วิธีเลือกประกันสุขภาพสำหรับวางแผนเกษียณ

หากดำเนินการ ออมเงิน และ กำหนดหน้าที่ของเงินออม ให้เป็นดังต่อไปนี้ 

  • เงินค่ารักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องได้การรักษาที่ดีและโดยเร็วที่สุด
  • เงินค่ารักษาที่ไม่สามารถทราบจำนวนเงินที่ควรมีล่วงหน้าได้
  • เงินเพื่อป้องกันการล้มละลายจากค่ารักษาของ รพ. ที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี
  • เงินที่ช่วยให้ตอนเกษียณไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา
  • เงินที่ช่วยให้ทราบว่าควรจะออมแต่ละปีเท่าใดจึงจะเพียงพอ

จะทำให้เครื่องมือการออมที่เหมาะสมที่สุด คือ..

ประกันสุขภาพ

ทำไมการทำประกันสุขภาพ จึงเป็นการออม และการวางแผนเหษียณ

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการทำประกันสุขภาพนั้น ม่ใช่การออมแต่เป็นลักษณะจ่ายเบี้ยทิ้ง ที่มีโอกาสขาดทุน หากไม่ได้ป่วย.. 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เกือบทุกบริษัทประกัน เสี่ยงขาดทุนสูงมากกับประกันสุขภาพ โดยเฉพาะกับแบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมไปถึงตอนเกษียณ หรือในอนาคตได้ (จึงเป็นสาเหตุให้แบบประกันสุขภาพลักษณะนี้ จะมีความเข้มงวดในการรับทำประกันที่สูงอย่างมาก)

เข้าสู่ยุคที่
แบบประกันสุขภาพที่ดี
ทยอยปิดตัว

มีเงินใช้ตอนเกษียณ release your risk

เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุค ประกันสุขภาพเหมาจ่าย และ การเติบโต(อย่างต่อเนื่อง)ของ รพ.เอกชน ที่เสมือนเป็นตัวเร่งให้ ค่ารักษาพยาบาลสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปี

เช่น ค่าผ่าตัดไส้ติ่งที่เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน รพ.เอกชน จะอยู่ที่ประมาณ 60,000 บ. แต่ในปัจจุบันได้ไต่ระดับขึ้นมาสูงถึง 200,000 บ. เป็นต้น (รวมไปถึงค่ารักษามะเร็งด้วยยาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ค่ารักษาพุ่งไปถึงระดับ 10 ล้านบาทได้ไม่ยาก)

เพราะ รพ.เอกชน เองก็มีการทำยอดจากผู้ทำประกันสุขภาพด้วย จึงทำให้ปัจจุบันบริษัทประกันฯ ต้องเริ่มมีมาตรการป้องกันและขอความร่วมมือกับทาง รพ.เอกชน ในรูปแบบของ การไม่อนุมัติให้เคลมการแอดมิต หากผู้ทำประกันป่วยเพียง Simple Disease ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดโดย คปภ. หรือ มีการเพิ่มส่วนร่วมจ่ายหรือ Copayment เข้ามา

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถต้านทานค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นได้ จึงทำให้หลายบริษัทประกันจำเป็นต้องปิดรับผู้ทำประกันใหม่ในบางแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายลง และเปิดแผนใหม่ที่เบี้ยปรับสูงขึ้นมากมาแทน เพื่อลดความเสี่ยงของการขาดทุนของบริษัทลงได้บ้างในกลุ่มผู้ทำประกันใหม่

หรือบางบริษัทจะมีการออกข้อกำหนดมาชัดเจนว่า หมวดความคุ้มครองใดจะต้องสำรองจ่ายในทุกกรณี เช่น หมวดที่เกี่ยวข้องกับ OPD ต่าง ๆ เพื่อที่ทำให้ผู้ทำประกันได้ช่วยเตือนให้ รพ. อย่าคิดราคาแรงมาก เพราะตนเองไม่สามารถสำรองจ่ายได้สูงมากได้

(ปัจจุบันจึงกลายเป็นหนึ่งในคำถามสำคัญในการเลือกแบบประกันสุขภาพว่า หมวดความคุ้มครองใดบ้างที่บริษัทให้สำรองจ่ายเท่านั้น นอกจากการเปรียบเทียบเพียงหมวดความคุ้มครอง)

การจัดการเบี้ยสุขภาพหลังเกษียณ release your risk

ดังนั้นหากใครก็ตามที่สามารถทำประกันสุขภาพได้เร็วพอ ก็จะมีโอกาสทันแผนประกันสุขภาพที่ประหยัดคุ้มที่สุดได้ แต่ถ้าหากไม่ทันก็จำเป็นต้องยอมรับแผนใหม่ที่มีเบี้ยประกันที่ปรับตัวสูงขึ้นไปแล้วแทน

ทำไมต้องออมผ่าน
ประกันสุขภาพ

การทำประกันสุขภาพในยุคนี้ จะต้องรีบค้นหาแบบประกันสุขภาพที่ดี และรีบทำให้เร็วที่สุด ไม่ใช่เพียงเพราะต้องเร็วให้ทันก่อนเผลอไปตรวจสุขภาพแล้วเจอโรคบางอย่างก่อน จึงทำให้ถูกยกเว้นความคุ้มครองในโรคนั้น ๆ เท่านั้น 

แต่เป็นเพราะต้องเร็วให้ทัน ก่อนที่แผนประกันสุขภาพจะโดนปิดหรือถูกปรับเพิ่มเบี้ยขึ้น ด้วย

เนื่องด้วยค่ารักษาพยาบาลที่แพงสูงมากขึ้นนี้ จึงทำให้ประกันสุขภาพกลายเป็นเครื่องมือการออมที่สำคัญ ที่จะช่วยแบกค่าใช้จ่ายของวิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เจออย่างแน่นอนต่อไปนี้ได้ (ซึ่งล้วนมีค่าใช้จ่ายเข้าสู่หลักแสนได้ไม่ยากในปัจจุบัน และยังไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะสูงขึ้นอีกเพียงใด)

การฉายภาพขั้นสูง MRI /CT Scan

การผ่าตัด

การส่องกล้อง

การรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่

ยังไม่นับรวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่พร้อมบานปลายอย่าง ค่าตรวจวินิจฉัยก่อนผ่าตัดหรือรักษามะเร็ง ค่าห้อง ค่าฟื้นฟูหลังการผ่าตัด ค่าตรวจวินิจฉัยรักษาติดตามอาการ ค่ายามะเร็งผู้ป่วยนอกรักษา 3-5 ปีหรือตลอดชีวิต ค่าตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยนอกติดตามมะเร็ง ซึ่งอย่างไรแล้วมีราคาเกินเบี้ยประกันสุขภาพที่ออมไปหลายปีแล้วอย่างแน่นอน

โดยค่าตรวจรักษาที่ไม่ทราบวงเงินที่ชัดเจนและพร้อมบานปลายเหล่านี้นี่เอง ได้กลายเป็นผลประโยชน์ที่ทรงพลังที่สุดของการออมผ่านเครื่องมืออย่างประกันสุขภาพ ที่อย่างน้อยทำให้คาดการณ์ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ผ่านทางเบี้ยประกัน

อย่างไรก็ตามประกันสุขภาพจะบังคับให้ออมผ่านเบี้ยประกันทุกปี และให้ออมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น

ไฟสำรองทางการเงิน release your risk

จึงกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่มากที่ควรมีการวางแผนเกษียณส่วนเบี้ยประกันสุขภาพนี้ด้วย

โดยหากมีการวางแผนการเงินเพื่อดูแลเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณอายุ 60-99 ที่ดีพอ ก็จะสามารถลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพช่วงเกษียณทั้งหมดหลัก 10 ล้านบาท ให้เหลือประมาณ 2-3 ล้านบาท (เมื่อเริ่มวางแผนที่อายุประมาณ 30-35 ปี)

ซึ่งมูลค่าเงิน 2-3 ล้านบาท ในอีกประมาณ 20-30 ปีข้างหน้า อาจจะเป็นเพียงค่าผ่าตัดครั้งใดครั้งหนึ่งเท่านั้นก็เป็นได้

การออมผ่านประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่หากมีโอกาสและสุขภาพยังทำได้แล้ว ไม่ควรหลีกเลี่ยงที่จะออม เพราะผลตอบแทนที่ได้จากการรักษาใน รพ. เอกชน โดยเฉพาะในแง่ของสภาพจิตใจยามป่วยไข้นั้นสูงมาก

คุณสมบัติของผู้ที่
ควรทำประกันสุขภาพ

คุณสมบัติการทำประกันชีวิต 3 release your risl

ต้องการรักษาตัวที่ รพ.เอกชน

ต้องการรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด (ไม่อยากรอคิวนานกว่า 6-8 เดือน)

ต้องการรักษาโรคต่าง ๆ โดยที่ลดความกังวลเรื่องค่ารักษาให้ได้มากที่สุด

ต้องการเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยในแพทยสภาได้

ต้องการให้ค่ารักษาแต่ละครั้งอยู่ในงบประมาณที่ควบคุมได้ ทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัว

ต้องการใช้ลดหย่อนภาษี 25,000 บ. (รวมในสิทธิลดหย่อน 100,000 บ. ของประกันชีวิต)

เบื้องต้นผู้ที่สนใจทำประกันสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มักมีประสบการณ์ทางตรงจากสมาชิกในครอบครัว หรือ ทางอ้อมจากคนรู้จัก ที่ได้เห็นบริการเทียบระหว่างสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิ 30 บ. สิทธิประกันสังคม หรือ สิทธิข้าราชการใน รพ.รัฐทั้งในและนอกเวลาทำการ และ รพ.เอกชน

รวมไปถึงได้ทราบถึงค่าตรวจรักษาในปัจจุบันนั้นมีราคาแพงสูงขึ้นอย่างมาก ไม่ต่างกับการปล้นกัน (OPDผู้ป่วยนอก-หลักหมื่น, IPDผู้ป่วยใน-หลักแสน, IPD+OPD โรคร้าย-หลักล้าน)

สิ่งที่ควรเข้าใจ
ก่อนทำประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ หนึ่งในแบบประกันที่สามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้มากที่สุด เนื่องจากผู้ขายก็ไม่อยากบอกข้อจำกัด(เพื่อให้ขายได้ง่าย) และผู้ซื้อเองก็ไม่เน้นทำความเข้าใจก่อนซื้อ(แต่ยกให้เป็นหน้าที่ของผู้ขาย) โดยอาศัยความเชื่อใจอย่างเดียว

ซึ่ง "ความเชื่อใจ" ไม่เท่ากับ (≠) "ความเข้าใจ" และไม่มีผู้ขายหรือผู้ซื้อคนใดเลยที่จะมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในประวัติการรักษา และลายลักษณ์อักษรความคุ้มครองในกรมธรรม์

เพียงแต่เนื่องจากเป็นตัวอักษร หากใครเข้าใจเงื่อนไขในสัญญาได้ครบถ้วนมากกว่า ก็มีทางที่จะตีความเงื่อนไขให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้มากขึ้นเท่านั้น และสามารถโต้แย้งในบางประเด็นที่มีการตีความแตกต่างกันไปได้

เรื่องเงินห้ามไว้ใจแต่.ต้องเข้าใจ release your risk

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ก่อนซื้อประกันสุขภาพ ผู้ชื้อจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ก่อน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความไม่เข้าใจ ดังต่อไปนี้

ความเสี่ยง และ ค่ารักษาของโรคต่าง ๆ

ในปัจจุบันค่ารักษาโรคร้ายแรงนั้นมีราคาในหลักล้านบาทขึ้นไป เพราะมักเป็นการรักษาแบบต่อเนื่อง ไม่ใช่การรักษาครั้งเดียวจบ จึงทำให้ค่ารักษาบานปลาย (ควบคุมไม่ได้เลย) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรคมะเร็ง

ดังนั้นหากไม่ทราบค่ารักษาเหล่านี้ก่อนทำประกันสุขภาพ ก็อาจจะได้ประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุมค่ารักษาโรคร้ายแรงได้

หมวดความคุ้มครองประกันสุขภาพ

ประกอบไปด้วย 13 หมวดมาตรฐาน และหมวดเสริมอื่น ๆ ตามแต่ที่แบบประกันสุขภาพนั้น ๆ จะเสริมขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่ของ 13 หมวดมาตรฐาน

โดยหากไม่ทำความเข้าใจหมวดความคุ้มครองเหล่านี้เพื่อมาเปรียบเทียบกับขั้นตอนค่าตรวจวินิจฉัย ค่ารักษาโรคร้าย ให้ดีแล้ว ก็ย่อมจะมีส่วนต่างของค่ารักษาพยาบาลที่ต้องรับความเสี่ยงเองเพิ่มขึ้นมาก หรือถ้าหากเลือกให้มีหมวดความคุ้มครองมากจนเกินไป ก็ย่อมจะส่งผลต่อเบี้ยประกันที่สูงอย่างมากได้เช่นกัน

ที่สำคัญการเลือกหมวดความคุ้มครอง ต้องพยายามเลือกหมวดที่เฉพาะเจาะจงหน้าที่ชัดเจน มากกว่าหมวดที่คุ้มครองกว้าง เพราะหมวดคุ้มครองกว้างจะทำให้ค่าเบี้ยประกันสูงขึ้นมาก แต่ความคุ้มครองที่ได้รับกับลดลงอย่างชัดเจน

ตัวอย่างเช่น ความคุ้มครองแบบ OPD หรือผู้ป่วยนอก ที่มีทั้งแบบเจาะจงและไม่เจาะจงดังนี้

  • OPD แบบเฉพาะเจาะจง ได้แบบจ่ายตามจริง (ค่าใช้จ่ายเกิน 15,000 บ. ได้ทุกหมวด) 
    • OPD ตรวจฉายภาพขั้นสูง MRI CT PET-Scan (Fax-Claim)
    • OPD Follow up อุบัติเหตุ 15 วัน จ่ายตามจริง (Fax-Claim)
    • OPD Follow up ไม่จำกัดจำนวนครั้งใน 30 วันหลังแอดมิต IPD (Fax-Claim)
    • OPD ตรวจยีนส์มะเร็ง (สำรองจ่ายแล้วเคลมตรง)
    • OPD ค่ารักษามะเร็งนวัตกรรมใหม่ในอนาคต (สำรองจ่ายแล้วเคลมตรง)
  • OPD แบบไม่เจาะจง ได้วงเงินที่ 15,000 บ. ต่อปี
    • OPD ค่ารักษาทั่วไป (Fax-Claim) รวมถึง OPD ตามหมวดเจาะจงด้านบนแต่ดูแลไม่เกินวงเงิน
    • OPD ค่าฉีดวัคซีน ตรวจสุขภาพ (สำรองจ่ายแล้วเคลมตรง)

ทั้ง 2 แบบ OPD นี้ จะอยู่ในประกันสุขภาพคนละแบบ ที่มีเบี้ยใกล้เคียงกัน โดยแบบหนึ่งให้ OPD แบบเฉพาะเจาะจงที่จ่ายตามจริง แต่แบบหนึ่งให้ OPD ไม่เจาะจงกับวงเงิน 15,000 บ. ต่อปี เท่านั้น

ดังนั้นการเลือกว่าจะเอา OPD แบบใดนั้น จะจำเป็นต้องมองว่า แบบใดที่ตนเองจะสามารถรับความเสี่ยงเองได้ราคาไม่แพงมาก แบบใดที่ตนเองอยากที่จะโอนความเสี่ยงมากกว่าด้วยราคาสูงเกินไป 

โดยต้องไม่ลืมว่า หน้าที่ของประกันสุขภาพ คือ เพื่อโอนความเสี่ยงที่รับเองไม่ไหวหรือไม่ทราบค่าใช้จ่ายออกไปเป็นหลัก

ขบวนการพิจารณา ก่อน รับทำประกัน

การทำประกันสุขภาพ เป็นหนึ่งในแบบประกันที่มีการคัดกรองที่ละเอียดมากที่สุดก่อนรับทำประกัน ซึ่งจะไม่ได้คัดกรองเฉพาะก่อนรับทำประกันเท่านั้น โดยหลังรับทำประกันไปแล้ว หากพบว่ามีการปกปิดประวัติ/ไม่แถลงสุขภาพบางอย่าง ก็อาจส่งผลให้ถูกยกเลิกสัญญาหรือไม่ต่ออายุได้

และที่สำคัญ บันทึกที่แพทย์บอกกว่าปกติ(ไม่ต้องรักษา) อาจจะไม่ปกติในสายตาของแพทย์ที่พิจารณารับประกัน(ความเสี่ยง) ดังนั้น ไม่ต้องรักษา จึงไม่เท่ากับ (≠) ไม่มีความเสี่ยง

การทำความเข้าใจขบวนการพิจารณาให้ดีจึงสำคัญอย่างมาก และจะทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า แพ็คเกจโปรโมชันการตรวจสุขภาพของ รพ.เอกชน นั้นน่ากลัวอย่างยิ่ง

แบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมความเสี่ยงค่าใช้จ่ายสูง

คนส่วนใหญ่มักจะข้ามการพิจารณาข้อ 1-3 และมาที่แบบประกันสุขภาพกับเบี้ยประกันเทียบกับงบประมาณในทันที ทำให้การเลือกแบบประกันสุขภาพมีโอกาสสูงที่จะไม่ครอบคลุมความเสี่ยงที่ต้องการโอนออกไปจริง ๆ และอาจเกิดความหงุดหงิดใจเพราะไม่เข้าใจขั้นตอนการคัดกรองการรับทำประกันที่เข้มงวดได้

(ดังนั้นข้อ 1-3 จึงจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้การพิจารณาเปรียบเทียบ แบบประกันสุขภาพแต่ละแบบเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก)

ขบวนการ ภายหลัง รับทำประกัน

การทวนสอบกรมธรรม์ที่ได้รับ เช่น เงื่อนไข ระยะเวลารอคอยของโรค ขั้นตอนการเคลมประกัน เป็นต้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมไปถึงบริษัทประกันแต่ละบริษัท เริ่มให้บริการสิทธิพิเศษเพิ่มเติมผ่านทางแอพของบริษัทมากขึ้นเรื่อย ๆ การลงทะเบียนเพื่อใช้งานแอพของบริษัทจึงเป็นสิ่งที่ควรลงมือทำทันที

ขบวนการเคลมประกันสุขภาพ

การเข้าใจขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่เข้า/ออกจาก รพ. เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ได้เตรียมความพร้อมไว้ก่อน เช่น การตรวจสอบ รพ.คู่สัญญาว่า Fax-Claim ในเรื่องใดได้บ้าง จะมีโอกาสต้องสำรองจ่ายในเรื่องใดได้บ้าง ขบวนการเคลมเป็นอย่างไร ต้องระวังเรื่องใดบ้างในตอนพบแพทย์ เป็นต้น ซึ่งแม้ขั้นตอนในปัจจุบันโดยเฉพาะในรพ.เอกชน จะอำนวยความสะดวกอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามก็จำเป็นต้องเข้าใจขบวนการเคลมก่อนเคลมจริงเสมอ

วิธีจัดการเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณ

เมื่อมีประกันสุขภาพเรียบร้อย สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ยังคงสามารถมีประกันสุขภาพ หรือจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพได้ไหวในช่วงอายุเกษียณ เพราะช่วงอายุเกษียณเป็นช่วงที่มีโอกาสใช้ประกันสุขภาพมากที่สุด แต่ก็มักเป็นช่วงที่ขาดรายได้เข้ามา

ดังนั้นการวางแผนการเงินผ่านเครื่องมือการเงินอย่าง ประกันบำนาญและกองทุนรวม จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้เงินก้อนน้อยได้เติบโตมาเป็นเงินก้อนใหญ่สำหรับทยอยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพได้ตลอดชีพ

นี้คือ 7 เรื่องสำคัญ ที่ควรทำความเข้าใจก่อนซื้อประกันสุขภาพ เพราะหากเข้าใจแล้วบริษัทประกันใด ๆ ก็ยากที่จะใช้โฆษณาชวนเชื่อให้ซื้อได้ หรือ ยังสามารถช่วยป้องกันการตีความเข้าข้างตนเองของบริษัทประกันได้อีกด้วย

เลือกประกันสุขภาพ
แบบใดดี

การเลืกแบบประกันสุขภาพที่ดีนั้น จะไม่ได้มองหาประกันสุขภาพเฉพาะให้เต็มสิทธิลดหย่อนภาษี 25,000 บ. เท่านั้น แต่จะมองลึกมากขึ้นถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ร่วมด้วย

เบี้ยเท่าทุน release your risk

เป็นแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาโรคที่แพงที่สุดได้

"มะเร็ง" ยังคงเป็นโรคที่มีค่ารักษาสูงที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้นในเมื่อต้องจ่ายเบี้ยไปแล้ว ก็ต้องมั่นใจว่าจะได้รับความสบายใจเรื่องค่ารักษาแลกมาจริงๆ ไม่ใช่จ่ายเบี้ยแล้วยังต้องเก็บความกังวลใจในบางโรคไว้อยู่ ซึ่งแบบนี้จะไม่ค่อยมีใครอยากได้

โดยต้องให้ความคุ้มครองการรักษามะเร็งตั้งแต่ การตรวจวินิจฉัยOPD การผ่าตัดIPD การฟื้นฟูร่างกายIPD/OPD การให้ยาOPD การตรวจติดตามผลOPD เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม ค่าใช้จ่ายการรักษาโรคมะเร็งใน รพ.เอกชน มักจะสูงถึงหลักแสนขึ้นไปเสมอ (ยังไม่นับรวมไปถึงว่ามะเร็งเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องกว่า 5 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต)

เป็นแบบประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองได้ตลอดชีวิต

คือให้ความคุ้มครองที่รวมไปถึงวิทยาการสมัยใหม่ในอนาคตด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบบประกันสุขภาพให้ทันสมัยตามวิทยาการการรักษา (เช่น ยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งผู้ป่วยนอก)

เพราะหากมีการเคลมบางโรคไปแล้ว การเปลี่ยนแบบประกันสุขภาพเป็นตัวใหม่อาจจะทำได้ยาก และโดนยกเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนแน่นอน

ตัวอย่างแบบประกันสุขภาพที่เข้าเกณฑ์ เช่น Prestige Health ปลดล็อค

แบบประกันสุขภาพที่จะครอบคลุมตรงความต้องการที่กล่าวมา และยังเป็นแบบประกันสุขภาพที่หากต้องการ OPD ค่ารักษาทั่วไปปีละ 50,000 บ. (นอกเหนือจาก OPD เจาะจงต่าง ๆ) จะสามารถเลือกเป็นแผน 50 ล้าน (แบบมีรับผิด 100,000 บ.ต่อปี) ที่เบี้ยประกันบางช่วงอายุ น้อยกว่าวงเงิน OPD ที่ให้ต่อปี (OPD จะไม่ต้องจ่ายรับผิดส่วนแรก)

อย่างไรก็ตามด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมและวงเงินที่สูง แบบประกันสุขภาพลักษณะนี้ จึงมีเบี้ยประกันตอนสูงอายุที่สูงอย่างมาก ทำให้การศึกษาและเตรียมการจัดการเบี้ยประกันหลังเกษียณตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน จะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

เพราะจะสามารถช่วยประหยัดเบี้ยประกันได้สูงถึง 50%-90%  และเครื่องมือการเงินที่ใช้ในการจัดการก็ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ทั้งนี้หากมีประกันสุขภาพตัวหลักที่ดูแลค่ารักษามะเร็งแบบผู้ป่วยนอก 5 ล้านบาทขึ้นไปต่อปีเรียบร้อย (ค่ารักษาในปัจจุบัน) แต่ประกันสุขภาพตัวหลักให้ค่าห้องที่ค่อนข้างน้อย การเสริมด้วยประกันสุขภาพที่เน้นเรื่องค่าห้อง ให้เป็นตัวเสริมอย่างเช่น "สัญญา Happy Health แบบมีรับผิดส่วนแรก 100,000 บ." จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

เนื่องจากแบบประกันสุขภาพลักษณะนี้จะจ่ายตามจริงของห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้นของ รพ. นั้น ๆ จึงเป็นประกันสุขภาพตัวเสริมที่ดีที่สุดตัวหนึ่งในตลาดปัจจจุบัน

ประกันสุขภาพ
โดยสรุป

ครอบครัววางแผนการเงินและภาษี 1 release your risk

ประกันสุขภาพเป็นรูปแบบประกันที่ควรให้เวลาศึกษาทำความเข้าใจให้ดีที่สุดก่อนตัดสินใจ โดยอย่างน้อยควรเข้าใจหมวดความคุ้มครองตามมาตรฐานประกันสุขภาพให้ได้ และควรมีโอกาสได้ศึกษาตัวอย่างกรมธรรม์จริงๆ ของแบบประกันสุขภาพที่สนใจ

การศึกษาแบบประกันสุขภาพตอนแรกอาจมองเป็นเรื่องยุ่งยากแต่ก็คุ้มค่า เพราะเสียเวลาทำความเข้าใจเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้ไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะกับแบบประกันสุขภาพที่เน้นตลอดชีวิต หรือ สำหรับวางแผนเกษียณในอนาคตจริง ๆ

ทั้งนี้จะสามารถศึกษารายละเอียดเจาะลึกเกี่ยวกับวิธีการเลือกแบบประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้

การวางแผนเกษียณอย่างจริงจัง

เริ่มเมื่อเข้าใจธรรมชาติของ
เครื่องมือทางการเงิน

เกี่ยวกับผู้เขียน

  • Ruchira Taboonruang

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน ซึ่งในหลายครั้งกว่าจะรู้และเข้าใจก็อาจจะสายไปแล้ว และนี้คือสาเหตุใหญ่ที่ทางเรา จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ โดยให้ความรู้ทางการเงินที่ดีและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ ผ่านเว็บไซต์ Release your Risk ที่ต้องการให้ทุกคนได้ปล่อยความเสี่ยงที่ตนเองถือไว้อยู่ ผ่านเครื่องมือทางการเงินด้วยความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

>
Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ตกลงทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก