคราะห์กับฝ่ายสินไหมของบริษัทประกันจึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยเพราะแบบประกันสุขภาพที่ออกมายังไม่ได้คิดเบี้ยประกันรับความเสี่ยงของค่ารักษาด้วยวิธีการใหม่นี้ ซึ่งหากวิธีการใหม่มีค่ารักษาสูงกว่าวิธีการเดิมมาก โอกาสที่จะขอความอนุเคราะห์สำเร็จก็จะลดลงไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามบางแบบประกันสุขภาพจะมีการคิดเบี้ยประกันรับความเสี่ยงส่วนวิธีการรักษาใหม่ในอนาคตนี้ไว้แล้ว จึงทำให้หากวิธีการรักษาใหม่นี้ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยในแพทยสภา การอนุมัติให้เคลมได้จากมีโอกาสสูงกว่าแบบประกันสุขภาพในมาตราฐานปี 64 ทั่วไปอย่างมาก

ภายหลังจากการรักษามะเร็งแบบ OPD ก็จะจำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยฉายภาพขั้นสูงแบบ OPD เพื่อตรวจสอบขนาดของมะเร็งเช่นกัน ซึ่งจะสามารถใช้ความคุ้มครองหมวดต่อไปนี้ได้

การตรวจวินิจฉัยติดตามอาการด้วยการฉายภาพขั้นสูงแบบ OPD

ความคุ้มครองส่วนนี้จะสำคัญอย่างมากในขบวนการรักษามะเร็ง เนื่องจากจำเป็นต้องตรวจสอบว่าการรักษามะเร็งได้ผลหรือไม่ เพื่อทางแพทย์จะสามารถใช้ในการวางแผนการรักษาขั้นตอนต่อไปได้

เพียงแต่ว่ามาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 นี้ จะยังไม่ได้คุ้มครองค่าฉายภาพขั้นสูงแบบ OPD (ค่าใช้จ่ายต่อปีอยู่ที่ประมาณหลักแสนบาท) จึงทำให้การที่มีแบบประกันสุขภาพที่มีหมวดคุ้มครองพิเศษส่วนนี้จะช่วยให้แบ่งเบาค่าตรวจวินิจฉัยนี้ได้พอสมควร

หรือหากมีประกันมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่รับเงินก้อนเมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง เงินก้อนที่ได้รับก็จะสามารถแบ่งมาช่วยค่าใช้จ่ายส่วนที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองได้ รวมถึงการรักษามะเร็งช่วง 1-2 ปีแรก จะส่งผลให้ยากที่จะทำงานประจำได้ การได้รับเงินก้อนจากประกันโรคร้ายแรงจึงสามารถนำมาชดเชยรายได้ที่ขาดหายจากการทำงานประจำได้ด้วยเช่นกัน

หมวดพิเศษ : การตรวจวินิจฉัยภาพขั้นสูง MRI/CT/PET

ค่ารักษา 04

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก

หมวดพิเศษ : การตรวจวินิจฉัยด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์

อย่างไรก็ตามในอนาคต อาจจะมีวิธีการตรวจผลการรักษามะเร็งที่ดีกว่า MRT/CT/PET จึงทำให้หากมีหมวดคุ้มครองพิเศษด้านวิวัฒนาการทางแพทย์ ก็จะช่วยให้มีโอกาสคุ้มครองค่าตรวจวิธีใหม่ในอนาคตนี้ได้  

ค่ารักษา 37

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ตรวจวินิจฉัยวิวัฒนาการใหม่

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ MRI 1

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ตรวจวินิจฉัยวิวัฒนาการใหม่

ปัจจุบันมีแบบประกันสุขภาพส่วนน้อยที่ให้ความคุ้มครอง ค่าตรวจวินิจฉัยฉายภาพขึ้นสูงแบบ OPD ที่ไม่ต้องแอดมิต แม้ว่าจะมีความสำคัญในขบวนการรักษาอย่างมากก็ตาม

ประกันมะเร็ง/โรคร้ายแรง

ประกันมะเร็ง/โรคร้ายแรง เจอจ่ายรับเงินก้อนตามคำนิยามโรคที่คุ้มครอง โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 

  • แบบที่ 1 เน้นคุ้มครองเฉพาะช่วงก่อนเกษียณเบี้ยน้อยคุ้มครองสูงแต่เบี้ยปรับเพิ่มเติมอายุ
  • แบบที่ 2 เน้นคุ้มครองทั้งก่อนและหลังเกษียณเบี้ยสูงกว่าแต่เป็นเบี้ยคงที่ มีทั้งจ่ายเบี้ยทุกปี กับ 20 ปี

โดยการจะเลือกแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กำลังในการจ่ายเบี้ยกับกำลังการออมร่วมกัน ดังบทความ วิธีการเลือกประกันโรคร้ายแรง

เงื่อนไขโรคร้ายแรง 3

ประกันมะเร็งและหรือโรคร้ายแรง

ในระหว่างการรักษาตรวจติดตามอาการ เมื่อมีการเปลี่ยนยา หรือเปลี่ยนวิธีการรักษา ย่อมส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงของการรักษาขึ้นมาได้ แต่ส่วนใหญ่ผลข้างเคียงจะรักษาในรูปแบบ OPD เท่านั้น

การรักษาผลข้างเคียงแบบผู้ป่วยนอก OPD

เนื่องจากผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งส่วนใหญ่แล้วจะสามารถรักษาแบบ OPD ได้ จึงทำให้แบบประกันสุขภาพมาตรฐานปี 64 จะไม่ได้คุ้มครองส่วนนี้ เว้นแต่แบบประกันสุขภาพนั้น ๆ จะมีหมวดคุ้มครองพิเศษสำหรับ OPD ทั่วไปโดยตรง

อย่างไรก็ตามค่ารักษา OPD ผลข้างเคียงนี้ปกติแล้วจะอยู่ประมาณหลักพันบาทเท่านั้น เว้นแต่เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือติดเชื้อซึ่งส่วนใหญ่จะต้องรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในซึ่งประกันสุขภาพสมารถดูแลส่วนนี้ได้

ทั้งนี้นอกเหนือจากหมวดคุ้มครองพิเศษ OPD ทั่วไปที่สามารถคุ้มครองผลข้างเคียงแบบ OPD ได้แล้ว ยังสามารถใช้ประกันมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่ได้เงินก้อน มาเสริมค่ารักษา OPD ส่วนที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองนี้ได้อีกด้วย

หมวดพิเศษ : การรักษาแบบผู้ป่วยนอกทั่วไป

ค่ารักษา 03

ประกันสุขภาพหมวดพิเศษ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอก

คุ้มครองหมวดพิเศษที่ OPD 5

ตย.ตารางคุ้มครองประกันสุขภาพ : ค่ารักษาผู้ป่วยนอก

ในแบบประกันสุขภาพที่มีหมวมดคุ้มครองพิเศษ OPD ทั่วไปมาให้นั้น มักจะสามารถเลือกแบบรับผิดส่วนแรก (Deductible) ได้เพื่อให้เบี้ยประกันลดลง โดยที่หมวด OPD ทั่วไปนี้มักจะไม่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรกก่อนที่จะใช้งาน

ซึ่งการเลือกระหว่างไม่มีรับผิดจ่ายเบี้ยเต็ม กับแบบมีรับผิดจ่ายเบี้ยลดลงแล้วเก็บเงินไว้จ่ายรับผิดส่วนแรกเอง ยังเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเปรียบเทียบให้ดีก่อนตัดสินใจ

ประกันมะเร็ง/โรคร้ายแรง

เงื่อนไขโรคร้ายแรง 3

ประกันมะเร็งและหรือโรคร้ายแรง

เช่นเดียวกับค่าตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ ที่เป็นแบบ OPD ในส่วนค่ารักษา OPD ที่เป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งนั้น ถ้าหากไม่มีความคุ้มครอง OPD ทั่วไปช่วย ก็จะจำเป็นอาศัยเงินก้อนที่ได้รับจากประกันโรคร้ายแรงเข้าช่วยแทน และเป็นข้อสรุปถึงความสำคัญของประกันโรคร้ายแรงที่จำเป็นต้องมีคู่กับประกันสุขภาพเสมอ

บทสรุป ขบวนการรักษากับประกันสุขภาพ

จะเห็นได้ว่าขบวนการรักษาทั้งหมดจะประกอบไปด้วย 

  • การตรวจวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้น OPD / PA-24hrs / Minor Surgery
  • การตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด OPD
  • การผ่าตัด IPD / Day Surgery
  • การรักษาแบบแอดมิต IPD
  • การติดตามอาการ OPD
  • การตรวจและรักษาต่อเนื่อง OPD ในโรคมะเร็งและไตวาย
  • การรักษาผลข้างเคียง OPD 

ซึ่งมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ปี 64 จะพยายามให้ครอบคลุมส่วนที่จำเป็นในขบวนการรักษาให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ต้องเกี่ยวข้องกับ IPD เนื่องมาจากการรักษาแบบ IPD จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ชัดเจนมากกว่าแบบการรักษา OPD

จึงทำให้ขบวนการรักษาที่เกี่ยวข้องกับ IPD (รวมถึง OPD ในโรคมะเร็งและไตวาย) สามารถเฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้อื่นได้จำนวนมาก ด้วยค่าเบี้ยประกันรับความเสี่ยงที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้ ในขณะที่การรักษาแบบ OPD ทั่วไปที่วัดความจำเป็นทางการแพทย์ได้ยากนั้น จะเป็นส่วนที่ยิ่งให้วงเงิน OPD ทั่วไปมาก ก็ยิ่งทำให้เบี้ยประกันสูงมากขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะ OPD ทั่วไปเท่านั้นที่ทำให้ค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น แต่รวมไปถึงความคุ้มครองต่าง ๆ ที่เน้นไปเพื่อความสะดวกสบายอย่างค่าห้อง หรือ หมวดพิเศษอื่น ๆ ที่วัดความจำเป็นทางการแพทย์ได้ยาก หรือสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าทันตกรรม ค่าฉีดวัคซีน ค่าแพทย์ทางเลือก ค่ากายภาพบำบัด เป็นต้น

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของบริษัทประกันที่จะคิดแบบประกันขึ้นมาว่าจะเน้นคุ้มครองในขบวนการรักษาส่วนใดบ้างตามหมวดความคุ้มครองมาตรฐานประกันสุขภาพปี 64 โดย

  • บางแบบเน้นเพียงขบวนการรักษา IPD อย่างเดียวเท่านั้น
  • บางแบบเน้นที่ IPD และมีเพิ่มคุ้มครอง OPD ส่วนโรคมะเร็งและไตวายร่วมด้วย
  • บางแบบเน้นทั้ง IPD และ OPD ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่คุ้มครอง OPD โรคมะเร็งและไตวาย
  • บางแบบเน้นให้ครอบคลุมทั้งหมดตามหมวดในมาตรฐานปี 64
  • บางแบบเน้นทุกหมวดในมาตรฐานปี 64 รวมถึงเพิ่มหมวดพิเศษใน IPD/OPD ที่จำเป็นในการรักษามะเร็ง
  • บางแบบเน้นทุกหมวดในมาตรฐานปี 64 และมีหมวดพิเศษต่าง ๆ ด้าน OPD ทั่วไปเข้ามาให้ด้วย

ซึ่งการจะเลือกแบบประกันสุขภาพใด ผู้ทำประกันจะต้องพิจารณาว่าจะเลือก..

  • รับความเสี่ยงไว้เอง โดยสามารถออกค่าใช้จ่ายเองได้ไหวในหมวดความคุ้มครองใดบ้าง เช่น OPD ต่าง ๆ
  • โอนความเสี่ยงออกไปให้ แบบประกันสุขภาพ ที่เน้นขบวนการรักษาผู้ป่วยใน IPD เป็นหลัก
  • โอนความเสี่ยงออกไปให้ แบบประกันโรคร้ายแรงเจอจ่ายรับเงินก้อน ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคสูง เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายที่แบบประกันสุขภาพที่เลือกไม่รองรับ
  • โอนความเสี่ยงออกไปให้ แบบประกันค่ารักษาโรคร้ายแรง กับ ประกันค่ารักษาอุบัติเหตุ เพื่อช่วยค่ารักษาที่แบบประกันสุขภาพที่เลือกไม่รองรับ
  • โอนความเสี่ยงออกไปให้ แบบประกันสุขภาพ ที่มีหมวดความคุ้มครองที่ดูแลโรคล้มละลายอย่างมะเร็งได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุด คือ การโอนความเสี่ยงมาเฉลี่ยความเสี่ยงภัยกับคนจำนวนมากนั้น ไม่ได้ใช้เพียงเบี้ยประกันเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องใช้สุขภาพที่ดีในการขอเข้าร่วมกลุ่มเฉลี่ยภัยกับผู้ที่สุขภาพดีเหมือนกันด้วย ทำให้หากมีสุขภาพไม่ดีบางส่วน บางส่วนนั้นจะถูกยกเว้นความคุ้มครองได้ หรือ หากระบุการยกเว้นความคุ้มครองได้ยาก ก็อาจจำเป็นต้องเพิ่มเบี้ยรับความเสี่ยงที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ หรือ หากบางส่วนนั้นอันตรายเกินไปก็อาจจะไม่สามารถรับทำประกันในบางแบบประกันสุขภาพได้เลย โดยเฉพาะแบบที่ให้คุ้มครองครอบคลุมหลายด้าน

เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพแม้ควรจะจำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาเงื่อนไขในสัญญาให้ดี แต่ก็ไม่ควรใช้เวลามากเกินไป จนทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ วิ่งแซงหน้าก่อนการทำประกันสุขภาพได้ หรือ ถึงจะทำประกันสุขภาพไปแล้ว แต่หากโรคภัยไข้เจ็บ วิ่งเข้ามาตอนระยะเวลารอคอยที่ยังไม่เริ่มความคุ้มครองของประกันสุขภาพ (30 วันในโรคทั่วไป และ 120 วันในโรคซับซ้อน) ก็อาจจะส่งผลให้ถูกยกเว้นความคุ้มครองโรคภัยไข้เจ็บนั้นได้เช่นกัน

ทำให้การเริ่มศึกษาและลงมือทำประกันสุขภาพให้เร็ว จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการเงินอย่างประกันสุขภาพได้สูงสุด โดยไม่ควรประมาทและรอให้โรคภัยไข้เจ็บมาถึงก่อนการทำประกันสุขภาพ

เมื่อเข้าใจขบวนการรักษาและหมวดความคุ้มครองที่สามารถใช้เคลมแต่ละขบวนการได้แล้ว ก็จะทำให้สามารถเลือกแบบประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ที่ต้องการโอนความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่อย่างไรไม่ว่าจะเลือกแบบประกันสุขภาพแบบใด สิ่งสำคัญที่สุดคือการแถลงสุขภาพก่อนทำประกันดังต่อไปนี้

การวางแผนเก็บเงินและเกษียณอย่างจริงจัง เริ่มขึ้น เมื่อเข้าใจ..

วิธีใช้ธรรมชาติของเครื่องมือการเงินที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

"ตน (ในปัจจุบัน) จักเป็นที่พึ่งของตน (ในอนาคต)"

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • แอนนี่ค่ะ2

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก